ความเป็นมาของโครงการฯ

จากวิกฤตการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลกในวงกว้างและกำลังขยายผลกระทบขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ หรือ “Net Zero” กลายเป็นหนึ่งในวาระระดับโลกที่หลายประเทศให้ความสำคัญ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด  ร่วมกับ บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) (SPRC) และ บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด ในฐานะบริษัทพลังงานระดับโลกที่มุ่งสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในทุกมิติ ได้ตระหนักถึงความเร่งด่วนของปัญหา จึงเดินหน้าให้การสนับสนุนเป้าหมายการลดปริมาณความเข้มข้นของการปล่อยคาร์บอนและเป้าหมาย “Net Zero” ของประเทศ ในปี พ.ศ. 2608 (ค.ศ. 2065)

สำหรับในประเทศไทย จังหวัดระยอง ในภาคตะวันออก ถือเป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญ และเป็นจังหวัดที่มีป่าชายเลนแพร่กระจายอยู่ตามชายฝั่งค่อนข้างมาก โดยป่าชายเลน ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญทั้งทางด้านนิเวศวิทยา เนื่องจากสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ และช่วยกักเก็บก๊าซเรือนกระจกตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งปัจจุบัน พื้นที่ป่าชายเลนในประเทศไทยสามารถดูดกลับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ปีละกว่า 9.4 ตันต่อไร่ (ข้อมูลกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง: 2566) อีกทั้งยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของชายฝั่งทะเลเนื่องจากเป็นแนวป้องกันชายฝั่งทะเลจากการกัดเซาะพังทลาย และกำบังคลื่นพายุอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพบว่าพื้นที่ป่าชายเลนนั้นมีอัตราลดลง รวมถึงสภาพป่าชายเลนบางพื้นที่นั้นยังขาดความอุดมสมบูรณ์

โครงการ “เติมพลังรักษ์ยั่งยืน สู่ผืนป่าไทย” (Foster Future Forests) ซึ่งเป็นโครงการจากความร่วมมือของ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด  ร่วมกับ บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) (SPRC) และบริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด จัดทำขึ้นเพื่อมุ่งเน้นการฟื้นฟูระบบนิเวศของพื้นที่ซึ่งยังไม่ได้รับการพัฒนาในบริเวณป่าชายเลนพระเจดีย์กลางน้ำ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เพิ่มพื้นที่สีเขียวดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ พร้อมส่งเสริมการอนุรักษ์ผ่านชุมชนสู่ความยั่งยืนทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมไปจนถึงเศรษฐกิจในชุมชนตลอดการดำเนินงาน เพื่อขยายผลสู่พื้นที่อื่นๆ ต่อไปในอนาคต เหล่านี้เป็นการตอกย้ำเป้าหมายของเชฟรอน และ SPRC ในพันธกิจลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมต่างๆ ในการดำเนินกิจการ หรือ Environmental Footprint (รอยเท้าทางนิเวศ) เพื่อสร้างผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนโดยรอบพื้นที่ในระยะยาว

 

ภาพรวมโครงการฯ

โครงการ “เติมพลังรักษ์ยั่งยืน สู่ผืนป่าไทย” (Foster Future Forests) เป็นโครงการระยะยาว ที่ริเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2566 ผ่านความร่วมมือของ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด กับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และจังหวัดระยอง พร้อมทั้ง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาระยอง องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง  เทศบาลนครระยอง เทศบาลตำบลเนินพระ สำนักงานประมงจังหวัดระยอง อำเภอเมืองระยอง  ประชาสัมพันธ์จังหวัดระยอง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานระยอง องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง เทศบาลนครระยอง เทศบาลตำบลเนินพระ ชุมชนเนินพระ วิสาหกิจชุมชนประมงเรือเล็กเก้ายอด วิสาหกิจท่องเที่ยวตำบลปากน้ำ และกลุ่มอนุรักษ์ฟื้นฟูแม่น้ำระยองและป่าชายเลนจังหวัดระยอง และมีที่ปรึกษาทางด้านวิชาการโดยสมาคมส่งเสริมพัฒนากำลังคนสเต็มเพื่ออนาคต (IAFSW) ในการดำเนินโครงการในพื้นที่ 100 ไร่ บริเวณป่าชายเลนพระเจดีย์กลางน้ำ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยเป็นพื้นที่ซึ่งยังไม่ได้รับการพัฒนาและมีสภาพแห้งแล้ง ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมุ่งสนับสนุนการลดคาร์บอน และสร้างความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของชุมชนในพื้นที่ ดังนี้

  1. ฟื้นฟูระบบนิเวศและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าชายเลน ผ่านการเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมเพิ่มที่อยู่อาศัยให้สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable Species) ไปจนถึงผลพลอยได้สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของจังหวัดระยองผ่านธรรมชาติที่สวยงามเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอนาคต
  2. สร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่งในชุมชน ผ่านการทำงานร่วมกับหน่วยงานในชุมชนอย่างใกล้ชิด อาทิ หน่วยงานภาครัฐจังหวัดระยอง โรงเรียน เยาวชน และกลุ่มผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ เพื่อสร้างการเชื่อมโยงกับชุมชน พร้อมให้ความรู้และเสริมทักษะของชุมชนและเยาวชนเกี่ยวกับการลดคาร์บอน ผ่านความร่วมมือกับโรงเรียนในพื้นที่ โดยจะนำไปสู่เป้าหมายในการสร้างอาชีพในอนาคตเพื่อเพิ่มรายได้และคุณภาพชีวิตแก่ชุมชน ทั้งในอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต
  3. ส่งเสริมด้านงานวิจัยผ่านการศึกษาและเรียนรู้จากธรรมชาติ (Nature-based learning) โดยติดตามและประเมินผลด้านนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม พร้อมวางแผนดำเนินงาน รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับหน่วยงานวิชาการเพื่อค้นคว้าวิจัย ศึกษา รวมถึงติดตามความคืบหน้าของโครงการผ่านข้อมูลที่พิสูจน์และเชื่อถือได้ อีกทั้งยังผสานนวัตกรรมและเทคโนโลยี เช่น การใช้โดรน เพื่อวัดผลสำเร็จเคร่งครัด สู่การต่อยอดและขยายผลสู่ต้นแบบโครงการอื่นๆ ต่อไป โดยร่วมมือกับพันธมิตรวิชาการผู้เชี่ยวชาญหลายภาคส่วน ได้แก่
    • คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่านการนำความเชี่ยวชาญด้านป่าไม้ และนิเวศวิทยา ประยุกต์ใช้ในการวางแผนดำเนินโครงการ รวมถึงประเมินพื้นที่ปลูกป่า เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและวัดผลได้จริง
    • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผสานความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและอุทกวิทยา เพื่อศึกษาและวางแผนโครงการฯ เกี่ยวกับการทำทางน้ำเพื่อลดพื้นที่แห้งแล้ง และแนวทางปฏิบัติเพื่อสร้างความยั่งยืนในระยะยาวสำหรับพื้นที่ป่าในเมือง
    • องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ให้บริการ ดูแล และกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการวัด การรายงาน และการทวนสอบ และให้การรับรองปริมาณการปล่อย การลด และการชดเชยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งทำงานร่วมกับโครงการฯ ในกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวัดผล เพื่อพัฒนาโครงการฯ สู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและมีมาตราวัดผลได้เชิงรูปธรรม
  1. ปลูกจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง โดยส่งเสริมให้ชุมชนในพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอาสาเพื่อส่งต่อจิตสำนึกด้านการตอบแทนสังคมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสู่ผู้คนรอบข้าง

