สสว. ติวเข้มผู้ประกอบการรายย่อย (Micro Enterprises) บุกตลาดต่างประเทศ ผ่าน Born Global Business Model พร้อมมั่นใจภายใน 5 ปี แผนส่งเสริมการใช้ดิจิทัลดันยอดส่งออกผู้เข้าร่วมโครงการได้ไม่น้อยว่าร้อยละ 25

ดร.วิมลกานต์ โกสุมาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงาน Born Global Rising Star Demo Day ว่า กิจกรรมในวันนี้ เป็นความร่วมมือระหว่าง สสว. กับ ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นอีกแนวทางในการสรรหาช่องทางที่เหมาะสมในการนำผู้ประกอบการขนาดเล็กของไทย (Micro Enterprises) ออกสู่ตลาดต่างประเทศ ภายใต้ปัจจัยและทรัพยากรที่ผู้ประกอบการแต่ละรายมี โดยจะสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการรายเล็กในการก้าวสู่ตลาดต่างประเทศตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มประกอบธุรกิจ ด้วยเครื่องมือและการมีคู่มือ รวมถึงพี่เลี้ยงในการให้คำปรึกษาและค้นหาตลาดที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจของตนเองตลอดระยะเวลา 5 วัน ที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะมีการติวเข้มผู้ประกอบการอย่างเข้มข้น โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือก จำนวน 20 ราย จะได้รับการฝึกวิธีสร้างธุรกิจที่มีนวัตกรรม เรียนรู้และปฏิบัติในการกำหนดแผนและทำความเข้าใจกลุ่มคนที่จะมาเป็นลูกค้าหรือผู้ใช้สินค้าหรือบริการของตน

ดร.วิมลกานต์ เผยอีกว่า นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังได้ฝึกการมองปัญหาและการแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด และสามารถนำไปใช้ในการหา Customer pain point ซึ่งจะทำให้ออกแบบสร้างสินค้าหรือบริการที่ตรงความต้องการของลูกค้าได้ โดยผู้ประกอบการจะได้ลงมือปฏิบัติและคิดเองทั้งหมด โดยโครงการนี้ยังได้รับเกียรติจาก Mr.Hassan Moosa ผู้ก่อตั้ง UtooCentral จากประเทศอินโดนีเซีย กูรูเรื่องการสร้างแบรนด์ในตลาดโลก มาให้ความรู้ในการทำแบรนด์ให้ปัง ดังไปทั่วโลก และภายหลังเสร็จสิ้นการอบรม ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้ปฏิบัติจริงโดยจัดแสดงสินค้าและบริการของตนเอง (Business Show Case) พร้อมประกวดการนำเสนอไอเดียธุรกิจ (Pitching)   โดยไอเดียผู้ประกอบการรายใดน่าสนใจมากที่สุด จะมีรางวัล Born Global Rising Star Award มอบให้

รองผอ.สสว. กล่าวด้วยว่า นอกจาก Born Global Business Model จะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายย่อย กลุ่ม Micro Enterprises สามารถที่จะเปิดตลาดในต่างประเทศ ได้ตั้งแต่วันแรกที่เป็นผู้ประกอบการแล้ว สสว.ยังส่งเสริมการใช้ดิจิทัลในผู้ประกอบการรายย่อยซึ่งมีจำนวนมากกว่า 80 % ของผู้ประการทั้งหมดโดยถือเป็นสัดส่วนหลักในภาพรวมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและรายย่อยของไทย ทั้งนี้ สสว.มั่นใจว่าหากผู้ประกอบการดำเนินการตามแผนกลยุทธ์และรูปแบบที่เตรียมไว้ จะสามารถเป็นผู้ส่งออกได้ตั้งแต่วันแรกหรือปีแรกที่เริ่มก่อตั้งธุรกิจเลยทีเดียว โดยผู้ประกอบการแบบ Born Global Firm หมายถึง ธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อย ที่เข้าสู่ตลาดต่างประเทศภายในระยะเวลา 2 – 5 ปีนับตั้งแต่ก่อตั้งธุรกิจ และในขณะเดียวกันต้องมียอดส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 25

