SCB CIO ประเมินมุมมองเศรษฐกิจและการลงทุน หลังผลเลือกตั้งอินโดนีเซีย ที่นายปราโบโว ซูเบียนโต ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด เตรียมเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี ในวันที่ 20 ต.ค. นี้  เดินหน้านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และสวัสดิการสังคม พร้อมสานต่อนโยบายรัฐบาลชุดเดิม สร้างเศรษฐกิจให้เติบโตด้วยกลไกตลาดเสรี  ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติ และเน้นการพึ่งพาตัวเองมากขึ้น ทั้ง ด้านพลังงาน อาหาร และน้ำ รวมทั้ง ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ   ตั้งเป้าเศรษฐกิจอินโดนีเซียเติบโตเฉลี่ย 6-7% ต่อปี   SCB CIO ยังคงมุมมอง Neutral   แม้หุ้นกลุ่มธนาคารเติบโตดี    Valuationของตลาดหุ้น อยู่ในระดับต่ำ  และรายได้ (Earning) ของบริษัทจดทะเบียน คาดว่ามีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปีนี้ที่กว่า 12% และปี 2568 กว่า 9%  แต่ยังมีปัจจัยกังวลในเรื่องภาคการส่งออกที่หดตัวอย่างต่อเนื่อง    การปรับลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และความเสี่ยงที่รัฐบาล อาจปรับเพิ่มเพดานขาดดุลการคลังต่อ GDP จาก 3% เป็น 6% ที่อาจจะกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังระยะกลางถึงยาวได้

ดร.กำพล  อดิเรกสมบัติ  ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าทีม SCB Chief Investment Office (SCB CIO)  ธนาคารไทยพาณิชย์  เปิดเผยว่า จากการเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2567 ผลการนับคะแนนแบบไม่เป็นทางการ (Quick Count) ที่มีความแม่นยำค่อนข้างสูง ชี้ว่า นายปราโบโว  ซูเบียนโต (Prabowo Subianto)ได้คะแนนเฉลี่ย 58% ของคะแนนเสียงทั้งหมด ทำให้ นายปราโบโว คว้าชัยชนะจากการเลือกตั้งประธานาธิบดี และเตรียมรอเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่  20 ต.ค.นี้ โดยไม่น่าจะต้องมีการเลือกตั้งรอบสอง เนื่องจากเป็นไปตามกฎการเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดนีเซียที่ระบุว่า กรณีผู้สมัครชนะการเลือกตั้ง ต้องได้คะแนนมากกว่า 50% และ ได้คะแนนอย่างน้อย 20% ในจังหวัดต่างๆ มากกว่าครึ่งหนึ่งของจังหวัดทั้งประเทศ หากไม่มีผู้สมัครคนใดได้คะแนนเสียงถึงเกณฑ์ที่กำหนด จึงจะจัดเลือกตั้งรอบสอง ให้ผู้สมัครที่มีคะแนนเสียงอันดับ 1 และ 2 ชิงชัยชนะกัน

เมื่อวิเคราะห์นโยบายหาเสียงของนายปราโบโว พบว่า โดยภาพรวมเน้นไปที่การกระตุ้นเศรษฐกิจ และด้านสวัสดิการสังคม นโยบายหลักๆ ได้แก่ ด้านสุขภาพ อสังหาริมทรัพย์ แรงงาน การคลัง และ สวัสดิการสังคม โดยตัวอย่างนโยบายเด่นๆ เช่น จัดตรวจสุขภาพฟรีให้ประชาชนทุกคนปีละ 1 ครั้ง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของหมู่บ้านและตำบลอย่างต่อเนื่อง เพิ่มเงินเดือนข้าราชการ จัดตั้งสำนักงานสรรพากรของรัฐ แยกออกมาจากกระทรวงการคลัง เพื่อเพิ่มอัตราส่วนรายได้ภาครัฐต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และเพิ่มโปรแกรมบัตรสวัสดิการสังคม เพื่อขจัดความยากจนอย่างแท้จริง เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังพร้อมสานต่อนโยบายรัฐบาลของนายโจโก วีโดโด (Joko Widodo) ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน เช่น นโยบายโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะโครงการสร้าง "นูซันตารา" เมืองหลวงแห่งใหม่ ทั้งยังต้องการมุ่งเน้นให้เศรษฐกิจเติบโตด้วยกลไกตลาดเสรี  ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติ และเน้นการพึ่งพาตัวเองมากขึ้นด้านพลังงาน อาหาร และน้ำ รวมทั้ง ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศด้วย

