เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ เอสซีจีซี (SCGC) ผู้นำตลาดเคมีภัณฑ์ระดับภูมิภาคที่มุ่งเติบโตทางธุรกิจควบคู่กับการสร้างความยั่งยืน ตามแนวทาง ESG (Environmental, Social and Governance) ผนึกกำลังความร่วมมือจัดกิจกรรม วันอนุรักษ์ชายฝั่งสากล หรือ International Coastal Cleanup 2023 ประจำปี 2566 ร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม จ.ระยอง กว่า 25 องค์กร โดยมีจิตอาสาจากทุกภาคส่วนร่วมกิจกรรมเก็บขยะชายหาดกว่า 2,800 คน เพื่อลดปัญหาขยะที่หลุดรอดลงสู่ทะเล ฟื้นฟูความสมบูรณ์ให้ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งส่งเสริมการนำทรัพยากรกลับมาหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน  โดยมีนายพิเชษฐ์ ตั้งปัญญารัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ระยอง โอเลฟินส์ จำกัด ในธุรกิจ SCGC เป็นผู้แทน SCGC ร่วมพิธีเปิดกิจกรรมในครั้งนี้ และได้รับเกียรติจาก ว่าที่ร้อยตรีพิรุณ เหมาะรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยองให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด

SCGC ตระหนักถึงปัญหาขยะที่หลุดรอดสู่ทะเลและสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลเท่านั้น แต่ยังกระทบไปถึงวิถีชีวิตของชุมชนประมงพื้นบ้านและชุมชนริมชายฝั่ง รวมทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศอีกด้วย โดย SCGC มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูและสร้างสมดุลให้กับระบบนิเวศทางทะเลเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมถึง ชุมชน เยาวชน และพนักงานจิตอาสา ผ่านการนำ นวัตกรรมเพื่อพิทักษ์ทะเล” (Innovation for Better Marine) มาช่วยยกระดับการแก้ไขปัญหา และขับเคลื่อนภารกิจพิทักษ์ทะเลด้วย “โมเดล 3 พร้อมเพื่อท้องทะเล ซึ่งเชื่อมโยงและครอบคลุมตลอดทั้งกระบวนการจัดการ ได้แก่ “พร้อมใจ ไม่ทิ้งขยะลงแหล่งน้ำ และคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง ผ่านโครงการ “ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ” ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน พร้อมเก็บเก็บขยะที่หลุดรอดมาสู่ชายหาดและแม่น้ำลำคลอง ด้วยนวัตกรรมทุ่นกักขยะลอยน้ำ และกิจกรรมเก็บขยะชายหาด  พร้อมเติบโต เพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยนวัตกรรมบ้านปลา SCGC เป็นต้น

วันอนุรักษ์ชายฝั่งสากล หรือ International Coastal Cleanup Day (ICC Day) จัดขึ้นทุกปี ในวันเสาร์ที่ 3 ของเดือนกันยายน ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมเก็บขยะชายหาดพร้อมกันทั่วโลก โดยจังหวัดระยองได้จัดกิจกรรมดังกล่าวต่อเนื่องเป็นปีที่ 21 แล้ว สำหรับปี 2566 นี้ มีการพัฒนาชายหาด 3 พื้นที่ ตั้งแต่หาดแหลมเจริญต่อเนื่องไปจนถึงหาดสุชาดา ระยะทางประมาณ 10.2 กิโลเมตร บริเวณหาดน้ำริน หาดพยูน หาดพลา ระยะทางประมาณ 4.6 กิโลเมตร รวมไปถึงบริเวณหาดแม่รำพึง ที่มีระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร สามารถรวบรวมปริมาณขยะได้ จำนวนมากกว่า 6 ตัน มีสมาชิกจิตอาสาจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่ายภาคประชาชน และชุมชนใกล้เคียง เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 2,800 คน โดยข้อมูลของขยะที่เก็บได้จะถูกส่งไปยังองค์กรอนุรักษ์ท้องทะเล (Ocean Conservancy) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อรวมกับข้อมูลการเก็บขยะชายหาดจากประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ปัญหาขยะในทะเลในระยะยาวอย่างยั่งยืน 

ขับเคลื่อน “Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน” สนับสนุนเงินทุน 100 ลบ.

