×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 840

ศูนย์วิเคราะห์ Customer Insights by TMB Analytics เผยผลการศึกษาพฤติกรรมการซื้อลอตเตอรี่และหวย(ใต้ดิน)คนไทยพบว่า หวยไม่ใช่แค่เรื่องของมวลชน กลุ่มพนักงานประจำและเจ้าของธุรกิจ ที่เป็นแรงขับเคลื่อนของประเทศ กว่า    9 ล้านคน  เสพติดหวย ส่วนใหญ่มีครอบครัวมีภาระ ที่ซื้อลอตเตอรี่เพราะหวังรวยทางลัดและอยากเสี่ยงโชค หวยเป็นปัจจัยพื้นฐานแม้เศรษฐกิจไม่ดีก็ยังซื้อ

 “1 ใน 4 ของคนไทยซื้อลอตเตอรี่และหวย รวมเป็นเงินกว่า 2.5 แสนล้านบาทต่อปี” พูดง่ายๆคือคนไทยราว 20 ล้านคนซื้อลอตเตอรี่และเล่นหวยเทียบเป็นมูลค่าในแต่ละปีเท่ากับ 3 เท่าของมูลค่าซื้อกองทุน LTF และ RMF หรือมองในมุมของเศรษฐกิจเทียบเท่ากับเม็ดเงินลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเลยทีเดียว 

แล้วทุกวันนี้คนไทยมองการซื้อลอตเตอรี่หรือการเล่นหวยอย่างไร เสียงสะท้อนจากสื่อโซเชียลส่วนใหญ่และผลสำรวจ พบว่าร้อยละ 55 มองหวยเป็นความฝันและความหวังที่ทำให้รวยและมีความเป็นอยู่ที่ดี แต่จาก สถิติชี้ว่าโอกาสที่จะรวยจากการถูกรางวัลนั้นน้อยมากไม่ว่าเป็นลอตเตอรี่หรือหวย โดยคนคาดหวังว่าจะถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 มีอยู่ 44% แต่โอกาสถูกจริงเน้นว่าเป็นเพียง 1 ในล้าน ส่วนด้านคนเล่นหวยคาดว่าจะถูก 2-3 ตัวบนล่างมีอยู่ถึง 78% แต่โอกาสถูกจริงคิดเป็น 0.4-2% เท่านั้น

นอกจากนี้ข้อมูลจาก Google Trend ยังชี้ว่าในช่วง 15  ปีที่ผ่านมาคนไทย search คำว่า “เลขเด็ด” ซึ่งเป็นคำที่ฮิตทั่วไทยเพิ่มขึ้นถึงปีละ 18% ขณะที่การ search คำว่า “ฝากเงิน”เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียงปีละ 9% และกระจุกอยู่แค่หัวเมืองเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับข่าวที่ได้ยินเสมอว่าถ้ามีเลขเด็ดแพร่สะพัดไปเมื่อไรละก็ ทั่วทั้งประเทศแผงไหนๆ จังหวัดไหนก็ขายหมด และไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรคนไทยก็ยังคงเสพติดหวยอย่างสม่ำเสมอ บ่งชี้จากในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในปี 2552 รายจ่ายในการซื้อลอตเตอรี่และหวยของคนไทยอยู่ที่  340 บาทต่อเดือนหรือคิดเป็น 2.1% ต่อรายได้ทั้งหมด เทียบกับในช่วงที่เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวในปี 2560 รายจ่ายในด้านนี้อยู่ที่  452 บาทต่อเดือน หรือคิดเป็น 2.1% ต่อรายได้ทั้งหมด ซึ่งตอกย้ำความเชื่อที่ว่าหวยเป็นความหวังที่ทำให้รวยและมีชีวิตที่ดีขึ้น แม้ในสถานการณ์ที่รายได้ตกต่ำควรเก็บเงินเพื่อใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น แต่ก็ยังต้องการเสี่ยงโชคแทงหวย หรือหวยจะมีบทบาทกลายเป็นสินค้าจำเป็นตามหลักเศรษฐศาตร์เข้าไปทุกที