สำหรับช่วง 5 ปีต่อจากนี้ที่ นายปราโบโว  จะเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ได้ตั้งเป้าหมายเศรษฐกิจอินโดนีเซียเติบโตเฉลี่ย 6-7% ต่อปี  ซึ่งสูงกว่าที่ IMF คาดอยู่ที่ 5% ระหว่างปี 2024-2025 นอกจากนี้ ยังต้องการลดจำนวนคนว่างงานลงประมาณ 2 ล้านคน ภายใน 5 ปี ผ่านการสืบสานและต่อยอดนโยบายประธานาธิบดี โจโก ซีโดโด โดยเราคาดว่า จะช่วยสนับสนุนภาคการลงทุน จากการที่ภาคเอกชนมีความมั่นใจมากขึ้น และการเพิ่มการใช้จ่ายงบลงทุน (CAPEX) ส่วนการบริโภค คาดว่าจะได้รับผลบวกจากการใช้จ่ายภาครัฐฯ ในด้านสังคม ที่มีแนวโน้มดำเนินต่อไป ตามที่ได้ผ่านงบประมาณรายจ่ายไว้แล้ว ขณะเดียวกัน  นายปราโบโว ประกาศไว้ว่าจะเริ่มต้นเดินหน้านโยบายที่หาเสียงไว้หลายประการทันทีที่เข้ามาบริหารประเทศเต็มตัว จึงเป็นแรงกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชน ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจระยะต่อไป

ทั้งนี้ SCB CIO มีมุมมองเชิงบวกเพิ่มขึ้นต่อตลาดหุ้นอินโดนีเซีย โดยมองว่าตลาดหุ้นได้รับแรงหนุนระยะสั้น จากปัจจัยดังนี้  1) การเลือกตั้งที่มีแนวโน้มสำเร็จในรอบแรก ส่งผลบวกต่อ sentiment บนตลาดหุ้นอินโดนีเซีย 2) ผลประกอบการของกลุ่มธนาคารยังมีแนวโน้มเติบโตดี 3) Valuation ของตลาดหุ้นอินโดนีเซีย อยู่ในระดับที่น่าสนใจ โดยเทรดอยู่บน ราคาต่อกำไรต่อหุ้นในระยะข้างหน้า (forward PE) ที่ 13.7x หรือยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ประมาณ -1 s.d. และ 4) Earnings ของบริษัทจดทะเบียนยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปี 2567 ที่ประมาณ +12.2%   และในปี 2568  คาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ +9.4%

อย่างไรก็ตาม เรายังคงมุมมอง Neutral (ถือ) บนตลาดหุ้นอินโดนีเซียอยู่ เนื่องจากประเด็นความกังวลที่มีอยู่ ได้แก่ 1) ภาคการส่งออกที่หดตัวอย่างต่อเนื่อง 2) การปรับลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออก ดุลบัญชีเดินสะพัด และรายได้ภาครัฐฯ ของอินโดนีเซีย 3) ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับลดลง อาจส่งผลกดดันต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลให้ปรับลดลง และ 4) ความเสี่ยงที่รัฐบาลภายใต้การนำของ นายปราโบโว อาจปรับเพิ่มเพดานขาดดุลการคลังต่อ GDP จากปัจจุบันที่ 3% เป็น 6% ซึ่งหากเกิดขึ้น จะกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังระยะกลางถึงยาว และส่งผลลบต่อค่าเงินรูเปี๊ยะให้อ่อนค่าลง และ Bond Yield อินโดนีเซีย อาจกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นได้

กลุ่มงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB Financial Markets: SCB FM) เผยว่าตลาดการเงินเดือนที่ผ่านมาผันผวนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาผิดจากที่ตลาดคาด โดยเศรษฐกิจโลกขยายตัวแข็งแกร่งกว่าคาด และเงินเฟ้อลดลงช้า ทำให้ตลาดปรับมุมมองการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลัก (ทั้ง Fed และ ECB) ในปีนี้ลง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จึงเพิ่มขึ้นเร็วกว่าคาด ด้านเศรษฐกิจไทย ตัวเลขออกมาอ่อนแอกว่าที่คาดต่อเนื่อง ทำให้โอกาสที่ กนง. จะลดดอกเบี้ยในปีนี้ตามที่ตลาดคาดที่ 2 ครั้ง มีมากขึ้น ทั้งนี้ จังหวะและความต่อเนื่องในการลดยังมีความไม่แน่นอน ทำให้อัตราดอกเบี้ย THOR OIS ในตลาดเงินจะผันผวนและมีโอกาสสูงขึ้นเล็กน้อย สำหรับค่าเงินบาท พบว่าที่ผ่านมาอ่อนค่าเร็ว ซึ่งในระยะสั้นนี้คาดว่าแรงกดดันด้านอ่อนค่าจะยังอยู่จากปัจจัยต่างประเทศที่ทำให้เงินดอลาร์สหรัฐจะยังแข็งค่า และปัจจัยในประเทศที่อ่อนแอกดดันให้บาทอ่อน มองกรอบค่าเงินบาท 36.00-36.50 ภายใน 1 เดือนนี้

