ในยุคสมัยที่สังคมธุรกิจเริ่มหวั่นไหวต่อสภาวะแห่งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากพัฒนาการของเทคโนโลยี ที่กล่าวกันว่าเริ่มส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมผู้บริโภค จนถึง Lifestyle และที่สุดต่อมาคือเรื่องโครงสร้างการทำธุรกิจ (Business Model) ของหลายๆ กิจการในปี 2561 ได้เริ่มปรากฏภาพที่แจ่มชัดขึ้นว่า ถ้าไม่ปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลง ผลสุดท้ายหมายถึงการถูกเปลี่ยนหรือล้มหายตายจาก กรณีตัวอย่างที่ใหญ่ยิ่ง อย่างอุตสาหกรรมการเงินในปีที่ผ่านมาจะพบว่า Fintech หรือเทคโนโลยีการเงินเริ่มขยายตัวและส่งผลต่อต่อวงการธนาคารและวงการธุรกิจธุรกรรมทางการเงินอย่างท้าทาย ภายใต้ความร้อนรุ่มของสภาวการณ์ในปีที่ผ่านมา คาดการณ์กันว่าบรรยากาศจะยิ่งร้อนเร่าและรุนแรงยิ่งขึ้นในปีนี้ 2019 และอนาคตในอีกไม่ช้านาน

Vision 2019

ระเทียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้นำของธุรกิจสินเชื่อบัตรเครดิตอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ได้เผยถึงได้เผยวิสัยทัศน์และความเห็นต่อประเด็นทิศทางและความท้าทายของอุตสาหกรรมการเงินในปี 2062 ว่า แน่นอนว่าอุตสาหกรรมการเงินในปี 2562 นี้จะถูก Disrupt มากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนมากขึ้น เทคโนโลยีหลายอย่างที่ Mature บวกกับการเคลื่อนตัวของโลกที่เปลี่ยนไป ทำให้สถาบันการเงินจำเป็นจะต้องปรับตัว คนที่ปรับตัวไม่ทันหรือปรับตัวช้าก็จะมีปัญหา ที่จริง E-Payment ที่นำมาใช้ในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมาก็เป็นตัวหนึ่งที่รัฐบาลเห็นถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นและพยายามวางเพลตฟอร์ม แม้ในช่วงแรกจะไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร แต่เมื่อถึงคราวที่ต้องเปลี่ยน ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว โดยเฉพาะปีที่ผ่านมา นี่เป็นแค่ก้าวแรกของการเริ่มต้นเท่านั้นเอง ซึ่งคิดว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดขึ้นในปีนี้ โดยเฉพาะธนาคารที่เคยมีส่วนต่างที่มากๆ จะเริ่มมีน้อยลง รายได้ที่เคยได้จากหลายๆ ช่องทางก็จะเริ่มหายไป การที่จะหารายได้เพิ่มขึ้นไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่าย รวมถึงการเข้ามาของคู่แข่งที่ไม่ใช่สถาบันการเงินก็จะทำได้ไม่ยาก

ทั้งนี้ ระเทียร ศรีมงคล ยังเผยว่าต่อ เป็นไปได้ว่าเราจะได้รับผลกระทบระดับหนึ่ง แต่เราพัฒนามาถึงจุดที่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบการเงินจะไม่ทำให้ธนาคารล้มหายตายจาก เพียงแต่ว่าจากที่ธนาคารเคยมีกำไรมี growth มาตลอดอาจจะไม่มี Growth หรือมีได้ยากขึ้นและถ้าปรับตัวได้ไม่ดี Margin ก็อาจจะลดลงไปเรื่อยๆ สิ่งนี้คือข้อควรกังวล แต่สำหรับ KTC เราก็ยังเชื่อว่าในปีนี้จะยังสามารถเติบโตได้ ซึ่งปีที่ผ่านมาเราก็โตจากเดิมเยอะมาก ถ้าในปีนี้ถ้าสามารถทำได้ในอัตราเท่าเดิมก็ถือว่าน่าพึงพอใจ ซึ่งภายในปีนี้เรามีแผนที่จะวางรากฐานสำหรับการก้าวกระโดดในรอบห้าปีถัดไปอีกด้วย

Technology

ไม่น่ากลัว- เลือกให้ถูก -ใช้ให้เป็น

ต่อประเด็นที่เราจะเห็นว่ามี Startup กลุ่ม FinTech รายใหม่ๆ ตลอดจนกิจการในอุตสาหกรรมนอกกลุ่มการเงิน บางรายได้ก้าวเข้ามาสร้างส่วนแบ่งการทำกำไรในตลาดการเงิน ด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ โดยใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า มีประสิทธิภาพและต้นทุนต่ำลง โดยเราจะเห็นกรณีตัวอย่างของการ ยกเลิกค่าธรรมเนียม รับชำระและค่าบริหาร โอนเงิน ‘ซึ่งเป็นตัวเลขทำกำไรมหาศาลของธนาคาร’ การถูก Disrupt ลักษณะนี้และที่กำลังจะเกิดขึ้น อาจหมายถึงการเปลี่ยนเกมผู้เล่นในอุตสาหกรรมการเงินโดยรวมและสร้างผลกระทบยิ่งใหญ่ในอนาคตต่อไปหรือไม่อย่างไรนั้น CEO ใหญ่ของ KTC แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ว่า

สิ่งนี้ผมคิดว่ายังไม่ค่อยน่าเป็นห่วงเท่าไหร่ อย่างเรื่องของค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมต่างๆ ที่บอกว่า FinTech เข้ามาแทรกตรงนี้ ถามว่าการที่ค่าธรรมเนียมนั้นหายไป เพราะFinTech นั้น ผมคิดว่า ที่จริงสิ่งเหล่านี้หายไปเพราะถึงเวลาแล้วที่จะต้องหายไป ถ้าไปดูดีๆ จะพบว่ามันหายไปเพราะว่า Players หนึ่งคนต้องการนำเทคโนโลยีที่ mature มา lead เพื่อสร้างฐานลูกค้าขึ้นมาเพราะต้องการเติบโต มากกว่าการที่ถูก FinTech รายใดรายหนึ่งเข้ามาทำให้สิ่งนั้นหายไปซึ่งไม่เหมือนกันโดยสิ้นเชิง ดังนั้น ในระลอกที่ผ่านมายังเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นน้อยมาก ผลกระทบที่น่าจะมาและเกิดขึ้นมากที่สุดคือเรื่องการเปิดให้คนอื่นเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มของตนเองหรือ Data Privacy นั่นคือสิ่งที่สำคัญอย่างมากที่สุด

