×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

สำหรับผู้ที่สนใจเส้นทางเทรนเนอร์/โค้ช ระดับสากล ใช้เครื่องมือประเมินบุคคลเพื่อการโค้ชอย่างแม่นยำ

- ได้รับการรับรองการเป็นผู้สอน Everything DiSC Workplace

- ตอบโจทย์องค์กร ในเรื่องของการพัฒนาบุคลากร สามารถใช้แบบประเมิน DiSC ในการจัดอบรมทั้งในและนอกองค์กร

- ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น Professional Facilitator ของ M.I.S.S. CONSULT ซึ่งมีโอกาสในการเป็นผู้อบรมมืออาชีพ

 

WORKSHOP 22-23 พฤศจิกายน 2561

สถานที่ : บริษัท มิส คอนซัลท์ จำกัด อาคารคิวเฮ้าส์อโศก กรุงเทพฯ

รูปแบบการการอบรม : เรียนออนไลน์เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าอบรม

รับสมัครตั้งแต่วันนี้ - 1 พฤศจิกายน 2561

โทร. 02-258-4966 / 085-186-2356

E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ซัมซุง ผู้นำด้านนวัตกรรมคอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์และสมาร์ทโฟนระดับโลก ประกาศกลยุทธ์ผลักดันภาคธุรกิจไทยสู่ Next Mobile Economy

กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ส.ค. อยู่ที่ 1.62% เพิ่มขึ้นจาก 1.46% ในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานกลับชะลอลงอยู่ที่ 0.75% จาก 0.79% ในเดือนก่อนหน้า

เงินเฟ้อเร่งขึ้น จากราคาอาหารสด และราคาพลังงาน

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ 1.62% เป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 4 ปี แต่เป็นผลจากราคาอาหารสดที่เพิ่มขึ้น และราคาพลังงานที่ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นหลัก การฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศยังไม่ได้เป็นปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น เห็นไดจ้ากอตัราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ค่อนข้างทรงตัว

คาดว่า กนง. ส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยแต่ยังไม่ปรับในเดือนนี้

Krungthai Macro Research มองว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.5% ในการประชุมวันที่ 19 กันยายนนี้ แต่จะส่งสัญญาณชัดเจนขึ้นว่าจะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นในระยะต่อไป ด้วยเหตุผลเรื่องเสถียรภาพทางการเงินและความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินในอนาคต นอกจากนี้ คาดว่าจะมีการปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจดีขึ้นในการประชุมครั้งนี้ด้วยเช่นกัน

หากดูอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (bond yield) จะเห็นว่า bond yield ระยะ 3 เดือนปรับลดลง ขณะที่ bond yield 6 เดือนปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะสะท้อนมุมมองว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ในช่วง 3 เดือนข้างหน้า เป็นไปได้น้อยกว่า เมื่อเทียบกับการปรับขึ้นในช่วง 6 เดือนข้างหน้า

บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) โดยคุณนพพร บุญลาโภ กรรมการผู้จัดการใหญ่ คุณศุภชัย จงศุภวิศาลกิจ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ร่วมถวายเงินเพื่อสมทบทุนในการสร้างกุฎิที่พักพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ให้แก่พระครูปลัดวรกร เขมปญโญ (พระครูบาน้อย เขมปญโญ) เจ้าอาวาสและเจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว โดยมีคุณชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน พร้อมทีมผู้บริหารร่วมด้วย  เมื่อวันที่ กันยายน 2561 ณ วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว จ.เชียงใหม่

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ประจำปี 2561 ในงาน "รวมพลังรัฐวิสาหกิจพัฒนาเศรษฐกิจไทย ก้าวไกลอย่างยั่งยืน" ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) โดย นายผยง ศรีวณิชกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทยรับรางวัลการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสดีเด่น ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัล เวิลด์

สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึงความสำเร็จโครงการ SME Provincial Champions พร้อมเปิดตัวผู้ประกอบการ 154 รายจากโครงการพัฒนาสู่สุดยอดเอสเอ็มอีจังหวัด (SME Provincial Champions) ที่ผ่านการคัดเลือกจากทั่วประเทศมาออกร้านแสดงผลงานและจำหน่ายสินค้าภายใต้สโลแกน ช้อบ กิน เที่ยว ครบที่เดียว 77 จังหวัด ณ ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ปทุมธานี ระว่างวันที่ 7 - 9 กันยายน โดยในงานมีกิจกรรมหลักที่น่าสนใจประกอบด้วย การออกร้านแสดงสินค้าของผู้ประกอบการ การเสวนาเทคนิคการทำธุรกิจในยุค 4.0 การเจรจาธุรกิจระหว่างผู้ประกอบกับตัวแทนจากห้างสรรพสินค้าและโมเดิiร์นเทรดรายใหญ่

สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

โอกาสนี้ สสว. ขอเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจ ได้มา ช้อป กิน เที่ยว ครบที่เดียว 77 จังหวัด ในงาน SME Provincial Champions Fair ระหว่างวันที่ 7-9 กันยายน 2561 ณ ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ปทุมธานี และสามารถติดตามความเคลื่อนไหวและเยี่ยมชม สุดยอดเอสเอ็มอีจังหวัด (SME Provincial Champions) ได้ทาง www.provincialchamp.com      


 

EIA Monitoring Awards เป็นรางวัลที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) มอบให้แก่สถานประกอบการที่ปฏิบัติตามมาตรการในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมีการจัดการสภาพแวดล้อมดีเด่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงจูงใจและให้กำลังใจแก่สถานประกอบการในการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันแก้ไข และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA และส่งเสริมให้สถานประกอบการพัฒนากลไกการจัดการสิ่งแวดล้อมของตนเอง และเป็นแบบอย่างแก่สถานประกอบการอื่นๆ ได้ปฏิบัติตาม และเป็นการประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนทั่วไปได้รับทราบ และเห็นความสำคัญของการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง

กรมชลประทานเฝ้าติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม (EIA) ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสูดแก่ทุกภาคส่วน ตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปัจจุบัน ในการพัฒนาโครงการอ่างเก็บ น้ำ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้สนใจทั่วไปที่ต้องการค้นคว้ารายละเอียดเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการฯ และยังดำเนินงานการป้องกันแก้ไขหรือลดผลกระทบที่เกิดขึ้นให้อยู่ในระดับที่น้อยที่สุด เพื่อให้เกิดการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการฯ ได้เป็นอย่างดี

 

ประเภทรางวัลที่ได้รับ

ระดับ ยอดเยี่ยม โครงการที่มีคะแนนรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนดตั้งแต่ 90 ขึ้นไปและโครงการที่ได้รับรางวัล EIA Monitoring Awards ในระดับที่ไม่ต่ำกว่าระดับดีเด่นไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง

ระดับ ดีเด่น โครงการที่มีคะแนนรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ตั้งแต่ 85 คะแนนขึ้นไป

ระดับ ชมเชย โครงการที่มีคะแนนรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ไม่ต่ำกว่า 75 คะแนน

  

EIA Monitoring Awards 2011

ปี พ.ศ. 2554 เป็นปีแรกที่กรมชลประทานได้ส่งโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่ผ่านการเห็นชอบในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมีการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและแผนติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมเข้าร่วมการประกวด จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง และโครงการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก โดยโครงการกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง ได้รับรางวัล EIA Monitoring Awards 2011 ระดับ ชมเชย และโครงการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก ได้รับรางวัลระดับ ดีเด่น

โดยมี ดร.พิทยา พุกกะมาน ผู้ช่วย รมว. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้มอบรางวัล เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2555 ณ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์
 

EIA Monitoring Awards 2014

ในปี พ.ศ. 2556 กรมชลประทานได้ส่งโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเข้าร่วมการประกวด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง โครงการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก และโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวง รัชชโลทร จังหวัดชลบุรี และทั้ง 3 โครงการ ได้รับรางวัล EIA Monitoring Awards 2014 ระดับ ดีเด่น

โดยมี รมว. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณเป็นผู้มอบรางวัล เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2557 ณ โรงแรมเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์

  

