×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 840

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 813

TMB Three Mores

March 14, 2018

ธนาคารทหารไทยจำกัด(มหาชน) หรือ ทีเอ็มบี โดยปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี เปิดเผยแผนงานธุรกิจของธนาคารในปีนี้ว่า ทีเอ็มบีจะเดินหน้าเพื่อ Make THE Difference อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าทุกกลุ่ม “ได้มากกว่า” (Get MORE with TMB) และบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ นิยมใช้บริการของทีเอ็มบีเป็นธนาคารหลัก (Main Bank) อย่างเป็นประจำ มีความชื่นชอบในบริการของทีเอ็มบีจนต้องบอกต่อ โดยตั้งเป้าหมายขึ้นชั้นเป็นธนาคารที่ลูกค้าชื่นชอบและบอกต่อมากที่สุดในประเทศไทย (The Most Advocated Bank in Thailand) ภายในปี 2565

ทีเอ็มบีจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อตอกย้ำการเป็นธนาคารที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุด (Need Based) ง่ายและสะดวก (Simple & Easy) ให้ลูกค้าได้มากกว่า (Get MORE with TMB) เมื่อมาใช้บริการทีเอ็มบีเป็นธนาคารหลักเป็นประจำ ซึ่งลูกค้าจะได้รับ สิทธิประโยชน์ที่มากกว่า (More Benefits), มีเวลาใช้ชีวิตมากขึ้นสำหรับเรื่องอื่นที่สำคัญ (More Time) และ มีโอกาสที่ดีเพิ่มขึ้น (More Possibilities)

และเพื่อผลักดันให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทีเอ็มบีจะพัฒนาและส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาช่องทางธนาคารและมอบประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อเพื่อให้ลูกค้าทำธุรกรรมได้ง่ายใช้งานได้จริง และนอกจากนี้ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างองค์กรในหลายส่วนเพื่อลดความซับซ้อนให้เป็นองค์กรแบบราบ (Flat Organization) มีระดับชั้นการบังคับบัญชาสั้นลงเหลือเพียง 5 ชั้น พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน และพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทีเอ็มบีมีความคล่องตัวฉับไวในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า รวมทั้งการบริหารจัดการข้อมูล Big Data และนำข้อมูลที่มีอยู่มากมายให้สามารถนำมาใช้อย่างเป็นระบบและวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) เพื่อให้เข้าใจถึงความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะทำให้สามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงใจลูกค้าอย่างแท้จริงได้อย่างต่อเนื่องต่อไป

สำหรับผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยสนองความต้องการลูกค้าTMB ในกลุ่มต่างๆ ประกอบด้วย

 

More Benefit

More Time

More Possibilities

ลูกค้าธุรกิจ

TMB Supply Chain Financing Solutions

 

TMB QR for Business

พร้อมเพย์

โมบายล์แอปพลิเคชัน TMB

Business TOUCH Internet Banking

ที่ปรึกษาและคู่คิดทางธุรกิจ

ลูกค้าเอสเอ็มอี

TMB SME WOW

TMB Business TOUCH

TMB SME One Bank

TMB SME Advisory

โครงการ Lean Supply Chain by TMB

ลูกค้ารายย่อย

TMB All Free

TMB TOUCH Mobile App

TMB No Fixed

TMB WOW

TMB TOUCH Mobile App

TMB Advisory

 

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) เผยกลยุทธ์ของกลุ่มธุรกิจลูกค้าธุรกิจ (Commercial Banking) ภายใต้แผนธุรกิจระยะกลางปี 2561-2563 ด้วยเป้าหมายมุ่งสู่การเป็นธนาคารหลักของกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และลูกค้าธุรกิจ SME พร้อมขับเคลื่อนศักยภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมเพื่อให้บริการทางการเงินอย่างครบวงจร รวมทั้งการผสานความรู้ความเชี่ยวชาญในประเทศกับศักยภาพความแข็งแกร่งทางการเงินและเครือข่ายระดับโลกของ มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) มุ่งเน้นสร้างพอร์ตที่สมดุลและเติบโตอย่างยั่งยืน โดยในปี 2561 ตั้งเป้าสินเชื่อธุรกิจโต 6-8% และเงินฝากโต 6-8% 
 