นายแพททริก ปูเลีย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตลาดการเงินโลกเดือนที่ผ่านมาผันผวนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาผิดจากที่ตลาดคาด โดยเศรษฐกิจโลกขยายตัวแข็งแกร่งกว่าคาด นำโดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ตัวเลขในตลาดแรงงานและการบริโภคเอกขนขยายตัวแข็งแกร่งต่อเนื่อง และเงินเฟ้อลดลงช้ากว่าคาด ด้านเศรษฐกิจยุโรปก็ฟื้นตัวดีกว่าคาด นำโดยเศรษฐกิจฝรั่งเศสที่ฟื้นตัวดีกว่าคาดทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ สำหรับเศรษฐกิจจีน แม้จะยังอ่อนแอแต่ได้รับอานิสงส์จากมาตรการสนับสนุนที่มีออกมาต่อเนื่องและคาดว่าจะมีออกมาเพิ่ม จึงทำให้ความเชื่อมั่นในตลาดทุนปรับเพิ่มขึ้นในเดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ หากดูที่ตัวเลขเศรษฐกิจไทย พบว่าออกมาอ่อนแอกว่าที่ตลาดคาด โดย GDP Q4 ปีที่แล้ว อยู่ที่ 1.7%YOY ต่ำกว่าตลาดคาด จากการลงทุนและบริโภคภาครัฐที่หดตัวตามความล่าช้าของการประกาศ พ.ร.บ. งบประมาณปี 67 อีกทั้ง การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นมากนัก และภาคการก่อสร้างยังหดตัวสูง ในระยะต่อไปคาดว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 จะขยายตัวดีขึ้น แต่ปัจจัยโครงสร้างที่อ่อนแอจะยังเป็นแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปีนี้

สำหรับตลาดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (US Treasury yields) Yields ในเดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเร็ว หลังตลาดปรับมุมมองการลดดอกเบี้ยของ Fed ในปีนี้ลงจาก 6 ครั้ง เหลือเพียง 3 ครั้ง ซึ่งในระยะสั้นมองว่าแรงกดดันด้านสูงต่อ Yields จะยังมีอยู่ โดยคาดว่าเงินเฟ้อ PCE ที่จะออกในช่วงปลายเดือนนี้ มีโอกาสออกมาสูงตามราคาสินค้ากลุ่มบริการ Supercore สะท้อนจากดัชนี PPI ซึ่งถูกใช้คำนวณในดัชนี PCE ออกมาสูงกว่าคาด จึงทำให้มองว่า 2-year yield อาจสูงขึ้นไปที่ราว 4.60-4.80% ส่วน 10-year yield อาจขึ้นไปที่ราว 4.20-4.40% ในช่วงเดือนมีนาคมนี้ อย่างไรก็ดี ในระยะกลางถึงยาว มองว่า Yields จะสามารถปรับลดลงได้ เพราะเงินเฟ้อ PCE ยังมีแนวโน้มลดลงจากราคาที่อยู่อาศัย (Shelter price) และราคา

สินค้าในกลุ่ม Core goods ส่วนปัจจัยฤดูกาลที่เกิดจากการปรับขึ้นราคาในช่วงต้นปี ก็มีแนวโน้มลดลงในระยะต่อไป นอกจากนี้ คาดว่าอุปทานพันธบัตรรัฐบาลจะไม่เพิ่มขึ้นมาก ขณะที่อุปสงค์จะดีต่อเนื่อง