จากเป้าหมายดังกล่าว ทางโครงการฯ ได้มุ่งทำงานและสร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้ได้รับผลประโยชน์หลายภาคส่วน อาทิ ชุมชนในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนครระยอง เทศบาลตำบลเนินพระ กรมเจ้าท่า กรมประมง ชุมชนเนินพระ กลุ่มอนุรักษ์ฟื้นฟูแม่น้ำระยองและป่าชายเลนจังหวัดระยอง วิสาหกิจชุมชนประมงเรือเล็กเก้ายอด วิสาหกิจท่องเที่ยวตำบลปากน้ำ เยาวชนในพื้นที่ ตลอดจนนักท่องเที่ยว

สำหรับการดำเนินโครงการในระยะแรก มุ่งเน้นการศึกษาพื้นที่ในโครงการฯ ร่วมกับหน่วยงานวิชาการอย่าง มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ไปจนถึงหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อวางแผนฟื้นฟูระบบนิเวศอย่างเป็นรูปธรรมและเน้นความยั่งยืน เช่น ศึกษาการนำเอาพืชพื้นถิ่นเข้ามาปลูก ศึกษาพื้นที่ทางน้ำและกระแสน้ำ รวมถึงวิเคราะห์คุณภาพดิน เพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์และฟื้นฟูตามความเหมาะสมที่แตกต่างกันของแต่ละพื้นที่ ศึกษาตัวชี้วัดความหลากหลายทางชีวภาพ ไปจนถึงประเมินความเสี่ยงในด้านต่างๆ จากแผนงานที่วางไว้

 

สำหรับการวางแผนในระยะถัดมา ทางโครงการฯ วางแผนยกระดับสร้างการรับรู้ในวงกว้างขึ้น พร้อมร่วมมือกับสถานศึกษาในระดับต่างๆ ในพื้นที่เพื่อเสริมองค์ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าชายเลนเข้าไปในหลักสูตร อีกทั้งวางแผนจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ป่าชายเลนเพื่อให้ผู้ที่สนใจ คนในชุมชน รวมถึงนักท่องเที่ยว ได้ร่วมทำกิจกรรม และร่วมเสวนาในประเด็นเกี่ยวกับการฟื้นฟูป่าในเมือง ตลอดจนจัดทำสื่อการศึกษาเพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของป่าชายเลนและการอนุรักษ์ระบบนิเวศจากสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน

นอกจากนี้ ในด้านการศึกษาติดตามความคืบหน้า เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทางโครงการฯ ได้มุ่งวัดผลเชิงลึกเพื่อประเมินเป้าหมายของปริมาณการดูดซับคาร์บอนสำหรับป่าชายเลนในพื้นที่ และประเมินการเปลี่ยนแปลงในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านการผสานเทคโนโลยีมาช่วยวัดผลอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้โดรนเพื่อวัดความสูงของต้นไม้และวัดอัตราการเติบโตในแต่ละปี ไปจนถึงการเปรียบเทียบจำนวนพื้นที่สีเขียวที่เพิ่มขึ้นมาคำนวณปริมาณการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อชดเชย โดยข้อมูลดังกล่าวถือเป็นองค์ความรู้สำคัญเพื่อการต่อยอดขยายผลในพื้นที่อื่นต่อไปในอนาคต พร้อมทั้งจัดฝึกอบรมด้านการจัดการคาร์บอนเครดิต ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อสร้างอาชีพให้แก่ชุมชนในอนาคต

พร้อมกันนี้ โครงการฯ ยังมีแผนสำหรับการนำข้อมูลที่ได้ศึกษามาพัฒนากิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อให้ภาครัฐ ชุมชน โรงเรียน พนักงานเชฟรอน และพนักงานบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) (SPRC) เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ อาทิ กิจกรรมปลูกป่า ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ การสร้างทางน้ำ ทำคอนโดปู ไปจนถึงจัดทำบอร์ดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับป่าชายเลน และยกระดับการรับรู้เกี่ยวกับโครงการในวงกว้างผ่านการจัดเสวนาวิชาการ หรือสื่อสารผ่านสื่อหลากหลายช่องทาง เพื่อสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับโครงการฯ และความสำคัญของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อบรรเทาผลกระทบสู่สิ่งแวดล้อมต่อไป

 