พรสนอง ตู้จินดา ประธานกลุ่มธุรกิจลูกค้าธุรกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า “กลุ่มลูกค้าธุรกิจของกรุงศรีประสบความสำเร็จในการสร้างความเติบโตด้านสินทรัพย์อย่างต่อเนื่องตามแผนธุรกิจระยะกลางฉบับแรกที่ครอบคลุมปี 2558-2560 โดยภาพรวม มีสินเชื่อเติบโตเฉลี่ย 7.5% ต่อปี และเงินฝากเติบโตเฉลี่ย 5.0%  ต่อปี สะท้อนถึงศักยภาพในการต่อยอดความสำเร็จภายหลังการควบรวมธุรกิจของธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ    ยูเอฟเจ จำกัด (BTMU) สาขากรุงเทพฯ และการผสานพลังเครือข่ายของ MUFG  สำหรับแผนธุรกิจระยะกลางในปี 2561-2563 กรุงศรีมุ่งเน้นในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับกระบวนการทำงานเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีและส่งมอบบริการเพื่อสร้างและขยายโอกาสทางธุรกิจให้กับลูกค้าธุรกิจโดยจะให้ความสำคัญกับการเติบโตของสินเชื่อและเงินฝากไปพร้อมๆ กัน นอกเหนือจากการกระชับสัมพันธ์กับลูกค้าเดิมแล้ว กรุงศรียังมีเป้าหมายในการขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มใหม่เชื่อมโยงกับนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยแลนด์ 4.0”
 
พรสนอง ตู้จินดา ประธานกลุ่มธุรกิจลูกค้าธุรกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
 
 
“กรุงศรีเดินหน้าสู่เป้าหมายการเป็นธนาคารพันธมิตรที่ได้รับความไว้วางใจ (Trusted  Banking Partner) สำหรับลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และเป็นธนาคารหลักสำหรับบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมทั้งตั้งเป้าที่จะขยายพอร์ตของธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ โดยจะใช้ประโยชน์จากการทำงานร่วมกับบริษัทในเครือกรุงศรี กรุ๊ป และศักยภาพความแข็งแกร่งของเครือข่ายระดับโลกของ MUFG การผสานพลังนี้จะทำให้กรุงศรีสามารถส่งมอบบริการทางการเงินที่ครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นบัญชีเพื่อธุรกิจและผลิตภัณฑ์สินเชื่อ ธุรกรรมและสินเชื่อเพื่อการค้าต่างประเทศ บริการทางการเงินที่หลากหลายเพื่อตอบสนองการลงทุนในตลาดต่างประเทศ สำหรับกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และวาณิชธนกิจ กรุงศรีมุ่งเน้นกลยุทธ์ Fee based business และการปรับสมดุลของพอร์ตสินเชื่อโดยเน้นการเติบโตด้านสินทรัพย์และการสร้างผลกำไรอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ กรุงศรีได้จัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ทั้งในด้านการให้คำปรึกษาและองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมการขยายตลาดของลูกค้ากลุ่มธุรกิจไทย รวมทั้งการสร้างเครือข่ายธุรกิจและการแนะนำคู่ค้าธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ” นายพรสนองกล่าว 

 

สำมิตร สกุลวิระ ประธานสายสินเชื่อธุรกิจธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) บริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เปิดเผยผลงานของสายสินเชื่อธุรกิจเมื่อปีที่ผ่านมาว่า  สามารถทำวงเงินสินเชื่ออนุมัติใหม่ได้สูงที่สุดเท่าที่เคยทำมา จากการที่ธนาคารเริ่มขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่เพิ่มเติมจากอุตสาหกรรมที่ธนาคารมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษได้แก่ สินเชื่อกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายกลางรายเล็ก และสินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี (สินเชื่อธุรกิจอพาร์ตเม้นต์และโรงแรม สินเชื่อธุรกิจขนส่ง สินเชื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม และสินเชื่อเพื่อเครื่องจักรและวัสดุก่อสร้าง) 

