×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

ประสิทธิภาพของ “บล็อกเชน”

April 22, 2018 3653

ในบรรดาผู้รู้จริงในเรื่อง BLOCKCHAIN ของเมืองไทย ซึ่งมีกันอยู่ไม่มากนัก จักรกฤษณ์ ทัฬหชาติโยธิน คือหนึ่งในนั้น เขาคือหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง “Six Network” ที่ดูแลทางด้านเทคโนโลยี และ Blockchain ของกิจการ

จักรกฤษณ์ เป็น Serial Entrepreneur ที่ทำสตาร์ตอัพมาแล้วหลายกิจการ ตั้งแต่ Co-Working Space และการสร้างฮาร์ดแวร์ที่ใช้ทดสอบสัญญาณมือถือ ไปจนถึงการทำ SDK เพื่อการโอนเงินผ่านมือถือ ผ่านเสียงที่คนไม่ได้ยิน เรียกว่าผ่านงานในเชิง เทคโนโลยี + นวัตกรรม มาไม่น้อย

จักรกฤษณ์มองว่า หัวใจของบล็อกเชนคือเรื่อง “TRUST” ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจในระบบทุนนิยม

“บล็อกเชนทำให้คนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย เกิดความไว้วางใจกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาตัวกลาง ที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับ ในการโอนเงิน โอนข้อมูล หรือโอนมูลค่าให้กัน" เขากล่าว

ที่เป็นเช่นนั้นได้ เพราะบล็อกเชนมัน "เปิดเผย"

เป็นการลงบัญชีที่เปิดเผย ทำให้ทุกคนเห็นและตรวจสอบธุรกรรมนั้นๆ ได้ โอกาสที่จะกลับมาแก้ไขค่อนข้างยาก ยกเว้นว่าต้องรวมหัวกัน

ดังนั้น มันจึงค่อนข้าง "ปลอดภัย" ด้วย สำหรับธุรกรรมบนโลกออนไลน์

"และเมื่อตกผลึกเรื่องนี้แล้ว ก็จะเห็นว่าบล็อกเชน เป็นเรื่องที่จะเปลี่ยนทุกอย่างในโลกที่ต้องมีหน่วยงานกลาง โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดของ Smart Contract อย่างในกรณีของ Ethereum นั้น ช่วยให้ผู้คนจินตนาการถึง Business Model ได้อีกเป็นล้านอย่าง"

 

ทลายกำแพงคนกลาง

จักรกฤษณ์ได้ยกตัวอย่างการออกแบบ Business Model ของ Six Network เอง ที่ช่วยลดความสำคัญของตัวกลางลง

Six Network ออกแบบ Business Model โดยอาศัยการสร้างสมาร์ตแพลตฟอร์มบนบล็อกเชนที่เปิดให้ผู้ซื้อและผู้สร้างงานครีเอทีฟสามารถมาตกลงกันได้โดยตรง โดยอาศัย Smart Contract เป็นตัวช่วย

"สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือ Platform โดยเราแบ่งเป็น 3 ก้อนใหญ่ๆ คือ Financial Service ที่เราจำลองหลาย Model ที่มีใน Traditional Finance Service เดิม เช่น Payroll เป็นต้น"

และในอนาคตอาจจะมี Assets to Loan เพื่อให้ธุรกิจทำงานคล่องมือมากขึ้น

ส่วนที่สองคือ Digital Asset Wallet เพราะคนในวันนี้ยังคงมอง Cryptocurrency Wallet เป็นเหมือนกระเป๋าเงินเก็บ Crypto แต่ในส่วนของ Six Network เรามองการดีไซน์ ว่าจะให้ครอบคลุมไปถึง Business Token ต่างๆ เช่น คูปองทางการค้า หรือ Token ที่มหาวิทยาลัยออกให้นักศึกษาเพื่อการ Access เข้าห้องสมุด หรือร่วมกิจกรรมของสถาบัน เป็นต้น

