×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

 

จากรายงาน EIC Research Series “แม่ค้าขยับ รับลูกค้าพร้อมเปย์ ด้วย e-Payment” รวมรวมแนวโน้มการจับจ่ายแบบไร้เงินสดของประเทศไทย ประโยชน์ และรูปแบบที่กำลังจะมาของ e-Payment  หลังจากที่ภาครัฐและเอกชนต่างพุ่งเป้าไปที่การสนับสนุนให้ร้านค้าและประชาชนหันมาใช้ e-Payment ไม่ว่าจะเป็น บัตรเครดิต/เดบิต Mobile Banking หรือ e-Wallet แทนการใช้เงินสด เนื่องจากการเป็นสังคมไร้เงินสดจะเกิดประโยชน์มากมาย เช่น การช่วยลดต้นทุนในการทำธุรกรรมและการบริหารจัดการเงินสด อีกทั้งยังสามารถต่อยอดนวัตกรรมทางการเงินได้หลากหลายในอนาคต ทั้งนี้ จากการประเมิน
ของ VISA พบว่า หากกรุงเทพมหานครสามารถก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสดได้จะเกิดประโยชน์เป็นมูลค่ากว่า 1.25 แสนล้านบาทต่อปี โดยประโยชน์ส่วนใหญ่ตกอยู่กับภาคธุรกิจ


หมายเหตุ: มูลค่าอานิสงส์ที่จะได้รับ หากประชาชนทั้งหมดสามารถใช้ e-Payment ได้ในระดับเดียวกันกับกลุ่มที่มีการใช้ e-Payment มากที่สุด 10% แรกในกรุงเทพฯ

ที่มา: รายงาน Cashless Cities โดย VISA

ตัวอย่างการรับ-จ่ายเงินในรูปแบบ QR Code

ธนาคารและผู้ให้บริการอื่นๆ ต่างจัดโปรโมชั่นหนัก เพื่อผลักดันให้มีผู้ใช้บริการ e-Payment ของตนมากขึ้น

 

e-Payment ช่วยธุรกิจเพิ่มยอดขาย-ลดต้นทุน

จากการศึกษาของ Roubini ThoughtLab พบว่าการรับเงินผ่าน e-Payment สามารถช่วยเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจได้ ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วธุรกิจขนาดเล็กจะมียอดขายเพิ่มขึ้นกว่า 17% หลังจากเริ่มรับชำระเงินผ่าน e-Payment เนื่องจากธุรกิจเหล่านั้นจะไม่พลาดโอกาสในการขาย หากผู้บริโภคไม่ได้พกเงินสดไว้เพียงพอต่อการซื้อสินค้า อีกทั้งธุรกิจบางส่วนยังสามารถขยายตลาดไปยังลูกค้าออนไลน์เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจของตน สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่จะมียอดขายเพิ่มขึ้นกว่า 22% เนื่องจากธุรกิจขนาดใหญ่สามารถต่อยอดข้อมูล e-Payment เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อนำเสนอราคาและโปรโมชั่นได้อย่างตรงกลุ่ม อีกทั้งยังสามารถเสนอกลยุทธ์ loyalty program เพื่อสนับสนุนให้ผู้บริโภคกลับมาใช้บริการของตนอีก อย่างไรก็ดี การต่อยอด e-Payment เพื่อทำการตลาดนั้นไม่จำกัดอยู่เพียงธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น ตัวอย่างเช่น ร้านค้าในจีนที่นิยมให้บริการรับชำระเงินผ่านมือถือ เพราะร้านค้าเหล่านั้นสามารถสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (customer engagement) ได้โดยการแนะนำให้ลูกค้ากดติดตาม page ของร้านค้า เพื่อให้ร้านค้าสามารถส่งคูปองส่วนลด และโปรโมชั่นต่างๆ ให้กับลูกค้าได้

 

e-Payment ช่วยเพิ่มยอดขายให้ร้านค้าอย่างไร?