ระเทียร กล่าวว่า ทุกวันนี้เทคโนโลยี Mature มาถึงในระดับที่เหมือนกับสินค้าในตลาดที่คุณเลือกซื้อได้ ซึ่งเราต้องเลือกให้ดีเท่านั้นเอง ที่สำคัญคือ Business Model ต่างหาก ทำอย่างไรจึงจะ Embrace เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเรา เทคโนโลยีไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Blockchain หรืออะไรก็ตาม แต่ข้อเสียของเทคโนโลยีคือเปลี่ยนเร็วมาก แต่ถ้าเราสามารถนำข้อดีมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะสามารถช่วยลดต้นทุนได้อย่างมหาศาล แล้วก็จะเป็นจุดที่ตัดสินถึงความได้เปรียบเสียเปรียบ สิ่งนี้ไม่ได้ขึ้นกับเทคโนโลยีแต่เป็นความสามารถในการผนวกเทคโนโลยีเข้ากับตัวมนุษย์ที่ทำได้มากน้อยแค่ไหน ทำได้ดีแค่ไหนมากกว่า”

Business Model

เมื่อโครงสร้างพื้นฐานเปลี่ยนไป สิ่งที่ส่งผลตามมาอย่างเห็นได้ชัดคือ พฤติกรรมผู้บริโภค จะเห็นได้ว่าในปีที่ผ่านมาตั้งแต่ไม่มีค่าธรรมเนียมในการโอนเงิน คนเริ่มโอนเงินกันมากขึ้นโดยไม่ใช้เงินสดเท่าไหร่ นี่คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่สิ่งที่เราต้องตั้งคำถามคือ เราจะทำงานและมองหาโอกาสในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ได้อย่างไร นี่เป็นคำถามที่ตอบยากที่สุด และสิ่งนี้ก็คือ Business Model คือประเด็นที่ ระเทียร ได้ยกให้เห็นและให้กล่าวต่อประเด็นนี้ว่า

“เราต้องมีการปรับ Business Model และกระบวนการในการทำงานให้สอดรับกับแนวโน้มของคนและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ผมว่าเทคโนโลยีจะช่วยเราในเรื่องของต้นทุน การนำเทคโนโลยีมาช่วย ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น เราต้องผนวกคนให้เข้ากับเทคโนโลยีให้ได้ ซึ่งสิ่งนี้ KTC ได้ทำมาตลอดช่วง 7 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดการวาง Business Model ที่สามารถตอบสนองกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง เพราะฉะนั้น สิ่งนี้ก็เป็นโจทย์ที่เราจะค่อยๆ ปรับ เรื่องกำไรไม่ใช่ปัญหาของเรา เราสามารถทำกำไรได้ตลอดที่ผ่านมา โดยกำไรค่อยๆ เพิ่มขึ้นมาตลอด แต่เราคิดว่าเรามีอีกหน้าที่สำคัญหนึ่งคือ ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น

สำหรับ KTC เป็นธุรกิจที่มีความท้าทายในหลายๆ ด้านอยู่แล้ว ในส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคลอาจจะไม่ใช่ปัญหามากนัก เพราะว่ามีเรื่องของดอกเบี้ย อาจจะมีปัญหาบ้างในเรื่องของการแข่งขันกับโปรโมชั่นในหลายๆ แห่ง และผู้เล่นหน้าใหม่ๆ ซึ่งในธุรกิจของเราก็มี Barrier Entry ระดับหนึ่งในเรื่องของใบอนุญาตเข้ามาเกี่ยวข้อง สำหรับในธุรกิจบัตรเครดิตนั้น มีรายใหญ่ๆ อยู่ไม่ต่ำกว่าห้ารายที่แข่งขันกัน ซึ่งทุกรายอยู่ในระดับที่เขาไม่ได้ขาดทุน แต่เขาจะทำกำไรได้หรือไม่ มากน้อยแค่ไหนเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แล้วมีธุรกิจนี้ไว้เพื่อเป็นธุรกิจที่ทำกำไรหรือเป็นธุรกิจสนับสนุนก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของแต่ละที่ แต่สำหรับ KTC เนื่องจากเราอยู่ในธุรกิจนี้เพียงอย่างเดียว เพราะฉะนั้นในเรื่องสนับสนุนอื่นๆ เราไม่มี เราจึงจำเป็นจะต้องทำกำไร รวมถึงอาจจะมีการเข้ามาของบัตรเดบิตและ Wallet ซึ่งจัดโปรโมชั่นแข่งขันกันดุเดือด แต่สำหรับผม คิดว่าการแข่งขันเป็นเรื่องที่ดีเพราะการแข่งขันทำให้เกิดการขับเคลื่อน

KTC Keyword 2019

Customer Service Through Technology

โดยในปีนี้ Keyword ที่เราจะใช้ขับเคลื่อน KTC คือ การเข้าใจความต้องการและตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้ โดยอาศัยเทคโนโลยีมาช่วย แม้ว่าหลายคนอาจมองว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะชะลอตัว แต่สิ่งนี้เป็นเรื่องของ Comparative Degree ถ้าดูบนพื้นฐานจริงๆ ภาพรวมก็ดีขึ้น เศรษฐกิจปีที่ผ่านมาดีขึ้น หาก GDP ตกเราจะรู้สึกได้ อย่างเราเคยนั่งรถที่มีความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ถ้าวันนี้รถวิ่ง 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เราก็จะรู้สึกว่ามันช้า ทั้งๆ ที่มันไม่ได้ถอยหลัง มันก็ยังคงวิ่งต่อไปข้างหน้าแค่วิ่งช้าลง นี่คือความรู้สึกของคน ถ้าเรามีความคาดหวังสูง พอไม่เป็นไปตามที่หวังก็จะทำให้เรารู้สึกว่าแย่ลง ถ้าคาดว่ามันจะแย่ แล้วไม่ได้แย่ถึงขนาดนั้นเราก็จะรู้สึกว่าดีขึ้น โดยรวมผมยังมองบวก เพราะผมอยู่ในธุรกิจที่มองลบไม่ได้ ชีวิตผมต่อให้เกิดปัญหาหนักแค่ไหนก็ต้องมองบวกว่าเรายังสามารถไปได้ เพราะว่าถ้าเราไม่มีความหวังก็เดินหน้าต่อไปไม่ได้

People Of the Future

เรื่อง ‘คน’ คือ หนึ่งใน Keyword สำคัญของดำเนินธุรกิจ ระเฑียร ศรีมงคล ได้กล่าวถึงมุมมองและแนวทางการสร้างคน และการเตรียมคน ของ KTC รวมถึงแนวคิดที่อยากขยายการพัฒนาจากภายในองค์กรสู่สังคมภายนอก โครงการ CSR ของ KTC ที่หลายปีมานี้ เริ่มดำเนินการภายใต้แนวคิดที่ว่า

