×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 805

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 806

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

1. บทนำ ในยุคเทคโนโลยี 5G ที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงกว่า 4G ถึง 10 เท่าเป็นอย่างต่ำ โดยจะใช้แถบความกว้างของความถี่ในระดับ 50 - 100 MHz ซึ่งจะทำให้หุ่นยนต์และมนุษย์ทำงานร่วมกันในโรงงาน และในโรงงานจะทำหน้าที่เหมือนวง ดนตรีที่เล่นเพลงเดียวกันอย่างไพเราะด้วยเครื่องดนตรีที่หลากหลาย นอกจากนี้หุ่นยนต์จะเชื่อมต่อเข้ากับระบบคลาวด์ (Cloud robotics) ได้แบบเรียลไทม์ เพื่อความปลอดภัยและสั่งการควบคุมกระบวนการ ซึ่ง 5G ไม่ได้มีการก้าวกระโดดแค่เรื่องความเร็ว   แต่จะมีการเพิ่มจำนวนเครือข่ายที่สามารถเชื่อมต่อกันได้มากขึ้นและ สามารถรองรับการใช้งานผ่านอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) ได้ถึงล้านล้านชิ้น อุปกรณ์ทั่วโลกซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน 5G ที่มีการวางไว้แล้ว

ทั้งนี้การวิเคราะห์และการคาดการณ์จากสำนักวิจัยหลายสำนักสามารถสรุปได้ว่า อุตสาหกรรมสื่อและโทรคมนาคมจะถูกพลิกโฉมอย่างที่ไม่เหลือรูปแบบเดิมๆ ประมาณช่วงปี 2023-2025 (หลังจากการประกอบร่างของ AI และ Big data สำเร็จ) ตามมาด้วยอุตสาหกรรมการเงินการธนาคารและค้าปลีกในช่วงปี  2025  (หลังจากการประกอบร่างระหว่าง AI, Big data และ Blockchain สำเร็จ) ไปจนถึงอุตสาหกรรมพลังงานในปี  2030  (หลังจากการประกอบร่างระหว่าง  AI,  Big data, Blockchain และ Energy storage สำเร็จ)  ซึ่งหลังจากปี  2030  จะเป็นภาพจริงของการอพยพจากอุตสาหกรรมเก่าเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) อย่างสมบูรณ์แบบ

การให้บริการ Mobile broadband กำลังก้าวไปสู่ระบบ 5G โดยมีแผนที่จะวางโครงข่ายครั้งแรกในหลายประเทศไม่เกินปีนี้ (ปี 2018) ซึ่งถือได้ว่าเร็วกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ถึง 2 ปี ทั้งนี้เป็นผลมาจากการแข่งขันที่รุนแรง ในความพยายามที่จะผลักดันให้การบริการ Mobile broadband ที่สามารถให้บริการ Digital platform ในทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก

ความต้องการเพิ่มความเร็วเครือข่ายในระดับ Gbps และการมีแอพพลิเคชั่นที่ หลากหลาย ส่งผลทำให้ 5G มีผลกระทบต่อบทบาทและขอบเขตของการให้บริการ โทรคมนาคมอย่างมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาในการให้บริการทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การเงินการธนาคาร, ประกันภัย, การขนส่ง, ค้าปลีก บันเทิง ไปจนถึง พลังงาน

เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้กลายเป็นเครื่องมือหลักของการเข้าถึงการเชื่อมต่อระหว่างคนด้วยกันเอง   และระหว่างคนกับอุปกรณ์หรือเครื่องจักร   และจะส่งผลกระทบต่อทุกสิ่งทุกอย่างบนอินเทอร์เน็ต ไปจนถึงระบบเมืองอัจฉริยะด้วยการเชื่อมโยงของ Internet of Things  (IoT), รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง,  หุ่นยนต์,  Virtual Reality (VR), Big Data เป็นต้น โดยจุดเด่นของ 5G ที่สำคัญได้แก่

(1) เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 5G จะกลายเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงเครือข่ายสำหรับเชื่อมต่อระหว่างคนด้วยกันเอง และระหว่างคนกับอุปกรณ์หรือเครื่องจักร โดยเครือข่ายเหล่านี้จำเป็นจะต้องพัฒนาปรับปรุงเครือข่าย ทั้งในแง่ของคุณภาพ ความน่าเชื่อถือ และความปลอดภัย

(2) 5G  จะผลักดันให้วิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ตมุ่งเน้นไปที่พื้นฐานสำคัญ 2 ประการ นั่นคือความจุเครือข่าย (ความเร็วในการส่งข้อมูล) และความสามารถในการเชื่อมต่อที่หนาแน่น เพื่อลดปัญหาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นคอขวดจากการเพิ่ม ขึ้นของ real-time videos

(3)  ความสามารถในการรับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วของ  5G  ในระดับ  Gbps  จะทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันในเมืองอัจฉริยะทำได้แบบ real time ส่งผลให้สภาพแวดล้อมภายในเมืองมีประสิทธิภาพในการบริหาร ทรัพยากรมากขึ้น  เช่น  การควบคุมจราจร  จะพัฒนาได้มากเมื่อสามารถวิเคราะห์ สภาพถนนได้แบบ real time โดยการใช้กล้อง IP ที่ชาญฉลาด

