นายกฯ ชื่นชมข้อเสนอจากการระดมสมองภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม เร่งเปลี่ยนประเทศไทย สู่สังคมคาร์บอนต่ำ ชวนทุกภาคส่วนร่วมสร้างสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ เมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย พร้อมหนุนขยายผลเศรษฐกิจหมุนเวียน และการเปลี่ยนสู่พลังงานสะอาด โดยจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง รองรับการขยายตัวเศรษฐกิจ ดึงดูดนักลงทุน เชื่อมั่นพลังความร่วมมือจะพาไทยเติบโตแบบคาร์บอนต่ำได้สำเร็จในงาน ESG Symposium 2023

นายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ได้ร่วมงาน ESG Symposium 2023 ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 11 ในหัวข้อ “ร่วม เร่ง เปลี่ยน สู่สังคมคาร์บอนต่ำ” ด้วยความร่วมมือจากหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และเอสซีจี ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีผู้ร่วมงานจากทุกภาคส่วนกว่า 2,000 คน โดยนายกรัฐมนตรีได้รับฟังข้อเสนอ “ร่วม เร่ง เปลี่ยนประเทศไทย สู่สังคมคาร์บอนต่ำ” ที่มาจากการระดมสมอง ทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาสังคมกว่า 500 คน ตลอดเดือนกันยายนที่ผ่านมา ประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่

  • ร่วมสร้าง “สระบุรีแซนด์บ็อกซ์” เมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมสีเขียว เกษตรยั่งยืน ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เนื่องจากสระบุรีเป็นจังหวัดที่มีความซับซ้อนและท้าทายมาก เพราะมีระบบเศรษฐกิจทั้งภาคอุตสาหกรรมหนัก การเกษตร การท่องเที่ยว และความเป็นเมืองที่ผสมผสาน
    จึงสามารถเป็นตัวแทนเสมือนของประเทศไทยได้ เพื่อศึกษาเรียนรู้ปัจจัยความสำเร็จและข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเปลี่ยนสู่เมืองคาร์บอนต่ำ ซึ่งร่วมบูรณาการโดยผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมจริง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยตรง และภาคประชาสังคมที่ได้รับผลกระทบ หากประสบความสำเร็จจะเป็นแรงจูงใจให้จังหวัดอื่น ๆ ได้ ปัจจุบันมีความร่วมมือเกิดขึ้นแล้ว อาทิ การกำหนดใช้ปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำในทุกงานก่อสร้างในจังหวัดสระบุรีตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป การทำนาเปียกสลับแห้ง ช่วยลดการใช้น้ำ การปลูกพืชพลังงาน หญ้าเนเปียร์ และนำของเหลือจากการเกษตรไปแปรรูปเป็นพลังงานทดแทน สร้างรายได้ให้ชุมชน รวมทั้งร่วมปลูกป่าชุมชน 38 แห่งทั่วจังหวัด ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก และนำไปสู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สร้างรายได้ให้ชุมชน
  • เร่งผลักดันเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เป็นวาระแห่งชาติ เพราะเป็นการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบ
    คาร์บอนต่ำ ในประเทศไทยมี 3 อุตสาหกรรมที่ลงมือทำแล้ว คืออุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ ยานยนต์ และก่อสร้าง ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนเกิดขึ้นได้จริง คือ กำหนดนโยบาย กฎหมาย มาตรฐาน การคัดแยกและจัดเก็บขยะเป็นระบบเดียวกันทั้งประเทศ กำหนดตัวชี้วัดในการติดตามผล ตลอดจนสร้าง Eco-system สนับสนุนสิทธิประโยชน์ในการลงทุนและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมทั้งรณรงค์ใช้สินค้ากรีนที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลหรือวัสดุชีวภาพ ออกกฎหมายระบุปริมาณอย่างชัดเจน โดยหน่วยงานภาครัฐนำร่องจัดซื้อจัดหาสินค้ากรีน เพื่อให้เกิดการยอมรับอย่างแพร่หลาย
  • เปลี่ยนสู่พลังงานสะอาดและยั่งยืน ปลดล็อกข้อจำกัด โดยเปิดเสรีซื้อ-ขายไฟฟ้าพลังงานสะอาดด้วยระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Grid Modernization) เพื่อให้ภาครัฐและเอกชนใช้เครือข่ายไฟฟ้าร่วมกัน ให้ทุกคนเข้าถึงพลังงานสะอาดสะดวกยิ่งขึ้น สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานสะอาดและใช้พื้นที่ว่างเปล่า
    กักเก็บพลังงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น พลังงานน้ำ พลังงานความร้อน พลังงานกล พลังงานเคมี รวมทั้งพัฒนาพลังงานทดแทนใหม่ ๆ และผลักดันให้อยู่ในแผนพลังงานชาติ เช่น พลังงานไฮโดรเจน พืชพลังงาน ขยะจากชุมชน ของเสียจากโรงงาน ตลอดจนปรับปรุงนโยบายและให้สิทธิประโยชน์ที่เอื้อต่อการใช้พลังงานสะอาด และส่งเสริมการใช้ข้อมูล Big Data เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง
  • ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่ยังไม่สามารถปรับตัวได้ เช่น SMEs แรงงาน เกษตรกร และชุมชน โดยแบ่งกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบและจัดสรรความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม เพื่อให้ตระหนักรู้ เข้าถึงเทคโนโลยีลดคาร์บอนและแหล่งเงินทุนสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ซึ่งมีอยู่มากถึง 52 ล้านล้านบาท และขอเสนอให้ไทยควรร่วมเร่งเข้าถึงกองทุนดังกล่าว เพื่อขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม เช่น กองทุนนวัตกรรมจัดการน้ำให้กลุ่มเกษตรกรรับมือสภาพภูมิอากาศแปรปรวน กองทุนฟื้นฟูและเพิ่มพื้นที่ป่าพร้อมสร้างรายได้จากคาร์บอนเครดิต  นอกจากนี้ ยังควรพัฒนาทักษะแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านให้มีความพร้อมปรับตัวทันท่วงทีและพึ่งพาตัวเองได้

นายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน กล่าวชื่นชมข้อเสนอดังกล่าว และเชื่อมั่นว่า หากทุกภาคส่วนร่วมมือกันตามกลยุทธ์ ESG (Environmental, Social, and Governance) ที่เน้นสร้างเศรษฐกิจควบคู่กับสมดุลทางสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างโปร่งใส มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน จะช่วยกู้โลกให้กลับมาดีขึ้น  สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของไทยต้องมีแนวทางที่นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านที่ชัดเจน โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ดังนี้  1) มุ่งมั่นการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ผ่านหลักการไปให้ถึงและช่วยเหลือกลุ่มที่รั้งท้ายก่อน  2) ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมทางเพศ สำหรับประชากรทุกคนในประเทศ และให้ความสำคัญกับสิทธิด้านสุขภาพ  3) ผลักดันความร่วมมือทุกระดับ เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงส่งเสริมการเข้าถึงบริการพลังงานสมัยใหม่ ในราคาที่เหมาะสมและมีความน่าเชื่อถือภายในปี ค.ศ 2030

“ผมรู้สึกประทับใจมาก ที่ได้เห็นคนไทยทุกภาคส่วน ทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม ร่วมกันหาแนวทางทำให้ประเทศไทยเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ เพราะภาวะโลกเดือดส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของทุกชีวิตบนโลก

ผมชื่นชมความตั้งใจสร้าง “สระบุรีแซนด์บ็อกซ์” เมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย  เพราะเป็นจังหวัดที่มีความท้าทายสูง มีอุตสาหกรรมใหญ่อยู่มาก ซึ่งจะสำเร็จได้ต้องอาศัยการดำเนินงานร่วมมือกันหลายส่วน ทั้งมาตรการและเงินทุน จึงขอเชิญชวนภาคส่วนอื่น ๆ มาร่วมกัน เพราะหากสำเร็จจะเป็นตัวอย่างให้เมืองและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ต่อไป

การผลักดันเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เป็นวาระแห่งชาติ ผมชื่นชมความมุ่งมั่นทั้ง 3 อุตสาหกรรมนำร่อง ทั้งบรรจุภัณฑ์ ยานยนต์ และก่อสร้าง ซึ่งรัฐบาลจะขยายผลความสำเร็จนี้ โดยให้ความสำคัญกับการกำหนดนโยบายจัดการขยะและเปิดให้จัดหาสินค้ากรีนเพื่อสร้าง Eco-system ที่เอื้อต่อระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน  สำหรับการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานสะอาดให้เต็มประสิทธิภาพ และศึกษาการเปิดให้สามารถซื้อ-ขายไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดได้มากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงาน พร้อมทั้งรองรับการขยายตัวเศรษฐกิจไทย ดึงดูดนักลงทุนและบริษัทต่างชาติในอนาคต”

