โครงการอบรม “Epson Moverio Experience ” สร้างมุมมองใหม่ด้วยเทคโนโลยีแว่นตาอัจฉริยะเอปสัน ร่วมการถ่ายภาพมุมสูงจากอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) สมาคมส่งเสริมและพัฒนาการถ่ายภาพร่วมกับเครือข่ายนิเทศศาสตร์ EPSON และ DJI 13 STORE กิจกรรมดีๆสำหรับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย เครือข่ายนิเทศศาสตร์ พิเศษสุด!!! เปิดรับบุคคลทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เพียง 20 ที่นั่ง !! ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย รับจำนวนจำกัด จองก่อนมีสิทธิ์ก่อน!!!

เสวนาเปิดวิสัยทัศน์ด้วยรายละเอียด นำมาซึ่งความแตกต่าง สร้างแรงบันดาลใจ สร้างสรรค์ไอเดีย โดย ผศ.ภคมน ตั้งจิตติเลิศ สาขาศิลปะการถ่ายภาพภาควิชาออกแบบ วิทยาลับเพาะช่างอาจารย์ นท พูนไชยศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านสตูดิโอภาพยนตร์ สถาบันกันตนา และทีมงานEPSON และ DJI 13 STORE

กิจกรรมดีๆสำหรับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมกิจกรรมเครือข่ายนิเทศศาสตร์ วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม 2562 เวลา 8.30 – 16.00 น. ณ สถาบันกันตนา สตูดิโอ ศาลายา จ.นครปฐม พิเศษสุด!!! เปิดรับบุคคลทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เพียง 20 ที่นั่ง!! ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย รับจำนวนจำกัด จองก่อนมีสิทธิ์ก่อน กิจกรรมดีๆสำหรับคนรักการถ่ายภาพ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและจองอบรมได้ที่ Line ID : cherryiline

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประกาศความร่วมมือในงานวิจัยระยะเวลาสองปีร่วมกับไอบีเอ็ม เพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยในประเทศไทย โดยสวทช. และไอบีเอ็ม ร่วมด้วยกลุ่มมิตรผล ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่เป็นอันดับสามของโลกและรายใหญ่ที่สุดในเอเชียที่ให้การสนับสนุนความรู้เฉพาะทางในการวิจัยครั้งนี้ จะนำร่องพัฒนาแดชบอร์ดอัจฉริยะและแอพพลิเคชันบนมือถือ เพื่อช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสุขภาพของอ้อย ความชื้นของดิน ความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีจากโรคและศัตรูพืช การคาดการณ์ผลผลิต และดัชนีค่าคุณภาพความหวานของอ้อย (ซีซีเอส) โดยอาศัยเทคโนโลยีเอไอชั้นนำของโลกและข้อมูลสภาพอากาศที่แม่นยำที่สุดในโลกจากเดอะเวเธอร์คอมแพนี (The Weather Company) รวมถึงเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์และอนาไลติกส์

อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่ใช้ในการผลิตน้ำตาลและพลังงานชีวภาพในประเทศไทยและทั่วโลก ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับสองของโลก และมีบทบาทสำคัญในการป้อนน้ำตาลสู่ตลาดโลกโดยมีส่วนแบ่งตลาด 9.4% ในปี 2560 [1] มีการคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตน้ำตาลได้ 14.1 ล้านเมตริกตันในช่วงปี 2561-2562 โดยเพิ่มขึ้น 3% จากปีที่ผ่านมา