ความยั่งยืนของโครงการฯ

เช่นเดียวกับหลากหลายโครงการเพื่อสังคมของทั้ง 3 องค์กร โครงการ “เติมพลังรักษ์ยั่งยืน สู่ผืนป่าไทย” (Foster Future Forests) มุ่งดำเนินการในระยะยาวร่วมกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญในการนำนวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงเทคโนโลยีและวิธีการศึกษา วิจัย และวัดผลเชิงวิชาการมาใช้ เพื่อให้สามารถวางแผนการดำเนินงานได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถวัดผลสำเร็จได้จริง พร้อมมุ่งทำงานร่วมกับภาครัฐเพื่อเสริมแกร่งเครือข่ายชุมชน และปลูกฝังจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนในพื้นที่สามารถต่อยอดผลประโยชน์จากโครงการดังกล่าว รวมถึงสามารถดูแลอนุรักษ์พื้นที่ป่าชายเลนต่อไปในอนาคตหลังจากส่งมอบพื้นที่เมื่อสิ้นสุดโครงการฯ

นำกำไรทั้งหมด บริจาคให้โรงพยาบาลวชิรพยาบาล เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์

แต้มสี เติมฝัน สร้างสุขอนามัย ส่งเสริมการออมให้น้อง

เอไอเอ ประเทศไทย โดย นายสุวิรัช พงศ์เสาวภาคย์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการภายนอก เป็นตัวแทนรับโล่ประกาศเกียรติคุณจาก พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี และประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” ในโอกาสที่เอไอเอ ประเทศไทย สนับสนุนกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุ จำนวน 320 กรมธรรม์ ให้แก่เยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี สตูล และ 4 อำเภอของสงขลา ภายใต้โครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” รุ่นที่ 41 ซึ่งได้นำเยาวชนกว่า 320 คน มาใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวอุปถัมภ์ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวอุปถัมภ์และชุมชนสังคมพหุวัฒนธรรม ทำให้เยาวชนได้รับประสบการณ์ตรง และมีความรู้ความเข้าใจบริบทของสังคมในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น โดยความคุ้มครองอุบัติเหตุนี้ จะช่วยให้เยาวชนและครอบครัวของเยาวชน ได้มีความอุ่นใจในขณะที่ต้องเดินทางมาทำกิจกรรมและใช้ชีวิตในพื้นที่ต่างภูมิลำเนา ซึ่งการมอบความคุ้มครองดังกล่าว ยังสอดคล้องกับนโยบายด้านความยั่งยืน (ESG) ของเอไอเอ และความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนให้ผู้คนกว่าพันล้านคนมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้นตามคำมั่นสัญญา ‘Healthier, Longer, Better Lives’ ผ่านกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ อันเป็นการเดินตามพันธกิจ “AIA One Billion” อีกด้วย โดยพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณดังกล่าว จัดขึ้น ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ สโมสรทหารบก (ส่วนกลาง) วิภาวดี

ทั้งนี้ โครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ที่ได้ดำเนินการรุ่นที่ 1 ตั้งแต่ปี 2548 โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการของมูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ มูลนิธิรักเมืองไทย และมูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กองทัพทุกเหล่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างโอกาสให้เยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กำพร้า หรือ ด้อยโอกาสทางการศึกษา ได้เดินทางไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตของครอบครัวอุปถัมภ์ในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สานต่อบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (สส.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ส่งต่อคุณค่าขยะอินทรีย์อบแห้งกว่า 10,000 กิโลกรัม สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน พัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

การส่งมอบขยะอินทรีย์อบแห้งในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ทางศูนย์ฯ สิริกิติ์ ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ สส. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการขยะ ตั้งแต่ต้นทางด้วยการนำขยะอินทรีย์อบแห้งภายในพื้นที่ของศูนย์ฯ สิริกิติ์ ผ่านกระบวนการแปรรูปแล้วนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาวิจัย และส่งเสริมการเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับวิสาหกิจชุมชน เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนในระยะยาวต่อไป

 

