แนะนักลงทุนย้ายเงินจาก Money Market สกุลดอลลาร์สหรัฐมุ่งสู่ตราสารหนี้ต่างประเทศและตลาดหุ้นเอเชีย

ยอดเยี่ยมที่สุดด้าน CIO-DPMและDigital Wealth การันตีคุณภาพผู้นำธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง

ตอกย้ำบทบาทบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

SCB CIO ประเมินมุมมองเศรษฐกิจและการลงทุน หลังผลเลือกตั้งอินโดนีเซีย ที่นายปราโบโว ซูเบียนโต ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด เตรียมเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี ในวันที่ 20 ต.ค. นี้  เดินหน้านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และสวัสดิการสังคม พร้อมสานต่อนโยบายรัฐบาลชุดเดิม สร้างเศรษฐกิจให้เติบโตด้วยกลไกตลาดเสรี  ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติ และเน้นการพึ่งพาตัวเองมากขึ้น ทั้ง ด้านพลังงาน อาหาร และน้ำ รวมทั้ง ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ   ตั้งเป้าเศรษฐกิจอินโดนีเซียเติบโตเฉลี่ย 6-7% ต่อปี   SCB CIO ยังคงมุมมอง Neutral   แม้หุ้นกลุ่มธนาคารเติบโตดี    Valuationของตลาดหุ้น อยู่ในระดับต่ำ  และรายได้ (Earning) ของบริษัทจดทะเบียน คาดว่ามีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปีนี้ที่กว่า 12% และปี 2568 กว่า 9%  แต่ยังมีปัจจัยกังวลในเรื่องภาคการส่งออกที่หดตัวอย่างต่อเนื่อง    การปรับลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และความเสี่ยงที่รัฐบาล อาจปรับเพิ่มเพดานขาดดุลการคลังต่อ GDP จาก 3% เป็น 6% ที่อาจจะกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังระยะกลางถึงยาวได้

ดร.กำพล  อดิเรกสมบัติ  ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าทีม SCB Chief Investment Office (SCB CIO)  ธนาคารไทยพาณิชย์  เปิดเผยว่า จากการเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2567 ผลการนับคะแนนแบบไม่เป็นทางการ (Quick Count) ที่มีความแม่นยำค่อนข้างสูง ชี้ว่า นายปราโบโว  ซูเบียนโต (Prabowo Subianto)ได้คะแนนเฉลี่ย 58% ของคะแนนเสียงทั้งหมด ทำให้ นายปราโบโว คว้าชัยชนะจากการเลือกตั้งประธานาธิบดี และเตรียมรอเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่  20 ต.ค.นี้ โดยไม่น่าจะต้องมีการเลือกตั้งรอบสอง เนื่องจากเป็นไปตามกฎการเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดนีเซียที่ระบุว่า กรณีผู้สมัครชนะการเลือกตั้ง ต้องได้คะแนนมากกว่า 50% และ ได้คะแนนอย่างน้อย 20% ในจังหวัดต่างๆ มากกว่าครึ่งหนึ่งของจังหวัดทั้งประเทศ หากไม่มีผู้สมัครคนใดได้คะแนนเสียงถึงเกณฑ์ที่กำหนด จึงจะจัดเลือกตั้งรอบสอง ให้ผู้สมัครที่มีคะแนนเสียงอันดับ 1 และ 2 ชิงชัยชนะกัน

เมื่อวิเคราะห์นโยบายหาเสียงของนายปราโบโว พบว่า โดยภาพรวมเน้นไปที่การกระตุ้นเศรษฐกิจ และด้านสวัสดิการสังคม นโยบายหลักๆ ได้แก่ ด้านสุขภาพ อสังหาริมทรัพย์ แรงงาน การคลัง และ สวัสดิการสังคม โดยตัวอย่างนโยบายเด่นๆ เช่น จัดตรวจสุขภาพฟรีให้ประชาชนทุกคนปีละ 1 ครั้ง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของหมู่บ้านและตำบลอย่างต่อเนื่อง เพิ่มเงินเดือนข้าราชการ จัดตั้งสำนักงานสรรพากรของรัฐ แยกออกมาจากกระทรวงการคลัง เพื่อเพิ่มอัตราส่วนรายได้ภาครัฐต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และเพิ่มโปรแกรมบัตรสวัสดิการสังคม เพื่อขจัดความยากจนอย่างแท้จริง เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังพร้อมสานต่อนโยบายรัฐบาลของนายโจโก วีโดโด (Joko Widodo) ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน เช่น นโยบายโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะโครงการสร้าง "นูซันตารา" เมืองหลวงแห่งใหม่ ทั้งยังต้องการมุ่งเน้นให้เศรษฐกิจเติบโตด้วยกลไกตลาดเสรี  ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติ และเน้นการพึ่งพาตัวเองมากขึ้นด้านพลังงาน อาหาร และน้ำ รวมทั้ง ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศด้วย