ปัจจุบันนักวิจัยไอบีเอ็มกำลังพัฒนา “อโกรโนมิคอินไซต์แอสซิสแทนท์” (Agronomic Insights Assistant) ซึ่งใช้แพลตฟอร์มไอบีเอ็มวัตสันดีซิชันสำหรับการเกษตร (IBM Watson Decision Platform for Agriculture) ร่วมกับระบบไอบีเอ็มแพร์สจีโอสโคป (IBM PAIRS Geoscope) ซึ่งเป็นการผสานรวมข้อมูลความสัมพันธ์เชิงเวลาและพื้นที่ (เช่น ภาพถ่ายพืชผลจากกล้องหลายช่วงคลื่นที่เก็บภาพมาจากดาวเทียมหลายตัว ข้อมูลดิน ข้อมูลแบบจำลองความสูงของภูมิประเทศในรูปแบบดิจิทัล) ร่วมกับข้อมูลทางการเกษตร (เช่น สุขภาพของอ้อย ระดับความชื้นของดิน พยากรณ์ความเสี่ยงโรคและศัตรูพืช ปริมาณผลผลิต และดัชนีค่าคุณภาพความหวานของอ้อย) โดยใช้โมเดลการพยากรณ์ที่แม่นยำจากเดอะเวเธอร์คอมแพนี จากนั้นจึงนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ร่วมกับเทคโนโลยีการสำรวจเฉพาะพื้นที่ที่ได้รับการปรับและพัฒนาให้เหมาะกับการทำไร่อ้อยในประเทศไทยโดยสวทช. และความรู้เฉพาะทางด้านการเกษตรจากกลุ่มมิตรผล เพื่อกลั่นกรองเป็นข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับภาวะการขาดน้ำและอาหารที่ส่งผลต่อการเติบโตของอ้อย ความเสี่ยงของโรคและศัตรูพืช ตลอดจนปริมาณผลผลิตทางการเกษตรและดัชนีคุณภาพของอ้อย

ทั้งนี้ จะมีการนำร่องใช้อโกรโนมิคอินไซต์แอสซิสแทนท์ในช่วงกลางปีนี้บนไร่อ้อยขนาดไม่เกินหนึ่งล้านตารางเมตรจำนวน 3 ไร่ โดยเมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์ คาดว่าจะทำให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จะช่วยประเมินและจัดการความเสี่ยงต่างๆ ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งจะนำไปสู่ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ด้วยข้อมูลเชิงลึกที่พยากรณ์ล่วงหน้าได้สูงสุดสองสัปดาห์ ร่วมด้วยการแจ้งเตือนเกี่ยวกับโรคและศัตรูพืชอย่างหนอนเจาะลำต้นข้าวและความเสี่ยงที่จะเกิดโรคใบขาว และการพยากรณ์อากาศระยะสั้นตามฤดูกาลแบบเจาะจงพื้นที่ คาดว่าจะช่วยให้เกษตรกรสามารถวางแผนการเพาะปลูกได้อย่างเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นการทดน้ำและระบายน้ำ การใส่ปุ๋ย และการกำจัดศัตรูพืช เพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่อาจนำไปสู่การสูญเสียผลผลิต

“ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับประเทศ สวทช.   มีความมุ่งมั่นที่จะเสริมความแข็งแกร่งให้กับการวิจัยและการพัฒนาของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอาหารและการเกษตร ซึ่งสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจหลายพันล้านบาทต่อปี และยังคงเป็นส่วนสำคัญในวิถีชีวิตของคนไทย” ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าว “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะช่วยให้มั่นใจได้ถึงการเติบโตอย่างยั่งยืนและความสามารถในการแข่งขันระดับโลกของประเทศไทย และ สวทช. มีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับกลุ่มมิตรผลและผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิจัยไอบีเอ็ม เพื่อร่วมกันสร้างเกษตรกรรมยุคใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล โดยเริ่มต้นที่การทำไร่อ้อยในประเทศไทย”

“กลุ่มมิตรผลให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนนวัตกรรมและการวิจัยอย่างต่อเนื่อง รวมถึงนำมาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผลผลิตอ้อยทั้งในด้านของคุณภาพและปริมาณซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืนของทุกภาคส่วนที่อยู่ในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล” รศ.ดร.กล้าณรงค์ ศรีรอต Head of Innovation and Research Development Institute กลุ่มมิตรผล กล่าว “การร่วมมือกับสวทช. รวมถึงการนำเทคโนโลยีเอไอ การสำรวจระยะไกลผ่านดาวเทียม และระบบพยากรณ์อากาศขั้นสูงของไอบีเอ็มมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำไร่อ้อย จึงนับว่าเป็นอีกก้าวที่สำคัญในการทำเกษตรแม่นยำ (Precision Farming) ซึ่งอยู่ภายใต้แผนการปรับเปลี่ยนให้เกษตรกรไทยก้าวสู่การทำเกษตรสมัยใหม่ หรือ Modern Farming
ได้รวดเร็วขึ้น ทั้งยังสร้างประโยชน์ให้กับภาคเกษตรกรรมของไทยอย่างยั่งยืน”

