เมื่อเร็วๆนี้ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทยได้รับรางวัลด้านตราสารหนี้ยอดเยี่ยมจากเวทีระดับประเทศและระดับภูมิภาครวม 7 รางวัล จากการบริการทางการเงินที่โดดเด่นและหลากหลาย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดตราสารหนี้ในประเทศไทย

นายพิศาล ขัตติโยทัยวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Head of Investment Banking ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “เรารู้สึกป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลที่ครอบคลุมความสำเร็จด้านตราสารหนี้ที่ได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงในตลาดการเงินในปีนี้ รางวัลเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ของธนาคารในการนำเสนอโซลูชันทางการเงิน และบริการให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการผู้ออกตราสารหนี้ ผู้ลงทุนสถาบัน และผู้ลงทุนรายใหญ่  ธนาคารมีองค์ความรู้ มีความสามารถในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ มีความเชี่ยวชาญ และสามารถนำเสนอวิธีการระดมทุนด้วยการกู้ยืม (debt financing) รวมถึงโซลูชันในการระดมทุนต่างๆที่มีประสิทธิภาพ พร้อมตอบสนองต่อความต้องการในการระดมทุนของลูกค้า เรายืนหยัดที่จะสนับสนุนการให้บริการและโซลูชันทางการเงินที่มีคุณภาพสูง ควบคู่ไปกับการสร้างสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้นกับลูกค้า เพื่อผลักดันให้ลูกค้าของเราเดินหน้าไปสู่ความสำเร็จและเป็นไปตามแผนการเติบโตในอนาคต” 

จากผลงานในปี 2566 ที่ผ่านมา ทำให้ธนาคารยูโอบี ประเทศไทยคว้า 4 รางวัลอันทรงเกียรติจากองค์กรในตลาดทุนระดับประเทศ และนิตยสารทางเงินชั้นนำระดับนานาชาติจากบทบาทอันโดดเด่นในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้แต่เพียงรายเดียวสำหรับการออกหุ้นกู้ขนาดใหญ่ 2 รายการ ได้แก่

  • Best Sustainability-Linked Bond Thailand จากนิตยสาร The Asset และBest Corporate ESG Bond of the Year in Thailand จากสมาคมตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) จากการจำหน่ายหุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืนของบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) จำนวน 2 ชุด ที่มูลค่าเสนอขายรวม 1,000 ล้านบาท ถือเป็นหุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืนครั้งแรกของบริษัทที่อยู่ในกลุ่มที่มีธุรกิจทั้งโลจิสติกส์ นิคมอุตสาหกรรม สาธารณูปโภคและพลังงานของประเทศไทย
  • Best Corporate Bond - Thailand by The Asset และBest Property Deal in Southeast Asia จากนิตยสาร Finance Asia – จากการจำหน่ายหุ้นกู้ของ บริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ มหาชน (จำกัด) จำนวน 2 ชุด ที่มูลค่าการเสนอขายรวม 8,000 ล้านบาท ถือเป็นธุรกรรมการออกหุ้นกู้ขนาดใหญ่ที่สุดของธุรกิจในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยในปี 2566

นอกจากนี้ยูโอบีได้รับรางวัลจาการนำเสนอโซลูชันทางการเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในด้านตราสารหนี้รวมอีก 3 รางวัล ประกอบด้วย   Best New Bond – Thailand จากนิตยสารThe Asset กับ Best Inaugural Bond Deal in Southeast Asia และ Best Local Currency Bond Deal of the Year in Thailand  จากนิตยสาร The Alpha Southeast Asia จากการเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ร่วมของบริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) ที่มีมูลค่าการเสนอขายรวม 15,000 ล้านบาท และ Best Bond Deal for Retail Investor in Southeast Asia จากนิตยสาร The Alpha Southeast Asia จากการเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ร่วมของบริษัทเอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด ที่มีมูลค่าการเสนอขายรวม 31,500 ล้านบาท   

มุ่งสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอีไทย ในทุกอุตสาหกรรมเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียว

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เปิดตัวโครงการ Sustainability Innovation หรือ SIP ประจำปี 2024 จัดโดย ยูโอบี ฟินแล็บ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ของไทยในทุกภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการนำความยั่งยืนมาสู่ธุรกิจ โดยใช้ประโยชน์จากเครือข่ายที่กว้างขวางของยูโอบี ฟินแล็บ (UOB FinLab) ซึ่งประกอบด้วยพันธมิตรจากภาครัฐ เอกชน ผู้ให้คำปรึกษา และ SMEs

