พร้อมเตรียมปั้นสุดยอดนักขายกับโครงการ 'Shopee Mentor 2024' ถ่ายทอดสูตรแห่งความสำเร็จบนโลกอีคอมเมิร์ซ

ส่งนวัตกรรมสร้างสมดุล “ไมโครไบโอมในระบบทางเดินอาหาร” เดินหน้ายกระดับการรักษาแบบองค์รวม

FWD ประกันชีวิต กลับมาสร้างปรากฎการณ์ให้วงการประกันชีวิต ด้วยความแตกต่างกับแคมเปญ “ใช้ชีวิตเหมือนที่เคยคิด เพราะชีวิตคิดแล้วต้องใช้” ชวนคุณร่วมสร้างประสบการณ์ใหม่กับ FWD PlayGrown สนามผู้ใหญ่เล่น ให้ทุกคนได้สนุกเหมือนที่เคยคิด ได้ปล่อยจอยได้เต็มที่ เหมือนตอนเป็นเด็กอีกครั้ง

นางสาวปวริศา ชุมวิกรานต์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานภาพลักษณ์และสื่อสารองค์กร บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) (“FWD ประกันชีวิต”) กล่าวว่า ““FWD ประกันชีวิต เปิดตัวแบรนด์แคมเปญแรกของปี 2567 ภายใต้คอนเซ็ปท์ ใช้ชีวิตเหมือนที่เคยคิด เพราะชีวิตคิดแล้วต้องใช้” ที่สนับสนุนให้ทุกคนได้ Celebrate living ใช้ชีวิตได้เต็มที่ สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนออกไปใช้ชีวิตตามที่ตั้งใจ ก้าวข้ามความกังวล กับประสบการณ์วาร์ปกลับไปสู่ความคิดที่คุณเคยคิดอยากจะลองทำเหมือนตอนเป็นเด็ก ที่มีอิสระในการเลือกทำสิ่งต่างๆ ตามความต้องการ ซึ่งเป็นไอเดียหลักของการทำแคมเปญในครั้งนี้”

แคมเปญครั้งนี้ มาจากการเจาะลึก insight ผู้บริโภคชาวไทยในการออกไปใช้ชีวิต จากการสำรวจของ YouGov* พบว่า ยิ่งเราเติบโตมากขึ้นเท่าไร ความรับผิดชอบก็มากขึ้นตามลำดับ โดยกลุ่ม Young intenders (กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีทัศนคติ Work Hard Play Hard) 56% กลุ่ม Family oriented (กลุ่มคนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของครอบครัวเป็นหลักมาก่อนหน้าที่การงาน) 44% และกลุ่ม Financial Successful (กลุ่มคนที่รู้สึกมั่นคงทางการเงิน) 63% เห็นตรงกันว่า เป็นเรื่องยากที่จะทำงานตามหน้าที่รับผิดชอบทั้งหมดที่ต้องทำให้เสร็จภายในแต่ละวัน ทำให้เวลาที่จะได้ลองทำในสิ่งที่ตัวเองอยากลองทำถูกจำกัด ใช้ชีวิตได้ไม่เต็มที่อย่างที่เคยคิด

FWD ประกันชีวิต ในฐานะแบรนด์ที่ต้องการสนับสนุนให้คนไทยได้ใช้ชีวิตในแบบที่ต้องการโดยไม่ต้องกังวล จึงนำข้อมูล insight ผู้บริโภคมาผสานกับไอเดียที่แตกต่าง ออกมาเป็นงานครีเอทีฟที่สนับสนุนให้ทุกคน “ใช้ชีวิตเหมือนที่เคยคิด เพราะชีวิตคิดแล้วต้องใช้” ชวนให้ทุกคนออกมาได้ลองใช้ชีวิตเหมือนตอนเป็นเด็กอีกครั้ง เพราะชีวิตในวัยเด็กเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข ความสนุก เป็นอิสระ สนใจในการเรียนรู้และลองทำสิ่งใหม่ ๆ กล้าที่จะทำอะไรก็ได้ที่อยากทำ ด้วยการสร้างกล่องของเล่นขนาดยักษ์​ที่บรรจุสนามผู้ใหญ่เล่น (FWD PlayGrown) ที่ใส่เครื่องเล่นสุดฮิตในวัยเด็ก ทั้งม้ากระดก และชิงช้า ให้ทุกคนได้มีโมเมนต์ดีๆ ในการปลดปล่อยความเป็นเด็กในตัว ก้าวข้ามความกังวล และกล้าใช้ชีวิตให้เต็มที่แบบสนุกสุดเหวี่ยงเหมือนตอนเป็นเด็กอีกครั้ง ในช่วงวันที่ 9-13 มกราคม ณ Em Station 2 (หน้าเอ็มควอเทียร์) บนทางเชื่อมรถไฟฟ้า BTS พร้อมพงษ์ และหน้าอาคารยูไนเต็ด เซ็นเตอร์ ถนนสีลม

นอกจากนี้ ภายใต้แคมเปญยังได้สร้างสรรค์ Key Visual รวมทั้ง Motion Bumper Ad และ Mobile Bumper ใน theme: FULFILL LIFE WHILE GROWING UP ผ่านช่องทางออนไลน์ รวมทั้งยังมีการแชร์เรื่องราว 8 เรื่องสนุกๆ ของอินฟลูเอ็นเซอร์สายกิน สายออกกำลังกาย สายเดินทางท่องเที่ยว เกี่ยวกับสิ่งที่เคยคิดอยากทำและความฝันในวัยเด็ก เพื่อจุดประกายย้อนเรื่องราวความฝันความตั้งใจในวัยเด็กของแต่ละคน และเมื่อเติบโตขึ้นความฝันในวัยเด็กได้กลายเป็นความจริงได้อย่างไร เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกคนได้ใช้ชีวิตได้เต็มที่อย่างหมดห่วง เพราะชีวิตคิดแล้วต้องใช้  