 สำหรับปี 2561 จากทิศทางเศรษฐกิจและความต้องการของลูกค้า ธนาคารจะเดินหน้าด้วยแนวทางการดำเนินงาน 4 ด้าน ประกอบด้วย 1.  เจาะกลุ่มผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ในทุกเซกเมนต์ ส่วนกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีมุ่งขยายธุรกิจไปยังลูกค้ากลุ่มเดิม 2. เป็นธนาคารที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ด้วยประสบการณ์ยาวนานของทีมงาน 3. ขยายฐานลูกค้าไปสู่กลุ่มที่มีความมั่งคั่งสูง (high net worth) ในกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร โดยมุ่งให้บริการทางการเงินแก่กลุ่มคนดังกล่าวที่ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจและเจ้าของกิจการให้ประสบความสำเร็จทางธุรกิจอย่างยั่งยืน และ 4.  ชูแพลตฟอร์มการเป็น Financial Solution Expert โดยพัฒนาบุคลากร ผลิตภัณฑ์ และบริการที่ครอบคลุมความต้องการทางธุรกิจของลูกค้า ตลอดจนนำเสนอเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการและสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับกิจการ โดยปี 2561 สายสินเชื่อธุรกิจวางเป้าหมายสินเชื่ออนุมัติใหม่ที่ประมาณ 33,500 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ยอดสินเชื่อของสายสินเชื่อธุรกิจขยายตัวราว 5% คิดว่าการให้บริการลูกค้าด้วยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และมุ่งเน้นความสำเร็จของลูกค้าเป็นสำคัญ จะส่งผลให้การทำงานบรรลุเป้าหมายตามที่ได้วางไว้

 ทั้งนี้ในปี 2560  สินเชื่อธุรกิจ มียอดสินเชื่อรวม 44,283 ล้านบาท ขยายตัวที่ 7% จากสิ้นปี 2559 แบ่งเป็น สินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 21,276 ล้านบาท สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี (สินเชื่อธุรกิจอพาร์ตเม้นต์และโรงแรม สินเชื่อธุรกิจขนส่ง สินเชื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม และสินเชื่อเพื่อเครื่องจักรและวัสดุก่อสร้าง) 23,007 ล้านบาท

ธนาคารไทยพาณิชย์ เดินหน้าปรับทัพองค์กร รองรับกระแสดิจิทัลไหลบ่า ขับเคลื่อนแบงก์สู่แพลตฟอร์มที่ ตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น  

ภายหลังนำ Transformation สร้างรากฐานองค์กรใหม่ลุล่วงไปกว่า 50%  ในปี 2018 ธนาคารนำกลยุทธ์ “Going Upside Down” (กลับหัวตีลังกา) มาผลักดันองค์กรให้เคลื่อนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วและสมดุลใน 5 เรื่องที่สำคัญ ได้แก่ 1.Lean the Bank 2.High Margin Lending 3.Digital Acquisition 4.Data Capabilities 5.New Business Model  พร้อมปรับเปลี่ยนวิธี การทำงานให้แตกต่างจากเดิมและนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพองค์กรอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงสร้างพนักงานให้มีขีดความสามารถและทักษะใหม่ ๆ เพื่อให้ไทยพาณิชย์เป็น “The Most Admired Bank” (ธนาคารที่น่าชื่นชมที่สุด)

นายอาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภายใต้สถานการณ์การแข่งขันที่ เข้มข้นของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และการไหลบ่าเข้ามาของธุรกิจ Patform ระดับโลกที่กำลังจะกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของธุรกิจธนาคารในการนำเสนอบริการทางการเงินและการลงทุน

กอปรกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปิดรับการใช้เทคโนโลยีอย่างแพร่ หลายในปัจจุบัน ส่งผลกระทบให้การบริ การทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก

การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน ก็คือ โครงสร้างรายได้ของธนาคารเริ่มเปลี่ยนไป จากในอดีตที่ธนาคารอาจจะมีรายได้จากค่าธรรมเนียมประมาณ 30% และอีก 70% เป็นรายได้จากดอกเบี้ย แต่จากนี้ไปรายได้จากค่าธรรมเนียมจะค่อยๆ ลดลง

จากค่าธรรมเนียมที่ธนาคารเคยได้ จากการให้บริการโดยการใช้คน ปัจจุบันเทคโนโลยีจะเข้ามาแทนที่ การบริการอย่างมีนัยสำคัญทำให้ต้นทุนในการให้บริการลูกค้าลดลงอย่างมาก


ในปี 2561
จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการปรับตัวครั้งใหญ่อีกครั้ง มิใช่เพียงให้อยู่รอดได้เท่านั้น แต่เพื่อให้ธนาคารเป็นที่รักของลูกค้าและลูกค้าอยากมาใช้ บริการของเรา