โครงการ SIP ประกอบด้วย 3 โมดูลหลัก ซึ่งจัดทำขึ้นโดยความร่วมมือกับพันธมิตรในอุตสาหกรรม ได้แก่ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI), PwC ประเทศไทย,องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ โครงการยั่งยืนนิยม ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 29 และ 30 พฤษภาคม 2567 ที่กรุงเทพฯ โดยประกอบด้วยเวิร์กชอปและมาสเตอร์คลาสที่ออกแบบมาสำหรับ SMEs ไทยที่ผ่านการคัดเลือกมากกว่า 200 ราย ซึ่ง SMEs ที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับความรู้และข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับกฎระเบียบด้านความยั่งยืน เครื่องมือวัดผล ตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social and Governance - ESG) แนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม และขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อเริ่มต้นการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียว

จากรายงาน UOB Business Outlook Study 20241 พบว่า การนำแนวทางปฏิบัติ ESG มาใช้ในประเทศไทยนับเป็น 1 ใน 5 ลำดับความสำคัญทางธุรกิจที่องค์กรให้ความสำคัญอย่างมากในช่วง 1-3 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ธุรกิจประมาณ 3 ใน 10 ระบุว่า จำเป็นต้องมีการสนับสนุนเพิ่มมากขึ้นในส่วนของการเชื่อมโยงกับองค์กรอื่นๆ ในภาคอุตสาหกรรม รวมไปถึงคำแนะนำสำหรับการปรับใช้มาตรฐาน ESG และแนวทางปฏิบัติในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน

นายบัลลังก์ ว่องธวัชชัย Head of Digital Engagement and FinTech Innovation ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ปัญหาโลกร้อนส่งผลให้องค์กรต่างๆ ทั่วโลกจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจและการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืน จากผลสำรวจ UOB Business Outlook Study พบว่าโดยทั่วไปแล้วองค์กรธุรกิจในไทยมองว่าการปรับใช้แนวทางความยั่งยืนคือปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีกับองค์กร (ร้อยละ 56) ช่วยดึงดูดนักลงทุน (ร้อยละ 50) และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในการทำงานร่วมกับองค์กรขนาดใหญ่ (ร้อยละ 42)

“SMEs ตระหนักมากขึ้นถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว โครงการ SIP รวบรวมพันธมิตรจากภาครัฐและเอกชนที่สามารถช่วยเหลือ SMEs ไทยในทุกกลุ่มธุรกิจ เพื่อเริ่มต้นปรับใช้แนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยองค์ความรู้เฉพาะทาง นอกจากนี้ ผู้ประกอบการจะสามารถประเมินความพร้อมของธุรกิจตน สำหรับการพัฒนาสู่ความยั่งยืน โดยใช้เครื่องมือด้านความยั่งยืนของทางธนาคารที่พัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะ โดยเครื่องมือนี้จะแนะนำแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มธุรกิจต่างๆ”

ทางด้านนายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO กล่าวว่า “ปัจจุบันความยั่งยืนกลายเป็นความจำเป็นของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ที่เป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของประเทศ หลังนโยบายทั้งไทยและต่างประเทศมุ่งเป้าจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พบว่ามีหลายๆ บริษัทได้ตั้งเป้าหมายสู่ Net Zero มากขึ้น แต่ไม่มีความรู้ที่แน่ชัดว่าจะเริ่มต้นจากจุดไหน ทาง TGO จะเข้ามาช่วย เสริมโครงการ SIP ในจุดนี้ได้ ด้วยการสนับสนุน SMEs ทั้งในเรื่องของแพลตฟอร์มการขอขึ้นทะเบียนกับ TGO ตลอดการให้คำปรึกษาและข้อแนะนำต่างๆ ที่จะช่วยสร้างโอกาสและเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจ SMEs สามารถรุกตลาดคาร์บอนเครดิตต้องทำยังไง ทั้งเป็นหน่วยงานกลางให้ความรู้และช่วยในการประเมินก๊าซเรือนกระจกของธุรกิจ”

ส่วนทางด้านนายปิติพัฒน์ มงคลอริยนันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคเอ็มพี คอร์ปอเรชัน ที่ทำธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างแบบครบวงจรที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการภาครัฐและภาคเอกชนอย่างครบวงจร กล่าวว่า “หลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการกับทาง UOB FinLab เราเห็นผลลัพธ์อย่างชัดเจน นอกจากยอดขายที่เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายลดลง ระบบปฏิบัติการหลังบ้านที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ยังได้นำแนวคิดเรื่องความยั่งยืนไปปรับใช้ในธุรกิจและคู่ค้าของธุรกิจของเราด้วย การขยาย

 

โครงการ SIP ในปีนี้ที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนอุตสาหกรรม นับว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการที่ต้องการปรับสู่ความยั่งยืน แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจากจุดไหน เพราะจะได้เรียนรู้ตั้งแต่ความจำเป็น กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง การประเมินการปล่อยคาร์บอนของธุรกิจ การทำโมเดลธุรกิจอย่างยั่งยืน รวมถึงโอกาสเข้าถึงเครือข่ายธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นต้น”