สำหรับมุมมองอัตราดอกเบี้ยไทย กนง. มีโอกาสลดดอกเบี้ยในปีนี้มากขึ้น โดยขณะนี้ตลาดมองว่า กนง. จะลดดอกเบี้ยนโยบายถึง 2 ครั้ง สะท้อนจากตลาด Swap บนอัตราดอกเบี้ย THOR ระยะสั้นของไทยอยู่ต่ำกว่า Policy rate ซึ่งมองว่า เหตุผลที่ กนง. จะลดดอกเบี้ยมาจาก 1) ตัวเลขเศรษฐกิจไทยอ่อนแอกว่าคาด สะท้อนจากเลข GDP ไตรมาส 4 ปีที่แล้ว ที่หดตัวเทียบไตรมาสก่อน เงินเฟ้อที่ติดลบต่อเนื่อง และดุลการค้าที่ขาดดุลมากกว่าคาด 2) การสื่อสารของ กนง. ที่ให้น้ำหนักต่อปัจจัยเชิงโครงสร้างที่อ่อนแอขึ้นกว่าคาด และ 3) ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยมีมากขึ้น ทั้งเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ เช่น จีน รวมถึงความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์โลก ทั้งนี้ การลดดอกเบี้ยครั้งแรกยังไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด ทำให้อัตราดอกเบี้ย THOR OIS ในตลาดเงินจะผันผวนและมีโอกาสสูงขึ้นเล็กน้อย ซึ่งมองว่าจะเป็นโอกาสให้ Receive fixed rate ได้ โดยแนะนำ Receive THOR OIS ระยะกลาง (5 ปี)

ด้านค่าเงินบาทที่ผ่านมาอ่อนค่าเร็ว ซึ่งในระยะสั้นนี้คาดว่าแรงกดดันด้านอ่อนค่าจะยังอยู่ โดยคาดว่าดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐจะแข็งค่าตามแนวโน้ม Treasury yields ที่อาจจะยังสูงในระยะอันใกล้นี้ ทำให้เงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอาจอ่อนค่าได้อีกเล็กน้อย โดยในเดือนมีนาคมอาจอยู่ในกรอบ 36.00-36.50 อย่างไรก็ดี ในระยะยาว ยังมองว่าเงินบาทจะกลับมาแข็งค่าต่อได้ เนื่องจาก 1) เงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มอ่อนค่าลง ในเวลาที่ Fed เริ่มลดดอกเบี้ย ซึ่งจะลดได้จากเงินเฟ้อที่น่าจะลดลงชัดเจนขึ้นในไตรมาสที่สอง 2) เงินยูโรมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้ค่าดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงด้วย และ 3) เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจนขึ้นในระยะต่อไป โดยล่าสุดความเชื่อมั่นปรับสูงขึ้นในเดือน ม.ค. และเลขส่งออกขยายตัวสูงขึ้น จึงคาดว่าเงินบาทจะแข็งค่าไปที่ราว 33.50-34.50 ณ สิ้นปีนี้

SCB CIO ประเมินมุมมองเศรษฐกิจและการลงทุน หลังผลเลือกตั้งอินโดนีเซีย ที่นายปราโบโว ซูเบียนโต ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด เตรียมเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี ในวันที่ 20 ต.ค. นี้ เดินหน้านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และสวัสดิการสังคม พร้อมสานต่อนโยบายรัฐบาลชุดเดิม สร้างเศรษฐกิจให้เติบโตด้วยกลไกตลาดเสรี ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติ และเน้นการพึ่งพาตัวเองมากขึ้น ทั้ง ด้านพลังงาน อาหาร และน้ำ รวมทั้ง ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ ตั้งเป้าเศรษฐกิจอินโดนีเซียเติบโตเฉลี่ย 6-7% ต่อปี SCB CIO ยังคงมุมมอง Neutral แม้หุ้นกลุ่มธนาคารเติบโตดี Valuationของตลาดหุ้น อยู่ในระดับต่ำ และรายได้ (Earning) ของบริษัทจดทะเบียน คาดว่ามีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปีนี้ที่กว่า 12% และปี 2568 กว่า 9% แต่ยังมีปัจจัยกังวลในเรื่องภาคการส่งออกที่หดตัวอย่างต่อเนื่อง การปรับลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และความเสี่ยงที่รัฐบาล อาจปรับเพิ่มเพดานขาดดุลการคลังต่อ GDP จาก 3% เป็น 6% ที่อาจจะกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังระยะกลางถึงยาวได้

ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าทีม SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากการเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2567 ผลการนับคะแนนแบบไม่เป็นทางการ (Quick Count) ที่มีความแม่นยำค่อนข้างสูง ชี้ว่า นายปราโบโว ซูเบียนโต (Prabowo Subianto)ได้คะแนนเฉลี่ย 58% ของคะแนนเสียงทั้งหมด ทำให้ นายปราโบโว คว้าชัยชนะจากการเลือกตั้งประธานาธิบดี และเตรียมรอเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 ต.ค.นี้ โดยไม่น่าจะต้องมีการเลือกตั้งรอบสอง เนื่องจากเป็นไปตามกฎการเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดนีเซียที่ระบุว่า กรณีผู้สมัครชนะการเลือกตั้ง ต้องได้คะแนนมากกว่า 50% และ ได้คะแนนอย่างน้อย 20% ในจังหวัดต่างๆ มากกว่าครึ่งหนึ่งของจังหวัดทั้งประเทศ หากไม่มีผู้สมัครคนใดได้คะแนนเสียงถึงเกณฑ์ที่กำหนด จึงจะจัดเลือกตั้งรอบสอง ให้ผู้สมัครที่มีคะแนนเสียงอันดับ 1 และ 2 ชิงชัยชนะกัน

