×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 805

   ทีเอ็มบี หรือธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย แจ้งผลประกอบการปี 2560 ซึ่งยังคงเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า โดยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองฯ 19,736 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% ทั้งนี้ ธนาคารยังคงเน้นความรอบคอบในการดำเนินธุรกิจ ด้วยการตั้งสำรองฯ จำนวน 8,915 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% จากปีก่อน ขณะที่สัดส่วนหนี้เสียลดลงมาอยู่ที่ 2.35% จาก 2.53% ส่งผลให้สัดส่วนสำรองต่อ NPL (Coverage Ratio) อยู่ในระดับสูงที่ 143% ซึ่งหลังจากตั้งสำรองฯ และภาษี ธนาคารรายงานกำไรสุทธิที่ 8,687 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 6%

ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน)  กล่าวว่า “ธนาคารยังคงเน้นการขยายธุรกิจผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการ (Need Base) และไม่ยุ่งยากซับซ้อน (Simple & Easy) ให้กับลูกค้า ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์อย่างรอบคอบ โดยในปี 2560 ธนาคารสามารถขยายฐานสินเชื่อเพิ่มขึ้น 8% จากปีที่แล้ว ซึ่งหลักๆ มาจากสินเชื่อลูกค้าบุคคล โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เป็นผลจากการที่ธนาคารปรับปรุงกระบวนการนำเสนอสินเชื่อให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในส่วนของสินเชื่อลูกค้าธุรกิจ พบว่าธุรกิจขนาดใหญ่ยังคงเติบโตได้ดี ขณะที่สินเชื่อเอสเอ็มอี แม้ภาพรวมทั้งปียังชะลอตัว แต่เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวในไตรมาส 4”

“ทางด้านเงินฝาก ธนาคารยังคงมุ่งเน้นการขยายฐานเงินฝากลูกค้าบุคคลเป็นหลัก ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์เงินฝาก All Free ที่ให้ประโยชน์ด้านการทำธุรกรรม และเงินฝาก No Fixed ที่ให้ประโยชน์ด้านการออม ซึ่งก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี สะท้อนให้เห็นได้จากเงินฝาก “ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี” (TMB All Free) ที่เพิ่มขึ้นกว่า 51% หรือ 1.8 หมื่นล้านบาท จากปีที่แล้ว และเงินฝาก “ทีเอ็มบี โน-ฟิกซ์” (TMB No-Fixed) ที่ขยายตัว 16% หรือ 3.3 หมื่นล้านบาท โดยภาพรวมเงินฝากเติบโต 2% จากปีก่อนหน้า ซึ่งสอดคล้องกับการบริหารสภาพคล่องของธนาคาร”

อย่างไรก็ดี ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ย (Net Interest Margin) ลดลงเล็กน้อยจาก 3.17% มาอยู่ที่ 3.13% เนื่องจากสินเชื่อเอสเอ็มอีซึ่งให้อัตราผลตอบแทนสูง ในภาพรวมทั้งปียังคงชะลอตัวเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่งผลให้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ 24,734 ล้านบาท คงที่จากปีก่อน สำหรับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย มีจำนวน 12,705 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% ปัจจัยหนุนหลักคือรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิที่ขยายตัว 32% โดยเฉพาะรายได้ค่าธรรมเนียมกลุ่มลูกค้าบุคคลจากค่าธรรมเนียมจากการขายกองทุนรวมและแบงก์แอสชัวรันส์ซึ่งเติบโตได้ 76% และ 71% ตามลำดับ

