×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

โดยไมเคิล แมคโดนัลด์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดิจิทัล และที่ปรึกษาผู้บริหาร หัวเว่ย เอเชีย-แปซิฟิก

ในยุคที่การเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบดิจิทัลกำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ภาคการผลิต รวมถึงภาคอุตสาหกรรมต่างๆ จะเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์มากที่สุด การผนวกรวมเทคโนโลยีระบบ 5G AI และคลาวด์เข้าด้วยกัน ส่งผลให้เกิดการประยุกต์ใช้งานมากมายที่สามารถแก้ไขอุปสรรคความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมซึ่งต้องเผชิญกับการควบคุมคุณภาพ ปัญหาต้นทุนสูงในการซ่อมบำรุงเครื่องจักร ความเสถียรในการเชื่อมต่อ ความปลอดภัยของข้อมูล และค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้น บัดนี้ ถึงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านแล้ว

ปี พ.ศ. 2563 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไทยมีมูลค่าต่ำกว่า 16 ล้านล้านบาท ซึ่งกว่าร้อยละ 30 มาจากกลุ่มอุตสาหกรรม การใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศคิดเป็นร้อยละ 4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไทย โดย ประมาณการว่าภาคอุตสาหกรรมจะเป็นกลุ่มที่มีการใช้จ่ายด้าน ICT สูงสุดในปี พ.ศ. 2564 กล่าวคือ สูงกว่าภาคการเงินร้อยละ 20 และสูงกว่ากลุ่ม ICT ถึงร้อยละ 80

ขณะที่กระแสส่วนใหญ่ของการลงทุนในส่วนนี้จะเป็นไปเพื่อการเปลี่ยนผ่านธุรกิจแบบดั้งเดิมไปสู่ระบบดิจิทัล โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ของคลาวด์ บิ๊กดาต้า (big data) และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยมีรากฐานที่สำคัญคือโครงสร้างพื้นฐานที่มีความคล่องตัว สำคัญต่อการปฏิบัติงาน และสอดคล้องกับข้อตกลงระดับการให้บริการ (SLA)

เทคโนโลยี 5G เป็นการผสานองค์ประกอบสำคัญต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น ค่าความหน่วง (latency) ในการรับส่งข้อมูลแบบต่ำเป็นพิเศษเพื่อการควบคุมแบบเรียลไทม์ การเชื่อมต่อจำนวนมากที่มีความยืดหยุ่นสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ผ่าน IoT การจำแนกเครือข่ายจำลองให้มีความปลอดภัยและรองรับระบบคอมพิวเตอร์แบบเอดจ์ (edge computing) ไร้สายเพื่อการตอบสนองที่ดียิ่งขึ้น และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เครือข่ายไร้สายที่จะสามารถสื่อสารผ่านอุปกรณ์มือถือผ่านระบบการสื่อสารในระดับองค์กรธุรกิจที่มีความเชื่อถือได้ เพื่อสนองตอบความต้องการของภาคอุตสาหกรรมเฉพาะกลุ่มในแนวดิ่ง (vertical industries)

ในประเทศจีน ได้เริ่มมีการประยุกต์ใช้ระบบ 5G ในโรงงานต่างๆ แล้วกว่า 200 แห่ง และนำมาซึ่งคุณประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมต่อผลการดำเนินงานและต้นทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริษัท Midea ซึ่งนำระบบ 5G มาใช้แทนเครือข่ายไร้สายแบบเดิมสำหรับรถลำเลียงสินค้าอัตโนมัติ (AGVs) ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบงานโลจิสติกส์ได้ถึงร้อยละ 8 และลดต้นทุนดำเนินงานและซ่อมบำรุง (O&M) ถึงร้อยละ 10 จากการเชื่อมต่อที่มีเสถียรภาพเพิ่มขึ้น ส่วนที่บริษัท IKD ซึ่งเป็น ผู้จัดหาชิ้นส่วนอะลูมิเนียมหล่อขึ้นรูปสำหรับรถยนต์ที่มีการใช้งานถึงร้อยละ 70 ของปริมาณรถยนต์ทั้งหมด ก็ได้นำระบบ 5G มาใช้แทนระบบสายเคเบิลที่มีความยาวกว่า 10 กิโลเมตร ซึ่งใช้เดินสายเชื่อมต่อเครื่องจักรกว่า 600 เครื่อง เพื่อลดต้นทุนการซ่อมบำรุงสายเคเบิลลงได้เกือบเป็นศูนย์ และเพิ่มอัตราผลตอบแทนผลิตภัณฑ์ (product yield rate) ขึ้นร้อยละ 10

