เคทีซี ร่วมกับ ยูเนี่ยนเพย์ สร้างประสบการณ์สุดประทับใจกับทุกการใช้จ่ายในจีน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน ยุโรป และทั่วโลก เปิดตัวบัตรเครดิต “เคทีซี ยูเนี่ยนเพย์” ครั้งแรกกับ 3 ประเภทบัตร: แพลทินัม / ไดมอนด์ และเอเชีย เพรสทีจ ไดมอนด์ คุ้มค่าด้วยสิทธิประโยชน์คะแนน KTC FOREVER สูงสุด 3 เท่า และรองรับการชำระเงินแบบ Contactless ที่ร้านค้าเครือข่ายยูเนี่ยนเพย์ทั่วโลก สมาชิกสมัครบัตรง่าย ไม่เสียค่าธรรมเนียม คาดสิ้นปีมีจำนวนสมาชิกไม่ต่ำกว่า 1 แสนราย

นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เคทีซียึดแนวทางการทำธุรกิจโดยให้ความสำคัญกับเรื่อง Customer Experience เป็นหลัก โดยระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา มีจำนวนสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีที่ใช้จ่ายผ่านบัตรในจีน ฮ่องกง  มาเก๊า และไต้หวัน ไม่ต่ำกว่า 100,000 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน เคทีซีก็ได้รับทราบถึงความไม่สะดวกสบายในการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตในกลุ่มประเทศจีน จึงเป็นที่มาของการจับมือกันระหว่างเคทีซี และยูเนี่ยนเพย์ ผู้นำด้านเครือข่ายการชำระเงินระดับโลก  เปิดตัว “บัตรเครดิตเคทีซี     ยูเนี่ยนเพย์” เพื่อสร้างประสบการณ์ที่สุดประทับใจให้กับสมาชิกเคทีซีที่เดินทางท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศจีน ยุโรป และทั่วโลก ด้วย 3 ประเภทบัตรเครดิต ประกอบด้วย บัตรเครดิตเคทีซี ยูเนี่ยนเพย์ แพลทินัม (สำหรับผู้ที่มีรายได้ 15,000 บาทขึ้นไป) บัตรเครดิตเคทีซี ยูเนี่ยนเพย์ ไดมอนด์ (รายได้ 50,000 บาทขึ้นไป) และบัตรเครดิตเคทีซี ยูเนี่ยนเพย์ เอเชีย เพรสทีจ ไดมอนด์ (ได้รับเชิญเท่านั้น) โดยหน้าบัตรเครดิตทั้ง 3 ประเภทได้รับการออกแบบให้มีความแตกต่างบนพื้นฐานของความเป็นจีนสากลที่งดงาม

สำหรับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี ยูเนี่ยนเพย์ จะได้รับสิทธิพิเศษสูงสุด x3 คะแนน KTC FOREVER ตามรายละเอียดดังนี้

  1. รับ x2 คะแนน KTC FOREVER เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซี ยูเนี่ยนเพย์ แพลทินัม เป็นสกุลเงินท้องถิ่นที่จีน ฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน (CNY/HKD/MOP/TWD)
  2. รับ x2 คะแนน KTC FOREVER เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซี ยูเนี่ยนเพย์ ไดมอนด์ เป็นเงินสกุลต่างประเทศทั่วโลก
  3. รับ x2 คะแนน KTC FOREVER เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซี ยูเนี่ยนเพย์ เอเชีย      เพรสทีจ ไดมอนด์ เป็นเงินสกุลต่างประเทศทั่วโลก และรับ x3 คะแนน KTC FOREVER เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรที่ประเทศไทยในหมวดร้านอาหาร ช้อปปิ้ง และ/หรือท่องเที่ยวครบทุก 600,000 บาท
  • ส่วนลด และสิทธิพิเศษจากร้านอาหารชื่อดังกว่า 100 ร้านค้าทั่วประเทศไทย เช่น ร้านอาหารญี่ปุ่นเซน (Zen) ระหว่างวันที่1 มิถุนายน 2562 – 30 กันยายน 2562 /  ร้านไมเซน (Maisen) / ร้านอาหารเอส แอนด์ พี (S&P) และร้านวานิลลา (Vanilla Restaurant) เป็นต้น ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 – 30 พฤศจิกายน 2562