EIA Monitoring Awards 2016

ในปี พ.ศ. 2559 กรมชลประทานได้ส่งโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเข้าร่วมการประกวด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวง รัชชโลทร จังหวัดชลบุรี และโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดอุตรดิตถ์ และทั้ง 3 โครงการ ได้รับรางวัล EIA Monitoring Awards 2016 ระดับ ดีเด่น

โดยมี รมว. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ เป็นผู้มอบรางวัล เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2560 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์

“การทำธุรกิจการค้าขายปัจจุบันไม่ได้อยู่แค่ในเรื่องธุรกิจแบบเดิมๆ มีการ Disruption ใน Supply Chain อยู่ตลอดเวลา ถ้าจะขายของเดิมต้องมีหน้าร้านเดี๋ยวนี้ใช้คอมพิวเตอร์ ใช้มือถือ สามารถสั่งซื้อของได้ ความจำเป็นของหน้าร้านลดลงไป โดยเทคโนโลยีแล้วความจำเป็นที่จะต้องผ่านสื่อกลางน้อยลง นี่คือตัวอย่างบริบทของดิจิทัลที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงธุรกิจ ซึ่งบริบทเหล่านี้นักศึกษาของเราจะได้เรียนรู้”

ดร.รชฏ ขำบุญ รองคณบดีสายงานวิชาการ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี และผู้อำนวยการหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวกับ MBA ถึงความเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจและการเตรียมความพร้อมให้กับมหา-บัณฑิตของสถาบัน

หลักสูตรเอ็มบีเอของธุรกิจบัณฑิตย์มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 20 ปี มีการปรับปรุงหลักสูตรมาอย่างต่อเนื่อง ให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจ โดยการเทียบเคียงหลักสูตรกับหลักสูตรของมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก และแนวโน้มของประเทศ รวมถึงนโยบายภาครัฐ เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม และจากการสำรวจความคิดเห็นผู้ใช้งานบัณฑิตที่ผ่านมา พบว่าผู้ใช้งานบัณฑิตต้องการผู้ที่มีความรู้สามารถบูรณาการองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ได้ สามารถเข้าใจงานในแต่ละส่วนได้ดี และต้องการผู้ที่มีความรู้เชี่ยวชาญในส่วนงานที่รับผิดชอบ

ดร.รชฏเล่าว่าจากมุมมองของอธิการบดี ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ ที่มองว่าหลักสูตรจะต้องสอดคล้องกับนโยบายทิศทางของภาครัฐด้วย และมองความต้องการใช้บัณฑิตในอนาคต 3-4 ปีข้างหน้า เป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรครั้งล่าสุดที่กำลังใช้อยู่วันนี้

จากการศึกษาข้อมูลต่างๆ เบื้องต้นก็ได้คำตอบว่า หลักสูตรของธุรกิจบัณฑิตย์จะมุ่งเน้นไปที่ดิจิทัลมากขึ้นในทุกกลุ่มวิชาทั้ง 6 กลุ่ม คือ การตลาดดิจิทัล ผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัล การจัดการการเงินยุคดิจิทัล การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในยุคดิจิทัล ธุรกิจดิจิทัล และธุรกิจประกันภัย 

ผู้อำนวยการหลักสูตรอธิบายว่าการเน้นเรื่องดิจิทัลในเนื้อหาวิชา จะมีการสอนเรื่องเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล เช่นในสาขาโลจิสติกส์มีเรื่องการประยุกต์ใช้โดรนขนส่งสินค้า แอปพลิเคชันเพื่อการทำงานต่างๆ ที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้ โดยเรียนผ่านกรณีศึกษา และเน้นภาคปฏิบัติเพิ่มมากขึ้น

