“บมจ.สโตนวัน หรือ STX” เคาะราคาขาย IPO ที่หุ้นละ 3.00 บาท เตรียมเปิดให้นักลงทุนจองซื้อวันที่ 18,19 และ 22 เมษายนนี้ มั่นใจนักลงทุนตอบรับดี จากปัจจัยพื้นฐานธุรกิจแข็งแกร่ง ชูจุดเด่นหินเป็นวัตถุดิบต้นน้ำของอุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยโครงการเหมืองของบริษัทอยู่ในพื้นที่เศรษฐกิจที่มีการลงทุนต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมกะโปรเจ็กต์ EEC เงินระดมทุนครั้งนี้ ใช้ลงทุนในธุรกิจเหมืองหินและแร่ รวมทั้ง ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนรองรับโอกาสการเติบโตอย่างยั่งยืน เป็นผู้ประกอบการเหมืองหินอุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้างรายแรกที่เข้าจดทะเบียนในตลาด mai ปักธงเทรด 26 เมษายน 2567 หมวดธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง

บริษัท สโตนวัน จำกัด (มหาชน) หรือ STX เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 65 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 21.16% ของจํานวนหุ้นที่ออกและเรียกชําระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้ ได้แต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ ไอ วี โกลบอล จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย พร้อมด้วยผู้ร่วมจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายอีก 3 ราย ประกอบด้วย บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด และบริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด

นายพงศ์ภัค สุทธิพงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการ ฝ่ายวาณิชธนกิจ 2 บริษัทหลักทรัพย์ ไอ วี โกลบอล จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ บริษัท สโตนวัน จำกัด (มหาชน) หรือ STX เปิดเผยว่า ได้กำหนดราคาเสนอขาย IPO ของ STX ที่หุ้นละ 3.00 บาท จะเปิดให้นักลงทุนจองซื้อในวันที่ 18,19 และ 22 เม.ย. นี้ และคาดว่าจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) ในวันที่ 26 เมษายน 2567 ในหมวดธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง

สำหรับราคาหุ้นสามัญที่เสนอขายหุ้นละ 3.00 บาท คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E Ratio) เท่ากับ 19.10 เท่า โดยคำนวณกำไรสุทธิต่อหุ้นจากผลกำไรสุทธิในช่วง 4 ไตรมาสย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ทั้งนี้ STX พิจารณานำ P/E ของ คู่เทียบในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงระยะเวลา 12 เดือนย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 มาเป็นข้อมูลประกอบการเปรียบเทียบ

ชู STX เป็นบริษัทชั้นนำ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญกว่า 27 ปี ในธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์หินอุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้าง และยังมีจุดเด่นที่สำคัญ คือ มีฐานะการเงินที่มั่นคงแข็งแกร่ง โดยมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) ต่ำเพียง 0.18 เท่า และมีส่วนของทุนสูงถึงกว่า 600 ล้านบาท จึงมีศักยภาพสูงในการขยายธุรกิจ โดยภายหลังจากการระดมทุนจากการเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้ เพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นที่ยั่งยืนในระยะยาวต่อไป

นายทรงวุธ เวชชานุเคราะห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สโตนวัน จำกัด (มหาชน) หรือ STX กล่าวว่า การเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้ จะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนจำนวนประมาณ 172.30 ล้านบาท (หลังหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง) เพื่อใช้เป็นเงินลงทุนในการขยายธุรกิจเหมืองหินและแร่ ในการเข้าซื้อเหมืองใหม่

และลงทุนในเครื่องจักร และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต จำนวนเงินที่ใช้โดยประมาณ 150 ล้านบาท

นอกจากนี้ นำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการดำเนินธุรกิจ จำนวนเงินที่ใช้โดยประมาณ 22.30 ล้านบาท เพื่อสร้างความยั่งยืนในอนาคต และมั่นใจว่าหลังจากระดมทุนครั้งนี้ จะสนับสนุนฐานทุนบริษัทให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น เตรียมพร้อมสำหรับขยายไปยังโอกาสใหม่ๆ ให้ผู้ถือหุ้นทุกท่านร่วมเติบโตไปกับเรา