ขณะที่ระบบ 5G สำหรับภาคการผลิตยังอยู่ระหว่างการพัฒนา ปัญหาสำคัญเห็นได้ง่ายมากเพราะกลุ่มผู้ผลิตในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ และอื่นๆ ต่างพยายามหาหนทางที่จะฟื้นตัวจากภาวะซบเซาในปี พ.ศ. 2563 เพื่อเพิ่มคุณภาพและผลิตภาพ และลดต้นทุน โครงสร้างพื้นฐานระบบ 5G จะช่วยวางรากฐานการให้บริการที่มีความคล่องตัวและเชื่อถือได้ ทั้งยังเป็นย่างก้าวสำคัญที่เบิกทางไปสู่การนำไปประยุกต์ใช้ที่น่าสนใจในภาคการผลิต

วิทยาการหุ่นยนต์ระบบ 5G ในสายการผลิตต่างๆ นับเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตเป็นอย่างมาก และสามารถนำไปใช้งานได้ทันทีเพื่อรองรับการผลิตแบบต่อเนื่องและลดค่าแรง ระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรมได้ถูกนำมาใช้เป็นหลักในโรงงานผลิตต่างๆ ที่มีความต้องการผลิตสินค้าปริมาณมาก มีกระบวนการทำงานซ้ำๆ และต้องการความถูกต้องแม่นยำสูง เช่น โรงงานผลิตรถยนต์ อาหาร และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นสามกลุ่มกิจการจากสี่ภาคการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในไทย เมื่อมีการใช้แขนกลที่ถูกโปรแกรมสำหรับกระบวนการทำงานอุตสาหกรรม เช่น สายงานเชื่อม ขนถ่ายวัสดุ บรรจุภัณฑ์ และสายงานประกอบ ระบบวิทยาการหุ่นยนต์จึงจำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อความเร็วสูง มีเสถียรภาพ และมีความหน่วงในการรับส่งข้อมูลต่ำ เพื่อรองรับความคล่องตัวและความต่อเนื่องในกระบวนการทำงานอัตโนมัติ

การบำรุงรักษาทางอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยี 5G AR เป็นการใช้เทคโนโลยีคลาวด์แบบโลกเสมือนจริง (Augmented Reality) ในงานซ่อมบำรุงทางอุตสาหกรรม และใช้กล้องที่มีความคมชัดสูงเป็นพิเศษผ่านการเชื่อมต่อความเร็วสูงที่มีค่าความหน่วงในการรับส่งข้อมูลต่ำมาก เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การซ่อมบำรุงสำหรับผู้เชี่ยวชาญจากพื้นที่ระยะไกล จากการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญภายในประเทศ ความยุ่งยากจากการใช้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ และต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาที่เครื่องจักรเสีย การบำรุงรักษาทางอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยี 5G AR จะช่วยอำนวยความสะดวกในงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรได้ทันทีโดยผู้เชี่ยวชาญที่สามารถปฏิบัติงานได้จากพื้นที่อื่น

นิคมอุตสาหกรรมระบบ 5G จัดให้มีระบบเข้าใช้งานแบบไร้สายประจำที่สำหรับการใช้งานส่วนตัว และรองรับการเชื่อมต่อความเร็วสูงที่มีความน่าเชื่อถือและมีค่าความหน่วงในการรับส่งข้อมูลต่ำ เพื่อใช้เป็นโซลูชันอัจฉริยะสำหรับการผลิตผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ในระบบ 5G โดยเฉพาะที่ใช้ในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายให้บริการแก่ผู้ผลิต นิคมอุตสาหกรรมระบบ 5G จะทำให้โครงสร้างพื้นฐานไร้สายแบบผสมผสานในระบบเดียวกันมีความมั่นคงปลอดภัย รองรับความต้องการของผู้ผลิตที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอได้เป็นอย่างดี