“ตลอดระยะเวลาการอบรมแบบเข้มข้นตลอด 5 วัน สสว. เชื่อว่า สิ่งผู้ประกอบการจะได้รับคือ โอกาสในการเสริมสร้างทักษะและการติดอาวุธทางความคิดให้แก่ตนเองในเรื่องการค้าและการต่างประเทศแบบเจาะลึก รวมถึงการสร้างแผนพัฒนาธุรกิจของตนเอง การสร้างกลยุทธ์ต่างๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์ตนเองในตลาดต่างประเทศเพื่อการบุกตลาดสากล ให้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความตั้งใจของ สสว. เพื่อผู้ประกอบการ”  ดร.วิมลกานต์ กล่าวในที่สุด

ศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดงาน KMUTT Competitiveness Forum 2019” ขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ อาคาร Knowledge Exchange for Innovation Center (KX) ถ.กรุงธนบุรี

โดย ดร.วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ หัวหน้าโครงการจัดตั้งศูนย์ฯ ได้แนะนำภารกิจของศูนย์ที่มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการสร้างความสามารถทางการแข่งขันต่างๆ และสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและบริการวิชาการกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนให้คำปรึกษาทางด้านการสร้างความสามารถทางการแข่งขันให้กับองค์กร อีกทั้งพัฒนาบุคลากรของภาครัฐและภาคเอกชนให้สามารถสร้างและขับเคลื่อนปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถทางการแข่งขันองค์กรได้

ภายในงานได้รับเกียรติจาก คุณชาญศิลป์ ตรีนุชกร  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บรรยายพิเศษในหัวข้อ “ยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทยด้วยนวัตกรรม” เพื่อเป็นการเผยแพร่แนวคิดและแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการสร้างความสามารถทางการแข่งขันองค์กรด้วยนวัตกรรมสู่สาธารณะ อันจะส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมและประเทศต่อไปในอนาคต 

ปิดฉากอย่างงดงามสมเป็นงานใหญ่แห่งปี Smart SME EXPO 2019 ที่บริษัท พีเอ็มจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด สานแนวร่วมภาครัฐ ภาคเอกชน เหล่าธนาคาร และหน่วยงาน พันธมิตร จัดขึ้นเพื่อร่วมกันผลักดันและขับเคลื่อนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและเศรษฐกิจไทยให้เติบโตในโลกยุคดิจิทัล ภายใต้แนวคิด "ที่เดียวจบพบทางรวย"  โดยในปีนี้ได้รับความสนใจจากผู้เข้าเยี่ยมชมงานเกินความคาดหมาย รวมยอดคนเข้างาน 110,250 คน หนุนให้ยอดจองสินเชื่อในงานทะลุ  2,051.79 ล้านบาท   สร้างเงินสะพัดในงานได้มากถึง  2,685 .ล้านบาท

คุณพิสิษฐ์  ประกิจวรพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีเอ็มจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า "การจัดงาน Smart SME EXPO 2019 ในปีนี้ได้รับการตอบรับจากผู้เข้าชมงานอย่างล้นหลาม โดยการจัดงานทั้ง 4 วันมียอดคนเข้าร่วมงานทั้งสิ้น 110,250 คน เรียกว่าเกินความคาดหมาย โดยส่วนใหญ่ตั้งใจเข้ามาเลือกซื้อ

แฟรนไชส์ในงาน ทำให้ยอดขายแฟรนไชส์สร้างมูลค่าถึง 127,389,844 บาท แฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมคือ แฟรนไชส์คลังน้ำมันออสซี่ออยล์  ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว และ คัฟฟ่า คอฟฟี่เมคเกอร์  นอกจากนี้ยอดขอสินเชื่อในงานก็ทำยอดทุบสถิติเช่นกัน โดยยอดรวมขอสินเชื่อในงานสูงถึง 2,051,790,002 บาท  ซึ่งปีนี้ธนชาตครองแชมป์มียอดขอสินเชื่อสูงถึง 642 ล้านบาท, ออมสิน 466.48 ล้านบาท,  SME D Bank 356.91 ล้านบาท, กสิกรไทย 209.60 ล้านบาท, Exim Bank 161.20 ล้านบาท, ทีเอ็มบี 60 ล้านบาท, ธนาคารกรุงเทพ 53 ล้านบาท, ธ.ก.ส. 42.60 ล้านบาท ส่วน บสย.มียอดค้ำสินเชื่อ 203.70 ล้านบาท และ.พิเศษในงานนี้ ธอส. ยังได้ยอดจองสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำสูงถึง 3,096.27 ล้านบาทในงานอีกด้วย