การสร้าง ‘ผู้นำ’ หรือการบ่มเพาะ ‘คน’ ต้องอาศัยการใช้เวลา อย่างน้อยต้องหนึ่งเจนเนอเรชั่นในการสร้างคนขึ้นมา และที่สำคัญ หากว่าเราไม่มีระบบการศึกษาที่เหมาะสม เป็นไปแทบไม่ได้เลยที่จะสร้างคนที่มีคุณภาพขึ้นมาได้ ถ้ามองย้อนกลับไป KTC มีการปรับเปลี่ยนมาเยอะมาก อย่างในอดีตถ้ามาถามคน KTC เขาจะรู้จักเฉพาะงานและหน้าที่ในส่วนของเขา วันนี้ถ้าถามเขา เขาจะรู้เรื่องงานและบทบาทของแผนกอื่นๆ มากขึ้น เขาจะเข้าใจความเป็นไปภายในมากขึ้น เราส่งเสริมทัศนคติและแนวคิดต้องเป็นแบบ Holistic คือแนวคิดที่ว่าคุณเป็นเจ้าของบริษัท เมื่อคุณทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดแล้วคุณก็ต้องศึกษาความเป็นไปของบริษัทต้องพยายามทำให้บริษัทพัฒนามากขึ้น ภายใต้สิ่งเหล่านี้ KTC ได้ทำเรื่องการศึกษาภายในองค์กร เรามีคอร์สอบรมที่มุ่งเป้าให้พนักงานได้รับการส่งเสริมความรู้และทักษะด้านต่างๆ โดยที่ผ่านมาเราเริ่มขยายเป้าหมายให้การพัฒนาคนขยายวงออกสู่สังคมภายนอก โดยไม่จำกัดเพียงพนักงานของ KTC กล่าวได้ว่าเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาและ CSR ไปในแนวทางเดียวกัน เราเชื่อว่าทุกอย่างเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ แล้วขยายเป้าหมายให้ใหญ่ขึ้นได้ภายใต้ความร่วมมือของทุกคน

บทเรียนรู้ การก้าวข้ามวิกฤติการณ์

7 – 8 ปีก่อนที่เกิดวิกฤต เวลาใครขาดทุนก็มักจะ Downside ตอนนั้นผมการันตีว่าผมจะไม่เอาคนออกแม้แต่คนเดียว จากวันนั้นจนวันนี้ธุรกิจเราโตขึ้นมาเยอะมาก โดยที่เรามีคนจำนวนเท่าเดิม แล้วเราเชื่อว่าจากนี้ไป เราไม่จำเป็นต้องขยายจำนวนคน ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีมา เราก็จะเอาคนของเราเข้าไปเทรน หรือเป็นไปได้ว่าในที่สุดเราอาจจะเพิ่มคนมากขึ้นก็เป็นได้ เพราะว่าเทคโนโลยีมีจุดอ่อน คือ ไม่สามารถสื่อสารแบบเราได้

ผมบอกทีมงาน KTC เราเสมอว่า Technology is very smart but technology doesn't have wisdom, human has wisdom ดังนั้นแล้ว มนุษย์จะต้องใช้ความฉลาดของเทคโนโลยีแต่เอาภูมิปัญญาของเราแล้วใช้ความฉลาดของเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการรับใช้ภูมิปัญญาของเรา ในการสร้างความสำเร็จของเป้าหมายที่เราสร้างขึ้น


เรื่อง ณัฐพัชธ์ สุมา

ภาพ ภัทรวรรธน์ พงษ์บริพันธ์

ศรัทธา 5.0

February 14, 2019

ศรัทธา ในทางพุทธศาสนา เถรวาทตามขนบความเชื่อแบบดั้งเดิมมีเพียง 4 ข้อเท่านั้น ข้อแรก คือ ศรัทธาในเรื่องของ กรรม” ข้อต่อมาคือเชื่อในเรื่องของ วิบากกรรม” ข้อถัดไปคือ กัมมัสสกตา” เชื่อว่าคนเราเป็นเจ้าของกรรมและทายาทที่รับมรดกกรรม และสุดท้ายคือ ตถาคตโพธิ” เชื่อว่าหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ปฏิบัติตามแล้ว จะทำให้หลุดพ้นจาก กรรม-กิเลส-วิบาก” อย่างชัดเจน

พลังศรัทธาของคนไทยในเวลานี้ ไม่เหมือนเดิมเหลือเพียงแค่แนวคิด ศาสนาและไสยศาสตร์” ซึ่งเป็น ศรัทธา” ของครุ่นเก่า กับ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ซึ่งเป็นศรัทธาของคนรุ่นใหม่ ปะทะกัน โดยศรัทธาในศาสนา “เชื่อว่ามีอำนาจที่ควบคุมไม่ได้คอยบงการ เช่น พรหมลิขิต เป็นต้น” แต่ศรัทธาในไสยศาสตร์ “เชื่อว่าสามารถใช้อำนาจที่ควบคุมไม่ได้ เช่น โหราศาสตร์ เป็นต้น” ส่วนศรัทธาของคนรุ่นใหม่ที่มีต่อ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ยังคงเป็นศรัทธาที่ไม่มีเสถียรภาพมุ่งนำเสนอข้อค้นพบใหม่หักล้างแนวคิดทฤษฎีเก่า เพื่อต่อยอดความคิดอ่านให้ทันสมัยเรื่อยไป ซึ่งกล่าวโดยสรุป ศรัทธา 5.0” โดยย่อคือ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน”

ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ” และ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งนอกเหนือจากธรรมชาติ” ส่วน พลังศรัทธา” ของคนหนุ่มสาวที่มีต่อ ศาสนา” และ การเมือง” ไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร ทั้งนี้เป็นเพราะอิทธิพลของคนรุ่นใหม่ในสังคมไทย ส่วนใหญ่เกิดในปี Y2K (ปี พ.ศ. 2543) หรือปี 2000 คน รุ่น Generation Z เจน แซด” ซึ่งบ้างก็เรียกว่า ช่วงวัยที่เงียบ” Silent Generation หรือ สังคมก้มหน้า” เน้น แชะ แชต แชร์” การหยั่งเสียง การนับถือศาสนา” และวัดผลชี้ชัด พลังทางการเมือง” จึงทำได้ลำบาก เพราะโซเชียลมีเดียมีผลให้คนหนุ่มสาวรุ่นนี้หมกมุ่นกับ โลกส่วนตัว” ใช้เวลาส่วนใหญ่ปลีกตัวเองจากสังคมจริง เข้าสู่สังคมเสมือนไม่สนใจ ประชาธิปไตย” คนมีสีจึงปกครองประเทศได้อย่างสบายๆ

ศรัทธา 5.0” ในบริบทสังคมไทย จำต้องใช้ แนวคิดทฤษฎีทางมานุษยวิทยา” ตอบคำถาม เพราะ ศาสนา” ในสังคมไทยไม่ได้แน่นิ่งหรือตายไปแล้ว ทว่ายังคงเคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่ง และเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ทั้งยังไม่มีข้อยุติเรื่อง ขาว” หรือ ดำ” อย่างถาวร เพราะ สยามประเทศ” มีลักษณะเป็น สังคมเปิด” มีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ภาษา ศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกันมาช้านานทุกอณูพื้นที่ของประเทศ ศาสนา+ไสยศาสตร์” พลังศรัทธาปะปนกันจนแทบจะแยกไม่ออกไม่ว่าจะเป็น โหราศาสตร์กับพุทธศาสตร์” “พระกับผี” พระกับเทพ” ฯลฯ