และเพิ่มเติมว่าการเรียนการสอนในปัจจุบันแตกต่างจากที่ผ่านมา ที่เน้นที่การสอบกลางภาคและปลายภาคเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจของนักศึกษา หากเปลี่ยนมาเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ของคะแนนมาจากภาคปฏิบัติ ส่วนการสอบเหลือเพียง 20 เปอร์เซ็นต์หรือบางวิชาอาจจะไม่มีการสอบเลย โดยให้นักศึกษาทำงานกลุ่มและงานเดี่ยวแทน การเน้นภาคปฏิบัติเช่นการทำโมเดล มีการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางทฤษฎีที่เรียนไปมากขึ้น และเน้นการเรียนแบบ Project Base ช่วยเพิ่มความเข้าใจในเนื้อหาวิชา รวมถึงทำให้ผู้เรียนได้แบ่งปันความคิดเห็นที่หลากหลายในการอภิปรายกรณีต่างๆ 

“เรียนออนไลน์บ้าง หรือเราสรุปประเด็นให้เข้าใจง่าย แต่ก่อนผมสอนคำนวณมากแต่เดี๋ยวนี้คอมพิวเตอร์คีย์ไปใน Excel แป๊บเดียว ถ้ารู้สูตร รู้ที่มาของสูตรแก้ปัญหา 10 นาที แต่เดิมต้องสอบข้อนี้ 3 ชั่วโมง ถามว่าต้องกลับไปเรียนแบบเดิมไหม ไม่ต้องแล้ว ผมอธิบายซัพพลายเชนผมอธิบายแค่ 6 ชั่วโมงนักศึกษาก็เข้าใจได้แล้ว แต่ก่อนต้องเป็นทั้งเทอม เพราะต้องมีการคำนวณ มีสูตร เดี๋ยวนี้เราเอาโจทย์ให้นักศึกษาแก้ใน Excel เรามีซอฟต์แวร์ให้ ที่เหลือไปเรียนอย่างอื่น ไปดูตัวอย่าง” ดร.รชฏอธิบายรูปแบบการเรียนแบบใหม่และบอกต่อว่า

การเรียนทฤษฎีที่น้อยลง แต่ไม่ได้หมายความว่า ผู้เรียนจะได้ความรู้ลดลง แต่เปลี่ยนรูปแบบการเรียนด้วยการให้นักศึกษาไปเรียนรู้จากบทเรียนออนไลน์ที่หลักสูตรจัดเตรียมไว้ให้ก่อนเข้าห้องเรียน เมื่อนักศึกษาเข้าห้องเรียนในวันเสาร์ก็จะเป็นการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ รวมถึงการได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่แต่ละวิชาเชิญมาให้ความรู้ 

“เอ็มบีเอเหมือนพูลตรงกลาง เราเชิญอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญ เช่นทางด้านการบิน วิทยาลัยการบิน ด้านการโรงแรมก็เชิญจากวิทยาลัยการโรงแรมมา นักศึกษาของเรานอกจากมีความรู้พื้นฐานของเอ็มบีเอแล้ว เขาจะมีความเชี่ยวชาญทางด้านสาขาที่เลือก ก็มีเชิญวิทยากรภายนอก มาเล่าว่าอะไรคือปัจจัยความสำเร็จของแต่ละธุรกิจเป็นต้น”

“นี่เป็นสิ่งที่ในหลักสูตรที่ปรับมา คือไม่เน้นเรื่องการจำทฤษฎี ในนโยบายของมหาวิทยาลัยเราเน้นการปฏิบัติให้มาก เพราะเราเชื่อว่า ทฤษฎี สุดท้าย ก็อ่านก่อนสอบ 1-2 คืน แล้วก็ลืม แต่ถ้าปฏิบัติเป็นเขาจะจำได้ และการเรียนจะสนุกกว่ากันมาก” 

หลักสูตรที่เน้นการเรียนภาคปฏิบัติและเรื่องดิจิทัลที่สอดแทรกในเนื้อหาของธุรกิจบัณฑิตย์เริ่มใช้ในภาคการศึกษานี้ โดยรูปแบบการเรียนเป็นบล็อกคอร์ส ที่เรียนครั้งละ 1 วิชาติดต่อกัน 5-6 สัปดาห์ ซึ่งนักศึกษาตอบรับค่อนข้างดี