(4) การสำรวจของอีริคสันพบว่าร้อยละ 95 ของผู้นำด้านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เชื่อว่า 5G จะเข้ามาช่วยสนับสนุนการใช้ข้อมูลปริมาณมหาศาลจากอุปกรณ์ IoT ซึ่งผลสำรวจยังกล่าวถึงการนำ 5G มาใช้ โดยร้อยละ 64 จะใช้เครือข่ายโทรศัพท์ เคลื่อนที่ในการส่งผ่านข้อมูลไปยังอุปกรณ์ต่างๆ โดยใช้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนการเชื่อมต่อ WiFi, ร้อยละ 38 ใช้ดำเนินการด้านสุขภาพ เช่น บริษัท เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสามารถใช้อุปกรณ์  IoT ในการเชื่อมต่อ 5G เพื่อตรวจสอบผู้ป่วยที่กำลังฟื้นตัวจากการรักษา, ร้อยละ 36 ใช้ในการควบคุมระยะไกลแบบ real time เช่น  บริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติใช้การเชื่อมต่อ 5G เพื่อสำรวจและ ตรวจสอบความพร้อมและความผิดปกติของระบบต่างๆ

สำหรับมุมมองของโนเกียเชื่อว่าเครือข่าย 5G จะทำให้ผู้ใช้งานระบบเสมือนจริง สามารถทำงานร่วมกันได้ราวกับว่าอยู่ใกล้กัน ซึ่งอาจจะดูเหมือนวิดีโอเกมยุคใหม่ และการทำงานร่วมกันจากระยะไกลโดย 5G จะทำให้เกิดความเป็นไปได้ใน การนำระบบอัตโนมัติมาใช้กับทุกสิ่งทุกอย่าง โดย 5G จะสร้างแพลตฟอร์มเพื่อ บริหารจัดการด้วยการเชื่อมโยงสู่ Cloud robotics

Facebook ประกาศว่าโครงการ Telecom Infra Project เป็นความคิดริเริ่มในการออกแบบเพื่อปรับปรุงโครงสร้างเครือข่ายโทรคมนาคมใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับ ความต้องการใช้งานข้อมูลที่มีเพิ่มขึ้นของโลก อีกทั้งบริษัทเครือข่ายทางสังคม (Social media)ได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และผู้จำหน่ายอุปกรณ์ เช่น Nokia, Intel และ Deutsche Telekom เพื่อให้สามารถดำเนินการรับมือกับการใช้งานข้อมูลจำนวนมหาศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นระบบ VR และการ ดูวิดีโอออนไลน์ เป็นต้น

หนึ่งในจุดเด่นของ 5G คือความสามารถในการลดความหน่วงเวลาได้อย่างมาก (Ultra-low latency) เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกับรถยนต์ได้อย่างต่อเนื่องแบบ Real time ซึ่งสามารถพัฒนาความปลอดภัยของยานพาหนะได้อย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้น ความหน่วงเวลาที่ต่ำของ 5G จะช่วยให้เครือข่ายหุ่นยนต์สามารถดำเนินงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้

นอกจากนี้เทคโนโลยีเครือข่าย 5G ยังเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จสำหรับเทคโนโลยีหุ่นยนต์ยุคใหม่ ที่มีการควบคุมแบบไร้สายมากกว่าการสื่อสารแบบมีสายและการจัดเก็บข้อมูลในระบบคลาวด์ (Cloud robotics) ด้วยความสามารถเหล่านี้  ทำให้หุ่นยนต์สามารถถูกควบคุมการเคลื่อนที่ ได้อย่างแม่นยำและ real time มากที่สุด และสามารถเชื่อมได้กับทั้งคน เครื่องจักร อุปกรณ์ทั้งในประเทศและทั่วโลก

ความท้าทายที่สำคัญของผู้ให้บริการเครือข่าย 5G ในอนาคต ได้แก่ มาตรฐาน การให้บริการ การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งความ ท้าทายของเทคโนโลยีเครือข่าย 5G จะต้องมุ่งเน้นการเชื่อมต่อของสังคมดิจิทัล (Digital Society) ในอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยมีปัจจัยสำคัญประกอบด้วย

  • ระบบเครือข่ายที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นทำให้เครือข่ายเคลื่อนที่และอุปกรณ์ สามารถเชื่อมต่อได้ง่ายขึ้น ซึ่งในอดีตที่ผู้ให้บริการต้องพบกับข้อจำกัดต่างๆ
  • สามารถเชื่อมต่อองค์ความรู้ที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการเติบโตของอินเทอร์เน็ต การให้บริการคลาวด์ และการวิเคราะห์ Big Data
  • การขับเคลื่อนนวัตกรรม 5G โดยการเปลี่ยนผ่านและหลอมรวมทางเทคโนโลยี (Technology convergence)และโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT จะผลักดันให้เกิดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการในทุกอุตสาหกรรม

ในอนาคตข้างหน้า 5G จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในการใช้ ในชีวิตประจำวัน การทำงาน และบันเทิง ซึ่งถือว่าเทคโนโลยี 5G จะเป็นหนึ่งในผู้เปลี่ยนเกมการให้บริการและ Business model ในอุตสาหกรรมทุกอุตสาหกรรมและ ทุก Digital platform และแน่นอนความเสี่ยงด้านไซเบอร์ก็จะทวีคูณขึ้นเป็นเงาตาม ตัวด้วยความเร็วในระดับ 5G เช่นกัน

มีการคาดการณ์จากนักอนาคตศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ไว้ว่า TV ในอนาคต อาจจะเป็นเพียงพลาสติกใสบางๆ และในที่สุดจะเป็นภาพลอยขึ้นมาแบบสามมิติ ด้วย content ที่ผลิตผ่าน social media ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นภายใน 10 ปีจากนี้

อย่างไรก็ตามรูปแบบอนาคตของ TV ณ ขณะนี้ยังเป็นการต่อสู้ระหว่าง 5G และ social media เช่น Facebook, Google, Youtube และ social media อื่นๆ ซึ่งถือว่าเป็นความสั่นสะเทือนวงการ TV ดั้งเดิมเป็นอย่างมาก

หลังจากการวางเคเบิ้ลไฟเบอร์ออฟติกใต้น้ำ (submarine optical cable) ตั้งแต่ปี 2000 ที่มีการแข่งขันกันกันสูงมากจนทำให้โลกถูกเชื่อมโยงด้วยทางด่วนข้อมูลใต้น้ำอย่างสมบูรณ์ จึงเป็นผลทำให้ราคาค่าเชื่อมโยงผ่านเคเบิ้ลใต้น้ำมีราคาถูกกว่า การเชื่อมโยงด้วยดาวเทียม และยังมีความเร็วสูงกว่าการส่งข้อมูลด้วยดาวเทียมอีกด้วย ผลกระทบดังกล่าวจึงทำให้ระบบ Mobile broadband มีต้นทุนในการส่ง content ถูกกว่าด้วยการส่ง content ผ่านระบบดาวเทียมเป็นอันมาก ยิ่งไปกว่านั้น ขีดความสามารถของโครงข่าย Mobile broadband มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด พร้อมทั้งการเข้าถึงของประชากรโลกมีความง่ายดายด้วย smart devices ที่มีราคาที่ ทุกคนสามารถหาซื้อได้ โดย GSMA คาดการณ์ว่ากว่า 70% ของประชากรโลกจะมี smartphone ใช้ภายในปี 2020 (ณ ขณะนี้ปี 2018 มีถึง 66%)

การให้บริการ Mobile broadband 5G ทำให้ผู้ให้บริการโครงข่าย (Network operators) จะต้องหาวิธีการรับมือกับปริมาณข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการใช้งานของ เทคโนโลยีไร้สายยุคใหม่ ที่มีการใช้งานเครือข่ายที่หนาแน่นมาก โดยขณะนี้ AT&T ได้ทดลองการให้บริการเครือข่าย 5G เพื่อแพร่ภาพโทรทัศน์ที่มีชื่อ โครงการว่า DirecTV Now  ซึ่งให้บริการวิดีโอออนดีมานด์ (VDO on demand) ในรูปแบบสตีมมิ่ง และได้เริ่มทดลองแพร่ภาพในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2017 ใน เมืองออสติน รัฐเท็กซัส  ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว

AT&T ทำการทดลองแพร่ภาพสตรีมมิ่งเป็นครั้งแรกผ่านโครงข่าย 5G โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อ "ทำให้เครือข่าย 5G สามารถให้บริการแทนระบบสายเคเบิ้ล" ซึ่งขีดความสามารถตามมาตรฐานของเทคโนโลยี 5G ได้ถูกกำหนดไว้โดย สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)  เพื่อสามารถรองรับการใช้งานรับส่ง ข้อมูลปริมาณมากๆ เช่น วิดีโอ  ได้อย่างมีประสิทธิภาพแบบ real time อีกทั้งยัง สามารถรองรับการให้บริการด้านบันเทิงในรูปแบบต่างๆ ในอนาคตได้อีกด้วย

ซึ่งการให้บริการเช่นนี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการอวสานของ “เคเบิ้ลทีวี” ที่ กำลังจะมาถึงเร็วๆนี้ ด้วยบริการเครือข่ายไร้สาย 5G ที่มีราคาถูกกว่า,   มีประสิทธิภาพดีกว่าและเข้าถึงผู้ชมได้ง่ายกว่าด้วย smartphone ที่มีขีดความ สามารถสูงและราคาถูก

5G ถือเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายไร้ที่มีเป้าหมายให้สามารถบริการด้วยความเร็วที่ สูงกว่าเครือข่าย 4G ถึง 100 เท่า โดยสามารถดาวน์โหลดด้วยความเร็วถึง 14 Gbps ซึ่งหากเทียบกับความเร็วสูงสุดที่ AT&T ให้บริการบนเครือข่าย 4G ใน ประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ ณ ขณะนี้ ที่มีความเร็วสูงสุดในการดาวน์โหลดอยู่ที่ 14 Mbps เท่านั้น

