×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6847

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

 

 อภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร KKP เปิดเผยผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก 2561 มียอดการเติบโตของสินเชื่อที่ 10.2% ส่งผลให้ภาพรวมผลประกอบการออกมาดีเกินกว่าที่ตั้งเป้าไว้ โดยมีกำไรสุทธิ ไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเท่ากับ 3,064 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.1% จากงวดเดียวกันของปี 2560 ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของกลุ่มธุรกิจฯ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดตั้งสายช่องทางการตลาดและพัฒนาฐานลูกค้า และการยกระดับกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic) และการบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk Management) ซึ่งทำให้ธนาคารวิเคราะห์จำแนกกลุ่มลูกค้า (Segmentation) ได้โดยละเอียด และสามารถลดสินเชื่อกลุ่มที่ไม่มีคุณภาพ และขยายสินเชื่อกลุ่มที่ให้ผลกำไรเหมาะสมและมีศักยภาพที่จะเติบโตอย่างยั่งยืนได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่อบุคคล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือสินเชื่อ KK SME นอกจากนั้น ยังได้รับแรงสนับสนุนในด้านต้นทุนการเงินจากผลิตภัณฑ์เงินฝากเพื่อการลงทุน KKPSS (KK Phatra Smart Settlement) ที่ให้ดอกเบี้ยสูงเหมือนเงินฝากประจำสำหรับลูกค้า Wealth Management ของ บล. ภัทรโดยเฉพาะ ซึ่งนับเป็นการระดมเงินฝากจำนวนมากให้กับธนาคารโดยไม่ต้องใช้ต้นทุนในด้านสาขาและบุคลากรเพิ่มเติม ทั้งนี้ หลังเปิดตัวเพียงเมื่อต้นปี 2561 ปัจจุบันมียอดกว่า 2 หมื่นล้านบาท

 ชวลิต จินดาวณิค ประธานสายการเงินและงบประมาณ ให้รายละเอียดผลการดำเนินงานงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2561 ของธนาคารเกียรตินาคิน และบริษัทย่อยว่า กลุ่มธุรกิจฯ มีกำไรสุทธิ ไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเท่ากับ 3,064 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.1% จากงวดเดียวกันของปี 2560 เป็นกำไรสุทธิของธุรกิจตลาดทุน ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท ทุนภัทร จำกัด (มหาชน) (ทุนภัทร) และบริษัทย่อย ได้แก่ บล.ภัทร และ บลจ.ภัทร จำนวน 824 ล้านบาท  มีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ  5,397 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.9%จากงวดเดียวกันของปีก่อน  ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ อยู่ที่ 2,206 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.7%  และรายได้อื่น 1,160 ล้านบาท รวมเป็นรายได้จากการดำเนินงานทั้งสิ้น 8,763 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 จากงวดเดียวกันของปี 2560 ครึ่งปีแรกสินเชื่อโดยรวมขยายตัวที่ 10.2% โดยสินเชื่อมีการขยายตัวในทุกประเภท รวมถึงสินเชื่อเช่าซื้อที่ยังคงมีการขยายตัวต่อเนื่องที่ 2.8 % จากสิ้นปี 2560 ในด้านคุณภาพของสินเชื่อ อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมยังคงปรับลดลง ณ สิ้นไตรมาส 2/2561 อยู่ที่ 4.5% ลดลงเมื่อเทียบกับ 5.0% ณ สิ้นปี 2560  ธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) คำนวณตามเกณฑ์ Basel III ซึ่งรวมกำไรถึงสิ้นปี 2560 อยู่ที่ 16.27% โดยเงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับ12.72% แต่หากรวมกำไรถึงสิ้นไตรมาส 2/2561 อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงจะเท่ากับ 17.35% และเงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับ 13.80%