ปิติ กล่าวเสริมว่า “การเติบโตอย่างต่อเนื่องของรายได้ค่าธรรมเนียมลูกค้าบุคคล สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และการพัฒนาบริการในทุกๆ ช่องทางของทีเอ็มบี อย่างเช่นในปีที่ผ่านมา ธนาคารได้ยกระดับการให้บริการด้านกองทุนรวมให้ครบวงจรมากยิ่งขึ้น โดยนอกเหนือจาก TMB Open Architecture ที่คัดสรรกองทุนเด่นจาก บลจ.ชั้นนำ 8 แห่ง มานำเสนอให้กับลูกค้าแล้ว ธนาคารยังได้เพิ่มบริการที่ปรึกษาด้านการลงทุน (TMB Advisory) ผ่านระบบ VDO Conference รวมทั้งเพิ่มช่องทางการซื้อขายกองทุนผ่านแอพพลิเคชั่น TMB TOUCH เพื่อเพิ่มความสะดวกและตอบโจทย์การใช้ชีวิตของลูกค้าในยุคดิจิทัล”  

ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) TMB

โดยรวม ธนาคารมีรายได้จากการดำเนินงานทั้งสิ้น 37,439 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% จากปี 2559 ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอยู่ที่ 17,792 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% จากค่าใช้จ่ายด้านการตลาดและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการขยายตัวทางธุรกิจเป็นหลัก ทำให้ธนาคารมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองฯ อยู่ที่ 19,736 ล้านบาท ปรับตัวดีขึ้น 6% ซึ่งเอื้อให้ธนาคารสามารถเพิ่มระดับการรองรับความเสี่ยง ด้วยการตั้งสำรองฯ สูงขึ้น แม้ NPL จะลดลงอย่างต่อเนื่องก็ตาม

ในปี 2560 ธนาคารตั้งสำรองฯ เป็นจำนวน 8,915 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% จากปีก่อนหน้า ทำให้อัตราส่วนสำรองฯ ต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) อยู่ในระดับสูงที่ 143% ขณะที่ NPL หรือสินเชื่อด้อยคุณภาพจะลดลงเป็นจำนวน 84 ล้านบาท มาอยู่ที่ 17,521 ล้านบาท ทำให้สัดส่วน NPL หรือ NPL ratio ลดลงจาก 2.53% มาอยู่ที่ 2.35% ซึ่งหลังหักสำรองฯ และภาษี ธนาคารมีกำไรสุทธิเป็นจำนวน 8,687 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% จากปีก่อนหน้า

นอกจากนี้ ทีเอ็มบียังคงสถานะเงินกองทุนในระดับสูง สะท้อนได้จากอัตราส่วนเงินกองทุนรวม (CAR) และอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1) ภายใต้เกณฑ์ Basel III ที่อยู่ที่ 17.3% และ 13.2% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งกำหนดไว้ที่ 9.75% และ 7.25% ตามลำดับ

ปิติสรุปว่า “ผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นในปี 2560 สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จจากการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริงภายใต้แนวทาง “Need-Based Bank” กับ “Simple & Easy” และสำหรับปี 2561 ทีเอ็มบีก็ยังคงเน้นการขยายฐานเงินฝากเพื่อการทำธุรกรรม (Transactional Banking) ทั้งจากลูกค้าบุคคลและเอสเอ็มอีขนาดเล็ก รวมทั้งพัฒนาช่องทางดิจิทัลเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของลูกค้า Digital Banking และแน่นอนว่าธนาคารก็จะยังคงรักษาระดับความสามารถในการรองรับความเสี่ยงให้อยู่ในระดับสูง พร้อมกับบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์อย่างรอบคอบ เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว”

 

 

 

ทีเอ็มบี ยกระดับประสบการณ์ด้านดิจิทัล แบงก์กิ้ง ตอกย้ำแนวคิดดิจิทัล แบงก์กิ้ง ต้องเป็นมากกว่าแอป มุ่งเน้นใช้ดิจิทัลเป็นตัวเข้าถึงไลฟ์สไตล์ของลูกค้า ตอบสนองความต้องการ การใช้บริการทางธนาคารเพิ่มมากขึ้น  เปิดตัว “TMB WOW ยิ่งใช้ ยิ่งว้าว” ให้คะแนนสะสมจากการทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านวิธีการสะสมคะแนนด้วยรูปแบบ Gamification ตอกย้ำความเป็นดิจิทัล แบงก์กิ้ง ที่เข้าถึงไลฟ์สไตล์ของลูกค้าภายใต้แนวคิดตรงใจ ง่าย และสะดวกสำหรับลูกค้า (Need-Based and Simple & Easy) ตามแผน 5 ปี ที่มุ่งขึ้นชั้น ”แบงก์ที่ลูกค้าชื่นชอบและแนะนำมากที่สุดในไทย”