เมื่อวิเคราะห์นโยบายหาเสียงของนายปราโบโว พบว่า โดยภาพรวมเน้นไปที่การกระตุ้นเศรษฐกิจ และด้านสวัสดิการสังคม นโยบายหลักๆ ได้แก่ ด้านสุขภาพ อสังหาริมทรัพย์ แรงงาน การคลัง และ สวัสดิการสังคม โดยตัวอย่างนโยบายเด่นๆ เช่น จัดตรวจสุขภาพฟรีให้ประชาชนทุกคนปีละ 1 ครั้ง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของหมู่บ้านและตำบลอย่างต่อเนื่อง เพิ่มเงินเดือนข้าราชการ จัดตั้งสำนักงานสรรพากรของรัฐ แยกออกมาจากกระทรวงการคลัง เพื่อเพิ่มอัตราส่วนรายได้ภาครัฐต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และเพิ่มโปรแกรมบัตรสวัสดิการสังคม เพื่อขจัดความยากจนอย่างแท้จริง เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังพร้อมสานต่อนโยบายรัฐบาลของนายโจโก วีโดโด (Joko Widodo) ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน เช่น นโยบายโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะโครงการสร้าง "นูซันตารา" เมืองหลวงแห่งใหม่ ทั้งยังต้องการมุ่งเน้นให้เศรษฐกิจเติบโตด้วยกลไกตลาดเสรี ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติ และเน้นการพึ่งพาตัวเองมากขึ้นด้านพลังงาน อาหาร และน้ำ รวมทั้ง ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศด้วย

สำหรับช่วง 5 ปีต่อจากนี้ที่ นายปราโบโว จะเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ได้ตั้งเป้าหมายเศรษฐกิจอินโดนีเซียเติบโตเฉลี่ย 6-7% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าที่ IMF คาดอยู่ที่ 5% ระหว่างปี 2024-2025 นอกจากนี้ ยังต้องการลดจำนวนคนว่างงานลงประมาณ 2 ล้านคน ภายใน 5 ปี ผ่านการสืบสานและต่อยอดนโยบายประธานาธิบดี โจโก ซีโดโด โดยเราคาดว่า จะช่วยสนับสนุนภาคการลงทุน จากการที่ภาคเอกชนมีความมั่นใจมากขึ้น และการเพิ่มการใช้จ่ายงบลงทุน (CAPEX) ส่วนการบริโภค คาดว่าจะได้รับผลบวกจากการใช้จ่ายภาครัฐฯ ในด้านสังคม ที่มีแนวโน้มดำเนินต่อไป ตามที่ได้ผ่านงบประมาณรายจ่ายไว้แล้ว ขณะเดียวกัน นายปราโบโว ประกาศไว้ว่าจะเริ่มต้นเดินหน้านโยบายที่หาเสียงไว้หลายประการทันทีที่เข้ามาบริหารประเทศเต็มตัว จึงเป็นแรงกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชน ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจระยะต่อไป

ทั้งนี้ SCB CIO มีมุมมองเชิงบวกเพิ่มขึ้นต่อตลาดหุ้นอินโดนีเซีย โดยมองว่าตลาดหุ้นได้รับแรงหนุนระยะสั้น จากปัจจัยดังนี้ 1) การเลือกตั้งที่มีแนวโน้มสำเร็จในรอบแรก ส่งผลบวกต่อ sentiment บนตลาดหุ้นอินโดนีเซีย 2) ผลประกอบการของกลุ่มธนาคารยังมีแนวโน้มเติบโตดี 3) Valuation ของตลาดหุ้นอินโดนีเซีย อยู่ในระดับที่น่าสนใจ โดยเทรดอยู่บน ราคาต่อกำไรต่อหุ้นในระยะข้างหน้า (forward PE) ที่ 13.7x หรือยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ประมาณ -1 s.d. และ 4) Earnings ของบริษัทจดทะเบียนยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปี 2567 ที่ประมาณ +12.2% และในปี 2568 คาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ +9.4%