  อภินันท์กล่าวเพิ่มเติมถึงทิศทางธุรกิจในครึ่งปีหลังว่า กลุ่มธุรกิจฯ ยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนา Business Model ใน 3 ธุรกิจหลัก เพื่อกระจายโครงสร้างรายได้ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ ได้แก่ 1. ด้านธุรกิจสินเชื่อยังคงมุ่งเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นในผลิตภัณฑ์และกลุ่มลูกค้าที่เลือกแล้วว่ามีอัตราผลตอบแทนเทียบกับความเสี่ยง (risk-adjusted return) ที่เหมาะสม หรือสามารถนำไปสู่รายได้ด้านอื่นแก่กลุ่มธุรกิจฯ  อาทิ สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อลอมบาร์ด สินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สำหรับลูกค้าขนาดใหญ่หรือบริษัทจดทะเบียน 2. ด้านธุรกิจ Wealth Management จะมุ่งเติบโตทั้งในด้านสินทรัพย์ของลูกค้า และสินทรัพย์ภายใต้คำแนะนำ โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้สามารถเพิ่มสัดส่วนการให้บริการของกลุ่มธุรกิจฯ ในกระเป๋าของลูกค้า (share of wallet) โดยขยายผลผลิตภัณฑ์เพื่อการลงทุนอย่าง บัญชี KKPSS, หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (Structured Note), Shark-Fin Note, Daily Range Accrual Note (DRAN), Fund Linked Note ซึ่งจะเป็นทั้งฐานเงินฝากและค่าธรรมเนียมของธนาคารต่อไป ยิ่งกว่านั้น เนื่องจากมีลูกค้า Wealth Management จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ สนใจโอกาสการลงทุนในต่างประเทศ กลุ่มธุรกิจฯ จึงจะเปิดตัวบริการการลงทุนในต่างประเทศ (Offshore Investment) โดยร่วมกับ Investment Bank และ Asset Management ของต่างประเทศ ประมาณ 10 แห่ง ที่ผ่านการกลั่นกรองโดยทีมวิจัยลูกค้าบุคคล (CIO Office) และนำเสนอต่อลูกค้าแต่ละรายโดยทีมที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Consultant) และทีมที่ปรึกษาวางแผนการลงทุน (Investment Advisor) พร้อมกันนั้น ยังยกระดับสาขาธนาคารให้เป็น Financial Hub หรือศูนย์บริการทางการเงินครบวงจรที่สามารถให้บริการในด้านการลงทุนให้กับลูกค้า โดยปัจจุบันมี 3 สาขา  คือ เซ็นทรัลเวิลด์ ทองหล่อ และเยาวราช  3. ด้านธุรกิจสินเชื่อบรรษัท ธุรกิจตลาดการเงิน และธุรกิจวานิชธนกิจ ของกลุ่มธุรกิจฯ ยังเติบโตก้าวกระโดดจากการผสานความร่วมมือและบูรณาการอย่างเป็นผลระหว่างบริษัทในกลุ่มธุรกิจฯ ในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนจากสินเชื่อที่เติบโตกว่า 60% และการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนรายได้ที่เกิดจากการทำงานร่วมกัน

ตลาดทุนและตลาดเงินของไทยในช่วงครึ่งหลังของปีต้องเผชิญความผันผวนที่เพิ่มขึ้นจากเงินทุนที่เคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การไหลออกของเงินทุนจากต่างประเทศ จากความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้า และสภาพคล่องที่ลดลงจากการใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้นของสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมและความผันผวนของค่าเงินบาทเพิ่มสูงขึ้น นักลงทุนและผู้ประกอบการจึงควรเตรียมรับมือ

หลังจากวิกฤติการเงินปี 2008 ธนาคารกลางใหญ่ๆ ทั่วโลกเลือกใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายโดยการลดดอกเบี้ยนโยบายจนอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และอัดฉีดสภาพคล่องผ่านโปรแกรม QE ทำให้เกิดสภาวะสภาพคล่องล้นตลาด นักลงทุนจึงเลือกที่จะเอาเงินไปลงในสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงสูงขึ้นเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น เกิดเป็นพฤติกรรม Search for Yields ทำให้มีเงินทุนจำนวนมากไหลเข้ามาในตลาดเกิดใหม่ ทั้งในพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชน และตลาดหุ้น ทำให้ spread ของหุ้นกู้เอกชนลดลง ในขณะที่ตลาดหุ้นปรับตัวสูงขึ้น โดย spread ของหุ้นกู้ BBB rating ของไทยลดต่ำลง จากที่ระดับกว่า 300bps ก่อนที่จะมีมาตรการ QE ในปี 2009 ลงมาอยู่ที่ระดับ 170bps หลังเฟดยกเลิกมาตรการ QE ในปี 2014 ในขณะที่ SET Index ก็ปรับเพิ่มขึ้นจาก 500 จุด ไปเป็น 1600 จุด

