ในยุคที่มีการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจ B2B ได้ยืนอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ซึ่งได้รับแรงหนุนจากดิจิทัลดิสรัปชั่น พฤติกรรมการซื้อที่เปลี่ยนไป การปรับแต่งแบบ personalization รวมถึงพลังของคนรุ่นใหม่ (Gen M) ทำให้การมองเทรนด์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเชิงกลยุทธ์จำเป็นสำหรับธุรกิจ B2B ซึ่งไม่ใช่เพื่อความอยู่รอดเท่านั้น แต่เพื่อความสำเร็จของธุรกิจด้วย

DHL Express Thailand  ได้เผยบทความเเพื่อชี้ถึงแนวโน้มของอีคอมเมิร์ซ B2B เพื่อที่จะช่วยให้องค์กรธุรกิจก้าวทันเทรนด์และความเปลี่ยนแปลง ฟันฝ่าวิกฤต และยกระดับสู่การเป็นผู้นำยุคอีคอมเมิร์ซ B2B โดยอ้างอิงข้อมูลจากรายงาน ‘The Ultimate Guide On B2B E-Commerce Trends in APAC’  โดย ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรสได้ รวบรวมเทรนด์ที่น่าจับตา คือ

ยอดขายอีคอมเมิร์ซ B2B ล็อตใหญ่จะเพิ่มสูงขึ้น

ก่อนหน้านี้ องค์กรธุรกิจต่างๆ ลังเลที่จะลงทุนในแพลตฟอร์มดิจิทัล เนื่องจากลูกค้าไม่สะดวกที่จะซื้อสินค้าล็อตใหญ่ผ่านทางออนไลน์ นอกจากนี้ การจัดซื้อในรูปแบบดิจิทัลมักเป็นแบบ B2C มากกว่า B2B แต่มีการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดขึ้นเมื่อมีการชำระเงินแบบเข้ารหัส (encrypted payment) ทำให้การทำธุรกรรมโดยรวมมีความสะดวกมากขึ้น องค์กรธุรกิจต่างๆ จึงไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการชำระเงินออนไลน์อีกต่อไป โดย 35% ระบุว่าพวกเขายินดีใช้จ่ายเงิน 500,000 ดอลลาร์ขึ้นไปสำหรับการทำธุรกรรมหนึ่งครั้งผ่านช่องทางดิจิทัล และ 15% ของผู้มีอำนาจตัดสินใจในองค์กรรู้สึกสบายใจที่จะซื้อสินค้าที่มีมูลค่ามากกว่า 1 ล้านดอลลาร์ผ่านทางออนไลน์1 อีคอมเมิร์ซจึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับองค์กรธุรกิจที่ต้องการซื้อขายสินค้าล็อตใหญ่  การเปลี่ยนแปลงนี้ถูกเร่งให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากภาวะการแพร่ระบาด ส่งผลให้ธุรกรรมออนไลน์ขนาดใหญ่กลายเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ด้วยระบบการชำระเงินแบบเข้ารหัสและความแพร่หลายของธุรกรรมออนไลน์ของธุรกิจ B2B องค์กรจึงรู้สึกมั่นใจในการใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเพื่อสั่งซื้อสินค้าจำนวนมาก

สำหรับประเทศไทย มีการปรับตัวให้เข้ากับวิวัฒนาการทางดิจิทัลของเศรษฐกิจยุคใหม่ โดยในปี 2560 รัฐบาลไทยได้พัฒนาระบบ ‘พร้อมเพย์’ ซึ่งเป็นแผนแม่บทสำหรับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ รองรับการริเริ่มใช้ระบบชำระเงินดิจิทัลระดับประเทศอย่างกว้างขวาง โดยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงวิธีการชำระเงินที่ครอบคลุมทุกธนาคารและเข้าถึงได้สะดวก ระบบนี้ช่วยให้ผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจในไทยมีส่วนร่วมในธุรกรรมอีคอมเมิร์ซได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลลัพธ์ของโครงการดังกล่าวแสดงให้เห็นได้จากขนาดการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซ B2B ในประเทศที่

เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งมีมูลค่า 0.84 ล้านล้านบาทในปี 25632 และคิดเป็น 27% ของธุรกรรมอีคอมเมิร์ซทั้งหมดในปี 25653

 

ประสบการณ์แบบ Personalization จะเพิ่มมากขึ้นเพราะคนรุ่นมิลเลนเนียล

ทุกวันนี้ บุคลากรส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นมิลเลนเนียล ซึ่งคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางและรูปแบบการดำเนินธุรกิจขององค์กร โดย 73% ของกลุ่มมิลเลนเนียลมีหน้าที่ให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจซื้อสินค้าของบริษัท และ 34% เป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ4 ด้วยเหตุนี้ การปรับแต่งแบบ Personalization จึงเพิ่มมากขึ้นในธุรกรรมและการดำเนินงานของธุรกิจ B2B ซึ่งอาศัยประสบการณ์จากการทำธุรกรรม B2C สมัยใหม่ เนื่องจากคนรุ่นมิลเลนเนียลคุ้นเคยกับการมีส่วนร่วมของลูกค้าแบบ B2C พวกเขาจึงใช้แนวทางเดียวกันนี้ในการทำธุรกิจ B2B

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกับประสบการณ์ของผู้ซื้อที่ต้องเป็นส่วนตัว เป็นมิตร และกระตุ้นให้เกิดความภักดีต่อแบรนด์มากขึ้น ธุรกรรมอีคอมเมิร์ซ B2B ได้เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่มุ่งเน้นความได้เปรียบด้านราคาแต่ตอนนี้มุ่งเน้นการมอบประสบการณ์ส่วนบุคคลที่เหมาะกับความต้องการเชิงกลยุทธ์มากขึ้น

โซลูชั่นดิจิทัลแบบบริการตนเอง (Self-serve digital solutions) จะแพร่หลายมากขึ้น

องค์กรธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกคาดหวังว่าจะได้เห็นตัวเลือกในการบริการตนเองสำหรับลูกค้าเพิ่มมากขึ้น การแพร่ระบาดทำให้ผู้บริโภคหันมาใช้แนวทางแบบ ‘hands-off’ มากขึ้น โดยจำกัดการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการและการจัดการสินค้า การบริการตนเองช่วยสร้างโอกาสที่ดีสำหรับธุรกิจในการลดต้นทุนการขาย โดยไม่กระทบต่อการบริการลูกค้าและประสบการณ์ความสัมพันธ์แบบ B2B

 

ด้วยการเปลี่ยนแคตตาล็อก รายการราคาสินค้า เครือข่ายตัวแทนจำหน่ายให้เป็นรูปแบบดิจิทัล และเปิดให้ลูกค้าเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว องค์กรธุรกิจต่างๆ จะสามารถลดภาระงานด้านธุรการ และมอบประสบการณ์ที่ราบรื่นยิ่งขึ้นให้กับลูกค้า จากการสำรวจของ CRM Magazine พบว่าโซลูชั่นแบบ self-serve มีความสำคัญมากขึ้น โดยเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าองค์กรธุรกิจของตนใช้ช่องทางการบริการตนเองในระบบ CRM และคาดว่าแนวทางนี้จะมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น5

การทำแผนผังเครือข่ายซัพพลายเชนมีความสำคัญมากขึ้นท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว

ผลจากการแพร่ระบาดทำให้ธุรกิจจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงร้านค้าที่มีหน้าร้านจริงได้ และต้องพึ่งพาช่องทางอีคอมเมิร์ซในการทำธุรกรรม ความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับข้อจำกัดที่เข้มงวดมากขึ้นสำหรับการจัดส่งสินค้าระหว่างประเทศต่างๆ ทำให้องค์กรธุรกิจจำนวนมากในภาค B2B เริ่มตระหนักถึงจุดอ่อนในห่วงโซ่อุปทานและระบบการจัดการโลจิสติกส์ของตน ด้วยเหตุนี้ องค์กรธุรกิจจึงจำเป็นต้องสร้างระบบใหม่ที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น