“ไอบีเอ็มภูมิใจที่ได้ร่วมทำวิจัยภายใต้เป้าหมายในการนำข้อมูลเชิงลึกเข้าเป็นเครื่องมือเสริมศักยภาพการทำไร่อ้อยของไทย และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมหลักอย่างหนึ่งของประเทศ อันเป็นการสนับสนุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของไทย” นางสาวปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าว “การผนึกจุดแข็งของสวทช. และไอบีเอ็มในด้านการวิจัยและเทคโนโลยีขั้นสูงที่ใช้บิ๊กดาต้า อนาไลติกส์ เอไอ และอินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์ เข้ากับความรู้เชิงลึกด้านการเกษตรของกลุ่มมิตรผล เป็นการพลิกโฉมแนวปฏิบัติของหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เก่าแก่ที่สุด และแสดงให้เห็นถึงก้าวย่างใหม่ของเกษตรกรรมอัจฉริยะในประเทศไทย”

“ปัจจัยต่างๆ อย่างเช่นการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ประชากรที่เพิ่มขึ้น และความกังวลด้านความมั่นคงทางอาหาร ล้วนเป็นตัวผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐต้องแสวงหาโมเดลการทำงานร่วมกันรูปแบบใหม่บนพื้นฐานของข้อมูลและนวัตกรรมใหม่ๆ” แคทรีน กวารินี รองประธานฝ่ายวิจัยอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยไอบีเอ็ม กล่าว “สถาบันวิจัยไอบีเอ็มหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในลักษณะเดียวกันนี้เพิ่มเติมในอุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อรับมือกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก”

เอสซีจี โลจิสติกส์ ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ Digital Driven Logistics เดินหน้าใช้เทคโนโลยีดิจิทัล อาทิ Object Recognition, Robotic Process Automation (RPA) และ Chatbot ตอบสนองความต้องการของลูกค้า พร้อมขยายการให้บริการสู่ตลาดอาเซียน และจีน ตั้งเป้าสร้างยอดขาย 22,000 ล้านบาท ในปี 2562 หรือเติบโตร้อยละ 12 พร้อมตอบโจทย์กลุ่ม SMEs มุ่งเป็น One Stop Logistics Solution อย่างครบวงจร ด้วยบริการ Fulfillment by SCG Logistics ที่ให้บริการจัดเก็บ บรรจุหีบห่อ และจัดส่งสินค้าทุกขนาด สามารถรับบริการผ่าน  www.scglogistics.co.th

นายไพฑูรย์ จิรานันตรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด กล่าวว่า “ในช่วงที่ผ่านมา ธุรกิจโลจิสติกส์เติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยปัจจัยสนับสนุนต่างๆ เช่น สภาพเศรษฐกิจที่ขยายตัว เนื่องมาจากการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล และการส่งออกที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเติบโตของตลาด E-commerce ที่มีผู้ประกอบการรายใหม่จำนวนมากในตลาด ส่งผลให้มีการแข่งขันที่รุนแรงเช่นเดียวกัน โดยเอสซีจี โลจิสติกส์ มีการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 5.5 ต่อปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

จากปัจจัยดังกล่าว เอสซีจี โลจิสติกส์ในฐานะผู้นำด้านการขนส่ง และโลจิสติกส์ ที่ให้บริการอย่างครบวงจร (End to End Service) มีความพร้อมก้าวสู่ธุรกิจในรูปแบบ Digital Driven Logistics ด้วยการนำเทคโนโลยีและดิจิทัลที่นำสมัยมาใช้ในกระบวนการให้บริการตลอดทั้ง Supply Chain อาทิ Object Recognition, Robotic Process Automation (RPA), Chatbot เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพตลอดกระบวนการทำงาน และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เกิดความถูกต้อง รวดเร็ว และปลอดภัย อีกทั้ง ยังช่วยบริหารต้นทุนให้มีอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมรองรับการให้บริการลูกค้าทั้งภายในและภายนอกเอสซีจี ทั้งในประเทศไทย อาเซียน และ จีน โดยในปี 2562 นี้ เอสซีจี โลจิสติกส์ ตั้งเป้าสร้างยอดขาย 22,000 ล้านบาท หรือเติบโตร้อยละ 12

สำหรับเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการบริการโลจิสติกส์ที่ เอสซีจี โลจิสติกส์ นำมาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและบริการลูกค้าตลอดทั้ง Supply Chain เช่น เทคโนโลยี Robotic Process Automation  (RPA) หรือ ระบบการจัดการข้อมูลภายในคลังสินค้าที่ช่วยบันทึกข้อมูล เอกสารต่างๆ เพื่อความรวดเร็ว ถูกต้อง ตลอด 24 ชั่วโมง เทคโนโลยี Object Recognition หรือ ระบบตรวจจับและวิเคราะห์วัตถุ โดยระบบสามารถตรวจจับตัวเลขข้างรถเพื่อบันทึก และตรวจสอบความถูกต้องของรถขนส่ง เทคโนโลยี Route Optimization หรือ ระบบการจัดการเส้นทางการจัดส่ง เพื่อช่วยคำนวนเส้นทางที่รวดเร็ว และสามารถตรวจสอบได้แบบเรียลไทม์ และ Chatbot ที่สามารถโต้ตอบผ่านทางสมาร์ทโฟน เพื่อความสะดวก และสร้างความมั่นใจในการจัดส่งสินค้าที่ถูกต้อง ตรงตามเวลาที่กำหนด

นอกจากนี้ ด้วยการเติบโตของธุรกิจ E-commerce ที่มีมูลค่าตลาดกว่า 3.2 ล้านล้านบาท และพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้มีผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) จำนวนมากในยุคดิจิทัล และมีความต้องการด้านการจัดการโลจิสติกส์ที่ครบวงจร เอสซีจี โลจิสติกส์ เห็นถึงโอกาสดังกล่าว จึงได้นำเสนอบริการ Fulfillment by SCG Logistics ในรูปแบบ One Stop Logistics Solution ช่วยผู้ประกอบการออนไลน์ให้เติบโต ด้วยบริการจัดการคลังจัดเก็บสินค้า บรรจุหีบห่อ และจัดส่งสินค้าทุกขนาด ตั้งแต่สินค้าขนาดเล็ก เช่น เครื่องสำอาง จนถึงสินค้าขนาดใหญ่ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอรขนาดใหญ่ อีกทั้ง ยังมีบริการเสริม (Value Added Service) ที่ช่วยตอบสนองความต้องการพิเศษของลูกค้า ได้แก่ บริการบรรจุสินค้าตามความต้องการของลูกค้า (Customize) เช่น แนบการ์ด ผูกโบว์ ก่อนบริการจัดส่ง บริการ White Glove ส่งและติดตั้งสินค้ามูลค่าสูงที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ บริการ Reverse Logistics รับสินค้ากลับโรงงงาน หรือนำมาซ่อมเบื้องต้น รวมถึงบริการเสริม Data Analytic วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า เพื่อให้เจ้าของธุรกิจสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยลูกค้าสามารถตรวจเช็คสต็อคสินค้า และสถานะสินค้าได้จากระบบออนไลน์”

“โพลีเฮอร์บ” ยกทัพนักธุรกิจกว่า 1,000 คน เยี่ยมชมอาณาจักรคุ้มแสนสุข จ.เชียงราย พร้อมเผยผลประกอบการปี 2561 และทิศทางการดำเนินธุรกิจในเชิงรุกของปี 2562 อีกทั้งยังได้เปิดตัวทีมผู้บริหารชุดใหม่ โดยตั้งเป้าหมายภายในปี 2562 ทำยอดขาย 1,000 ล้านบาท

นายทองเปลว ศิริพรพิทักษ์ ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท มิลลิเมด จำกัด และประธานที่ปรึกษา บริษัท โพลีเฮอร์บ เน็ตเวิร์ค จำกัด และ ดร.สุภัตรา แปงการิยา ประธานบริหาร บริษัท โพลีเฮอร์บ เน็ตเวอร์ค จำกัด ยกทัพนักธุรกิจกว่า 1,000 คนเยี่ยมชม “อาณาจักรคุ้มแสนสุข” บนพื้นที่ 2,500 ไร่ ณ อ.เวียงชัย จ.เชียงราย

