ปัจจุบันกระแส ESG กำลังกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ธุรกิจยุคใหม่จึงต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับแนวทางนี้ โดยหลังจากประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 ซึ่งจะส่งผลต่อนโยบายและกลยุทธ์ต่าง ๆ ของภาครัฐ รวมไปถึงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐด้วย

สำหรับ SME ที่ต้องการคว้าโอกาสทางธุรกิจกับภาครัฐที่มีมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างสูงถึง 12% ของ GDP ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และ 30% ของ GDP ในประเทศกำลังพัฒนาหลายแห่งจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม และด้วยภาครัฐกำลังให้ความสำคัญกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) นำมาสู่แนวทางการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐอย่างยั่งยืน  finbiz by ttb จึงขอแนะโอกาสสำหรับ SME ที่มีความรับผิดชอบ โปร่งใส และยั่งยืนตามแนวคิด ESG เพื่อให้สามารถกุมความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจบนเวทีภาครัฐเอาไว้ได้

 ทำไม ESG ถึงสำคัญสำหรับ SME

  1. นโยบายภาครัฐ ภาครัฐกำลังให้ความสำคัญกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SGDs) การสร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนที่กำหนดโดยสหประชาชาติ จึงส่งเสริมแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐที่ยั่งยืน โดยกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐให้ความสำคัญกับการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่คำนึงถึง ESG
  2. เทรนด์โลก นักลงทุนและผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสำคัญกับ ESG มากขึ้น ธุรกิจที่ไม่คำนึงถึง ESG อาจสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ
  3. การเติบโตอย่างยั่งยืน ESG ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดความเสี่ยงและสร้างความยั่งยืนในระยะยาว

จากปัจจัยดังกล่าว SME ที่มีความรับผิดชอบ โปร่งใส และยั่งยืนตามแนวคิด ESG จึงมีความได้เปรียบบนเวทีการค้ากับภาครัฐ ซึ่งส่งผลดีต่อธุรกิจอย่างยั่งยืน

  1. โอกาสทางธุรกิจ ภาครัฐมีงบประมาณการจัดซื้อจัดจ้างที่แน่นอนต่อปี ทำให้ SME สามารถนำเสนอสินค้าและบริการที่มี คุณภาพ ราคา และ มาตรฐานการผลิตต่าง ๆ รวมไปถึงมาตรฐานองค์กร และแนวคิดด้าน ESG จะช่วยเสริมสร้างโอกาสให้สามารถคว้างานจากภาครัฐได้มากขึ้น
  2. ข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน SME ที่ดำเนินการด้าน ESG จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นใจให้กับภาครัฐว่าธุรกิจนั้นมีความรับผิดชอบ โปร่งใส และยั่งยืน
  3. การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ สนับสนุน SME ที่มีการดำเนินการด้าน ESG ผ่านสินเชื่อและผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ

สำหรับการดำเนินการด้าน ESG สำหรับ SME แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม (E : Environment)

ลดการใช้พลังงาน จัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนการใช้สินค้ารีไซเคิล ด้านสังคม (S : Social) ดูแลพนักงานอย่างเป็นธรรม สนับสนุนชุมชนท้องถิ่น ส่งเสริมความหลากหลายและการรวมเข้าด้วยกัน และด้านธรรมาภิบาล (G : Governance) ดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส ป้องกันการคอร์รัปชัน การไม่สนับสนุนการทุจริตใด ๆ มีระบบตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิภาพ

เพิ่มโอกาสให้ SME เข้าถึงการเป็นคู่ค้ากับภาครัฐด้วยสินเชื่อธุรกิจที่เข้าใจ

เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจเข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้าง สนับสนุนการส่งมอบงานให้ได้เป็นคู่ค้ากับภาครัฐมากขึ้น SME ควรมีสถาบันทางการเงินที่เข้าใจลักษณะของธุรกิจและการทำงานกับภาครัฐ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเสนอและรับงานจากหน่วยงานภาครัฐและนำไปต่อยอดได้ ด้วยการสนับสนุนแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม

ทีทีบี มุ่งมั่นเป็นพันธมิตรที่ SME ไว้วางใจ พร้อมสนับสนุนให้ SME ไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน จึงมีสินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอี สนับสนุน SME เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างเป็นคู่ค้าภาครัฐ ที่เข้าใจลักษณะการทำงานกับภาครัฐโดยเฉพาะ ซึ่งจะเป็นโอกาสให้ SME สามารถกุมความได้เปรียบในการแข่งขันบนเวทีภาครัฐได้


ที่มา : ttb และ สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทสย.)