โดยในช่วงปีที่ผ่านมา เราได้เปลี่ยนผ่านองค์กรภายใต้ ภารกิจ “SCB Transformation” เพื่อเป้าหมายการเป็น “The Most Admired Bank” (ธนาคารที่น่าชื่นชมที่สุด) โดยได้มุ่งเน้นการสร้ างรากฐานขององค์กรใหม่ (Foundation Transformation) ได้แก่

- การยกระดับเทคโนโลยี ของธนาคารเพื่อรองรับยุคดิจิทัล โดยธนาคารได้เพิ่มขีดความสามารถของเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม ซึ่งรวมถึงการพัฒนาบริการบน New Mobile Banking หรือ SCB Easy  โดยมุ่งเน้นให้เป็น Lifestyle Application ที่จะสร้างประสบการณ์ให้แก่ลูกค้ามากกว่าเพียงการทำธุรกรรมทางการเงิน พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้กับการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการผลักดันให้เกิดสังคมไร้เงินสด ด้วยการพัฒนาระบบการชำระเงินผ่ าน QR Code กลางของธนาคารแห่งประเทศไทย

- การปรับปรุงกระบวนการทำงานในทุกขั้นตอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสนับสนุน

- เปิดศูนย์บริการแห่งอนาคต เพื่อสร้างประสบการณ์ทางการเงินที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า โดยเปิดตัว 4 ต้นแบบ

“ศูนย์บริการลูกค้ารูปแบบเฉพาะ” ได้แก่ SCB Express, SCB Investment Center, SCB Business Center และ SCB Service Center

นอกจากนี้ ธนาคารต้องสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้น โดยเปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่ผ่านการจัดโครงสร้างบริการของธนาคารและบริษัทในกลุ่มทั้งหมด โดยโครงสร้างใหม่จะต้องเอื้อต่อการทดลองเรื่องใหม่ ๆ ให้เกิดได้ง่ายขึ้น เช่นที่ธนาคารได้ตั้ง ดิจิทัลเวนเจอร์ บริษัทลูกด้านเทคโนโลยี และ เอสซีบี อบาคัส บริษัท Data Tech ที่ใช้นวัตกรรมอย่างปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) รวมทั้งการแสวงหาพันธมิตรซึ่งธนาคารได้ให้ความสำคัญกับการหาพันธมิตรเป็นอย่างมาก



สำหรับเป้าหมายการดำเนินธุรกิ จปี 2561 นั้น  เนื่องจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคที่สืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีดิจิทัลที่ จะพลิกรูปโฉมของกระบวนการและการให้บริ การแก่ลูกค้า ธนาคารจึงต้องการที่จะเป็นแพลตฟอร์มเชื่อมต่อทุกสังคมเข้ าด้วยกัน ภายใต้กลยุทธ์ “Going Upside Down” (กลับหัวตีลังกา) ที่มีแนวทางในการดำเนินงานที่ สำคัญ 5 เรื่อง ได้แก่

1.Lean the Bank (เพิ่มประสิทธิภาพธนาคาร)

2.High Margin Lending (ปล่อยสินเชื่อธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสูง)

 3.Digital Acquisition (การดำเนินธุรกิจในโลกดิจิตอล)

4.Data Capabilities (เพิ่มขีดความสามารถในการใช้ข้อมูล)

5.New Business Model (ธุรกิจรูปแบบใหม่ )

โดยรายได้หลักของธนาคารจะยั งคงมาจากธุรกิจ 3 ส่วนหลัก ได้แก่ สินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อเพื่อการบริโภค และการบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) ซึ่งจะเห็นการทำธุรกิจที่เปลี่ ยนไปจากเดิมด้วยการใช้เทคโนโลยี มาสนับสนุน พร้อมกับการเพิ่มขึ้นของทักษะและขีดความสามารถใหม่ ๆ ของพนักงานในการปฏิสัมพันธ์กั บลูกค้า โดยจะเห็นได้ชัดเจนในธุรกิจของ Wealth Management ที่ทางธนาคารมีเป้ าหมายจะขยายฐานลูกค้าในกลุ่มนี้ อย่างมาก โดยมีเป้าหมายสูงสุดในอีกสามปี ข้างหน้าเพื่อเป็น Digital Platform ขนาดใหญ่ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและข้อมูลเป็นหลัก