“FWD ประกันชีวิต ขอชวนทุกคนย้อนกลับไปช่วงวัยเด็ก ที่เราได้ทำตามที่เราคิด เพราะชีวิตคิดแล้วต้องใช้ เราสะท้อนแนวความคิดของแบรนด์แคมเปญนี้ออกมาด้วยการสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคน 'ได้เล่น' เพื่อมองเห็นความฝัน และความตั้งใจที่มีในวัยเด็ก และสัมผัสประสบการณ์ใหม่ที่สร้างมุมมองที่แตกต่างในการสร้างความจดจำในแบรนด์ประกันชีวิต  โดยทุกท่านสามารถติดตามกิจกรรม พร้อมสัมผัสประสบการณ์แบรนด์แคมเปญใหม่นี้ได้ในทุกแพลตฟอร์มออนไลน์ และโซเชียลมีเดียของ FWD ประกันชีวิต” นางสาวปวริศา กล่าวทิ้งท้าย


หมายเหตุ :

*อ้างอิงข้อมูลจากแพลตฟอร์มสำรวจชั้นนำระดับโลก (ข้อมูลสถิติ ณ วันที่ 3 ธันวาคม 2566 จากกลุ่มตัวอย่าง 7,951 คน)

รายงานของ Allianz Risk Barometer ซึ่งวิเคราะห์จากข้อมูลเชิงลึกของนักบริหารความเสี่ยงกว่า 3,000 คน ได้เปิดเผยความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของบริษัทในประเทศไทยในปี 2567 โดยชี้ให้เห็นว่า การหยุดชะงักทางธุรกิจ (อันดับ 1, 47%) และภัยพิบัติทางธรรมชาติ (อันดับ 1, 47%) ถือเป็นความเสี่ยงทางธุรกิจอันดับแรกในประเทศไทย ตามมาด้วยภัยทางไซเบอร์ (อันดับ 3, 33%) เช่น มัลแวร์เรียกค่าไถ่ การละเมิดข้อมูลและการหยุดชะงักด้านไอที ไฟไหม้และการระเบิด และเทคโนโลยีใหม่ เช่น ความเสี่ยงจากผลกระทบของ AI และรถยนตร์ไฟฟ้า เป็นความเสี่ยงที่อยู่ในอันดับ 4 และ 5

อย่างไรก็ตาม สำหรับทั่วโลกและในเอเชีย ความเสี่ยงสามอันดับแรกได้แก่ ภัยทางไซเบอร์ การหยุดชะงักทางธุรกิจ และภัยธรรมชาติ รองลงมา ได้แก่ ไฟไหม้และการระเบิด (เพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 8 เป็นอันดับที่ 4 เมื่อเทียบปีต่อปี) และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ยังคงอยู่ที่อันดับที่ 5)

เปโตร ปาปานิโคเลา ซีอีโอ Allianz Commercial แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลดังกล่าวว่า “ความเสี่ยงที่สำคัญและปัญหาสำคัญที่อยู่ในอันดับสูงขึ้นใน Allianz Risk Barometer ประจำปีนี้ สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาใหญ่ที่บริษัทต่างๆ ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ซึ่งได้แก่ การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อมทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ไม่แน่นอน ความเสี่ยงเหล่านี้เข้ามาใกล้เราทุกทีแล้ว สภาพอากาศที่รุนแรง มัลแวร์เรียกค่าไถ่ และความขัดแย้งในภูมิภาค จะเป็นบททดสอบความสามารถในการฟื้นตัวของห่วงโซ่อุปทานและโมเดลธุรกิจในปี 2567 เอเย่นต์และลูกค้าของบริษัทประกันภัยควรคำนึงถึงปัญหาเหล่านี้และปรับความคุ้มครองให้สอดคล้อง”

บริษัทขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และธุรกิจขนาดเล็กต่างกังวลกับความเสี่ยงเหมือนกัน โดยส่วนใหญ่มักกังวลเกี่ยวกับภัยทางไซเบอร์ การหยุดชะงักของธุรกิจ และภัยธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม รายงานระบุว่า ความสามารถในการฟื้นตัวของบริษัทขนาดใหญ่และขนาดเล็กแตกต่างกันมากขึ้น เนื่องจากองค์กรขนาดใหญ่ตระหนักถึงความเสี่ยงมากขึ้นตั้งแต่โควิด 19 โดยมีแรงผลักดันสำคัญที่จะพัฒนาความสามารถในการฟื้นตัว ในทางกลับกัน ธุรกิจขนาดเล็กมักจะไม่มีเวลาและขาดทรัพยากรในการค้นหาความเสี่ยงและเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ความเสี่ยงที่หลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจขนาดเล็กจึงใช้เวลานานกว่ากว่าจะฟื้นตัวหลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด

คริสเตียน แซนดริก กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคของ Allianz Commercial Asia กล่าวว่า “ภัยทางไซเบอร์ การหยุดชะงักทางธุรกิจ และภัยธรรมชาติยังคงเป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของบริษัทในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือธุรกิจขนาดเล็ก บริษัทต่างๆ เผชิญกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจระดับโลกที่มีความผันผวนมากขึ้น ซึ่งตอกย้ำถึงความสำคัญของวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยงที่แข็งแกร่ง รวมถึงมาตรการที่แข็งแกร่งในการรองรับและการประกันภัย ตัวอย่างเช่น บริษัทต่างๆ กำลังศึกษานโยบายข้ามชาติที่อำนวยความสะดวกสำหรับการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และสามารถช่วยลดความสูญเสียและความเสียหายให้เหลือน้อยที่สุด รวมถึงการเลือกใช้โซลูชันทางเลือกสำหรับถ่ายโอนความเสี่ยง เพื่อจัดการกับความเสี่ยงที่ยากต่อการรับประกันในตลาดทั่วไป”

ความเสี่ยงอันดับต้นๆ ในประเทศไทย

ลาร์ส ไฮบุทสกี้ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงกำลังกลายเป็นเรื่องปกติใหม่ แผนการฟื้นตัวของห่วงโซ่อุปทานและความต่อเนื่องทางธุรกิจจึงต้องได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆ เพื่อให้ธุรกิจต่างๆ สามารถรับมือกับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวได้”

ประเทศไทยยังคงได้รับผลกระทบจากภัยทางธรรมชาติ น้ำท่วมในภาคใต้คร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนมากและส่งผลกระทบต่อครัวเรือนนับหมื่น นับตั้งแต่น้ำท่วมซึ่งเริ่มขึ้นธันวาคมปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนกว่า 70,000 หลังคาเรือนในจังหวัดสตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส บริการรถไฟบางแห่งในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งติดกับมาเลเซียกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งหลังจากปิดไปหลายวัน เนื่องจากรางรถไฟทรุดตัว ช่วงฤดูฝนในประเทศไทยมักเกิดน้ำท่วมทุกวันเป็นเวลาหลายเดือน แต่นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดโดยฝีมือมนุษย์อาจทำให้ฝนตกหนักมากขึ้น

การผลิตข้าวนอกฤดูกาลในเอเชียมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบ เนื่องจากปัญหาความแห้งแล้ง ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่ลดลง และผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนิโญอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะทำให้ผลผลิตลดลงในช่วงต้นปี 2567 ทำให้อุปทานไม่เพียงพอ ส่งผลให้ราคาอาหารสูงขึ้น จากการวิเคราะห์ของผู้ค้าข้าวและนักวิเคราะห์ ประเทศไทยซึ่งผลิตข้าวมากเป็นอันดับ 2 ของโลก อาจจะผลิตข้าวนอกฤดูลดลงในไตรมาสแรก และคาดว่าจะมีการส่งออกข้าวน้อยลง

ลาร์ส แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) ว่า “การเร่งพัฒนา AI ในปี 2566 ช่วยให้เกิดโอกาสอย่างมากสำหรับธุรกิจต่างๆ และสังคมโดยทั่วไป ในขณะเดียวกัน ยังมีความกังวลเกี่ยวกับผลที่จะตามมาของเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ ซึ่งปัญหาหลายอย่างที่เรากังวลว่าจะเกิด ได้เกิดขึ้นจริงแล้วในอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องทำงานร่วมกันเพื่อลดความเสี่ยงเหล่านี้ ศักยภาพของ AI ในการพลิกโฉมธุรกิจจะพัฒนาขึ้นไปอีก โดยจะสามารถเปลี่ยนแปลงทุกอุตสาหกรรมและทุกด้านของชีวิตตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ในฐานะเทคโนโลยีอเนกประสงค์”

เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ผลกระทบด้านความเสี่ยงจาก AI เป็นความเสี่ยงอันดับที่ 5 ของประเทศไทย สื่ออย่างบางกอกโพสต์รายงานว่า 72% ของผู้สำเร็จการศึกษาชาวไทยอาจตกงานเพราะ AI ภายในปี 2573 โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานธุรการและการจัดการสำนักงานทั่วไปที่ขาดทักษะเฉพาะด้าน นอกจากแผนที่จะมีการบังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบด้าน AI แล้ว แนวทางสำคัญของยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการด้าน AI แห่งชาติของประเทศไทยที่เปิดตัวในปี 2565 ได้แก่ การปรับปรุงความสามารถด้านการศึกษาและกำลังคนที่เกี่ยวข้องกับ AI รายงานความคืบหน้าในเดือนสิงหาคม 2566 ให้ข้อมูลไว้ว่า รัฐบาลได้อนุมัติแผนการพัฒนาแรงงานที่มีทักษะด้าน AI แล้วเพื่อรองรับความต้องการที่หลากหลายของภาคอุตสาหกรรม

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) พัฒนาเทคโนโลยีการเงินดิจิทัลเพื่อลูกค้าธุรกิจอย่างต่อเนื่อง คว้า 3 รางวัลนวัตกรรมการเงินยอดเยี่ยมแห่งปี 2566 สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ก้าวล้ำไปพร้อมกับความต้องการของลูกค้าธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญ กรุงศรีไม่หยุดนิ่งแค่การให้บริการในประเทศ แต่ได้ขยายพื้นที่ให้บริการไปในต่างประเทศอีกด้วย

นางสาวสายสุนีย์ หาญประเทืองศิลป์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านนวัตกรรมดิจิทัลและข้อมูล ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “กรุงศรีมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับ Experience First โดยผนวกนวัตกรรมและความสามารถในการเข้าใจและเข้าถึงลูกค้าธุรกิจ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้งานของลูกค้า เพื่อออกแบบโซลูชันที่ตอบสนองความต้องการได้หลากหลาย และการทำ E2E Digital Transformation จนสามารถคว้าสามรางวัลอันทรงเกียรติด้านนวัตกรรมการเงินมาได้”

