×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

วัน แบงค็อก เมืองอัจฉริยะแห่งความยั่งยืนสมบูรณ์แบบใจกลางกรุงเทพฯ ตอกย้ำวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ด้วยหลักการของความยั่งยืน สอดรับกับเป้าหมายการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกขององค์การสหประชาชาติ (UN) และกรุงเทพมหานครฯ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พร้อมส่งเสริมนโยบายวันสิ่งแวดล้อมโลก Reduce (ลด) และ Recycle (รีไซเคิล) ด้วยการนำวัสดุเหลือใช้และวัสดุที่ใช้แล้ว มาเปลี่ยนให้มีคุณค่าเป็นประโยชน์ในด้านต่างๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของผู้คนในเมือง

(3 แกนหลักด้านความยั่งยืนของ โครงการวัน แบงค็อก)

องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้ วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day เพื่อให้ทั่วโลกตื่นตัวกับวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ร่วมกันหาแนวทางป้องกันและลงมือแก้ไข วัน แบงค็อก ในฐานะโครงการอสังหาริมทรัพย์ภาคเอกชนมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างจุดเปลี่ยนด้านสิ่งแวดล้อมพร้อมตั้งเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net-zero) และเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในการสร้างอนาคตที่ดีขึ้น เพื่อสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ สะท้อนผ่านแนวคิด 3 แกนหลัก ได้แก่ การให้ความสำคัญกับผู้คน (People Centric) การยกระดับความยั่งยืน (Sustainability) และการใช้ชีวิตในเมืองอัจฉริยะ (Smart City Living)

เพื่อตอกย้ำการเป็นโครงการต้นแบบสีเขียวที่มุ่งมั่นสร้างความยั่งยืนให้เทียบเท่าระดับสากล วัน แบงค็อก มุ่งสู่การเป็นโครงการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน LEED for Neighborhood Development ระดับ Platinum แห่งแรกในประเทศไทย พร้อมมุ่งมั่นประหยัดพลังงาน จัดการของเสียและอากาศภายในอาคารได้อย่างมีคุณภาพ และมาตรฐานรับรองอาคาร WELL เพื่อให้ผู้ที่ใช้อาคารมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และยังจะดำเนินงานตามแนวปฏิบัติด้านการก่อสร้างที่ยั่งยืนภายใต้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การก่อสร้างไปจนถึงช่วงเปิดดำเนินการของโครงการ 

วัน แบงค็อก กำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืนขึ้น พร้อมแนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม นับตั้งแต่การออกแบบมาสเตอร์แพลนของโครงการฯ จนไปถึงขั้นตอนของการดำเนินงาน โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการ สนับสนุนการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด ภายใต้แนวคิด Reuse และ Recycle อาทิ

· การลดขยะจากการก่อสร้าง โดยตั้งเป้านำขยะจากการก่อสร้างมากกว่า 75% กลับมาใช้ใหม่และรีไซเคิล อาทิ การนำเทคโนโลยีบดย่อยเศษขยะคอนกรีตจากหัวเสาเข็มเพื่อนำไปสร้างผนังอาคารในโครงการฯ ช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 5.94 ตันหรือเทียบเท่ากับปริมาณการผลิตก๊าซออกซิเจนจากต้นไม้ 540 ต้น อีกทั้งยังมีการนำเศษอิฐมวลเบาที่เหลือใช้จากการก่อสร้างมาผลิตเป็นแผ่นผนังกันเสียงในอุโมงค์ทางลอดเข้าโครงการฯ

· การรีไซเคิลขยะเศษอาหาร ที่เหลือจากการบริโภคของคนงานก่อสร้าง ให้กลายเป็นปุ๋ย ผ่านเครื่อง Food Waste Composter ทำให้สามารถช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ได้ถึง 1.2 ตันคาร์บอนต่อวัน หรือ 367 ตันคาร์บอนต่อปี เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ จำนวน 40,815 ต้น