 

นายรูว์ ไฮซแมน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้ารายย่อย ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า “ทีเอ็มบี เรามีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์และการบริการทางการเงินผ่านช่องทางดิจิทัลมากขึ้น เพื่อประโยชน์ของลูกค้าเป็นหลัก “เพราะเราเชื่อว่า ดิจิทัล แบงก์กิ้ง จะไม่ใช่เพียงแค่การมีแอปพลิเคชันบนมือถือสำหรับการทำธุรกรรมทั่วไป แต่ต้องมีบทบาทมากกว่านั้น คือต้องทำหน้าที่สร้างประสบการณ์ด้านดิจิทัล แบงก์กิ้ง จากการใช้สินค้าและบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ผ่านการใช้งานที่ง่ายและสะดวกสบาย สามารถใช้ชีวิตตามไลฟ์สไตล์ของตัวเองได้เต็มที่ ในทุกช่องทางการบริการของทีเอ็มบี (Omni-channels) ที่ลูกค้าติดต่อเพื่อรับบริการ”  

 

 

“สำหรับ TMB WOW คือ อีกหนึ่งบริการที่ทีเอ็มบี ได้พัฒนาขึ้นสำหรับลูกค้าในยุคดิจิทัล ภายใต้แนวคิด Need-Based และ Simple & Easy เป็นลอยัลตี้โปรแกรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและคุณสมบัติพิเศษที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อลูกค้าของทีเอ็มบีที่ใช้ TMB TOUCH โดยลูกค้าจะได้รับคะแนนสะสม ที่เรียกว่า “WOW” เมื่อทำธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบการสะสมคะแนนแบบ Gamification ที่มีลำดับชั้นการสะสมพร้อมคะแนนพิเศษ เพิ่มสีสันให้การทำธุรกรรมต่างๆ  เป็นเรื่องที่ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป  โดยคะแนนที่ได้รับก็สามารถนำไปแลกรับของรางวัลต่างๆ ได้หลากหลายไม่จำกัด นับตั้งแต่หมวดอาหารและเครื่องดื่มทั่วไป จนกระทั่งแลกตั๋วเครื่องบินเดินทาง  นับเป็นการยกระดับมาตรฐานการให้บริการอีกขั้นสำหรับลูกค้าธนาคารที่จะได้รับคะแนนสะสมเพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพิ่มเติม นับเป็นครั้งแรกของวงการธนาคารไทยที่ได้เปิดกว้างด้านสิทธิประโยชน์เพื่อประโยชน์ที่แท้จริงของลูกค้า”

 

“TMB WOW เป็นกิจกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทีเอ็มบี ในการส่งมอบประสบการณ์ด้านดิจิทัล แบงก์กิ้ง ที่เป็นมากกว่าแอปเพื่อลูกค้า โดยเรามีเป้าหมายที่จะเป็น “ธนาคารที่ลูกค้าชื่นชอบและแนะนำมากที่สุดในประเทศไทย”  (The Most Advocated Bank in Thailand) ภายในระยะเวลา 5 ปี นับจากนี้  ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทีเอ็มบี เราได้เตรียมความพร้อมองค์กรเพื่อเข้าสู่ดิจิทัล แบงก์กิ้ง อย่างเข้มข้นในทุกด้านโดยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ และบริการทางการเงิน ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริงภายใต้แนวทาง “Need-Based” กับ “Simple & Easy” ตอบสนองอย่างตรงจุด ใช้งานง่ายและสะดวก โดยการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น TMB TOUCH ที่มียอดดาวน์โหลดแล้วกว่า 1.2 ล้านครั้ง โดยมีจำนวนผู้ใช้บริการที่เติบโตขึ้นในระยะ 3 ปี นับตั้งแต่เปิดตัว เพิ่มขึ้นถึง 30% , TMB ADVISORY บริการที่ปรึกษาด้านการลงทุนผ่านเทคโนโลยี Conference call ซึ่งบริการนี้เปิดตัวไปเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา แต่ด้วยเวลาเพียง 3 เดือน จำนวนลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญพิเศษผ่านบริการ TMB Advisory ดังกล่าว ได้มีลูกค้าเพิ่มขึ้นกว่า 30% นอกจากนี้ ยังให้บริการ Digital Branch Banking หรือสาขาแบบดิจิทัล ณ ปิ่นเกล้า ที่เพิ่งเปิดตัวไป ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับรูปแบบการให้บริการผ่านช่องทางสาขา เพื่อสร้างประสบการณ์ทางธนาคารที่ดีให้เกิดขึ้นกับกลุ่มลูกค้า ซึ่งเราจะขยายจำนวนสาขาดิจิทัลเพิ่มขึ้นต่อไปด้วย”