โดย STX วางเป้าหมายที่จะขยายแหล่งวัตถุดิบและการผลิตในอนาคต ต่อยอดธุรกิจหินอุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้างให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยการเข้าลงทุนในธุรกิจเหมืองหินที่เปิดดำเนินการอยู่แล้ว หรือการพัฒนาเหมืองหินใหม่ ซึ่งอยู่ในที่ตั้งที่เหมาะสม พร้อมด้วยเจตนารมณ์การทำเหมืองอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยสร้างผลกำไรอย่างต่อเนื่องให้แก่ผู้ถือหุ้น ด้วยหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยบริษัทได้รับรางวัลมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแร่ (CSR-DPIM) รางวัลเหมืองแร่สีเขียว (Green Mining) มาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2556 และรางวัล Green Industry อุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3 ระบบสีเขียว (Green System) การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ มีการติดตามประเมินผล และทบทวนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืนให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน

สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2566 บริษัทฯ มีกําไรสุทธิ 38.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 16.48 ล้านบาท หรือ 76.5% สาเหตุหลักจากการเติบโตของรายได้ที่เพิ่มขึ้นในปี 2566 มีรายได้รวม 371.29 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อน 32.8% โดยปัจจัยที่ช่วยผลักดันการเติบโตดังกล่าวมาจากรายได้การขายหินแกรนิต 20 มม. ของเหมืองหนองข่าสำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้าง กลับมาทําการผลิตดังเดิม รวมทั้ง ผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัทที่เหมืองจอมบึงที่เป็นโดโลไมต์ผง โดยมีการจําหน่ายให้กับลูกค้าในอุตสาหกรรมกระจกและอุตสาหกรรมซีเมนต์ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม (Valued added) และเป็นการเพิ่มฐานลูกค้าไปยังอุตสาหกรรมที่หลากหลายมากขึ้น สนับสนุนอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 31.26% อัตรากำไรสุทธิ 10.24%

ทั้งนี้ ปัจจุบัน STX ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์หินอุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้าง และแร่โดโลไมต์ รวมทั้ง การให้บริการขนส่ง ให้บริการด้านขนส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าที่ไซต์งานอย่างครบวงจร ปัจจุบัน บริษัทและบริษัทย่อย มีเหมืองหิน 2 แห่ง ประกอบด้วย เหมืองหนองข่า (ผลิตและจำหน่ายหินแกรนิต) ตั้งอยู่ที่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และเหมืองจอมบึง (ผลิตและจำหน่ายหินปูนและแร่โดโลไมต์) ตั้งอยู่ที่ อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี โดยเหมือนหินทั้ง 2 ที่ของบริษัท ระยะทางห่างกันเกินกว่า 150 กิโลเมตร ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์ทางด้านการขายของบริษัท โดยเหมืองหินแกรนิตซึ่งตั้งอยู่บริเวณภาคตะวันออกของประเทศ จะสามารถจำหน่ายให้กับกลุ่มลูกค้าแถบจังหวัดชลบุรี ซึ่งรวมถึงพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก EEC และพื้นที่ในบริเวณใกล้เคียง ในส่วนของเหมืองหินจอมบึงซึ่งอยู่ทางภาคตะวันตกของประเทศ ถือได้ว่าเป็นเหมืองหินขนาดใหญ่ในพื้นที่ สามารถจำหน่ายให้กับกลุ่มลูกค้าแถบจังหวัดราชบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง รองรับความต้องการของลูกค้าได้อย่างทั่วถึง

APO ปิดจองซื้อ IPO นักลงทุนให้การตอบรับดี ขายหมดเกลี้ยง 100 ล้านหุ้น เตรียมลงสนามเทรด mai 2 เม.ย. นี้ พร้อมเดินหน้าลงทุนปรับปรุงเครื่องจักร เพิ่มประสิทธิภาพระบบการผลิต APM เผยศักยภาพเติบโตสูงหลังระดมทุน KFS มั่นใจหุ้นพื้นฐานดี

นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด หรือ APM ในฐานะที่ปรึกษาการเงิน บริษัท เอเชียนน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) หรือ APO เปิดเผยว่า APO เตรียมเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เป็นวันแรก 2 เม.ย.นี้ ในหมวดธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (AGRO)  จำนวน 100 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท ราคาเสนอขายหุ้นละ 0.99 บาท โดยเปิดจองซื้อหุ้นวันที่ 25-27 มี.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุนที่ให้ความเชื่อมั่นในศักยภาพการดำเนินธุรกิจ