· การรีไซเคิลน้ำเสีย ด้วยระบบบริหารจัดการน้ำอัตโนมัติที่สามารถตรวจสอบคุณภาพน้ำ ลดการใช้น้ำ (Reduce) และนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่โดยผ่านเทคโนโลยีบำบัดน้ำเสีย เพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำทำให้มีคุณภาพดีขึ้น Wastewater Treatment Plant (Recycle) และนำไปใช้ในส่วนต่างๆ อาทิ ระบบรดน้ำต้นไม้ภายในโครงการฯ และระบบชำระล้างของสุขภัณฑ์ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังได้มีการนำเทคโนโลยีไอโอที (IoT) มาเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดแยกและจัดการขยะรีไซเคิล ทำให้โครงการสามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณขยะแบบเรียลไทม์ เพื่อนำเศษวัสดุที่เหลือใช้กลับเข้าสู่กระบวนการผลิตช่วยให้สามารถลดปริมาณขยะที่สะสม และเมื่อโครงการเปิดดำเนินการ จะเพิ่มระบบเซ็นเซอร์เพื่อตรวจจับปริมาณของขยะพร้อมแจ้งเตือนไปยังส่วนกลาง ทำให้ลดปัญหาขยะล้นถัง ส่งเสริมสภาพแวดล้อมด้านสุขอนามัย

(โครงการวัน แบงค็อก)

ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการออกแบบพื้นที่สาธารณะ (Public Realm) ให้เป็นพื้นที่เปิดโล่งและพื้นที่สีเขียวมากถึง 50 ไร่ เทียบเท่ากับครึ่งหนึ่งของพื้นที่โครงการทั้งหมด เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนหันมาใช้ทางเดินเท้าในโครงการ แทนการใช้รถยนต์ ลดมลภาวะทางอากาศ โดยพื้นที่ส่วนหน้าของโครงการตลอดแนวถนนพระรามสี่และถนนวิทยุ ถูกรังสรรค์ให้เป็นสวนสาธารณะสีเขียวขนาดใหญ่ (Linear Park) และมีระยะร่นจากทางเท้าเข้าไปยังตัวอาคาร 35 - 45 เมตร สร้างทัศนียภาพที่สวยงาม ร่มรื่น ช่วยกรองฝุ่น และลดอุณหภูมิ วัน แบงค็อก มุ่งมั่นสู่การเป็นส่วนหนึ่งในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยพัฒนาพื้นที่สาธารณะที่มีคุณภาพ พร้อมเป็นต้นแบบโครงการสีเขียวที่ยั่งยืน

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ถ่ายทอดระบบ “ฟาร์มอัจฉริยะ หรือสมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm)” มุ่งสู่เกษตรกรคอนแทรคฟาร์มมิ่ง มุ่งใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม IOT ในฟาร์มสุกร ช่วยยกระดับการบริหารจัดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สวัสดิภาพสัตว์ระดับสากล ลดการพึ่งพายาปฏิชีวนะ และเพิ่มความเชื่อมั่นผู้บริโภค

นายสมพร เจิมพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า การวิจัยและพัฒนาเป็นก้าวย่างสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินงานของธุรกิจเลี้ยงสัตว์ (Farm) รุดหน้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สำหรับธุรกิจสุกรให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยผนึกกำลังกับซีพีเอฟไอที เซ็นเตอร์ และทรู คอร์ปอเรชั่น ในการพัฒนาระบบ “ฟาร์มอัจฉริยะ หรือสมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm)” มาผนวกกับกิจการเลี้ยงสัตว์ของซีพีเอฟ เมื่อข้อมูลจำนวนมากของบริษัทที่ถูกเก็บรวบรวมแบบออนไลน์ ทำให้ได้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์และประมวลผล อีกทั้งยังนำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาช่วยยกระดับและสร้างความเชื่อมั่นให้กับข้อมูลต่างๆ และบริษัทยังพัฒนาการเลี้ยงสุกรครบวงจร “SMART PIG” มาปรับใช้ในการเลี้ยงสุกรทุกช่วงอายุ เพื่อช่วยยกระดับการบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่ การเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิต 