ทั้งนี้สามรางวัลแห่งความสำเร็จ ด้านเทคโนโลยีการเงินดิจิทัลเพื่อลูกค้าธุรกิจ ประกอบด้วย

  1. Thailand Domestic Technology & Operations Bank of the Year จาก The ABF Wholesale Banking Awards 2023
  2. The Innovative Deal of the Year จาก The ABF Corporate & Investment Banking Awards 2023
  3. Best SME Mobile Banking Service Initiative จาก Global SME Banking Innovation Awards 2023 by The Digital Banker

กรุงศรีเชื่อว่า ผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีต้องออกแบบให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า สามารถยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าให้ดีขึ้นได้ เช่น วันนี้ลูกค้าองค์กรสามารถเปิดบัญชีและยืนยันตัวตนผ่านผลิตภัณฑ์ Krungsri iPro ได้โดยไม่ต้องไปสาขา และไม่ว่าลูกค้าธุรกิจขนาดเล็กที่ทำธุรกิจคนเดียวไปจนถึงองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ก็สามารถทำธุรกรรมบนดิจิทัลแบงก์กิ้งเพื่อธุรกิจอย่าง Krungsri Biz Online ได้ครบครันในที่เดียว และด้วยความแข็งแกร่งในการเป็นบริษัทในเครือการเงินระดับโลก MUFG จึงสนับสนุนให้ลูกค้าขับเคลื่อนธุรกิจสู่ Regional Expansion & Connectivity โดยพัฒนาโซลูชันให้ลูกค้าธุรกิจในต่างประเทศ กับการสร้างประสบการณ์การใช้งานเดียวกันกับ Krungsri Biz Online ไปเป็น Krungsri Internet Banking Laos แพลตฟอร์มดิจิทัลแบงก์กิ้งเพื่อลูกค้าธุรกิจใน สปป.ลาว

การคว้าสามรางวัลด้านเทคโนโลยีการเงินดิจิทัลยอดเยี่ยมในปีที่ผ่านมา เป็นการการันตีว่าการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเงินเพื่อลูกค้าธุรกิจของกรุงศรีเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และในปี 2567 นี้เราจะยังคงมุ่งมั่นพัฒนาเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

บมจ.กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต นำโดย คุณแซลลี่ โอฮาร่า ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เป็นประธานในพิธีทำบุญเนื่องในโอกาสต้อนรับปีใหม่ 2567 โดยมีคณะผู้บริหารระดับสูง และพนักงานฯ เข้าร่วมพิธี เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลในการเริ่มต้นศักราชใหม่กับปีมังกร (ปีมะโรง)  ณ อาคารจี ทาวเวอร์ แกรนด์ รามา 9

โดยในปี 2567 บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตให้เติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมยกระดับคุณภาพฝ่ายขายให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน และตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างดีที่สุด ตามนโยบายหลักของบริษัทฯ ในการมีลูกค้ามาเป็นที่หนึ่ง พร้อมทั้งเคียงข้างทุกความเชื่อมั่น ดูแลกันตลอดไป

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) “ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายระดับนานาชาติ” (International Versatile Energy Provider) ก้าวสู่ทศวรรษที่ 5 พร้อมฉายภาพความสำเร็จของหน่วยงาน Digital and Innovation (D&I)” หนึ่งกุญแจสำคัญที่นำพาบ้านปูเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล (Digital Transformation) ด้วยเป้าหมายในการส่งมอบอนาคตพลังงานเพื่อความยั่งยืน ผ่านการนำเทคโนโลยีและดิจิทัลมาเชื่อมโยงการทำงานของบ้านปูใน 9 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงาน ลดต้นทุน และสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจในระยะยาว ด้วย 4 ผลงานเด่น อาทิ การตรวจสอบเส้นทางขนส่ง การวิเคราะห์แนวโน้มราคาพลังงาน การจัดเก็บและรวมศูนย์ข้อมูลของบริษัทในกลุ่มบ้านปูทั้ง 9 ประเทศ ตลอดจนยกระดับ Cybersecurity สร้างความปลอดภัยด้านข้อมูลขั้นสูง เพื่อผลักดันการเติบโตทางธุรกิจภายใต้   กลยุทธ์ Greener & Smarter

 

ดร.ธีระชัย พรสินศิริรักษ์ Head of Digital and Innovation บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “บ้านปูกำลังเร่งการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ (Banpu Transformation) ซึ่งดำเนินการมากว่า 10 ปีแล้ว บริษัทฯ ได้จัดตั้งหน่วยงาน Digital Center of Excellence (DCOE) เมื่อปี 2561 เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลโดยเฉพาะ และต่อมา ได้ผนวก DCOE เข้ากับหน่วยงานเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ในช่วงกลางปี 2565 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานภายใต้ชื่อหน่วยงานใหม่อย่าง Digital and Innovation หรือ D&I ซึ่งมีหมุดหมายสำคัญในการส่งเสริมพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงานของบ้านปูให้แข็งแกร่ง รองรับความต้องการขององค์กรที่มีการเปลี่ยนผ่านทั้งด้านธุรกิจ เทคโนโลยี และบุคลากร พร้อมสนับสนุนงานปฏิบัติการของธุรกิจในกลุ่มบ้านปู ทั้งในไทย อินโดนีเซีย จีน ออสเตรเลีย ลาว มองโกเลีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม โดยให้สำนักงานใหญ่ในไทยเป็นผู้นำในการทำ Digital Transformation โดยปัจจุบันมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญจากทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมกว่า 150 คนแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานที่เติบโตเร็วมาก”

