ธุรกิจ Business Analytics & Development บริษัท เอ้ก ดิจิทัล ให้บริการโซลูชันที่ปรึกษาด้านข้อมูลและวิเคราะห์บิ๊กดาต้าครบวงจรที่ขับเคลื่อนด้วย AI “Business Analytics as a Service - Powered by AI Engine” รุกชิงส่วนแบ่งตลาดบิ๊กดาต้ามูลค่า 14,000 ล้าน เดินหน้าให้บริการใน 5 อุตสาหกรรมหลัก “ค้าปลีก-ธุรกิจสื่อ-การเงิน-ประกัน-ยานยนต์” ซึ่ง Data Science และเทคโนโลยี AI, Machine Learning ขั้นสูงของ EGG Digital จะเป็นขุมพลังที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรธุรกิจนั้นๆ อย่างตรงจุด โดยพร้อมดูแลและจัดการข้อมูลได้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ มอบบริการแบบ End-to-End มีความยืดหยุ่นสูง วางแผน กำหนดกลยุทธ์ และออกแบบจัดการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงลึกได้หลากหลายมิติ ตอบอินไซต์และการดำเนินงานตามโจทย์ทางธุรกิจ เสริมศักยภาพความแข็งแกร่งการแข่งขันให้กับองค์กรต่างๆ ช่วยเพิ่มรายได้-ลดต้นทุน-ลดความเสี่ยง โดย EGG Digital ตั้งเป้ารายได้เติบโตก้าวกระโดด 30% ในปี 2566 นี้

 

นายวรภัทร งามเจตวรกุล ผู้จัดการทั่วไปธุรกิจ Business Analytics & Development บริษัท เอ้ก ดิจิทัล จำกัด กล่าวว่า “ธุรกิจยุคใหม่ต่างหันมาให้ความสำคัญกับการใช้ข้อมูลและมีความต้องการขับเคลื่อนธุรกิจด้วย Data-Driven Analytics โดยใช้ประโยชน์จากบิ๊กดาต้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งเอ้ก ดิจิทัล ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์เชิงลึกจากข้อมูลขนาดใหญ่และ ผู้ให้บริการที่ปรึกษาทางธุรกิจ ได้นำเสนอบริการให้คำปรึกษาด้านข้อมูลและวิเคราะห์บิ๊กดาต้าครบวงจรที่ขับเคลื่อนด้วย AI หรือ Business Analytics as a Service - Powered by AI Engine เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจตลอดเส้นทางให้กับองค์กรธุรกิจ เพิ่มรายได้ ลดต้นทุน และลดความเสี่ยง โดยที่ผ่านมาเอ้ก ดิจิทัล ได้เข้าไปช่วยจัดการข้อมูลในด้านต่าง ๆ ให้กับหลากหลายธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจรีเทลชั้นนำขนาดใหญ่ และ FMCG รวมกว่า 200 แบรนด์ ซึ่งเราได้นำผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีขั้นสูงเข้าไปช่วยจัดการกับข้อมูล พร้อมสร้างคุณค่าในหลากหลายมิติ อาทิ เพิ่มอัตราเติบโตเฉลี่ย (Growth), อัตราส่วนยอดขายต่อค่าใช้จ่าย (Sales to Cost Ratio), ค่าเฉลี่ยอัตราตอบรับการตลาดจากลูกค้า (Conversion) ให้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ”

ธุรกิจ Business Analytics & Development ภายใต้เอ้ก ดิจิทัล ดำเนินงานโดยวางจุดยืนเป็นพาร์ทเนอร์คู่คิดของทุกธุรกิจในทุกสเกล มีบริการครอบคลุมทั้งด้านให้คำปรึกษาทางธุรกิจ (Business Consult) และด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) โดยใช้หลักการ “Always-on Power of Two” เป็นหัวใจสำคัญในการให้บริการคือ ผสานความเข้าใจ การวิเคราะห์ บริบททางธุรกิจ (Business Context) และการใช้ศาสตร์ด้านข้อมูลขั้นสูง (Advanced Data Science) ทั้ง Cloud Computing, AI ซึ่งรวมถึงการใช้ Generative AI, และ Machine Learning ที่สามารถออกแบบบริการและ Customize ให้ตอบโจทย์แต่ละธุรกิจอย่างเหมาะสมด้วยรูปแบบ Business Analytics as a Service - Powered by AI Engine พร้อมมีผู้เชี่ยวชาญดูแลแบบ End-to-End ตั้งแต่การสำรวจปัญหาและความต้องการ นำดาต้าของลูกค้าผนวกกับบิ๊กดาต้าของเอ้ก ดิจิทัล เพื่อวิเคราะห์เชิงลึกเป็นอินไซต์ทางธุรกิจ รวมถึงสามารถออกแบบกลยุทธ์และข้อเสนอแนะที่สร้างผลลัพธ์เชิงบวกที่ยั่งยืนให้กับลูกค้าด้วยอัตราค่าบริการที่เหมาะสม