เมื่อเจาะลึกถึงหน้าตาผู้ซื้อลอตเตอรี่หรือหวยเป็นอย่างไร เราพบว่าความเชื่อที่ว่าคนรายได้น้อยเท่านั้นที่เล่นหวย ส่วนคนรวยเล่นหุ้นนั้นไม่จริง จากสถิติและผลสำรวจพบว่า คนไทยไม่ว่าจะรายได้มากหรือน้อยก็เล่นหวยทั้งนั้น โดยกลุ่มคนที่มีรายได้สูงกว่า 15,000 บาทต่อเดือน มีการซื้อลอตเตอรี่และหวยเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 680 บาท คิดเป็น 1.2% ของรายได้ ซึ่งมากกว่ากลุ่มคนที่มีรายได้น้อยกว่า 15,000 บาทต่อเดือนที่เฉลี่ยอยู่ที่ 350 บาท คิดเป็น 2.2% ของรายได้

และไม่ว่าจะอายุมากหรือน้อย ก็เล่นหวยทั้งนั้น แต่หนักไปที่คนวัยสร้างครอบครัว ส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงินเดือนและเจ้าของกิจการ แถมเริ่มเล่นหวยตั้งแต่อายุยังน้อย จากสถิติและผลสำรวจชี้ว่า กลุ่มคนวัยสร้างครอบครัว (อายุ 35-55 ปี) หรือมีภาระรับผิดชอบเยอะ เป็นกลุ่มที่ซื้อลอตเตอรี่และเล่นหวยหนักที่สุดเฉลี่ยเดือนละ 500 บาท มากกว่าวัยทำงานและวัยเกษียณที่เฉลี่ยต่อเดือนราว 400 บาท โดยส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงินเดือนและเจ้าของกิจการ อย่างไรก็ตาม สถิติและผลสำรวจยังชี้ถึงประเด็นที่น่าตกใจว่า  10% ของจำนวนนักเรียนและนักศึกษาเล่นหวย โดยซื้อหวยต่อเดือนเฉลี่ยประมาณ 187 บาท เรียกว่าเริ่มเล่นหวยกันตั้งแต่ยังไม่มีรายได้ สาเหตุที่ซื้อเพราะมีแรงจูงใจมาจากผู้ปกครองและคนรอบข้าง และสื่อโซเชียล 

ทุกวันนี้มนุษย์เงินเดือนและเจ้าของธุรกิจเสพติดการเล่นหวยอยู่ในระดับใด?  ที่เราเซอร์ไพรส์คือ 50% ของมนุษย์เงินเดือนและเจ้าของธุรกิจ หรือประมาณ 12 ล้านคนเล่นหวย  โดยหากแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามลักษณะการเล่นหวย เราพบว่า  26%       “เล่นขำๆ” คือ เล่นสนุกไม่จริงจัง มีความสุขจากการได้หวังเงินรางวัล 63% “ชอบหวย” เพราะชอบลุ้นหรือเสี่ยงโชค มีความสุขจากการได้หวังเงินรางวัล และที่น่าสนใจคือ 11% “ติดหวย” ชอบลุ้นหรือเสี่ยงโชค มองว่ามูลค่าของเงินรางวัลสูงยังไงก็คุ้มกับเงินที่ซื้อหวย จึงซื้อแบบไม่ได้คิด  ทั้งนี้เราอาจสรุปได้ว่า มนุษย์เงินเดือนและเจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ หรือราว 9 ล้านคน ชอบลุ้นรางวัลไปจนถึงเสี่ยงโชคเพื่อรวยขึ้น

เมื่อเจาะลึกถึงพฤติกรรมการซื้อหวยของกลุ่มคน “ชอบหวย” พบว่ากว่า 80% ซื้ออย่างน้อยเดือนละครั้ง เฉลี่ยเดือนละ 420 บาท และซื้อเพิ่มขึ้นจากครั้งแรกของการเล่นหวยราว 18%  ยิ่งไปกว่านั้น เราพบว่า กลุ่มคน “ติดหวย” จะซื้อทุกงวด หรือ 24 ครั้งต่อปี  จ่ายค่าหวยมากกว่ากลุ่ม “ชอบหวย”ถึงสองเท่า แถมยังซื้อเพิ่มขึ้นจากครั้งแรกถึง 26% ทั้งนี้หากกลุ่มคนเหล่านี้ซื้อหวยต่อเนื่อง 50 ปี  สิ่งที่พวกเขาเสียไปเทียบเท่าได้กับ รถยนต์ City Car หรือบ้านถึง 1 หลัง เลยทีเดียว สะท้อนให้เห็นว่า หวย คือความฝันที่แลกด้วยเงินล้านของคนไทยจริงๆ