สังคมไทยมีพลวัตศรัทธาในศาสนาเปลี่ยนแปลงปรับตัว เป็นไปตามรุ่นของคน อายุ สมัย เวลา ยุค ในพื้นที่อันหลากหลาย ทั้งชนบทและสังคมเมือง ซึ่งศรัทธาคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คนในยุคนั้นยังไม่มีการจดบันทึกหรือถ่ายทอดเรื่องราวเนื้อหา และหลักธรรมไว้ชัดเจน ยกตัวอย่าง เครื่องมือหินแบบโฮบิเนียน ซึ่งอยู่ในยุคหินกลาง และบริเวณที่พบกระจายตัวในภูมิภาค อาเซียน” “โลงไม้ถ้ำผีแมน บริเวณวนอุทยานธรรมชาติ ห้วยน้ำดัง แม่ฮ่องสอน” “เทือกเขาหินปูนบริเวณประตูผา  จังหวัดลำปาง” “เทือกเขาหินปูน เขาปลาร้า อำเภอลานสาง จังหวัดอุทัยธานี” ซึ่ง พลังศรัทธา” คนไทยยุคต่อยุค เรียงราย จากยุคหินเก่า ยุคหินกลาง ยุคหินใหม่ จนถึงยุคโลหะ ตามลำดับ กระทั่งถึงช่วงเวลา 2,500 ปีลงมา จึงพบหลักฐานตัวเขียน ในคัมภีร์เก่าแก่คือ ชาดก” วรรณคดีสำคัญทางพระพุทธศาสนา บอกเล่าเรื่องราว มหาชนกชาดก” กล่าวถึงตำนานชีวิต พระพุทธเจ้าครั้งเกิดเป็นพระโพธิสัตว์เคยเป็นพ่อค้าสำเภาล่อง เรือมาขายสินค้าที่สุวรรณภูมิ ขณะที่ตำนาน คัมภีร์มหาวงศ์”  ก็ยืนยันว่า จอมจักรพรรดิอโศก” ได้ทรงมีพระบรมราชโองการ จัดส่ง พระโสณะและพระอุตตระ” มาเผยแผ่พุทธศาสนาใน สุวรรณภูมิ เมื่อคราวสังคายนาพระพุทธศาสนาครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 218

ห้วงเวลานี้เองที่มีพัฒนาการ ทางเทคโนโลยีทันสมัยยุคนั้นคือ  การถลุงเหล็ก” เพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับ การสร้างบ้านแปงเมืองต่างๆ ทั่วไทย หักล้าง แนวคิดทฤษฎีดั้งเดิม” ที่เคย เชื่อกันมาว่าผู้คนในแถบอาเซียนล้าหลัง ทางเทคโนโลยีและอารยธรรมต้องอาศัย ชาวอินเดีย” นำ ศาสนาพุทธและ พราหมณ์” มาให้จึงค่อยๆ กลายมาเป็น นครรัฐที่มีกษัตริย์ ศาสนา อักษรศาสตร์ โหราศาสตร์ จารึก ตัวเขียน การแพทย์ แผนไทย และวิทยาการต่างๆ เจริญ รุ่งเรืองขึ้น กล่าวโดยสรุป เทคโนโลยี ถลุงเหล็ก” ได้หักล้างสมมติฐานวง การวิจัยไทยศึกษาและยืนยันว่าสังคม ไทยมีความเจริญและเทคโนโลยีทันสมัย อยู่แล้ว ก่อนรับเอา ศาสนาอินเดีย”  ทั้งพุทธและพราหมณ์เข้ามาในชีวิต ประจำวัน

กระนั้น สังคมไทย ก็มี ศรัทธา” ใน ไสยศาสตร์” แบบไทยๆ ยกตัวอย่าง ความเชื่อใหม่ในรอบร้อยปีเศษเรื่อง พระสยาม เทวาธิราช” ปกปักรักษาคุ้มครองประเทศไทย ขณะเดียวกัน ชนชั้นสูง” ก็ใช้ พุทธศาสตร์” ควบคู่กันไปกับ ไสยศาสตร์”  ในการปกครองประเทศ กล่าวคือนักการเมืองระดับผู้นำในอุดมคติ จะต้องเป็น สมมติเทพ” เช่นเดียวกับ พระโพธิสัตว์” และ ต้องบำเพ็ญ ทศพิธราชธรรม 10 ประการ” เทวดาฟ้าดินภูตผี ปีศาจผีบ้านผีเมืองจึงจะอวยชัยให้พรปกปักรักษาคุ้มครองให้ พลังอำานาจ” ของรัฐบาลมีเสถียรภาพไม่สั่นคลอน

เหล่า โหราจารย์” มีอิทธิพลกำหนดฤกษ์ผานาทีและชี้นำ ชัยชนะ” นักการเมืองไทยในแต่ละยุค จึงยอมสยบและ เชื่อฟัง โหร” มากกว่า พระ” จนเกิดคำว่า ไม่เชื่อแต่อย่าลบหลู่” พื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศเราจึงพบเห็น ศาลเจ้า” มากกว่า  ศาลยุติธรรม” เหมือนกันกับ ญี่ปุ่น” โดยบังเอิญ ซึ่งพลังศรัทธา ใน เทวดา” พบในศาสนา ชินโต” และ พุทธ” ทุกหนทุกแห่งมี เทวดา” สถิตทั่วทั้งเกาะ เป็น อะไร” ที่ ไม่เชื่อแต่อย่าลบหลู่” โดยญี่ปุ่นเองก็มีทั้ง ศาสนาและไสยศาสตร์” และ วิทยาศาสตร์ กับเทคโนโลยี” ไม่ต่างจากสยามประเทศ

นอกจากนี้ คนไทยเรายังรับเอาพลังศรัทธาแบบ  ขอม+แขก” โดย ไสยศาสตร์แบบไทยๆ” ได้รับเอา พลังอำานาจ” จาก เทพเทวา” ต่างๆ ทั้ง ครุฑ” พาหะของพระพรหม และ อัญเชิญเทวดามีชื่อเสียงต่างๆ เป็นต้นว่า พระพรหม” พระอินทร์” “พระศิวะ” “พระนารายณ์” “พระคเณศ” เพื่อลงมา ช่วยเหลือขจัดปัดเป่าปกปักรักษาปกป้องคุ้มครอง อำานาจรัฐ” ให้อยู่ในมือชั่วฟ้าดินสลาย เป็น อะไรๆ” ที่ ไม่ธรรมดา”  ขนาด เทพทันใจ” และ หมอดู” สายพม่า ตลอดทั้ง ครูบา”  ที่เป็นพระ คนไทยเรายังนับถือและศรัทธาโดยรับมาเป็นส่วน หนึ่งของ ศรัทธา” ในยุคดิจิทัลนี่เอง ไม่ใช่ยุคอื่นใด ไม่ต่างจาก วัฒนธรรมอาหาร” ซึ่งไทยรับเอาแขกและจีนมาปรับใช้จน กลายเป็น อาหารไทยรสเลิศ” อย่างแกงเขียวหวาน หรือ วัฒนธรรมกินเส้นต่างๆ ซึ่งมากกว่าเมืองจีน ทั้งเส้นเล็ก  เส้นใหญ่ เส้นหมี่ขาว เส้นหมี่ไข่ เส้นหมี่ปลา เส้นหมึกดำ  เส้นบะหมี่ สารพัดนานาชนิด ซึ่งเมืองจีนเองยังมีไม่ครบถ้วน เท่าที่ไทยมี