โดยบริการ Business Analytics as a Service – Powered by AI Engine ของเอ้ก ดิจิทัล ประกอบด้วย 5 บริการหลัก ได้แก่ 1. Data Management as a Service – บริการดูแลจัดการข้อมูลครบวงจร (Data Discovery, Cleansing, Consolidation, Cloud, Query, Visualization) 2. Data Platform & Enrichment as a Service – บริการ Data Mart, Customer Data Platform (CDP),

Analytics Platform ทั้งแบบมาตรฐานและแบบ customize, Data Enrichment บริการข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์รอบด้าน (Customer 360/720 องศา) 3. Data Analytics as a Service – บริการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกทุกมิติ ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน เชิงบรรยาย (Descriptive), เชิงการพยากรณ์แนวโน้ม (Predictive), และขั้นสูงแบบให้คำแนะนำ เชิงการประมวลฉากทัศน์และผลลัพธ์ในแง่มุมต่าง ๆ (Prescriptive) ด้วยเทคโนโลยี AI และ ML 4. Business Consulting as a Service – บริการให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีข้อมูลที่เชื่อมโยงกับกลยุทธ์และการดำเนินธุรกิจโดยผู้ที่มีประสบการณ์ตรงกับธุรกิจต่าง ๆ 5. Customer Experience Enhancement as a Service – บริการให้คำปรึกษา วางแผนกลยุทธ์ และดำเนินการด้านการพัฒนาประสบการณ์ลูกค้า (CX/CI) รวมถึงเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน และ Touchpoints ต่าง ๆ

 

นายวรภัทร กล่าวต่อว่า “จากผลสำรวจพบว่า ตลาด Big Data Analytics มีอัตราการเติบโต 12-15% ต่อปี* โดยคาดการณ์ว่า ในปีนี้ตลาดจะมีมูลค่าประมาณกว่า 14,000 ล้านบาท ซึ่งมองว่า ตลาดบิ๊กดาต้าในประเทศไทยยังมีโอกาสทางการตลาดอยู่อีกมาก เมื่อเทียบกับตลาดในเอเชียและตลาดโลก ดังนั้น ในช่วงครึ่งปีหลังนี้ บริษัทฯ ได้วางแผนที่จะขยายการให้บริการในธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้น โดยมุ่งเป้าไปที่ 5 ธุรกิจหลักที่มีความต้องการใช้บิ๊กดาต้าในการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างมาก ได้แก่ ธุรกิจค้าปลีก หลังจากช่วงโควิด-19 ธุรกิจรีเทลแบบออฟไลน์เริ่มกลับมาคึกคักมากขึ้น การใช้บิ๊กดาต้าจะเข้าไปช่วยกำหนดโมเดลทางการตลาดไม่ว่าจะเป็น 4Rs (Recognize, Remember, Recommend, Relevance) และ 4Ps เพื่อทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจง ตอบอินไซต์ผู้บริโภคได้มากขึ้น ธุรกิจสื่อ กลับมาฟื้นตัวได้อย่างน่าสนใจโดยเฉพาะการใช้สื่อแบบ O2O2O ที่เกิดจากการวิเคราะห์ บิ๊กดาต้าและวัดผลการใช้สื่อได้อย่างครบลูป ธุรกิจการเงิน มีการนำบิ๊กดาต้ามาใช้มากที่สุดผ่าน FinTech อาทิ การวิเคราะห์ Credit Scoring และการประมวลผลเพื่อการดำเนินงานที่ดีที่สุด พร้อมทั้งการลดความเสี่ยงของธนาคารและสถาบันการเงิน เพื่อธุรกิจรายย่อยจนถึงรายใหญ่ ธุรกิจประกัน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างโดดเด่น มีการนำบิ๊กดาต้ามาใช้เพื่อนำเสนอบริการและเบี้ยประกันที่หลากหลาย ตรงตามพฤติกรรมลูกค้ากรมธรรม์ที่เปลี่ยนไปได้อย่างดี และธุรกิจยานยนต์ ซึ่งคำนึงถึงการมอบประสบการณ์ตั้งแต่ก่อนขาย ระหว่างการขาย และหลังการขายด้วยการใช้บิ๊กดาต้า”