นอกจากนี้เราได้เจาะลึกไปถึงสาเหตุของพฤติกรรม โดยพบว่า ทั้งคน “ชอบหวย” และคน “ติดหวย” มองเงินที่ซื้อหวยเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องมี เพราะชอบเสี่ยงโชค แต่ต่างกันตรงที่ คน “ชอบหวย” มีการวางแผนทางการเงิน  โดยกันเงินเพื่อซื้อหวย ในขณะที่คน “ติดหวย” ซื้อหวยแบบไม่ได้คิด คือ หากได้เงินมาก็ใช้ซื้อหวยทันที และอาจยอมลดเงินซื้อหวยส่วนหนึ่งเท่านั้น และเพื่อทำความเข้าใจมากขึ้น เราพบว่า คน “ติดหวย” จะนำเงิน(ถ้าถูกรางวัล) จ่ายหนี้  ต่างจากคน “ชอบหวย” ที่เก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น และให้ครอบครัว จึงเป็นข้อยืนยันว่า หวยคือความหวังที่ช่วยปลดล็อดให้มีความเป็นอยู่ที่ดี

อย่างไรก็ตาม จากผลสำรวจสัดส่วนในการออมเงิน คน “ชอบหวย” ส่วนใหญ่ราว 66% มีเงินออมเฉลี่ยมากกว่า 5,000 บาท ขณะที่เงินออมเฉลี่ยต่อเดือนของคน “ติดหวย” นั้นส่วนใหญ่น้อยกว่า 5,000 บาท

โดยสรุปแล้ว มนุษย์เงินเดือนและเจ้าของธุรกิจ ที่    “ชอบหวย” และ “ติดหวย” หากนำเงินเหล่านี้ไปออมเพิ่มขึ้น หรือลงทุนในทางเลือกอื่น ที่มีผลตอบแทนและความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง โปร่งใส รวมถึงการมีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ จะทำให้มีรายรับเพิ่มขึ้น และอาจนำไปใช้จ่ายสิ่งจำเป็น เช่น ประกันสุขภาพ รถยนต์ หรือ บ้าน ได้โดยไม่ต้องหวังลุ้นเสี่ยงโชคทุกวันที่ 1 และ 16 ของแต่ละเดือนอีกต่อไป ¾

“ศูนย์ Customer Insights by TMB Analytics เป็นศูนย์วิเคราะห์มุมมองใหม่ๆ ด้านการพฤติกรรมทางการเงิน เพื่อสร้างการตระหนักรับรู้ ความเข้าใจ เพื่อนำไปสู่การวางแผนการเงินส่วนบุคคลให้เหมาะสมยิ่งขึ้น” นำเสนอผลการศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินของคนไทยตลอดเส้นทางทั้งการออม การใช้จ่าย การลงทุน ตลอดจนการป้องกันความเสี่ยง ซึ่งสามารถสะท้อนอะไรหลายๆ อย่างเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมในด้านต่างๆ

ตลาดทุนและตลาดเงินของไทยในช่วงครึ่งหลังของปีต้องเผชิญความผันผวนที่เพิ่มขึ้นจากเงินทุนที่เคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การไหลออกของเงินทุนจากต่างประเทศ จากความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้า และสภาพคล่องที่ลดลงจากการใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้นของสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมและความผันผวนของค่าเงินบาทเพิ่มสูงขึ้น นักลงทุนและผู้ประกอบการจึงควรเตรียมรับมือ

หลังจากวิกฤติการเงินปี 2008 ธนาคารกลางใหญ่ๆ ทั่วโลกเลือกใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายโดยการลดดอกเบี้ยนโยบายจนอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และอัดฉีดสภาพคล่องผ่านโปรแกรม QE ทำให้เกิดสภาวะสภาพคล่องล้นตลาด นักลงทุนจึงเลือกที่จะเอาเงินไปลงในสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงสูงขึ้นเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น เกิดเป็นพฤติกรรม Search for Yields ทำให้มีเงินทุนจำนวนมากไหลเข้ามาในตลาดเกิดใหม่ ทั้งในพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชน และตลาดหุ้น ทำให้ spread ของหุ้นกู้เอกชนลดลง ในขณะที่ตลาดหุ้นปรับตัวสูงขึ้น โดย spread ของหุ้นกู้ BBB rating ของไทยลดต่ำลง จากที่ระดับกว่า 300bps ก่อนที่จะมีมาตรการ QE ในปี 2009 ลงมาอยู่ที่ระดับ 170bps หลังเฟดยกเลิกมาตรการ QE ในปี 2014 ในขณะที่ SET Index ก็ปรับเพิ่มขึ้นจาก 500 จุด ไปเป็น 1600 จุด