เมื่อเทรนด์ความยั่งยืน (Sustainability) กำลังมาแรงและเป็นประเด็นที่หลายแวดวงหยิบยกขึ้นมาให้ความสำคัญเพื่อร่วมกันมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) หรือแนวทางการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน และไม่ทำให้การตอบสนองความต้องการของคนรุ่นหลังนั้นลดลง  (Brundtland Report, 1987) โดยยึด 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ที่ถูกกำหนดโดย United Nations General Assembly (UNGA) ในปี 2015 ดังนั้นการขับเคลื่อนองค์กร ต้องสร้างความเข้าใจกับพนักงาน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ถึงแนวคิดการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืน ต้องไม่หวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่คำนึงถึง 3 ปัจจัยหลัก คือ ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment  Social  Governance: ESG)  ที่สามารถตอบโจทย์การขับเคลื่อน SDGs ได้

ซีพี ออลล์ หนึ่งในองค์กรที่มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจเพื่อบรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาความยั่งยืน ระยะที่ 2 ปี 2564-2573 โดยยึดมั่นต่อปณิธาน “Giving and Sharing” เพื่อเป็นองค์กรที่อยู่เคียงคู่สังคมไทย ด้วยกรอบการดำเนินงานภายใต้กลยุทธ์ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล (ESG)  ล่าสุดคณะอนุกรรมการบรรษัทภิบาล ซีพี ออลล์ ได้จัดกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงแนวคิดการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืนให้กับผู้นำรุ่นใหม่ด้านธรรมาภิบาล หรือ Mister & Miss Good Governance (MMGG) รุ่นที่ 3 โดยมีนางสาวลาวัณย์ เตียงหงษากุล ประธานคณะอนุกรรมการบรรษัทภิบาล บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ เป็นประธานเปิดงาน  

ทั้งนี้ภายในงานมีการบรรยายพิเศษโดยนายวรณัฐ เพียรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ในหัวข้อ “ผู้นำรุ่นใหม่ใส่ใจ ESG: Environment Social Governance”  ได้อธิบายถึงวิวัฒนาการเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม ความยั่งยืน และESG  เพื่อสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง พร้อมสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของสถานการณ์เรื่อง ESG ในปัจจุบันที่เชื่อมโยงกับการขับเคลื่อนองค์กร  โดยมีกิจกรรม Workshop ให้ผู้นำรุ่นใหม่ฯ ได้นำความรู้ที่ได้จากการฟังบรรยาย มาวิเคราะห์ความสำคัญของการขับเคลื่อน ESG และร่วมกันวางแนวคิดและแผนงานเพื่อขับเคลื่อนองค์กรอย่างยั่งยืน

หากแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนคือการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน และไม่ทำให้การตอบสนองความต้องการของคนรุ่นหลังนั้นลดลง ปัจจัยสำคัญในการเตรียมความพร้อม “คน” โดยเฉพาะ “คนรุ่นใหม่” ที่ถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร ต้องอาศัยการปลูกฝังแนวคิดที่ถูกต้อง ฝึกให้ลงมือปฏิบัติ ทำด้วยใจและด้วยความรับผิดชอบ เพื่อร่วมกันสร้างเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

“เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) แจ้งว่าเคทีซีได้รับการประเมิน SET ESG Rating ระดับเรตติ้งสูงสุด AAA ในกลุ่มธุรกิจการเงิน และเป็นสมาชิกของดัชนี SETTHSI เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ซึ่งสะท้อนความมุ่งมั่นในการพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน โดยเคทีซีจะมุ่งพัฒนาการดำเนินงานด้านความยั่งยืนในทุกมิติ โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และมีการบริหารงานตามหลักบรรษัทภิบาลที่ดี (Environmental, Social and Governance: ESG) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนต่อไป