ดังนั้น ตอนนี้ธนาคารกลางที่เคยเป็นคนเพิ่มสภาพคล่องให้ระบบ กลายเป็นคนที่ดูดสภาพคล่องของระบบออกไป โดยการยกเลิกการทำ QE และเริ่มลดขนาดงบดุล ประกอบกับการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่ทำให้สินทรัพย์ของสหรัฐฯน่าดึงดูดมากขึ้น ทำให้ที่ผ่านมามีเงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะประเทศที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจด้านต่างประเทศยังไม่แข็งแกร่ง เช่น เงินสำรองระหว่างประเทศต่ำ ในขณะที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด อย่างเช่น อาร์เจนตินา บราซิล ตุรกี และอินโดนีเซีย ทำให้ค่าเงินอ่อนลงไปตั้งแต่6% ถึง กว่า 30% จากเงินทุนที่ไหลออกรุนแรง จนทำให้ประเทศเหล่านี้ ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดความกดดันจากค่าเงินที่อ่อนค่าจากเงินทุนไหลออกและเงินเฟ้อที่ทยอยปรับขึ้น

นอกจากจะได้รับผลกระทบจากนโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้นของเฟดแล้ว ตลาดเกิดใหม่เหล่านี้ก็ยังถูกกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน แม้ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงยังไม่ชัดเจนก็ตาม โดยหลังจาก Trump เริ่มประกาศสงครามการค้ากับจีนตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2561 มีเงินไหลออกจากตลาดหุ้นเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ค่อนข้างรุนแรง จนค่าเงินในตลาดเอเชียอ่อนค่าลงโดยเฉลี่ยกว่า 5%

สำหรับประเทศไทย แม้จะมีเสถียรภาพด้านต่างประเทศที่ดี เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง และเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ประกอบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้เงินทุนยังไม่ไหลออกรุนแรงเมื่อเทียบกับตลาดเกิดใหม่อื่นๆ แต่หากนับจากช่วงต้นปีนี้ ตลาดทุนและตลาดเงินไทยก็มีเงินไหลออกสุทธิรวมกันแล้วกว่า 8 หมื่นล้านบาท เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2016 และ ปี 2017 ที่มีเงินทุนต่างชาติไหลเข้าสุทธิกว่า 2.8 แสนล้านบาทโดยเฉลี่ยต่อปี  ที่ประเทศไทยมีเงินทุนต่างชาติไหลเข้าสุทธิมาโดยตลอด ทำให้ค่าเงินบาทผันผวนมาก โดยตั้งแต่ช่วงต้นปีจนถึงตอนนี้ เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 31.10 ถึง 33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และอ่อนค่าจากต้นปีแล้วกว่า 2.2%

ความผันผวนในตลาดทุนและตลาดเงินจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเฟดขึ้นดอกเบี้ยได้เร็วกว่าที่ตลาดมอง จากตลาดแรงงานที่ร้อนแรงขึ้น เมื่อความต้องการแรงงาน 6.7 ล้านตำแหน่งสูงกว่าจำนวนคนว่างงาน 6.1 ล้านคน กดดันให้เงินเฟ้อสูงขึ้นเร็วกว่าที่ตลาดคาด ซึ่งอาจทำให้เกิด market correction รุนแรง เงินทุนไหลออก มูลค่าสินทรัพย์ลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการเงินเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนมาก ดังนั้นทั้งนักลงทุนและผู้ประกอบการ จึงควรเตรียมป้องกันความเสี่ยงในอนาคต ไว้ด้วย

พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานเปิดตัว การจ่ายเงินอุดหนุนให้กับผู้ประสบปัญหาทางสังคม ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ Krungthai Corporate Online โดยมี สุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง นภา  เศรษฐกร อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และ ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ร่วมในพิธีเปิด ณ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

ผยง กล่าวว่า ความร่วมมือกับกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกรมบัญชีกลางในครั้งนี้ นอกจากสนองนโยบายภาครัฐในเรื่องธรรมาภิบาลแล้ว ยังช่วยเพิ่มความรวดเร็ว มั่นใจ โปร่งใส และสะดวกสบายให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยระบบ Krungthai Corporate Online จะดำเนินการโอนเงินโดยอัตโนมัติ ซึ่งผู้ประสบภัยทางสังคมที่มีบัญชีธนาคารกรุงไทยจะได้รับเงินในทันที ส่วนผู้ที่มีบัญชีของธนาคารอื่นจะได้รับเงินภายใน 2 วัน

ทั้งนี้ ระบบดังกล่าว ผู้ทำรายการสามารถดูสถานะการทำรายการต่างๆ รวมถึงมีหลักฐานแสดงข้อมูลการทำรายการทั้งแบบสรุป และแบบมีรายละเอียดอย่างครบถ้วน  รวมทั้งมีระบบตรวจสอบข้อมูลของผู้รับเงินก่อนจะดำเนินการโอนเงินด้วย

อย่างไรก็ตาม เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย ธนาคารกรุงไทยได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการเปิดบัญชีสำหรับผู้รับเงินอุดหนุนที่ไม่มีบัญชีธนาคาร ค่ารักษาบัญชีสำหรับผู้มีบัญชีธนาคารกรุงไทย ซึ่งเมื่อโอนเงินเข้าบัญชีแล้ว ผู้รับเงินจะได้รับ SMS แจ้งเตือนเงินเข้าบัญชี ตามหมายเลขโทรศัพท์ที่แจ้งไว้ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด นอกจากนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มผู้รับเงินอุดหนุนที่ไม่มีบัญชีธนาคารหรือไม่สะดวกในการไปเปิดบัญชี ในอนาคต จะสามารถรับเงินผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือใช้บัตร E-​​​​​Money ได้อีกด้วย

 

            จากแผนกลยุทธ์ Get MORE with TMB ของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ็มบี ที่ประกาศออกมา ในส่วนของการให้บริการลูกค้าเอสเอ็มอี เทียนทิพย์  นาราช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าเอสเอ็มอี ทีเอ็มบี  ก็ออกมาประกาศกลยุทธ์การให้ความสำคัญกับลูกค้าเอสเอ็มอี ด้วยการทำความเข้าใจปัจจัยต่างๆ ของธุรกิจเอสเอ็มอีที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโต ทีเอ็มบีจึงเตรียมสร้างประสบการณ์ใหม่ในการใช้บริการที่ตรงกับรูปแบบการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลให้กับเอสเอ็มอี ใน 3 เรื่องได้แก่