โดย โพลีเฮอร์บ เน็ตเวอร์ค ได้จัดงานเลี้ยงอย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้ชื่อ "Poly Herb ร้อยใจพันดาว" เพื่อต้อนรับคณะผู้ร่วมงาน พร้อมเผยผลประกอบการปี 2561 และทิศทางการดำเนินธุรกิจในเชิงรุกของปี 2562 ตั้งเป้ายอดขาย 1,000 ล้านบาท อีกทั้งยังได้เปิดตัวทีมผู้บริหารชุดใหม่ เตรียมรุกหนักด้วยการเปิดแผนกคอลเซ็นเตอร์รับมือสมาชิกที่เติบโตต่อเนื่อง ปัจจุบันอยู่ที่ 40,000 รหัส คาดสิ้นปีนี้ทำได้ 100,000 รหัส วางแผนเปิดซุปเปอร์โมบาย 1 อำเภอ 1 ซุปเปอร์โมบาย ทำหน้าที่สาขาย่อย เริ่มปีนี้ 100 แห่งทั่วประเทศ พร้อมนำผลิตภัณฑ์ขึ้นทะเบียนฮาลาลขยายฐานกลุ่มมุสลิม รวมทั้งใช้การประชาสัมพันธ์ธุรกิจออกสู่วงกว้างมากขึ้น

โดยภายในงานมีการแสดง แสง สี เสียง การแสดงศิลปะล้านนาร่วมสมัยจากทัพนักแสดงกว่า 100 คน และการแสดงจากศิลปินลูกทุ่งชื่อดัง “หญิงลี ศรีจุมพล” ที่มามอบความบันเทิง สร้างรอยยิ้ม อย่างสนุกสนาน ปิดท้ายด้วยกิจกรรมจับรายชื่อผู้โชคดี แจกรางวัลต่างๆ มากมาย

นอกจากนี้ โพลีเฮอร์บ เน็ตเวอร์ค ยังได้ทำการมอบลูกฟุตบอลจำนวน 200 ลูก แก่สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย เพื่อสนับสนุนกิจกรรมกีฬาของเยาวชนในจังหวัดเชียงราย โดยมี “โค้ชเอก เอกพล จันทะวงษ์ ทีมหมูป่าอคาเดมี่” เป็นตัวแทนในการรับมอบลูกฟุตบอล และในโอกาสเดียวกัน โพลีเฮอร์บ เน็ตเวอร์ค ได้มอบทุนสนับสนุนกิจกรรมมูลค่า 50,000 บาท แก่วงโยธวาทิต โรงเรียนอนุบาลเชียงของ จังหวัดเชียงราย อีกด้วย

โออิชิ อีทเทอเรียม” (OISHI EATERIUM) นิยามใหม่ของร้านอาหารญี่ปุ่น เอาใจคนรักอาหารญี่ปุ่น คอซูชิ พร้อมเสิร์ฟเมนูพิเศษ!! 2 สุดยอดซูชิเนื้อวัว ที่โดดเด่นด้วยรสชาติเข้มข้นจาก ฮารามิ (Harami) หรือเนื้อพื้นท้อง...เนื้อนุ่ม มันน้อย สัมผัสรสชาติที่พาคุณเดินทางสู่ญี่ปุ่นผ่านซูชิหน้าใหม่ ๆ ทั้ง “นิกุสไปซี่ ซูชิ” (Niku Spicy Sushi) ข้าวปั้นหน้าเนื้อฮารามิผัดซอสพริกญี่ปุ่น และ “ทามาโกะนิกุ ซูชิ” (Tamago Niku Sushi) ข้าวปั้นหน้าเนื้อฮารามิผัดซอสยากินิกุ และไข่นกกระทา อร่อยได้ไม่อั้นที่ โออิชิ อีทเทอเรียม ทุกสาขา ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 – 31 มีนาคม 2562 เท่านั้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมคลิกแฟนเพจโออิชิฟู้ดสเตชั่น: www.facebook.com/OishiFoodStation หรือค้นหาสาขาใกล้บ้านคลิกโออิชิฟู้ดดอทคอม: www.oishifood.com

X

Right Click

No right click