นายเหวินฮุ่ย หยาง ผู้จัดการทั่วไป ยูเนี่ยนเพย์ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ประเทศไทยถือเป็นตลาดที่สำคัญสำหรับยูเนี่ยนเพย์ เรามุ่งมั่นที่จะมอบสิทธิประโยชน์และความคุ้มค่าให้กับลูกค้าอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของแคมเปญการตลาด การเป็นสปอนเซอร์กิจกรรมที่น่าสนใจ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ การร่วมมือกับเคทีซีในครั้งนี้เป็นก้าวที่สำคัญของ ยูเนี่ยนเพย์ เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ยูเนี่ยนเพย์เปิดตัวบัตรเครดิต 3 ประเภทพร้อมกันในประเทศไทย ยิ่งไปกว่านั้น บัตรเครดิตเคทีซี ยูเนี่ยนเพย์ ยังรองรับวิธีการชำระเงินที่ครอบคลุมตั้งแต่การชำระเงินออนไลน์ไปจนถึงการชำระเงินแบบ Contactless ซึ่งถือเป็นการตอกย้ำความตั้งใจของเราในการสร้างความผูกพันกับกลุ่มผู้บริโภคไทยที่กว้างยิ่งขึ้น ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการด้านไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย”

“การเปิดตัวครั้งนี้ยังนับเป็นครั้งแรกที่ผู้บริโภคไทยจะได้สัมผัสกับสิทธิประโยชน์เหนือระดับของ 2 ประเภทบัตรระดับพรีเมี่ยมของยูเนี่ยนเพย์ คือ บัตรเอเชีย เพรสทีจ ไดมอนด์ และบัตรไดมอนด์ โดยสมาชิกสามารถรับสิทธิพิเศษของยูเนี่ยนเพย์กว่า 1,000 รายการทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึง U Collection ซึ่งรวบรวมสิทธิประโยชน์และส่วนลดบริการไลฟ์สไตล์สุดเอ็กซ์คลูซีฟทั่วโลก ครอบคลุมทั้งโรงแรมระดับ 5 ดาว ร้านค้าแบรนด์เนมชื่อดัง และร้านอาหารระดับมิชลินสตาร์ นอกจากนี้ บัตรเครดิตทั้ง 3 ประเภทยังจะช่วยให้ผู้บริโภคไทยสามารถใช้จ่ายอย่างสะดวก รวดเร็วและปลอดภัยได้ที่ร้านค้ากว่า 55 ล้านแห่งในเครือข่ายของยูเนี่ยนเพย์ รวมถึงการทำธุรกรรมที่ตู้เอทีเอ็ม 3 ล้านเครื่อง ใน 174 ประเทศและเขตการปกครองอีกด้วย”

“ยูเนี่ยนเพย์ มุ่งมั่นนำเสนอโซลูชั่นการชำระเงินที่ทันสมัย และร่วมมือกับพันธมิตรที่มีความเข้าใจความต้องการของลูกค้าในแต่ละตลาด เราเชื่อว่าความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนสำคัญในการขยายฐานผู้ถือบัตรเครดิต และยอดการใช้จ่ายของลูกค้าไทย”

ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC PHONE 02 123 5000 เว็บไซต์ www.ktc.co.th หรือสมัครบัตรเครดิตได้ที่ศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือคลิกลิงค์เพื่อสมัครบัตรเครดิตได้ที่นี่: http://bit.ly/2FnvYSj #สุขไม่จำกัด กับบัตรเคทีซี

เคทีซีเผยธุรกิจสินเชื่อบุคคลแข่งขันเข้มข้น ครึ่งปีหลังเตรียมรุกสร้างธุรกิจเติบโตยั่งยืน จากพื้นฐานความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า มุ่งปล่อยสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกับพันธมิตรธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตสูง ประเดิมด้วยสินเชื่อเพื่อการศึกษากับ 4 สถาบันสอนภาษา เจาะกลุ่มบุคคลที่ต้องการพัฒนาการศึกษาตนเองเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ ซึ่งมีแนวโน้มเป็นลูกค้าที่จะมีรายได้เติบโตกว่าเกณฑ์และมีวินัยในการชำระคืน รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อตอบรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในยุคดิจิทัล ควบคู่กับการจัดกิจกรรมการตลาดยิงยาว เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้กับสมาชิกตั้งแต่เริ่มสมัครจนถึงฐานลูกค้าเดิมเกือบ 1 ล้านบัญชี โดยคาดว่าสิ้นปีนี้ยอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคลจะโตตามคาด 10% จากปีที่ผ่านมา