สำหรับช่วง 5 ปีต่อจากนี้ที่ นายปราโบโว  จะเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ได้ตั้งเป้าหมายเศรษฐกิจอินโดนีเซียเติบโตเฉลี่ย 6-7% ต่อปี  ซึ่งสูงกว่าที่ IMF คาดอยู่ที่ 5% ระหว่างปี 2024-2025 นอกจากนี้ ยังต้องการลดจำนวนคนว่างงานลงประมาณ 2 ล้านคน ภายใน 5 ปี ผ่านการสืบสานและต่อยอดนโยบายประธานาธิบดี โจโก ซีโดโด โดยเราคาดว่า จะช่วยสนับสนุนภาคการลงทุน จากการที่ภาคเอกชนมีความมั่นใจมากขึ้น และการเพิ่มการใช้จ่ายงบลงทุน (CAPEX) ส่วนการบริโภค คาดว่าจะได้รับผลบวกจากการใช้จ่ายภาครัฐฯ ในด้านสังคม ที่มีแนวโน้มดำเนินต่อไป ตามที่ได้ผ่านงบประมาณรายจ่ายไว้แล้ว ขณะเดียวกัน  นายปราโบโว ประกาศไว้ว่าจะเริ่มต้นเดินหน้านโยบายที่หาเสียงไว้หลายประการทันทีที่เข้ามาบริหารประเทศเต็มตัว จึงเป็นแรงกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชน ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจระยะต่อไป

ทั้งนี้ SCB CIO มีมุมมองเชิงบวกเพิ่มขึ้นต่อตลาดหุ้นอินโดนีเซีย โดยมองว่าตลาดหุ้นได้รับแรงหนุนระยะสั้น จากปัจจัยดังนี้  1) การเลือกตั้งที่มีแนวโน้มสำเร็จในรอบแรก ส่งผลบวกต่อ sentiment บนตลาดหุ้นอินโดนีเซีย 2) ผลประกอบการของกลุ่มธนาคารยังมีแนวโน้มเติบโตดี 3) Valuation ของตลาดหุ้นอินโดนีเซีย อยู่ในระดับที่น่าสนใจ โดยเทรดอยู่บน ราคาต่อกำไรต่อหุ้นในระยะข้างหน้า (forward PE) ที่ 13.7x หรือยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ประมาณ -1 s.d. และ 4) Earnings ของบริษัทจดทะเบียนยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปี 2567 ที่ประมาณ +12.2%   และในปี 2568  คาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ +9.4%

อย่างไรก็ตาม เรายังคงมุมมอง Neutral (ถือ) บนตลาดหุ้นอินโดนีเซียอยู่ เนื่องจากประเด็นความกังวลที่มีอยู่ ได้แก่ 1) ภาคการส่งออกที่หดตัวอย่างต่อเนื่อง 2) การปรับลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออก ดุลบัญชีเดินสะพัด และรายได้ภาครัฐฯ ของอินโดนีเซีย 3) ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับลดลง อาจส่งผลกดดันต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลให้ปรับลดลง และ 4) ความเสี่ยงที่รัฐบาลภายใต้การนำของ นายปราโบโว อาจปรับเพิ่มเพดานขาดดุลการคลังต่อ GDP จากปัจจุบันที่ 3% เป็น 6% ซึ่งหากเกิดขึ้น จะกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังระยะกลางถึงยาว และส่งผลลบต่อค่าเงินรูเปี๊ยะให้อ่อนค่าลง และ Bond Yield อินโดนีเซีย อาจกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นได้