  1. More Benefits - สิทธิประโยชน์ที่มากกว่า เพื่อต่อยอดธุรกิจ ด้วยการเปิดตัว TMB BIZ WOW รีวอร์ดโปรแกรมครั้งแรกเพื่อ SME ที่จะเปลี่ยนธุรกรรมการเงินเป็นสิทธิประโยชน์ที่เป็นประโยชน์ต่อเอสเอ็มอีให้ธุรกิจเติบโตและคล่องตัวขึ้น ด้วย ความรู้เพื่อต่อยอดธุรกิจ ที่ลูกค้าสามารถเลือกได้ตามความสนใจ เช่นคอร์สเวิร์คช้อป การสร้างสินค้าอย่างไรให้โดนใจลูกค้า การบริหารการลงทุนและภาษี ตัวช่วยเพื่อธุรกิจราบรื่น เพิ่มช่องทางการเก็บสินค้า ส่งของทันต้นทุนถูก มีรายชื่อให้บริการ พร้อมสามารถใช้คะแนนเป็นส่วนลดในการใช้บริการต่างๆ การตลาดเพื่อการเติบโตแบบก้าวกระโดด เพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม แพลตฟอร์มทางการตลาดและองค์ความรู้สำหรับการทำการตลาดอย่างแม่นยำยิ่งขึ้น และ ไลฟ์สไตล์เหนือระดับแบบเจ้าของธุรกิจ ทั้งการพักผ่อนและเดินทางบริการที่พักและร้านอาหาร เช่นเดียวกับที่มีใน TMB WOW
  2. More Time – คล่องตัวและมีเวลามากขึ้น ด้วยโซลูชั่น TMB SME One Bank ใช้คู่กับ TMB BIZ TOUCH โมบายล์แอปพลิเคชันแรกที่ออกแบบมาเพื่อเอสเอ็มอีโดยเฉพาะ สามารถทำธุรกรรมได้ทุกที่ ทุกเวลา รับ โอน จ่าย ใช้วงเงิน OD อายัดเช็ค และโอนเงินไปต่างประเทศ 7 สกุลเงิน ได้บนมือถือ และล่าสุดได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ Online Loan Request ครั้งแรกที่เอสเอ็มอีสามารถคำนวณวงเงิน เปิดโอกาสให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เร็วและง่ายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
  3. More Possibilities ต่อยอดธุรกิจ SME ด้วยคำปรึกษาด้านธุรกิจและการเงิน ด้วย TMB BIZ Advisory บริการให้คำปรึกษาด้านการเงินจากผู้เชี่ยวชาญของทีเอ็มบี ด้วยระบบ VDO Conference ในห้องรับรองส่วนตัว ที่สาขาของทีเอ็มบี เริ่มต้นที่ 25 สาขา และจะขยายไปทุกสาขาทั่วประเทศในเร็วๆ นี้ และโครงการ LEAN Supply Chain by TMB เน้นเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพแบบครบวงจร ด้านการบริหารจัดการการผลิต ลดสินค้าคงคลัง เพิ่มผลผลิตในองค์กร และลดระยะเวลาในการทำงาน โดยมีบริษัทร่วมอบรมแล้วกว่า 1,200 ราย

          เทียนทิพย์ กล่าวเสริมว่า “ทีเอ็มบีเข้าใจดีว่าเอสเอ็มอียุคนี้ต้องเผชิญหน้ากับการแข่งขันรอบด้าน และจากสถิติเราพบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีธุรกิจเกิดใหม่กว่า 70,000 รายต่อปี แต่มีเพียง 50% เท่านั้นที่ก้าวผ่านปีแรกไปได้ ทีเอ็มบีจึงสร้างสรรค์ตัวช่วยทางธุรกิจเพื่อให้ธุรกิจเอสเอ็มอี ต้องได้มากกว่าและโตได้มากกว่าเมื่ออยู่กับเรา เช่น เราทราบว่าเอสเอ็มอีทำธุรกรรมเฉลี่ยกว่า 80-100 ครั้งต่อเดือน หรือมากกว่ามนุษย์เงินเดือนถึง 4 เท่า แทนที่จะปล่อยให้สูญเปล่า ลูกค้าสามารถร่วมรีวอร์ดโปรแกรม TMB BIZ WOW ที่เปลี่ยนธุรกรรมเป็นรางวัลที่เป็นประโยชน์ต่อการเติบโตแบบยั่งยืนของ SME โดยเฉพาะ ทั้งนี้ เราภูมิใจที่เป็นธนาคารแรกที่เปิดกว้างด้านสิทธิประโยชน์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า เพื่อเติมเต็มในสิ่งเอสเอ็มอีขาดโดยที่ลูกค้าไม่ต้องร้องขอ ซึ่งเป็นเป้าหมายของเราเพื่อให้ทีเอ็มบีเป็นธนาคารที่ลูกค้าชื่นชอบและแนะนำมากที่สุดในประเทศไทย (The Most Advocated Bank in Thailand) ภายใน 5 ปีนับจากนี้”