ม.ร.ว.สวัสดิวุฒิ สวัสดิวัตน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จํากัด ผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กล่าวว่า “ศูนย์ฯ สิริกิติ์ มีความยินดีที่ได้สานต่อข้อตกลงร่วมกับ สส. ในการส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการขยะอาหารจากการจัดอิเวนต์ โดยการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้สร้างคุณค่าให้กับเศษอาหาร โดยนำกลับมาหมุนเวียน ทำเป็นขยะอินทรีย์อบแห้ง ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งต่อสู่ชุมชนในการนำไปเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย เพื่อกำจัดขยะอินทรีย์ ทำเป็นปุ๋ยสำหรับปลูกต้นไม้ และพืชผัก และยังสร้างรายได้ให้กับชุมชนควบคู่ไปกับการช่วยลดก๊าซเรือนกระจก อันเนื่องมาจากขยะ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคมต่อไป

“ระยะ 1 ปีที่ผ่านมา ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ได้นำขยะอาหารมาแปรรูปด้วยการอบแห้ง เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับวิสาหกิจชุมชน ซึ่งศูนย์ฯ สิริกิติ์สามารถส่งต่อขยะอบแห้งให้กับสส. และวิสาหกิจชุมชนกว่า 10,000 กิโลกรัม ทำให้เกิดการหมุนเวียน และลดของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จนนำไปสู่การไม่มีของเสีย เป็นการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายให้กับวิสาหกิจชุมชน รวมถึงยังช่วยลดขยะอาหารของศูนย์ฯ สิริกิติ์ได้ถึง 55,797 กิโลกรัม เทียบเท่าการปลูกต้นไม้มากกว่า 15,686 ต้นต่อปี และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 141,174 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี (kgCO2e/yr)”

ปัญญา วรเพชรายุทธ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “ทางกรมฯ ได้ดำเนินการตามนโยบายขององค์กรสหประชาชาติที่กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ว่าด้วยเรื่องของขยะอาหารที่ขอให้แต่ละประเทศร่วมกันลดปริมาณขยะอาหารลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2573 ซึ่งนับเป็นโอกาสอันดีที่กรมฯ และศูนย์ฯ สิริกิติ์ได้ดำเนินความร่วมมือสอดรับกับนโยบายของ UN ในการลดขยะอาหารเพื่อลดภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นหนึ่งในการดำเนินงานที่นำไปสู่ความสำเร็จในเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

ศูนย์ฯ สิริกิติ์ในฐานะผู้นำอิเวนต์ด้านความยั่งยืน ยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าสู่การเป็นสถานที่จัดงานที่คำนึงถึงชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม และพร้อมผลักดันธุรกิจอิเวนต์ของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ม.ร.ว. สวัสดิวุฒิ สวัสดิวัตน์ (ซ้าย) รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ ผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และนายปัญญา วรเพชรายุทธ (ขวา) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สานต่อบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน ลงพื้นที่ส่งต่อคุณค่าขยะอินทรีย์อบแห้งกว่า 10,000 กิโลกรัม สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจอิเวนต์ไทยให้เติบโต อย่างยั่งยืน ณ ออแกนิสต้า ฟาร์ม จ.ปทุมธานี

ปูนลูกดิ่ง และปูนจิงโจ้ โดยบริษัท ควิกโคท โปรดักส์ จำกัด ไม่นิ่งนอนใจ

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สานต่อบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (สส.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ส่งต่อคุณค่าขยะอินทรีย์อบแห้งกว่า 10,000 กิโลกรัม สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน พัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

การส่งมอบขยะอินทรีย์อบแห้งในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ทางศูนย์ฯ สิริกิติ์ ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ สส. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการขยะ ตั้งแต่ต้นทางด้วยการนำขยะอินทรีย์อบแห้งภายในพื้นที่ของศูนย์ฯ สิริกิติ์ ผ่านกระบวนการแปรรูปแล้วนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาวิจัย และส่งเสริมการเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับวิสาหกิจชุมชน เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนในระยะยาวต่อไป