SCB CIO หนุนผู้ประกอบการและนักลงทุนไทย ตระหนักถึงความสำคัญของ Green Taxonomy พร้อมดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องและมุ่งเน้นสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยสถาบันการเงินมีแนวโน้มนำเสนออัตราดอกเบี้ยที่จูงใจมากขึ้น สนับสนุนบริษัทที่ออกตราสารหนี้ ที่ทำกิจกรรมเศรษฐกิจสอดคล้องกับ Taxonomy ส่วนนักลงทุนสถาบันมุ่งออกแบบผลิตภัณฑ์การเงิน นำเสนอกองทุนที่คำนึงถึงปัจจัยด้าน ESG ด้านนักลงทุนรายย่อย หันมาเน้นลงทุนกับผลิตภัณฑ์การเงินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขานรับเป้าหมายประเทศไทยมุ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 ขณะที่ล่าสุด ไทยได้มีการประกาศ Thailand Taxonomy ระยะที่ 1 โดยกิจกรรมเศรษฐกิจเป้าหมายกลุ่มแรก คือ ภาคพลังงานและขนส่งซึ่งก๊าซคาร์บอนรวมกันเกือบ 70% ของทั้งหมด

ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าทีม SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ภูมิภาคหลักๆ ในโลกได้จัดทำมาตรฐานกลางที่เกี่ยวข้องกับ สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล(ESG) โดยระบุเงื่อนไขอย่างชัดเจนและโปร่งใสเพื่อนำไปใช้อ้างอิงในการช่วยจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจประเภทต่างๆ โดยเฉพาะหมวดธุรกิจที่มีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Green Taxonomy)

โดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในตลาดเงินตลาดทุนไทย ควรทำความเข้าใจและนำไปปรับใช้ เนื่องจากจะช่วยให้ผู้ที่ต้องการลงทุนในโครงการหรือกองทุน ESG รวมทั้งนักลงทุนหรือสถาบันการเงินที่ต้องการปล่อยสินเชื่อให้โครงการ ประเมินได้ว่าควรลงทุนในโครงการไหน ด้วยเม็ดเงินเท่าไหร่ และรู้เท่าทันในการดำเนินการด้าน ESG อย่างแท้จริง ส่วนบริษัทจดทะเบียนที่ต้องการระดมทุนจัดทำโครงการ ก็จะสามารถชี้แจงและส่งสัญญาณให้ผู้ลงทุน หรือ สถาบันการเงินทราบได้ว่าโครงการที่กำลังระดมทุนอยู่ มีการดำเนินการอย่างจริงจังและมีผลต่อการบริหารจัดการทางด้าน ESG อย่างไร

ทั้งนี้ SCB CIO วิเคราะห์มาตรฐานด้าน Green Taxonomy ของกลุ่มประเทศต่างๆ ได้แก่ EU Taxonomy . ASEAN Taxonomy และ Thailand Taxonomy พบว่า EU Taxonomy เป็นต้นแบบกฎหมาย Green Taxonomy ของทั่วโลก ที่เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่เดือน ก.ค. 2020 เป็นกฎหมายกำหนดนิยามและจัดหมวดหมู่กิจกรรมเศรษฐกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี2050เน้นลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การใช้และปกป้องทรัพยากรน้ำและทะเลอย่างยั่งยืน การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน การป้องกันและควบคุมมลพิษ และการปกป้องและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ หัวใจสำคัญของ EU Taxonomy คือต้องการจัดการปัญหาการฟอกเขียว (Greenwashing) เพื่อช่วยให้ผู้ที่มีส่วนร่วมในตลาดเงินตลาดทุน ลงทุนในสินทรัพย์ที่ยั่งยืนได้อย่างมั่นใจ ทั้งยังกำหนดหน้าที่การเปิดเผยข้อมูลเชื่อมโยงกับ Taxonomy ไว้ให้บริษัทและผู้มีส่วนร่วมในตลาดเงินต้องปฏิบัติตามด้วย

ส่วน ASEAN Taxonomy ไม่ได้เป็นกฎหมาย แต่มีลักษณะเป็นมาตรฐานกลางเพื่อให้ประเทศสมาชิกในภูมิภาคนำไปปรับใช้และดำเนินการจัดทำกฎหมายหรือข้อบังคับ Taxonomy ของประเทศตัวเอง โดยมีวัตถุประสงค์ใกล้เคียงกับ EU Taxonomy แต่มุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนคำมั่นสัญญาของกลุ่มอาเซียน ในการปฏิบัติตามข้อตกลงปารีส (Paris