ดร.รชฏ มองว่า การเรียนรู้รูปแบบใหม่นี้ จะช่วยให้นักศึกษาเชื่อมโยงองค์ความรู้ได้ดีกว่า สามารถมองภาพรวมได้ดีขึ้น เข้าใจว่าทุกกิจกรรมที่ตัดสินใจสามารถส่งผลถึงผลงานขององค์กร รวมถึงผลกำไรขาดทุนขององค์กรได้ดีขึ้น ขณะเดียวกัน รูปแบบการเรียนการสอนที่แม้จะมี เครื่องมือดิจิทัลมาช่วยเหลือแต่การมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในห้องเรียนก็ยังคงมีความสำคัญ การผสมผสานการเรียนการสอนทั้งการเรียนออนไลน์และการเข้าห้องเรียนจึงเป็นรูปแบบที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน 

นิตยา เพชดาวัน กรรมการสมาคม SME สปป.ลาว เจ้าของ บริษัท BNN Agriculture Clean and Organic Agriculture Sole Co., LTD ประเทศสปป. ลาว นักธุรกิจซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ในแวดวงธุรกิจด้านการเกษตรนำเข้าเมล็ดพันธุ์ เครื่องจักรกลการเกษตร และอาหารสัตว์จากไทย ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร MBA ถึงโอกาสของนักลงทุนไทยในสปป.ลาว โดยเฉพาะในจุดที่แตกต่างระหว่างไทยกับสปป.ลาว ที่ถือเป็นความลงตัว

“จะเห็นได้ว่าสปป.ลาวยังมีทรัพยากรจำนวนมาก แต่เรายังไม่สามารถแปรรูป เรายังไม่มีไอเดียตรงนี้ แต่คนไทยทำได้หมด สิ่งไหนที่เราคิดว่าเราทิ้งแล้วที่บ้านเรา แต่ไทยนำมาประกอบเป็นสินค้าได้ และเป็นคนใฝ่รู้หาความรู้ทางวิชาการด้วย” 

นี่คือความแตกต่าง ทางด้านไอเดีย ความรู้วิชาการต่างๆ ที่ไทยเก่ง อันนี้ต้องยอมรับ และอยากจะเชิญชวนนักธุรกิจไทยให้ไปลงทุนที่ สปป.ลาว ซึ่งโอกาสของสินค้าไทยในสปป.ลาว มีทั้งเรื่องธุรกิจอาหาร เครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์เสริมความงาม

“คนสปป.ลาวมีความมั่นใจในสินค้าไทยมาก ตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว เป็นภาพติดตาและความมั่นใจในสินค้าไทย ทั้งเสื้อผ้า ที่รู้สึกว่ามีแฟชั่นทันสมัย และอาหารที่ถูกปาก ถ้าเป็นแบรนด์ไทย มีความเชื่อว่าเป็นของดี สินค้าจากสองประเทศวางคู่กัน สินค้าแบรนด์ที่ Made in Thailand จะถูกเลือกซื้อไปก่อน เพราะมีราคาไม่สูงและเป็นสินค้ามีคุณภาพ”

ข้อมูลสำหรับนักลงทุน

สำหรับข้อมูลการลงทุนที่จะช่วยนักธุรกิจไทย ให้เห็นถึงโอกาส และแนวโน้มในการดำเนินธุรกิจการค้าร่วมกันระหว่างสปป.ลาวและไทย

นิตยา บอกว่า เมื่อมองถึงเรื่องของกำลังซื้อ หลังจากที่สปป.ลาวเป็ดประเทศเปิดมา 5 ปี ทุกคนมีหนทางในการทำมาหากิน เศรษฐกิจดีขึ้น จากปี 2559 -2560 จีดีพีเติบโตจาก 13.44% เป็น 15.02% และภาพรวมคนเริ่มมีกำลังซื้อ จะเลือกซื้อสินค้าที่ดี โดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นกลาง ที่ขยายตัวเพิ่มและพัฒนาเข้าสู่สังคมเมืองอย่างรวดเร็ว เช่น กลุ่มผู้หญิง Working Women ในแวดวงธุรกิจโรงแรม อสังหาริม-ทรัพย์ กลุ่มคนทำงานในกระทรวงต่างๆ หรือในบริษัทเอกชน อายุประมาณ 30-35 ปี ซึ่งมีจำนวนมากตามธุรกิจใหม่ที่เกิดขึ้น