B2B International ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ Merkel แนะนำให้องค์กรต่างๆ มุ่งเน้นไปที่การทำแผนผังเครือข่ายซัพพลายเชน โดยให้ความเห็นว่า “การรู้ว่าซัพพลายเออร์ ไซต์งาน ชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่มีความเสี่ยงในช่วงวิกฤต จะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถเข้าถึงสินค้าคงคลังและกำลังการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัดในไซต์อื่นๆ เพื่อเป็นทางเลือกทดแทน”6 การแพร่ระบาดได้แสดงให้เห็นว่าเครือข่ายซัพพลายเชนที่หลากหลายจะช่วยยกระดับความมั่นคงปลอดภัยในช่วงที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ และช่วยให้ธุรกิจต่างๆ สามารถลดความสูญเสียที่เกี่ยวข้องกับการหยุดชะงักของซัพพลายเชนและโลจิสติกส์

มุ่งเน้นความยั่งยืนมากขึ้น

ลูกค้าในวันนีั้ให้ความสำคัญกับการซื้อขายอย่างมีจริยธรรมมากกว่าที่เคยเป็นมา ด้วยวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ลูกค้าในกลุ่ม B2B และ B2C จะยังคงเลือกใช้จ่ายเงินสำหรับทางเลือกที่ยั่งยืน อย่างไรก็ดี การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมไม่ได้เป็นเพียงทางเลือกที่ชาญฉลาดและมีจริยธรรมเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจอีกด้วย

จากการศึกษาพบว่ามีลูกค้าจำนวนมากที่ระบุว่าความยั่งยืนเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อ และลูกค้ายินดีที่จะจ่ายมากขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืน7 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าบริษัทอีคอมเมิร์ซ B2B สามารถขยายช่องทางใหม่ในการสร้างรายได้และความร่วมมือ ด้วยการปรับใช้นโยบายที่ดึงดูดฐานลูกค้าที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การลดขยะและของเสียให้เหลือน้อยที่สุดตามแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนของระบบนิเวศจะช่วยธุรกิจต่างๆ ลดการสูญเสียรายได้ที่เป็นผลมาจากของเสียจากผลิตภัณฑ์อีกด้วย

เฮอร์เบิร์ต วงศ์ภูษณชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด และหัวหน้าภาคพื้นอินโดจีน กล่าวว่า “อีคอมเมิร์ซ B2B มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง และกลายเป็นกำลังสำคัญในระบบการค้าโลก โดยมีบทบาทในการรักษาความยั่งยืนของซัพพลายเชน การลงทุนอย่างต่อเนื่องของเราในด้านการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล ความยั่งยืน และโครงสร้างพื้นฐาน ตอกย้ำถึงความพร้อมและความมุ่งมั่นของเราในการช่วยให้ธุรกิจต่างๆ ได้รับประสบการณ์อีคอมเมิร์ซที่ดีขึ้น ได้มีโอกาสใหม่ๆ พร้อมทั้งก้าวไปสู่ตลาดโลก เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง”

โนเกีย นำเสนอกลยุทธ์เทคโนโลยี 2573 ที่ระบุถึงเทรนด์และเทคโนโลยีที่กำลังจะเกิดขึ้นอันมีผลต่อการกำหนดเทคโนโลยี เครือข่าย และโลกใบนี้ในอีกเจ็ดปีข้างหน้า

อ้างอิงจากรายงานด้านปริมาณการใช้งานเครือข่ายทั่วโลกปี 2573 ของโนเกีย (Nokia Global Network Traffic 2030 Report) ชี้ให้เห็นว่าปริมาณการใช้งานข้อมูลในเครือข่าย (Network traffic) กำลังเติบโตและจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงทศวรรษนี้ การขับเคลื่อนการเติบโตที่เป็นเทรนด์ล่าสุด อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning: ML) เทคโนโลยีความจริงขยาย (Extended reality: XR) คู่แฝดดิจิทัล (Digital twins) ระบบอัตโนมัติ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นดิจิทัลอีกนับพันล้านอย่าง โดยการใช้ศักยภาพแบบทวีคูณของเทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อรับมือกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอนาคต เครือข่ายจำเป็นต้องปรับแต่งและเปลี่ยนแปลงด้วยการส่งมอบนวัตกรรมที่ยั่งยืน คงทน และเข้าถึงได้ ซึ่งล้วนต้องอาศัยเครือข่ายที่น่าเชื่อถือ ปลอดภัย และมีความเฉลียวฉลาด

