นายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปฏิเสธไม่ได้ว่าภาคธุรกิจอสังหาฯ มีส่วนในการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และบริษัทฯ ตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าว พร้อมวางกลยุทธ์สร้างพันธกิจ เพื่อผลักดันให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมที่ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นในระยะยาว สู่การเป็นองค์กรที่มุ่งสู่ความยั่งยืน พร้อมตั้งเป้าหมายระยะกลาง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 40% ภายในปี 2573 โดยวางแผนรองรับที่สามารถทำได้จริง ซึ่งการผลักดันการใช้พลังงานสะอาดสำหรับที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในแผนดำเนินงาน เพื่อให้องค์กรสามารถบรรลุพันธกิจและเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเห็นผลในระดับมหภาค พร้อมหนุนให้ลูกบ้านศุภาลัยได้อยู่อาศัยในบ้านประหยัดพลังงานอย่างแท้จริง พร้อมติดตั้ง “โซลาร์เซลล์” ตั้งเป้าเพื่อพิชิตยอด 15,000 หลัง ภายในปี 2571 โดยปัจจุบันได้อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการที่จะดำเนินการติดตั้งไปแล้วกว่า 30 % ครอบคลุมกว่า 29 จังหวัด ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวสามารถคำนวณยอดผลิตกระแสไฟฟ้ารวมได้ 82,300 เมกะวัตต์ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 49,300 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เสมือนการปลูกต้นไม้ทดแทน 3.2 ล้านต้น และลูกบ้านศุภาลัยสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ถึง 20,000-30,000 บาทต่อปี และในอนาคต บริษัทฯ มีแผนพัฒนาเพิ่มช่องทางการ Tracking ติดตามพร้อมควบคุมการผลิตกระแสไฟฟ้าผ่าน Application : SABAI สามารถใช้งานได้อย่างครบวงจรมากขึ้น

นายกิตติพงษ์ ศิริลักษณ์ตระกูล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีความเข้าใจเทรนด์ผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่ตระหนักและใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งคนกลุ่มนี้กำลังมองหาที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรกับคุณภาพชีวิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ จึงพร้อมคิดค้นนวัตกรรมด้านการก่อสร้าง การออกแบบ รวมถึงการพัฒนาวัสดุก่อสร้างร่วมกับคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกัน เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าที่อยู่อาศัยของศุภาลัยในทุกประเภทเป็น “บ้านรักษ์โลก” เพื่อตอบโจทย์ความต้องการและให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ผ่าน 5 แกนหลักของลูกค้า ดังนี้

  1. นวัตกรรมเพื่อการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ ได้ออกแคมเปญ “Supalai Self-Provedเชิญชวนพิสูจน์ผลลัพธ์ของนวัตกรรมการก่อสร้างอย่างรักษ์โลก ผ่าน Supalai Waste Meter มาตรวัดปริมาณขยะจากการก่อสร้างโดยให้น้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และนวัตกรรมด้านต่าง ๆ อาทิ การออกแบบบ้าน/อาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การออกแบบเพื่อลดเศษวัสดุเหลือใช้ การออกแบบเพื่อลดมลพิษทางอากาศ ซึ่งในนวัตกรรมบางอย่างที่ต้องอาศัยการผลิตขึ้นมาใหม่ ศุภาลัยจึงได้ร่วมหารือ คิดค้นและพัฒนาร่วมกับคู่ค้าทางธุรกิจ เช่น SCG TOA DOS CPAC เป็นต้น เพื่อผลิตวัสดุที่ตอบโจทย์ลูกค้าของบริษัทฯ และยังสามารถนำไปจัดจำหน่ายให้กับคนทั่วไปได้อีกด้วย
  2. การเป็นบ้านประหยัดพลังงาน มีการออกแบบวางผังตัวบ้าน/ตัวอาคารให้อยู่ในแนวเหนือใต้เพื่อหลบแดดและรับลม เน้นการออกแบบช่องเปิดประตูหน้าต่างหลายทิศทางเพื่อการระบายอากาศที่ดี และมีการเลือกใช้วัสดุที่ช่วยระบายความร้อน จนได้รางวัลการันตีด้านการออกแบบประหยัดพลังงานอีกทั้งเลือกใช้เครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้รับฉลากประหยัดพลังงานเบอร์ 5 
  3. การออกแบบเพื่อคนทุกวัย(Universal Design)  โดยบริษัทฯ คำนึงถึงการออกแบบฟังก์ชันภายในบ้าน และการใช้งานต่างๆ เพื่อรองรับทุกเพศ ทุกวัยให้ได้รับความสะดวกสบาย ความปลอดภัยอย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะฟังก์ชันเพื่อตอบโจทย์ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ออกแบบห้องนอนในชั้นล่าง พร้อมใช้วัสดุปูพื้นที่ช่วยลดการลื่นและการกระแทก ออกแบบบานประตูเลื่อน ไม่มีธรณีประตู ลดความต่างระดับ สำหรับกรณีการใช้รถเข็นได้สะดวกยิ่งขึ้น
  4. การปฏิวัติใช้พลังงานสะอาด นอกจากการติดตั้งโซลาร์เซลล์ และจุดติดตั้งEV Charger ให้กับลูกบ้านศุภาลัยกว่า 15,000 หลังทั่วประเทศแล้ว ศุภาลัยมีความมุ่งมั่น และจริงจังเพื่อพิชิตเป้าหมาย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 40% ภายในปี 2030  และมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืน โดย อาคารศุภาลัย แกรนด์ ทาวเวอร์ สำนักงานใหญ่ ติดตั้งโซลาร์ เซลล์ 450 กิโลวัตต์ ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 330,397 กิโลวัตต์ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 198 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ประหยัดค่าไฟฟ้าได้กว่า 1.5 ล้านบาทต่อปี และยังมีการติดตั้ง ณ สำนักงานขายทั่วประเทศ และสโมสรส่วนกลาง สามารถลดค่าใช้จ่ายค่าส่วนกลางให้กับลูกบ้านได้อีกด้วย
  5. กิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากการสร้างโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า บริษัทฯ พร้อมสนับสนุนนโยบายระดับประเทศด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการให้ความสำคัญและส่งเสริมงานด้านความยั่งยืนในมิติการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในทุกภาคส่วนขององค์กร อาทิ การปลูกต้นไม้บนที่ดินของบริษัทฯเพื่อช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์,เปลี่ยนการใช้ปุ๋ยเคมี สู่ปุ๋ยอินทรีไบโอฯ,กิจกรรมร่วมแบ่งปันเสื้อผ้า และสิ่งของส่งต่อให้คนงานก่อสร้าง, สนับสนุนสินเชื่อ Green Loan

เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำอสังหาฯ ที่ใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เชิญชวนพันธมิตรธุรกิจด้านเทคโนโลยี ยักษ์ใหญ่ระดับประเทศ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด และบริษัท ไอออน เอนเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมผนึกความแข็งแกร่ง สร้างความเชื่อมั่นสู่การเป็น No.1 “บ้านติดโซลาร์” โดยเฟสแรกได้ดำเนินแผนการติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้ลูกบ้านศุภาลัย ประเดิม 1,500 หลังทั่วประเทศ พร้อมดูแลระบบติดตั้ง บำรุงรักษา รวมถึงความรู้ความเข้าใจด้านการใช้งาน และร่วมกันผลักดันการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าให้กับลูกค้า ยังเป็นวิธีที่ช่วยไม่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่วยลดภาระให้แก่โลกโดยทุกคนสามารถทำได้และเข้าถึงได้ง่าย ๆ

นายโลแกน ยู ประธานกรรมการกลุ่มธุรกิจดิจิทัลพาวเวอร์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด เปิดเผยว่า “บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนการใช้พลังงานสะอาดเพื่ออนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาด ผู้ออกแบบโซลูชันอุปกรณ์แปลงผันกำลังไฟฟ้า ระบบกักเก็บพลังงาน ตลอดจนระบบการจัดการและแสดงผลอัจฉริยะด้านดิจิทัลพาวเวอร์สำหรับทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือน  หัวเว่ยจะดำเนินตามเป้าหมายเรื่องการส่งเสริมให้ทั้งภาคองค์กรและครัวเรือนในประเทศไทย ร่วมติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ผ่านความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์รายสำคัญของเราในประเทศไทย โดยหัวเว่ยจะสนับสนุนองค์ความรู้ทางด้านวิชาการและเทคโนโลยี รวมทั้งช่วยพัฒนาโมเดลธุรกิจและการออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ผ่านโปรแกรม Smart Design 2.0 สำหรับกลุ่มที่อยู่อาศัยและภาคธุรกิจของ บมจ.ศุภาลัย โดยร่วมกับไอออน เอเนอร์ยี่ ในการสนับสนุนด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อโปรโมทโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในประเทศไทย” 

หัวเว่ย ศุภาลัย และไอออน เอนเนอร์ยี่ ต่างมีวิสัยทัศน์ตรงกันในการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและการจัดการพลังงานที่ยั่งยืนเพื่อรองรับเทรนด์โลกในอนาคต จึงมีจุดมุ่งหมายที่จะร่วมมือกันศึกษาและพัฒนานวัตกรรมพลังงานสะอาด ลดการใช้พลังงานสิ้นเปลือง โดยทดแทนด้วยพลังงานสะอาดในโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ของศุภาลัย เพื่อใช้เป็นต้นแบบเรื่องการบริหารจัดการพลังงานที่ยั่งยืน อันจะนำไปสู่การต่อยอดและพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยให้ยั่งยืนยิ่งขึ้นในอนาคต ในขณะที่ไอออน เอเนอร์ยี่ จะเป็นผู้ดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในโครงการต่าง ๆ

โดยหัวเว่ย ในฐานะที่เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีพลังงานดิจิทัลในระดับโลก และมีบริการรวมถึงโซลูชันต่าง ๆ ที่ได้รับการนำไปประยุกต์ใช้ในตลาดมากกว่า 170 ประเทศ ให้ความสำคัญกับการจัดเก็บพลังงาน การนำไปใช้งาน และความปลอดภัยในการใช้งานพลังงานแสงอาทิตย์ หัวเว่ยส่งเสริมให้ทั้งภาคองค์กรและครัวเรือนร่วมติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อเพิ่มการใช้พลังงานทดแทน ตามเป้าหมายเรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศ และตามพันธกิจของหัวเว่ยที่ต้องการ 'เติบโตไปพร้อมกับประเทศไทย และร่วมสนับสนุนประเทศไทย' และ ‘การปลดปล่อยขุมพลังแห่งดิจิทัลเพื่ออนาคตที่ดีกว่า’

นายพงศภัค นครศรี กรรมการบริหาร บริษัท ไอออน เอนเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ ION ผู้นำธุรกิจจัดหาโซลูชั่นพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบ จัดหา และติดตั้ง รวมถึงการดูแลบริการหลังการขายสำหรับภาคครัวเรือน อสังหาริมทรัพย์ และองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กล่าวว่า ปัจจุบันทั่วโลกมีแนวโน้มการใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพื่อลุยภารกิจพิชิต Net Zero สู่อนาคตที่ยั่งยืน เทรนด์ติดตั้ง Solar Roof มีเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดโดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่อาศัย (Residential) ด้วยเหตุผลภาระค่าไฟฟ้าที่กำลังเพิ่มขึ้น เนื่องจากความผันแปรของต้นทุนการผลิตไฟฟ้าและการซื้อไฟฟ้า ส่งผลให้ค่า FT มีการปรับตัวสูงขึ้น หากมีพฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น ก็จะทำให้ภาพรวมภาระค่าไฟฟ้าต่อเดือนยังคงอยู่ในระดับสูง อีกทั้งยังเพิ่มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งส่งผลให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นอีกด้วย การเลือกใช้งานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานสะอาดจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรร่วมมือกันผลักดันเพื่อให้เกิดประโยชน์ในทุกภาคส่วนของสังคมและสิ่งแวดล้อม

ไอออน ได้เล็งเห็นความสำคัญและร่วมมือกับพันธมิตร บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ในโครงการอสังหาริมทรัพย์ และภายใต้ความร่วมมือนี้ยังได้รับความไว้วางใจจากบริษัทระดับโลกอย่างบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านนวัตกรรมพลังงานดิจิทัลมาร่วมออกแบบและติดตั้ง Solar Roof ให้กับบ้านในโครงการของศุภาลัย และเซ็ตมาตรฐานการติดตั้งด้วยอุปกรณ์แผงโซลาร์เซลล์ระดับ Tier 1 คู่กับ Huawei Inverter และ สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล (BCC) ที่ได้รับรองคุณภาพตามมาตรฐานสากล โดยผู้ผลิตบริษัท Bangkok Cable เพื่อยกระดับการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ให้ถูกต้องตรงตามมาตรฐานบ้านศุภาลัยทั้งในด้านคุณภาพและประสิทธิภาพ