นางสาวพิชามน  จิตรเป็นธรรม  ผู้อำนวยการ - ธุรกิจสินเชื่อบุคคล “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การทำธุรกิจสินเชื่อบุคคลนับวันยิ่งมีความท้าทายมากขึ้น จากหลายผู้ประกอบการที่เข้ามาแข่งขัน รวมทั้งพฤติกรรมของลูกค้าในยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลง ความสะดวกและรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลเป็นปัจจัยที่ผู้บริโภคแสวงหา โจทย์หลักที่ท้าทายของคนทำธุรกิจในวันนี้ จึงต้องคิดหาวิธีจะทำอย่างไรให้เข้าถึงลูกค้า “ถูกกลุ่ม” “ถูกเวลา” และ “ถูกใจ”

“แผนการตลาดธุรกิจสินเชื่อบุคคลของเคทีซีในช่วงครึ่งปีหลังนี้ เราจึงรุกธุรกิจเข้มข้นขึ้น ด้วยการมุ่งเน้นคุณภาพลูกหนี้และการเติบโตอย่างยั่งยืนบน 4 แกนหลักคือ 1) มุ่งปล่อยสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ 2) รักษาและผูกสัมพันธ์ระยะยาวกับฐานสมาชิก 3) พัฒนาคุณสมบัติและบริการสินเชื่อ “เคทีซี พราว” ตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่ชอบความสะดวก รวดเร็วในยุคดิจิทัล 4) สร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้า (Customer Engagement) เพื่อเข้าถึงตัวตนที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย”

“สำหรับแนวทางการให้สินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์นั้น เคทีซีจะมุ่งขยายความร่วมมือกับธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตสูงและมีความต้องการในตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยได้นำร่องเปิดตัวสินเชื่อเพื่อการศึกษา (Education Loan) ร่วมกับสถาบันสอนภาษา 4 สถาบัน รวม 44 สาขา ได้แก่ วอลล์สตรีท อิงลิช (Wall Street English) แชมป์ อิงริช (Champ EngRish) แลงเกวจ เอ็กซ์เพรส (Language Express) และอินสไปร์ อิงลิช (Inspire English) เพื่อให้สินเชื่อกับสมาชิกที่ต้องการเงินทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพความรู้กับสถาบันที่เข้าร่วมโครงการ ผู้สนใจสามารถสมัครและยื่นเอกสารที่สถาบันนั้นๆ ได้โดยตรง และสามารถทราบผลการอนุมัติภายใน 1 ชั่วโมง โดยสมาชิกจะได้รับอัตราดอกเบี้ยฯ พิเศษ 0% นานสูงสุด 24 เดือน ทั้งนี้ จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคในฐานข้อมูลเคทีซีพบว่า กลุ่มลูกค้าที่ต้องการพัฒนาตนเองเพื่อสร้างความก้าวหน้าในอาชีพมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และกลุ่มคนเหล่านี้ยังมีเกณฑ์ที่รายได้จะสูงขึ้นในอนาคต

การเพิ่มปริมาณลูกค้าในกลุ่มนี้จึงนอกจากจะส่งผลดีกับค่าเฉลี่ยการใช้วงเงินสินเชื่อโดยรวมของเคทีซีแล้ว การกู้ยืมแบบมีวัตถุประสงค์ยังเป็นที่มั่นใจได้ว่า พฤติกรรมการชำระคืนของผู้บริโภคกลุ่มนี้จะมีวินัยมากกว่าการกู้ยืมแบบทั่วไป ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับเคทีซีในระยะยาว นอกจากนี้บริษัทมีแผนจะขยายจำนวนพันธมิตรในกลุ่มธุรกิจการศึกษาให้มากขึ้น รวมทั้งจะมีการออกสินเชื่อเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ออกมาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง”

“การรักษาและผูกสัมพันธ์กับฐานสมาชิกในระยะยาวในครึ่งปีหลังนี้ จะยังคงใช้กลยุทธ์การแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายซึ่งได้ผลและมีการตอบรับที่ดีมาก ตั้งแต่เริ่มแรกที่สมัครเข้ามาเป็นสมาชิกสินเชื่อใหม่ไปจนถึงสมาชิกเดิมในพอร์ต โดยเน้น “จัดเต็ม” “ให้ก่อน” “ให้มากกว่า” และ “ให้ต่อเนื่อง” ผ่าน 2 แคมเปญฮิต