 

 

ด้าน นางสาวมิ่งขวัญ พัฒนวงศ์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารส่งเสริมการตลาดลูกค้าบุคคล ทีเอ็มบี กล่าวเสริมว่า “TMB WOW นับเป็นอีกหนึ่งก้าวหนึ่งที่สำคัญของทีเอ็มบี ที่จะยกระดับการใช้ดิจิทัล เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการสร้างประสบการณ์ใหม่ด้านดิจิทัลผ่านรูปแบบการใช้งานที่สนุกสนาน แถมยังได้รับสิทธิประโยชน์จากการทำธุรกรรมต่างๆ จากการใช้งานปกติ  นับได้ว่าเป็นครั้งแรกของวงการธนาคาร และเพื่อตอกย้ำว่าดิจิทัล แบงก์กิ้งต้องเป็นมากกว่าแอปที่โอน จ่าย เติมเงิน และชำระบิลทั่วไป เราจึงได้ออกแบบ TMB WOW นี้อย่างใส่ใจเพื่อที่จะสร้างความแตกต่าง ไม่ให้การทำธุรกรรมเป็นเรื่องที่น่าเบื่ออีกต่อไป TMB WOW ได้มีรูปแบบการใช้งานแบบ Gamification  เพื่อตอกย้ำแนวความคิดของทีเอ็มบี ที่เชื่อว่าดิจิทัลแบงก์กิ้ง ต้องเป็นมากกว่าแอปพลิเคชัน”     

 

ยืนยง  ทรงศิริเดช หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารการปฏิบัติการและประสิทธิภาพธุรกิจสาขา ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า  ธนาคารมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่จะช่วยให้ลูกค้าได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ในแบบลูกค้าต้องการ  โดยเห็นว่าช่องทางสาขาคือช่องทางในการให้บริการลูกค้าที่มีความสำคัญในการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ทีเอ็มบีจึงได้พัฒนาสาขารูปแบบใหม่ สำหรับลูกค้าในยุคดิจิทัล  “ TMB Digital Branch Banking  Experience” เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการบริการในสาขาเพื่อไปสู่ธนาคารรูปแบบใหม่รายแรกของไทย นับเป็นก้าวแรกที่สำคัญที่จะนำไปสู่ก้าวต่อๆ ไปในการให้บริการดิจิทัลแบงก์กิ้ง

  TMB Digital Branch Banking Experience  เป็นการนำเทคโนโลยีการออกแบบช่องทางการบริการมาผสานเข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัล  ช่วยให้กระบวนการธุรกรรมมีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น ลดระยะเวลารอคอย เกิดประสบการณ์ใหม่ที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน  โดยการบริการที่ได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับการใช้งานดังกล่าว มีอยู่ 4 ส่วน ประกอบด้วย 1. การนัดหมายล่วงหน้าผ่านระบบออนไลน์ (New Queue Platform)  2. บริการข้อมูลผลิตภัณฑ์และการบริการต่างๆ ผ่าน อี-โบรชัวร์ (E-Brochure) 3. เทคโนโลยี VDO Conference เพื่อให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนจาก TMB Advisory 4. เจ้าหน้าที่ Navigator พร้อมอุปกรณ์ที่จะให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นสำหรับการใช้บริการทุกธุรกรรม