สำหรับการเจรจาจับคู่ธุรกิจภายในงานได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ประกอบการที่มีการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาคุณภาพสินค้าเพื่อเข้าสู่ตลาดใหญ่ในประเทศและตลาด CLMV ซึ่งสินค้าที่ได้รับความนิยมในการเจรจาจับคู่ธุรกิจทั้งในประเทศและ CLMV เป็นกลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม โดยยอดเจรจาจับคู่ธุรกิจภายในงานมูลค่ารวมอยู่ที่ 350 ล้านบาท ส่วนการสัมมนาให้ความรู้และอบรมอาชีพภายในงานมีผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 1,245 คน โดยหัวข้อที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือความรู้ในเรื่องการใช้สื่อโซเชียลมีเดียมาประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจ ซึ่งสอดรับกับการทรานฟอร์มธุรกิจให้ทันโลกยุค 4.0 ในปัจจุบัน

จากภาพรวมการจัดงาน Smart SME EXPO 2019 สะท้อนให้เห็นว่าแม้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศจะชะลอตัว  แต่คนส่วนใหญ่กลับตื่นตัวและให้ความสนใจในเรื่องลงทุนทำธุรกิจอย่างคึกคัก ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศกลับมามีชีวิตชีวา  เป็นไปตามความมุ่งหมายของผู้จัดงานที่ต้องการให้ Smart SME EXPO 2019 เป็นเวทีกลางในการเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ในการสนับสนุนส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนในทุกมิติ” คุณพิสิษฐ์ทิ้งท้าย

นางสาวรวิสรา เลิศปัญญาโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอแอมไชน่าทาวน์ จำกัด ร่วมแสดงความยินดีกับ นายวิเชียร อัศววรฤทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีโซไซตี้ จำกัด ผู้รับสิทธิ์จำหน่ายและทำการตลาดแบรนด์ Yi Fang (อี้ ฟาง) เครื่องดื่มชาผลไม้อันดับหนึ่งของประเทศไต้หวัน ในโอกาสที่ Yi Fang เตรียมเปิดสาขาใหม่ที่ โครงการ I’m Chinatown ศูนย์การค้าที่ใหญ่สุดของย่านเยาวราช

Yi Fang เป็นแบรนด์เครื่องดื่มชาจากประเทศไต้หวันที่มีการเติบโตรวดเร็วที่สุด สามารถขยายสาขาไปทั่วโลกได้ กว่า 1,400 แห่งภายในเวลาเพียง 3 ปี ทั้งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา จีน อังกฤษ ญี่ปุ่น ฮ่องกง มาเก๊า ออสเตรเลีย รวมถึงแถบอาเซียน ได้แก่ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม ทั้งยังกำลังจะเปิดสาขาในตลาดใหม่อื่นๆ อาทิ นิวซีแลนด์ มาเลเซีย กัมพูชา เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส และไทย โดย Yi Fang ได้รับความนิยมจากนักดื่มชาผลไม้จากทั่วโลก เนื่องจากใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติ จึงให้ทั้งรสชาติที่หอมหวานจากผลไม้และความสดชื่น

สำหรับ Yi Fang ที่กำลังจะเปิดตัวที่โครงการ I’m Chinatown จะเป็นสาขาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในไทย โดยนอกจากจะมีสินค้าเครื่องดื่มครบทุกเมนู ทั้งชาผลไม้ ชานม ชาไข่มุกแล้ว ยังมีของหวานนำเข้าจากประเทศไต้หวันมาจำหน่าย เพื่อเอาใจนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ รวมถึงผู้อาศัยในย่านไชน่าทาวน์และนักดื่มชาชาวไทย

เตรียมพบกับ Yi Fang และโปรโมชั่นสุดพิเศษในช่วงเปิดสาขาที่ชั้น G โครงการ I'm Chinatown ได้เร็วๆ นี้

กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน ร่วมกับบริษัท นูเรมเบิร์ก เมสเซ่ จำกัด ประเทศเยอรมนี ร่วมจัดพิธีเปิดงาน BIOFACH Southeast Asia 2019 และ Natural Expo Southeast Asia 2019 ครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการ ระดมผู้ผลิตและผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานด้านเกษตรอินทรีย์ และมาตรฐานเกี่ยวกับสินค้าธรรมชาติทั้งในประเทศและระดับสากล เข้าร่วมออกบูธแสดงและจำหน่ายสินค้ามากกว่า 300 ราย หรือกว่า 400 บูธ พร้อมร่วมประชุมและการเจรจาธุรกิจ (Business Matching) โชว์ศักยภาพไทยผู้นำด้านการผลิต การค้า และการบริโภคสินค้าระดับสากล ภายใต้แนวคิดการจัดงาน “Organic Gateway to Southeast Asia” ระหว่าง 11 - 14 กรกฎาคมนี้ ณ ฮอลล์ 7 - 8 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี

นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า งาน BIOFACH Southeast Asia 2019 และ Natural Expo Southeast Asia 2019 เป็นงานแสดงและจำหน่ายสินค้าอินทรีย์และสินค้าธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งเป็นเวทีแห่งการเจรจาธุรกิจระดับสากล โดยภายในงานได้รวมเหล่าเกษตรกร ผู้ผลิต และผู้ประกอบการอินทรีย์ของไทยไว้มากที่สุด เสมือนเป็นตลาดการค้าเกษตรอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุดของอาเซียนครั้งที่ 2 โดยความร่วมมือพันธมิตรระหว่างผู้นำด้านการจัดงานแฟร์ออร์แกนิคใหญ่ระดับโลก บริษัท นูเรมเบิร์ก เมสเซ่ จำกัด ประเทศเยอรมนี ภายใต้ความมุ่งหวังปลุกกระแสผู้บริโภคในปัจจุบันให้หันมาบริโภคสินค้าจากธรรมชาติและออร์แกนิคเพื่อสุขภาพที่ดี อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นรากฐานเศรษฐกิจโดยการสนับสนุนเกษตรกรอินทรีย์ไทยให้มีรายได้เพิ่มรวมทั้งมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้ งานในครั้งนี้ยังถือเป็นการยกระดับสินค้าอินทรีย์ให้ได้มาตรฐานสากล ขณะเดียวกันยังโชว์ศักยภาพความพร้อมของประเทศไทยทั้งทางด้านการเป็นผู้นำด้านการผลิต การค้า และการบริโภคสินค้าอินทรีย์ เพื่อก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยง และพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในอาเซียนอย่างครบวงจร

สำหรับการจัดแสดงสินค้าในปีนี้ มีจำนวนบูธทั้งสิ้นกว่า 400 บูธ ครอบคลุมสินค้าอินทรีย์ทุกกลุ่มเหมาะสมกับทุกเพศทุกวัย ทั้งอาหาร ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เส้นผม และเครื่องสำอาง, ผลิตภัณฑ์สำหรับแม่และเด็ก, ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพสัตว์เลี้ยง, ภาชนะและบรรจุภัณฑ์, สารสกัดสะเดากำจัดแมลงศัตรูพืช, ปุ๋ยอินทรีย์, สินค้าไบโอออร์แกนิคสำหรับใช้ในบ้านแทนสารเคมี รวมทั้งบริการอินทรีย์ เช่น ร้านอาหาร โรงแรม ร้านสปา และสถานที่ท่องเที่ยว โดยปีนี้ได้แบ่งบูธและการจัดพื้นที่ออกเป็น 6 โซน ได้แก่ 1) โซนสินค้าอินทรีย์มาตรฐานสากล 2) โซนสินค้าอินทรีย์มาตรฐานภายในประเทศ 3) โซนสินค้าธรรมชาติ 4) โซนร้านอาหารอินทรีย์ เช่น Lemon Farm, รังสิตฟาร์ม, อริยะ ออร์แกนิค คาเฟ่, กินดีเฮลตี้ปิ่นโต, เพาะรักฟู้ดโปรดักส์, บจก.ฮาร์โมนี ไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล และบจก.คิงด้อม ออร์แกนิค เนทเวิร์ค (ไทยแลนด์) โดยมาพร้อมกับเมนูเด็ด ได้แก่ น้ำพริกเผาลูกหม่อน, บะหมี่ผักโมโรเฮยะปรุงสำเร็จ, ข้าวเหนียวอัญชันหมูหลุมทอด, ขนมจีบ ซาลาเปา ออร์แกนิค, ข้าวอบธัญพืช, รวมทั้งเมนูมังสวิรัติและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพอีกเพียบ 5) โซนคลินิกให้คำปรึกษาแนะนำจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนกว่า 10 หน่วยงาน และ 6) คูหาพิเศษ เช่น คูหามูลนิธิแก้วเกษตร, Organic Village ที่จำหน่ายสินค้าท้องถิ่นจากชุมชนหมู่บ้าน, กรมการค้าต่างประเทศ, ASEAN Pavilion, Sacict เป็นต้น