ดร.ธีระชัย กล่าวต่อว่า “เป้าหมายและกรอบการทำงานของ D&I ในช่วง 1-2 ปีแรกของการจัดตั้งหน่วยงาน เรามุ่งให้ทีมสามารถทำงานอย่างสอดประสานและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแบบ One Team, One Goal เพื่อสร้างความแข็งแกร่งจากภายใน และในช่วงปีที่ 3-4 เป็นช่วงของการใช้กลยุทธ์การทำงานที่สอดคล้องกัน โดยทีมสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างไร้รอยต่อ รวมถึงสามารถแชร์ทีมงานดิจิทัล (Digital Workforce) กันได้ด้วย แม้ว่าการดำเนินงานในประเทศต่างๆ จะมีบริบทที่ต่างกัน แต่เราต้องผนวกความร่วมมือ (Synergy) เพื่อเร่งให้บ้านปูประสบความสำเร็จตามกลยุทธ์ Greener & Smarter ได้เร็วขึ้น หลังจากที่บ้านปูดำเนินธุรกิจภายใต้กลยุทธ์นี้มาตั้งแต่ปี 2558”

อีกหนึ่งภารกิจสำคัญของ D&I คือส่งเสริมให้บุคลากรของบ้านปูตระหนักรู้ถึงความสำคัญของดิจิทัล (Digital Awareness) และเพิ่มทักษะดิจิทัลให้แก่พนักงานที่เกี่ยวข้องในสายงาน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในความสามารถสำคัญที่ทั้งบ้านปูและโลกกำลังต้องการ โดยมีการฝึกฝนบุคลากรให้มีชุดความคิดแบบดิจิทัล (Digital Mindset) และกรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) โดยมี Digital Coach เป็นผู้สอนการใช้เทคโนโลยีต่างๆ พร้อมเทรนเดอะเทรนเนอร์ (Train the trainers) เพื่อพัฒนาทักษะบุคลากรให้เป็นเทรนเนอร์หรือโค้ชที่สามารถถ่ายทอดทักษะให้แก่ผู้อื่นได้ต่อ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านด้านบุคลากร (People Transformation) รวมถึงการจัดตั้ง Digital Capability Center (DCC) ในหลายประเทศ เพื่อยกระดับความร่วมมือของพนักงานในแต่ละกลุ่มธุรกิจ โดยดำเนินงานภายใต้ 4 พันธกิจคือ 1) นำเทคโนโลยีไปปรับใช้ทั่วทั้งองค์กร 2) นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานที่สะอาดขึ้น 3) สร้างสรรค์นวัตกรรมให้เกิดขึ้นภายในองค์กร และ 4) สร้างธุรกิจให้แข็งแกร่งและเพิ่มความยืดหยุ่น เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันในอนาคต

 

ในช่วงที่ผ่านมา ทีม D&I ได้ผลักดันการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมมาใช้ในโครงการต่างๆ ที่มีความโดดเด่น ถูกนำไปใช้งานจริง และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้ในอนาคต อาทิ

  • Supply Chain Optimization ระบบที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของห่วงโซ่อุปทาน โดยใช้เทคโนโลยี AI ตรวจจับข้อมูลการขนส่งและโลจิสติกส์ เช่น เส้นทางเดินเรือของเรือขนส่งสินค้า ตารางการจัดวัสดุ อุปกรณ์ เป็นต้น
  • Energy Trading ระบบซื้อขายพลังงานที่มีเทคโนโลยี AI ช่วยวิเคราะห์ทิศทางของราคาพลังงาน เช่น ในอีก 5-10 นาทีข้างหน้าค่าไฟจะต่ำลงหรือสูงขึ้น ช่วยในการตัดสินใจซื้อ-ขายพลังงานได้อย่างแม่นยำ แม้ระบบนี้จะยังอยู่ในช่วงของการทดสอบ แต่ได้นำร่องใช้งานในออสเตรเลียแล้ว และมีแนวโน้มขยายการใช้งานไปยังญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาอีกด้วย
  • Master Data Warehouse ศูนย์กลางข้อมูลของบ้านปูใน 9 ประเทศ เนื่องจากฐานข้อมูลของกลุ่มบ้านปูกระจายอยู่ในหลายประเทศ ทีม D&I จึงพัฒนา Master Data Warehouse ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมข้อมูลของบ้านปู โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดเก็บดาต้าให้เป็นหมวดหมู่และควบคุมให้เป็นฟอร์แมท (Format) เดียวกัน พร้อมกับทำ Corporate Information Factory (CIF) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดเก็บ Data Master Files ร่วมด้วย
  • Cybersecurity ขยายขอบเขตการดูแลความมั่นคงทางไซเบอร์ ครอบคลุมทั้งด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงาน ส่งผลให้การประกาศสมาชิกดัชนีความยั่งยืน ดาวโจนส์ หรือ Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI ในปี 2022 บ้านปูได้รับคะแนนประเมินประสิทธิผลการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนในด้าน Cybersecurity เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

 