         ยืนยง ทรงศิริเดช หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารการปฏิบัติการและประสิทธิภาพธุรกิจสาขา ทีเอ็มบี

ยืนยงกล่าวถึงรูปแบบสาขาว่า การออกแบบภายในจะเน้นการสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรเพื่อช่วยให้ลูกค้าเข้าใจการเปลี่ยนผ่านการให้บริการนี้ โดยในระยะแรกต้องสร้างความเข้าใจทีละขั้นตอนเพื่อสร้างความคุ้นเคย ซึ่งจากการทดลองใช้งานมาช่วงหนึ่ง พบว่าลูกค้าชอบบริการที่นำมาใช้กับสาขารูปแบบใหม่  จึงนำไปสู่การปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการที่สาขาเป็นแบบบริการตัวเองเพิ่มมากขึ้น

 รูปแบบของสาขาใหม่นี้เป็นอีกก้าวสำคัญของการให้บริการดิจิทัลแบงก์กิ้งของทีเอ็มบี โดยยึดหลักให้ลูกค้าเข้าถึงง่าย มีความสะดวกสบายและรวดเร็ว  นำความต้องการพื้นฐานมาสู่ประโยชน์ของลูกค้าและสร้างรูปแบบบริการตัวเองที่จะช่วยให้ลูกค้าติดต่อกับธนาคารได้ง่ายขึ้น ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการธนาคาร  แต่ต้องการทำธุรกรรมทางการเงิน ทีเอ็มบีจึงมุ่งเน้นการเสนอบริการที่ตอบสนองความต้องการพื้นฐานก่อนเป็นอันดับแรก

 ประสบการณ์รูปแบบใหม่ผ่านสาขานี้จะให้อำนาจกับลูกค้าในการเลือกอะไร ที่ไหน และอย่างไร ตามความสะดวกของแต่ละคน ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ตัดขาดการสื่อสารกับคนด้วยกัน หากพอใจจะขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่โดยตรงมากกว่าผ่านระบบการบริการแบบครบวงจร ซึ่งเจ้าหน้าที่ของสาขาจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้เข้าถึงช่องทางบริการทางดิจิทัล และจะเป็นปัจจัยสำคัญให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายจากการเปลี่ยนผ่าน

        เจ้าหน้าที่ของสาขาจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้เข้าถึงช่องทางบริการทางดิจิทัล

 ทั้งนี้ สาขารูปแบบใหม่จะนำร่องให้บริการใน 15 สาขา ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 ประกอบด้วย เซ็นทรัลปิ่นเกล้า, สยามพารากอน, ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต, เดอะมอลล์ บางแค, ซีคอนสแควร์, เซ็นทรัลพระรามเก้า, เซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต, เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ, แฟชั่นไอแลนด์, เซ็นทรัล เฟสติวัล หาดใหญ่, เซ็นทรัล ลาดพร้าว, เซ็นทรัลเวิลด์, เดอะมอลล์บางกะปิ, เซ็นทรัล มหาชัย และทีเอ็มบี สำนักงานใหญ่

 

รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ประธานกรรมการ TMB เปิดเผยว่า เนื่องจากบุญทักษ์ หวังเจริญ แจ้งความประสงค์ที่จะดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ศกนี้     คณะกรรมการธนาคารจึงได้พิจารณาสรรหาผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งแทน และได้มีมติแต่งตั้ง ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน เป็นผู้สานต่อภารกิจในการนำธนาคารก้าวไปข้างหน้า ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป

รังสรรค์กล่าวว่า “การแต่งตั้งคุณปิติ นี้ นับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนผ่านที่มีความต่อเนื่องและราบรื่น โดยคุณบุญทักษ์ได้ปฏิบัติภารกิจหลักสำคัญสองประการหลังจากที่มีการต่อสัญญาให้ทำหน้าที่ต่ออีก 2 ปีเมื่อปลายปี 2559  คือการวางรากฐาน Digital Transformation ให้กับธนาคารและการร่วมสรรหาผู้ที่เหมาะสมมาดำรงตำแหน่งแทน ซึ่งทำให้ TMB พร้อมแล้วสำหรับผู้นำคนใหม่ที่จะมาทำหน้าที่นี้ต่อไปเพื่อดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ของธนาคาร ทั้งนี้คณะกรรมการธนาคารเล็งเห็นว่าคุณปิติเป็นนักการธนาคารที่มีวิสัยทัศน์และความรู้ความสามารถ และได้ร่วมงานกับธนาคารมาตั้งแต่ช่วงที่คุณบุญทักษ์เข้ารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการร่วมวางกลยุทธ์และดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายของธนาคาร ยิ่งไปกว่านั้นคุณปิติยังมีความเข้าใจในวัฒนธรรมของTMBเป็นอย่างดี คณะกรรมการธนาคารจึงเชื่อมั่นว่า คุณปิติจะสามารถนำTMBให้รุดหน้าต่อไปในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพตามแผนที่ได้วางไว้”

ประวัติของ ปิติ อายุ 47 ปี เป็นนักการธนาคารที่มีประสบการณ์ เข้าร่วมงานกับTMBในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ และปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน       นายปิติจบการศึกษาปริญญาเอก สาขาการบริหารกลยุทธ์ ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) และ ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหการ ก่อนจะดำรงตำแหน่งปัจจุบัน ปิติมีประสบการณ์ในวงการธนาคารมากว่า 25 ปี ครอบคลุมทั้งด้านลูกค้าธุรกิจ, ด้านลูกค้า SME, ด้านลูกค้ารายย่อย และธุรกิจตลาดทุน นอกจากนั้นยังมีประสบการณ์การเป็นกรรมการอิสระของรัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชน 

รังสรรค์กล่าวด้วยว่า “ในนามของคณะกรรมการธนาคาร ผมขอแสดงความชื่นชมและขอบคุณคุณบุญทักษ์ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความอุทิศตน และได้ใช้ความรู้ความสามารถในการดำเนินงานอย่างมีกลยุทธ์เพื่อปฏิรูปและพลิกโฉมธนาคารให้เป็นTMBในวันนี้ โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานับตั้งแต่ที่ได้รับมอบหมายภารกิจที่มีความท้าทายอย่างยิ่งในการตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่าย คุณบุญทักษ์ได้ริเริ่มและนำการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญมาสู่TMB ด้วยการปรับองค์กรให้เป็นองค์กรที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้องค์กรมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ สร้างแบรนด์TMBตามปรัชญา Make THE Difference ของธนาคาร อีกทั้งยังได้มีการพัฒนาบุคลากรอย่างเข้มข้น บริหารจัดการด้านการเงินและบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับธนาคาร ซึ่งทำให้TMBมีความมั่นคงและมีศักยภาพที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดีด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นผู้นำและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการธนาคารไทย รวมทั้งยกระดับให้TMBเป็นธนาคารชั้นนำที่สามารถตอบโจทย์ของผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายอย่างยั่งยืน ทั้งลูกค้า ผู้ถือหุ้น พนักงาน และสังคมโดยรวม”

ในโอกาสนี้ บุญทักษ์ ได้กล่าวว่า “ผมขอขอบคุณลูกค้า คณะกรรมการธนาคาร และเพื่อนพนักงาน ที่ได้เคียงข้างกันมาบนเส้นทางการ ‘Make THE Difference เปลี่ยน...เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น’  ด้วยรากฐานที่มั่นคงในทุกด้าน ตลอดจนการมีแผนกลยุทธ์ธุรกิจระยะยาวที่ชัดเจนในการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า การเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพและคล่องตัวสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล        มีธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลกิจการ ประกอบไปด้วยทรัพยากรบุคคลคุณภาพ ผมเชื่อมั่นว่า TMBจะทะยานก้าวหน้าไปได้เร็วยิ่งกว่าเดิมในยุคดิจิทัล เป็นธนาคารที่ส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง (Need-based) ให้ลูกค้าใช้งานง่าย (Simple & Easy) จนทำให้ลูกค้าชื่นชอบและบอกต่อให้คนรอบข้างมาใช้บริการของTMBมากยิ่งขึ้นต่อไป”