ศรัทธา 5.0 เป็นยุคที่ ผู้นำารัฐ” ต่างเชื่อกันว่า ตนเอง และพวกพ้อง” สามารถควบคุมอำนาจเหนือธรรมชาติคือ  เทวานุภาพ” และใช้หลัก โหราศาสตร์” มาใช้ให้เป็นประโยชน์ ในการปกครองคนรุ่นเก่าที่ ศรัทธา” ในศาสนาและไสยศาสตร์รวมถึงคนรุ่นใหม่ที่ศรัทธาในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทันสมัย ได้อย่างแนบเนียน ซึ่งพลังศรัทธาของคนไทยประกอบด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับ สิ่งนอกเหนือธรรมชาติ” โดยเฉพาะพลังศรัทธาแนวไสยศาสตร์ คนกับสิ่งนอกเหนือธรรมชาติ” นำไปสู่แนวคิด จักรวาลวิทยา” ของผู้คนในสังคมไทยที่รับรู้ร่วมกัน และปรารถนาอยากเห็น โลกพระศรีอาริย์ในยุคดิจิทัล” ซึ่งเทคโนโลยี AI Blockchain  และ รถไฟความเร็วสูง” กำลังย่นและย่อประเทศไทยให้เล็กลง

ปัญญาประดิษฐ์” หรือ บล็อกเชน” ฯลฯ ได้เริ่มโจมตี และทำลายล้างเทคโนโลยีและการจัดการแบบเก่า (Disrupt)  ด้วย นวัตกรรมทันสมัย” อันได้แก่ Quantum Computing  ซึ่งค่อยๆ ทดแทน Digital Computing ถึงกระนั้น ศาสนากับ ไสยศาสตร์” และ วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี” ก็จะยังคงอยู่คู่ กับ Thailand 5.0 ต่อไป และตลอดไป ไม่แตกต่างไปจากญี่ปุ่น และเราอาจได้เห็น รัฐบาล” อยู่คู่กับ สังคมไทย” ตลอดอายุขัย ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตามแนวคิด ไสยศาสตร์ 5.0”

Nothing is Impossibleไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้!!


เรื่อง ดร. อุทิส ศิริวรรณ

ภาพ ยุทธจักร

นับแต่อดีตแต่ไหนแต่ไรมางานบริหารจัดการสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยก็เรียกได้ว่าเป็นงานยากอยู่แล้ว  ยิ่งมาถึงยุคนี้และอนาคตข้างหน้าคำว่า Disruptive Education  ก็ยิ่งเพิ่มดีกรีความยากให้ท่วมทวีขึ้นไปอีกหลายเท่า

การจะทำให้ประเทศก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่สะดุดและหยุดยั้ง อย่างแรกคือการมีความสงบ เพื่อให้เกิดเสถียรภาพ ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ เพราะขณะนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ภาวะหัวเลี้ยวหัวต่อ และเป็นจุดหักเหสำคัญของประเทศ เพราะปัจจุบันมีหลายอย่างเกิดขึ้นในโลก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีความชัดเจนอย่างมาก ซึ่งทำให้ประเทศไทยสามารถก้าวสู่จุดที่เป็นได้ทั้งโอกาสและความท้าทาย ถ้าการเลือกไปในทิศที่ถูกทาง แต่ถ้าเลือกไปอย่างไม่เหมาะสมก็จะทำให้พลาดโอกาส ในขณะเดียวกันประเทศไทยก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทายและปัญหาสั่งสมที่มีอยู่เดิมที่ต้องแก้ไข เพราะอาจกลายเป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศได้ในอนาคตซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข เพื่อที่คนไทยจะได้รับประโยชน์ มีความอยู่ดีกินดี คือแนวนโยบายหลักของ ดร.อุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)

ภายใต้ภาพลักษณ์นักการเมืองป้ายแดงแกะกล่องของดร.อุตตม สาวนายน นักวิชาการสายแข็งผู้มีดีกรีการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นแนวหน้าของประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยภูมิหลังทางครอบครัวที่ไม่ธรรมดา และวันนี้ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม โดยเป็นหนึ่งในคีย์แมนสำคัญในทีมเศรษฐกิจของ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ผู้ที่ทั้งประเทศไทยเข้าใจได้ว่าคือผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศไทยในยุคสมัยรัฐมนตรี พลเอก.ประยุต จันทร์โอชา โดยดร.อุตตม สาวนายน ได้รับเลือกให้ทำหน้าที่หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พรรคการเมืองป้ายแดงแกะกล่องที่น่าจับตา ของสนามการเลือกตั้งแห่งปี 2562 นโยบายของพรรคพลังประชารัฐ ที่หลายคนเฝ้าติดตามว่า จะมีรูปร่างหน้าตาออกมาแบบไหนบ้างนั้น ดร. อุตตม เปิดเผยกับ นิตยสาร MBA ว่า

แม้ว่าพรรคพลังประชารัฐเราจะเป็นพรรคใหม่ แต่หากเราได้เข้ามาเป็นรัฐบาล มีโอกาสรับใช้พี่น้องประชาชน โดยยึดถือแนวนโยบายที่ตั้งอยู่บนความสงบสุข เราไม่ต้องการเข้ามาเพื่อการเมืองโดยการเมือง หมายความว่าเราไม่สนับสนุนการขัดแย้ง เราจะสนับสนุนการเคารพกติกาการเมือง กติกาสังคม พร้อมทั้งยึดมั่นใน 5 แนวทางสำคัญที่เป็นนโยบายหลักของพรรคเพื่อการพัฒนา ซึ่งประกอบไปด้วยเรื่อง สวัสดิการประชารัฐ ,สังคมประชารัฐ,เศรษฐกิจประชารัฐ, การต่างประเทศและนโยบายเรื่องการศึกษา”

สวัสดิการประชารัฐ

ดร.อุตตม เผยถึงแนวคิดเรื่องสวัสดิการประชารัฐว่า เราต้องการให้คนไทยมีโอกาสและทางเลือกสำหรับอนาคต ตลอดจนความมั่นคงในชีวิต ซึ่งเป็นไปได้ภายใต้การมีสวัสดิการที่ดี ที่เรียกว่าสวัสดิการประชารัฐ เป็นสวัสดิการที่คนไทยสมควรจะมี ทั้งเรื่องอาชีพ การสร้างรายได้ สาธารณสุข ที่อยู่อาศัยและการศึกษา เราจะทำการเติมเต็มให้ ภายใต้แนวคิดที่เราจะแบ่งเป็นกลุ่มตั้งแต่เกิด วัยทำงาน จนถึงผู้สูงวัย ตลอดชีพ โดยสวัสดิการที่มีอยู่ในวันนี้จะมีการเพิ่มเติมตามที่ควรจะเป็น และปรับให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