“ตลอด 1 ปี 6 เดือน หน่วยงาน D&I ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานสนับสนุนที่สำคัญ (Key Enabler) และเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยซัพพอร์ตงานด้านดิจิทัลทั้งหมดของบ้านปู เราเดินหน้าไปแล้วกว่า 270 รายการ เป็นรายการทั้งที่อยู่ในขั้นทดลอง/ทดสอบ หรือให้คำแนะนำ หรือเป็นที่ปรึกษา บางรายการเป็นโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตั้งต้น (Minimal Viable Product: MVP) หรือเป็นโครงการที่พัฒนาโซลูชันจนสามารถใช้งานในองค์กรได้ รวมถึงมีโครงการที่สร้างรายได้กลับเข้ามาในหน่วยงาน และโครงการที่ช่วยลดต้นทุนให้หน่วยงานในบ้านปูได้ด้วย เหล่านี้จึงเป็นบทพิสูจน์ความก้าวหน้าในการมุ่งมั่นใช้และพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลของ  บ้านปู” ดร.ธีระชัย กล่าวทิ้งท้าย

ในการก้าวสู่ทศวรรษที่ 5 บ้านปูยังคงเดินหน้าเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยมาใช้อย่างชาญฉลาดทั่วทั้งองค์กร สอดรับกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จะเห็นได้ว่าเพียงหนึ่งปีครึ่ง หน่วยงาน Digital and Innovation ประสบความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการบริหารและขับเคลื่อนองค์กรสู่การเปลี่ยนผ่านธุรกิจหลายโครงการ ทั้งหมดนี้ เพื่อสนับสนุนการส่งมอบอนาคตพลังงานเพื่อความยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และร่วมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้แก่ผู้คนในวันนี้และในอนาคต ตอกย้ำพันธสัญญาที่ว่า ‘พลังบ้านปู สู่พลังงานที่ยั่งยืน’ (Our Way in Energy)

เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) เดินหน้าลุยสร้างความแข็งแกร่งให้ช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านตัวแทน จัดกิจกรรม “Agency Kick Off 2024” งานประชุมและวางแผนงานเริ่มต้นปีของกลุ่มผู้บริหารตัวแทนทุกระดับและตัวแทนทั่วประเทศ ภายใต้แนวคิด “Agency RIGHT” เริ่มต้นปีด้วยการกำหนดทิศทางที่ถูกต้องเพื่อพิชิตเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 เน้นการรีครูทตัวแทนใหม่ การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาตัวแทนอย่างเป็นระบบ  โดยการบูรณาการแบบ 360 องศา และการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน  

ภายในงานได้รับเกียรติจาก นายอาร์ช คอลมิ (Mr. Arsh Kaumi) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ ร่วมแชร์ทิศทางด้านการบริหารปี 2567 พร้อมด้วย นายสมศักดิ์ อรรถเสรีพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านตัวแทน (Chief Agency Officer - CAO) ที่มาประกาศเป้าหมายและย้ำกลยุทธ์ที่จะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับทีมตัวแทนจำหน่ายภายใต้กลยุทธ์ Agency RIGHT” เพื่อการพิชิตเป้าหมาย ได้แก่ RRecruitment การสรรหา คัดสรรตัวแทนที่เปี่ยมไปด้วยความรู้ ความสามารถ เพื่อเสริมทัพตัวแทน และรองรับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น I “Infrastructure” สนับสนุนตัวแทน โดยสร้างความร่วมมือจากทุกฝ่ายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นด้านประชาสัมพันธ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการให้บริการไปจนถึงฝ่ายปฏิบัติการ เป็นต้น G “Growing together” ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเติบโตของตัวแทน เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในการก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้บริหารฝ่ายขาย และสามารถพิชิตได้ในทุกเป้าหมายที่ต้องการ H “Habit” สร้างวินัยและความมุ่งมั่นในการทำงาน พร้อมตั้งเป้ากิจวัตรประจำวันเพื่อพิชิตเป้าหมาย สุดท้าย T “Training platform” เจนเนอราลี่มุ่งเน้นเสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้กับตัวแทนทุกระดับชั้น เพื่อให้เติบโตในสายงานได้อย่างมืออาชีพ ด้วยมาตรฐานการเรียนรู้หลักสูตรสากลระดับโลก

พร้อมกันนี้ นางสาวช่อฟ้า ยุกตะนันท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดและบริหารลูกค้า กลุ่มบริษัท เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ ได้ย้ำถึงแนวคิด Customer FIRST และแผนการตลาดที่จะสนับสนุนช่องทางตัวแทน ให้สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตรงโจทย์และบริการที่ตรงความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เพื่อเป้าหมายสูงสุดคือการเป็น Lifetime Partner หรือเพื่อนผู้เคียงข้างลูกค้าในทุกช่วงเวลา โดยมีคณะผู้บริหารระดับสูง ร่วมส่งกำลังใจให้ตัวแทนจากทั่วประเทศให้พร้อมเดินหน้าพิชิตเป้าหมายประจำปีอย่างคับคั่ง  

นอกจากนี้ยังได้เชิญวิทยากรพิเศษ คุณแป้ง กนกวรรณ กรรณิกา ที่ปรึกษา High Valued Service & Experience Design มาร่วมพูดสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ทางตัวแทน เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต ในหัวข้อ Right Attitude การสร้างทัศนคติที่มุ่งสู่ความสำเร็จ” เมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ โรงแรม ไฮแอท รีเจนซี่ กรุงเทพฯ สุขุมวิท      

ในปี 2024 ประเด็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และการพัฒนาที่ยั่งยืนจะไม่ได้เป็นแค่การทำเพื่อภาพลักษณ์ขององค์กรอีกต่อไป แต่กลายเป็นประเด็นสำคัญระดับโลกและในระดับประเทศ ทั้งในภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากกฎและข้อบังคับเกี่ยวกับความยั่งยืนจากหน่วยงานระดับโลก รวมถึงการค้าระหว่างประเทศจะเริ่มมีการปรับเปลี่ยนมาตรฐาน เพื่อวางมาตรฐานใหม่ให้ธุรกิจลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง

เทรนด์เรื่องนี้ทำให้ทุกภาคส่วนในประเทศไทยต้องปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญ และหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนเป็นไปอย่างรวดเร็วก็คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมอัจฉริยะ ซึ่งจะช่วยในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีศักยภาพ โดยหัวเว่ยถือเป็นหนึ่งในองค์กรภาคเอกชนที่ผลักดันเรื่องกรีนเทคโน  โลยีมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาดโดยตรง และด้านนวัตกรรมที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคองค์กรด้วยการปรับกระบวนการทำงานในภาพรวม ซึ่งจะช่วยพาทุกฝ่ายก้าวสู่เป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อย่างแข็งแกร่งในอนาคต

ดร. ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงเทรนด์เรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอนในปัจจุบันและเทคโนโลยีที่ตอบรับ Net Zero ว่า “ในปัจจุบันนี้ ถ้าเรามองเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Emission) ในภาพรวม จะพบว่าหลัก ๆ แล้วมาจาก 3 กลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกที่มีสัดส่วนใหญ่ที่สุดคือเทคโนโลยีในอดีตที่ยังใช้งานมาถึงปัจจุบันสำหรับการผลิตพลังงาน รองลงมาคือกลุ่มภาคอุตสาหกรรมทั้งหลายที่ยังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และกลุ่มที่สามคือภาคคมนาคม สำหรับในส่วนของเทคโนโลยี ถ้าเรามองไปที่เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตพลังงาน (ในประเทศไทย) จะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา เพราะเริ่มมีการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งหน่วยงานรัฐของไทยต่างก็ผลักดันเทคโนโลยีเรื่องความยั่งยืนไปในทิศทางเดียวกัน โดยเทคโนโลยี
กรีนกลุ่มแรก ๆ คือกลุ่ม Smart PV ที่มีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ทั้งในระดับโรงไฟฟ้าและภาคครัวเรือน ในขณะเดียวกันก็ยังมีโอกาสในการเติบโตอีกมาก เทคโนโลยีกรีนที่มีความสำคัญเป็นกลุ่มที่สองคือเทคโนโลยีสมาร์ทกริด ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการนำพลังงานไปใช้อย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเทคโนโลยีกรีนกลุ่มที่สามคือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีความชาญฉลาดเข้ามาเพื่อใช้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการทำงาน ผ่านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล รวมถึงการนำมาสร้างพลังงานใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ”

เขาให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมีสัดส่วนในการผลิตคาร์บอนฟุตปริ้นท์เพียงแค่ประมาณ 2% จากภาพรวมทั้งหมด แต่ในขณะเดียวกันกลับมีบทบาทในการช่วยลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์ให้กับภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้มากถึง 15-20% โดยอุตสาหกรรมไอซีทีน่าจะช่วยผลักดันให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับอุตสาหกรรมได้มากถึง 12,100 ตัน ภายในปี ค.ศ. 2030

“ปัจจัยหลักในการผลักดันเรื่องกรีนเทคโนโลยีจะมาจาก 3 ส่วน ปัจจัยแรกคือนโยบายจากภาครัฐที่ผลักดันตามมาตรฐานใหม่ของ Net Zero และเร่งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงวิธีการผลิตพลังงานในภาคเอกชน ปัจจัยที่สองคือเงินทุน โดยเราได้เห็นเงินทุนจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนสำหรับสนับสนุนด้านกรีน เช่น การปล่อยเงินกู้จากภาคธนาคารสำหรับโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์ หรือการจัดเตรียมงบประมาณสำหรับการปรับเปลี่ยนไปสู่บริษัทสีเขียวของภาคองค์กร เป็นต้น และปัจจัยที่สามคือปัจจัยที่เกี่ยวกับธุรกิจทั้งหลาย ซึ่งมีแรงกดดันทั้งจากปัจจัยภายนอกของตลาด ประเด็นเรื่องคาร์บอนเครดิต หรือการตกลงกันระหว่างธุรกิจ” ดร. ชวพล กล่าวเสริม

ในด้านเทคโนโลยีหลักของหัวเว่ยที่มีส่วนช่วยเรื่องการลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์โดยตรง ประกอบด้วย เทคโนโลยีคลาวด์และโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์ Smart PV ทั้งนี้ เทคโนโลยีคลาวด์สามารถนำมาใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานและวิธีการเข้าถึงตลาด ซึ่งจะช่วยลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์ของเทคโนโลยีที่ใช้ รวมถึงการประกอบธุรกิจในด้านต่าง ๆ นอกจากนี้ เทรนด์เรื่องการทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นก็มีส่วนช่วยผลักดันเทคโนโลยีคลาวด์ในประเทศไทยและยังมีส่วนช่วยดึงการลงทุนเข้ามาในประเทศอีกด้วย โดยหัวเว่ยได้ลงทุนด้านกรีน ดาต้าเซ็นเตอร์เพื่อให้บริการด้านคลาวด์ในประเทศไทยถึง 3 แห่ง และยังได้ทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ทั้งในระดับโลกและในประเทศไทยเพื่อสร้างอีโคซิสเต็มด้านคลาวด์ที่แข็งแกร่ง รวมทั้งสร้างความแตกต่างที่ชัดเจนในการช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน
ไดออกไซด์