1) “เคทีซี พราว โปรฯ เหมาๆ 199” สำหรับสมาชิกสมัครใหม่ รับสิทธิเหมาจ่ายดอกเบี้ยฯ 2 รอบบัญชีแรก เพียงรอบบัญชีละ 199 บาท เมื่อสมัครตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2562 – 31 สิงหาคม 2562 และ 2) “แคมเปญเคลียร์หนี้เกลี้ยง 10” สำหรับสมาชิก “เคทีซี พราว” เกือบ 1 ล้านบัญชี รับสิทธิลุ้นเคลียร์หนี้รางวัลใหญ่ 100% โดยปีนี้เพิ่มความพิเศษที่มากกว่าคือ ลุ้นได้ถึง 10 รอบ จับรางวัลทุกเดือนตลอดทั้งปี 2562”

“ในยุคดิจิทัลที่เราต้องยอมรับว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างเห็นได้ชัด เคทีซีจึงได้พัฒนาคุณสมบัติและบริการบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” ให้รองรับความต้องการลูกค้าที่ชอบความสะดวก รวดเร็ว โดยได้พัฒนา 2 บริการ ได้แก่ 1) บริการเบิกถอนเงินสดออนไลน์ รับเงินโอนเข้าบัญชีแบบเรียลไทม์ เลือกชำระได้เองแบบชำระขั้นต่ำ 3% หรือผ่อนชำระเป็นงวด  (Cash Installment) ผ่านแอปพลิเคชัน “KTC Mobile” และเว็บไซต์ “KTC Online” ตลอด 24 ชั่วโมง ตามวงเงินที่มีอยู่  2) บริการแบ่งชำระสินค้าผ่านร้านค้าออนไลน์ โดยได้เริ่มให้บริการผ่อนทองคำกับร้านทอง “ออโรร่า” ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 1.29% ต่อเดือน ผ่านเว็บไซต์ออโรร่า และแอปพลิเคชันปาปาเปย์ (Papapay Mobile Application) นอกจากนี้ สิ่งที่เคทีซีให้ความสำคัญกับลูกค้า “เคทีซี พราว” มาโดยตลอด คือการสร้างสัมพันธภาพระยะยาวกับสมาชิก ผ่านกิจกรรมเวิร์คช้อปสร้างแรงบันดาลใจที่เป็นประโยชน์และเป็นความต้องการของสมาชิกทุก 2 เดือน ภายใต้แนวคิด Quality of Life ที่มุ่งเสริมสร้างความรู้ในการพัฒนาไปสู่การสร้างอาชีพเพื่อรายได้เสริม รวมทั้งความรู้ในการวางแผนการเงินและการออมให้กับกลุ่มสมาชิก”

“ทั้งนี้ ภาพรวมการเติบโตของอุตสาหกรรมสินเชื่อบุคคลช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ยังถือว่าเป็นบวก โดยในส่วนของเคทีซีเองมีการเติบโตที่ดีเช่นกัน โดยมียอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคลเท่ากับ 26,483 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ฐานสมาชิกสินเชื่อบุคคลเท่ากับ 967,059 บัญชี ขยายตัว 12.8% อัตราหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสินเชื่อบุคคล 0.78% ลดลงจาก 0.82% (อุตสาหกรรม 3.49%) ส่วนแบ่งการตลาดยอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคลอยู่ที่ประมาณ 5.4% ของอุตสาหกรรม และคาดว่าสิ้นปีนี้ธุรกิจสินเชื่อบุคคลเคทีซีน่าจะบรรลุเป้าหมายตามคาด ด้วยอัตราการเติบโตของยอดลูกหนี้รวมที่ 10%

“เคทีซี” ผู้นำธุรกิจบริการสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคของไทย เผยทิศทางการทำ CSR ปี 2562 มุ่งเน้นการให้โอกาสทางการศึกษากับเยาวชนทุกกลุ่มแบบไม่มีข้อจำกัด โดยเฉพาะกลุ่มผู้บกพร่องทางร่างกาย ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนาและเรียนรู้ได้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการนำไปปรับใช้และพัฒนาไปเป็นอาชีพในการเลี้ยงดูตนเอง และยังสามารถถ่ายทอดต่อให้ผู้อื่น เพื่อสร้างความยั่งยืนในสังคมในระยะยาว ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด SD

นางสาวอภิวันท์ บากบั่น ผู้อำนวยการ - ทรัพยากรบุคคล “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เผยว่า เคทีซีเป็นสถาบันการเงินที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการให้โอกาสทางการศึกษา และสนับสนุนการให้ความรู้กับคนในสังคม โดยเฉพาะการร่วมพัฒนาศักยภาพเยาวชนไทยให้มีคุณภาพอย่างไม่มีขีดจำกัด ผ่านการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ ด้วยเป้าหมายของการนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ต่อยอดในด้านต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (Sustainable Development Goals–SDGs) รวม 3 เป้าหมาย ได้แก่