 นิชันต์ ภัทรา ประธานเจ้าหน้าที่ด้านกลยุทธ์และเทคโนโลยีของโนเกีย กล่าวว่า “กลยุทธ์เทคโนโลยี 2573 ของโนเกียเป็นการตอบสนองโดยตรงต่อความแพร่หลายของเทคโนโลยีล้ำสมัยที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือความจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในตอนนี้เพื่อพัฒนาเครือข่ายให้ตอบรับกับความท้าทายในอนาคตและที่จะเกิดต่อไปในวันข้างหน้า องค์กรต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมการสื่อสารต้องเผชิญกับเทรนด์สามประการที่กำลังจะเกิดขึ้น อย่าง เอไอ คลาวด์ และวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องของการเชื่อมต่อ โดยกลยุทธ์เทคโนโลยี 2573 ของเราจะชี้ให้เห็นถึงสถาปัตยกรรมเครือข่ายแห่งอนาคตสำหรับลูกค้าของเรารวมถึงภาคอุตสาหกรรม ที่จะนำมาซึ่งโอกาสสำหรับนวัตกรรม ความยั่งยืน ผลิตภาพ และความร่วมมือ ที่มีเพียงเครือข่ายที่เปี่ยมด้วยพลังแบบทวีคูณเท่านั้นที่จะสามารถทำให้มันเป็นจริงได้”

กลยุทธ์เทคโนโลยี 2573 ของโนเกีย ยังระบุถึงเทรนด์และเทคโนโลยีที่กำลังจะเกิดขึ้นอันจะส่งผลกระทบต่อเครือข่ายของผู้ให้บริการ องค์กร และอุตสาหกรรมในช่วงทศวรรษนี้ รวมถึงวิธีการที่โนเกียจะให้ความช่วยเหลือในด้านการพัฒนาเครือข่าย โดยเทรนด์สำคัญที่มีอิทธิพลต่อกลยุทธ์เทคโนโลยี 2573 ของโนเกีย ได้แก่ เอไอ ระบบคลาวด์แบบครบวงจร (Cloud continuum) เมตาเวิร์ส เศรษฐกิจดิจิทัลด้วย API (API economy) อุตสาหกรรม 5.0 อินเทอร์เน็ตสร้างมูลค่า (Internet of Value) ความยั่งยืน และความปลอดภัย โดยเทรนด์ทั้งหมดเหล่านี้ต่างต้องอาศัยเครือข่ายที่มีการตอบสนองและความปลอดภัยที่ดีเยี่ยม

ในรายงานด้านปริมาณการใช้งานเครือข่ายทั่วโลกในปี 2573 โนเกียแสดงให้เห็นว่าความต้องการด้านปริมาณการใช้งานข้อมูลของผู้ใช้ปลายทางจะเพิ่มขึ้นที่อัตราการเติบโตของพอร์ตเฉลี่ยต่อปีแบบทบต้น (CAGR) ที่ 22% ถึง 25% นับจากปี 2565 ตลอดไปถึงปี 2573 และความต้องการปริมาณการใช้เครือข่ายทั่วโลกถูกคาดการณ์ว่าจะสูงถึง 2,443 ถึง 3,109 เอกซะไบต์ (EB) ต่อเดือนในปี 2573 กรณีที่มีอัตราการใช้งานของคลาวด์เกมมิ่งและ XR ที่สูงขึ้น ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษนี้ โนเกีย ระบุว่าอัตรา CAGR จะสูงถึง 32% และสำหรับเครือข่ายที่จะตอบรับกับความต้องการใช้งานที่เพิ่มขึ้นในอนาคต เครือข่ายเหล่านั้นจะต้องมีความชาญฉลาดและเป็นอัตโนมัติยิ่งขึ้นผ่านการใช้ประโยชน์จาก AI และ ML ตลอดจนตอบสนองความต้องการและรูปแบบการดำเนินงานที่จะเปลี่ยนแปลงขององค์กรและลูกค้า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่าง XR และคู่แฝดดิจิทัล ผนวกเข้ากับ Web3 และนวัตกรรมอื่น ๆ ที่ได้รับการกล่าวขานมากมายกำลังถือกำเนิดขึ้น จะเป็นจุดเปลี่ยนให้กับธุรกิจ สังคม และโลกใบนี้