นายบุณยฤทธิ์ กล่าวต่อว่า “ในปีนี้มีสินค้านวัตกรรมที่น่าสนใจ อาทิ ผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ เช่น เส้นพาสต้า, สปาเก็ตตี้, น้ำนมข้าวยาคูออร์แกนิค, อาหารเสริมสำหรับเด็ก, น้ำส้มสายชูหมักจากน้ำกะทิไขมันต่ำอินทรีย์, ซอสปรุงรสจากมะพร้าวอินทรีย์, เวชสำอางออร์แกนิคจาก สะเดาเพื่อรักษาอาการจากโรคผิวหนัง, ผลิตภัณฑ์ Superfood (ธัญพืชสกัด), Energy Gel (เจลให้พลังงานสกัดผลไม้ เช่น องุ่น, สตรอว์เบอร์รี), เครื่องสำอางออร์แกนิค และผลิตภัณฑ์จากกาบหมาก ภาชนะบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ทั้งยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย อาทิ การสัมมนาทางวิชาการด้านการตลาดสินค้าอินทรีย์ ซึ่งเป็นกิจกรรมหัวใจสำคัญของงาน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางเครือข่ายการค้า และให้ความรู้ที่ทันสมัยด้านเกษตรอินทรีย์แก่ผู้เข้าร่วมงาน โดยมีหัวข้อที่น่าใจ เช่น ความท้าทายของธุรกิจออร์แกนิคในประเทศไทย, สถานการณ์ด้านธุรกิจผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคเพื่อความงามและสุขภาพในประเทศไทย เป็นต้น จากเหล่ากูรูผู้เชี่ยวชาญในแวดวงเกษตรอินทรีย์ทั้งไทยและต่างประเทศ อีกทั้งยังมีเวิร์คช้อปสร้างอาชีพเสริมรายได้ เช่น สาธิตการจัดทำมอสบอล (โคเคดามะ), จัดสวนขวด, กำยานออร์แกนิค, ลิปบาล์มออร์แกนิค, ยาย้อมผมสีผมออร์แกนิค, ถุงผ้ามัดย้อม เป็นต้น นอกจากนี้ เป็นอีกครั้งที่ภายในงานจัดให้มีวันเจรจาธุรกิจ (Trade day) สำหรับ  ผู้ที่สนใจธุรกิจออร์แกนิคอีกด้วย

ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ยังเปิดเผยถึงสถานการณ์ตลาดสินค้าออร์แกนิคโดยภาพรวมว่า “ปัจจุบันความนิยมในการบริโภคสินค้าออร์แกนิคจึงยิ่งแผ่ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นเทรนด์ของโลก ซึ่งจากแนวโน้มดังกล่าวทำให้ตลาดออร์แกนิคโลกมีมูลค่าสูงถึง 104,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีอัตราการขยายตัวประมาณปีละ 20% ยุโรปและอเมริกาเหนือ ถือเป็นตลาดเกษตรอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งมีมูลค่าตลาดรวมกันร้อยละ 90 โดยแบ่งเป็น ตลาดสหรัฐอเมริกา มีมูลค่าประมาณ 45,200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (สัดส่วนร้อยละ 44) รองลงมาคือ ตลาดเยอรมนี มีมูลค่าประมาณ 10,040 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (สัดส่วนร้อยละ 10) นอกจากนี้ยังมีตลาดโซนอื่นๆ เช่น เอเชีย จีน และออสเตรเลีย ส่วนตลาดสำคัญในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย โดยเฉพาะไทยมีมูลค่าตลาดภายในประเทศประมาณ 3,000 ล้านบาท และมูลค่าการส่งออกประมาณ 2.1 พันล้านบาท และมีอัตราการเติบโตประมาณ 10% ต่อปี”