อย่างไรก็ตาม เรายังคงมุมมอง Neutral (ถือ) บนตลาดหุ้นอินโดนีเซียอยู่ เนื่องจากประเด็นความกังวลที่มีอยู่ ได้แก่ 1) ภาคการส่งออกที่หดตัวอย่างต่อเนื่อง 2) การปรับลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออก ดุลบัญชีเดินสะพัด และรายได้ภาครัฐฯ ของอินโดนีเซีย 3) ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับลดลง อาจส่งผลกดดันต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลให้ปรับลดลง และ 4) ความเสี่ยงที่รัฐบาลภายใต้การนำของ นายปราโบโว อาจปรับเพิ่มเพดานขาดดุลการคลังต่อ GDP จากปัจจุบันที่ 3% เป็น 6% ซึ่งหากเกิดขึ้น จะกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังระยะกลางถึงยาว และส่งผลลบต่อค่าเงินรูเปี๊ยะให้อ่อนค่าลง และ Bond Yield อินโดนีเซีย อาจกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นได้

ไทยพาณิชย์ชี้ผู้ประกอบการไทยบูมการใช้สกุลเงินหยวนเป็นสกุลหลักทำธุรกรรมนำเข้า-ส่งออกระหว่างไทย-จีน หลังทางการผลักดันระบบนิเวศตลาดอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ (New FX ecosystem) เปิดตัว SCB Yuan Pro Rata Forward เครื่องมือการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนและลดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับสกุลเงินหยวน ได้เรทอัตราแลกเปลี่ยนพิเศษทุกรายการ ไม่มีขั้นต่ำ และทำรายการได้ด้วยตัวเอง ผ่าน FX Online เป็นธนาคารแรกและแห่งเดียวในประเทศ มั่นใจ SCB Yuan Pro Rata Forward จะเป็นผู้ช่วยตัวท็อปให้เอสเอ็มอีไทยควบคุมต้นทุนที่แน่นอน หมดความกังวลความผันผวนจากค่าเงิน

นายแพททริก ปูเลีย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ประเทศจีนเป็นประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย และมีสัดส่วนการใช้เงินหยวนเพื่อการค้าอยู่ลำดับที่ 4 อย่างไรก็ตาม สกุลเงินหยวนเริ่มมีบทบาทอย่างต่อเนื่องที่ผู้ประกอบการไทยใช้เป็นสกุลหลักในการทำการค้า โดยในปี 2022 สกุลเงินหยวนใช้ในการค้ากับประเทศจีนมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นที่ 6.6% จาก 5.6% ในปี 2021 (ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย) และคาดว่าสัดส่วนดังกล่าวจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสนับสนุนการใช้สกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ในการค้าขายระหว่างประเทศ ตามนโยบายการผลักดันระบบนิเวศของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ (New FX ecosystem)

ธนาคารไทยพาณิชย์มีความพร้อมในการสนับสนุนการใช้สกุลเงินหยวนให้แก่ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้องการได้รับความสะดวกรวดเร็วในการแลกเปลี่ยนเงินตราและลดต้นทุนในการทำธุรกรรมไปพร้อมๆ กัน ธนาคารจึงขยายขอบเขตการทำธุรกรรมด้วยการเพิ่มสกุลเงินหยวนเข้าไปใน SCB Pro Rata Forward ซึ่งเป็นสัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าแบบส่งมอบภายในระยะเวลาที่ตกลงไว้ ภายใต้ชื่อบริการ SCB Yuan Pro Rata Forward เครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินหยวน เพื่อให้ผู้ประกอบการที่มีความจำเป็นต้องใช้สกุลเงินหยวนในการซื้อหรือขายอัตราแลกเปลี่ยนสามารถจัดการความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนได้เพิ่มขึ้น

“SCB Yuan Pro Rata Forward ช่วยลดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับสกุลเงินหยวน ทำให้ผู้ประกอบการไทยสามารถรู้ราคาที่แน่นอนทุกครั้งและทุกวันที่ต้องการทำรายการ และได้เรทอัตราแลกเปลี่ยนพิเศษทุกรายการ ไม่มีขั้นต่ำ และสามารถทำรายการได้อย่างสะดวกสบาย ผ่านช่องทางการทำรายการออนไลน์ FX Online ของธนาคาร ซึ่งไทยพาณิชย์เป็นธนาคารแรกและแห่งเดียวที่ให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกรรม Yuan Pro Rata Forward ได้ด้วยตัวเองผ่านระบบออนไลน์ จึงเชื่อมั่นว่าจะตอบโจทย์การทำธุรกรรมในโลกการค้าไร้พรมแดนและสอดคล้องกับกลยุทธ์ของธนาคาร Digital Bank with Human Touch ได้อย่างชัดเจน” นายแพททริก กล่าว

