×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 813

บอร์ด WHA ไฟเขียว ทุ่มงบลงทุน 912 ล้านบาท เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุน SO ในสัดส่วน 20% เสริมธุรกิจครบวงจร ต่อยอดการให้บริการกับลูกค้าของ WHA รองรับการเติบโตของภาคธุรกิจโลจิสติกส์ และนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ

บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA เปิดเผยข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ระบุว่า ตามมติคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2566 อนุมัติให้บริษัท ดับบลิวเอชเอ เวนเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ WHA เข้าไปลงทุนในหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ บมจ.สยามราชธานี หรือ SO จำนวน 111,597,905 ล้านหุ้น หรือเทียบเท่า 20% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดหลังการเพิ่มทุน ที่ราคาเสนอขายหุ้นละ 8.1720 บาท โดยภายหลังจากที่เข้าทำรายการซื้อหุ้นสามัญของ SO เสร็จสิ้น WHA จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ลำดับที่ 2 ของ SO ถัดจากตระกูลวิมลเฉลา ซึ่งถือหุ้นรวมกัน 58.2%

คุณจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การเข้าไปลงทุนใน SO ถือเป็นอีกก้าวที่สำคัญในการดำเนินตามภารกิจ Mission to the Sun โดยเป็นการเอาจุดแข็งของ WHA ที่มี Ecosystem ที่ครบวงจร และจุดแข็งของ SO เรื่อง Lean Operation มาผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่เป็น Total Sustainable Solutions ให้กับลูกค้าของเรา"

ซึ่ง WHA มองว่า SO เป็นผู้นำในธุรกิจ Outsourcing Service ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการสรรหา และบริหารจัดการบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมและบริการ รวมไปถึงเรื่องการฝึกอบรม เสริมทักษะให้กับบุคลากรเพื่อตอบสนองตลาดแรงงาน นอกจากนี้ SO ยังมีความโดดเด่นเรื่อง Lean Business Process ที่นำ Technology มาพัฒนาเป็น Solutions ต่างๆ ช่วยลูกค้าในการปรับปรุงกระบวนการธุรกิจเพื่อลดต้นทุนในการบริหารงาน ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อาทิ ระบบบริหารจัดการคนขับรถและยานพาหนะ (Fleet Management) ซึ่งอยู่ในแผนการขยายธุรกิจ Green Logistics ของ WHA อีก

ทั้ง SO มีผลการดำเนินงานที่มั่นคงมาโดยตลอด และคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคตตามเทรนด์ Lean Organization” คุณจรีพรกล่าวสรุปว่า “การลงทุนใน SO นอกจากจะก่อให้เกิดความร่วมมืออย่างยั่งยืนในเชิงกลยุทธ์ และโอกาสในการต่อยอดธุรกิจในเครือของทั้งสองบริษัทมากมาย ยังคาดว่าจะให้ผลตอบแทนการลงทุนที่ดีกับบริษัทด้วย”

นายณัฐพล วิมลเฉลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.สยามราชธานี หรือ SO เปิดเผยว่า “การขายหุ้นเพิ่มทุน 20% ให้ WHA ซึ่งเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในด้านโลจิสติคส์ นิคมอุตสาหกรรมและการให้บริการโซลูชั่นครบวงจรแก่ลูกค้าภาคอุตสาหกรรม ถือเป็นการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partner) ที่สำคัญของบริษัท ซึ่งจะเข้ามาสร้าง Synergy ให้กับ SO ทั้ง 4 กลุ่มธุรกิจ โดย WHA จะช่วยให้ SO สามารถขยายขอบเขตการให้บริการ Outsource ให้มีความหลากหลาย และครอบคลุมความต้องการของลูกค้ามากขึ้น รวมถึงร่วมกันพัฒนาธุรกิจ หรือ Solutions ใหม่ๆ ที่จะส่งเสริมให้บริษัทสามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด SO จึงมั่นใจว่า ด้วยกลยุทธ์ทางธุรกิจของ WHA และ SO จะทำให้ทั้งสองบริษัทก้าวสู่การเป็น Technology Company และเติบโตไปด้วยกันได้อย่างยั่งยืน”