Agreement) และข้อตกลงในระดับชาติ ซึ่งไม่ได้ระบุชัดเจนในประเด็นปกป้องทรัพยากรน้ำและทะเล และป้องกันควบคุมมลพิษ

สำหรับ Thailand Taxonomy มีวัตถุประสงค์การสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม 6 ข้อ ได้แก่ 1.การลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2) การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3) การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน 4) การอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ 5) การป้องกันและควบคุมมลพิษ และ 6) การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน และการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่ง Thailand Taxonomy มีการระบุกิจกรรมเศรษฐกิจที่นำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน คือ หลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเป้าหมายแรกคือ ภาคพลังงานและขนส่ง ซึ่งปล่อยก๊าซคาร์บอนรวมกันเกือบ 70% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั้งหมด

ในส่วนของ ประเทศไทย ได้ให้คำมั่นสัญญาในการประชุม UN Climate Change Conference ครั้งที่ 26 ว่า ไทยจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero ) ภายในปี 2065 ขณะที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ตั้งเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ จากการดำเนินงานภายในปี 2030 และจากการให้สินเชื่อ และการลงทุนภายในปี 2050

ทั้งนี้ Green Taxonomy จะทำให้บริษัทจดทะเบียนต้องพยายามปรับเปลี่ยนหรือดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ Taxonomy มากขึ้น ขณะที่สถาบันการเงินขนาดใหญ่มีแนวโน้มต้องมุ่งเน้นนำเสนออัตราดอกเบี้ยที่จูงใจมากขึ้น รวมทั้งสนับสนุนบริษัทที่ออกตราสารหนี้ เพื่อกิจกรรมเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับTaxonomyและนักลงทุนสถาบัน จะต้องประยุกต์ใช้Taxonomyกับการออกแบบผลิตภัณฑ์การเงิน เช่น ลงทุนในกิจกรรมที่สอดคล้องกับTaxonomy นำเสนอกองทุนที่คำนึงถึงปัจจัยด้าน ESG เพราะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่ยั่งยืนของสหภาพยุโรป (Sustainable Finance Disclosure Regulation)

ส่วนนักลงทุนรายย่อย เมื่อหันมาเน้นลงทุนกับผลิตภัณฑ์การเงินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จะเป็นแรงผลักดันให้ผู้ให้บริการต้องแก้ไขข้อกำหนดการบริหารพอร์ตลงทุน และการให้คำแนะนำลงทุนโดยพิจารณาเรื่องความยั่งยืน ควบคู่กับความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงมากขึ้น รวมทั้งนำเสนอผลิตภัณฑ์สำหรับนักลงทุนรายย่อย ที่เน้นสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมหรือหลีกเลี่ยงการลงทุนที่สร้างผลกระทบในทางตรงกันข้ามกับวัตถุประสงค์ Taxonomy ซึ่งจะนำไปสู่โอกาสของบริษัทที่ดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจสอดคล้องกับ Taxonomy ในการเข้าถึงนักลงทุนรายย่อยได้มากขึ้น

นางสาววิสาข์ ธนวิภาคย์ (กลาง) ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายแบรนด์และสื่อสารองค์กร บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด เป็นตัวแทนมอบเสื้อผ้าสิ่งของของพนักงานเอปสัน ประเทศไทย ให้แก่มูลนิธิกระจกเงา เพื่อใช้ในโครงการด้านสังคมต่างๆ ของมูลนิธิฯ ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการ “Make The Switch” ของพนักงานเอปสันทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพนักงานของเอปสันนำเสื้อผ้าและสิ่งของมาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อเป็นการรณรงค์การนำเสื้อผ้าและสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วไปแลกเปลี่ยนกับเพื่อนร่วมงาน เพื่อเพิ่มโอกาสในการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) และนำส่วนหนึ่งมาบริจาคแก่ผู้ด้อยโอกาสผ่านทางมูลนิธิกระจกเงา เพื่อสอดคล้องและขานรับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาว “Environmental Vision 2050” ของไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น

นายวัชชระ ชินเศรษฐวงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษไทย กล่าวถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษว่า ทิศทางของหลายประเทศทั่วโลกขณะนี้ มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ทั้งในเรื่องการลดการใช้พลังงาน การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดการเกิดของเสียจากการผลิต รวมถึงสนับสนุนการใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ กระดาษจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง เพราะเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้และนำมารีไซเคิลใช้ใหม่ได้ ทำให้หลายธุรกิจและอุตสาหกรรมเริ่มกลับมาใช้กระดาษเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์มากขึ้น ซึ่งกระดาษในวันนี้ได้ถูกพัฒนาด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้มีทั้งความคงทน แข็งแรง ตอบสนองต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมได้ในหลายรูปแบบ แนวโน้มดังกล่าวส่งผลให้อุตสาหกรรมกระดาษเริ่มกลับมาเติบโตอีกครั้ง หลังได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล

นอกจากนั้น อุตสาหกรรมกระดาษยังได้รับผลบวกจากการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มกระดาษคราฟท์ ที่มีสัดส่วนการผลิตกว่า 80% และใช้วัตถุดิบที่ได้จากการรีไซเคิลกระดาษปีละหลายล้านตันได้รับผลดีตามไปด้วย ซึ่งภูมิภาคเอเชียยังคงเป็นกลุ่มผู้บริโภคและผู้ผลิตอันดับต้นของโลก โดยเฉพาะอาเซียนที่เป็นฐานการผลิตของหลายอุตสาหกรรม ทำให้ไทยกลายเป็น HUB และเป็นศูนย์กลางของอาเซียนที่หลายประเทศให้ความสำคัญ รวมถึงผู้อยู่ในอุตสาหกรรมกระดาษจากทั่วโลก

งาน ASEAN Paper Bangkok 2023 ในครั้งนี้ มีความสำคัญต่ออนาคตของอุตสาหกรรมกระดาษไทยและโลกเป็นอย่างมาก นอกจากจะเป็นงานฯ ที่เป็นการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ เจรจาธุรกิจการค้าร่วมกันแล้ว ยังมีกิจกรรมที่ส่งเสริมความร่วมมือ พร้อมกำหนดแนวโน้มทิศทางของอุตสาหกรรมกระดาษในอนาคตร่วมกันอีกด้วย

นายพรรธระพี ชินะโชติ ประธานกรรมการร่วม อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย กล่าวถึงการจัดงาน ASEAN Paper Bangkok 2023 ว่า อาเซียนมีประชากรมากถึง 680 ล้านคนในปี 2565 เป็นตลาดขนาดใหญ่ มีการบริโภคสูง เป็นฐานการผลิตสินค้าสำคัญของโลก โดยมีกระดาษเข้าไปเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหรือเป็นบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ ดังนั้นการจัดงานฯ ในครั้งนี้จึงดึงดูดความสนใจจากบริษัทชั้นนำจากทั่วโลกให้มารวมกันอยู่ที่ประเทศไทย เพื่อจัดแสดงตั้งแต่วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เครื่องจักร โซลูชั่น นวัตกรรมเทคโนโลยี และผลิตภัณฑ์กระดาษประเภทต่างๆ ที่ครบวงจร

ที่สุดของภูมิภาค โดยแนวคิดในการจัดงานครั้งนี้ คือ “เทคโนโลยีการผลิตกระดาษเพื่อความยั่งยืนและโซลูชั่นสำหรับธุรกิจของอนาคต” (Sustainable Paper Production Technology & Solution for Future Business) ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มและทิศทางของธุรกิจและอุตสาหกรรมของโลก

โดยไฮไลท์ของงานฯ ในครั้งนี้ คือ การเปิดพื้นที่โซนจัดแสดงงานใหม่ในกลุ่มกระดาษลูกฟูกและกระดาษรีไซเคิล (Corrugated and Paper Recycling) ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์กลุ่มใหญ่ของอุตสาหกรรมกระดาษ และในการจัดงานยังได้รับความร่วมมือจากองค์กรธุรกิจสำคัญในอุตสาหกรรมทั้งไทยและนานาชาติ อาทิ Federation of ASEAN Pulp and Paper Industries (FAPPI), The Australasian Pulp and Paper Technical Association (Appita) จากประเทศออสเตรเลีย, Indian Agro & Recycled Paper Mills Association (IARPMA) จากประเทศอินเดีย, Myanmar Pulp And Paper Industry Association (MPPIA) จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์, Vietnam Pulp and Paper Association (VPPA) จากประเทศเวียดนาม, Printing and Packaging Industry Club (FTI) กลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ The Thai Pulp and Paper Industries Association (TPPIA) สมาคมอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษไทย จากประเทศไทย