1. การให้การศึกษาที่เท่าเทียม(Quality Education)

2. การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-Being)                

3. การบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (Responsible Consumption and Production)

“เคทีซีจึงได้ริเริ่มโครงการ CSR ประจำปี 2562 “เรียนรู้ ต่อยอด ยั่งยืน” เพื่อร่วมเตรียมพร้อมให้นักเรียนรู้จักการพึ่งพาตนเอง โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องความบกพร่องทางกายเป็นอุปสรรค โดยได้รับความร่วมมือที่ดีจากโรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ บรรจุโครงการนี้ไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ซึ่งน้องๆ จะได้เรียนรู้ทฤษฎีและฝึกปฏิบัติการเกษตรเพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาและต่อยอดสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และบริหารการใช้จ่ายเพื่อการใช้ชีวิตที่มีความสุขอย่างยั่งยืน อีกทั้งรู้จักถ่ายทอดแบ่งปันให้กับสังคม โดยเราได้เลือกกระบวนการเพาะเห็ดออร์กานิคครบวงจร เพื่อทำกินและสร้างอาชีพเป็นโครงการนำร่อง โดยเริ่มตั้งแต่การเรียนรู้ชนิดของเห็ด กระบวนการเพาะเห็ด การแปรรูปเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวัน ทำให้โรงเรียนประหยัดค่าใช้จ่าย รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อ  ต่อยอดสร้างอาชีพสร้างรายได้ ตลอดจนส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักบริหารการใช้จ่าย และเรียนรู้การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อใช้ในชีวิตจริงให้เกิดประโยชน์กับตนเองและครอบครัว สำหรับหลักสูตรการเรียนการสอน รวม 12 สัปดาห์ จะมีวิทยากรให้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญจากฟาร์มเห็ดโพธิ์ทอง อาจารย์โรงเรียน เศรษฐเสถียรฯ และเคทีซี โดยจะมีการประเมินความรู้ก่อนและหลังเรียนรวมทั้งเปิดเวทีให้น้องๆ นำเสนอผลงานในสัปดาห์สุดท้าย”

อาจารย์สายใจ สังขพันธ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ โรงเรียนเศรษฐเสถียรในพระราชูปถัมภ์ กล่าวว่า “โรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ ขอขอบคุณเคทีซีและทีมงานทุกฝ่าย ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอาชีพให้กับคนพิการ โครงการ CSR ครั้งนี้ เน้นการออกแบบกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ฝึกทักษะสร้างอาชีพและสร้างรายได้ ในรูปแบบ “เรียนรู้ ต่อยอด ยั่งยืน” เชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอนบูรณาการแบบโครงงานเพาะเห็ดในโรงเรียน นักเรียนจะได้ฝึกปฏิบัติจริงลงพื้นที่จริงกับวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญ และอาจารย์จะร่วมถ่ายทอดด้วยภาษามือ เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งจะเรียนรู้ได้ดีจากการมองเห็นและสัมผัสจริง นอกจากนั้นเห็ดที่เกิดขึ้นจากการเพาะในโครงการ ยังสามารถนำไปเป็นอาหารหรือจำหน่ายเป็นรายได้ ก็จะทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในการทำอาชีพมากขึ้น สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความคิดในเชิงบวกต่ออาชีพ จะได้คิดเป็นทำเป็น และเป็นความยั่งยืนในการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประกอบอาชีพจริงด้วยความภาคภูมิใจในตนเองและของผู้ปกครอง”

นางสาวฐิติรัตน์ พ่วงโพธิ์ทอง เจ้าของ “ฟาร์มเห็ดโพธิ์ทอง” เกษตรกรผู้เชี่ยวชาญด้านการเขี่ยเชื้อเห็ดและการเพาะเห็ด กล่าวถึงกระบวนการเพาะสายพันธุ์เห็ดเศรษฐกิจ การต่อยอดทางอาชีพตามวิถีเกษตรพอเพียงว่า “จากประสบการณ์การทำงานและอยู่ในกระบวนการเพาะเห็ดอย่างครบวงจรมามากกว่า 30 ปี ตลอดจนทำการแปรรูปเป็นอาหารคาว-หวานและเครื่องดื่ม ซึ่งนำมาสู่การต่อยอดเป็นอาชีพตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ครั้งนี้จึงมีความรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่ได้ร่วมเป็น ส่วนหนึ่งของกิจกรรมเพาะเห็ดต่อยอดอย่างยั่งยืน โดยน้องๆ โรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ จะได้เรียนรู้การ เพาะเห็ดแบบไม่ใช้สารเคมี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และเมื่อเรียนแล้วสามารถนำไปทำเองที่โรงเรียนได้ สิ่งที่ได้รับจากการเพาะเห็ดจะเป็นประโยชน์ในภายภาคหน้า เพราะเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์จริงและสามารถทำได้จริง ดีใจที่จะได้ร่วมกับเคทีซีและโรงเรียนในการสร้างแนวทางให้กับนักเรียน รวมทั้งประสบการณ์ที่ได้รับนั้นจะเป็นแนวทางให้นักเรียนสร้างรายได้ สร้างความสุขและสร้างความยั่งยืนในอนาคต”