รถยกควบคุมระยะไกลด้วยระบบ 5G ใช้กล้องระดับ 4K และการเชื่อมต่อความเร็วสูงในการควบคุมการทำงานแบบเรียลไทม์สำหรับรถยกที่ควบคุมจากห้องปฏิบัติงานระยะไกล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อนำไปใช้งานในคลังสินค้าเพื่อยกอุปกรณ์หรือสินค้าคงคลังต่างๆ ในสภาพแวดล้อมที่มีข้อจำกัด เช่น ห้องเย็นสำหรับเก็บอาหาร และพื้นที่อันตรายต่างๆ รถยกด้วยควบคุมระยะไกลด้วยระบบ 5G ที่เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายความเร็วสูงที่มีค่าความหน่วงในการรับส่งข้อมูลต่ำจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น

 ไม่ว่าจะเป็นวิทยาการหุ่นยนต์ระบบ 5G สำหรับสายการผลิตที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การบำรุงรักษาทางอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยี 5G AR สำหรับงานซ่อมบำรุงทางอุตสาหกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญอย่างทันท่วงทีที่จะทำให้มีช่วงเวลาเครื่องจักรเสียเพียงสั้นๆ นิคมอุตสาหกรรมระบบ 5G ที่รองรับเครือข่ายที่มีความยืดหยุ่น มั่นคงปลอดภัย และมีความเสถียร หรือรถยกควบคุมระยะไกลระบบ 5G ที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและเพิ่มความปลอดภัย การประยุกต์ใช้งานทั้ง 4 กรณีตัวอย่างที่กล่าวมานั้นสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดได้ ที่จริงแล้ว การคาดการณ์ในปี พ.ศ. 2568 แสดงให้เห็นว่า เฉพาะ 4 กรณีตัวอย่างของการประยุกต์ใช้งานระบบ 5G จะสามารถสร้างรายได้ในภาคบริการเพิ่มขึ้นได้ถึง 1.4 พันล้านบาท

เพื่อผลักดันให้มีการประยุกต์ใช้งานระบบ 5G และพัฒนาระบบนิเวศที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในประเทศไทย หัวเว่ยจึงจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมระบบนิเวศ 5G (5G Ecosystem Innovation Center) ขึ้น ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) แห่งนี้เป็นการร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับศูนย์ฯ Open Labs ในประเทศจีน และทั่วโลก และได้ประโยชน์จากการประยุกต์ใช้งานและการถ่ายทอดองค์ความรู้จากพันธมิตรทั่วโลก ศูนย์ 5G EIC เปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ มีพันธมิตรกว่า 70 ราย ทั้งยังเป็นศูนย์ฯ บ่มเพาะนวัตกรรม 5G และทดสอบแพลตฟอร์มการให้บริการต่างๆ

ความพร้อมของระบบนิเวศ 5G ในประเทศไทยแสดงให้เห็นด้วยว่า ถึงเวลาแล้วที่จะมีการกำหนดระเบียบและนโยบายเพื่อเร่งรัดการนำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและสารสนเทศรูปแบบใหม่มาประยุกต์ใช้งานจริง ซึ่งสอดรับกับยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ประกอบด้วย อุตสาหกรรมอัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ และพลเมืองอัจฉริยะ จึงจำเป็นต้องมีการลงทุนและสนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่ระบบอุตสาหกรรม 4.0 อย่างครบวงจรภายในปี พ.ศ. 2570

ในส่วนของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกของประเทศไทย (EEC) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 40 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไทย และเป็นภาคการผลิตที่ใหญ่ที่สุด รัฐบาลและองค์กรกำกับดูแลท้องถิ่นควรให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยี 5G ไปประยุกต์ใช้งาน และช่วยยกระดับ EEC ไปสู่ความเป็นศูนย์กลางการผลิตระดับแนวหน้าสำหรับการวิจัยและพัฒนา และการนำระบบอัตโนมัติและวิทยาการหุ่นยนต์ ตลอดจนระบบอัจฉริยะต่างๆ ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ต่อไป