ทั้งนี้ โครงการความร่วมมือในเฟสแรกจะมุ่งเน้นเรื่อง

· Center of Shared Services เป็นการขยายธุรกิจ Outsource ไปยังลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่มีการเติบโตสูง โดยเฉพาะใน EEC ซึ่งเป็นฐานลูกค้านิคมอุตสาหกรรมของ WHA ที่มีกว่า 1,000 ราย และเป็นบริษัทขนาดใหญ่ทั้งไทยและต่างประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มการใช้บริการ Outsource สูง

· Workforce Excellence Academy เป็นการพัฒนาบุคลากรและแรงงานให้พร้อมรองรับอุตสาหกรรมใหม่ๆ ในอนาคต (New S-curve Industries) ที่จะเข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย ช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศและดึงดูด FDI

· EV Fleet Rental and Management ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผน Green Logistics

· ESG และ Carbon Credit เป็นการจัดการพื้นที่สีเขียวในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและเพิ่มคาร์บอนเครดิต

การเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว บมจ.สยามราชธานี จะนำเสนอต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท ครั้งที่ 1/2566 เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป ซึ่งหากได้รับอนุมัติ คาดว่าการเข้าลงทุนจะแล้วเสร็จภายในกลางเดือนกรกฎาคม 2566

วิธีคิดที่ไม่ตกเทรนด์ของนักธุรกิจรุ่นใหญ่ อภิชาติ ชโยภาส กรรมการผู้จัดการ บริษัทท่าเรือราชาเฟอร์รี่ จำกัด (มหาชน) ที่เดินหน้าปรับเปลี่ยนธุรกิจ ให้ทันกับโลกในยุคดิจิทัล โดยใช้แนวคิดบริหารงานมาช่วยขับเคลื่อน และสร้างโอกาสในการขยายธุรกิจให้เดินไปข้างหน้าได้อย่างฉับไวและรวดเร็ว 

จากที่ธุรกิจของราชาเฟอร์รี่มี Product หลัก คือ การให้บริการเรือเฟอรี่ข้ามฟาก 14  ลำ สำหรับผู้เดินทางและเรือขนส่งสินค้า รวมถึงท่าเทียบเรือรายใหญ่ระหว่างสุราษฎร์ธานีไปเกาะสมุยและเกาะพะงัน ซึ่งไม่ใช่ธุรกิจที่มีตัวอย่างให้เห็นเช่นอุตสาหกรรมอื่น ดังนั้นการตีโจทย์เพื่อขยายธุรกิจจึงอาจทำได้ไม่ง่ายนัก และไม่มีกรณีศึกษา หรือตำราที่จะเดินตามได้อย่างทั่วไป

“ความท้าทายของเรา คือ ลูกค้าที่มาใช้บริการในปัจจุบัน ซึ่งถ้าเราไม่มีการพัฒนา ทุกอย่างจะเท่าเดิม ทางออก คือ ขยายฐานออกไปนอกกลุ่ม ดังนั้นปีหน้าจึงเป็นปีที่เราจะรุกหนักแบบเต็มพิกัด ทั้งแนวดิ่ง (Vertical) คือสิ่งที่ดำเนินการอยู่ และแนวราบ (horizontal)  คือความคิดไม่มีจน และสิ่งที่เราทำต้องตอบโจทย์ลูกค้าจริง”

 

 อภิชาติ ชโยภาส กรรมการผู้จัดการ บริษัทท่าเรือราชาเฟอร์รี่ จำกัด (มหาชน) 

 

วิธีคิดสำหรับการขยายธุรกิจ คือต้องดูว่ากลุ่มเป้าหมายในปัจจุบันที่ต้องการขยายไป มีปริมาณมากหรือน้อยอย่างไรบ้าง รวมถึงความต้องการของลูกค้านั้น เราได้ตอบสนองหรือยัง ซึ่งข้อมูลจะได้จากการวิจัย การทำแบบสอบถาม (Questionnaire) และติดตามหาข้อมูลจากโซเชียลมีเดียด้วยอีกทางหนึ่ง รวมถึงศึกษาคู่แข่งว่าไปในทิศทางไหน และมีอะไรที่เป็นความสำเร็จและความล้มเหลว