ปัจจุบัน ธนาคารไทยพาณิชย์ให้บริการ SCB Pro Rata Forward ครอบคลุมสกุลเงินหลัก ได้แก่ USD, AUD, CHF, EUR, GBP. JPY และ NZD ผู้ประกอบการที่ใช้บริการ SCB Pro Rata Forward จะได้รับค่าธรรมเนียมพิเศษ ทั้งโอนออกและรับเงินจากต่างประเทศ เมื่อทำรายการผ่าน SCB Business Anywhere ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจใช้บริการ SCB Pro Rata Forward ติดต่อได้ที่ 02-544-5800

SCB WEALTH ถอดบทเรียนการลงทุนในปีที่ผ่านมา พบ 3 ประเด็นหลักส่งผลให้นักลงทุนพลาดโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดี คือ 1 )การจับจังหวะลงทุนและเก็งกำไรตลอดเวลา ไม่ใช่เรื่องที่เหมะสม 2)การกระจายความเสี่ยงเป็นสิ่งทื่ดีที่สุดในการลงทุน และ3)ไม่หลีกหนี Stay Invested แนะนักลงทุนแบ่งการลงทุนเป็นCore Portfolio ที่ควร Stay Invested และลงทุนระยะกลางถึงยาวได้ อีกส่วนเป็นOpportunistic เพื่อมองหาโอกาสทำกำไร มั่นใจหากนักลงทุนจัด Asset Allocation แม้ตลาดผันผวนไปในทิศทางใด ก็ยังมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจได้

นายรุ่งโรจน์ เสกสรรค์วิริยะ ผู้อำนวยการอาวุโส Investment Product Selection and Partnership ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า การลงทุนในปี 2566 พบ 3 ประเด็นสำคัญที่สามารถนำมาถอดบทเรียนเพื่อนำมาปรับใช้กับการลงทุนในปี 2567 เพื่อให้พอร์ตการลงทุนมีเสถียรภาพ สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้แม้ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวน ได้แก่ 1) การจับจังหวะลงทุนและเก็งกำไรตลอดเวลา ไม่ใช่เรื่องที่เหมาะสม จากการพิจารณาดัชนี S&P500 เทียบกับมูลค่าการซื้อขายในแต่ละวัน พบว่า ในวันที่หุ้นปรับขึ้นมาก มูลค่าการซื้อขายจะสูงขึ้น สะท้อนว่ามีการเข้าไปซื้อขายเพื่อเก็งกำไรสูงขึ้น ซึ่งการจับจังหวะช่วงที่ตลาดขึ้นสูง มีโอกาสเผชิญความผันผวนได้มากกว่าช่วงที่ตลาดย่อตัวลงมา ดังนั้น การลงทุนควรพิจารณาลงทุนในช่วงที่ตลาดปรับตัวลง ซึ่งมีโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีได้มากกว่า

2.การกระจายความเสี่ยงเป็นสิ่งทื่ดีที่สุดในการลงทุน หากย้อนกลับไปช่วงต้นปี 2566 จะพบว่า ตลาดมีการคาดการณ์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจและการลงทุน โดยมองว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ปรับขึ้นดอกเบี้ยแรง และคงอยู่ในระดับสูง จะส่งผลให้เศรษฐกิจมีความผันผวน จากต้นทุนดอกเบี้ยของบริษัทต่างๆ ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะกระทบต่อผลประกอบการของบริษัท และสะท้อนมาที่ดัชนีในตลาดต่างๆ ของสหรัฐ อาจจะยังไม่น่าสนใจสำหรับการลงทุน แต่ปรากฏว่า ในปลายปี 2566 ดัชนี S&P 500 ปรับเพิ่มขึ้น 24.7% ดัชนี Nasdag เพิ่มขึ้น 44.5% และ ดัชนี Dow Jones Industrial (DJI) เพิ่มขึ้น 13.70% ทางด้านตลาดหุ้นจีนมองว่าจะได้รับผลดีจากการเปิดประเทศ จะส่งผลให้ภาคบริโภคฟื้นตัว แต่ปรากฎว่าดัชนี CSI 300 ผลตอบแทน -11.7% ส่วนเศรษฐกิจไทยคาดการณ์ว่าจะดีจากอานิสงส์ที่จีนเปิดประเทศ และการท่องเที่ยวไทยจะบูม แต่ปรากฏว่าดัชนีหุ้นไทย -15.6% ด้านราคาทองคำคาดว่าดอกเบี้ยที่สูงจะกดดันราคาทองคำให้ลดลง แต่ปรากฏว่าราคาทองคำปรับเพิ่มขึ้น 12% ในช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา ทั้งนี้จากสถานการณ์ดังกล่าว นักลงทุนควรยึดมั่นอยู่ในหลักการสำคัญคือ การกระจายความเสี่ยงลงทุนในสินทรัพย์หลากหลาย สำหรับ Core Portfolio เพื่อให้การลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจได้ ไม่ว่าตลาดจะผันผวนไปในทิศทางใดก็ตาม