ทั้งนี้ ในปี 2566 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ยกระดับการประกาศผลประเมินหุ้นยั่งยืน (SET ESG Ratings) ในรูปแบบของการจัดเรตติ้งโดยแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ AAA, AA, A และ BBB โดยคัดเลือกบริษัทจดทะเบียนที่มีคะแนนจากการตอบแบบประเมินความยั่งยืนผ่าน 50% ในแต่ละมิติ และผ่านเกณฑ์คุณสมบัติตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด เช่น มีผลกำไรสุทธิ 3 ใน 5 ปีย้อนหลัง ไม่เป็นบริษัทที่ถูกกล่าวโทษหรือได้รับการตัดสินความผิดจากหน่วยงานทางการ เป็นต้น โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ จะนำผลประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ไปใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกสมาชิกในดัชนี SETESG เพื่อส่งเสริมการลงทุนอย่างยั่งยืน และเพื่อช่วยให้ผู้ลงทุน นักวิเคราะห์การลงทุนและผู้จัดการกองทุน มีข้อมูลใช้ประกอบการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุนได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น

นายมนู ตระกูลวัฒนะกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีคอน จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันธุรกิจรับสร้างบ้านได้รับความไว้วางใจเพิ่มมากขึ้นจากกลุ่มผู้บริโภค สืบเนื่องจากปัญหาที่ผู้บริโภคมักเจอกับการทิ้งงานหรือการก่อสร้างที่ไม่เป็นไปตามสัญญาและไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ต้องเพิ่มงบประมาณในการก่อสร้างแบบที่ไม่ได้วางแผนรับมือมาก่อน ดังนั้น การตัดสินใจเลือกใช้บริการจากบริษัทรับสร้างบ้านที่มีชื่อเสียงและประสบการณ์สั่งสมมาเป็นเวลานาน จึงเป็นทางออกที่ผู้บริโภคไว้วางใจ ที่สำคัญตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ซีคอน ยังไม่ได้ปรับขึ้นราคาแต่อย่างใด จึงถือเป็นปีทองของผู้บริโภค ทั้งนี้ ซีคอน ได้นำแนวคิด ESG เพื่อการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนที่คำนึงถึงมิติด้านสิ่งแวดล้อม การคืนกลับสู่ชุมชน และการบริหารงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกลไกธุรกิจ เข้ามาผสมผสานเพื่อสร้างสรรค์กลยุทธ์ทางธุรกิจจากปัจจุบันสู่อนาคต

เกี่ยวกับภาพรวมการดำเนินธุรกิจของซีคอนนั้น นายมนู กล่าวว่า “ในปี 2566 ซีคอนมีโปรเจคงานที่ต้องดำเนินการก่อสร้างรวมมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท ครอบคลุมทั้ง งานของซีคอน รับสร้างบ้าน และงานของซีคอน ไอดี ที่รับออกแบบ และสร้างตามแบบของลูกค้า ซึ่งแบ่งเป็นมูลค่างานก่อสร้างของ ซีคอน รับสร้างบ้าน ประมาณ 89% และซีคอน ไอดี ประมาณ 11% โดยรวมถือว่ายังมียอดขายที่ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นและพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภคนั้นคือความเร็วในการส่งมอบบ้านที่พัฒนาขึ้น เนื่องจากบริษัทฯ ได้ก่อสร้างโรงงานผลิตโครงสร้างชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปแห่งที่ 2 เสร็จเป็นที่เรียบร้อย เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการนำเสนอแบบบ้านประหยัดพลังงานสู่ตลาดซึ่งสอดรับต่อไลฟ์สไตล์เทรนด์ของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน เพราะเชื่อว่าหากเริ่มต้นด้วยการวางแผนสร้างบ้านในทิศทางที่เหมาะสม คัดสรรวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มฟังก์ชันการระบายความร้อน รับแดด รับลม ก็ทำให้บ้านทุกหลังกลายเป็นบ้านประหยัดพลังงานได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ซีคอนจะลงรายละเอียดให้ตั้งแต่การวางผังส่วนต่างๆ ของบ้านจนถึงเป็นที่ปรึกษาในมิติต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าได้บ้านตรงตามต้องการ”'