ตัวอย่างในอดีต เราไม่มีระบบ E-Ticket หรือการจองผ่านระบบ Online (เว็บไซต์ , โมบาย แอพพลิเคชั่น) กระทั่งเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เห็นคู่แข่งขายตั๋วผ่านออนไลน์ ได้ผลดี ถือเป็นเรื่องที่ดี และไม่ต้องอาย ทำให้เราต้องปรับมาทำด้วยแต่มีราคาถูกกว่า หากทำแล้วเวิร์คก็ต้องทำต่อ แต่ถ้าไม่ก็เลิกทำ ขณะเดียวกันต้องศึกษาสิ่งในตัวของธุรกิจนั้นว่าจะสามารถพัฒนาอะไรต่อไปได้อีกบ้าง และอีกสิ่งที่สำคัญคือ ต้องไม่ลืมเรื่องการสื่อสารไปถึงกลุ่มพนักงานภายใน ซึ่งถือเป็นฟันเฟืองของเรา หากการสื่อสารไปไม่ถึง  จะกลายเป็นข้อเสียอย่างยิ่งของธุรกิจบริการ

นอกจากนี้ยังต้องให้ความสำคัญกับข้อมูล โดนส่วนตัวนั้น ผมให้ความสำคัญมาก เพราะในยุคปัจจุบัน การอาศัยสัญชาติญาณ หรือข้อมูลจากที่ปรึกษาอย่างเดียวนั้นไม่ได้ เพราะเขาไม่ได้สัมผัสธุรกิจทุกวันเท่ากับเรา กระทั่งข้อมูลการต่อว่าจากลูกค้า การ Complain ความไม่พอใจทั้งหลาย เมื่อผ่านการประมวลผลแล้วจะเกิดเป็นวิธีการแก้ปัญหาในที่สุด

ตลอดจนการประมวลผลจาก Big Data เช่น ใน 1 วัน มีคนเดินทางข้ามเกาะมากที่สุดในเวลาไหน เราสามารถเพิ่มเรือไปรอรับผู้โดยสารได้เลย แต่ปัญหาคือ การเพิ่มทุกวันจะเป็นผลขาดทุนกับธุรกิจ  เพราะจำนวนคนเดินทางไม่สม่ำเสมอทุกวัน เราจะนำข้อมูลมาใช้อย่างไรจึงไม่ใช่เรื่องง่าย หรือแม้จะเพิ่มเรืออีกฝั่งแล้วก็ตาม ถ้าอีกฝั่งไม่มีรถ ก็เกิดความไม่สมดุลย์กันดังนั้นจึงต้องนำข้อมูลมา Sourcing  วิธีการที่ดีสุด คือ ในเชิงปริมาณหรือคุณภาพ และที่สำคัญมากคือต้องให้น้ำหนักกับคนที่ทำงานรายวันด้วย นั่นคือพนักงานที่ยู่หน้างาน เพราะมีข้อมูลที่เชื่อมต่อกับลูกค้าโดยตรง จะรู้ Insight Customer  มากกว่าเรา

อภิชาติ กล่าวกับ MBA Magazine พร้อมเล่าต่อ ถึงการปรับตัวในช่วงเวลาที่ผ่านมาว่า มีการลงทุนวางระบบด้านไอที ในการขายมูลค่าถึง 10 ล้านบาท นั่นเพราะเล็งเห็นถึงอนาคตที่บริษัทสามารถขยายการบริการให้นักท่องเที่ยวได้รับความสะดวกมากที่สุด และจะทำให้มีฐานลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น โดยมองจาก Tool ของคนในแต่ละรุ่นที่ต่างกัน

 


 

ท่าเรือบริการระบบดิจิทัลครบวงจร

สำหรับรุ่นผม Tool  คือ เดสก์ทอปคอมพิวเตอร์ แต่ Tool ของคนรุ่นใหม่ คือ Smart Phone  ซึ่งเป็นที่มาของการเปิดตัว Mobile Application ระบบจองตั๋วเรือโดยสารผ่านโทรศัพท์มือถือ  "RAJA FERRY Mobile Application"และ " RP Market Place" เพื่อบริการจองตั๋วออนไลน์ครบวงจร ตั้งแต่การจองตั๋วเรือเฟอร์รี่ รถโดยสาร เครื่องบิน การขนส่ง โรงแรมที่พัก และโปรแกรมท่องเที่ยว