ดังนั้น ตอนนี้ธนาคารกลางที่เคยเป็นคนเพิ่มสภาพคล่องให้ระบบ กลายเป็นคนที่ดูดสภาพคล่องของระบบออกไป โดยการยกเลิกการทำ QE และเริ่มลดขนาดงบดุล ประกอบกับการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่ทำให้สินทรัพย์ของสหรัฐฯน่าดึงดูดมากขึ้น ทำให้ที่ผ่านมามีเงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะประเทศที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจด้านต่างประเทศยังไม่แข็งแกร่ง เช่น เงินสำรองระหว่างประเทศต่ำ ในขณะที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด อย่างเช่น อาร์เจนตินา บราซิล ตุรกี และอินโดนีเซีย ทำให้ค่าเงินอ่อนลงไปตั้งแต่6% ถึง กว่า 30% จากเงินทุนที่ไหลออกรุนแรง จนทำให้ประเทศเหล่านี้ ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดความกดดันจากค่าเงินที่อ่อนค่าจากเงินทุนไหลออกและเงินเฟ้อที่ทยอยปรับขึ้น

นอกจากจะได้รับผลกระทบจากนโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้นของเฟดแล้ว ตลาดเกิดใหม่เหล่านี้ก็ยังถูกกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน แม้ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงยังไม่ชัดเจนก็ตาม โดยหลังจาก Trump เริ่มประกาศสงครามการค้ากับจีนตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2561 มีเงินไหลออกจากตลาดหุ้นเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ค่อนข้างรุนแรง จนค่าเงินในตลาดเอเชียอ่อนค่าลงโดยเฉลี่ยกว่า 5%

สำหรับประเทศไทย แม้จะมีเสถียรภาพด้านต่างประเทศที่ดี เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง และเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ประกอบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้เงินทุนยังไม่ไหลออกรุนแรงเมื่อเทียบกับตลาดเกิดใหม่อื่นๆ แต่หากนับจากช่วงต้นปีนี้ ตลาดทุนและตลาดเงินไทยก็มีเงินไหลออกสุทธิรวมกันแล้วกว่า 8 หมื่นล้านบาท เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2016 และ ปี 2017 ที่มีเงินทุนต่างชาติไหลเข้าสุทธิกว่า 2.8 แสนล้านบาทโดยเฉลี่ยต่อปี  ที่ประเทศไทยมีเงินทุนต่างชาติไหลเข้าสุทธิมาโดยตลอด ทำให้ค่าเงินบาทผันผวนมาก โดยตั้งแต่ช่วงต้นปีจนถึงตอนนี้ เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 31.10 ถึง 33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และอ่อนค่าจากต้นปีแล้วกว่า 2.2%

ความผันผวนในตลาดทุนและตลาดเงินจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเฟดขึ้นดอกเบี้ยได้เร็วกว่าที่ตลาดมอง จากตลาดแรงงานที่ร้อนแรงขึ้น เมื่อความต้องการแรงงาน 6.7 ล้านตำแหน่งสูงกว่าจำนวนคนว่างงาน 6.1 ล้านคน กดดันให้เงินเฟ้อสูงขึ้นเร็วกว่าที่ตลาดคาด ซึ่งอาจทำให้เกิด market correction รุนแรง เงินทุนไหลออก มูลค่าสินทรัพย์ลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการเงินเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนมาก ดังนั้นทั้งนักลงทุนและผู้ประกอบการ จึงควรเตรียมป้องกันความเสี่ยงในอนาคต ไว้ด้วย

 