ด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมแบบบ้านใหม่ออกสู่ตลาดในช่วงท้ายปี 2566 นั้น ล่าสุด ซีคอน ได้เผยโฉมแบบบ้านใหม่กับ 2 สไตล์ คือ Cottage Style และ Modern Contemporary Styleทั้งแบบชั้นเดียว และ 2 ชั้น ในชื่อแบบบ้าน Cottage 167, Loft 301 และ Orchard 435 อีกทั้งยังเพิ่มช่องทางการบริการทางด้านออนไลน์เพิ่มขึ้น โดยได้มีการเพิ่มเพจย่อยของแต่ละศูนย์ที่มีอยู่เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าในต่างจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่การให้บริการของซีคอน เพื่อให้เข้าถึงได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น “ช่วงอายุมีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกแบบบ้านของผู้บริโภค ปัจจุบันแบบบ้าน Modern Contemporary Style ยังเป็นแบบบ้านยอดนิยมอันดับ 1 และแนวโน้มบ้านที่มีแบบตัวอาคารที่เรียบง่ายหรือ Minimal Style เน้นประโยชน์การใช้สอยของพื้นที่ พร้อมทั้งบ้านดูโปร่ง โล่งสบาย ยังเป็นที่นิยมของลูกค้าเช่นกัน และที่เห็นเป็นเทรนด์เพิ่มมากขึ้นคือการที่ลูกค้าได้ร่วมออกแบบบ้านกับสถาปนิกที่คนชื่นชอบและนำแบบบ้านดังกล่าวมาให้ซีคอนก่อสร้างให้ ในส่วนนี้เราก็ยินดีร่วมเป็นทีมก่อสร้างเพื่อให้โปรเจคสำเร็จได้อย่างมีคุณภาพ” นายมนู กล่าวถึงแบบบ้านใหม่และเทรนด์ความนิยมของผู้บริโภค

ทั้งนี้ ซีคอน คาดการณ์ภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านของไทยในช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2566 ว่า “สถานการณ์ความตึงเครียดด้านสงครามของทั้งรัสเซีย-ยูเครนและอิสราเอล-ปาเลสไตน์ เป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการธุรกิจรับสร้างบ้านต้องเฝ้าระวัง เพราะล้วนแต่ส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนราคาพื้นฐาน ดังนั้นการปรับตัวรับมือและการวางแผนในการบริหารจัดการเพื่อควบคุมต้นทุน จึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก ด้านปัจจัยภายในประเทศเกี่ยวกับนโยบายการขึ้นค่าแรงนั้นในส่วนของธุรกิจรับสร้างบ้าน แรงงานที่มีอยู่ล้วนแต่เป็นแรงงานฝีมือซึ่งได้รับค่าตอบแทนสูงอยู่แล้วจึงอาจไม่ส่งผลกระทบชัดเจน ด้านราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้นมาเป็นระยะนั้น เนื่องจากซีคอนมีโปรเจครับสร้างบ้านอยู่ในมือค่อนข้างมาก จึงมีพันธมิตรทางธุรกิจชั้นนำที่หลากหลายซึ่งแต่ละที่ล้วนร่วมดำเนินธุรกิจกันมาอย่างยาวนาน ความเชื่อมั่นดังกล่าวและแผนการซื้อที่ชัดเจนจึงทำให้สามารถบริหารต้นทุนการซื้อดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ”  

นอกจากนี้ ซีคอน ยังได้ส่งท้ายปีกับกิจกรรม CSR เพื่อส่งเสริมด้านการศึกษาด้วยการมอบทุนการศึกษาและปรับปรุงสถานศึกษา พัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ ให้แก่เด็กนักเรียน 2 โรงเรียนใน จ.เพชรบุรี ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านพุสวรรค์ และโรงเรียนบ้านสองพี่น้อง เพื่อเป็นกำลังที่ดีของชาติต่อไปในอนาคต “โรงเรียนทั้ง 2 แห่งเป็นโรงเรียนที่ขาดแคลนงบประมาณในการซ่อมบำรุงและปรับปรุงอาคารรวมทั้งสภาพแวดล้อม ซีคอนเชื่อว่าสภาพแวดล้อมที่ดีจะทำให้ผู้อยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นๆ ทั้งเด็กนักเรียน ครู และชุมชน มีสุขภาพจิตที่ดี สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญในฐานะผู้ให้ทั้งคณะผู้บริหารและพนักงานของซีคอนก็จะมีจิตสาธารณะซึ่งพลังบวกเหล่านั้นก็จะย้อนกลับมาสร้างให้บุคลากรของเรา ส่งมอบบริการสู่มือผู้บริโภคได้อย่างมีศักยภาพยิ่งขึ้นเช่นกัน” นายมนู กล่าวสรุป

Page 1 of 15
X

Right Click

No right click