เนื่องจาก APO มีการศึกษาเพื่อพัฒนาธุรกิจให้ทันสมัย มีความพร้อมในการจัดหาวัตถุดิบคุณภาพสูงอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งบริษัทยังมีความพร้อมในการเติบโต ประกอบกับปัจจัยด้านอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มมีแนวโน้มเติบโตตามความต้องการทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งมีการส่งเสริมจากภาครัฐ อาทิ การนำน้ำมันปาล์มดิบไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าสูงขึ้น

ดร. วรนันท์ ถาวรนันท์ กรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ คิงส์ฟอร์ด จำกัด (มหาชน) หรือ KFS ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุน กล่าวว่า APO จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนในการเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เนื่องจากราคาที่เสนอขาย IPO มีความเหมาะสม เมื่อพิจารณาถึงศักยภาพการดำเนินงานของบริษัท ฐานะการเงินแข็งแกร่ง และสภาพคล่องทางการเงินที่ดี

โดยการกำหนดราคา IPO ที่หุ้นละ 0.99 บาท พิจารณาจากอัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชี (Price to Book Value : P/BV) มีค่าเท่ากับ 1.00 เท่า ขณะที่หากพิจารณาเฉพาะคู่แข่งทางตรงกับบริษัท จะมีเพียง UVAN VPO และ UPOIC ที่ดำเนินธุรกิจคล้ายคลึงกับบริษัท ซึ่งมี P/BV เฉลี่ยอยู่ที่ 1.55 เท่า

นายสิทธิภาส อุดมผลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชียนน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) หรือ APO ผู้เชี่ยวชาญธุรกิจสกัดน้ำมันปาล์มดิบ จำหน่ายผลิตภัณฑ์หลักจากการสกัดน้ำมันปาล์มดิบและผลพลอยได้ ผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพเพื่อจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กล่าวว่า บริษัทขอขอบคุณนักลงทุนที่ให้ความสนใจการจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท ทำให้การเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ซึ่งการระดมทุนในครั้งนี้จะส่งผลให้บริษัทสามารถขยายศักยภาพการดำเนินงาน เพื่อสร้างการเติบโตตามแผนการดำเนินงานที่ได้วางไว้

“บริษัทมีแผนปรับปรุงกระบวนการผลิต เปลี่ยนเครื่องจักรหม้อนึ่งจากแนวนอนเป็นแนวตั้ง เพิ่มประสิทธิภาพระบบการผลิตน้ำมันปาล์ม เพื่อให้ได้น้ำมันที่มีคุณภาพดี ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดต้นทุนในระบบผลิตน้ำมันปาล์ม ส่วนเงินระดมทุนที่เหลือจะเป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับขยายธุรกิจ รองรับความต้องการน้ำมันปาล์มดิบ เพิ่มโอกาสในการแข่งขันและการทำกำไร เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต” นายสิทธิภาส กล่าว

ก.ล.ต. นับหนึ่งคำขอ เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ หรือ “PCE” ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) กลุ่มธุรกิจหลัก คือ อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มแบบครบวงจร เตรียมเสนอขายหุ้น IPO 750 ล้านหุ้น ระดมทุนเดินหน้าเข้า SET ขึ้นแท่นผู้นำด้านธุรกิจน้ำมันปาล์มและระบบซัพพลายเชนครบวงจร

 

นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PCE เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เริ่มนับหนึ่งแบบแสดงคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกการเสนอขายหลักทรัพย์ เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งแรกต่อประชาชน (IPO) ของ PCE เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจน้ำมันปาล์มมากกว่า 40 ปี ทำให้ PCE ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมเป็นอย่างดี และด้วยวิสัยทัศน์ของ PCE ที่มุ่งมั่นและต้องการขยายธุรกิจน้ำมันปาล์มและระบบซัพพลายเชนให้ครบวงจร เพื่อรองรับการเติบในอนาคต จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัทเป็นผู้นำในธุรกิจและอุตสาหกรรม และสร้างความน่าสนใจให้กับนักลงทุน

นายสุพล ค้าพลอยดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวเสริมว่า ปัจจุบัน PCE มีทุนจดทะเบียน 2,750 ล้านบาท เป็นทุนชำระแล้ว 2,000 ล้านบาท โดยเตรียมเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก จำนวน 750 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 1 บาท ซึ่งคิดเป็น 27.27% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่ออกและจำหน่ายแล้วของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ และจะนำหุ้นสามัญทั้งหมดเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (AGRO) หมวดธุรกิจการเกษตร (AGRI)