นอกจากนี้ การใช้ e-Payment แทนเงินสด จะช่วยให้ธุรกิจประหยัดเวลาในการดำเนินการรับ-จ่ายเงิน และประหยัดต้นทุนโดยตรงที่ธุรกิจต้องใช้ในการบริหารเงินสด ไม่ว่าจะเป็นการจ้างพนักงานให้ไปขึ้นเช็ค เฝ้าเงินสดที่ร้าน ตรวจสอบเงินสด หรือแม้กระทั่งการป้องกันการโจรกรรม ทั้งนี้ จากการศึกษาของ VISA พบว่า ในกรุงเทพฯ ธุรกิจขนาดกลางถึงใหญ่มีแนวโน้มที่จะใช้ e-Payment ในการรับ-จ่ายเงินมากกว่าธุรกิจขนาดเล็ก โดยเฉพาะในส่วนของการจ่ายเงินที่ธุรกิจขนาดเล็กมากกว่าครึ่งยังใช้เงินสด ซึ่งอาจเป็นเพราะธุรกิจเหล่านั้นมีลูกจ้างเพียงไม่กี่ราย และส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างรายวัน ซึ่งคุ้นชินกับการได้รับค่าจ้างเป็นเงินสดมากกว่า อย่างไรก็ดี หากการดำเนินการดังกล่าวใช้ระบบ e-Payment ก็จะช่วยประหยัดทั้งเวลา และต้นทุนของธุรกิจในการดูแลเงินสดให้กับธุรกิจได้

สัดส่วนของการ “รับ” เงินผ่าน e-Payment เทียบกับเงินสดของธุรกิจในกรุงเทพมหานคร (มูลค่า)

สัดส่วนของการ “จ่าย” เงินผ่าน e-Payment เทียบกับเงินสด (มูลค่า)

หมายเหตุ: นิยามขนาดธุรกิจ ดังนี้ ธุรกิจขนาดเล็กมีการจ้างงานน้อยกว่า 20 คน ธุรกิจขนาดกลางมีการจ้างงาน 20-50 คน ธุรกิจขนาดใหญ่มีการจ้างงาน 50-200 คน

ที่มา: รายงาน Cashless Cities โดย VISA

 

การชำระเงินด้วย QR Code มีต้นทุนต่ำ และจะได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภค

สำหรับร้านค้า การรับชำระเงินด้วย QR Code มีต้นทุนที่ต่ำกว่าเครื่อง EDC ที่ใช้รับบัตรเครดิต/เดบิต เนื่องจากการใช้เครื่อง EDC จะต้องมีการติดตั้งเครื่องและระบบ อีกทั้งยังมีค่าธรรมเนียม 1.5-3.5% ที่จะคิดในฝั่งผู้ขาย ขณะที่การรับเงินผ่าน QR Code นั้นเป็นการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟน โดยผูกกับระบบ PromptPay ซึ่งจะไม่มีค่าธรรมเนียมหากโอนเงินไม่เกิน 5,000 บาท อีกทั้งเหล่าธนาคารและผู้ให้บริการอื่นๆ ต่างแข่งขันเพื่อให้บัญชีของตนเป็นบัญชีหลักของร้านค้า ผู้ให้บริการส่วนใหญ่จึงยังไม่คิดค่าธรรมเนียมกับร้านค้า และทำให้ร้านค้าไม่จำเป็นต้องกำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำกับผู้บริโภคอย่างในกรณีของบัตรเครดิต นอกจากนี้ ผู้ให้บริการยังมีบริการแจ้งเตือนร้านค้าเมื่อมีเงินเข้ามาในบัญชี โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายรายเดือน ซึ่งช่วยสร้างความสะดวกสบายให้กับการรับเงินผ่าน QR Code ด้านผู้บริโภคก็มีแนวโน้มจะใช้ QR Code มากขึ้น ตามจำนวนการผูกบัญชี PromptPay ที่มีมากขึ้น และแนวโน้มการใช้สมาร์ทโฟนที่แพร่หลายมากขึ้น อีกทั้งผู้ให้บริการทั้งธนาคารและ non-bank ต่างผลักดันให้ผู้บริโภคใช้บริการของตนอย่างเต็มที่ ด้วยโปรโมชั่น และสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การได้รับเงินคืนเมื่อจ่ายผ่าน QR Code หรือส่วนลดต่าง ๆ

 