สำหรับลูกค้าที่กำลังมองหา “บ้านประหยัดพลังงาน” หรือ “บ้านพร้อมโซลาร์”  เตรียมพบกับโครงการศุภาลัย ที่พร้อมเปิดขายในปีนี้ อาทิ โครงการบ้านเดี่ยว บ้านสามชั้น บ้านแฝด โฮมออฟฟิศ รวมถึงคอนโดมิเนียม* ทั่วประเทศ (โดยเงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯกำหนด) ซึ่งจะมาพร้อมโปรโมชันหรือข้อเสนอพิเศษมากมาย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1720 หรือติดตามข้อมูลโครงการเปิดใหม่ในช่องทาง www.supalai.com และ Facebook: Supalai

ส่งเสริมอุตสาหกรรมไทยใช้พลังงานสะอาด ยกระดับธุรกิจไทยสู่เศรษฐกิจสีเขียว

เอปสัน ผู้นำด้านการพิมพ์ระดับมืออาชีพ จัดงาน LFP Innovation Day เป็นครั้งแรก ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย โดยงานนี้จัดแสดงเทคโนโลยีการพิมพ์ระดับนวัตกรรมล่าสุดสำหรับวงการสิ่งทอและค้าปลีก ครบเครื่องด้วยแอปพลิเคชั่นที่ใช้ในการจับคู่โปรไฟล์สี และการพิมพ์สำเนาภาพถ่ายของช่างภาพมืออาชีพ

งาน LFP Innovation Day 2024 จัดขึ้นในรูปแบบโซลูชั่นให้ผู้ร่วมงานเดินชมผลงานพิมพ์และการสาธิตเครื่อง เพื่อ ให้เข้าใจกระบวนการทำงานของเครื่องพิมพ์และแอปพลิเคชั่นที่ได้การปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานทางธุรกิจได้ ด้วยประสิทธิภาพต้นทุนที่เหมาะสมและสามารถลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมผ่านระบบการพิมพ์ผ้าแบบดิจิทัล

“ในฐานะผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องพิมพ์หน้ากว้างสำหรับการพิมพ์ผ้า รูป และป้ายโฆษณา เอปสันมุ่งมั่นที่จะสร้างอนาคตโลกการพิมพ์ด้วยนวัตกรรม งาน LFP Innovation Day ถือเป็นโอกาสของเราในการนำเสนอโซลูชั่นการพิมพ์ที่ล้ำสมัยพร้อมรองรับองค์กรธุรกิจทุกขนาด โดยที่เราได้มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับทั้งลูกค้าและพันธมิตร เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเทคโนโลยีของเราจะช่วยให้องค์กรธุรกิจต่างๆ ลดขั้นตอนการทำงานและทำงานได้ง่ายขึ้น” นายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

LFP Innovation Day มีการสาธิตผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม โดยแบ่งออกเป็นโซนต่างๆ อาทิ:

  • นวัตกรรมเครื่องพิมพ์ป้ายโฆษณา – โซลูชั่นนี้มาพร้อม Auto Color Chart Reading Portable Table รุ่นใหม่ และเครื่องวัดความทึบแสง SD-10 Spectrophotometer ของเอปสัน ช่วยลดเวลาจัดการงานสี โดยการสาธิตใช้งานโซลูชั่นจะแสดงการปรับแต่งค่าสี และยืนยันค่าสีของเครื่องพิมพ์ ที่เป็นตัวช่วยให้งานพิมพ์มีสีที่สม่ำเสมอและแม่นยำ
  • นวัตกรรมเครื่องพิมพ์ผ้าระบบดิจิทัล - การสาธิตแสดงความสามารถในการขยายธุรกิจ หรือการปรับ แต่งงานตามความต้องการด้วยเครื่องพิมพ์ระบบ Dye Sublimation ของเอปสัน ครอบคลุมทุกขั้นตอนการพิมพ์รวมถึงขั้นตอนที่เกี่ยวกับการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เสริมจากพันธมิตรต่างๆ อาทิ Cricut
  • นวัตกรรมเครื่องพิมพ์ผลิตภัณฑ์สำหรับธุรกิจร้านค้า - โซลูชั่น Epson Craft Studio ที่ช่วยให้ผู้ใช้อัปโหลดรูปเพื่อสั่งพิมพ์บนวัสดุหลากหลายชนิดผ่านเครื่องพิมพ์หน้ากว้างของเอปสัน โซลูชั่นนี้ช่วยให้ธุรกิจสามารถเริ่มต้นการเสนอสินค้าและบริการได้โดยไม่ยุ่งยากซับซ้อน โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งเข้าสู่วงการผลิตสินค้าของที่ระลึก Epson Craft Studio จะเปิดให้ใช้ในรูปแบบสมาชิกรายเดือน ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนการทำงานภายในร้าน นับตั้งแต่ขั้นตอนสั่งโปสเตอร์และสินค้า ขั้นตอนพิมพ์ หรือขั้นตอนจัดส่ง โดยเอปสันจะเริ่มให้บริการนี้ตั้งแต่ปลายปี 2567 เป็นต้นไป
  • นวัตกรรมเครื่องพิมพ์ภาพถ่ายระดับมืออาชีพ – การสาธิตครอบคลุมตั้งแต่การถ่ายภาพไปถึงขั้นตอนการพิมพ์ เพื่อให้ผู้ชมได้เห็นงานพิมพ์มีคุณภาพและความแม่นยำสูง เมื่อมี Epson SureColor
    SC-P6530D เป็นตัวช่วย นอกจากนี้ยังมีโซลูชั่น Minilab มาในรูปแบบสตูดิโอถ่ายรูปและพิมพ์รูปด้วยตนเอง โดยใช้เครื่องพิมพ์ Epson SureLab SL-D530 และ SL-D1030 เพื่องานพิมพ์คุณภาพสูง