ในฐานะที่มีสัดส่วนใหญ่ที่สุดต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไทย จึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคการผลิตมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ แนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ที่มีเป้าหมายเพื่อยกระดับประเทศไทยไปสู่ระบบดิจิทัลอย่างครบวงจรภายในปี พ.ศ. 2570 จะเกิดขึ้นได้ด้วยการพัฒนานโยบายและระบบนิเวศ 5G ที่มีประสิทธิภาพเพื่อการนำไปประยุกต์ใช้งาน EEC จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี นำโดยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ การแปรรูปอาหารและเครื่องดื่ม และยานยนต์ ยกระดับภาคการผลิตในประเทศไทย ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศรูปแบบใหม่ และผลักดันอุตสาหกรรม 4.0 ทั่วประเทศ

# # #

ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) หรือ DPU เผยถึงการได้รับเลือกให้เป็น มหาวิทยาลัยนำร่อง ภายใต้ โครงการ Smart Campus ด้วยเทคโนโยลี 5Gว่า โครงการดังกล่าวอยู่ภายใต้โครงการส่งเสริมการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G ของประเทศไทย ตามมติของคณะกรรมการขับเคลื่อน 5G แห่งชาติ โดยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จะเป็นต้นแบบนำร่องในการนำเทคโนโลยี 5G มายกระดับคุณภาพด้านการศึกษาทั้งของมหาวิทยาลัยและของประเทศไทยให้เท่าทันยุคดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน Teach and Learn from Anywhere และ Intelligent Hybrid Classroom พร้อมระบบวิเคราะห์ Attention & Learning Engagement โดย DPU พร้อมจะเป็นต้นแบบแหล่งศึกษาเรียนรู้ทั้งแบบ On-Site และ Online ให้กับสถานศึกษาต่างๆ ซึ่งสามารถนําไปทำซ้ำ ทำเสริม พัฒนา ต่อยอด รวมทั้งช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ในการยกระดับคุณภาพการศึกษา จากต้นแบบของ Smart Campus ในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ควบคู่กันกับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการเรียนรู้ (Process) และการพัฒนาบุคลากร (People) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียน ตลอดจนเสริมสร้างให้ผู้สอนมีแรงจูงใจในการปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ DPU ยังอาศัยกิจกรรมภายใต้โครงการฯ ดังกล่าว มาเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นให้นักศึกษามีแรงบันดาลใจในการเป็นนวัตกร (Innovator/Maker) ในอนาคต ด้วยการเปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้กับศาสตร์ด้านต่างๆ ที่ได้เรียนรู้ เพื่อพัฒนาให้เป็นนวัตกรรมที่ใช้ประโยชน์จริง โดยใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยฯ เป็น Living Lab ก่อนจะขยายผลไปสู่การสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคมต่อไปได้  และภายใต้โครงการนำร่องนี้ ยังเป็นการขยายโอกาสทางด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับผู้ประกอบการ หน่วยงานราชการและชุมชน โดยสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ในการเข้าถึงบริการทางวิชาการด้านต่างๆ ของ DPU หรือ เนื้อหาหลักสูตรด้าน Reskill & Upskill ที่ต้องการปฏิสัมพันธ์แบบ Real-Time และมีการถ่ายทอดเนื้อหาในรูปแบบที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

ดร.ดาริกา กล่าวด้วยว่า DPU มีความพร้อมสำหรับการเป็นต้นแบบ Smart Campus ด้วยเทคโนโลยี 5G โดยที่ผ่านมาได้มีการปรับตัวอย่างต่อเนื่องในการผลิตกำลังคนให้มี Skill Set และ Mindset ที่ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลกยุคดิจิทัล ทั้งยังปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome-Based Education) เพื่อบ่มเพาะให้นักศึกษามีศักยภาพที่เป็นอัตลักษณ์พร้อมด้วยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งเรียกว่า มี DPU DNA 6 ประการ ประกอบด้วย 1) ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาอย่างมีนวัตกรรม 2) ทักษะด้านการค้นหาและแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ 3) มีความชาญฉลาดในทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อค้นคว้าและแก้ปัญหา 4) ทักษะการสื่อสารและเจรจาอย่างมืออาชีพ 5) ทักษะการประสานงานเป็นทีม และ 6) ทักษะด้านความรอบรู้และวิเคราะห์แบบผู้ประกอบการ พร้อมนี้ DPU ยังได้ปรับปรุงรูปแบบการจัดการการเรียนรู้ให้เป็นแบบ Active Learning โดยเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) ทั้ง Offline และ Online และ Experiential Learning