            จากแผนกลยุทธ์ Get MORE with TMB ของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ็มบี ที่ประกาศออกมา ในส่วนของการให้บริการลูกค้าเอสเอ็มอี เทียนทิพย์  นาราช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าเอสเอ็มอี ทีเอ็มบี  ก็ออกมาประกาศกลยุทธ์การให้ความสำคัญกับลูกค้าเอสเอ็มอี ด้วยการทำความเข้าใจปัจจัยต่างๆ ของธุรกิจเอสเอ็มอีที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโต ทีเอ็มบีจึงเตรียมสร้างประสบการณ์ใหม่ในการใช้บริการที่ตรงกับรูปแบบการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลให้กับเอสเอ็มอี ใน 3 เรื่องได้แก่

  1. More Benefits - สิทธิประโยชน์ที่มากกว่า เพื่อต่อยอดธุรกิจ ด้วยการเปิดตัว TMB BIZ WOW รีวอร์ดโปรแกรมครั้งแรกเพื่อ SME ที่จะเปลี่ยนธุรกรรมการเงินเป็นสิทธิประโยชน์ที่เป็นประโยชน์ต่อเอสเอ็มอีให้ธุรกิจเติบโตและคล่องตัวขึ้น ด้วย ความรู้เพื่อต่อยอดธุรกิจ ที่ลูกค้าสามารถเลือกได้ตามความสนใจ เช่นคอร์สเวิร์คช้อป การสร้างสินค้าอย่างไรให้โดนใจลูกค้า การบริหารการลงทุนและภาษี ตัวช่วยเพื่อธุรกิจราบรื่น เพิ่มช่องทางการเก็บสินค้า ส่งของทันต้นทุนถูก มีรายชื่อให้บริการ พร้อมสามารถใช้คะแนนเป็นส่วนลดในการใช้บริการต่างๆ การตลาดเพื่อการเติบโตแบบก้าวกระโดด เพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม แพลตฟอร์มทางการตลาดและองค์ความรู้สำหรับการทำการตลาดอย่างแม่นยำยิ่งขึ้น และ ไลฟ์สไตล์เหนือระดับแบบเจ้าของธุรกิจ ทั้งการพักผ่อนและเดินทางบริการที่พักและร้านอาหาร เช่นเดียวกับที่มีใน TMB WOW
  2. More Time – คล่องตัวและมีเวลามากขึ้น ด้วยโซลูชั่น TMB SME One Bank ใช้คู่กับ TMB BIZ TOUCH โมบายล์แอปพลิเคชันแรกที่ออกแบบมาเพื่อเอสเอ็มอีโดยเฉพาะ สามารถทำธุรกรรมได้ทุกที่ ทุกเวลา รับ โอน จ่าย ใช้วงเงิน OD อายัดเช็ค และโอนเงินไปต่างประเทศ 7 สกุลเงิน ได้บนมือถือ และล่าสุดได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ Online Loan Request ครั้งแรกที่เอสเอ็มอีสามารถคำนวณวงเงิน เปิดโอกาสให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เร็วและง่ายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
  3. More Possibilities ต่อยอดธุรกิจ SME ด้วยคำปรึกษาด้านธุรกิจและการเงิน ด้วย TMB BIZ Advisory บริการให้คำปรึกษาด้านการเงินจากผู้เชี่ยวชาญของทีเอ็มบี ด้วยระบบ VDO Conference ในห้องรับรองส่วนตัว ที่สาขาของทีเอ็มบี เริ่มต้นที่ 25 สาขา และจะขยายไปทุกสาขาทั่วประเทศในเร็วๆ นี้ และโครงการ LEAN Supply Chain by TMB เน้นเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพแบบครบวงจร ด้านการบริหารจัดการการผลิต ลดสินค้าคงคลัง เพิ่มผลผลิตในองค์กร และลดระยะเวลาในการทำงาน โดยมีบริษัทร่วมอบรมแล้วกว่า 1,200 ราย