ในงาน LFP Innovation Day 2024 เอปสันยังเปิดตัวผลิตภัณฑ์รุ่นล่าสุด อาทิ Epson SureColor SC-V1030 เครื่องพิมพ์หมึกยูวี สำหรับงานพิมพ์ขนาด A4 เหมาะกับการผลิตสินค้ารูปแบบใหม่และของขวัญ รวมถึง Epson SureColor SC-F1030 ซึ่งเป็นเครื่องพิมพ์ผ้าที่มีขนาดเล็กที่สุดของเอปสัน

  • เทคโนโลยีล้ำสมัยที่มาพร้อมรุ่น SC-V103 ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้กระบวนการพิมพ์ง่ายดายยิ่งขึ้น แต่ยังให้งานพิมพ์คุณภาพสูงไม่ว่าจะพิมพ์กับวัสดุชนิดใด ทั้งสิ่งทอ ผ้า ไม้ และอะคริลิค ช่วยสร้างความเป็นไปได้มากมายในเชิงธุรกิจ ส่งผลให้ผู้ใช้งานมีมุมมองที่กว้างขวางยิ่งขึ้นและนำเสนอสินค้าและบริการใหม่ๆ ให้แก่ลูกค้าได้เพิ่มมากขึ้น
  • นอกจากนี้แล้ว พรินเตอร์ระดับนวัตกรรมรุ่นใหม่อย่าง SC-F1030 ยังพร้อมแปลงโฉมร้านขายของขวัญและสินค้าแปลกใหม่เข้าสู่ยุคที่สินค้าและบริการสามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการ พร้อมด้วยฟีเจอร์อินเตอร์แอคทีฟ พรินเตอร์รุ่นนี้สามารถพิมพ์ลงผ้าได้โดยตรง (เหมาะกับพิมพ์ของชิ้นใหญ่) รวมทั้งสามารถ พิมพ์ลงแผ่นฟิล์มโดยตรงด้วย (เหมาะกับพิมพ์โลโก้ขนาดเล็ก) เจ้าของเครื่องจึงมีความยืดหยุ่นในการสร้าง สรรค์งานให้ลูกค้าพร้อมเติมเต็มความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้แล้ว งาน LFP Innovation Day 2024 ยังจัดแฟชั่นโชว์เพื่อนำเสนอผลงานจากคอลเล็กชันพิเศษเฉพาะที่เอปสันได้ร่วมมือกับ 7 ดีไซเนอร์จากกลุ่ม ASEAN Fashion Designers Showcase (AFDS)  ในการสร้างคอลเล็กชันที่มีชื่อว่า “Sustainability in Asia” ซึ่งออกแบบสะท้อนความมุ่งมั่นทุ่มเทต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ สัตว์ป่า และสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น โดยเครื่องแต่งกายทุกชิ้นในคอลเล็กชันดังกล่าว พิมพ์ด้วยพรินเตอร์ระบบ Dye Sublimation ของเอปสัน อาทิ SureColor SC-F6430, SureColor SC-F9430H และ SureColor SC-F10030     

นวัตกรรมเรือดักจับขยะบนผิวน้ำด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง เป็นครั้งแรกในประเทศไทย

ผู้นำชาพร้อมดื่มดีต่อสุขภาพ ดีต่อใจ และดีต่อโลก "โออิชิ กรีนที" ภายใต้ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เดินหน้าสู่ความยั่งยืน ขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิดการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อม (ESG: Environment, Social, and Governance) ที่ให้ความสำคัญกับการลดปริมาณการใช้ทรัพยากร การเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนคำนึงถึงการนำวัสดุ-บรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคมาใช้ซ้ำ (Reuse) หรือนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ในทุกกลุ่มธุรกิจ ล่าสุด "โออิชิ กรีนที" พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยฝาขวด PET ดีไซน์ใหม่ ภายใต้คอนเซปต์ ฝาขวดรักษ์โลก หรือ Tethered Caps ด้วยการออกแบบฝาขวดให้ติดกับปากขวด

นางสาวสุภรณ์ เด่นไพศาล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจเครื่องดื่ม บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ขยะพลาสติกเป็นปัญหาใหญ่ด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย และหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่ทำให้เกิดขยะพลาสติกตกค้างในสิ่งแวดล้อมคือการไม่คัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง การทิ้งขยะพลาสติกกระจัดกระจาย ก่อให้เกิดปัญหาการอุดตันตามท่อระบายน้ำ ขยะลอยในแม่น้ำลำคลอง บางส่วนไหลลงสู่ทะเล โดย "ฝาพลาสติก" เป็นหนึ่งใน 5 อันดับแรกของขยะที่พบมากที่สุดบนชายหาดทั่วโลก เพราะ ฝาขวด มักถูกทิ้งไว้กระจัดกระจาย ไม่ได้ติดอยู่กับตัวขวด ทำให้ยากต่อการเก็บรวบรวม โออิชิ กรีนที ในฐานะผู้ผลิต จึงมีความมุ่งมั่นร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการสร้างสรรค์ฝาขวด PET ดีไซน์ใหม่ หรือ ฝาขวดรักษ์โลก ที่ติดอยู่กับขวด เพื่อลดการทิ้งขยะแยกชิ้น โดยเราตั้งเป้าเปลี่ยนฝาขวดดีไซน์ใหม่กับผลิตภัณฑ์ทุกรสชาติและทุกขนาด ประเดิมในไตรมาส 2/2567 ซึ่งเราหวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งก้าวของการสร้างความยั่งยืนให้กับโลก และเชื่อว่าจะสร้างประสบการณ์การดื่มที่ดีขึ้นให้กับผู้บริโภค เพราะเมื่อเปิดขวดแล้ว ฝาขวดยังคงอยู่กับขวด โดยไม่ต้องแยกถือขวดกับฝา

 