ม.ร.ว.สวัสดิวุฒิ สวัสดิวัตน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จํากัด ผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  กล่าวว่า “ศูนย์ฯ สิริกิติ์ มีความยินดีที่ได้สานต่อข้อตกลงร่วมกับ สส. ในการส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการขยะอาหารจากการจัดอิเวนต์ โดยการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้สร้างคุณค่าให้กับเศษอาหาร โดยนำกลับมาหมุนเวียน ทำเป็นขยะอินทรีย์อบแห้ง ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งต่อสู่ชุมชนในการนำไปเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย เพื่อกำจัดขยะอินทรีย์ ทำเป็นปุ๋ยสำหรับปลูกต้นไม้ และพืชผัก และยังสร้างรายได้ให้กับชุมชนควบคู่ไปกับการช่วยลดก๊าซเรือนกระจก อันเนื่องมาจากขยะ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม ชุมชน  และสังคมต่อไป”

ระยะ 1 ปีที่ผ่านมา ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ได้นำขยะอาหารมาแปรรูปด้วยการอบแห้ง เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับวิสาหกิจชุมชน ซึ่งศูนย์ฯ สิริกิติ์สามารถส่งต่อขยะอบแห้งให้กับสส. และวิสาหกิจชุมชนกว่า 10,000 กิโลกรัม ทำให้เกิดการหมุนเวียน และลดของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จนนำไปสู่การไม่มีของเสีย เป็นการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายให้กับวิสาหกิจชุมชน รวมถึงยังช่วยลดขยะอาหารของศูนย์ฯ สิริกิติ์ได้ถึง 55,797 กิโลกรัม เทียบเท่าการปลูกต้นไม้มากกว่า 15,686 ต้นต่อปี และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 141,174 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี (kgCO2e/yr)

ปัญญา วรเพชรายุทธ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “ทางกรมฯ ได้ดำเนินการตามนโยบายขององค์กรสหประชาชาติที่กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ว่าด้วยเรื่องของขยะอาหารที่ขอให้แต่ละประเทศร่วมกันลดปริมาณขยะอาหารลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2573 ซึ่งนับเป็นโอกาสอันดีที่กรมฯ และศูนย์ฯ สิริกิติ์ได้ดำเนินความร่วมมือสอดรับกับนโยบายของ UN ในการลดขยะอาหารเพื่อลดภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นหนึ่งในการดำเนินงานที่นำไปสู่ความสำเร็จในเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

ศูนย์ฯ สิริกิติ์ในฐานะผู้นำอิเวนต์ด้านความยั่งยืน ยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าสู่การเป็นสถานที่จัดงานที่คำนึงถึงชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม และพร้อมผลักดันธุรกิจอิเวนต์ของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับจังหวัดขอนแก่น จัดพิธีมอบหมวกนิรภัยให้นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น การดำเนินงาน “จังหวัดขอนแก่นขับขี่ปลอดภัย 365 วัน” บริเวณโถง ชั้น 1 อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ในการนี้ รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวต้อนรับผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น โดยระบุว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ขับเคลื่อนงานเพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนมาโดยตลอด  ทั้งในส่วนของการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้  การกำหนดมาตรการเพื่อความปลอดภัย เสริมสร้างวัฒนธรรมในการขับขี่อย่างปลอดภัย ให้กับนักศึกษาและบุคลากร  รวมทั้งพัฒนานวัตกรรมด้านความปลอดภัยทางการจราจร ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยมาอย่างต่อเนื่อง

การที่จังหวัดขอนแก่น โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ประกาศวาระ “จังหวัดขอนแก่นขับขี่ปลอดภัย 365 วัน” และนำหมวกนิรภัย จำนวน 500 ใบมาส่งมอบให้นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นในวันนี้ นับเป็นโอกาสอันดียิ่ง ที่จะช่วยเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมการขับขี่จักรยานยนต์อย่างปลอดภัย  เป็นส่วนผลักดันที่สำคัญ ในการลดความรุนแรงจากการบาดเจ็บ ลดความสูญเสียในชีวิต และทรัพย์สินของนักศึกษา ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติร่วมในพิธีมอบหมวกนิรภัยให้นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น และขอต้อนรับทุกท่าน ด้วยความยินดียิ่ง