          เทียนทิพย์ กล่าวเสริมว่า “ทีเอ็มบีเข้าใจดีว่าเอสเอ็มอียุคนี้ต้องเผชิญหน้ากับการแข่งขันรอบด้าน และจากสถิติเราพบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีธุรกิจเกิดใหม่กว่า 70,000 รายต่อปี แต่มีเพียง 50% เท่านั้นที่ก้าวผ่านปีแรกไปได้ ทีเอ็มบีจึงสร้างสรรค์ตัวช่วยทางธุรกิจเพื่อให้ธุรกิจเอสเอ็มอี ต้องได้มากกว่าและโตได้มากกว่าเมื่ออยู่กับเรา เช่น เราทราบว่าเอสเอ็มอีทำธุรกรรมเฉลี่ยกว่า 80-100 ครั้งต่อเดือน หรือมากกว่ามนุษย์เงินเดือนถึง 4 เท่า แทนที่จะปล่อยให้สูญเปล่า ลูกค้าสามารถร่วมรีวอร์ดโปรแกรม TMB BIZ WOW ที่เปลี่ยนธุรกรรมเป็นรางวัลที่เป็นประโยชน์ต่อการเติบโตแบบยั่งยืนของ SME โดยเฉพาะ ทั้งนี้ เราภูมิใจที่เป็นธนาคารแรกที่เปิดกว้างด้านสิทธิประโยชน์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า เพื่อเติมเต็มในสิ่งเอสเอ็มอีขาดโดยที่ลูกค้าไม่ต้องร้องขอ ซึ่งเป็นเป้าหมายของเราเพื่อให้ทีเอ็มบีเป็นธนาคารที่ลูกค้าชื่นชอบและแนะนำมากที่สุดในประเทศไทย (The Most Advocated Bank in Thailand) ภายใน 5 ปีนับจากนี้”

TMB Three Mores

March 14, 2018

ธนาคารทหารไทยจำกัด(มหาชน) หรือ ทีเอ็มบี โดยปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี เปิดเผยแผนงานธุรกิจของธนาคารในปีนี้ว่า ทีเอ็มบีจะเดินหน้าเพื่อ Make THE Difference อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าทุกกลุ่ม “ได้มากกว่า” (Get MORE with TMB) และบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ นิยมใช้บริการของทีเอ็มบีเป็นธนาคารหลัก (Main Bank) อย่างเป็นประจำ มีความชื่นชอบในบริการของทีเอ็มบีจนต้องบอกต่อ โดยตั้งเป้าหมายขึ้นชั้นเป็นธนาคารที่ลูกค้าชื่นชอบและบอกต่อมากที่สุดในประเทศไทย (The Most Advocated Bank in Thailand) ภายในปี 2565

ทีเอ็มบีจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อตอกย้ำการเป็นธนาคารที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุด (Need Based) ง่ายและสะดวก (Simple & Easy) ให้ลูกค้าได้มากกว่า (Get MORE with TMB) เมื่อมาใช้บริการทีเอ็มบีเป็นธนาคารหลักเป็นประจำ ซึ่งลูกค้าจะได้รับ สิทธิประโยชน์ที่มากกว่า (More Benefits), มีเวลาใช้ชีวิตมากขึ้นสำหรับเรื่องอื่นที่สำคัญ (More Time) และ มีโอกาสที่ดีเพิ่มขึ้น (More Possibilities)

และเพื่อผลักดันให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทีเอ็มบีจะพัฒนาและส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาช่องทางธนาคารและมอบประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อเพื่อให้ลูกค้าทำธุรกรรมได้ง่ายใช้งานได้จริง และนอกจากนี้ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างองค์กรในหลายส่วนเพื่อลดความซับซ้อนให้เป็นองค์กรแบบราบ (Flat Organization) มีระดับชั้นการบังคับบัญชาสั้นลงเหลือเพียง 5 ชั้น พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน และพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทีเอ็มบีมีความคล่องตัวฉับไวในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า รวมทั้งการบริหารจัดการข้อมูล Big Data และนำข้อมูลที่มีอยู่มากมายให้สามารถนำมาใช้อย่างเป็นระบบและวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) เพื่อให้เข้าใจถึงความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะทำให้สามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงใจลูกค้าอย่างแท้จริงได้อย่างต่อเนื่องต่อไป

สำหรับผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยสนองความต้องการลูกค้าTMB ในกลุ่มต่างๆ ประกอบด้วย

 

More Benefit

More Time

More Possibilities

ลูกค้าธุรกิจ

TMB Supply Chain Financing Solutions

 