การเติบโตของ e-Commerce เป็นอีกแรงสนับสนุนให้
กับการใช้ e-Payment ของผู้บริโภค

การใช้ e-Payment เป็นสิ่งที่มักจะเติบโตควบคู่ไปกับ e-Commerce เพราะ e-Payment ทำให้การซื้อสินค้าเป็นไปอย่างรวดเร็ว และสะดวกสบาย อย่างเช่น ในกรณีของจีนที่สามารถเปลี่ยนเป็นสังคมไร้เงินสดได้ภายใน  2 ปี โดยมีจุดเริ่มต้นจากความนิยมในการใช้ e-Wallet อย่าง Alipay และ Wechatpay เพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ โดยหลังจากที่ผู้บริโภคมี e-Wallet อย่างแพร่หลายก็ส่งผลให้ร้านค้าออฟไลน์จำนวนมากหันมารองรับการใช้จ่ายผ่าน QR Code เพื่อเพิ่มยอดขาย สำหรับประเทศไทยมูลค่าตลาด e-Commerce ที่มีแนวโน้มเติบโตได้กว่า 13% ต่อปี ในช่วง 4 ปีข้างหน้า จากระดับ 6 หมื่นล้านบาทในปี 2017 สู่มูลค่าตลาดราว 1 แสนล้านบาทภายในปี 2021 ก็จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคมีความคุ้นชินกับ e-Payment มากขึ้น

 อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคออนไลน์ชาวไทยกว่า 39% ยังนิยมการชำระเงินแบบเก็บเงินปลายทาง (Cash on Delivery: COD) เทียบกับในประเทศจีนที่มีเพียง 8% ลักษณะเฉพาะดังกล่าวนี้เป็นความท้าทายสำคัญต่อการเติบโตของ e-Payment ผ่าน e-Commerce ของไทย ทั้งนี้ หากในอนาคตผู้บริโภคสามารถชำระเงินปลายทาง (COD) ด้วย QR code ได้ ก็จะช่วยลดต้นทุนให้กับธุรกิจ e-Commerce เนื่องจากความปลอดภัยที่มากกว่าการเก็บเงินสด อีกทั้งยังไม่ต้องจำกัดจำนวนเงินเมื่อพนักงานมาส่งสินค้า เพียงแค่สแกน QR รับชำระเงินตรงไปที่บริษัทได้เลย

 

การชำระเงินเพื่อซื้อของออนไลน์ในไทยส่วนใหญ่ทำผ่านบัตรเดบิต/เครดิต และการชำระเงินปลายทาง

หน่วย: % ของผู้ตอบแบบสอบถามที่ซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งหมด

 

ที่มา: ผลสำรวจของ EIC ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2017 และ Worldpay

 

สังคมไร้เงินสดจะเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดการพัฒนาฟินเทคด้านอื่นๆ ต่อไป

จากกรณีศึกษาของจีนและอินเดีย พบว่าการที่ผู้คนหันมาใช้ e-Payment มากขึ้นจะเป็นการสร้างฐานข้อมูลด้านการเงินของเหล่า SMEs และบุคคลทั่วไป ทั้งข้อมูลด้านจำนวนเงินที่หมุนเวียนในบัญชี ประเภทของการใช้จ่าย ช่วงเวลาที่มีเงินเข้า-ออก และอื่นๆ ซึ่งสามารถพัฒนาต่อยอดได้เป็น credit scoring หรือข้อมูลด้านเครดิตที่สถาบันการเงินสามารถนำมาประกอบการพิจารณาให้สินเชื่อ nano-finance ได้ อีกทั้งยังนำไปสู่การนำเสนอบริการทางการเงินรูปแบบอื่นๆ เช่น การบริการความมั่งคั่งส่วนบุคคล (Private Wealth Management) และการประกันภัย (insurance) ทั้งนี้ หากบริการทางการเงินในรูปแบบต่างๆ สามารถเข้าถึงประชาชนและธุรกิจได้เป็นวงกว้าง ก็จะเป็นการช่วยพัฒนา SMEs ไทย ช่วยการวางแผนทางการเงินของประชาชน รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลของประชาชนของรัฐบาลเพื่อการกำหนดนโยบายช่วยเหลือที่ถูกต้องและตรงจุดในระยะต่อไปอีกด้วย