รวมถึงมีความร่วมมือกับโลคัลแอร์ไลน์ ต่อยอดฐานธุรกิจเดิม ที่มีรถตู้จากสนามบินของจังหวัดสุราษฏร์ธานีและนครศรีธรรมราชเข้ามายังท่าเรือ มีรถตู้วิ่งบริการส่งถึงโรงแรมทั้งในเกาะสมุย เกาะพะงัน มีเรือเฟอรี่ที่บริการตลอดเวลา มีเครือข่ายโรงแรมที่บุ๊คกิ้งได้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่าง Set up ระบบ เหล่านี้ถือเป็นจุดเด่นของการบริการแบบ One Stop ครบวงจร มีแพ็กเก็จที่ต่อเนื่องโดยที่ลูกค้าไม่ต้องกังวล 

อีกส่วนที่ให้ความสำคัญ คือ การแบรนดิ้งผ่านสื่อโฆษณาออนไลน์  ซึ่งเป็นปีแรกที่ทำ โดยใช้งบไป 2-3 ล้านบาท สำหรับสถานการณ์ตอนนี้ต้องมองว่า กระแสความนิยมของผู้บริโภคส่วนใหญ่จะซื้อการบริการผ่านทางออนไลน์มากขึ้น และจะเห็นว่าลูกค้าแต่ละกลุ่มนั้นก็เลือกโฮสติ้งต่างกัน เช่น อโกด้า ทราโวก้า และอื่นๆ ซึ่งธุรกิจของเราต้องไปผูกมิตรด้วย เพื่อทำให้การบริการมีความเชื่อมโยงแบบครบวงจร

ซึ่งการสร้างระบบจองแบบออนไลน์  ที่ให้บริการแบบครบวงจรนั้น จะทำได้อย่างรวดเร็ว สามารถวางแผนล่วงหน้าและกำหนดวันเวลาที่แน่นอนได้ ที่สำคัญยังเป็นการลดข้อจำกัดทางธุรกิจ และสอดคล้องกับพฤติกรรมในยุคนี้

“ต่อไปเรือออกทุก15 นาทีไม่ต้องรอ คนรุ่นใหมไม่มีใครอยากรอ ถ้าเสียแพงกว่านิดหน่อย เพราะความสุขคนในปัจจุบัน คือ ไม่รอ”

นอกจากนี้เรากำลังพัฒนาระบบการเชื่อมต่อไวไฟฟรี ในท่าเรือทั้ง 3 แห่ง ซึ่งตรงนี้จะเข้ามาสนับสนุนการใช้ภาษาที่แตกต่างของนักท่องเที่ยว โดยระบบแชทบ็อกซ์ ที่สามารถสื่อสารกันได้ในภาษาที่ต่างกัน คาดว่าอีก 2  ปีจะเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งถือเป็นการลงทุนที่สูงมาก แต่สามารถลดขั้นตอนของ CALL CENTER  ทั้งหมดได้ คำถามที่เกิดขึ้นทุกวันจะสามารถตอบได้หมด แต่หากเป็นเรื่องเร่งด่วน  ก็ยังมีพนักงานให้บริการอยู่เช่นกัน”

 



“เราก้าวมาจาก ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจโลจิสติกส์ มีเรือข้ามฟากบริการ และในระยะต่อขยายกลุ่มลูกค้าด้วยการให้บริการที่มากขึ้น
 โดยอาศัยช่องทางเทคโนโลยีตั้งขึ้นเป็นศูนย์รวมของจุดให้บริการ ที่เป็นเกตเวย์เข้าเกาะ ออกเกาะครบวงจร ลูกค้ามาที่เดียวสามารถตอบโจทย์ได้ทุกความต้องการ ทั้งคน ท่องเที่ยว ช้อปปิ้ง และเอนเทอร์เทนเมนต์ เรียกได้ว่า นี่เป็นการปรับตัวของธุรกิจบริการ หาโอกาสในการสร้างความสำเร็จมากขึ้น”