TMB QR for Business

พร้อมเพย์

โมบายล์แอปพลิเคชัน TMB

Business TOUCH Internet Banking

ที่ปรึกษาและคู่คิดทางธุรกิจ

ลูกค้าเอสเอ็มอี

TMB SME WOW

TMB Business TOUCH

TMB SME One Bank

TMB SME Advisory

โครงการ Lean Supply Chain by TMB

ลูกค้ารายย่อย

TMB All Free

TMB TOUCH Mobile App

TMB No Fixed

TMB WOW

TMB TOUCH Mobile App

TMB Advisory

 

TMB ถือเป็นหนึ่งในธนาคารชั้นนำที่มีภาพลักษณ์ของการเป็นธนาคารที่มีความทันสมัย ก้าวล้ำนำหน้าด้วยการนำเสนอบริการทางการเงินที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีโดดเด่น เพื่อมุ่งสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าเสมอมา และในยุคที่ธนาคารมีการแข่งขันกันสูงมาก แต่ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมนี้ก็กำลังเผชิญวิกฤตศรัทธาและการเข้ามาของ Fintech เพื่อข้ามผ่านความท้าทายดังกล่าว TMB ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ หากแต่ปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว และนำเสนอบริการที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงใจมากขึ้น

 

พีรพงศ์ นิธิไกรวุฒิ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าธุรกิจ หนึ่งในคณะผู้บริหารระดับสูง ร่วมงานกับ TMB มานานกว่า 7 ปี ให้รายละเอียดถึงทิศทางและกลยุทธ์ต่างๆ ที่น่าสนใจของ TMB ในการครองใจผู้บริโภคยุคดิจิทัลว่า “การเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้า ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับ TMB ซึ่งเป็นธนาคารที่ให้ความสำคัญกับเรื่อง Customer Centric มานานแล้ว กระนั้น TMB ยังคงต้องทำให้เด่นชัดและเป็นมาตรฐานมากขึ้น แม้ในทางปฏิบัติจะเป็นเรื่องยากก็ตาม แต่เป็นหนึ่งในแนวทางสร้างความแตกต่างของ TMB ด้วย เราทำโปรแกรม Turning Banker เพื่อดึงคนที่มีความสามารถและประสบการณ์ในอุตสาหกรรมสำคัญมาร่วมงานกับเรา เช่น รถยนต์ อาหาร ฯลฯ เพราะเขามีความเข้าใจในตัวอุตสาหกรรมนั้นๆ ดีมาก โดยเราจะติดอาวุธเรื่องความรู้ทางการเงินให้เขา ทำให้เราสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่โดนใจลูกค้ามากขึ้น โดยเฉพาะสำหรับลูกค้ารายใหญ่หรือลูกค้าธุรกิจ”

“เรามอง Customer Experience เป็นสิ่งสำคัญ ทำอย่างไรให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้นเมื่อใช้บริการของธนาคาร ทำอย่างไรที่เราจะไม่ต้องใช้คำศัพท์ที่ลูกค้าไม่เคยรู้เลยว่าหมายถึงอะไร รวมถึงขั้นตอนต่างๆ ที่ยุ่งยาก เพราะโดยปกติแล้วธนาคารเป็นองค์กรที่มีโครงสร้างซับซ้อน จนสะท้อนออกมาทางด้านนโยบายและกระบวนการต่างๆ ทำให้สิ่งที่ตามมาคือลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดี ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก เช่น ทุกวันนี้เราสามารถอนุมัติสินเชื่อบ้านและดำเนินการเสร็จสิ้นทั้งหมดภายในระยะเวลา 5 วัน ส่วนวิธีเข้าหาเอสเอ็มอีก็เหมือนกัน เพราะนักธุรกิจเต็มไปด้วยไอเดียอยู่แล้ว สิ่งที่เราต้องทำ คือ เราทำอย่างไรก็ได้ที่จะสนับสนุนให้ลูกค้าเติบโตได้ดีและมั่นคงมากขึ้น ด้วยการตอบสนองลูกค้าได้ดี ได้เร็วกว่าคนอื่น และตอบสนองต่อปัจจัยทางธุรกิจต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที เพื่อเป็นตัวเลือกแรกของลูกค้าให้ได้”

 

"เรามอง Customer Experience เป็นสิ่งสำคัญ ทำอย่างไรให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้น เมื่อมาที่ธนาคาร" 

พีรพงศ์ นิธิไกรวุฒิ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าธุรกิจ ธนาคาร TMB