นางสาวอภิวันท์ กล่าวปิดท้าย “การที่เคทีซีเลือกการเพาะเห็ดเป็นหลักสูตรให้กับโรงเรียน เศรษฐเสถียรฯ เพราะเห็ดเป็นผักที่ได้รับความนิยม มีรสชาติดีและมีคุณค่าทางอาหารสูง สภาพดินฟ้าอากาศของไทยเหมาะต่อการเจริญเติบโต และยังได้ผลผลิตสูง ขายง่าย ได้ราคาดี เป็นที่ต้องการของตลาด วิธีการเพาะเห็ดก็ทำได้ง่ายและลงทุนไม่มาก จึงน่าจะเรียนรู้และนำไปพัฒนาต่อได้ไม่ยาก โดยเคทีซียังได้สร้างโรงเรือนเพาะเห็ดในโรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ เพื่อประกอบการเรียนการสอน และหวังอย่างยิ่งว่านักเรียน และบุคลากรโรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ จะได้รับประโยชน์จากองค์ความรู้ที่เคทีซีตั้งใจมอบให้ เพื่อเป็นแหล่งความรู้ และส่งต่อการเรียนรู้จากรุ่นสู่ร่นต่อไป”

นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ (กลาง) อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรมผู้ประกอบการไทยภายใต้โครงการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน รุ่นที่ 5 (Young Entrepreneur Network Development Plus Program: YEN-D Season V) ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ โดย EXIM BANK ร่วมให้ความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจประเทศมาเลเซียและบริการทางการเงินของธนาคารให้แก่ผู้ประกอบการไทยที่สนใจค้าขายหรือลงทุนกับมาเลเซีย เมื่อเร็วๆ นี้

นายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี (TMB Analytics) แถลงปรับการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 62 เหลือ 3.0% จากเดิมมอง 3.5% เหตุตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาสแรกชะลอมากกว่าคาด ทำให้แรงส่งต่อไปยังในช่วงที่เหลือมีข้อจำกัดแม้ความเชื่อมั่นและบรรยากาศการลงทุนมีแนวโน้มปรับดีขึ้นหลังจากฟอร์มรัฐบาลใหม่ ขณะที่ยังมีแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกสงครามการค้าถึงทางตัน จึงยากที่จะเห็นเครื่องยนต์ส่งออกกลับมาในปีนี้ พร้อมมองเป็นปีที่ระบบธนาคารเผชิญความท้าท้ายจากเศรษฐกิจชะลอ  คาดสินเชื่อทั้งปีโตชะลอลงที่ 4.5%  แนะระวังคุณภาพสินเชื่อ โดยเฉพาะสินเชื่อรายย่อย ที่เริ่มเห็น NPL ขยับขึ้นในกลุ่มสินเชื่อรถและบ้าน

เศรษฐกิจโลกเข้าสู่วงจรขาลงแรงและเร็วกว่าคาด  ไตรมาสแรกปีนี้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการค้าของโลกชะลอลงชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมในเศรษฐกิจหลักอย่างยูโรโซน ภาคการส่งออกของเศรษฐกิจหลักรวมถึงแถบอาเซียนเข้าสู่โหมดชะลอตัวจนถึงหดตัว สอดคล้องกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลกเติบโตเหลือ 3.3% และ 3.4%