บรรจุภัณฑ์ใหม่ ฝาขวดรักษ์โลก

ถึงแม้ขวด PET และฝาขวดของโออิชิ สามารถรีไซเคิลได้ 100% แต่ที่ผ่านมาไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ครบทั้งหมด เนื่องจาก “ขวด” และ “ฝาขวด” แยกออกจากกัน ฝาขวดถูกทิ้งกระจัดกระจาย ทำให้ยากต่อการเก็บไปรีไซเคิลได้ทั้งหมด จากปัญหาดังกล่าว นำมาสู่การออกแบบฝาขวดรักษ์โลก ฝาจะติดกับปากขวด ง่ายต่อการเก็บรีไซเคิล (Easy to recycle) เพราะเมื่อเปิดขวด ฝากับขวดยังอยู่ด้วยกัน ง่ายต่อการเก็บรวบรวมขวดหลังดื่มเสร็จ ลดปริมาณขยะฝาขวดที่มักถูกทิ้งกระจัดกระจายตามที่ต่าง ๆ อีกทั้งฝาสามารถเปิด-ปิดซ้ำได้ดี ไม่ขาดง่าย ไม่ต้องแยกถือ ป้องกันการหล่นหาย สะดวกต่อการใช้งาน นอกจากนั้นโออิชิยังเตรียมเปลี่ยนฉลากบรรจุภัณฑ์เป็น “ฉลากปรุ” กล่าวคือ ฉลากที่มีรอยปรุ เพื่อให้สามารถฉีกฉลากออกจากขวดได้ง่ายขึ้น ทำให้ขวดสามารถนำไปรีไซเคิลได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

ขับเคลื่อนทุกมิติความยั่งยืน

ที่ผ่านมา ชาพร้อมดื่ม “โออิชิ” ขับเคลื่อนทุกมิติความยั่งยืน มีการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรมและเคารพสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นหลักการขั้นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจที่โออิชิให้ความสำคัญ ตลอดจนใส่ใจต่อสุขภาพของผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ต้นน้ำการผลิตจนถึงปลายทางผู้บริโภค เพื่อสร้างสมดุลตลอดห่วงโซ่คุณค่า ประกอบด้วย

  • ด้านวัตถุดิบ มีการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพเพื่อคุณประโยชน์สูงสุดของผลิตภัณฑ์และดีต่อสุขภาพผู้บริโภค ไม่มีการใช้สารเคมีต้องห้ามและใช้ในปริมาณที่จำกัด ตลอดจนมีการคัดเลือกคู่ค้าที่มีศักยภาพและดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม อย่างเช่น การเลือกใช้น้ำตาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน BONSUCRO (บองซูโคร) ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับโลกในการผลิตน้ำตาลอย่างยั่งยืน
  • ด้านกระบวนการผลิต โรงงานผลิตชาพร้อมดื่มโออิชิเป็นโรงงานที่มีกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานระดับสากลและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ มีการติดตั้ง Solar Rooftop เพื่อลดพลังงานไฟฟ้า, ลดการปล่อยมลพิษ, ลดการใช้น้ำ อีกทั้งยังมีการควบคุมคุณภาพของน้ำที่ปล่อยออกจากกระบวนการผลิตให้ได้ตามมาตรฐานหรือมากกว่า
  • ด้านบรรจุภัณฑ์ มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง อาทิ

- ขวด PET และฝาขวดของโออิชิ กรีนที สามารถนำไปรีไซเคิลได้ 100%

- ปรับลดขนาด Preform ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการเป่าขึ้นรูปขวด PET ทำให้สามารถลดปริมาณพลาสติกได้ประมาณ 4% ต่อปี

- โออิชิ ชาคูลล์ซ่า เป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบกระป๋องอลูมิเนียมที่ยกระดับไปสู่ความยั่งยืน เพราะมีการนำกลับมาใช้ใหม่ 100% ซึ่งการเพิ่มสัดส่วนวัสดุรีไซเคิลสามารถลดพลังงานในกระบวนการผลิตกระป๋องได้มากถึง 95% และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เมื่อเทียบกับการผลิตกระป๋องอะลูมิเนียมปกติ และในปัจจุบันผลิตภัณฑ์โออิชิ ชาคูลล์ซ่า มีสัญลักษณ์ Aluminium loop ระบุอยู่ เนื่องจากเป็นกระป๋องอลูมิเนียมที่หมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่

- ฉลากบนขวดผลิตภัณฑ์ ได้เปลี่ยนมาใช้วัสดุ PET แทน PVC เนื่องจากวัสดุ PET สามารถนำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้

  • ด้านการจัดจำหน่าย มีการจัดเส้นทางการจัดจำหน่ายอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการบริหารจัดการระบบการขนส่งและกระจายสินค้า เพื่อบริหารการใช้พลังงานเชื้อเพลิงให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนลดปริมาณการใช้น้ำมัน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการขนส่ง

นอกจากนี้ โออิชิได้เข้าร่วมในโครงการ “PackBack เก็บกลับบรรจุภัณฑ์เพื่อวันที่ยั่งยืน” ร่วมมือกับหน่วยงานกว่า 100 องค์กร ประกอบไปด้วยผู้ผลิต ผู้ค้าปลีก ผู้ทำธุรกิจรีไซเคิล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถาบันวิจัย เพื่อนำหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต หรือ Extended Producer Responsibility (EPR) มาใช้ในการจัดบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคภายในประเทศไทย และโออิชิยังได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรในภาคอุตสาหกรรม จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) อีกด้วย

โออิชิ กรีนที ยังคงใส่ใจผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง โดยจะไม่หยุดพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคในทุกมิติ และขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่คุณค่าใหม่ให้แก่สังคมและสิ่งแวดล้อม

CIBA DPU จับมือ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในการบริหารจัดการโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพและอย่างยั่งยืน นำร่องใน 5 บริษัท 4  อุตสาหกรรม เป็นที่ปรึกษาช่วยผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง รองรับพฤติกรรมผู้บริโภคในรูปแบบการค้าตลาดอีคอมเมิร์ซ

ดร. รชฏ ขำบุญ คณบดีวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี  (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์(DPU) เปิดเผยว่าเมื่อเร็วๆ นี้ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม  ได้มอบหมายให้ CIBA  จัดโครงการเสริมสร้างความสามารถการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ด้วยการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าคงคลังเพื่อการค้าอิเล็กทรอนิกส์ และส่งเสริมศักยภาพองค์กรด้วยหลักการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ภายใต้กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ โดยได้มีการให้คำปรึกษา ช่วยผู้ประกอบการ ตลอดระยะเวลา 4 เดือน ซึ่งมีผู้เข้าร่วม 5 บริษัท ใน  4 อุตสาหกรรม ได้แก่อุตสาหกรรมยานยนต์ชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลาสติก

“ก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่างๆ จะมีการขายสินค้าเป็นล็อตใหญ่ๆ ให้แก่ห้างร้านใหญ่ ในลักษณะ B2B เพื่อส่งขายไปยังร้านขายปลีก แล้วจึงจำหน่ายให้กับผู้บริโภคต่อไป แต่ในปัจจุบัน เมื่อผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม หันมาซื้อสินค้าผ่านแพล็ตฟอร์มอีคอมเมิร์ซมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต้องหันมาขายในแพล็ตฟอร์มนี้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นในลักษณะ B2C คือขายสินค้าในลักษณะขายปลีก แบบแยกชิ้น ให้กับลูกค้าแต่ละราย การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับกระบวนการหลังบ้าน ตั้งแต่ระบบจัดเก็บสินค้า ระบบแพ็คสินค้าและการขนส่ง ให้สอดคล้องกับโมเดลธุรกิจประเภทนี้ นอกเหนือจากนั้น การที่แพล็ตฟอร์มออนไลน์ มีโปรโมชั่นเช่น 11/11, 12/12 บริษัทก็จะต้องมีระบบการทำงานที่ดีที่รองรับความต้องการในปริมาณมากๆ ได้ เพื่อให้สามารถส่งมอบสินค้าได้อย่างรวดเร็ว มีคุณภาพ และในราคาที่เหมาะสมที่สุด”ดร.รชฏ กล่าว

 

นางนิสารัตน์ ศุภสวัสดิ์กุล ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมโลจิสติกส์องค์กร กองโลจิสติกส์ กล่าวถึงหัวใจหลักของการบริหารจัดการสินค้าคงคลังที่ดี คือ 1) การมีข้อมูลปริมาณสินค้าในคลังที่ถูกต้องแม่นยำ 2) การเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ไปสู่หน่วยงานอื่นๆ เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายขนส่ง ฝ่ายควบคุมคุณภาพ และทุกหน่วยงาน อย่างมีประสิทธิภาพ และ 3) การพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าที่แม่นยำ ปัจจัยทั้ง 3 นี้ จะเป็นพื้นฐานของการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง สำหรับการค้าในรูปแบบออนไลน์ ปัญหาที่ผ่านมาพบว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยังขาดการพัฒนาระบบการจัดการพื้นฐานเหล่านี้ไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้บางครั้งไม่มีการจัดส่งสินค้าเพียงพอ ขาดสต็อก หรือบางครั้งของสต็อกมากเกินไป ทำให้ต้นทุนสูง ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ เพื่อที่จะทำให้การบริหารจัดการสินค้าคงคลังในรูปแบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความยืดหยุ่น

นายธนรัตน์ บาลทิพย์ นักวิชาการ กองโลจิสติกส์ กล่าวเสริมว่า โครงการนี้ จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถทราบจำนวนสินค้าที่คงเหลือและจัดการรายการสินค้าที่จะจำหน่ายในแพล็ตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ และจัดส่งไปยังลูกค้าได้อย่างรวดเร็วทันเวลา และลดการตีกลับของสินค้า สร้างความน่าเชื่อถือ ผ่านการลดเวลาการดำเนินงาน และลดต้นทุนโลจิสติกส์ได้ถึง 15%

ดร. รชฏ กล่าวต่อว่า เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของผู้ประกอบการ จึงต้องส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีการบริหารจัดการสินค้าเพื่อการค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ดี โดยมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพให้องค์กร ประกอบด้วยกิจกรรม การจัดซื้อจัดหาสินค้า การจัดการสต็อก ทาง CIBA DPU ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีการให้คำปรึกษา และความรู้ในการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง และมีการติดตาม โดยตั้งทีมเข้าไปช่วยแนะนำ เครื่องมือพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า  เครื่องมือการจัดการข้อมูลสินค้าคงคลัง การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน เพื่อแก้ปัญหาสินค้าคงคลัง ให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ

สำหรับกิจกรรมในโครงการนี้ มีบริษัทที่เข้าร่วมทั้งสิ้น 5 บริษัท ได้แก่ 1) บริษัท นิวสปอง จำกัด 2) บริษัท ศรีพิพัฒน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 3) บริษัท สยาม วอเตอร์ เฟลม จำกัด 4) บริษัท แสงรุ่งเรือง เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด และ 5) บริษัท เอื้ออารี ฟู้ดโปรดักท์ จำกัด โดยแต่ละบริษัทเลือกแนวทางและเครื่องมือในการปรับปรุงการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้บริหาร

การค้าอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ ต้องการการขับเคลื่อนด้วยระบบ “โลจิสติกส์” ที่มีประสิทธิภาพ และต้องย้ำอีกครั้งว่า โลจิสติกส์ ไม่ใช่เพียงเรื่องการขนส่ง แต่รวมไปถึงการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง  การจัดหาสินค้า กระบวนการผลิต การเก็บสต็อกสินค้าและบริการ รวมถึงการส่งมอบลูกค้า ดังนั้น เรื่องเหล่านี้ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้ และการจัดทำฐานข้อมูลต่างๆ เพื่อมาวิเคราะห์ต่อเนื่อง เพื่อทำให้ระบบหลังร้านตอบโจทย์กับระบบหน้าร้านแบบอีคอมเมิร์ช หากผู้ประกอบการธุรกิจใดสนใจเข้าร่วมการอบรม หรือ เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน CIBA  DPU

นอกจากนี้ CIBA DPU ยังเปิดสอนในระดับปริญญาตรี ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสอนโดยคณาจารย์ที่มีประสบการณ์ โดยเป็นที่ปรึกษาของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 100% ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่า บัณฑิตที่จบไปเป็นที่ต้องการของสถานประกอบการ ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://ciba.dpu.ac.th/program/bachelor/logistics/

นายสมใจนึก เองตระกูล ประธานกรรมการ ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ พร้อมด้วยคณะกรรมการ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ TIP ร่วมแถลงผลการดำเนินงาน ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ณ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ พระราม 3  โดยที่ประชุมมีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด ในอัตราหุ้นละ 1.60 บาท ซึ่งบริษัทฯ ได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลครั้งที่ 1ไปแล้ว  เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2566 ในอัตราหุ้นละ 0.50 บาท  และจ่ายเงินปันผลที่เหลืออีกในอัตราหุ้นละ 1.10 บาท ในวันที่ 23 เมษายน 2567  ให้แก่ผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับเงินปันผลตามที่ปรากฏรายชื่อ ณ วันปิดสมุดทะเบียน