ธนาคารไทยพาณิชย์ประกาศจับมือ “จูเลียส แบร์” (Julius Baer) กลุ่มธุรกิจบริการไพรเวทแบงกิ้งชั้นนำจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เตรียมตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อให้คำปรึกษาลูกค้าผู้ที่มีความมั่งคั่งระดับสูง (High Net Worth – HNWIs) ของธนาคาร

โดยธนาคารไทยพาณิชย์ให้ข้อมูลว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญก้าวแรกของไทยพาณิชย์หลังประกาศกลยุทธ์ “Going Upside Down” (กลับหัวตีลังกา) ด้วยการต่อยอดความแข็งแกร่งด้านการบริหารความมั่งคั่งและการมีฐานลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งระดับสูง (HNWIs)  ของธนาคาร ผสมผสานกับความเชี่ยวชาญและบริการบริหารความมั่งคั่งระดับโลกอย่างครบวงจรของ  จูเลียส แบร์ โดยความร่วมมือในครั้งนี้จะพลิกโฉมระบบนิเวศของธุรกิจการบริหารความมั่งคั่งของไทยที่มีมูลค่าประมาณ 9,500 ล้านบาทให้พร้อมรุกโอกาสการลงทุนแบบไร้พรมแดน นอกจากนี้ ยังตอกย้ำความเป็นผู้นำและเสริมความแข็งแกร่งของแบรนด์ไทยพาณิชย์ และเพิ่มความมั่นใจของลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งระดับสูง (HNWIs) ในปัจจุบันและอนาคตของธนาคาร ได้ว่าจะได้รับบริการด้านการบริหารความมั่งคั่งแบบครบวงจรอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากสินทรัพย์ที่มีอยู่ผ่านการลงทุนทั้งในและต่างประเทศที่ยังมีโอกาสอีกมาก

โดยกลุ่มลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งระดับสูง (HNWIs) ของธนาคาร รวมถึงนักลงทุนต่างชาติที่ทำงานและพักอาศัยอยู่ในประเทศไทย สามารถเริ่มใช้บริการได้ทันทีเพื่อโอกาสในการสร้างผลตอบแทนในการลงทุนที่ดีขึ้น ลูกค้าของบริษัทร่วมทุนนี้จะมีโอกาสได้รับข้อมูลเชิงลึกจากจูเลียส แบร์ ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัย บริการด้านการลงทุนต่างๆ ตลอดจนบริการให้คำปรึกษาด้านการวางแผนและการลงทุนจากทีมงานมืออาชีพระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญสูง ทำให้สามารถบริหารจัดการสินทรัพย์ที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สามารถลงทุนในต่างประเทศได้เต็มที่ตามที่กฎหมายอำนวยผ่านบริการต่างๆ  

ทั้งนี้กลุ่มผู้มีความมั่งคั่งระดับสูง (HNWIs) ในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราสูง โดยมีการเติบโตในอัตราร้อยละ 12.7 ในปี 2559 เพิ่มเป็นร้อยละ 13.3 ในปี 2560

ความร่วมมือครั้งนี้เป็นการประสานความแข็งแกร่งของ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ที่มีความเข้าใจและมีข้อมูลเชิงลึกของตลาดในประเทศไทย รวมถึงมีฐานลูกค้าความมั่งคั่งสูงในประเทศ กับกลุ่มจูเลียส แบร์ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาและการบริหารความมั่งคั่งในระดับนานาชาติ รวมถึงจะมีคณะที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่จะเข้าประจำการ ณ สำนักงานในกรุงเทพมหานคร

จูเลียส แบร์ ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2433 ปัจจุบันเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดำเนินธุรกิจบริการด้านการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการบริหารความมั่งคั่งใน 25 ประเทศทั่วโลก โดยเมื่อสิ้นปี 2560 สินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทมีมูลค่ารวม 388,000 ล้านสวิสฟรังก์ บริษัทให้บริการโดยให้คำปรึกษาที่จะสร้างประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้า โดยไม่จำกัดเฉพาะการพิจารณาการลงทุนในผลิตภัณฑ์ด้านการเงินการธนาคารที่บริษัทเป็นเจ้าของเท่านั้น

 

 

 

X

Right Click

No right click