“บริษัทฯ มั่นใจว่าบริการ Business Analytics as a Service - Powered by AI Engine จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพลิกธุรกิจลูกค้าในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ สู่ Data-driven เพื่อสามารถเพิ่มยอดขาย ลดค่าใช้จ่าย และลดความเสี่ยงในการตัดสินใจ โดยบริษัทฯ จะให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลข้อมูลของลูกค้าด้วยมาตรฐาน 3 ชั้น เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าข้อมูลจะถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีที่สุด ทั้งการกำกับดูแลข้อมูลภายในให้เป็นไปตามมาตรฐานระดับสูง การกำกับดูแลข้อมูลตามพรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พรบ. การแข่งขันทางการค้า และมาตรฐานทางกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล รวมถึงการใช้เทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมขั้นสูงเพื่อป้องกันการรั่วไหลและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยตั้งเป้าปีนี้ เพิ่มรายได้ธุรกิจ Business Analytics & Development เติบโต 30% ปีนี้ ขยายจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้น 10% และช่วยดันตลาดบิ๊กดาต้าไทยเติบโตต่อเนื่อง” นายวรภัทร กล่าวทิ้งท้าย

TMB Analytics ประเมินว่าในปี 2562 ธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งจะเติบโต 5% โดยธุรกิจค้าส่งคาดว่าเติบโตในระดับต่ำ ในขณะที่ธุรกิจค้าปลีกคาดว่าจะพอเติบโตได้ แต่การเติบโตกระจุกตัวอยู่ในช่องทางผ่านร้านโมเดิร์นเทรดและช่องทางออนไลน์ แนะหากต้องการอยู่รอดอย่างยั่งยืน ต้องเร่งปรับตัวนำเทคโนโลยีมาใช้

ทุกวันนี้ธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่ง เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ มีสัดส่วนถึง 16% ของจีดีพี โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (2551-2561) เติบโตเฉลี่ยกว่า 6.8% ต่อปี และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยในช่วง 15 ปีหลังจากมีการใช้อินเทอร์เน็ตในภาคธุรกิจ ทำให้การแข่งขันทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากโมเดลการค้าแบบดั้งเดิมเริ่มเปลี่ยนแปลงไป เกิดช่องทางการตลาดที่ต้นทุนต่ำลง เนื่องจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทำให้การเชื่อมต่อผู้ผลิตไปยังผู้บริโภครายย่อยได้ง่ายขึ้น ทำให้เกิดการค้าผ่านระบบ E-Commerce ซึ่งผู้บริโภคสามารถชำระค่าสินค้าผ่านระบบ E-Payment ได้อย่างสะดวก นอกจากนี้ผู้ผลิตและผู้ค้ายังสามารถส่งสินค้าไปยังลูกค้ารายย่อยได้รวดเร็วและตรงเวลาผ่านการใช้บริการของบริษัทขนส่งโลจิสติกส์ เทรนด์นี้ก่อให้เกิดการเติบโตของจำนวนร้านค้าปลีกออนไลน์ที่ไม่มีหน้าร้านมากขึ้น นอกจากนี้ในตัวธุรกิจเองก็มีการแข่งขันที่สูงพิจารณาจากจำนวนสาขาของร้านโมเดิร์นเทรดประเภทต่างๆ ที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ประเมินว่าปี 2562 จีดีพีการค้าปลีกและการค้าส่งจะขยายตัว 5% ชะลอตัวลงจากปีก่อนที่ขยายตัว 8.5% โดยยอดขายธุรกิจค้าส่งจะเติบโตได้ต่ำ เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวลง สินค้าที่เติบได้ยังคงเป็นกลุ่มสินค้าไม่คงทนเป็นหลักได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค อาหาร ยารักษาโรคและเวชภัณฑ์ ในขณะยอดขายธุรกิจค้าปลีกคาดว่าจะขยายตัวได้ราว 3-5% โดยช่องทางค้าปลีกที่เติบโตจะอยู่ในร้านค้าโมเดิร์นเทรด ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งมีจุดเด่นเป็นแหล่งรวบรวมสินค้าประเภทต่างๆ ให้ผู้บริโภคได้จับจ่ายใช้สอย นอกจากนี้ ร้านค้าปลีกออนไลน์ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เติบโตและเป็นที่นิยมสูงจากผู้บริโภคในยุคนี้