3.ไม่หลีกหนี Stay Invested หากในปีที่ผ่านมาผู้ลงทุนยังคงเชื่อมั่นศักยภาพ และเศรษฐกิจของสหรัฐการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ไม่ได้มีการปรับพอร์ต หรือลดสัดส่วนลง เชื่อว่าผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนที่ดี แต่ทั้งนี้จากสถิติในปี 2566 การลงทุนในกองทุนประเภท Money market เพิ่มสูงขึ้น ทำให้สะท้อนว่านักลงทุนส่วนใหญ่เมื่อตลาดหุ้นมี

ความผันผวนก็จะปรับพอร์ตหรือปรับสัดส่วนการลงทุน ( Not stay invested) ทั้งนี้ คาดว่า หากอัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางหลายแห่งปรับตัวลดลง นักลงทุนอาจหันกลับเข้ามาทยอยลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐ ญี่ปุ่น และยุโรป

ทั้งนี้ หลังจากการถอดบทเรียนในปี 2566 เพื่อนำมาปรับสำหรับจัดพอร์ตในปี 2567 SCB WEALTH มองพอร์ตการลงทุนควรแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1) การสร้างพอร์ตการลงทุนแกนกลาง ( Core portfolio ) ที่ผสมผสานระหว่างสินทรัพย์หลากหลายประเภทเพื่อกระจายความเสี่ยง ทั้งตราสารหนี้ หุ้น และสินทรัพย์ทางเลือก โดยตั้งเป้าหมายการลงทุนระยะกลางถึงยาว (ประมาณ 3-5 ปี) และไม่จับจังหวะเข้าออกมากเกินไป โดยสอนทรัพย์ที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนได้แก่ กองทุน SCBGA ที่มีผู้จัดการกองทุนปรับน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ให้อยู่แล้ว ส่วนตราสารหนี้ แนะนำ กองทุน SCBDBOND(A) ซึ่งผู้จัดการกองทุนปรับสัดส่วนและน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ตามภาวะตลาดที่เหมาะสม สำหรับลูกค้ากลุ่มที่มีความมั่งคั่งระดับสูง (Ultra High Net Worth) อาจแบ่งเงินส่วนหนึ่งใน Core Portfolio ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกนอกตลาด ประเภท Private Asset เช่น BCRED-O เป็นต้น

2 ) Opportunistic การจัดแบ่งเงินลงทุนบางส่วน เพื่อลงทุนตามมุมมองของที่ปรึกษาการลงทุนต่างๆ โดยอาจคัดเลือกกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงมากกว่ากองทุน แกนกลางได้บ้าง เพื่อหวังผลตอบแทนที่ดีในระยะสั้น ทั้งนี้ หากเกิดผลลบต่อการลงทุนและไม่เป็นไปตามคาดหวัง สัดส่วนเงินลงทุนที่น้อยจะไม่กระทบกับความคาดหวังการลงทุนระยะยาวในสินทรัพย์แกนกลาง ในส่วนนี้ SCB WEALTH ขอแนะนำ การลงทุนในกองทุน KT-INDIA ที่มีผลการดำเนินงานค่อนข้างสม่ำเสมอ และมีนโยบายลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ในตลาดหุ้นอินเดีย ส่วนการลงทุนในผลิตภัณฑ์ตราสารอนุพันธ์ (Structure product) และDual Currency Note Pricing (DCI) ที่จะให้ผลตอบแทนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนที่ลูกค้าต้องการแลก รวมถึงการลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ ที่น่าสนใจ ผู้ลงทุนสามารถติดต่อตัวแทนของธนาคารเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ก่อนตัดสินใจลงทุน

คำเตือน

· การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

· ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

· เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

· การลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อนสูงมีความแตกต่างจากการลงทุนในผลิตภัณฑ์การลงทุนทั่วไป ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนทำการลงทุน

· ศึกษาข้อมูลกองทุนหลักและหนังสือชี้ชวนกองทุนรวมเพิ่มเติมได้จาก website ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ไทยพาณิชย์ จำกัด และ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม กรุงไทย จำกัด(มหาชน)

· สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ SCB Call Center โทร. 02-777-7777

X

Right Click

No right click