นายประกิต ประสิทธิ์ศุภผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PCE เปิดเผยว่า การระดมทุนและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET ถือเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือให้กับ PCE ในการต่อยอดธุรกิจพร้อมขยายโอกาสทางธุรกิจให้เติบโตต่อเนื่องและยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมปาล์มครบวงจรในอนาคต

สำหรับวัตถุประสงค์ในการระดมทุน บริษัทจะนำไปลงทุนในกิจการอื่นที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจโรงงานผลิตน้ำมันไบโอดีเซล (B100) ของบริษัท เช่น โรงสกัดน้ำมันปาล์ม รวมถึงลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และควบคุมต้นทุน อีกทั้งเพื่อต่อยอดหรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ของบริษัท ส่วนที่เหลือใช้เป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ

PCE ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ในธุรกิจอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มแบบครบวงจร ที่มีความพร้อมการจัดการระบบซัพพลายเชน (Supply Chain) โดยแบ่งได้เป็น 1) กลุ่มธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์ม น้ำมันไบโอดีเซล และน้ำมันปาล์มโอเลอีนเพื่อการบริโภค ซึ่งรวมถึงการซื้อน้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาจำหน่ายต่อให้กับลูกค้าทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ 2) กลุ่มธุรกิจให้บริการคลังสินค้าและท่าเทียบเรือ 3) กลุ่มธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางรถ และ 4) กลุ่มธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือ

“บริษัทตั้งเป้าจะเป็นผู้นำธุรกิจน้ำมันปาล์มและน้ำมันพืชอื่นแบบครบวงจร มีมาตรฐานด้านคุณภาพและบริการเป็นอันดับหนึ่งของประเทศและก้าวสู่ระดับสากล PCE มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างการเติบโตและความยั่งยืนทางธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต พร้อมทั้งส่งมอบบริการและสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และยกระดับการบริหารจัดการองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ภายใต้หลักธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม” นายประกิตกล่าวเพิ่มเติม

ปัจจุบันบริษัทย่อยภายในกลุ่ม PCE ประกอบด้วย

· บริษัท นิว ไบโอดีเซล จำกัด ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่าย น้ำมันไบโอดีเซล น้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ และน้ำมันพืชสำหรับการบริโภค ภายใต้ตราสินค้า “รินทิพย์”

· บริษัท ปาโก้เทรดดิ้ง จำกัด ประกอบธุรกิจซื้อขายน้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันเมล็ดในปาล์ม เมล็ดในปาล์ม และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากปาล์ม โดยจัดจำหน่ายให้กับลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ

· บริษัท พี.เค. มารีน เทรดดิ้ง จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการคลังสินค้าและท่าเทียบเรือ มีพื้นให้บริการกว่า 50,000 ตร.ม. และมีคลังน้ำมันจำนวน 58 แทงค์ที่สามารถรองรับปริมาณการจัดเก็บได้ถึง 240,000 ตัน โดยมีท่าเทียบเรือทั้งในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดฉะเชิงเทรา (อ.บางปะกง)

· บริษัท เพชรศรีวิชัย จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางบกภายในประเทศซึ่งมีรถให้บริการมากกว่า 150 คัน เพื่อขนส่งน้ำมันปาล์ม รวมถึงสินค้าแห้งและอื่นๆ

· บริษัท พี.ซี. มารีน (1992) จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือ ทั้งในและต่างประเทศ โดยมีขนาดเรือ 1,800 – 3,100 ตัน ซึ่งสามารถขนส่งได้ทั้งของแห้งและของเหลว รวม 13 ลำ

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัด (บลจ.เกียรตินาคินภัทร) นำเสนอโอกาสลงทุนในหุ้นคุณค่าทั่วโลก ภายใต้เป้าหมายเติบโตในระยะยาว เปิดเสนอขาย 2 กองทุนใหม่ ได้แก่ กองทุนเปิดเคเคพี GLOBAL VALUE – UNHEDGED (KKP GVALUE-UH) และกองทุนเปิดเคเคพี GLOBAL VALUE – HEDGED (KKP GVALUE-H) โดยมีกลยุทธ์การบริหารการลงทุนแบบเชิงรุก (Active Management) ที่เน้นลงทุนในกองทุนหลัก MFS Meridian Funds - Contrarian Value Fund โดยกองทุนหลักมีเป้าหมายการลงทุนในบริษัทที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) และแบ่งเป็นประเภทไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (UNHEDGED) และป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด (HEDGED) กำหนดการเสนอขายครั้งแรกระหว่างวันที่ 22 – 27 มีนาคม 2567 ด้วยมูลค่าขั้นต่ำในการซื้อเพียง 1,000 บาท