สำหรับร้านค้าปลีกที่คาดว่าจะไม่สามารถเติบโตได้อย่างในอดีตคือ ร้านค้าปลีกดั้งเดิม รวมไปถึงร้านค้าปลีกสินค้าเฉพาะอย่าง อาทิเช่น ร้านค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ในครัวเรือน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป นิยมซื้อของผ่านร้านโมเดิร์นเทรด หรือซื้อผ่านร้านค้าออนไลน์มากขึ้น

โดยรวมแล้ว แม้ปีนี้แนวโน้มธุรกิจค้าปลีกและการค้าส่งภาพรวมจะพอขยายตัวได้บ้าง แต่หากแยกตามประเภทของผู้ค้าพบว่า แนวโน้มผู้ค้าส่งดูไม่ค่อยดีเท่าไหร่นัก ข้อบ่งชี้ที่เห็นได้ชัดเจน ได้แก่ การรุกทำตลาดของผู้ผลิตที่เริ่มใช้กลยุทธ์ลดสัดส่วนการขายผ่านผู้ค้าส่งหันไปขายผ่านร้านค้าปลีกรายย่อยแทน รวมไปถึงใช้ช่องทางออนไลน์เพื่อเชื่อมกับผู้บริโภคออนไลน์เพิ่มขึ้น ผลที่เกิดขึ้นคือ ยอดขายผ่านการค้าส่งลดลงต่อเนื่อง และหากมองในแง่ของระดับการทำกำไรใน 5 ปีที่ผ่านมาพบว่าอัตรากำไรสุทธิเฉลี่ยอยู่ในระดับทรงตัวอยู่ที่ 3.4-3.9% ในขณะที่ผู้ค้าปลีกก็มีกำไรสุทธิทรงตัวเช่นกันอยู่ที่ 4.7-4.8% แต่ยอดขายผู้ค้าปลีกยังขยายตัวได้อยู่

ศูนย์วิเคราะห์ฯ ประเมินผลกระทบจากเทรนด์ดังกล่าว “ผู้ค้าส่งจะเป็นกลุ่มที่ได้รับกระทบสูงที่สุด” เนื่องจากผู้ผลิตเริ่มมองการปรับกลยุทธ์ขายสินค้าไปยังร้านค้าปลีกมากขึ้น ด้าน “ผู้ค้าปลีกมีแนวโน้มที่จะถูกแข่งขันจากร้านค้าปลีกที่เพิ่มขึ้น รวมถึงผู้ค้าปลีกออนไลน์ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก” ฉะนั้นโจทย์สำคัญของผู้ค้าปลีกและค้าส่ง คือ “จะทำอย่างไรให้ลูกค้าพึงพอใจในสินค้าและการบริการและเพิ่มช่องการขายออนไลน์มากขึ้นภายใต้ต้นทุนที่แข่งขันได้” เรามองว่ากลุ่มผู้ค้าส่งเป็นกลุ่มที่น่าห่วงที่สุด ต้องเร่งปรับตัวด้วยการอาศัยจุดแข็งความได้เปรียบด้านสถานที่ตั้ง มีสถานที่เก็บสินค้าของตนเอง และมีความเชี่ยวชาญในระบบขนส่งสินค้า ซึ่งสามารถต่อยอดด้วยการนำเทคโนโลยีระบบการจัดการสินค้าคงคลังมาใช้เพื่อบริหารจัดการปริมาณสินค้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม นอกจากนี้ผู้ค้าส่งอาจต้องพิจารณาเพิ่มช่องทางการขายปลีกของตนเองเพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดมากขึ้น จะเห็นว่าธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง ในวันนี้และพรุ่งนี้ “เป็นธุรกิจที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป และจำเป็นต้องเร่งปรับตัวด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้”

X

Right Click

No right click