บุญทักษ์ เข้ารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารTMB เมื่อวันที่  14 กรกฎาคม 2551 และเป็นผู้นำในการวางรากฐานทางการเงินที่ทำให้TMBพ้นจากภาวะขาดทุนสะสมกว่าหนึ่งแสนล้านบาท พลิกกลับมาเป็นธนาคารที่มีฐานะทางการเงินที่เข้มแข็ง มีความสามารถในการทำกำไรและเติบโตอย่างต่อเนื่อง สามารถจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นได้ในงวดผลประกอบการปี 2553 นับเป็นการจ่ายเงินปันผลครั้งแรกในรอบ 14 ปี   และเป็นผู้ที่นำการสร้างแบรนด์TMB Make THE Difference เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรให้ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรโดยเป็นธนาคารไทยที่นำแนวคิด LEAN มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน นำเสนอแนวคิดใหม่ในด้านการธนาคาร เช่น แบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์เงินฝากเป็นกลุ่มบัญชีเพื่อใช้ เช่น TMB All Free และกลุ่มบัญชีเพื่อออม เช่น TMB No Fix และเป็นธนาคารแรกในไทยที่ยกเลิกการคิดค่าธรรมเนียมโอนเงินข้ามเขต ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากความเข้าใจในปัญหาและความต้องการของลูกค้า พร้อมกันนี้ได้นำธนาคารก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ด้วยการพัฒนาองค์กรและวิธีการทำงานให้มีความรวดเร็วในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าและคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เป็นผู้ริเริ่มการธนาคารรูปแบบใหม่สำหรับยุคดิจิทัล ME by TMB บัญชีดิจิทัลที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีทั่วไป และบุญทักษ์ยังได้ริเริ่มการให้บริการกองทุนรวมแก่ลูกค้าทุกคน ด้วยแนวคิด  TMB Open Architecture เปิดให้ลูกค้าสามารถเลือกลงทุนผ่านสาขาของTMBในกองทุนดีๆจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนหลายแห่งโดยไม่ผูกติดอยู่กับบริษัทในเครือเท่านั้น เพื่อผลประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นหลัก รวมทั้งเปิดให้บริการที่ปรึกษาและจัดพอร์ตการลงทุน TMB Advisory ทำให้ลูกค้ามีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นตามเป้าหมายการลงทุนที่ลูกค้าต้องการ ทั้งนี้ลูกค้ายังสามารถรับบริการผ่านช่องทางดิจิทัลได้ด้วย ยิ่งไปกว่านั้นยังมีผลงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ โดยได้ริเริ่มการจัดอบรม LEAN Supply Chain ฟรีให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีภายใต้ซัพพลายเชนของธุรกิจขนาดใหญ่ เพื่อให้มีความรู้และทักษะสามารถนำ LEAN ไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการการทำงานและพัฒนากิจการของตนเองให้มีศักยภาพสูงขึ้นเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและความสามารถในการแข่งขันเพื่อความสำเร็จและการเติบโตอย่างยั่งยืนอีกด้วย

ทั้งนี้ TMB ยังคงดำเนินการต่อเนื่องตามแผนกลยุทธ์ 5 ปีที่วางไว้ต่อไปภายใต้การนำของคุณปิติ โดยยังคงมุ่งเป็นธนาคารที่ส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพที่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าอย่างตรงจุด (Need Based) ลูกค้าใช้งานง่ายและสะดวก (Simple & Easy) เป็นธนาคารที่ให้บริการ Transactional Banking ที่ดีที่สุดที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพจนทำให้ลูกค้าเลือกใช้TMBเป็นธนาคารหลักและบอกต่อ เพื่อก้าวสู่การเป็นธนาคารไทยชั้นนำที่ทันสมัยและก้าวหน้าที่สุด