นอกจากโครงการ SIP แล้ว ยูโอบี ฟินแล็บ ยังจัดทำโครงการสำหรับสตาร์ทอัพและบริษัทผู้ให้บริการโซลูชันเพื่อสิ่งแวดล้อมหรือกรีนเทค ที่ชื่อว่า GreenTech Accelerator (GTA) 2024 ระยะเวลา 6 เดือนอีกด้วย โครงการ GTA จะช่วยให้ผู้ให้บริการโซลูชันกลุ่มกรีนเทคได้พัฒนาโซลูชันเพื่อสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงจาก SMEs ในอาเซียน และกรีนเทคผู้ชนะจะได้รับเงินทุนสนับสนุนเพื่อนำไปพัฒนาโครงการนำร่องในการแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการเริ่มต้นเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ นอกจากนี้ เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นของยูโอบี ฟินแล็บ ในการขับเคลื่อนโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน โครงการ GTA 2024 จะสนับสนุนเงินทุนสูงถึง 100,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ สำหรับเทคโนโลยีสีเขียว หรือกรีนเทค (Greentech) เพื่อนำร่องนวัตกรรมโซลูชันที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้งานได้จริงสำหรับธุรกิจต่างๆ

โครงการ SIP เปิดรับผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs หรือผู้มีอำนาจตัดสินใจจากทุกภาคธุรกิจที่ต้องการปรับใช้แนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืน SMEs ที่สนใจ สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 25 พฤษภาคม 2567 ที่ www.facebook.com/uob.th หรือ https://thefinlab.com/th/thailand

พิเศษสำหรับลูกเพจ MatchLink ลงทะเบียน คลิก >>> https://bit.ly/MatchLink_UOBBiz.
เปิดบัญชีออมทรัพย์ "UOB BizSuper" เพื่อผู้ประกอบการ SME
- รับดอกเบี้ยเงินฝาก 1% ต่อปี
- ไม่มีค่าธรรมเนียมจ่ายเงินเดือนพนักงาน (Payroll)
- ไม่มีค่าธรรมเนียมโอนเงินระหว่างบัญชีธนาคารยูโอบี
- ไม่มีค่าธรรมเนียมโอนเงินระหว่างธนาคารแบบส่งรายการภายในวัน (สำหรับยอดการโอนตั้งแต่ 1 บาท จนถึง 500,000 บาทแรก)
- ไม่มีค่าธรรมเนียมผูกคู่โอนอัตโนมัติ (Fund Sweeping) ระหว่างบัญชีออมทรัพย์ BizSuper และบัญชีกระแสรายวัน BizSuper
- ไม่มีค่าธรรมเนียม UOB eAlerts! บริการแจ้งเตือนความเคลื่อนไหวของบัญชีผ่านทางอีเมล
- ไม่มีค่าบริการสำหรับสมุดเช็คเดือนละ 1 เล่ม และส่วนลด 50% สำหรับเล่มถัดไป
*รายละเอียดและเงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

กลุ่มยูโอบีเดินหน้าตอกย้ำความเป็นผู้นำในการร่วมผลักดันแนวคิด ESG ในมิติของการเงิน การลงทุน จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “Sustainability at UOB”  นำโดยผู้บริหารระดับสูงของ บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) นางสาวรัชดา ตั้งหะรัฐ กรรมการผู้จัดการอาวุโส สายพัฒนาธุรกิจ (ที่ 2 จากขวา) ทีมผู้เชี่ยวชาญการลงทุนอย่างยั่งยืนทั้งจากสำนักงานใหญ่สิงคโปร์ และไทย ได้แก่ มร.วิคเตอร์ วง, (ที่ 1 จากขวา), Head of Sustainability Office ดร.ณรงค์เดช เถกิงเกียรติ (ที่ 1 จากซ้าย) ผู้อำนวยการการลงทุนอย่างยั่งยืน สายการลงทุน พร้อมด้วย มร. เชา วง ยวน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความยั่งยืน ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย (ที่ 2 จากซ้าย) ที่มาร่วมให้ความรู้และอัปเดตภาพรวมของความยั่งยืนในมิติของการเงินรวมถึงอุตสาหกรรมที่สำคัญในไทย และการผนวกปัจจัยความยั่งยืนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในสร้างโอกาสการลงทุน โดยงานสัมมนาจัดขึ้นที่ โรงแรม วอลดอร์ฟ แอสโทเรีย กรุงเทพ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา

รายได้ที่สูงเป็นประวัติการณ์ได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายแฟรนไชส์ในภูมิภาคและการเติบโตของรายได้รวมที่แข็งแกร่ง

Page 1 of 8
X

Right Click

No right click