 เจอร์รี่ แครอน หัวหน้าด้านการวิจัยและวิเคราะห์ระดับโกลบอล ของ โกลบอลดาต้า เทคโนโลยี กล่าวว่า “ภายในปี 2573 ความรุดหน้าของความล้ำสมัยด้านเทคโนโลยีที่เรากำลังประจักษ์กันอยู่ในขณะนี้จะเพิ่มปริมาณการใช้งานบนเครือข่ายอย่างมีนัยสำคัญ กลยุทธ์เทคโนโลยี 2573 ของโนเกีย เน้นความสำคัญกับการใช้งานเอไอ คลาวด์ การเชื่อมต่อ และเศรษฐกิจดิจิทัลด้วย API ซึ่งถือเป็นกรอบการทำงานแบบหนึ่งที่ผู้ให้บริการและองค์กรจะต้องยอมรับ อุตสาหกรรมผู้ให้บริการจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองจากการทำงานแบบเดิม ๆ ที่มีโครงสร้างบูรณาการแบบดั้งเดิมในแนวตั้งไปเป็นโครงสร้างการทำงานแห่งอนาคตที่เป็นโครงสร้างแบบแนวนอนและขับเคลื่อนด้วย API ที่จะช่วยในการส่งมอบบริการที่ยั่งยืน ง่ายดาย สามารถปรับเปลี่ยน มีความเป็นอัตโนมัติ และมีความยืดหยุ่นมากขึ้นได้ ทั้งนี้ โนเกียและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสากรรมนี้จะต้องแสดงให้เห็นว่าเข้าใจถึงปัญหาและศักยภาพด้วยแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถตามที่ระบุไว้ในกลยุทธ์เทคโนโลยี 2573 ของโนเกีย”

ในยุคปัจจุบัน ที่นักการตลาดต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมาย และในฐานะหนึ่งในผู้ให้บริการด้านระบบออโตเมชั่นสำหรับการตลาดแบบ B2B อะโดบีได้ สำรวจเทรนด์ และ ข้อมูลเชิงลึกด้านการตลาด เพื่อศึกษาว่า ทีมงานฝ่ายการตลาดและฝ่ายปฏิบัติงานด้านการตลาดแบบ B2B ที่เชี่ยวชาญในปัจจุบัน ใช้เทคโนโลยี และกลยุทธ์อะไรบ้าง?  เพื่อสร้างความแตกต่างเหนือคู่แข่ง

จากข้อมูลการศึกษาพบว่า แรงกดดันทางเศรษฐกิจส่งผลให้หลายองค์กรหันไปให้ความสำคัญกับ “การลงทุน” “การเติบโตของธุรกิจ และ ประสบการณ์ของลูกค้”  โดยถือเป็นภารกิจสำคัญสูงสุดสำหรับฝ่ายการตลาด

จากการศึกษาอย่างเจาะลึกว่า องค์กรชั้นนำจัดการกับภารกิจที่ท้าทายเหล่านี้อย่างไร? และวันนี้ อะโดบีได้เผยแพร่ผลการศึกษาสถานะของการตลาดแบบออโตเมชั่น (The State of Marketing Automation) ซึ่งเผยเคล็ดลับความสำเร็จของทีมงานการตลาด B2B ที่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ทั้งสามข้อดังกล่าว ด้วยเทคโนโลยีด้านการตลาดและมายเซ็ทแบบ “automate & operationalize” แนวทางปฏิบัติของนักการตลาดที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้ นับเป็นคู่มือสำคัญในการนำเสนอแคมเปญการตลาดที่มีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นในปี 2566 และปีต่อๆ ไป