 

สำหรับแนวทางที่ TMB นำมาใช้ก็คือ Need Based Bank หรือการพยายามเข้าใจลูกค้าก่อนที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ อันจะเป็นการตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างแท้จริง เริ่มต้นจากกระบวนการที่ทำให้พนักงานตระหนักและเข้าใจในแนวทางนี้ก่อน โดย ซีอีโอและผู้บริหารระดับสูง ได้มีการเดินสายพบปะพูดคุยเพื่อให้พนักงานในองค์กรทุกแผนกเข้าใจถึงความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลง เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ TMB ต้องการเท่านั้นยังไม่พอ TMB ยังออกแบบขั้นตอนในการนำเสนอบริการทางการเงินที่เรียบง่าย ไม่ยุ่งยาก แบบ Simple and Easy เพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปมาก ผู้บริโภคมีความอดทนน้อยลง มองหาความสะดวกสบายมากขึ้น

ในส่วนของการบริการลูกค้าธุรกิจ TMB ก็นำเสนอเทคโนโลยีที่ช่วยให้การทำธุรกิจของลูกค้าง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก เช่น SME One Bank ไม่เพียงแต่ลดค่าใช้จ่าย แต่ยังลดความยุ่งยากของระบบการโอนเงินที่หลากหลายและแตกต่างในเรื่องเวลา จำนวนเงิน ค่าธรรมเนียม ที่ระบบธนาคารสร้างขึ้น รวมถึง Mobile Banking ที่ TMB เป็นธนาคารที่มี Mobile Banking Platform สำหรับเอสเอ็มอี “น่ายินดีมากที่ปัจจุบันในหลายๆ ผลสำรวจ เราก็จะติดอันดับ 1 ใน 3 หรือ Top of mind ของ Mobile Bankingที่ลูกค้าชื่นชอบและนำเสนอ Digital Solution ได้อย่างครบครัน”

 

 

ความท้าทายของ TMB เมื่อมีของดีอยู่ในมือ คือต้องทำอย่างไรที่จะสื่อสาร ส่งมอบบริการดีๆ ให้ลูกค้าได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น “ในลูกค้าขนาดเล็ก การทำ Marketing ผ่านสื่อต่างๆ เป็นช่องทางหลัก แต่ในกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ขึ้นมา การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายยังต้องอาศัยทีมงานที่มีประสิทธิภาพและมีความรู้ความเข้าใจในอุตสาหกรรมนั้นๆ อย่างถ่องแท้ ดังนั้นการเสริมสร้างทีมที่แข็งแกร่งจึงจำเป็นมากๆ สิ่งที่เราพยายามจะสร้างความยั่งยืนในเรื่องนี้คือเราต้องสร้างคนของเราเอง และเราเริ่มทำเรื่องนี้มานาน ทำอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง เรามีโปรแกรมอยู่หลายโปรแกรม หนึ่งในนั้นคือ Management Trainee ขอให้เขามี Passion ที่อยากจะเรียนรู้ อยากที่จะเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการเงิน เราคิดว่าเราก็เปิดใจกว้างที่จะรับเขาเข้ามาฝึก”

สุดท้ายพีรพงศ์บอกว่า จากการที่ TMB มีโครงสร้างองค์กรแบบ Flat Organization ทำให้พนักงานทุกคนได้แสดงศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่ และมีโอการสได้เข้าถึงผู้บริหารระดับสูง TMB จึงเป็นองค์กรใหญ่ที่เหมาะกับคนเก่งที่ต้องการเวที นอกจากนี้ด้วยวัฒนธรรมแบบ Performance Driven Organization ยังทำให้ TMB เป็นองค์กรที่สร้างความแตกต่างอย่างเด่นชัด และมีรางวัลแห่งความสำเร็จที่ชัดเจน ทำให้พนักงานรู้สึกมีกำลังใจอยากจะทำผลงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ฟันเฟืองที่มีประสิทธิภาพ เต็มไปด้วยความกระตือรือร้น และกระหายในความสำเร็จเหล่านี้ จะช่วยกันขับเคลื่อนให้ TMB เติบโตอย่างยั่งยืน ท่ามกลางความผันผวน การแข่งขัน และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น

Page 2 of 3
X

Right Click

No right click