สังคมประชารัฐ

หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐกล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ภายใต้การมีความพร้อมในทางสวัสดิการ สิ่งที่ตามต่อมาก็จะเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งในแง่ของสังคม และเศรษฐกิจไปได้ควบคู่กัน สังคมก็คือคนไทย เมื่อโลกเปลี่ยนไป เราเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 คนไทยต้องเตรียมตัวเพื่อก้าวไปข้างหน้า แล้วสังคมควรจะเป็นอย่างไรนั้น เราต้องมองครอบคลุมไปมากกว่าเรื่องการศึกษา หรือจะเรียกว่า Next Gen skill Development คือทักษะที่คนไทยในเจเนอเรชั่นต่อไปควรจะมี คืออะไร ตั้งแต่ทักษะด้านการทำงาน ทักษะในการเรียนรู้ที่จะอยู่กับสังคม เราต้องการสร้างสังคมที่รู้จักแบ่งปัน รู้จักเกื้อกูล ให้โอกาสต่อกัน เหล่านี้ถือเป็นทักษะที่ต้องช่วยกันส่งเสริมและสร้างขึ้นมา

“เราต้องไม่มองแต่เรื่องเศรษฐกิจ หรือมองแต่สังคม เพราะต้องยอมรับว่าปากท้องกับเรื่องของสังคมนั้นแยกจากกันไม่ได้ สังคมไทยจะต้องการมีสภาพแวดล้อมที่ดี พรรคพลังประชารัฐจึงนำเสนอ “สังคมสีขาว” ที่หมายถึงสังคมที่ปลอดยาเสพติด ซึ่งเมื่อปลอดยาเสพติดแล้วก็จะเป็นสังคมที่ปลอดโรค และปลอดภัย

นโยบายการรับมือเรื่อง Aging Society ซึ่งเริ่มปรากฏในหลายประเทศทั่วโลก เริ่มก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดย ดร.อุตตม กล่าวถึงนโยบายเรื่องนี้ว่า “ต้องจัดสวัสดิการผู้สูงวัย ซึ่งหมายรวมไปถึงการสร้างโอกาส และการสร้างสังคม เพราะอย่างไรก็ตามผู้สูงวัยก็ยังเป็นกลุ่มคนที่มีกำลัง มีศักยภาพ วันนี้คนอายุยืนขึ้น เรื่องของโอกาสจึงเป็นเรื่องที่เรามุ่งเน้น และมองเห็น การสร้างโอกาสเรื่องงานและอาชีพให้กลุ่มผู้สูงวัยที่ยังมีกำลัง ความสามารถ เป็นสิ่งที่ไม่อาจละเลย”

หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงการดูแลในระดับชุมชนที่จะยิ่งเห็นได้อย่างชัดเจน เพราะในต่างจังหวัดชุมชนไทยมีศักยภาพสูง อย่างเช่นวิสาหกิจชุมชน Social Enterprise ผู้สูงวัยในวันนี้จึงมีบทบาทอย่างมาก ที่จะต้องเข้าไปช่วยสนับสนุน

ส่วนเรื่องสวัสดิการ ต้องมีการจัดสรรโดยเฉพาะในกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพซึ่งต้องให้การดูแล ผู้สูงวัยบางรายถึงแม้จะมีทุนทรัพย์แต่ก็ต้องไปดูในรายละเอียดว่า เข้าถึงแพทย์ และเข้าถึงการดูแลสุขภาพหรือไม่ โดยพรรคพลังประชารัฐจะคิดระบบให้เข้าถึงแพทย์ เข้าถึงยาได้โดยสะดวกทั่วประเทศ เป็นสวัสดิการที่สมควรจะมี ซึ่งต้องคิดไปพร้อมๆ กับเรื่องการเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์ในระดับพื้นที่ และระดับชุมชน

 

เศรษฐกิจประชารัฐ

ดร.อุตตม กล่าวถึงแนวทางของเรื่องนี้ว่า ต้องสร้างความสามารถและภูมิคุ้มกันที่เพียงพอ ที่ให้ประเทศและคนของเราสามารถจะเดินหน้าต่อในยุคที่โลกาภิวัตน์มีความเข้มข้น ส่งผลกระทบที่ชัดเจนรุนแรงและรวดเร็วมาก เรามีการพูดถึงโลกาภิวัตน์มาเป็นเวลากว่า 10 ปี และทุกวันนี้มีผลที่ปรากฏชัด มีรูปแบบออกมาหลากหลาย เศรษฐกิจไทยต้องปรับเปลี่ยน เราต้องก้าวให้ทัน ต้องเป็นเศรษฐกิจที่มีความสามารถ และมีความยืดหยุ่น

“เราถามตัวเองว่า ประเทศไทยมีจุดเด่นอะไร วันนี้ผมตอบได้เลยว่า เรามีทั้งจุดเด่น และจุดแข็งอยู่มาก เป็นประเทศพื้นฐานการเกษตร มีพืชผลเกษตรกรรมเด่นๆ หลายตัว บางครั้งเราอาจจะมองว่าสิ่งนั้นเป็นปัญหา เพราะที่ผ่านมาภาคเกษตรของเรามีรูปแบบการขายแบบยกล็อต เน้นไปที่ปริมาณ แต่ราคาที่ได้กลับถูกกำหนดจากปัจจัยภายนอก ซึ่งเป็นสถานการณ์จริงและเป็นความจริงที่สืบเนื่องต่อกันมาอย่างยาวนาน นั่นจึงเป็นสิ่งที่เราต้องปรับเปลี่ยนไปเป็นเกษตรแบบเพิ่มมูลค่า เป็นเกษตรที่ยั่งยืนให้ได้ เรามีแรงงานจำนวนมากในภาคเกษตรกรรม และเป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศไทยเรา เป้าหมายเรื่องนี้คือ การเปลี่ยนภาคเกษตรกรรมไปสู่ภาคเกษตรที่มีมูลค่าสูง”

นอกจากนี้ยังมี ภาคอุตสาหกรรมที่เป็นโจทย์ในการก้าวไปข้างหน้า โดยเรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัล 5G ที่กำลังจะมาถึง ไม่ได้เฉพาะเป็นแต่เพียงเรื่องของโทรคมนาคม แต่สำหรับแวดวงอุตสาหกรรม 5G เป็นเทคโนโลยีที่มีผลต่อห่วงโซ่การผลิต ห่วงโซ่อุปทาน เราต้องทำให้อุตสาหกรรมไทยมีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้ให้ได้โดยเร็ว และอย่างกว้างขวาง สร้างบุคลากร และแรงงานที่มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ให้มากขึ้น พรรคพลังประชารัฐ มีนโยบายที่กำหนดเป้าหมายชัดเจนแล้วว่าอุตสาหกรรมใดบ้าง และทำอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ครอบคลุมไปถึงผู้ประกอบการ SME และถึงวิสาหกิจชุมชน อย่างครบพร้อม

ทุกวันนี้มีบทพิสูจน์แล้วว่าคนตัวเล็กเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเทคโนโลยี เพราะคิดและทำได้อย่างรวดเร็ว” เมื่อเทคโนโลยีเข้ามา ต้องมีการทำงานเรื่อง ‘คน’ คู่ขนานไปพร้อมๆ กัน เพราะในห่วงโซ่การผลิต เมื่อมีระบบดิจิทัล มีระบบอัตโนมัติ ระบบ Robotic จะเกิดคำถามตามมาว่าแล้ว “คน” ของเราจะทำอะไร”