ผู้ให้บริการโครงข่าย (Network operators) หลายรายในสหรัฐฯ ต่างมุ่งผลักดัน เพื่อการให้บริการแห่งอนาคต ไม่ว่าจะเป็น Verizon Wireless, AT&T, Sprint และ T-Mobile ต่างก็เริ่มมีการทดสอบการให้บริการเครือข่าย 5G กันไปบ้างแล้ว ซึ่งใน ปี 2017 ที่ผ่านมาเป็นปีแห่งการทดสอบเครือข่าย 5G ในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่ง จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการภายในปี   2018

อย่างไรก็ตามในขณะที่ผู้ให้บริการโครงข่าย 5G (Network operators) พยายาม แย่งชิงเพื่อที่จะเป็นเจ้าแห่งอุตสาหกรรม TV แต่ Facebook ก็ได้ประกาศไปแล้วว่า กำลังจะเริ่มให้บริการแพร่ภาพแบบสตรีมมิ่ง (Streaming videos) ผ่านแพลตฟอร์ม หลักของ Facebook โดยสามารถแสดงผลบนจอ TV แบบปกติโดยผ่านอุปกรณ์ เช่น Apple TV หรือ Google Chrome-cast ซึ่งการให้บริการดังกล่าวจะทำให้ สามารถรับชม Facebook videos บนจอขนาดใหญ่ได้ ซึ่งจะทำให้ social media เพิ่มความสามารถในการให้บริการเสมือนเป็นสถานีโทรทัศน์

นับจากนี้ไปสงครามชิงดำเพื่อยึด Landscape ใหม่ของ TV คงจะระอุอย่างยิ่ง ซึ่งคงเป็นเรื่องที่ยากในการคาดการณ์ว่าจะจบลงในรูปแบบใด

 


บทความ โดย : พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)


สามารถรับชมคลิปวิดีโอ หัวข้อ “Next-Gen. Leaders & Next-Gen. Mobile Tech” โดย พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กสทช. จากงาน Thailand MBA Forum 2018 ได้ที่นี่

 

 

 

 

 

หนึ่งในกลยุทธ์ที่บริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วางไว้ คือกลยุทธ์ด้านไอทีและดิจิทัล  ซี่งประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก คือ ระบบมีความเสถียร โมเดลธุรกิจที่จับต้องได้ และกระบวนการทำงานถูกต้องและมีประสิทธิภาพ หลังจากประกาศไปไม่กี่วัน KTC ก็นำเสนอความสดใหม่ให้กับวงการด้วย โมบายแอพพลิเคชัน TapKTC โฉมใหม่ เพิ่มฟังก์ชันการใช้งานตอบโจทย์ Customer Experience ด้วยดีไซน์ที่ทันสมัย การใช้งานที่สะดวก และฟีเจอร์ที่สามารถเลือกใช้งานได้เอง นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับทางเลือกในการยืนยันตัวตนใหม่ล่าสุดกับเทคโนโลยีสแกนม่านตา

ธศพงษ์  รังควร  ผู้อำนวยการ – ธุรกิจบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลว่า “เคทีซีเพิ่มความปลอดภัยระดับสูงสุดให้สมาชิกมั่นใจมากยิ่งขึ้น ด้วยทางเลือกในการยืนยันตัวตนหรือ อัตลักษณ์ (Biometrics) นอกเหนือจากการใช้รหัส (Pin) ที่เพิ่มความปลอดภัยด้วยแป้นพิมพ์ไดนามิค (Dynamic Keyboard) ในการล็อคอินเข้าใช้บริการตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล หรือทำรายการธุรกรรมการเงินผ่านโมบาย แอพฯ “TapKTC” ทั้งการสแกนลายนิ้วมือ (Fingerprint) และใหม่ล่าสุดกับเทคโนโลยีการสแกนม่านตา (Iris) กับบริการซัมซุง พาส (Samsung Pass) ซึ่งเคทีซีนับเป็นสถาบันการเงินรายแรกและรายเดียวของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และที่ 3 ของโลกที่เริ่มใช้เทคโนโลยีนี้ โดยความร่วมมือกับซัมซุง ซึ่งผู้ใช้สมาร์ทโฟนซัมซุง แกแล็คซี่ (Samsung Galaxy) ที่มีอินฟราเรด สแกนม่านตา เช่น S8 / S8+ และ Note 8 สามารถใช้เทคโนโลยีนี้ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยที่ข้อมูลทางชีวภาพของสมาชิกจะถูกเก็บไว้อย่างปลอดภัยที่คลาวด์ (Cloud) ในชื่อ FIDO (Fast Identity Online) ไม่เก็บที่อุปกรณ์สมาร์ทโฟน (Devices) ต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยการ Log in เข้าใช้บริการ TapKTC ด้วย การสแกนม่านตา (Iris) กับบริการซัมซุง พาส (Samsung Pass) นั้น ปัจจุบันได้อยู่ในการทดลองให้บริการ Regulatory Sandbox ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย และนับจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2560 ต่อเนื่องถึงปี 2561 “TapKTC” จะเป็นช่องทางสำคัญในการทำกิจกรรมการตลาดเชิงรุกเข้าถึงสมาชิกที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งเราเชื่อว่า “TapKTC” เป็นโมบายแอพพลิเคชันที่ดีที่สุดของวงการบัตรเครดิตในขณะนี้”