โดยในเครือข่ายกิจการของผู้ร่วมก่อตั้งของเรา เรามีลักษณะนี้อยู่มาก เช่นในเครือข่าย OOKBEE ก็มี Platform ต่างๆ หลายสิบแอปพลิเคชัน ให้อ่านหนังสือ ดูการ์ตูน วิดีโอ ฟังเพลง ในกลุ่มเกาหลีมีอีกเป็นร้อย

ในอนาคตพวกแต้มต่างๆ ของบัตรเครดิตที่จะหมดอายุ เราจะสามารถ Swap แต้มมาเป็น Six coins ให้เป็นประโยชน์ได้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ Win-Win และ Liquidity จะสูงขึ้น และแต่ละธุรกิจสามารถ apply เงื่อนไขขึ้นมาให้เป็นประโยชน์กันทั้งสองฝ่ายได้

ความคล่องตัวในการทำธุรกิจจะง่ายดายขึ้น การหาพาร์ทเนอร์ในต่างประเทศ สร้างความร่วมมือในเครือข่ายจะสามารถเกิดขึ้นได้ทันทีภายในไม่กี่วัน หากพบพาร์ทเนอร์ที่ต้องการในเครือข่ายของ Six Network จะสามารถติดต่อ แลกเปลี่ยน Token กันได้เลย เริ่มทำธุรกิจได้ในเวลารวดเร็ว ต่างจากการเริ่มความร่วมมือทางธุรกิจในอดีตที่ยากลำบาก

 

 

นอกจากนี้ Digital Asset Wallet ยังมีส่วนช่วยในปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ที่แพร่ขยายจากอิทธิพลการแชร์ไฟล์ดิจิตอล การฟ้องร้อง การตรวจสอบมีความยุ่งยาก แต่ Blockchain จะเป็นตัวช่วยในเรื่องนี้ เพราะสามารถทำให้เกิด Prove of Ownership (พิสูจน์หลักฐานการเป็นเจ้าของ) ได้

เราเพียงอาศัย Blockchain IP ที่เป็น Smart Contract ก็จะสามารถออกแบบ Business Model ได้เลยว่าจะแบ่งรายได้กันอย่างไรเมื่อมีผู้ซื้อผลงานแบ่งรายได้กันอย่างไร ระหว่างตัวศิลปินและคนที่มาช่วยขายซึ่งอาจจะเป็น Decentralize Application ที่มาช่วยขาย Concept ให้ คือศิลปินยังเป็นเจ้าของผลงานของตนเองอยู่ เพียงแต่กระบวนการจะช่วยเกลี่ยให้คนกลางมีประสิทธิภาพสูงที่สุด

ส่วน Platform ที่สาม คือ Decentralized Commerce

ทุกวันนี้เรามี commerce จำนวนมาก ตั้งแต่ Level Marketplace ทั้ง EPay, Alibaba และที่เป็น Platform เช่น iTune AppStore และ OOKBEE เอง ซึ่งการรวมศูนย์หรือ Centralize อาจมีข้อเสียในแง่ที่ว่า เขาเป็นผู้ตั้ง Business Model ขึ้นมา บางที่มีเงื่อนไขของตนเองที่ให้เราต้องทำตามทั้งที่รู้ตัว และไม่รู้ตัว ซึ่งสุดท้ายสิ่งที่ศิลปินเสียคือ Ownership เพราะนำทั้งหมดไปฝากไว้ที่ตัวกลาง

สิ่งที่ Six Network มอง คือเมื่อเราสร้าง Wallet ขึ้นมาแล้ว ทรัพย์สินทั้งหมดคุณเป็นผู้ดูแลเอง โดยผ่านทาง Smart Contract หรือ Service ต่างๆ ที่จะมาช่วย ในขณะที่ฝั่ง End-User ก็มีกระเป๋าเงิน ซึ่งมี Token ต่างๆ ในนั้นเหมือนกัน จะมีเพียง Decentralized App. ที่มี Platform เหมือน Marketplace เข้ามาวาง แต่คนสองกลุ่มนี้สามารถหากันเจอ และแลกเปลี่ยนกันได้ในต้นทุนที่ถูกกว่าเดิมมาก และที่สำคัญคือหากตัวกลางนี้ไม่มีประสิทธิภาพ ก็จะมีตัวกลางใหม่ยื่นมือเข้ามาเพื่อเสนอให้ใช้บริการของตนเองแทน เป็นกระบวนการ End to End ที่เมื่อจบกระบวนการ ได้เงินครบวงจร จึงไม่น่ามีข้อสงสัยถึงการเติบโตของ Token ที่นำไปใช้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน

 

ข้อดีของ Stellar

Six Network มิได้ออก Token โดยอาศัยเทคโนโลยีของ Ethereum เหมือนผู้ออก ICO ส่วนใหญ่นิยมทำกัน แต่กลับเลือกใช้เทคโนโลยีของ Stellar

จักรกฤษณ์เล่าเหตุผลเบื้องหลังการเลือกใช้ Stellar ครั้งนี้ว่า "เกิดจากการ Explore แบบลงลึกทางเทคโนโลยี"

"คือในเบื้องต้น เราจะเห็นว่าทั้ง Bitcoin และ Ethereum นั้น สามารถโอนเงินได้ทั้งคู่ โดย Bitcoin อาจจะมีค่าโอนที่สูงกว่าและช้ากว่า ด้วย Security Model ที่แน่นหนากว่า ส่วน Ethereum นั้นโอนเงินได้แบบไม่แพงมาก แต่ถ้าลองมารัน Smart Contract (Software) จะพบว่ามันยังไม่คล่องตัวเท่าใดนัก และมีค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเกิดขึ้น"

"แต่ในทางกลับกัน Stellar มีระบบ Security เทียบเท่ากับ Ripple ซึ่งธนาคารนำมาใช้ และมีค่าใช้จ่ายต่อ Transaction ต่ำ รวมทั้งใช้เวลาสั้นมากเทียบเท่ากับการโอนเงินปกติในปัจจุบัน สะดวกต่อ Micro Payment ระดับ 10-20 บาท ซึ่งมองในวงกว้างแล้วตอบสนองได้มากกว่า และแฟร์กว่าระบบเดิมที่มีต้นทุนสูง เช่นสามารถเก็บเงินคนฟังเพลงได้เป็นรายวินาที เป็นต้น"

"ถ้าจะเปรียบเทียบแบบง่ายๆ สำหรับ Bitcoin วันนี้อาจจะใช้เพียงแค่การรับส่งเงิน ยังไม่มีอะไรมาก และช้า ส่วน Ethereum นั้น ทำอะไรได้มากมาย เปรียบเสมือนกับรถบรรทุก แต่ก็ช้า หนัก และแพง ในขณะที่ Stellar แกะโน่นแกะนี่ทิ้งหมด เปรียบเหมือนรถ F-1 ทำอะไรได้น้อย แต่ส่งเงินได้เร็วมาก เราจึงเลือกเทคโนโลยีนี้มาใช้ในส่วนที่เป็น Transaction Layer ของเรา เพื่อความรวดเร็วของธุรกรรม"

 

ข้อจำกัดของบล็อกเชน

กระนั้นก็ตาม บล็อกเชนก็เหมือนกับของใช้ทั่วไป ที่มีทั้งข้อดีและข้อจำกัด

จักรกฤษณ์ได้ยกตัวอย่างข้อจำกัดอันหนึ่งที่น่าสนใจ

"ธรรมชาติของบล็อกเชนเป็นดาต้าเบส จึงไม่มีประสิทธิภาพที่ดีในการแบกอะไรที่ใหญ่มากและใช้ความเร็ว เช่น ไม่เหมาะจะนำมาทำวิดีโอ ตอนนี้ได้ทดลองบล็อกเชนตัวหนึ่งที่เป็น Chat เห็นได้ว่าช้ามาก" เขากล่าว

แต่เขามองอย่างมีความหวังว่า ในอนาคตก็น่าจะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ เพราะวันนี้เราเพิ่งอยู่ในยุคเริ่มต้นของเทคโนโลยีบล็อกเชน เท่านั้น 

X

Right Click

No right click