ขณะเดียวกัน ยังผลักดันให้เกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์แก่เกษตรกรรายย่อย หรือ Contract Farming นำระบบสมาร์ทฟาร์มมาปรับใช้อย่างต่อเนื่อง อาทิ การตรวจสอบและควบคุมสภาพแวดล้อมแบบอัตโนมัติ (Automatic) การติดตั้งระบบกล้อง CCTV โดยร่วมกับทรูติดตั้งจนครบ 100% ในฟาร์มเกษตรกร 3,700 ราย และมีระบบตรวจวัดการไอของหมู หรือ Sound Talks เพื่อติดตามสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมงผ่านออนไลน์ เพื่อลดโอกาสเกิดความเสียหายในฝูงสัตว์

“ซีพีเอฟใช้เทคโนโลยีระบบสมาร์ทฟาร์ม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มระบบปิด ที่สะอาด ถูกสุขอนามัย ทำให้สัตว์มีสุขภาวะที่ดีจากภายใน ลดการพึ่งพายาปฏิชีวนะ ได้เนื้อสัตว์ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ปลอดภัย ส่งผลดีต่อสุขภาพผู้บริโภค พร้อมถ่ายทอดระบบสู่เกษตรกร ส่งผลการผลิตเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยตรวจสอบการป้องกันโรคในฟาร์มอย่างเข้มงวด ด้วยเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และ IOT (Internet of Things) ทำให้ซีพีเอฟและเกษตรกรมีเทคโนโลยีการผลิต (Operation Tech) ที่สามารถผลิตสุกรในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคในราคาที่เข้าถึงได้ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน” นายสมพร กล่าว

สำหรับเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการเลี้ยงสุกร ได้แก่ ระบบ SMART Farm Solution ทำให้ทราบถึงปริมาณการกินน้ำและอาหาร อุณหภูมิ ความชื้น ความเร็วลม ก๊าซแอมโมเนียที่จะมีผลต่อสุขภาพสุกร และสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมในโรงเรือนให้สม่ำเสมอตลอดทั้งหลัง เหมาะสมกับสุกรมากที่สุด หากอุปกรณ์เกิดความผิดพลาด ระบบจะแจ้งเตือนไปยังเจ้าหน้าที่ทันที, ระบบ SMART Eye AI Detector ทำการบันทึกและวิเคราะห์พฤติกรรมและสุขภาพสุกรแม่พันธุ์ก่อนคลอดได้อย่างแม่นยำ เจ้าหน้าที่จึงบริหารจัดการได้อย่างมีประสทธิภาพ, ระบบ Smart Pig (QR Code) บันทึกข้อมูลในระบบออนไลน์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้านการจัดการสุกรแม่พันธุ์ผ่าน QR Code, ระบบตรวจวัดการไอของสุกร Sound Talks ตรวจวัดสุขภาพสุกรจากการไอ แล้วแปลงเป็นระบบคลื่นเสียง พร้อมแสดงแถบสีบนอุปกรณ์ และแจ้งข้อมูลในระบบทันที, ระบบกล้องวงจรปิด CCTV ติดตั้งในจุดที่สำคัญทั้งภายนอกและภายในโรงเรือน เพื่อตรวจสอบระบบการป้องกันโรค ลดโอกาสการนำเข้าเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์ม และ ระบบรายงานออนไลน์สำหรับเกษตรกร Chatbot เกษตรกรสามารถบันทึกข้อมูลสำคัญในกระบวนการผลิต ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งรวดเร็วกว่าการจดบันทึก และยังสามารถส่งภาพพฤติกรรมสุกรภายในโรงเรือนให้กับสัตวบาลและสัตวแพทย์ช่วยวิเคราะห์สุขภาพสุกรขุนได้ตลอดเวลา ช่วยให้ดำเนินแก้ปัญหาได้ทันท่วงที สามารถลดเวลาและประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง./ 