 

ในส่วนของฟีเจอร์ภายใน ปริญญา อรรถพรมงคล  ผู้จัดการอาวุโส – ธุรกิจบัตรเครดิต “เคทีซี” บอกจุดเด่นว่า “เคทีซีเพิ่มฟีเจอร์สำคัญและจำเป็นที่สมาชิกสามารถทราบข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวกับบัญชีส่วนตัวได้กับลุคใหม่ที่ใช้งานง่ายและสะดวกใน My Account สามารถดูข้อมูลได้ในที่เดียว ไม่ว่าจะมีบัตรเคทีซีกี่ใบ ทั้งบัญชีบัตรหรือเช็คคะแนนสะสม การแสดงยอดเงินรวมของบัตรทุกใบที่ใช้ และวงเงินรวมคงเหลือของบัตรทุกใบ การบริหารจัดการข้อมูลที่เลือกได้เอง อาทิ การตั้งค่าแจ้งเตือนรายการเมื่อมีการใช้จ่ายผ่านบัตรโดยสามารถกำหนดยอดเงินให้ระบบแจ้งเตือน / การตั้งค่าแจ้งเตือนกำหนดชำระค่าใช้จ่ายล่วงหน้า / การอายัตบัตรชั่วคราวเมื่อสูญหาย / การกำหนดยอดการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ รวมถึงยังสามารถสมัครหรือปรับเปลี่ยนวิธีการรับใบแจ้งยอดค่าใช้จ่ายง่ายๆ ได้ด้วยตนเอง”

 “นอกจากนี้ ยังสามารถใช้คะแนนสะสมแลกสินค้าและบริการได้เอง ไม่ว่าจะเป็นไมล์สะสมรอยัล ออร์คิด พลัส / แอร์ เอเชีย / ฟลายเออร์ โบนัส ของบางกอก แอร์เวยส์ / การแลกรับเงินคืน (Cash back) หรือการบริจาค / การโอนคะแนนสะสมระหว่างบัตรได้ง่ายๆ โดยไม่จำกัดคะแนนขั้นต่ำในการโอน / การบริหารค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนให้คล่องตัวขึ้นด้วย KTC FLEXI บริการแบ่งชำระค่าสินค้าและบริการผ่านบัตรเคทีซี โดยเลือกทำรายการเองได้ทันใจผ่านบริการออนไลน์ / การเบิกถอนเงินสดออนไลน์ทันทีได้ทุกที่ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านบัตรเครดิตเคทีซี หรือบัตรสินเชื่อพร้อมใช้   “เคทีซี พราว” โดยเงินจะโอนเข้าบัญชีเงินฝากที่มีกับธนาคารกรุงไทย”

 

เรือนแก้ว เกษมสวัสดิ์ศรี  ผู้จัดการอาวุโส – บริหารจัดการข้อมูลลูกค้า “เคทีซี” กล่าวถึงการสร้างประสบการณ์ที่ดีกับสมาชิกผ่าน TapKTC ว่า “เคทีซีพัฒนาแอพพลิเคชันที่ตอบโจทย์และมีคุณค่ากับสมาชิกอย่างแท้จริง เน้นให้ทุกฟังก์ชันมีประโยชน์ สะดวก และไม่เป็นภาระกับผู้ใช้งาน ตามแนวคิดใหม่ของแบรนด์ เคทีซี “ทำให้ง่ายและเข้าใจง่าย” (Smart Simplicity) โดยมุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ที่ดีกับสมาชิก (Customer Experience) ผ่าน 3 แกนหลัก คือ 1. Smart Design ปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ให้ทันสมัย เรียบง่ายและสบายตา เมนูการใช้งานอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม สมาชิกสามารถพบข้อมูลและฟังก์ชันที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว และเลือกใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย 2. Smart Process เน้นให้สมาชิกใช้เวลาทุกขั้นตอนบนแอพพลิเคชันให้น้อยที่สุด ตัดกระบวนการที่ยุ่งยาก (Customer Pain Points) และไม่จำเป็นออก เช่น การลงทะเบียน ที่ปรับให้เหลือแค่การกรอกข้อมูลเพียง 2 ฟิลด์ หรือหน้า My account ที่สมาชิกไม่จำเป็นต้องเพิ่มข้อมูลบัญชี ข้อมูลทุกผลิตภัณฑ์ของเคทีซีจะแสดงอัตโนมัติหลังลงทะเบียนเสร็จ โดยในทุกฟังก์ชันบนแอพพลิเคชัน สมาชิกจะสามารถทำได้โดยการกด (Tap) เพียงไม่กี่ครั้ง 3. Smart Move ใช้หลักการ Business Agility คือ ปรับเปลี่ยนและอัพเดทแอพพลิเคชันอย่างสม่ำเสมอ รวดเร็ว และต่อเนื่อง รวมถึงการเพิ่มฟีเจอร์การใช้งานใหม่ๆ เป็นระยะ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของสมาชิกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ให้สมาชิกได้รับประสบการณ์ที่ดี และเกิดความประทับใจในระยะยาว”