    ความคับข้องใจของผู้ประกอบการโดยเฉพาะขนาดกลางและเล็กกับการทำธุรกรรมกับธนาคาร คือค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายธนาคาร การต้องไปสาขาเพื่อทำธุรกรรม ทำให้เสียเวลาและเสียโอกาสทางธุรกิจ

    ธนาคารทหารไทย จำกัด หรือ ทีเอ็มบี จึงเปิดตัวบัญชี“ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์” (TMB SME One Bank) รูปแบบใหม่ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการข้างต้น

     รัชกร ชยาภิรัต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกรรมทางการเงินภายในประเทศ ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) มองว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีอำนาจต่อรองไม่มาก จึงไม่สามารถใช้บริการบางอย่างของสถาบันการเงินได้เต็มที่ และเมื่อดูระบบนิเวศทางด้านการเงินในประเทศไทย ที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน และมี National E-Payment มารองรับ ธนาคารจึงได้พัฒนา “ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์” บัญชีเพื่อธุรกิจ ที่จบปัญหาด้านค่าธรรมเนียม ซึ่งเป็นเหมือน ‘ต้นทุนที่ไม่จำเป็น’ ที่ผู้ประกอบการมองข้ามหรือเคยชิน แต่ก็มีความต้องการที่กำจัดค่าธรรมเนียมเหล่านี้  ด้วยการมอบประโยชน์ให้ลูกค้า สามารถ โอน-รับ-จ่าย ข้ามธนาคาร ข้ามเขต ได้ทันที ฟรีค่าธรรมเนียม ทุกรายการแบบไม่จำกัดจำนวนครั้ง โดยไม่ต้องคงเงินขั้นต่ำในบัญชี เมื่อทำธุรกรรมด้วยช่องทางดิจิทัล คือ TMB Business Touch โมบายแอปพลิเคชันสำหรับเอสเอ็มอี ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมได้ทุกที่ ทุกเวลา

    บัญชีเพื่อธุรกิจ ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์ ยังตอบโจทย์ความต้องการในธุรกิจของลูกค้าเอสเอ็มอี ในด้านการจ่าย เช่น การโอนหรือถอนเงินผ่านเครื่อง ATM ฟรีไม่จำกัดจำนวนครั้ง ได้ทุกธนาคาร การจ่ายเงินเดือนพนักงานได้ทุกธนาคารได้ฟรี รวมไปถึงการจ่ายบิลต่างๆ นอกจากนี้ ในด้านรายรับ ลูกค้ายังได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากการเรียกเก็บเช็คข้ามเขต ข้ามธนาคาร ไม่มีค่าธรรมเนียม และซื้อสมุดเช็ค 1 เล่ม แถม 1 เล่ม ไม่จำกัดจำนวน ทั้งหมดนี้ สามารถช่วยให้ลูกค้าสามารถประหยัดต้นทุนในการทำธุรกรรมได้อย่างมาก

     รัชกรให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า บัญชีเพื่อธุรกิจ ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์ มุ่งเจาะกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี ที่มีความคุ้นเคยกับการทำธุรกรรมในระบบดิจิทัล โดยธนาคารตั้งเป้าเพิ่ม 100,000 บัญชีภายในสิ้นปีนี้ และหากลูกค้าใช้บัญชี ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์ อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ธนาคารมีข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของลูกค้า  และสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ และบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้านอื่นๆ ได้อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ด้านสินเชื่อ

     ทั้งนี้ผู้ที่สมัครใช้บริการ บัญชีเพื่อธุรกิจ ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์ จะมีค่าธรรมเนียมเอทีเอ็มปีละ 500 บาท โดยธนาคารมีโปรโมชั่นหากสมัครพร้อมเพย์ธนาคารจะคืนค่าธรรมเนียมนี้ให้

     เป็นเกมการแย่งชิงการทำธุรกรรมกับธนาคารที่จัดการกับ pain point ของลูกค้าอย่างน่าสนใจ

Page 3 of 3
X

Right Click

No right click