 

E-Payment ที่พัฒนาขึ้นจะนำไปสู่การพัฒนาฟินเทคด้านอื่นๆ ด้วย

หน่วย: % ของบริการด้านการเงินและการธนาคารที่มีการใช้ฟินเทค

ที่มา: DBS Bank, 2016

 

 

    ธนาคารไทยพาณิชน์ ประกาศเดินหน้าภารกิจ SCB Transfomation เพื่อก้าวสู่การเป็น The Most Admired Bank  โดยจะรุกสู่การเป็นธนาคารดิจิทัลที่เข้าถึงความต้องการของลูกค้า แผนงานของธนาคารในปีนี้นอกจากการเพิ่มฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ แล้วยังรวมถึงการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี เพื่อรองรับแพลตฟอร์มดิจิทัล และการนำเทคโนโลยี Business Intelligence ที่ช่วยให้ธนาคารตัดสินใจด้านการลงทุนได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยอาศัยข้อมูลทั้งจากภายในและภายนอกธนาคาร และเทคโนโลยี Big Data Analysis ที่ช่วยให้ธนาคารวิเคราะห์พฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าในเชิงลึกได้มากขึ้น

    ผ่านไป9 เดือน เราได้เห็นการขยับของ SCB ด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง โดยมีดิจิทัล เวนเจอร์สเป็นแกนหลักในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในวงการธนาคาร ตัวอย่างที่เพิ่งผ่านมาไม่นานคือการพัฒนาแอพพลิเคชันจัตจักรไกด์ ที่ช่วยให้ร้านค้าและลูกค้าสามารถทำธุรกรรมกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว รวมถึงช่วยบริการด้านข้อมูลให้กับผู้ที่ใช้งาน

    ล่าสุด SCB ก็ออกมาประกาศจัดตั้ง เอสซีบี อบาคัส เป็นบริษัทในเครือที่ที่มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาธุรกิจและบริการเป็นบริษัทแรกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินและการธนาคารของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  

     อาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวในการเปิดตัวบริษัทลูกครั้งนี้ว่า เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เมื่อ 2 ปีก่อน SCB จึงจัดตั้ง ดิจิทัล เวนเจอร์ส ขึ้นเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงเนื่องจาก SCB เป็นองค์กรใหญ่ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำได้ยาก จึงต้องมีดิจิทัลเวนเจอร์สที่มีความเป็นอิสระ เพื่อทดลองเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งปัจจุบันกมีบางการทดลองได้เริ่มลงสู่ตลาดบ้างแล้ว

    เอสซีบี อบาคัส ก็มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับดิจิทัล เวนเจอร์ส ที่จะมาช่วย SCB ในการขับเคลื่อนธนาคารด้วยเทคโนโลยี ด้วยการนำเอาข้อมูลที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดความเข้าใจความต้องการของลูกค้าแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งหากจะรอระบบวิเคราะห์ข้อมูลของธนาคารอาจจะไม่ทันกาล การจัดตั้ง เอสซีบี อบาคัส ขึ้นก็เพื่อจะนำเอาเทคโนโลยี AI มาใช้กับฐานข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อรู้จักผู้บริโภคเพิ่มขึ้น เป็นไปตามแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ

     อาทิตย์ระบุว่าอยากให้ เอสซีบี อบาคัส สามารถผลิตผลงานได้เช่นเดียวกับ ดิจิทัล เวนเจอร์ส ที่ก่อตั้งมาก่อน รวมถึงให้ทั้งสองบริษัทประสานงานกันเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นมา

     ดร. สุทธาภา อมรวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี อบาคัส จำกัด ให้ข้อมูลต่อว่า เทคโนโลยี AI อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด เห็นได้จากระบบการคัดแยกอีเมลที่ใช้ Machine Learning ระบบแนะนำสินค้าที่ตรงใจให้แก่ผู้ซื้อแต่ละคนในเว็บไซต์อีคอมเมอร์ซ หรือระบบการจดจำใบหน้าบุคคลที่ใช้บนโซเชียลมีเดีย เป็นผลผลิตจากเทคโนโลยี AI  ทั้งสิ้น