ขณะที่ รศ.เพียรศักดิ์ ภักดี รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ กล่าวรายงานว่า ตามที่จังหวัดขอนแก่นได้ประกาศวาระ จังหวัดขอนแก่นขับขี่ปลอดภัย 365 วัน การสวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็น นักเรียน นักศึกษา ที่มีอายุระหว่าง 15 – 22 ปีนั้น สอดคล้องกับนโยบายด้านความปลอดภัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ได้จัดทำกิจกรรมรณรงค์เพื่อส่งเสริมป้องกัน รวมถึงการสร้างความตระหนักในการป้องกันการบาดเจ็บจากการใช้รถใช้ถนนของนักศึกษา และบุคลากรมาโดยตลอด

ด้าน นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ประธานในพิธี กล่าวว่า ทางจังหวัดจึงได้ดำเนินงาน “จังหวัดขอนแก่นขับขี่ปลอดภัย  365 วัน” มาต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยนอกจากการให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายจราจรแล้ว จังหวัดขอนแก่นยังดำเนินการแจกหมวกนิรภัยซึ่งเป็นหนึ่งในการป้องกันอุบัติเหตุ โดยตลอด 2 เดือนที่ทำโครงการมาพบว่า สถิติผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุลดลงจริงถึงครึ่งหนึ่ง และคาดว่าในเดือนสุดท้ายของโครงการจะมีตัวเลขลดลงต่อไป

หากขับขี่แล้วสวมหมวกนิรภัยอย่างน้อยจะช่วยลดอาการบาดเจ็บจากหนักเป็นเบา ป้องกันการสูญเสีย เพราะเรื่องอุบัติเหตุไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ หวังว่าหมวกนิรภัยนี้จะช่วยปกป้องชีวิตของน้อง ๆ ให้ขับขี่ได้อย่างปลอดภัย ขอบคุณอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มาให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น และขอบคุณมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ได้ร่วมผลักดันให้จังหวัดขอนแก่นกลายเป็นจังหวัดสวมหมวกกันน็อก 100%

ภายในงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น และผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ยังได้เป็นเกียรติมอบรางวัลแก่ นายวิทวัส นามคำมูล และนายนพพล ช่างชัย นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ ชั้นปีที่ 2 ผู้ได้รับรางวัลจากการประกวดโปสเตอร์รณรงค์และประชาสัมพันธ์การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ภายใต้หัวข้อ “การสวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์” จัดโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย

จากนั้นผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น และผู้บริหารจังหวัดขอนแก่น ได้ร่วมมอบหมวกนิรภัยให้แก่ตัวแทนนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยตัวแทนนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ชั้นปีที่ 3 ระบุว่า ในมหาวิทยาลัยขอนแก่นนักศึกษาใช้รถมอเตอร์ไซค์เยอะ โดยเฉพาะช่วงนี้ที่ฝนตก หากมีอุปกรณ์ที่มาช่วยป้องกันอุบัติเหตุให้เราได้แบบนี้ก็เป็นเรื่องที่ดีมาก ซึ่งนอกจากแจกหมวกกันน็อกแล้ว มหาวิทยาลัยยังได้จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายจราจรและอบรมเกี่ยวกับใบขับขี่มาอย่างต่อเนื่อง ขอบคุณทางมหาวิทยาลัยที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของนักศึกษาจริง ๆ

มุ่งรักษาระบบนิเวศทางทะเลเพื่อความยั่งยืน สอดคล้องกับภารกิจองค์กรตั้งเป้าคาร์บอนเป็นศูนย์

พร้อมส่งมอบ “ผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก” ต่อเนื่องปีที่ 24 มากกว่าความอบอุ่น คือสังคมแห่งการให้ที่ยั่งยืน

X

Right Click

No right click