ประสบสำเร็จอย่างงดงามสำหรับ STYLE Bangkok 2024 มหกรรมแสดงสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่นชั้นนำของเอเชีย ซึ่งจัดขึ้นโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่วันที่่ 20-24 มีนาคม 2567 โดยประกาศความสำเร็จที่เหนือความคาดหมายด้วยมูลค่าการค้าและจำนวนผู้เข้าชมงาน

โดยมูลค่าการค้าตลอด 5 วัน สามารถสร้างรายได้กว่า 1,756 ล้านบาท ทะลุเป้าหมายที่คาดไว้ที่ 1,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 จากมูลค่าการค้าของครั้งก่อน ในส่วนของมูลค่าการค้าวันเจรจาธุรกิจ ทั้งมูลค่าจากยอดสั่งซื้อทันทีและจากที่จะสั่งซื้อภายใน 1 ปี อยู่ที่  กว่า 1,732 ล้านบาท ยอดขายในวันสำหรับประชาชนทั่วไปอยู่ที่  กว่า 24 ล้านบาท ตอกย้ำตำแหน่งผู้นำอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์และแฟชั่นของไทย นอกจากนี้ จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมงานตลอด 5 วัน กว่า  25,000ราย จาก 49 ประเทศ/เขตการค้า เพิ่มขึ้นจากครั้งก่อนร้อยละ 4.40 ทำให้ประจักษ์ได้ถึงศักยภาพของงาน STYLE Bangkok ในการเป็นศูนย์รวมการค้าและโอกาสในการสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศ

ในงาน STYLE Bangkok ปีนี้ หมวดสินค้าที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัด ได้แก่ หมวดสินค้าแฟชั่นซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีมาก โดยมูลค่าการค้าของสินค้าในหมวดแฟชั่นเพิ่มขึ้นจากครั้งก่อน ร้อยละ  40.6 ตอกย้ำศักยภาพของไทยในฐานะเวทีการค้านานาชาติที่สำคัญของภูมิภาค

ภายในงานยังมีการลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) จำนวน 2 คู่ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน SMEs และ OTOP ภายใต้โครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก ตามแนวพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา โดยการพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการให้มีศักยภาพ และส่งเสริมต่อยอดด้านตลาดทั้งในและต่างประเทศ ประกอบด้วย (1) MOU ระหว่างกระทรวงพาณิชย์ กับ กระทรวงมหาดไทย และ (2) MOU ระหว่าง บริษัท บางจากคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กับ วิชชาลัยผ้าทอหนองบัวลำภู (ศูนย์การเรียนรู้ออกแบบขวัญตา)

นอกจากนี้ยังมีการเจรจาการค้า ระหว่าง MUJI (มูจิ) แบรนด์ไลฟ์สไตล์ชั้นนำระดับโลกสัญชาติญี่ปุ่น กับผู้ประกอบการไทย 5 ราย  ประกอบด้วย Prodpran Craft, Boonyarat Thaicrafts, Mallavi Limited Partnership, Deesawat Industries Co., Ltd และ Divana Global Co., Ltd. ซี่งจะช่วยส่งเสริมและผลักดันผู้ประกอบการของไทยในตลาดโลก โดยความร่วมมือนี้เป็นการต่อยอดจากการเยือนประเทศญี่ปุ่นของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และคณะ เมื่อเดือนธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา

สำหรับนักธุรกิจ ผู้เข้าเยี่ยมชมจากต่างประเทศ 10 อันดับแรก ได้แก่ จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง อินเดีย เกาหลีใต้ และเวียดนาม แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในระดับโลกของงานนี้และผลกระทบเชิงบวกต่อตลาดในระดับภูมิภาค

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กล่าวชื่นชมความสำเร็จของงานว่า “STYLE Bangkok 2024 แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในด้านแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ โดยสามารถยกระดับมรดกทางวัฒนธรรมสู่มิติใหม่ของความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ Soft Power ของไทยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ”

STYLE Bangkok 2024 ได้รับการตอบรับอย่างดียิ่งจากผู้แสดงสินค้าที่หลากหลาย ตั้งแต่แบรนด์ที่มีชื่อเสียงในตลาดโลก SMEs รวมถึงผู้ประกอบการหน้าใหม่ ต่างนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีอัตลักษณ์ของมรดกวัฒนธรรมผสมผสานกับกลิ่นอายความร่วมสมัย

นายภูสิตกล่าวถึงแนวโน้มของอุตสาหกรรมและความสำเร็จอย่างต่อเนื่องของงานแสดงสินค้า STYLE Bangkok ว่า “มองไปข้างหน้า เราวางเป้าหมายที่จะทำให้งาน STYLE Bangkok มีส่วนช่วยยกระดับประเทศไทยให้ก้าวขึ้นไปอยู่แถวหน้าของอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์และแฟชั่นระดับโลก การเป็นแหล่งรวมของความคิดสร้างสรรค์ การนำเสนอสินค้าที่มีดีไซน์ การทำงานร่วมกัน และการเข้าถึงตลาด คาดว่าจะช่วยส่งผลให้งาน STYLE Bangkok ประสบความสำเร็จต่อไปในอนาคต”

STYLE Bangkok 2024 ได้เสียงตอบรับที่ดีจากผู้เยี่ยมชมงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ซื้อชาวต่างประเทศ เช่น Ms. Takako Kondo กล่าวว่า “มางาน STYLE Bangkok 2024 ได้รับประสบการณ์ที่ดี มีค่ามาก ได้พบสินค้าถูกใจมากมาย และพบว่า  STYLE Bangkok ให้ความสําคัญกับเรื่อง SDGs ซึ่งสำคัญมาก และให้มุมมองที่แตกต่าง”  มร. David Tucker ผู้ซื้อจากซิดนีย์ ออสเตรเลีย บอกว่าเขาตื่นตาตื่นใจกับความงดงามของงาน  STYLE Bangkok ตั้งแต่ยังไม่ได้เข้าไปในฮอลล์ด้วยซ้ำ  ที่จริงเขาและเจ้านายต่างมีความสนใจในผลิตภัณฑ์ประเภทของตกแต่งบ้านจากประเทศไทยมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น สินค้าทำมือ ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่มีความยั่งยืน “ผมคิดว่า เมื่อเราขายสินค้าให้ใคร เราจำเป็นที่จะต้องบอกเค้าได้ว่านี่เป็นสินค้าประเภทที่มีความยั่งยืนผลิตแบบออร์แกนิก ไม่สร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม”