 

ด้วยวิสัยทัศน์ของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่จะเป็น “The Most Admired Bank” หรือ “ธนาคารที่น่าชื่นชมที่สุด” เราจึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาธนาคารไปสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีส่วนสำคัญต่อชีวิตประจำวันของลูกค้าทุกกลุ่ม พร้อมทั้งเดินหน้าดำเนินธุรกิจธนาคารอย่างสมดุลเพื่อสร้ างความมั่นคงและยั่งยืนให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

 

TMB ถือเป็นหนึ่งในธนาคารชั้นนำที่มีภาพลักษณ์ของการเป็นธนาคารที่มีความทันสมัย ก้าวล้ำนำหน้าด้วยการนำเสนอบริการทางการเงินที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีโดดเด่น เพื่อมุ่งสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าเสมอมา และในยุคที่ธนาคารมีการแข่งขันกันสูงมาก แต่ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมนี้ก็กำลังเผชิญวิกฤตศรัทธาและการเข้ามาของ Fintech เพื่อข้ามผ่านความท้าทายดังกล่าว TMB ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ หากแต่ปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว และนำเสนอบริการที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงใจมากขึ้น

 

พีรพงศ์ นิธิไกรวุฒิ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าธุรกิจ หนึ่งในคณะผู้บริหารระดับสูง ร่วมงานกับ TMB มานานกว่า 7 ปี ให้รายละเอียดถึงทิศทางและกลยุทธ์ต่างๆ ที่น่าสนใจของ TMB ในการครองใจผู้บริโภคยุคดิจิทัลว่า “การเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้า ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับ TMB ซึ่งเป็นธนาคารที่ให้ความสำคัญกับเรื่อง Customer Centric มานานแล้ว กระนั้น TMB ยังคงต้องทำให้เด่นชัดและเป็นมาตรฐานมากขึ้น แม้ในทางปฏิบัติจะเป็นเรื่องยากก็ตาม แต่เป็นหนึ่งในแนวทางสร้างความแตกต่างของ TMB ด้วย เราทำโปรแกรม Turning Banker เพื่อดึงคนที่มีความสามารถและประสบการณ์ในอุตสาหกรรมสำคัญมาร่วมงานกับเรา เช่น รถยนต์ อาหาร ฯลฯ เพราะเขามีความเข้าใจในตัวอุตสาหกรรมนั้นๆ ดีมาก โดยเราจะติดอาวุธเรื่องความรู้ทางการเงินให้เขา ทำให้เราสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่โดนใจลูกค้ามากขึ้น โดยเฉพาะสำหรับลูกค้ารายใหญ่หรือลูกค้าธุรกิจ”

“เรามอง Customer Experience เป็นสิ่งสำคัญ ทำอย่างไรให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้นเมื่อใช้บริการของธนาคาร ทำอย่างไรที่เราจะไม่ต้องใช้คำศัพท์ที่ลูกค้าไม่เคยรู้เลยว่าหมายถึงอะไร รวมถึงขั้นตอนต่างๆ ที่ยุ่งยาก เพราะโดยปกติแล้วธนาคารเป็นองค์กรที่มีโครงสร้างซับซ้อน จนสะท้อนออกมาทางด้านนโยบายและกระบวนการต่างๆ ทำให้สิ่งที่ตามมาคือลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดี ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก เช่น ทุกวันนี้เราสามารถอนุมัติสินเชื่อบ้านและดำเนินการเสร็จสิ้นทั้งหมดภายในระยะเวลา 5 วัน ส่วนวิธีเข้าหาเอสเอ็มอีก็เหมือนกัน เพราะนักธุรกิจเต็มไปด้วยไอเดียอยู่แล้ว สิ่งที่เราต้องทำ คือ เราทำอย่างไรก็ได้ที่จะสนับสนุนให้ลูกค้าเติบโตได้ดีและมั่นคงมากขึ้น ด้วยการตอบสนองลูกค้าได้ดี ได้เร็วกว่าคนอื่น และตอบสนองต่อปัจจัยทางธุรกิจต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที เพื่อเป็นตัวเลือกแรกของลูกค้าให้ได้”

 

"เรามอง Customer Experience เป็นสิ่งสำคัญ ทำอย่างไรให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้น เมื่อมาที่ธนาคาร" 