Trane Technologies plc (NYSE:TT) บริษัทนวัตกรรมด้านสภาพภูมิอากาศระดับโลก ได้รับการยกย่องโดย Forbes ให้เป็นหนึ่งในนายจ้างที่ดีที่สุดโลกประจำปี 2564

Forbes ร่วมมือกับ Statista บริษัทวิจัยด้านการตลาดในการรวบรวมรายชื่อบริษัทเพื่อการจัดอันดับนี้ โดยสำรวจความคิดเห็นของพนักงาน 150,000 คนจากทั่วโลก ด้วยการให้พนักงานตอบคำถามว่า จะแนะนำนายจ้างของตนให้กับครอบครัวและเพื่อนหรือไม่ รวมถึงคำถามเกี่ยวกับบริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกันในด้านภาพลักษณ์รอยเท้าทางเศรษฐกิจการพัฒนาทักษะพนักงานความเท่าเทียมทางเพศ และความรับผิดชอบทางสังคม และบริษัท 750 รายที่ทำคะแนนได้สูงที่สุด จะได้มีชื่ออยู่ในการจัดอันดับนี้

Marcia Avedon รองประธานบริหารและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลการตลาด และการสื่อสารของ Trane กล่าวว่า วัฒนธรรมและเป้าหมายเป็นสิ่งที่จะสร้างความโดดเด่นให้กับองค์กรในยุคปัจจุบัน และพนักงานของ Trane Technologies ช่วยผลักดันกันและกัน รวมถึงชุมชนและลูกค้าของเราในทุก ๆ วัน จึงนับว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่วัฒนธรรมขององค์กรเราได้รับการยอมรับจาก Forbes และพนักงานของเราว่าเป็นหนึ่งในนายจ้างที่ดีที่สุดในโลก ขณะนี้ เราตั้งใจทำงานมากยิ่งกว่าที่เคยเพื่อให้พนักงานรู้ว่าได้มีส่วนร่วม ได้รับการมองเห็นคุณค่า และได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร เป้าหมายของเราในฐานะบริษัทคือการกล้าค้นหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เพื่อโลกที่ยั่งยืน และพนักงานของเราทั่วโลกก็รับรู้ว่า เมื่อพวกเขามาทำงาน พวกเขาจะได้ร่วมพัฒนาให้โลกน่าอยู่ยิ่งขึ้นด้วย

ด้วย การประกาศความตั้งใจด้านความยั่งยืนปี 2573 Trane Technologies เปลี่ยนวิธีการทำงานในทุกด้านเพื่อมุ่งแก้ปัญหาด้านความยั่งยืนหลัก ๆ ของโลก ตัวอย่างหนึ่งของความตั้งใจนี้ก็คือ The Gigaton Challenge ที่บริษัทให้คำมั่นว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากลูกค้าของบริษัทให้ได้ กิกะตัน (2% ของปริมาณก๊าซที่ทั่วโลกปล่อยออกมาต่อปี)

นอกจากนี้ Trane Technologies ยังได้ปรับปรุงวัฒนธรรมและชุมชนขององค์กรด้วยโครงการ "Opportunity for All" ซึ่งตั้งใจส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในระดับผู้บริหารความหลากหลายในหมู่พนักงานที่เทียบเคียงได้กับในชุมชน และโครงการริ่เริ่มเพื่อชุมชนที่สนับสนุนการศึกษาอย่างเท่าเทียม ตลอดจนปูทางสู่อาชีพด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีวิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM) ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

# # #

สตาร์ทอัพไทยเจ๋ง ลีฟคลีน เทคโนโลยี จับมือบริษัทเกาหลีพัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นฆ่าเชื้อแบบแห้ง ซีทัช (Z-Touch)  นวัตกรรมแผ่นป้องกันและกำจัดเชื้อไวรัสโควิด-19 ติดตั้งบริเวณจุดสัมผัสร่วม

นำร่องครั้งแรกที่คลองเปรมประชากร พร้อมเตรียมเดินหน้าโครงการต่อเนื่อง ที่คลองแสนแสบและแม่น้ำท่าจีน

Page 3 of 5
X

Right Click

No right click