รายงาน The State of Marketing Automation อ้างอิงผลการสำรวจความคิดเห็นแบบปกปิดข้อมูลทั้งสองทาง (double-blind) โดยทำการศึกษาผู้บริหารและผู้นำฝ่ายการตลาดที่มีบทบาทในการสร้างดีมานด์ และการดำเนินงานกว่า 600 คน

โดยผู้จัดการ ผู้อำนวยการ รองประธานและ CMO เหล่านี้ใช้แพลตฟอร์มการตลาด B2B แบบออโตเมชั่น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาด จากกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 98% ระบุว่า ระบบการตลาดแบบออโตเมชั่นมีความสำคัญอย่างมากถึงมากที่สุดต่อความสำเร็จของพวกเขา เพราะระบบดังกล่าวช่วยการทำ Personalization at Scale และ CustomerEngagement at Scale เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจ โดยศึกษาว่านักการตลาดเหล่านี้จัดการกับความเปลี่ยนแปลงอย่างไร และจำแนกแนวทางปฏิบัติของนักการตลาดที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้เราพบข้อมูลเกี่ยวกับเทรนด์ของ Marketing Automation ดังนี้

เร่งการปรับใช้เทคโนโลยีและ AI

จากผลสำรวจพบว่าบริษัทชั้นนำ 91% มีความพึงพอใจอย่างมากถึงมากที่สุดต่อฟีเจอร์ต่างๆ ของระบบ marketing automation ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่พวกเขาใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งครอบคลุมกระบวนการด้านการตลาดทั้งหมด ตั้งแต่การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย การติดต่อสื่อสาร ไปจนถึงการวัดผล ในแง่ของการปรับใช้เทคโนโลยี องค์กรชั้นนำมีแนวโน้มที่จะใช้แพลตฟอร์ม Marketing Automation สำหรับกลยุทธ์การตลาดทั้งแบบที่มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมาย และแบบที่มุ่งเน้นฐานลูกค้าที่มีอยู่ (แทนที่จะใช้กับกลยุทธ์แบบใดแบบหนึ่ง) นอกจากนี้ นักการตลาดยังได้ระบุรายการความสามารถมากมายที่จำเป็นสำหรับระบบ Marketing Automation ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และตอกย้ำถึงความต้องการความสามารถขั้นสูงเพื่อรองรับรูปแบบการใช้งานหลักๆ ของระบบ Marketing Automation

การดำเนินงานด้านการตลาดต้องสอดคล้องกับงานขาย

ไม่น่าแปลกใจที่ผู้ตอบแบบสอบถาม 98% ระบุว่าจำเป็นที่จะต้องมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดมากขึ้นระหว่างฝ่ายการตลาดและฝ่ายขายในช่วงเวลาหลายปีนับจากนี้ การดำเนินงานที่สอดคล้องกันนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้เกิดระบบที่ครบถ้วนสมบูรณ์สำหรับการติดต่อสื่อสารและการวัดผล เพื่อขับเคลื่อนประสบการณ์ที่กลมกลืนและการเติบโตของธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทชั้นนำ 100% กล่าวว่าการดำเนินงานด้านการตลาดจะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ และที่สำคัญก็คือ ฝ่ายการตลาดมีหน้าที่จัดการดูแลประสบการณ์ที่ช่วยสร้างรายได้ผ่านทุกช่องทาง รวมถึงช่องทางการขาย ความสามารถเกี่ยวกับข้อมูลเชิงลึกด้านการขาย นับเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงวิธีการสร้างสะพานเพื่อเชื่อมโยงการดำเนินงานทั้งสองส่วนนี้เข้าด้วยกัน

 องค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงขับเคลื่อนประสบการณ์ Personalization ผ่านหลากหลายช่องทาง