สำหรับพื้นที่เพาะปลูกเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยจากเดิม 357,091 ไร่ เพิ่มขึ้นมา 83% หรือคิดเป็น 0.652 ล้านไร่ ซึ่งมีพื้นที่ผลิตเกษตรอินทรีย์มากที่สุดเป็นลำดับที่ 3 ในกลุ่มอาเซียน รองจากอินโดนิเชีย และฟิลิปปินส์

ด้านนายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กล่าวเสริมว่า ด้วยเป้าหมายแห่งการผลักดันออร์แกนิคไทยสู่ประตูการค้าโลก และมุ่งหวังในการเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในอาเซียน ทางกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้มีนโยบายจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาตลาดสินค้าอินทรีย์ตั้งแต่ปี 2560 - 2564 โดยกำหนดยุทธศาสตร์สำคัญไว้ 4 ยุทธศาสตร์ อันได้แก่ 1) การสร้างการรับรู้ของผู้เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อุปทาน 2) ผลักดันมาตรฐานและระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์ 3) พัฒนาและขยายตลาดสินค้าและบริการอินทรีย์ และ 4) พัฒนาสร้างมูลค่าสินค้าและบริการอินทรีย์ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าอินทรีย์ไทยให้มากขึ้น ดังนั้นการร่วมมือกับทางบริษัท นูเรมเบิร์ก เมสเซ่ จำกัด ประเทศเยอรมนี จัดงาน BIOFACH Southeast Asia 2019 และ Natural Expo Southeast Asia 2019 งานแสดงและจำหน่ายสินค้าอินทรีย์และสินค้าธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 2 จึงเป็นการต่อยอดความสำเร็จจากแนวคิดการจัดงานในปี 2018 : Southeast Asia ; Home of Organic ที่ผ่านมา อีกทั้งไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตอาหารที่มีคุณภาพ  และได้มาตรฐานเป็นที่ต้องการของประชากรโลก บวกกับความพร้อมด้านภูมิศาสตร์และการขนส่งที่ดี จึงมีความได้เปรียบสูงที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำเกษตรอินทรีย์ของอาเซียน ซึ่งด้วยองค์ประกอบดังกล่าวจะช่วยสร้างความแตกต่างทางด้านคุณภาพให้กับสินค้าออร์แกนิคของไทย และช่วยขยายตลาด ตลอดจนเพิ่มมูลค่าการส่งออกในทุกปีอย่างแน่นอน

ทั้งนี้กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ คาดว่าตลอดระยะเวลา 4 วัน จะมีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 50,000 คน อีกทั้งจะสามารถสร้างมูลค่าการจำหน่ายสินค้าได้ไม่ต่ำกว่า 72 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 97% ดังนั้นเพื่อเป็นการร่วมส่งเสริม ผลักดัน พร้อมร่วมเปิดโอกาสทางการค้าและการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ไปตลาดในภูมิภาคและทั่วโลก จึงขอเชิญชวนผู้สนใจสามารถร่วมชมงาน “BIOFACH Southeast Asia 2019 และ Natural Expo Southeast Asia 2019” ได้ในระหว่างวันที่ 11 - 14 ก.ค. 62 ณ ฮอลล์ 7 - 8 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยวันเจรจาธุรกิจ B2B (Trade day) วันที่ 11 - 12 กรกฎาคม เวลา 10.00 - 12.30 น. และสำหรับผู้เข้าชมทั่วไป วันที่ 11 - 12 กรกฎาคม เวลา 12.30 - 20.00 น. วันที่ 13 กรกฎาคม เวลา 10.00 - 20 .00 น. และวันที่ 14 กรกฎาคม เวลา 10.00 - 19.00 น. สามารถติดตามข้อมูลได้ทางเว็บไซต์ http://th.biofach-southeastasia.com หรือทาง Facebook Fanpage : Organic & Natural Expo หรือโทร.02-507-5723

X

Right Click

No right click