"ในส่วนการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้นั้น ทางด้านกายภาพได้ปรับปรุงห้องเรียนและห้องปฏิบัติการต่างๆ และสร้างสิ่งแวดล้อมให้น่าเรียน มีความเป็นธรรมชาติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์พลังงาน โดยธุรกิจบัณฑิตย์ได้รับการจัดอันดับจาก UI GreenMetric World University Ranking เป็นอันดับ 82 ของโลกและเป็นอันดับ 1 ในส่วนของมหาวิทยาลัยเอกชน ส่วนด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางดิจิทัล มีการจัดเตรียมทั้ง Learning Management System platform และปรับปรุง Digital Infrastructure เพื่อสนับสนุนให้การจัดการเรียนรู้แบบ Tech and Learn From Anywhere รวมทั้งระบบ Data Intelligence เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และบริหารจัดการ" ดร.ดาริกา กล่าว

จากสถานการณ์การระบาดของ โควิด-19 ส่งผลให้ DPU ต้องเร่งขบวนการปรับตัวดังกล่าวข้างต้นให้รวดเร็วยิ่งขึ้น มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น โดยจัดให้มีเทคโนโลยีที่ช่วยให้สามารถจัดการเรียนการสอนทาง Online แบบ Live และตอบโต้ได้สองทาง  และจัดให้มี Hybrid Classroom เพื่อให้สอดรับกับมาตรการ Social Distancing โดยผู้เรียนส่วนหนึ่งสามารถเรียนรู้จากที่ใดก็ได้ แต่สามารถเรียนรู้และโต้ตอบกับผู้สอนได้แบบ Real-Time เสมือนอยู่ในห้องเรียนเดียวกัน ขณะเดียวกัน อาจารย์ผู้สอนยังมีส่วนร่วมและเร่งเพิ่มผลิต Online Content ควบคู่ไปกับการเพิ่มความเข้มข้นของการสร้างผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ (Learning Engagement) และทบทวนรูปแบบการประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment)

ปัจจุบัน DPU มีนักศึกษาจำนวนกว่า 12,000 คนที่สามารถเข้าถึงการเรียนรู้จากที่ใดก็ได้และในจำนวนนี้มีนักศึกษาต่างชาติจำนวนกว่า 3,000 คน ที่จะต้องเรียนผ่านออนไลน์แบบข้ามประเทศ ความท้าทายของการจัดการเรียนรู้ ทั้งแบบ Online และ Hybrid คือ การสร้างให้ผู้เรียนคงความสนใจและมีส่วนร่วมระหว่างการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ร่วมกับ AI Video Analytics ในห้อง Intelligent Hybrid Classroom ต้นแบบ จะช่วยให้สามารถวิเคราะห์ Attention & Learning Engagement แบบ Real-Time ทั้งการเรียน On-Site และการเรียน Online ซึ่งจะทำให้สามารถปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมได้อย่างทันท่วงที

ดร.ดาริกา กล่าวในตอนท้ายว่า สถาบันการศึกษาต่างๆ สามารถใช้ DPU เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการศึกษาในยุคดิจิทัล ที่ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การนำเทคโนโลยีเข้ามาติดตั้งใช้งานเท่านั้น หากแต่จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี (Technology) แบบบูรณาการ ควบคู่กันกับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการศึกษา (Process) และบุคลากร (People) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพ มีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง

นายพงษกรณ์ คอวนิช หัวหน้าแผนกงานการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และลูกค้าโพสต์เพด เอไอเอส 

ฟินน์ โซลูชั่น เทคสตาร์ทอัพผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ เดินหน้าขยายฐานตลาดสำหรับนวัตกรรมโซลูชั่น YEyes ที่ใช้คู่กับแว่น AR (Augmented Reality)

1 เมษายน 2564 - ดีแทค เดินหน้าชูเทคโนโลยี 5G เปลี่ยนแปลงภาคอุตสาหกรรม จับมือ THE STANDARD นำ 5G รูปแบบ FWA (Fixed Wireless Access) หรือ อินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงประจำที่ เข้าไปใช้ในการถ่ายทอดสดเป็นครั้งแรกในเอเชียด้วยคลื่น 26 GHz หรือ mmWave

X

Right Click

No right click