นโยบายในเรื่อง ‘คน’ มีอยู่ 2 ส่วน คือ

  1. เร่งยกระดับทักษะคนที่อยู่ในกระบวนการผลิต ซึ่งจะมีแนวทางดำเนินการเป็นแพลตฟอร์มระดับชาติ เพื่อปรับทักษะเหล่านี้ให้เหมาะสม และ
  2. สร้างฐานผู้ประกอบการใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี คือ Tech Startup เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการลดผลกระทบ (Disruption) จากเทคโนโลยีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งผู้ประกอบการใหม่หรือ Startup เป็นได้ทั้งผู้ประกอบการที่เกิดมาใหม่เลย หรือคนที่เคยอยู่ในอุตสาหกรรมผันตัวมาเป็นผู้ประกอบการใหม่ ซึ่งตอนนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้พัฒนาโครงการที่ชื่อว่า Thailand InnoSpace ซึ่งจะเป็นแพลตฟอร์มที่จะมาทำหน้าที่ส่งเสริมเรื่องผู้ประกอบการเริ่มใหม่ (Tech Startup) และส่งเสริมการมีนวัตกรรมในอุตสาหกรรมต่างๆ ตั้งแต่ระดับฐานราก เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะให้กับผู้ประกอบการใหม่ เพื่อเป็นโครงการที่จะดึงเอาเทคโนโลยีเข้ามาในประเทศไทย Thailand InnoSpace ประกาศจัดตั้งโดยมีพันธมิตรผู้ร่วมก่อตั้งทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ ทั้งจากฮ่องกง ญี่ปุ่น อิสราเอล และองค์กรใหญ่ของประเทศไทย ภายใต้เงินทุนเริ่มต้นที่ 500 ล้านบาท โดย Thailand InnoSpace นี้จะจัดตั้งเครือข่ายกับพันธมิตรในประเทศในภูมิภาคต่างๆ อาทิ EECi จังหวัดระยอง หรือ EEC ที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งเครือข่ายความร่วมมือนี้จะขยายออกไปในทุกภูมิภาค ซึ่งแพลตฟอร์มของ Thailand InnoSpace นี้จะเป็นคำตอบของการunlocked เรื่องนวัตกรรมของประเทศไทยที่ติดกับมาอย่างช้านาน

ดร.อุตตม กล่าวต่อ เรื่องมิติทางด้านพื้นที่ ซึ่งมีความสำคัญ เพราะเป็นเรื่องของการกระจายความเจริญให้กว้างขวางครอบคลุมทุกพื้นที่ นโยบายของพรรคจะต่อยอดในส่วนที่มีอยู่แล้ว เช่น EEC (Eastern Economic Corridor – เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก) ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อเป็นจุดเริ่มของการสร้างฐานความเจริญ เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจ โดยมีทั้งเรื่องของอุตสาหกรรม เรื่องการสร้างเมือง และเรื่องการพัฒนาคน ซึ่งเราจะปรับยอดให้เกิด EEC ในภูมิภาค เช่นภาคเหนืออาจจะเป็น ล้านนา 4.0 รวมไปถึงภาคอีสาน ภาคใต้ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งหมด ให้สอดรับกับจุดเด่น และวิถีในชุมชน เป็นการกระจายโอกาสเพื่อหลีกเลี่ยงการกระจุกตัวของการปรับเปลี่ยนรับความเจริญที่จะตามมา

วันนี้ทั่วโลกพูดถึงกระแส Urbanization คือการสร้างเมือง ที่เราไม่ได้หมายถึงเฉพาะการสร้างเมืองใหญ่เท่านั้น แต่ต้องสร้างเมืองรองขึ้นมาไปพร้อมๆ กัน และยึดโยงกับเมืองใหญ่ เพื่อให้ความเจริญกระจายตัว อย่างส่งเสริมและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ตัวอย่างที่เห็นชัดคือเรื่องการท่องเที่ยว เรามีเมืองหลักในการท่องเที่ยว และเป็นเมืองหลักที่เป็นฐานการผลิตด้วย เราก็จะมุ่งสร้างเมืองรองที่ยึดโยงกัน ตามนโยบาย 15 เมืองหลัก 15 เมืองรองทั่วประเทศ ผ่านเศรษฐกิจใหม่

ลงมาที่รากฐานชุมชน เราเข้าต้องเข้าให้ถึงการผลิตและขีดความสามารถในระดับชุมชน โดยเอาเทคโนโลยีเป็นตัวนำ ตั้งแต่ดิจิทัล ไปจนถึงเรื่องอีคอมเมิร์ซโดยจะทำให้เป็นระบบ โดยต่อไปจะเห็นภาพได้ว่าในเรื่องของเศรษฐกิจนั้น มี 3 มิติหลัก คือ 1. นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน และอุตสาหกรรม และที่สำคัญคือการเข้าถึงต้องเป็นไปอย่างอย่างเร็ว และเรื่องที่ 2. เรื่องคน จะเป็นเรื่องการสร้างทักษะใหม่ (New skill) ปรับเปลี่ยนทักษะที่มี (Re skill) สร้างผู้ประกอบการใหม่ขึ้นมา ลดผลกระทบของเทคโนโลยีที่เข้ามา Disrupt 3. เชิงพื้นที่ ก็คือการดูแลให้เกิดความครอบคลุม

“การที่เราเปลี่ยนเศรษฐกิจให้เป็นเศรษฐกิจที่สามารถมีความยืดหยุ่น มีการกระจายความเจริญ ทั้งในเชิงของอุตสาหกรรม พื้นที่ และคน เมื่อเกิดสถานการณ์ผันผวนจากโลกเราจะมีภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจที่จะต้านทานได้ แต่หากเรายังยึดอยู่กับอุตสาหกรรมเกษตร ที่ขายแต่เกษตรต้นทางเป็นหลัก เราจะหนีไม่พ้นปัญหาที่เราเคยเผชิญมาโดยตลอด เมื่อมีภูมิคุ้มกัน ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดเซไป แต่ส่วนอื่นยังยืนได้”

นโยบายต่างประเทศ

เป็นอีกเรื่องซึ่งสำคัญ ดร. อุตตมกล่าวว่า ประเทศไทยต้องมีจุดยืนที่คนไทยภาคภูมิใจได้ในเวทีนานาประเทศ ต้องสร้างขีดความสามารถที่จะค้าขายในเวทีโลกที่สามารถสะท้อนศักยภาพของประเทศไทย และคนไทย เพื่อให้ทั่วโลกสนใจ ไม่เพียงแต่ค้าขาย แต่มาร่วมมือเป็นพันธมิตร มาร่วมลงทุนกับเรา อย่างเป็นรูปธรรม