ความคิดนี้นำร่องมาตั้งแต่ปี 2559 และจะเริ่มเห็นผลในไตรมาส 2  ของปี 2561 เพราะระบบจะติดตั้งเต็มร้อย อีกทั้งในส่วนของการเทรนนิ่งบุคลากรเองก็ต้องใช้เวลา จากเดิมที่มีความคิดว่า ให้บริการเพียงแค่นี้ก็น่าจะเพียงพอนั้นไม่ได้ เพราะหากบริษัทจะเติบโตต้องมีการนำเสนอการให้บริการสินค้าใหม่ ลูกค้าใหม่ ไม่ใช่กลุ่มเดิมแล้ว จากการเป็นธุรกิจทรานสปอร์ตโลจิสติกส์ ที่มีฐานลูกค้าเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ ปัจจุบันเราไม่จำกัดพื้นที่ แต่ให้ความสำคัญกับการขยายมาในพื้นที่อื่นๆ ที่มีอนาคตและมีโอกาส

อภิชาติ กล่าวถึง การขยายโมเดลธุรกิจใหม่ ที่เพิ่มรายได้จากการเดินรถและเรือ มาสู่การจองตั๋วเครื่องบิน และรถรับส่งถึงที่พักทั้งไปและกลับ การบุ้คกิ้งโรงแรม การนำเที่ยว  มาจนถึงการนำเทคโนโลยีมาอำนวยความสะดวกในการใช้จ่ายทุกประเภทให้แก่นักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวไทยผ่านระบบ WeChat Pay  หรือการใช้อาลีเปย์  (Alipay Wallet)  เป็นระบบการรับชำระเงินที่เพิ่มความสะดวกสบายให้แก่นักท่องเที่ยวชาวจีนในการซื้อสินค้าและบริการโดยไม่ต้องจ่ายเงินด้วยเงินสด

ตัวอย่างเหล่านี้ ถือเป็นการใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ ที่ใช้สื่อดิจิทัลในชีวิตประจำวัน ซึ่งต้องคิดแบบโลกแห่งความเป็นจริง ที่ว่าสื่อดิจิทัล ไม่ได้ทำให้เราขายได้ทั่วโลก แต่สินค้าบริการก็ต้องตอบโจทย์ด้วย คนที่ใช้บริการเรือเฟอรี่ข้ามเกาะไม่ได้มีเงินจำนวนมาก ยังต้องการความประหยัดและความคุ้มค่าที่เราเสนอให้ อาทิหากมีเงินในกระเป๋า 3 หมื่นบาท จะอยู่บนเกาะสมุย 3-4 วันอย่างไร เราตั้งคำถามนี้แล้ว Offer ราคาทำให้การขายง่ายขึ้น  ซึ่งเราขยายฐานไปที่กลุ่มนักท่องเที่ยวคนจีนและในอาเซียนเป็นหลัก สำหรับกลุ่มยุโรปนั้นเป็นกลุ่มที่ผ่านระบบนี้อยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องให้ข้อมูลเพิ่มเติมมากนัก

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลก หากไม่มีการปรับเปลี่ยนโมเดลบิสิเนสใหม่ สิ่งที่จะเผชิญอย่างแน่นอน คือ รายได้จะเติบโตช้ามาก อีกประการ คือ ธุรกิจเราเป็นธุรกิจเป้าหมายหลักของประเทศ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว หากเราไม่เข้าไปก่อนแน่นอนว่าคนอื่นก็จะเข้ามาทำแทนเรา และในที่สุด เราจะกลายเป็นคนที่กินเฉพาะค่าแรงอย่างเดียว ขณะที่คนที่มีวิธีคิดใหม่ๆ เช่น เวบไซด์ตัวกลางการจองโรงแรม จะมีรายได้ต่อการจองถึง 20 % โดยที่ไม่ต้องลงทุนเองเลย

ดังนั้นหากว่ามี Target ลูกค้าชัดเจน ราคาเหมาะสมกับทุกอย่าง โอกาสในการเติบโตก็มีมาก นี่คือสูตรสำเร็จของการไปสู่เป้าหมาย

X

Right Click

No right click