พีรพงศ์ นิธิไกรวุฒิ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าธุรกิจ ธนาคาร TMB

 

สำหรับแนวทางที่ TMB นำมาใช้ก็คือ Need Based Bank หรือการพยายามเข้าใจลูกค้าก่อนที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ อันจะเป็นการตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างแท้จริง เริ่มต้นจากกระบวนการที่ทำให้พนักงานตระหนักและเข้าใจในแนวทางนี้ก่อน โดย ซีอีโอและผู้บริหารระดับสูง ได้มีการเดินสายพบปะพูดคุยเพื่อให้พนักงานในองค์กรทุกแผนกเข้าใจถึงความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลง เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ TMB ต้องการเท่านั้นยังไม่พอ TMB ยังออกแบบขั้นตอนในการนำเสนอบริการทางการเงินที่เรียบง่าย ไม่ยุ่งยาก แบบ Simple and Easy เพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปมาก ผู้บริโภคมีความอดทนน้อยลง มองหาความสะดวกสบายมากขึ้น

ในส่วนของการบริการลูกค้าธุรกิจ TMB ก็นำเสนอเทคโนโลยีที่ช่วยให้การทำธุรกิจของลูกค้าง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก เช่น SME One Bank ไม่เพียงแต่ลดค่าใช้จ่าย แต่ยังลดความยุ่งยากของระบบการโอนเงินที่หลากหลายและแตกต่างในเรื่องเวลา จำนวนเงิน ค่าธรรมเนียม ที่ระบบธนาคารสร้างขึ้น รวมถึง Mobile Banking ที่ TMB เป็นธนาคารที่มี Mobile Banking Platform สำหรับเอสเอ็มอี “น่ายินดีมากที่ปัจจุบันในหลายๆ ผลสำรวจ เราก็จะติดอันดับ 1 ใน 3 หรือ Top of mind ของ Mobile Bankingที่ลูกค้าชื่นชอบและนำเสนอ Digital Solution ได้อย่างครบครัน”

 

 

ความท้าทายของ TMB เมื่อมีของดีอยู่ในมือ คือต้องทำอย่างไรที่จะสื่อสาร ส่งมอบบริการดีๆ ให้ลูกค้าได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น “ในลูกค้าขนาดเล็ก การทำ Marketing ผ่านสื่อต่างๆ เป็นช่องทางหลัก แต่ในกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ขึ้นมา การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายยังต้องอาศัยทีมงานที่มีประสิทธิภาพและมีความรู้ความเข้าใจในอุตสาหกรรมนั้นๆ อย่างถ่องแท้ ดังนั้นการเสริมสร้างทีมที่แข็งแกร่งจึงจำเป็นมากๆ สิ่งที่เราพยายามจะสร้างความยั่งยืนในเรื่องนี้คือเราต้องสร้างคนของเราเอง และเราเริ่มทำเรื่องนี้มานาน ทำอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง เรามีโปรแกรมอยู่หลายโปรแกรม หนึ่งในนั้นคือ Management Trainee ขอให้เขามี Passion ที่อยากจะเรียนรู้ อยากที่จะเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการเงิน เราคิดว่าเราก็เปิดใจกว้างที่จะรับเขาเข้ามาฝึก”

สุดท้ายพีรพงศ์บอกว่า จากการที่ TMB มีโครงสร้างองค์กรแบบ Flat Organization ทำให้พนักงานทุกคนได้แสดงศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่ และมีโอการสได้เข้าถึงผู้บริหารระดับสูง TMB จึงเป็นองค์กรใหญ่ที่เหมาะกับคนเก่งที่ต้องการเวที นอกจากนี้ด้วยวัฒนธรรมแบบ Performance Driven Organization ยังทำให้ TMB เป็นองค์กรที่สร้างความแตกต่างอย่างเด่นชัด และมีรางวัลแห่งความสำเร็จที่ชัดเจน ทำให้พนักงานรู้สึกมีกำลังใจอยากจะทำผลงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ฟันเฟืองที่มีประสิทธิภาพ เต็มไปด้วยความกระตือรือร้น และกระหายในความสำเร็จเหล่านี้ จะช่วยกันขับเคลื่อนให้ TMB เติบโตอย่างยั่งยืน ท่ามกลางความผันผวน การแข่งขัน และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น

X

Right Click

No right click