อย่างเช่น การสร้างพื้นที่ฐานการเจริญใหม่ เช่น EEC ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ เหล่านี้ในการสร้างเราจะยึดโยงพื้นที่เหล่านั้นไปจนถึงระดับเมืองหลัก เมืองรองระดับภูมิภาค ยกตัวอย่างล้านนา 4.0 จะโยงไปถึงทางใต้ของจีน ลาว และพม่า โดย EEC เองนั้นในทางพื้นที่ มีศักยภาพสูงมาก เป็นศูนย์กลางของ Transshipment Ports หมายถึงเป็นทั้งฐานอุตสาหกรรม และฐานคมนาคมในตัว ซึ่งเรามองว่าเรามีความสามารถเป็นฐานของเอเชียได้เลย ดังนั้นในการพัฒนาของเราจะมองในมิติของต่างประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยมีจุดยืนในเวทีโลกที่ชัดเจน

เมื่อถูกถามเรื่องความคิดเห็นถึงคุณสมบัติของผู้นำที่เหมาะสมในเวทีโลก ดร.อุตตม กล่าวตอบในเรื่องนี้ว่า ผู้นำที่จะเข้ามาทำงานทำการเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาในภาวะที่ประเทศอยู่ในจุดหัวเลี้ยวหัวต่อเช่นดั่งในช่วงนี้นั้น คือผู้ที่จะต้องสามารถนำพามาซึ่งความสงบให้กับประเทศได้ เพราะหากไม่มีความสงบเรียบร้อย ความคาดหวังในเรื่องการพัฒนาก็จะเกิดได้ยาก ถ้าหากเรายังเป็นแบบเดิมนั้นจะยาก เพราะจะไม่มีความเชื่อถือในสายตาของนานาประเทศ สถานการณ์ในวันนี้พอจะเห็นความเชื่อถือที่ชัดเจน เพราะมีความสงบแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้นำที่เหมาะสมนั้น สำคัญมากที่จะต้องสามารถฉายภาพให้เห็นได้ถึงในอนาคต ทั้งแนวคิด นโยบายและแนวทางที่เราจะก้าวไปอันเป็นเป้าหมายใหญ่ของประเทศ ไม่นับว่ายังจะต้องมีผลงานที่แสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ชัด จับต้องได้ เช่นนี้ต่างประเทศจึงจะให้ความเชื่อถือ มีความมั่นใจ และในที่สุดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ก็จะตาม และนั่นคือโอกาสอันดีของคนไทย และประเทศไทย

นโยบายด้านการศึกษา

หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าว “เป็นเรื่องการเตรียมคนเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งถือว่าเป็นมิติหลัก แนวทางของพรรค คือการสร้างแนวทางการศึกษาให้ตรงตามวัยกลุ่ม ตั้งแต่เริ่มต้น เพราะเรามองว่าการศึกษาเป็นเรื่องการสร้างความเติบโตของคนไทยแต่ละคน เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ไม่หยุดยั้ง ตั้งแต่เด็กจนโต รวมถึงการเรียนรู้ระหว่างทำงาน แม้กระทั่งในวัยชราก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องหยุดเรียนรู้ เรามีมาตรการและนโยบาย สำหรับแต่ละกลุ่ม อย่างสอดรับและเหมาะสม โดยยึดหลักว่า เป็นการศึกษาที่มาทำให้คนไทยแต่ละคนเติบโตต่อได้ และสร้างความภูมิใจในตนเอง อย่างมีคุณค่าในการร่วมพัฒนาสังคมและประเทศของเรา โดยหลักการนี้ การศึกษาต้องกระจายลงไปในพื้นที่ มีการส่งเสริมให้ในพื้นที่พัฒนาศักยภาพ และดูแลด้านการศึกษากันเองได้มากขึ้น และการปฏิรูปการศึกษาที่พูดถึงนี้เป็นการปฏิรูปทั้งระบบ เป็นการพัฒนาการศึกษาทั้งองคาพยพในพื้นที่ และยกระดับคุณภาพขึ้นมา ในขณะที่ส่วนกลางปรับบทบาท เป็นผู้ดูแลด้านคุณภาพ มาตรฐาน และสนับสนุนเรื่องคอนเทนท์

ความเห็นของ ดร.อุตตมะ ในเรื่องบทบาทของผู้สอนวันนี้ที่มองว่า Teacher จะต้องกลายมาเป็น Facilitator เพราะวันนี้นักเรียนหรือนักศึกษาสามารถหาข้อมูลต่างๆ ได้เองจากแหล่งข้อมูลหลากหลาย โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ ทำให้บทบาทและหน้าที่ของครูผู้สอนจึงต้องปรับเปลี่ยนเป็นเสมือนโค้ช หรือผู้ชี้แนะเพื่อการสังเคราะห์ข้อมูล แล้วชี้ทางว่าจากข้อมูลจะนำมาสู่การเป็นองค์ความรู้ได้อย่างไร และจะนำองค์ความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ซึ่งส่วนนี้เป็นโจทย์ที่ท้าทายและต้องเริ่มวันนี้เลย เพื่อให้เท่าทันกับโลกที่เปลี่ยนแล้ว"

และนี่คือนโยบายหลักที่ดร.อุตตมผู้นำทัพพรรคพลังประชารัฐ เตรียมไว้อย่างครอบคลุมการเข้าถึงคนทุกระดับ ทุกช่วงชีวิต ทุกเรื่องราว ซึ่งการต่อสู้ในสนามเลือกตั้ง ที่แข่งขันกันด้วยนโยบายพรรคการเมืองนั้น พรรคพลังประชารัฐ จะฝ่าฟันอุปสรรค คว้าความสำเร็จเดินชูธงคว้าชัยชนะเข้ามาเป็นรัฐบาลในสมัยหน้าได้หรือไม่ ยังเป็นเรื่องที่ต้องรอติดตาม ส่วนข้อกังวลในปัญหาการไม่เคารพกติกาในสนามการเมืองและการเลือกตั้งนั้น ดร.อุตตม สาวนายน กล่าวในตอนท้ายว่า

หากขอได้อยากขอให้ทุกพรรคเห็นร่วมกันในการเคารพกติกา เคารพในผลการเลือกตั้งที่ออกมา ใครชนะการเลือกตั้ง ได้จัดตั้งรัฐบาลก็ให้เป็นไปตามนั้น โดยการเคารพกติกาต้องทั้งระบบและนอกระบบ นอกสภา หมายถึงต้องไม่ทำอะไรที่ไม่ถูกกติกาทั้งใน และนอกสภา ซึ่งพรรคพลังประชารัฐเองก็จะไม่มีการทำอะไรแบบนั้น เราจะไปตามกรอบที่ถูกต้อง


เรื่อง กองบรรณาธิการ

ภาพ ภัทรวรรธน์ พงษ์บริพันธ์

ประมาณกันว่าผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อมหรือเอสเอ็มอีของไทยมีสัดส่วนอยู่เกิน 90 เปอร์เซ็นต์ มีการจ้างงานกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจทั้งหมดในประเทศ เอสเอ็มอีจึงมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศทั้งในด้านการสร้างงาน สร้างรายได้ และที่สำคัญธุรกิจขนาดกลางและย่อมคือจุดเริ่มต้นของธุรกิจขนาดใหญ่ที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต 

Page 4 of 4
X

Right Click

No right click