นายกรัฐมนตรี กล่าวทิ้งท้ายว่า “ผมขอขอบคุณทุกคนที่มุ่งเปลี่ยนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพราะยังมีประชาชนอีกมากโดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็ก เกษตรกร และชุมชน ที่ยังไม่ตระหนักถึงวิกฤตินี้ หรือยังไม่พบทางออกเพื่อรับมือ เราควรสนับสนุนการเข้าถึงความรู้ เทคโนโลยี และการเข้าถึงเงินทุน ให้ทุกคนสามารถปรับตัวอยู่รอดได้ สำหรับข้อเสนอในวันนี้ ผมจะมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป

นายรุ่งโรจน์  รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า “คณะจัดงานขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรีที่ให้เกียรติมาร่วมงาน และรับฟังข้อเสนอจากพวกเราทุกภาคส่วนในวันนี้  ผมเชื่อมั่นว่าภายใต้การบริหารงานของท่านที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง พร้อมทั้งแนวนโยบายที่ชัดเจนของประเทศ จะทำให้ทุกภาคส่วนทำงานร่วมกันอย่างแข็งแกร่ง เพื่อขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน”

นายธรรมศักดิ์  เศรษฐอุดม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า “เอสซีจีพร้อมนำแนวทางจากท่านนายกรัฐมนตรีไปผลักดันอย่างต่อเนื่อง ทั้งเร่งพัฒนากระบวนการผลิตสีเขียว ควบคู่กับนวัตกรรมกรีน เช่น ปูนคาร์บอนต่ำ พลาสติกรักษ์โลก บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ อีกทั้งผสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนแก้วิกฤติโลกเดือด ซึ่งเย็นวันนี้ 80 ซีอีโอ จากหลายอุตสาหกรรม เช่น ภาคพลังงาน การผลิต อสังหาริมทรัพย์ ยานยนต์ สุขภาพ บริการ มาร่วมระดมสมองเพิ่มเติม ซึ่งมั่นใจว่าจะสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยเติบโต พร้อมโลว์คาร์บอน เป็นจริงได้แน่นอน”

หนุนเทคโนโลยีบริหารเพื่อการจัดการพลังงาน มุ่งหน้าสู่ความเป็น Smart Hotel เต็มตัว

เมื่อเร็ว ๆ นี้ เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ เอสซีจีซี (SCGC) ผู้นำตลาดเคมีภัณฑ์ระดับภูมิภาคที่มุ่งเติบโตทางธุรกิจควบคู่กับการสร้างความยั่งยืน

เพราะความสำเร็จไม่ได้เกิดจากการต่อจิ๊กซอว์เพียงตัวเดียว หากแต่เกิดจากจิ๊กซอว์นับสิบนับร้อย บางเรื่องที่ต้องอดทนและใช้เวลา อาจต้องต่อจิ๊กซอว์นับพันนับหมื่นชิ้น เพื่อประกอบภาพร่างให้สมบูรณ์แบบ

วันนี้ ผู้ดูแลงานพัฒนานวัตกรรมและการนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างความยั่งยืนให้กับองค์กร "คุณสุรศักดิ์ อัมมวรรธน์" Technology and Digital Platform Director ของบริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP ได้เล่าถึงการดำเนินงานของ SCGP ที่มุ่งเน้นด้านรีไซเคิล เพื่อสร้างมูลค่าตลอดห่วงโซ่อุปทาน ในงาน ASEAN Paper เมื่อเร็ว ๆ นี้

น่าสนใจว่าเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัลนอกจากจะช่วยสร้างการแข่งขันทางธุรกิจได้ ยังเป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญที่หนุนหลังให้พันธกิจองค์กรในด้าน ESG กับ Net Zero ที่ทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน

@เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัลกับการดำเนินธุรกิจ

SCGP มีการดำเนินธุรกิจภายใต้วิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำด้านโซลูชันบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาค ด้วยนวัตกรรมสินค้าและบริการที่หลากหลาย ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยมีการพัฒนานวัตกรรมและการนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรในด้านต่าง ๆ