จากการศึกษาดังกล่าว พบว่าสิ่งที่สร้างความแตกต่างให้กับองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงได้มากที่สุดก็คือ “ความสามารถในการปรับแต่งการติดต่อสื่อสารแบบเฉพาะบุคคลในขอบเขตที่กว้างขวาง” โดย 99% ขององค์กรชั้นนำใช้การสร้างประสบการณ์ Personalization ในระดับปานกลางหรือสูง โดยครอบคลุมหลากหลายช่องทางและกำลังใช้เทคโนโลยีด้านการตลาดในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การจัดระเบียบข้อมูลบุคคล โอกาส และข้อมูลบัญชีที่รองรับ Personalization ไปจนถึงการปรับปรุงเวิร์กโฟลว์การสร้างคอนเทนต์ การนำเสนอคอนเทนต์แบบไดนามิก และการระบุแหล่งที่มาของรายได้ องค์กรเหล่านี้ทราบดีว่าการซื้อที่มีการพิจารณาอย่างรอบคอบมักจะเกี่ยวข้องกับยอดซื้อจำนวนมากและครอบคลุมระยะเวลานาน ด้วยเหตุนี้ จึงต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารแบบ Personalization จำนวนมาก ซึ่งจะสามารถทำได้ด้วยระบบออโตเมชั่นและ AI เท่านั้น ข่าวดีก็คือเทคโนโลยีนี้ได้รับการพิสูจน์และพร้อมใช้งานแล้ว และหลายบริษัทกำลังนำเอาเทคโนโลยีนี้ไปใช้งานจริง

นักการตลาดเปลี่ยนลำดับความสำคัญของช่องทางที่สร้าง Engagement อย่างมีประสิทธิภาพ

การระบาดที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบอย่างมากต่อพฤติกรรมของผู้ซื้อ รวมถึงแนวทางการตลาด และเร่งการเปลี่ยนไปใช้ช่องทางดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจากการเพิ่มขึ้นอย่างมากของการจัด digital event และการสัมมนาออนไลน์แล้ว นักการตลาดยังระบุว่า เว็บไซต์ แชทบนเว็บไซต์ อีเมล โซเชียลมีเดีย และโฆษณาออนไลน์ มีความสำคัญมากขึ้น เมื่อถามถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 90% ของนักการตลาดวางแผนที่จะใช้งานหรือปรับปรุงการแชทบนเว็บไซต์ในปีหน้า นอกจากนี้ หลายองค์กรคาดว่าจะมีการจัดกิจกรรมแบบพบเจอกันโดยตรงอีกครั้ง ซึ่งจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับโปรแกรมการสัมมนาออนไลน์ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ โดยทุกองค์กรกำลังใช้ประโยชน์จาก Marketo Engage หรือโซลูชั่นระบบการตลาดอัตโนมัติอื่นๆ เพื่อจัดการดูแลการติดต่อสื่อสารในทุกขั้นตอน โดยครอบคลุมหลากหลายช่องทางที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

การวัดผลดัชนีที่สำคัญ

องค์กรชั้นนำเพิ่มการระบุแหล่งที่มา (Attribution) เพื่อพิสูจน์และปรับปรุงผลกระทบทางการตลาด โดยพยายามที่จะตรวจวัดประสิทธิภาพด้านการขาย รายได้ และ ROI ของแคมเปญ ช่องทาง คอนเทนต์ และ Touchpoint ทั้งหมด เพื่อให้ทราบว่ามีกลยุทธ์ใดบ้างที่ใช้ได้ผลในแต่ละขั้นตอนและควรจะลงทุนที่ส่วนใดบ้างในอนาคต จากผลสำรวจความคิดเห็น พบว่าองค์กรชั้นนำ 71% ได้เปลี่ยนแนวทางการระบุแหล่งที่มาจากเดิมที่เป็นแบบ Single-touch ไปเป็นแบบ Multi-touch และองค์กรชั้นนำ 100% วางแผนที่จะปรับปรุงการระบุแหล่งที่มาในปีหน้า นอกจากนี้ ส่วนใหญ่รู้สึกว่ากระบวนการที่อ้างอิงตามแคมเปญในปัจจุบันนั้นไม่สมบูรณ์และเป็นแบบ Manual มากเกินไป อันที่จริง 95% เห็นว่าการระบุแหล่งที่มาแบบอัตโนมัติมีความสำคัญหรือสำคัญมาก ผู้บริหารฝ่ายการตลาดสามารถสร้างการติดต่อสื่อสารอย่างเป็นระบบ และตอนนี้พวกเขากำลังดำเนินการวัดผลอย่างเป็นระบบโดยใช้แอปพลิเคชั่น SaaS