สำหรับเทคโนโลยี Smart PV ของหัวเว่ยคือ เทคโนโลยีที่ตอบโจทย์เรื่องการสร้างพลังงานสะอาดโดยตรง จะเห็นได้ว่าแทบทุกภาคอุตสาหกรรมกำลังปรับตัวใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงอสังหาริมทรัพย์ในระดับครัวเรือนโครงการใหม่ ๆ ที่เริ่มมีการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น โดยหัวเว่ยได้นำเสนอโซลูชัน 1+4+X FusionSolar ที่ให้ความสำคัญกับทั้งเรื่องการจัดเก็บพลังงาน การนำไปใช้งาน และความปลอดภัยในการใช้งานพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นผลจากการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของหัวเว่ย คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 23,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2022 เพื่อทำให้เทคโนโลยีของหัวเว่ยมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในการลดคาร์บอน
ฟุตปริ้นท์ให้แก่ภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้อย่างเต็มที่

ทั้งนี้ หัวเว่ยมองว่าองค์ประกอบสำคัญในการมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนคือ เทคโนโลยี ความสามารถของคน รวมถึงการเน้นเรื่องการนำความอัจฉริยะเข้ามาใช้ในภาคธุรกิจเพื่อปรับตัวรับกับความยั่งยืน ในขณะเดียวกันก็ยังมีศักยภาพในการแข่งขันและสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้บริโภคได้อย่างควบคู่กัน สำหรับในประเทศไทย ภาครัฐก็สนับสนุนในเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นอย่างดี และภาคเอกชนก็ให้ความสำคัญกับเทรนด์นี้อย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งหัวเว่ยก็ให้ความสำคัญกับการลงทุนเรื่องเทคโนโลยีที่สนับสนุนเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศไทย สอดคล้องกับพันธกิจที่ว่า  “เติบโตในประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย”

นายณัฐสิทธิ์  สุนทราณู  ผู้บริหารสูงสุด ฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เผยว่า “ด้วยกลยุทธ์การตลาดของเคทีซีที่มุ่งตอบสนองความต้องการลูกค้าให้ตรงใจในแต่ละเซ็กเมนท์ ในส่วนของ ช้อปออนไลน์ถือเป็นช่องทางซื้อสินค้าที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ด้วยจุดแข็งของความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาและความคุ้มค่า ซึ่งปีที่ผ่านมาช้อปออนไลน์ถือเป็นอีกหนึ่งหมวดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่มีแนวโน้มเติบโตดี ต่อเนื่อง”

“สำหรับปีนี้ด้วยแผนกลยุทธ์ของเคทีซีที่มุ่งสร้างความสะดวก อุ่นใจและความปลอดภัยในการใช้จ่าย ทั้งออนไลน์และ ออฟไลน์ให้กับสมาชิก อย่างเช่นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างบัตรเครดิต “เคทีซี ดิจิทัล” บัตรโปร่งแสงที่ไม่มีเลขบัตรเครดิต และเลข CVV และแอปพลิเคชัน “KTC Mobile” ที่ถูกออกแบบและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีและ บัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” สามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้ง่ายด้วยตนเองอย่างปลอดภัย ประกอบกับมาตรการ Easy E-Receipt  ที่ให้สิทธิ์ผู้ซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 - 15 กุมภาพันธ์ 2567 สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 5 หมื่นบาท น่าจะเป็นปัจจัยเสริมให้หมวดการใช้จ่ายออนไลน์ขยายตัวได้ตามเป้าหมาย”

“ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เคทีซีได้ร่วมมือกับช้อปปี้ พันธมิตรผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ชในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้และไต้หวัน มอบสิทธิพิเศษในรูปแบบของส่วนลด พร้อมบริการผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน สำหรับสินค้า ที่ร่วมรายการ ให้กับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี มาสเตอร์การ์ด และบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว มาสเตอร์การ์ด” เริ่มต้นที่ ส่วนลด 200 บาท เมื่อมียอดซื้อสินค้า 1,600 บาทขึ้นไปต่อรายการ และมอบส่วนลดสูงสุดถึง 1,300 บาท เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรฯ 25,000 บาทขึ้นไปต่อรายการ พร้อมใส่โค้ดส่วนลดที่กำหนดก่อนการชำระ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 29 กุมภาพันธ์ 2567

“เคทีซียังได้จัดกิจกรรมให้สมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีทุกประเภท สามารถใช้คะแนน KTC FOREVER เริ่มต้นที่ 999 คะแนน (ปกติ 2,000 คะแนน) แลกรับโค้ดส่วนลด Shopee 200 บาท (เฉพาะวันที่ 15 มกราคม 2567 – 2 กุมภาพันธ์ 2567) นอกจากนี้ ยังมีแคมเปญการตลาดอื่นๆ ที่ทยอยมามอบสิทธิประโยชน์ให้กับสมาชิก อาทิ ส่วนลด 300 บาท ช่วงเงินเดือนออกหรือเพย์เดย์ (PAYDAY) ระหว่างเดือนมกราคม 2567 - พฤษภาคม 2567 ​​​(ทุกวันที่ 25 ของเดือน จนถึงสิ้นเดือนนั้นๆ) ติดตามรายละเอียดและโปรโมชันเพิ่มเติมคลิก  ktc.promo/shopee

สำหรับผู้สนใจสมัครบัตรเครดิตเคทีซีทุกประเภท คลิก https://ktc.today/apply-card  สมัครบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” คลิก https://ktc.today/KTC-PROUD หรือติดต่อ KTC PHONE โทร. 0-2123-5000 หรือศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ ทั้งนี้ ผู้ถือบัตรเครดิตควรใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16%      ต่อปี สำหรับผู้ถือบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” ควรกู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้ไหว

X

Right Click

No right click