ผลสำรวจ Financial Services Technology 2020 and Beyond: Embracing disruption โดยบริษัท PwC Consulting พบว่า ใน พ.ศ. 2563 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะเป็นตัวแปรสำคัญที่เข้ามาเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมธุรกิจบริการทางการเงิน (Financial Services) ทั่วโลก

โดยจากผลสำรวจพบว่า มี 10 เทคโนโลยีสำคัญที่จะมีอิทธิพลและส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและหน่วยงานกำกับดูแล รวมไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในอุตสาหกรรมนี้ ได้แก่

1. เทคโนโลยีทางการเงินจะขับเคลื่อนธุรกิจการเงินรูปแบบใหม่ (FinTech will drive the new business model) ความต้องการบริการด้านฟินเทคโดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจธนาคารเพื่อรายย่อย (Consumer Banking) และธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เปิดโอกาสให้ทั้งธนาคารขนาดใหญ่และผู้เล่นรายใหม่ที่มีศักยภาพหันมาจับมือเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น

2. เศรษฐกิจแบ่งปันจะผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบการเงิน (The sharing economy will be embedded in every part of the financial system) อิทธิพลจากกระแสเศรษฐกิจแบ่งปันจะขยายเข้าสู่ธุรกิจบริการทางการเงิน เช่นเดียวกันกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ดังนั้น สถาบันการเงินควรพิจารณาโอกาสในการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัล เพื่อให้บริการที่มีคุณภาพและราคาถูกลงกว่าเดิม

3. บล็อกเชนจะปฏิวัติโลกการเงินยุคใหม่ (Blockchain will shake things up) ระบบโครงข่ายในการทำธุรกรรมและเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์ หรือ Blockchain จะกลายเป็นส่วนที่สำคัญของโครงสร้างพื้นฐานในการประกอบธุรกิจการเงินและนำไปสู่โลกการเงินยุคใหม่ จากศักยภาพของ Blockchain ที่สามารถพัฒนาต่อยอดธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ที่จะช่วยลดต้นทุนการให้บริการและเพิ่มความโปร่งใสให้กับการทำธุรกรรม

4. ดิจิทัลจะกลายเป็นกระแสหลัก (Digital becomes mainstream) ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ความก้าวหน้าในการประยุกต์ใช้ดิจิทัลเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภคจะขยายวงกว้างไปอย่างหลากหลายมากขึ้น ครอบคลุมไปถึงการลงทุนผ่านหุ่นยนต์ที่ปรึกษา ระบบควบคุมการปล่อยสินเชื่อเพื่อการบริโภค รวมถึงระบบการชำระเงินและธุรกรรมด้านความปลอดภัยต่างๆ 

5. ระบบลูกค้าอัจฉริยะจะเป็นตัวกำหนดการเติบโตของรายได้และการทำกำไรที่สำคัญที่สุด (Customer intelligence will be the most important predictor of revenue growth and profitability) สถาบันการเงินต้องนำเทคโนโลยีการประเมินผลข้อมูลขั้นสูงมาวิเคราะห์พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริโภค เพื่อทำความเข้าใจถึงความต้องการของผู้ซื้อ และทำให้สามารถคาดการณ์ผลประกอบการในอนาคตได้ง่ายขึ้น

6. ความก้าวหน้าของวิทยาการหุ่นยนต์และระบบปัญญาประดิษฐ์ (Robotics and artificial intelligence) จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ “การกลับขึ้นฝั่ง” (Re-shoring) หรือการกลับเข้ามาลงทุนภายในประเทศ ในอนาคตวิทยาการของหุ่นยนต์และความสามารถของระบบปัญญาประดิษฐ์จะมาแทนที่แรงงานมนุษย์ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนในการดำเนินงานลดลง ส่งผลให้บริษัทที่เคยย้ายฐานการผลิตออกไปนอกประเทศที่ต้นทุนการผลิตต่ำกว่า สามารถย้ายกลับเข้ามาลงทุนในประเทศของตนได้

7. ระบบคลาวด์แบบสาธารณะจะกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานต้นแบบ (The public cloud will become the dominant infrastructure model) ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าวงการอุตสาหกรรมบริการทางการเงินจะหันมาใช้ระบบคลาวด์แบบสาธารณะ หรือ ระบบคลาวด์ที่เปิดให้แต่ละองค์กรเช่าใช้บริการโดยอาจจะจ่ายค่าเช่าเป็นรายเดือนหรือรายปีแก่ผู้ให้บริการ (Third-Party) ซึ่งจะเป็นผู้ติดตั้งทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อเก็บรักษามากขึ้น

8. ภัยไซเบอร์จะกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของสถาบันการเงิน (Cyber-security will be one of the top risks facing financial institutions) การรักษาความปลอดภัยโลกไซเบอร์เป็นสิ่งสำคัญที่สถาบันการเงินและหน่วยงานกำกับดูแลจะต้องคำนึงถึงในอนาคต เป็นความท้าทายของหน่วยงานเหล่านี้ในสร้างสมดุลระหว่างการรักษาความปลอดภัยและการอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้า