ทั้งในด้านการผลิตที่มุ่งเน้น Operational Excellence ทำให้ซัพพลายเชนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการนำระบบออโตเมชันต่าง ๆ มาใช้เพิ่มผลผลิต SCGP ได้นำเดต้าต่าง ๆ เข้ามาใช้ในองค์กรเพื่อให้ลูกค้าได้ประโยชน์ อาทิ ระบบการติดต่อ การสั่งซื้อ การส่งมอบสินค้า ลูกค้าสามารถตรวจสอบข้อมูลการสั่งซื้อได้ด้วยตัวเอง หลังจากมีการนำเดต้ามาใช้ในองค์กรทั่วถึง พนักงานขายสามารถเข้าไปตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าสนใจ และตอบข้อมูลให้ลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น ทำให้ลูกค้าสะดวกขึ้นซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก ขณะเดียวกันข้อมูลบนออนไลน์แบบทั่วถึง ทำให้ระบบการทำงานภายในองค์กรไหลลื่น ทำให้สามารถบริหารจัดการวัตถุดิบ ข้อมูลคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยทำให้ต้นทุนการผลิต ทำให้เกิดการบริหารจัดการต้นทุนอย่างเหมาะสม เป็นประโยชน์กับทั้งซัพพลายเชน

“หลักการคือเราต้องการให้ข้อมูลต่าง ๆ เป็น single source of truth แปลว่าทุกคนในซัพพลายเชน เห็นตัวเลขบนข้อมูลเดียวกัน ทำให้ไม่เกิดความซับซ้อน ไม่เป็นช่องว่างในการบริหารจัดการทั้งกระบวนการ ซึ่งประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัลเพิ่งเป็นแค่จุดเริ่มต้น เมื่อเราได้มีการนำมาใช้แล้ว สามารถต่อยอดเป็นประโยชน์อย่างอื่นได้อีก”

@เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัลสู่บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน

จากแนวทางการขับเคลื่อนธุรกิจของ SCGP ตามกรอบแนวคิด ESG ซึ่งมีแผนงานชัดเจนที่จะเพิ่มสัดส่วนบรรจุภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในปี 2025 ที่จะไปสู่เป้าหมายใช้บรรจุภัณฑ์รีไซเคิลและย่อยสลายได้ 100% และในปี 2050 ประกาศเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ SCGP ได้พัฒนาเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างต่อเนื่องเพื่อขับเคลื่อนให้ถึงเป้าหมายความยั่งยืน

การเพิ่มอัตราบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล”

SCGP เดินหน้าสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด แบ่งเป็นการเพิ่มพันธมิตรรีไซเคิล จาก 8 รายเป็น 22 ราย การเพิ่มเครือข่ายระบบการจัดเก็บบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล หรือ recycling station เพื่อนำบรรจุภัณฑ์เหลือใช้กลับคืนมาที่โรงงาน ซึ่งมีการเพิ่มจากจำนวน 90 แห่งในปี 2563 เพิ่มเป็น 133 แห่งในปี 2566

SCGP ได้ลงทุนทำให้กระดาษรีไซเคิลมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ด้วยการลงทุนติดตั้งเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต (Operational Excellence) มีการติดตั้งจุดตรวจวัดประสิทธิภาพในทุกกระบวนการ ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้เป็นที่น่าพอใจ โดยคุณภาพของกระดาษที่ได้กลับมานั้น เพิ่มจากเดิมในอัตรา 80% เป็น 88-92% เทียบกับการประหยัดทรัพยากรได้ 20,000 ตันต่อปี

นอกจากนี้ SCGP ได้ศึกษาและพัฒนานวัตกรรม “เส้นใยนาโนเซลลูโลส” จากวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อน้ำไปใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ ซึ่งได้มีการจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้วทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ต่อยอด Waste ให้เป็นเม็ดพลาสติก”

เมื่อนึกถึงการจัดการบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล มักจะมีเศษวัสดุอื่น ๆ ปนมาด้วย เช่น เทปกาว หรือฟิล์ม ที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้ และจะถูกเผาเพื่อเป็นพลังงาน SCGP จึงพัฒนาคิดต่อยอดจาก waste เหล่านี้ ซึ่งเราเรียกว่า waste of waste ให้มีมูลค่ามากขึ้น ด้วยการลงทุนในเทคโนโลยีนำ waste เหล่านี้มาผลิตเป็นเม็ดพลาสติก และได้ขยายโรงงาน waste of waste แล้วถึง 3 โรงงาน ในประเทศไทย 1 แห่ง และโรงงานในอินโดนีเซียอีก 2 แห่ง