รวมทั้งยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกมากมายภายในงาน ไม่ว่าจะเป็นการประชุมในหัวข้อ ทิศทางอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษในอนาคต The Future of Tissue and Paper Forum การบรรยายพิเศษเจาะลึกอุตสาหกรรมกระดาษกับ Technical Insights และ Executive Insights The World’s Market Trend of Pulp and Paper Industry ฯลฯ ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้มีบริษัทชั้นนำจากทั่วโลกเข้าร่วมจัดแสดงงานกว่า 200 ราย และคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมชมงานมากกว่า 3,000 ราย จึงอยากเชิญชวนให้ผู้ประกอบการและผู้สนใจในอุตสาหกรรมกระดาษให้เข้ามาเยี่ยมชมงาน ซึ่งจะสามารถนำไปพัฒนา สร้างมูลค่า และต่อยอดธุรกิจได้เป็นอย่างดี

งาน ASEAN Paper Bangkok 2023 เริ่มแล้ววันนี้ - 1 กันยายน 2566 ณ ฮอลล์ 4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.aseanpaperbangkok.com

นายรวินทร์ บุญญานุสาสน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย และ นายสุเมธ ภิญโญสนิท ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด (CPP) พร้อมด้วยผู้แทนจากองค์กรพันธมิตร ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง “โครงการร่วมศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดการก๊าซเรือนกระจก ในรูปแบบแพลตฟอร์มจัดการก๊าซเรือนกระจกครบวงจรเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ที่บริษัท ข้าว ซี.พี. จำกัด (โรงงานข้าวนครหลวง) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566

ธนาคารกรุงไทย ในฐานะธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของประเทศ มุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเงินเพื่อตอบโจทย์คนไทยทุกกลุ่ม และสนับสนุนการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เพื่อมุ่งสู่แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน โดยแพลตฟอร์มจัดการก๊าซเรือนกระจกนี้ ธนาคารคาดหวังว่าจะเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถตอบโจทย์ธุรกิจ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ มีต้นทุนที่เหมาะสม และมีกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ โดยธนาคารและพันธมิตรจะร่วมกันศึกษาและพัฒนา แนวทางการดำเนินธุรกิจในด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในองค์กรอย่างครบวงจร เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยและสามารถนำมาใช้ได้จริง

นอกจากนี้ มีการเชื่อมโยงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านมาตรฐานการวัดค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการรับรองกิจกรรม ภายใต้การดำเนินการโครงการความร่วมมือครั้งนี้ เพื่อให้เกิดกลไกการชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset) ที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศและสากล ตลอดจนศึกษาความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตของแต่ละองค์กร เพื่อนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ภายใต้มาตรฐานโครงการการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายหรือนโยบายที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN) ในเป้าหมายที่ 13 (Climate Action) เรื่องการปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น

ครั้งแรก ย้อนประวัติศาสตร์สุโขทัย  ปลุกความภาคภูมิใจคนไทยรักชาติ  ศาสนา พระมหากษัตริย์ และวัฒนธรรม

พฤกษา โฮลดิ้ง เดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การรักษาทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างยั่งยืน

บมจ.กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต ในฐานะผู้นำบริษัทฯ ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม หรือ Green Insurer ร่วมกับมูลนิธิ ลากูน่า ภูเก็ต และศูนย์วิจัยทรัพยากรทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน นำโดย คุณสุกัญญา อิสรานุวัฒน์ชัย รองประธานอาวุโส ฝ่ายสื่อสารการตลาดและภาพลักษณ์องค์กร (คนขวา) คุณแอนโทนี่ เลาะห์ รองประธานบริหาร ลากูน่ากรุ๊ป (คนซ้าย) พนักงานในเครือลากูน่า และชาวบ้านคลองเคียง ร่วมกันปลูกป่าชายเลน ภายใต้โครงการ Save Our Sea ณ โรงเรียนคลองเคียนรัฐราษฏร์รังสรรค์ จ.พังงา

นอกจากนั้น กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต และพันธมิตรยังมีจุดมุ่งหมายร่วมกันผ่านความมุ่งมั่นใส่ใจสิ่งแวดล้อม และเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมทะเลของประเทสไทย รวมถึงเป็นแรงขับเคลื่อน ส่งเสริม และกระตุ้นการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และรักษาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล (Climate Change & Biodiversity) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในเจตนารมณ์ของบริษัทฯ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และส่งเสริมการพัฒนาพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะอยู่เคียงข้าง คุ้มครอง พร้อมใส่ใจสิ่งแวดล้อม

X

Right Click

No right click