 

9. เอเชียจะเป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ ของโลก (Asia will emerge as a key centre of technology-driven innovation) ในปี 2563 ทวีปเอเชียจะมีสัดส่วนจำนวน “ชนชั้นกลาง” มากกว่าทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป นอกจากนี้ ในอีก 30 ปีข้างหน้า จำนวนประชากรโลกถึง 1,800 ล้านคนจะย้ายถิ่นฐานเข้ามาในทวีปแอฟริกาและเอเชียมากขึ้น ซึ่งนี่จะกลายเป็นโอกาสสำคัญทางธุรกิจของสถาบันการเงินในภูมิภาคเหล่านี้

10. หน่วยงานกำกับดูแลจะหันมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้น (Regulators will turn to technology, too) หน่วยงานกำกับดูแลจะหันมาใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลมากขึ้น เพื่อดูแลและคาดการณ์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมบริการทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น บริษัทต่างๆ ต้องมีระบบจัดเก็บข้อมูลและระบบการควบคุมความโปร่งใสที่ตรวจสอบได้ เพื่อให้การทำงานร่วมกับหน่วยงานกำกับเหล่านี้เป็นไปอย่างราบรื่น

PwC แนะนำว่า หากพิจารณาจาก 10 เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกธุรกิจบริการทางการเงินที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่า ภารกิจเร่งด่วนของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน คือ การอัพเดตรูปแบบการดำเนินการของระบบไอทีองค์กรและลดความซ้ำซ้อนของระบบไอทีแบบดั้งเดิม (Legacy System) เพื่อบริหารต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ

ผู้บริหารจะต้องมองหานวัตกรรมในการพัฒนาและปรับปรุงระบบไอที เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันและอำนวยความสะดวกในการทำงานให้แก่แผนกไอทีอย่างจริงจัง ในขณะเดียวกันก็ต้องควบคุมค่าใช้จ่ายและสนับสนุนการการทำงานของระบบเดิมต่อไป นอกจากนี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายสารสนเทศ (Chief Information Officers) และผู้บริหารระดับสูง ต้องเร่งคิดค้นนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี เพื่อรับมือกับคู่แข่ง และตลาดที่กำลังจะเปลี่ยนแปลง โดยต้องสรรหาบุคลากรซึ่งมีทักษะสูงที่รู้ทันและตอบสนองต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วให้ได้ และต้องพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้งบรรจุแผนรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งต่อจากนี้ไป ธุรกิจจะต้องไม่รับมือกับความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์เมื่อเกิดขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องมีมาตรการเชิงรุกในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยร้ายนี้ด้วย 

เรื่อง : กองบรรณาธิการ 

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในยุคนี้ เทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพนั้นมาแรงแซงทางโค้งจริงๆ

เนื่องในโอกาสที่วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกจะครบรอบ 16 ปีในเดือนมีนาคม 2560 นี้ อาจารย์ภัทรดา รุ่งเรือง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหาร วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ที่ดูแลการบริหารงาน การเงิน ประชาสัมพันธ์ และตลาดต่างประเทศ โดยดำรงตำแหน่งนี้มานานกว่า 3 ปีให้สัมภาษณ์ถึงวิสัยทัศน์และเป้าหมายการขับเคลื่อนวิทยาลัยซึ่งเป็นเพชรเม็ดงามของบางนาและบางพลีในอนาคตว่า “ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเราประสบความสำเร็จทั้งในเรื่องวิชาการและกิจกรรมนักศึกษา มีการบริการชุมชนในเขตพื้นที่บางนา และบางพลี นอกจากนี้ยังเน้นการสืบสานศิลปวัฒนธรรม และเมื่อพูดถึงการแข่งขันต่างๆ นักศึกษาที่นี่ก็มีรางวัลจากการประกวดต่างๆ มากมาย” 

 อาจารย์ภัทรดา แจกแจงรายละเอียดเพิ่มเติมว่า  “เป้าหมายของเราภายใน 3-5 ปีนับจากนี้คือ จะเปลี่ยนผ่านจากวิสัยทัศน์เก่าที่ีเราใช้มานานกว่า 15 ปีตั้งแต่ก่อตั้งวิทยาลัย ไปสู่สถาบันการศึกษาหรือเป็นองค์กรที่ผลิตนักปฏิบัติมืออาชีพสู่ตลาดแรงงานไทย (Create Professional Practitioner Graduate) ภายใต้ปรัชญา คุณวุฒิ คุณธรรม คุณค่า เช่นเดิม โดยเรามีแผนยุทธศาสตร์ที่จะพัฒนาอย่างเร่งด่วนเพื่อให้นักศึกษาตอบโจทย์ตลาดแรงงานอย่างมืออาชีพ ให้เขาทำงานแบบผู้เชี่ยวชาญและนักปฏิบัติในทุกๆ สาขาทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท โดยเน้นรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning ซึ่งจะมุ่งเน้นนักศึกษาให้เรียนรู้ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปฏิบัติได้อย่างช่ำชอง เป็นแนวทางการเรียนรู้จากปัญหา จากประสบการณ์การทำงานที่เกิดขึ้นจริง แล้วนำมาเป็น Case Discussion กันในห้องเรียน โดยปัจจุบันหลักสูตรปริญญาโทของเรามีเปิดสอน 2 หลักสูตรคือ M.B.A. และ M.Sc. (Logistics & Supply Chain Management)”  