     ในแวดวงธนาคาร เทคโนโลยี  AI ถูกนำมาใช้แยกธุรกรรมบัตรเครดิตที่น่าสงสัยว่าจะมีการทุจริต ใช้สำหรับการแนะนำผลิตภัณฑ์ทางการเงินการลงทุน ที่เรียกว่า Robo-advisor และการชำระเงินด้วยระบบการจดจำใบหน้า AI เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันของธุรกิจต่าง ๆ อย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งเอสซีบี อบาคัส ด้วยพันธกิจหลักในการพัฒนาเทคโนโลยีที่นำเอานวัตกรรมอย่าง AI มาเป็นกุญแจสำคัญในการวิเคราะห์และเรียนรู้ข้อมูล เพื่อต่อยอดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการที่ตอบโจทย์ทั้งสำหรับธนาคารไทยพาณิชย์ และองค์กรธุรกิจต่าง ๆ

อาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ดร. สุทธาภา อมรวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี อบาคัส จำกัด ณัฏฐกานต์ ครรภาฉาย ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารสายนิติบริการและกฎหมายดิจิทัล (ซ้ายสุด) และ อรพงศ์ เทียนเงิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท Digital Ventures (ขวาสุด) ร่วมเปิดตัวบริษัท เอสซีบี อบาคัส

 

     ดร.สุทธาภาระบุว่าจุดแข็งของ เอสซีบี อบาคัส ที่เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันได้เป็นอย่างดี ประกอบด้วย

  • ทรัพยากรบุคคล – มีทีมบุคลากรที่มีประสบการณ์การทำงานในบริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลก มาร่วมขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นและใช้งานได้จริง
  • การสนับสนุนจากธนาคารไทยพาณิชย์ – ให้ความไว้วางใจในการเลือกโครงการภายในธนาคาร ที่มีผลกระทบเชิงบวกสูงต่อการปรับปรุงพัฒนาบริการของธนาคาร ทำให้สามารถนำมาศึกษา พัฒนา และต่อยอดเป็นโซลูชั่นต่าง ๆ ได้
  • มีพันธมิตรระดับโลก – มีข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT ในสหรัฐฯ เพื่อนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ ทั้งยังมีการจัดตั้งคณะที่ปรึกษา ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายภาคธุรกิจ ได้แก่ ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร คุณวิลาสินี พุทธิการันต์ และ ศาสตราจารย์ ดร. เบ็นจามิน แวนรอย มาร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เพื่อร่วมขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ๆ

    ปัจจุบันเอสซีบี อบาคัส มีโครงการที่อยู่ในมือที่พอจะประกาศให้ทราบได้ เช่น ในแอปพลิเคชัน SCB Easy บริษัทจะเข้าไปช่วยพัฒนาระบบการแนะนำการใช้บริการธนาคารหรือที่เรียกว่า Recommendation Engine ซึ่งทำให้สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ลูกค้าต้องการได้รวดเร็ว ตรงใจต่อลูกค้ามากยิ่งขึ้น รวมไปถึง ระบบบริการด้านสุขภาพที่จะนำเทคโนโลยี Internet of Things หรือ IoT  เข้ามาช่วยส่งเสริมไลฟ์สไตล์ด้านสุขภาพ โดยใช้ AI ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ประกันที่เหมาะสมเฉพาะแต่ละบุคคล เพื่อช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าใส่ใจดูแลสุขภาพและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่ เอสซีบี อบาคัส จะเข้าไปเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบ Call Center ด้วยการนำ AI มาคาดการณ์ปัญหาของลูกค้าที่โทรเข้ามา เพื่อโอนสายไปยังผู้เชี่ยวชาญที่ตอบปัญหาได้ตรงจุด ช่วยยกระดับคุณภาพบริการและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า 

    การเปิด เอสซีบี อบาคัส ทำให้เห็นภาพความพยายามของ SCB ในการรุกตลาดฟินเทคเช่นเดียวกันกับเมื่อครั้งนำเอาเทคโนโลยี ATM เข้ามาเปิดให้บริการเป็นรายแรกของประเทศไทยเมื่อพ.ศ. 2526  

Page 2 of 2
X

Right Click

No right click