นายยุทธพล ลาภละมูล กรรมการผู้จัดการ บลจ.เกียรตินาคินภัทร เปิดเผยว่า จากสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯที่แข็งแกร่งและคาดว่าจะไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย ธนาคารกลางสำคัญของโลกเริ่มมีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง และตัวเลขประมาณการกำไรสุทธิปี 2024 ของหุ้นโลกยังคงมีการปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าการปรับลดลง ทำให้การลงทุนในหุ้นโลกยังคงมีความน่าสนใจ โดยเฉพาะการลงทุนในหุ้น Global Value ที่มีระดับ P/E 15.5 เท่าในปัจจุบัน ซึ่งยังคงถูกกว่าตลาดหุ้นโลกโดยรวม (P/E 18.05 เท่า) และต่ำกว่าของหุ้น Global Growth (P/E 32.6 เท่า) ถึง 50% นอกจากนี้ หุ้นในกลุ่ม Global Value มีหุ้นวัฎจักรที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจในสัดส่วนที่มากกว่าตลาดหุ้นโลกโดยรวม ทำให้การเพิ่มการลงทุนในหุ้น Global Value ในพอร์ตหุ้นโลกสามารถสร้างโอกาสเพิ่มอัตราผลตอบแทนได้ ด้วยเหตุนี้ ทางบลจ.เกียรตินาคินภัทร จึงได้คัดเลือกกองทุน KKP GVALUE-UH และ KKP GVALUE-H ที่กองทุนหลักมีสไตล์การลงทุนแบบ Contrarian Value เน้นเลือกลงทุนในหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง เพื่อนำเสนอเป็นทางเลือกให้แก่นักลงทุนไทย

สำหรับ กองทุน KKP GVALUE-UH และ KKP GVALUE-H ระดับความเสี่ยง 6 เป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุนประเภท Feeder Fund มีนโยบายเน้นลงทุนในกองทุนหลัก MFS Meridian Funds - Contrarian Value Fund ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม โดยกองทุนหลักเน้นลงทุนอย่างน้อยร้อยละ 70 ในตราสารทุน โดยเฉพาะในตลาดที่พัฒนาแล้ว และอาจลงทุนในตราสารทุนในตลาดเกิดใหม่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วกองทุนหลักจะลงทุนในประมาณ 50 บริษัทหรือน้อยกว่า ที่ผู้จัดการกองทุนเชื่อว่ามีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value)

 กองทุน KKP GVALUE-UH จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ส่วนกองทุน KKP GVALUE-H จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 90% ของเงินลงทุนในต่างประเทศ

สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจสามารถขอรับหนังสือชี้ชวนและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) โทร. 02 305 9559 หรือ ธนาคารเกียรตินาคินภัทรทุกสาขา หรือ https://am.kkpfg.com หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง

ข้อมูลกองทุน KKP GVALUE-UH และ KKP GVALUE-H :

· เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 22 – 27 มีนาคม 2567

· มูลค่าขั้นต่ำในการซื้อครั้งแรก 1,000 บาท ครั้งถัดไป 1,000 บาท

คำเตือน

· ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้าเงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

· กองทุน KKP GVALUE-H จะทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเกือบทั้งหมด (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ) กองทุนจึงอาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนในส่วนที่ไม่ได้ทำการป้องกันความเสี่ยงไว้ ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

· กองทุน KKP GVALUE-UH จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ดังนั้น กองทุนจึงมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

· โปรดศึกษาคำเตือนที่สำคัญอื่นและข้อมูลเพิ่มเติมได้ในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม https://am.kkpfg.com หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง

ก.ล.ต. นับหนึ่งคำขอ เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ หรือ “PCE” ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) กลุ่มธุรกิจหลัก คือ อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มแบบครบวงจร เตรียมเสนอขายหุ้น IPO 750 ล้านหุ้น ระดมทุนเดินหน้าเข้า SET ขึ้นแท่นผู้นำด้านธุรกิจน้ำมันปาล์มและระบบซัพพลายเชนครบวงจร

 

นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PCE เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เริ่มนับหนึ่งแบบแสดงคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกการเสนอขายหลักทรัพย์ เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งแรกต่อประชาชน (IPO) ของ PCE เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจน้ำมันปาล์มมากกว่า 40 ปี ทำให้ PCE ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมเป็นอย่างดี และด้วยวิสัยทัศน์ของ PCE ที่มุ่งมั่นและต้องการขยายธุรกิจน้ำมันปาล์มและระบบซัพพลายเชนให้ครบวงจร เพื่อรองรับการเติบในอนาคต จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัทเป็นผู้นำในธุรกิจและอุตสาหกรรม และสร้างความน่าสนใจให้กับนักลงทุน