ไทยพาณิชย์ชี้ผู้ประกอบการไทยบูมการใช้สกุลเงินหยวนเป็นสกุลหลักทำธุรกรรมนำเข้า-ส่งออกระหว่างไทย-จีน หลังทางการผลักดันระบบนิเวศตลาดอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ (New FX ecosystem) เปิดตัว SCB Yuan Pro Rata Forward เครื่องมือการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนและลดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับสกุลเงินหยวน ได้เรทอัตราแลกเปลี่ยนพิเศษทุกรายการ ไม่มีขั้นต่ำ และทำรายการได้ด้วยตัวเอง ผ่าน FX Online เป็นธนาคารแรกและแห่งเดียวในประเทศ มั่นใจ SCB Yuan Pro Rata Forward จะเป็นผู้ช่วยตัวท็อปให้เอสเอ็มอีไทยควบคุมต้นทุนที่แน่นอน หมดความกังวลความผันผวนจากค่าเงิน

นายแพททริก ปูเลีย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ประเทศจีนเป็นประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย และมีสัดส่วนการใช้เงินหยวนเพื่อการค้าอยู่ลำดับที่ 4 อย่างไรก็ตาม สกุลเงินหยวนเริ่มมีบทบาทอย่างต่อเนื่องที่ผู้ประกอบการไทยใช้เป็นสกุลหลักในการทำการค้า โดยในปี 2022 สกุลเงินหยวนใช้ในการค้ากับประเทศจีนมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นที่ 6.6% จาก 5.6% ในปี 2021 (ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย) และคาดว่าสัดส่วนดังกล่าวจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสนับสนุนการใช้สกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ในการค้าขายระหว่างประเทศ ตามนโยบายการผลักดันระบบนิเวศของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ (New FX ecosystem)

ธนาคารไทยพาณิชย์มีความพร้อมในการสนับสนุนการใช้สกุลเงินหยวนให้แก่ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้องการได้รับความสะดวกรวดเร็วในการแลกเปลี่ยนเงินตราและลดต้นทุนในการทำธุรกรรมไปพร้อมๆ กัน ธนาคารจึงขยายขอบเขตการทำธุรกรรมด้วยการเพิ่มสกุลเงินหยวนเข้าไปใน SCB Pro Rata Forward ซึ่งเป็นสัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าแบบส่งมอบภายในระยะเวลาที่ตกลงไว้ ภายใต้ชื่อบริการ SCB Yuan Pro Rata Forward เครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินหยวน เพื่อให้ผู้ประกอบการที่มีความจำเป็นต้องใช้สกุลเงินหยวนในการซื้อหรือขายอัตราแลกเปลี่ยนสามารถจัดการความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนได้เพิ่มขึ้น

“SCB Yuan Pro Rata Forward ช่วยลดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับสกุลเงินหยวน ทำให้ผู้ประกอบการไทยสามารถรู้ราคาที่แน่นอนทุกครั้งและทุกวันที่ต้องการทำรายการ และได้เรทอัตราแลกเปลี่ยนพิเศษทุกรายการ ไม่มีขั้นต่ำ และสามารถทำรายการได้อย่างสะดวกสบาย ผ่านช่องทางการทำรายการออนไลน์ FX Online ของธนาคาร ซึ่งไทยพาณิชย์เป็นธนาคารแรกและแห่งเดียวที่ให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกรรม Yuan Pro Rata Forward ได้ด้วยตัวเองผ่านระบบออนไลน์ จึงเชื่อมั่นว่าจะตอบโจทย์การทำธุรกรรมในโลกการค้าไร้พรมแดนและสอดคล้องกับกลยุทธ์ของธนาคาร Digital Bank with Human Touch ได้อย่างชัดเจน” นายแพททริก กล่าว

ปัจจุบัน ธนาคารไทยพาณิชย์ให้บริการ SCB Pro Rata Forward ครอบคลุมสกุลเงินหลัก ได้แก่ USD, AUD, CHF, EUR, GBP. JPY และ NZD ผู้ประกอบการที่ใช้บริการ SCB Pro Rata Forward จะได้รับค่าธรรมเนียมพิเศษ ทั้งโอนออกและรับเงินจากต่างประเทศ เมื่อทำรายการผ่าน SCB Business Anywhere ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจใช้บริการ SCB Pro Rata Forward ติดต่อได้ที่ 02-544-5800

X

Right Click

No right click