จากตัวเลขประเทศที่เข้าไปลงทุนในสปป.ลาว ปี 1988 -2017 (มกราคม-สิงหาคม) ไทยเป็นประเทศอันดับที่ 2 มีการลงทุน 752 โครงการในมูลค่า 4,494 ล้านเหรียญสหรัฐ รองจากจีนที่เป็นอันดับ 1 มี 837 โครงการในมูลค่า 6,659 ล้านเหรียญสหรัฐ และแนวโน้มของการลงทุนไทยในสปป.ลาว ยังมีอัตราการเติบโตขึ้นทุกปี มีการประเมินไว้อีกว่า มูลค่าการค้าในปี 2560 ที่ 6,170.52 ล้านเหรียญสหรัฐ จะมีการเติบโตขึ้นเป็นมูลค่า 11,743.04 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2564 โดยในส่วนมูลค่ารวมการค้าชายแดน ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2561 ของประเทศไทยและสปป.ลาว 107,742.48 ล้านบาท มีมูลค่าการส่งออก 66,467.50 ล้านบาท มูลค่าการนำเข้า 41,274.98 ล้านบาท ไทยได้ดุลการค้า 25,192.52 ล้านบาท และมีสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันดีเซล รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าปศุสัตว์ สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า ทองแดงและผลิตภัณฑ์ เครื่องรับ-ส่งสัญญาณ ผักและของปรุงแต่งจากผัก

นอกจากนั้น ยังมีข้อมูลเพื่อให้นักธุรกิจไทย นำมาใช้ประกอบการตัดสินใจในการลงทุนที่สปป.ลาว คือนโยบายการค้าชายแดน ของรัฐบาลสปป.ลาว ที่ยึด 4 ข้อหลัก คือ การสร้างเขื่อนไฟฟ้า พัฒนาโครงการพื้นฐาน การลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และผลักดันการลงทุนทั้งด้านเกษตรแปรรูป การศึกษา และโรงพยาบาล

นิตยา มองว่าจากนโยบายหลักนั้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย มีศักยภาพมากพอที่จะเข้าไปลงทุนในด้านเกษตรแปรรูป การศึกษา และโรงพยาบาล เช่นเดียวกัน ตลาดเป้าหมายที่รัฐบาลสปป.ลาว ต้องการจะสร้างให้เกิดขึ้น ในปี 2560 มีการลงทุนใหม่ ที่น่าสนใจทั้งด้านอุตสาหกรรมการผลิตอะไหล่รถยนต์ ผลิตเครื่องพลาสติก การเกษตรปลูกพืชผักต่างๆ รวมถึงการแปรรูปสินค้าทางด้านเกษตร ซึ่งรัฐบาลเน้นไปที่เกษตรออร์แกนิค พืชผักปลอดสารพิษ ที่มีการจำกัดการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี และฮอร์โมนในการปลูก ไม่ใช้สารกำจัดแมลง และปริมาณสารตกค้างของผลผลิต ต้องไม่เกินมาตรฐาน

 

ที่มาของภาพลักษณ์เมืองปราบเซียน

นิตยา กล่าวถึงกรณีที่มีนักธุรกิจไทยเข้ามาลงทุนในสปป.ลาว และทำไมหลายคนบอกว่าลาวเป็นเมืองปราบเซียน สถานการณ์ตอนนั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นเรื่องความไม่เข้าใจระหว่างกัน เช่น นักลงทุนเข้าไปเพราะมีเพื่อนสนิทที่เป็นคนสปป.ลาว ใช้ความเชื่อใจแล้วไปลงทุนเลย เวลาที่ขัดแย้ง และทะเลาะกัน จะโทษกันว่าเพราะเรื่องนั้นเรื่องนี้ ที่ถูกต้องคือต้องไปกับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง

“ขอแนะนำว่าถ้าเข้าไปแบบแจ้งๆ จดทะเบียนตามระบบขั้นตอนที่ถูกต้องนั้น การันตีเลยว่าจะไม่โดนโกงอย่างแน่นอน เพราะคนที่สปป.ลาวส่วนใหญ่เป็นคนจิตใจดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กับคนต่างชาติ ใน 100 คน มีคนที่ไม่ดี 5 คนเท่านั้น ถ้าคุณเข้าไปตามกฎระเบียบไม่ต้องกลัวเลย ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก รัฐบาลเปิดรับนักลงทุน ความเสี่ยงนั้น ไม่มีเลยนะ”

ซึ่งก็มีตัวอย่างของลักษณะของคนไทยที่เข้ามาลงทุนธุรกิจที่สปป.ลาวอย่างจริงจัง อาจจะเข้ามาเงียบๆ และเป็นระบบอย่างชัดเจน ซึ่งส่วนใหญ่กิจการก้าวหน้า ที่ไม่ประสบความสำเร็จนั้นมีเป็นส่วนน้อย แต่ไหนแต่ไร สปป.ลาวกับประเทศไทย เราใกล้ชิดกัน ก็ต้องรักกัน ไม่มีประเทศไหนที่จะย้ายประเทศไทยไปที่ขั้วโลกเหนือ และไม่มีประเทศไหนที่จะย้ายประเทศลาวไปอยู่ขั้วโลกใต้ เพราะฉะนั้นลาวกับไทยนั้นเราเชื่อมโยงกัน 

“ชิมิซุ” เป็น “ธนาคารท้องถิ่น” ของประเทศญี่ปุ่น ที่มีทุนจดทะเบียน 1 ล้านล้านสามหมื่นเยน และมีประวัติที่ยาวนานถึง 90 ปีในญี่ปุ่น โดยเริ่มก่อตั้งนับแต่ปี ค.ศ. 1928 มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมือง
ชิมิซุ จังหวัดชิสุโอกะ มีสาขาทั้งหมดถึง 79 สาขา 

จากแนวโน้มของกลุ่มลูกค้านักธุรกิจญี่ปุ่น ที่มีการขยายธุรกิจและสาขาเข้ามาทำตลาดในไทยเป็นจำนวนมาก ทำให้ธนาคารชิมิซุเล็งเห็นโอกาสของนักธุรกิจญี่ปุ่นที่วางแผนจะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย จึงเข้ามาเปิดสำนักงานผู้แทนในประเทศไทย รวมทั้งการลงนามในสัญญาเป็นพันธมิตรกับธนาคารกรุงเทพ 

ยูคิโอะ โมโรตะ Chief Representative เดอะ ชิมิซุ แบงค์ ลิมิเต็ด บอกว่า ความร่วมมือครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนการทำธุรกรรมทางการค้าให้ลูกค้านักธุรกิจญี่ปุ่นที่ขยายการลงทุนเข้ามาที่ประเทศไทย ในรูปแบบข้อมูลและการเผยแพร่ข่าวสารท้องถิ่นในประเทศไทย เช่น การรวบรวมแนวโน้มเศรษฐกิจ และแนวโน้มตลาด และสภาพแวดล้อมการลงทุน การแนะนำในด้านของการจับคู่กับคู่ค้า รวมถึงการเป็นพันธมิตรกับสถาบันการเงินในประเทศ ทำให้การกู้เพื่อการลงทุนต่างๆ ของลูกค้านักธุรกิจญี่ปุ่นมีความง่ายและสะดวกขึ้น 

เรียกว่า เป็นการส่งเสริม ทั้งฐานลูกค้าเดิมในญี่ปุ่นที่อยู่ในอุตสาหกรรม
การค้าและการเกษตร ซึ่งในปีนี้ธนาคาร
ชิมิซุ กำลังฉลองครบรอบ 1 ปีในการก่อตั้งสำนักงานผู้แทนในประเทศไทย โดยเรามีฐานลูกค้าอยู่ที่ประมาณ 70 บริษัท แบ่งสัดส่วนประมาณ 50% อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ส่วนที่เหลือประมาณ  20% จะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักร

อย่างไรก็ตามธนาคารฯ ยังเล็งเห็นถึงโอกาสใหม่ ในการเพิ่มฐานลูกค้าในอนาคต ที่กำลังวางแผนจะเข้ามาดำเนินธุรกิจในไทยเร็วๆ นี้ 