นอกจากสินค้าที่โดดเด่น มากมายที่สร้างความประทับใจให้กับผู้ซื้อผู้ชมงานแล้ว STYLE Bangkok 2024 ยังได้รับการตอบรับในแง่การจัดนิทรรศการที่หลากหลาย การสัมมนาให้ความรู้เชิงลึก และกิจกรรมการจับคู่ทางธุรกิจที่คึกคัก ความสำเร็จของงานเป็นอีกหนึ่งประจักษ์พยานในความมุ่งมั่นของไทยบนเส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืนและบทบาทของสินค้าไทยในเวทีระหว่างประเทศ

เชิดชูคนดี-สื่อมวลชน ช่วยเหลือชุมชน สังคมดีเด่น

ใครจะรู้ว่า ผักสลัดหนึ่งต้น จะมีความหมายกับน้องๆ ผู้บกพร่องทางสติปัญญา ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพราชานุกูล (บางพูน) จ.ปทุมธานี มากกว่า การเป็นผักคุณภาพดี ปลอดภัย รับประทานอร่อย

เพราะนี่คือ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการปลูกผักที่ทำให้น้องๆ ได้ฝึกการดำรงชีวิต ทักษะอาชีพ เพื่อลดภาระของครอบครัว

“การปลูกผัก อาจจะดูง่ายสำหรับคนทั่วไป แต่สำหรับผู้บกพร่องทางสติปัญญา เป็นเรื่องที่ยากมาก”

นางสาววรรณนภา เปรมปรีดา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพราชานุกูล (บางพูน)  จ.ปทุมธานี บอกเล่า “ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพราชานุกูล (บางพูน) จะรับดูแลผู้บกพร่องทางสติปัญญา วัยรุ่น ที่มีอายุตั้งแต่ 15-35 ปี ด้วยกระบวนการพยาบาลและโปรแกรมบางพูนโมเดล ที่พัฒนาขึ้นเพื่อฝึกทักษะต่างๆ ให้น้องๆ มีศักยภาพในการดำรงชีวิตและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ โดยไม่เป็นภาระแก่ครอบครัว”

กิจกรรมปลูกผัก นับเป็น โมเดล ที่ศูนย์ฯ นำมาใช้ในการฝึกทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมและส่งต่อน้องๆ กลุ่มนี้เข้าระบบการทำงานตามมาตรา 33 หรือ มาตรา  35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ซึ่งจะทำให้พวกเขามีอาชีพและรายได้ โดยเรียกโมเดลนี้ว่า “บางพูนโมเดล” ซึ่งมีบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ AIS สนับสนุนเทคโนโลยีการปลูกผักด้วย AIS iFarm และ โก โฮลเซลล์ (GO Wholesale) เข้ามาช่วยพัฒนาองค์ความรู้ในการปลูกผักสลัดที่ตลาดมีความต้องการ พร้อมรับซื้อผลผลิตมาจำหน่ายยังสาขา

“เราจะฝึกทักษะให้น้องๆ สามารถดำรงชีวิตขั้นซับซ้อน เช่น การหุงข้าวด้วยหม้อไฟฟ้า ซักผ้าด้วยเครื่อง การใช้เงินซื้อของ กวาดพื้น ถูพื้น เพื่อให้น้องๆ ได้ฝึกการใช้ชีวิตประจำวันกับครอบครัว ควบคู่ไปกับการปลูกผักสลัด ที่เป็นกิจกรรมที่สร้างสมาธิ  ทำให้น้องๆ จดจ่ออยู่กับงานที่ทำ มีความอดทน ซึ่งเป็นการเตรียมทักษะพื้นฐานการทำงาน”

หัวใจสำคัญของการฝึกทักษะของบางพูนโมเดลคือ “การทำซ้ำๆ ทำบ่อยๆ” จนกระทั่งน้องๆ เกิดความเข้าใจและรับรู้ว่าเป็นหน้าที่ ที่ต้องปฏิบัติเป็นประจำ และเมื่อพวกเขาออกไปใช้ชีวิตภายนอก พวกเขาก็จะสามารถช่วยเหลือตัวเองไม่เป็นภาระของครอบครัว

น้องๆ ที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพราชานุกูล (บางพูน) จะลงมือปฏิบัติเริ่มต้นตั้งแต่ การเพาะเมล็ดผักสลัด อาทิ ฟินเลย์ กรีนคอส กรีนโอ๊ค นำต้นกล้าลงแปลงปลูก รดน้ำ เก็บล้างทำความสะอาด และบรรจุถุง ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับผู้บกพร่องทางสติปัญญา  และเมื่อเขาทำได้ น้องๆ จะเกิดความภาคภูมิใจในการทำงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จ

นางสาววรรณนภา กล่าวอีกว่า “หลังจากเก็บผักสลัดแล้ว น้องๆ จะมาช่วยกันแพ็คผักใส่ถุง แปะสติ๊กเกอร์สีเหลืองบางพูน โมเดล และแช่ตู้เย็นไว้ เตรียมส่งให้กับทาง โก โฮลเซลล์ สัปดาห์ละครั้ง ประมาณ 100 ถุง หรือเฉลี่ย 20-30 กิโลกรัมต่อครั้ง แม้จะไม่มาก แต่นี่คือ  โอกาสสำคัญ ของเด็กๆ กลุ่มนี้”

ผักสลัดทุกถุง ของน้องๆ จากศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพราชานุกูล (บางพูน) จังหวัดปทุมธานี จะวางจำหน่ายที่แผนกผักสด ณ  “โก โฮลเซลล์ สาขารังสิต” ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน นี้เป็นต้นไป โดยสังเกตสติ๊กเกอร์สีเหลืองลวดลายการ์ตูนเด็ก พิมพ์ “บางพูน เกษตรปลอดภัย By Bangpoon Model” เป็นสัญลักษณ์ ซึ่งแม้จำนวนผักจากฝีมือน้องๆ จะมีไม่มาก แต่นี่จะเป็นไอเท็มสำคัญที่หลายคนตามหา

มาร่วมตามหาไอเท็มแห่งโอกาส เพื่อช่วยกันมอบโอกาส กับน้องๆ กลุ่มนี้กันเถอะ

Page 1 of 580
X

Right Click

No right click