ปรับปรุงข้อมูลเพื่อรองรับประสบการณ์ที่ดีกว่า

การจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพนับเป็นรากฐานสู่ความสำเร็จสำหรับฝ่ายการตลาดที่มีผลการปฏิบัติงานดีเยี่ยม เพราะข้อมูลรองรับการกำหนดกลุ่มเป้าหมายอย่างเหมาะสม การติดต่อสื่อสารแบบเฉพาะบุคคล และการวัดผลอย่างแม่นยำ แพลตฟอร์ม marketing automation ให้ข้อมูลด้านการตลาดที่มีประสิทธิภาพสูง

ขณะเดียวกัน แพลตฟอร์มข้อมูลลูกค้า อย่างเช่น Adobe Real-Time Customer Data Platform ได้เพิ่มความสามารถด้าน B2B โดยเฉพาะ และปัจจุบัน องค์กรชั้นนำได้ผสานจุดแข็งของระบบ marketing automation และ CDP เข้าด้วยกัน แม้ว่าเมื่อหลายปีก่อน ยังไม่มี CDP ที่รองรับ B2B แต่เกือบหนึ่งในห้า (18%) ของนักการตลาด B2B ได้บูรณาการ CDP เข้ากับแพลตฟอร์มการตลาดอัตโนมัติที่ใช้อยู่ ซึ่งช่วยให้ได้รับประโยชน์มากมาย เช่น การกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่แม่นยำมากขึ้น และการปรับแต่งการติดต่อสื่อสารให้เป็นแบบเฉพาะบุคคล

แม้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจะมีความท้าทายสำหรับนักการตลาดในการสำรวจแนวทางต่างๆ แต่การสร้างสรรค์นวัตกรรมก็ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และองค์กรชั้นนำยังคงสร้างความแตกต่างและทิ้งห่างจากคู่แข่ง แต่จะว่าไปแล้ว ทุกวันนี้ ไม่ว่าบริษัทใดก็ตามก็สามารถพลิกโฉมการตลาดและประสบการณ์สำหรับลูกค้า โดยอาศัยเทคโนโลยีออโตเมชั่นและ AI

ผู้อ่านสามารถสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ  marketing automation  ทั้งข้อมูลผลการสำรวจ และข้อมูลเชิงลึก ทั้งหมดได้ในรายงาน The State of Marketing Automation จากอะโดบี

 

ปลดล็อกธุรกิจทั่วประเทศสู่การค้าบนโลกออนไลน์ สมัครใช้งานฟรี

 

 

ทรูมันนี่ ผู้นำด้านบริการอิเล็กทรอนิกส์เพย์เมนท์และผู้ให้บริการทางการเงินชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เจาะตลาด B2B เปิดตัว ‘TrueMoney for Business’ โซลูชันการตลาดครบวงจรสำหรับธุรกิจผ่านแอปทรูมันนี่ วอลเล็ทเพื่อตอบรับความต้องการและเพิ่มศักยภาพให้ผู้ประกอบการและบริษัทธุรกิจ โดยนำเสนอแพลตฟอร์มระบบสมัครสมาชิกร้านค้า บริการขายดีล และช่องทางโฆษณาผ่านแอปทรูมันนี่ วอลเล็ท และสื่อดิจิทัลต่างๆ ในเน็ทเวิร์คของทรูมันนี่ รวมไปถึงการมอบสิทธิประโยชน์ต่างๆ ผ่านอีวอลเล็ท เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำตลาดแบบดิจิทัลและเข้าถึงลูกค้าทรูมันนี่มากกว่า 26 ล้านราย (ณ สิ้นเดือน เมษายน 2565)

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click