โมโรตะ บอกว่า ลูกค้าใหม่ที่จะมาทำธุรกิจในไทยในวันนี้ มีความแตกต่างจากฐานลูกค้าเดิม  

“ที่ผ่านมาลูกค้าของสำนักงานผู้แทนในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่วันนี้พบว่าส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้ประกอบการระดับ SME จากธุรกิจกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งความคืบหน้าตอนนี้เริ่มมีการติดต่อเข้ามาเพื่อขอรับคำปรึกษากับธนาคารฯ ทั้งการเปิดร้านอาหาร และลงทุนธุรกิจในกลุ่มอาหารแปรรูป เช่น ชาเขียว และทูน่า” 

โอกาสในการขยายสาขาของธนาคารชิมิซุ นอกจากประเทศไทยแล้ว เรายังมองไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีหลายประเทศมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี เช่น  เวียดนาม จีน และอินเดีย ซึ่งมีลูกค้าของธนาคารเข้าไปลงทุนในประเทศเหล่านี้เป็นจำนวนมากเช่นกัน 

ดังนั้นการที่ธนาคารตัดสินใจเปิดสำนักงานผู้แทนในกรุงเทพฯ เป็นแห่งแรกนั้น เพราะเรามองเห็นถึงศักยภาพของการให้บริการ ที่ครอบคลุมเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ไปลงทุนในประเทศอื่น และในภาคพื้นเหล่านี้ด้วย

ในทางกลับกันสำหรับนักธุรกิจไทยที่วางแผนจะไปลงทุนในจังหวัดชิสุโอกะ พบว่ามีจำนวนไม่น้อย เพราะชิสุโอกะเป็นเมืองอุตสาหกรรม ที่มีโรงงานทั้งขนาดเล็กและใหญ่จำนวนมาก และจากความพร้อมนี้เอง ที่เป็นปัจจัยหลักทำให้ธุรกิจต่างๆ ที่มีแนวโน้มกำลังเติบโต ต่างเบนเข็มเข้ามาลงทุนที่นี่ เช่น บริษัทระบบของการผลิตไฟฟ้าของโซล่าเซลล์ (Solar Cell System) และผลิตแผงโซล่าร์  เป็นต้น  

ถือว่าการเข้ามาตั้งฐานการผลิตในจังหวัดชิสุโอกะของนักลงทุนเหล่านี้ เป็นโอกาสในการรุกขยายฐานลูกค้าของธนาคารที่เรากำลังเร่งการประชาสัมพันธ์การบริการ รวมทั้งการให้คำปรึกษา และการให้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการลงทุน 

นอกจากนี้ชิสุโอกะยังเป็นเมืองที่มีสภาวะอากาศไม่หนาวเย็น และยังมีพื้นที่ว่างอีกมากเพื่อรองรับการปลูกสร้างโรงงาน รวมทั้งนโยบายของเมืองก็มีแผนการพัฒนาธุรกิจในท้องถิ่น ตั้งแต่โครงสร้างเพื่อรองรับขนาดของอุตสาหกรรมที่ใหญ่ขึ้น ทั้งการพัฒนาท่าเรือ และสนามบิน จึงพร้อมรับการเติบโตทางอุตสาหกรรมที่หลากหลาย 

ซึ่งในมุมมองของคุณโมโรตะนั้น อุตสาหกรรมที่มีโอกาส และแนวโน้มเติบโตในจังหวัดชิสุโอกะในอนาคตนั้น จะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร โดยเฉพาะการลงทุนโรงงานผลิตอาหารฮาลาล 

“เรามองว่าการผลิตอาหารฮาลาล ยังมีโอกาสในการขยายอีกมาก เพราะผู้ผลิตในประเทศญี่ปุ่นยังมีจำนวนไม่มากเพียงพอ ที่จะรองรับกับแนวโน้มดีมานด์การเติบโตของนักท่องเที่ยวชาวอินโดนีเซีย และมาเลเซีย จึงน่าจะเป็นโอกาสที่ดีในการลงทุนขยายธุรกิจของคนไทยในประเทศญี่ปุ่น”

Page 1 of 9
X

Right Click

No right click