มองสถานการณ์ส่งออกไทยยังคงอ่อนแอ ทั้งปีโตได้เพียง 0.5% ตามประมาณการเดิม  ในไตรมาสแรก มูลค่าส่งออกของไทยติดลบเป็นไตรมาสแรกที่ 2% และคาดว่าในระยะต่อไป ปัจจัยเสี่ยงด้านต่างประเทศจะส่งผลกระทบมากขึ้นทั้งเศรษฐกิจหลักที่เป็นคู่ค้าชะลอตัวมากขึ้นกระทบซัพพลายเชนโลกชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ และแรงกดดันสงครามการค้าที่ตอบโต้กันไปมาด้วยการขึ้นภาษีทำให้ปริมาณการค้าโลกอยู่ภาวะตกต่ำ โดยเฉพาะในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 4 ของมูลค่าส่งออกไทย แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะยังเติบโตได้ในเกณฑ์ดี แต่แรงส่งก็ไม่เพียงพอให้ภาพการค้าโลกดีขึ้น โดยเฉพาะจากตลาดจีนที่มีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องและตลาดยุโรปที่ยังเผชิญกับความเสี่ยงของ Brexit ที่ค้างคา เราประเมินยอดส่งออกของไทยไปตลาดยุโรปจะไม่ขยายตัวและหดตัวในตลาดจีนราว 5 % ขณะที่ตลาดสหรัฐ ญี่ปุ่นยังขยายตัวได้ในอัตราชะลอลง ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งออกไปตลาดสหรัฐได้ต่ำกว่าคาด หากโดนตัดสิทธิ GSP จากสหรัฐ ซึ่งเป็นมูลค่าราว 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐหรือ 16% ของยอดส่งออกไปสหรัฐ ทำให้ภาคส่งออกทรุดตัวต่ำกว่าคาดได้อีก

 

คาดจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติแตะ 40.4 ล้านคนในปี 62 หรือเพิ่มขึ้น  5.5% ชะลอลงจากปี 61 ที่ขยายตัว7.5% และแนวโน้มในปีหน้าจะไม่เห็นอัตราการเติบโตที่สูงๆของนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างที่เราคุ้นชิน เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศนักท่องเที่ยวที่เป็นตลาดหลักชะลอตัวทั้งจีนและยุโรปซึ่งมีสัดส่วนรวมกันเกือบ 50%ของนักท่องเที่ยวรวมและส่งผลกระทบต่อรายได้การท่องเที่ยวรวมหดหายไปเนื่องจากรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติมีสัดส่วนกว่า 67%ของรายได้การท่องเที่ยวรวม เรามองว่าเมื่อพึ่งต่างชาติได้น้อยลง คงต้องหันพึ่งตนเองมากขึ้นโดยปลุกกระแสไทยเที่ยวไทยให้เพิ่มมากขึ้นจากที่มีรายได้เติบโตเฉลี่ยราว 8-10%ต่อปีเพื่อชดเชยรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลง

ความชัดเจนจากรัฐบาลใหม่ หนุนการลงทุนเอกชนครึ่งปีหลัง คาดทั้งปีขยายตัว 4%  เราประเมินสถานะความพร้อมของการลงทุนโดยใช้ตัวเลขทางการเงินที่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับการลงทุนทั้งสภาพคล่อง(Free cashflow) ที่เหลือของภาคธุรกิจ และผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) ที่ปรับดีขึ้น ชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบันบริษัทไทยอยู่ในสถานะพร้อมลงทุน บวกกับความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่อยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการใช้กำลังผลิตที่ปรับสูงในหลายอุตสาหกรรม และต้นทุนทางการเงินอยู่ในระดับต่ำ หากมีบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อและสร้างความมั่นใจให้นักลงทุน โดยคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังความชัดเจนในทิศทางการเมือง นโยบายเศรษฐกิจภายใต้รัฐบาลใหม่ การเร่งสานต่อของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ EEC เช่น รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 สนามบินอู่ตะเภา จะทำให้เริ่มเห็นเม็ดเงินการลงทุนใหม่ของเอกชนเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะการลงทุนของอุตสาหกรรม S-Curve ที่ได้รับการอนุมัติจาก BOI ในปี 59-60 ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ปิโตรเคมี เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่หากเริ่มลงทุนในปี 62 จะมีมูลค่าสูงถึง 6.3 ล้านล้านบาท

การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง แต่ไม่เป็นอัตราเร่ง จากรายได้เกษตรกรที่ทรงตัวในระดับต่ำและหนี้ครัวเรือนที่พุ่งขึ้น ในช่วงปี 60-61 การบริโภคเอกชนฟื้นตัวเติบโตเร็ว ซึ่งเป็นการขยายตัวดีในทุกหมวดสินค้าแต่หลักๆมาจากแรงซื้อสินค้าคงทนกลุ่มรถยนต์จากการปลดล็อกมาตรการรถคันแรก ซึ่งสามารถสะท้อนจากสินเชื่อเพื่อการบริโภคเพิ่มขึ้นทุกหมวดหมู่ทั้งสินเชื่อบ้าน รถ บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล แต่ที่โดดเด่นคือสินเชื่อรถที่เติบโตในอัตราเร่ง 10-14% ทำให้ยอดคงค้างสินเชื่อปัจจุบันสูงแตะ 1.1 ล้านล้านบาท บวกกับเริ่มมีประเด็นคุณภาพสินเชื่อรถจาก NPL ที่ขยับเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น แนวโน้มการขยายตัวการบริโภคเอกชนในช่วงต่อไปจะชะลอลงเพราะแรงซื้อรถน่าจะอ่อนแรงลง และยอดหนี้ครัวเรือนที่ยังคงอยู่ในระดับสูง 78.6% ต่อ GDP เป็นข้อจำกัดการเติบโตของการบริโภค

มองว่าธปท.จะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75% ตลอดปี 62 สาเหตุจากความเสี่ยงต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นทำให้แรงหนุนจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังไม่มากพอให้ธปท.ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อมีไม่มาก  ขณะเดียวกัน  การจะลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังจะชะลอลง พบว่ามีข้อจำกัดจากหนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีประเด็นคุณภาพสินเชื่อที่เสื่อมถอยลง ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินได้

ค่าเงินบาทในช่วงที่เหลือของปีมีแนวโน้มไปในทิศทางแข็งค่าขึ้น จากปัจจุบันเคลื่อนไหวที่ 31.6-32.0 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งหนุนด้วยปัจจัยบวกจากภาคการท่องเที่ยวและการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้นอย่างชัดเจนของธนาคารกลางหลักๆของโลก นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยหนุนจากพื้นฐานเศรษฐกิจที่อยู่ในเกณฑ์ดีและการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด  ทำให้คาดว่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในช่วง 31.2-32.0 หรือเฉลี่ย 31.45 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าราว 2.7 % จากปีก่อนหน้า นอกจากนี้ความเสี่ยงจากสงครามการค้าและความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงมีอยู่  ส่งผลให้ค่าเงินบาทมีความผันผวนมากกว่าช่วงต้นปี

แนวโน้มธนาคารพาณิชย์

การดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในปี 62 แม้ยังอยู่ในเกณฑ์ดีแต่มีแนวโน้มชะลอลง ตามสภาพเศรษฐกิจ โดยสินเชื่อรวมมีแนวโน้มขยายตัว 4.5% ลดลงจาก 6% ในปีก่อน ซึ่งปัจจัยหลักมาจากสินเชื่อรายย่อยที่คาดว่าจะขยายตัวลดลงจาก 9.4% ในปีก่อน เหลือเพียง 5.1% ตามการบริโภคภาคเอกชนที่มีแนวโน้มชะลอลงจากภาระหนี้ที่เร่งตัวขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ และ SME ขยายตัวในระดับใกล้เคียงกับปีก่อนที่ 4.6% และ 4.0% ตามลำดับ โดยคาดว่าแรงหนุนจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและมาตรการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI และ EEC จะเกิดขึ้นได้หลังมีการฟอร์มรัฐบาลในช่วงครึ่งปีหลัง

คุณภาพสินเชื่อค่อนข้างน่ากังวลโดยเฉพาะสินเชื่อรายย่อย ในขณะที่สินเชื่อธุรกิจปรับดีขึ้นเล็กน้อย โดยยอด NPL รวมทั้งระบบคาดว่าจะอยู่ที่ 4.9 แสนล้าน เพิ่มขึ้น 4.5 หมื่นล้านจากช่วงต้นปี ซึ่ง NPL ของกลุ่มสินเชื่อรายย่อยมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นแตะระดับ 1.3 แสนล้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง NPL ของสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรถยนต์ จากผลของการเร่งปล่อยสินเชื่อในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยในปีที่ผ่านมาอัตราการขยายตัวของสินเชื่อรายย่อยสูงถึง 9.4% ขณะที่รายได้ภาคครัวเรือนเพิ่มเฉลี่ยเพียง 1.7%

ประเด็นเรื่องการทำสงครามเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ไม่น่ากังวล เนื่องจากสินเชื่อมีแนวโน้มชะลอลง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอาจมีการปรับขึ้นเล็กน้อย ทำให้เงินฝากมีแนวโน้มขยายตัวที่ 4.8% ให้สภาพคล่องธนาคารพาณิชย์ตึงตัวขึ้นเล็กน้อย สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากปรับมาอยู่ที่ 98%

 

 

X

Right Click

No right click