“พอเป็นเม็ดพลาสติก เราสามารถนำไปผสมกับเม็ดพลาสติกใหม่ เพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคใช้ทั่วไปได้ เช่นกระบะพลาสติกใช้ในการขนส่งสินค้า ถังต่าง ๆ เพื่อต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ให้ผู้บริโภคสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก แม้ว่าเรื่องนี้ยังไม่ได้ให้ผลตอบแทนการลงทุน แต่ช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการใช้ waste อย่างคุ้มค่าจริง ๆ ”

การพัฒนาทั้งหมดนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของการผลิตบรรจุภัณฑ์ ทั้งลดการใช้ทรัพยากรใหม่ เพิ่มการรีไซเคิลทรัพยากรเดิมให้มีประสิทธิภาพ ล้วนช่วยเสริมสร้าง Infinite Recycling ให้เกิดขึ้นได้จริง รวมถึงการนำมาใช้ประโยชน์ที่หลากหลาย Upcycling ซึ่งตอบโจทย์การดำเนินงานบนฐานของความยั่งยืนอย่างแท้จริง

เมื่อเร็ว ๆ นี้  เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ธุรกิจเคมีภัณฑ์ระดับภูมิภาคที่มุ่งเติบโตทางธุรกิจควบคู่กับการสร้างความยั่งยืน ตามแนวทาง ESG (Environmental, Social and Governance) ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณองค์กรต้นแบบด้านความปลอดภัย จากงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ครั้งที่ 35 ร่วมสร้างวัฒนธรรมไทยเชิงป้องกันสู่ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และความผาสุกที่ยั่งยืน (Forward Culture of Prevention for Safety Thailand) จัดโดยกระทรวงแรงงาน นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัลสถานประกอบการที่ปฏิบัติตามมาตรการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2566 หรือ EIA Monitoring Awards 2023 จัดโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตอกย้ำการเป็นโรงงานเชิงนิเวศที่มุ่งยกระดับมาตรฐานการจัดการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการดูแลชุมชน และความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้อุตสาหกรรมและชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน  

รางวัลองค์กรต้นแบบด้านความปลอดภัย (Zero Accident Campaign 2023) โดยบริษัทในกลุ่มธุรกิจ SCGC ได้แก่ บริษัท ระยองโอเลฟินส์ จำกัด (ROC) และบริษัท มาบตาพุดโอเลฟินส์ จำกัด (MOC) รับโล่ประกาศเกียรติคุณในกิจกรรมการรณรงค์ลดสถิติอุบัติเหตุจากการทำงานให้เป็นศูนย์ ประจำปี 2566 (Zero Accident Campaign 2023) ระดับแพลตินัม ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 จากสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) กระทรวงแรงงาน โดยมีเกณฑ์การพิจารณาจากสถานประกอบการที่สามารถรักษาชั่วโมงการทำงานต่อเนื่องโดยไม่เกิดอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงาน ไม่ถูกดำเนินคดีด้านความปลอดภัย ไม่มีลูกจ้างประสบอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ในช่วงเวลา 2 ปี ไม่มีอุบัติเหตุจากการทำงานถึงขั้นหยุดงานเกิน 3 วัน อีกทั้งยังเป็นสถานประกอบกิจการที่เป็นต้นแบบด้านการบริหารจัดการ มีระบบมาตรฐานสากล และเป็นองค์กรต้นแบบด้านความปลอดภัยฯ

รางวัลสถานประกอบการด้านสิ่งแวดล้อม (EIA Monitoring Awards 2023) โดยบริษัทในกลุ่มธุรกิจ SCGC ได้แก่ บริษัท มาบตาพุดโอเลฟินส์ จำกัด และ บริษัท ไทย เอ็มเอ็มเอ จำกัด  รับรางวัลสถานประกอบการที่ปฏิบัติตามมาตรการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2566 หรือ EIA Monitoring Awards 2023 ระดับยอดเยี่ยม และดีเด่น (ตามลำดับ) ประเภทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่มีการจัดการและรักษาสิ่งแวดล้อมตามมาตรการของ EIA จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้สถานประกอบการเห็นความสำคัญถึงการป้องกัน และติดตามตรวจสอบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA เพื่อให้สถานประกอบการได้ยกระดับและพัฒนากลไกการจัดการสิ่งแวดล้อมของตนเอง เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่สถานประกอบการอื่น ๆ

X

Right Click

No right click