นายสุพล ค้าพลอยดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวเสริมว่า ปัจจุบัน PCE มีทุนจดทะเบียน 2,750 ล้านบาท เป็นทุนชำระแล้ว 2,000 ล้านบาท โดยเตรียมเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก จำนวน 750 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 1 บาท ซึ่งคิดเป็น 27.27% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่ออกและจำหน่ายแล้วของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ และจะนำหุ้นสามัญทั้งหมดเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (AGRO) หมวดธุรกิจการเกษตร (AGRI)

นายประกิต ประสิทธิ์ศุภผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PCE เปิดเผยว่า การระดมทุนและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET ถือเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือให้กับ PCE ในการต่อยอดธุรกิจพร้อมขยายโอกาสทางธุรกิจให้เติบโตต่อเนื่องและยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมปาล์มครบวงจรในอนาคต

สำหรับวัตถุประสงค์ในการระดมทุน บริษัทจะนำไปลงทุนในกิจการอื่นที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจโรงงานผลิตน้ำมันไบโอดีเซล (B100) ของบริษัท เช่น โรงสกัดน้ำมันปาล์ม รวมถึงลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และควบคุมต้นทุน อีกทั้งเพื่อต่อยอดหรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ของบริษัท ส่วนที่เหลือใช้เป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ

PCE ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ในธุรกิจอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มแบบครบวงจร ที่มีความพร้อมการจัดการระบบซัพพลายเชน (Supply Chain) โดยแบ่งได้เป็น 1) กลุ่มธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์ม น้ำมันไบโอดีเซล และน้ำมันปาล์มโอเลอีนเพื่อการบริโภค ซึ่งรวมถึงการซื้อน้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาจำหน่ายต่อให้กับลูกค้าทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ 2) กลุ่มธุรกิจให้บริการคลังสินค้าและท่าเทียบเรือ 3) กลุ่มธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางรถ และ 4) กลุ่มธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือ

“บริษัทตั้งเป้าจะเป็นผู้นำธุรกิจน้ำมันปาล์มและน้ำมันพืชอื่นแบบครบวงจร มีมาตรฐานด้านคุณภาพและบริการเป็นอันดับหนึ่งของประเทศและก้าวสู่ระดับสากล PCE มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างการเติบโตและความยั่งยืนทางธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต พร้อมทั้งส่งมอบบริการและสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และยกระดับการบริหารจัดการองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ภายใต้หลักธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม” นายประกิตกล่าวเพิ่มเติม

ปัจจุบันบริษัทย่อยภายในกลุ่ม PCE ประกอบด้วย

· บริษัท นิว ไบโอดีเซล จำกัด ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่าย น้ำมันไบโอดีเซล น้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ และน้ำมันพืชสำหรับการบริโภค ภายใต้ตราสินค้า “รินทิพย์”

· บริษัท ปาโก้เทรดดิ้ง จำกัด ประกอบธุรกิจซื้อขายน้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันเมล็ดในปาล์ม เมล็ดในปาล์ม และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากปาล์ม โดยจัดจำหน่ายให้กับลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ

· บริษัท พี.เค. มารีน เทรดดิ้ง จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการคลังสินค้าและท่าเทียบเรือ มีพื้นให้บริการกว่า 50,000 ตร.ม. และมีคลังน้ำมันจำนวน 58 แทงค์ที่สามารถรองรับปริมาณการจัดเก็บได้ถึง 240,000 ตัน โดยมีท่าเทียบเรือทั้งในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดฉะเชิงเทรา (อ.บางปะกง)

· บริษัท เพชรศรีวิชัย จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางบกภายในประเทศซึ่งมีรถให้บริการมากกว่า 150 คัน เพื่อขนส่งน้ำมันปาล์ม รวมถึงสินค้าแห้งและอื่นๆ

· บริษัท พี.ซี. มารีน (1992) จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือ ทั้งในและต่างประเทศ โดยมีขนาดเรือ 1,800 – 3,100 ตัน ซึ่งสามารถขนส่งได้ทั้งของแห้งและของเหลว รวม 13 ลำ

Page 1 of 7
X

Right Click

No right click