เมื่อถามถึงคุณลักษณะของนักศึกษาที่จะมาร่วมเป็นสมาชิกครอบครัว M.B.A. และ M.Sc. ที่วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก อาจารย์ภัทรดาบอกว่า “สำหรับ M.B.A. อยากได้นักศึกษาที่มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้ประกอบการ เพื่อปั้นฝันของเขาให้เป็นจริง รวมถึงคนที่อยากเรียนและแสวงหาความรู้เพื่อนำกลับไปใช้ในการทำงานจริงๆ นอกจากนี้ก็ยังต้องการนักศึกษาต่างชาติมากชึ้น เช่นเดียวกับการเปิดรับคณาจารย์ต่างชาติมากชึ้น ส่วน M.Sc. ด้านโลจิสติกส์ จะมุ่งเน้นนักศึกษาซึ่งเป็นผู้ที่ทำงานในสายนี้อยู่แล้ว หรือมีเป้าหมายที่จะทำงานในสายนี้ ปัจจุบันเรามีทั้งนักศึกษาที่เพิ่งเริ่มต้นชีวิตการทำงาน และนักศึกษาที่มีประสบการณ์การทำงานมานานแล้ว พวกเขาได้นำกรณีศึกษาส่วนตัวมาตีแตกกันในห้องเรียน แล้วนำไปทดลองใช้ในที่ทำงาน โดยที่ไม่ต้องรอเรียนจบ ตั้งแต่คลาสแรกที่เรียนก็จะได้ประโยชน์ที่นำไปใช้ได้จริงๆ ซึ่งการที่เรานำปัญหาที่เขาประสบพบเจอในที่ทำงานมาใช้ในการเรียนการสอน จะทำให้นักศึกษารู้สึกอินและต้องการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริงนั้นให้ได้ ทำให้การเรียนการสอนไม่น่าเบื่อ นักศึกษาก็จะได้โซลูชันหรือแนวทางการแก้ปัญหาเยอะแยะมากมาย ผ่านการระดมความคิดของนักศึกษาด้วยกันเอง และคำแนะนำจากอาจารย์ การเรียน M.B.A. และ M.Sc. ที่วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกจึงไมใช่เรียนจากเฉพาะกรณีศึกษายอดนิยม แต่กลับนำไปใช้แก้ปัญหาจริงไม่ได้” 

จากยุทธศาสตร์ที่แน่วแน่ จึงทำให้วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ต้องเตรียมพร้อมในทุกด้าน สำหรับบุคลากรโดยเฉพาะคณาจารย์ก็เช่นกัน จะมีการเพิ่มคุณสมบัติที่เข้มข้นมากขึ้น ไม่เพียงแต่มีคุณวุฒิทางการศึกษาอันเป็นเลิศเท่านั้น หากแต่ต้องมีประสบการณ์ในการทำงานที่เชี่ยวชาญด้วยทั้งอาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษ 

สิ่งที่จะทำให้เป้าหมายในการที่จะหล่อหลอมให้บัณฑิตและมหาบัณฑิตของวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกเป็น Pro-fessional Practitioner ได้นั้น อาจารย์ภัทรดาบอกว่า จะต้องทำให้นักศึกษามี Mindset ของ MIT ซึ่งประกอบด้วย Management, Innovation และ Technology  

 “เราจะสร้างบรรยากาศและสิ่ง-แวดล้อมที่อุดมไปด้วยสิ่งต่างๆ เหล่านี้ เช่น มีจำนวนห้องปฏิบัติการมากขึ้น มีการทำ MOU กับองค์กรทางด้านวิชาชีพต่างๆ มากขึ้น จากปัจจุบันที่ทำอยู่แล้วในด้านบัญชี เทคโนโลยีสารสนเทศ และโลจิสติกส์ที่ร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งเรามีศูนย์ทดสอบพัฒนาฝีมือแรงงานด้านโลจิสติกส์ รวมถึง TQPI มาตรฐานเอกชน และระบบ Network cisco นอกจากนี้ ในอนาคตยังจะเพิ่มศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานในส่วนของภาษา การตลาด โรงแรม และค้าปลีก ด้วย”

“นอกจากนี้เรายังตั้งเป้าเป็น Education 4.0 เพื่อตอบโจทย์และเชื่อมโยงกับ Thailand 4.0 ของรัฐบาลด้วย เพราะเราเป็นหน่วยงานที่ผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเปี่ยมด้วยคุณภาพให้กับประเทศชาติ ถ้าเราผลิตบุคลากรที่ไม่สามารถตอบโจทย์ดังกล่าวได้ก็จะเกิดการสูญเปล่า แต่ถ้านักศึกษาของเราที่จบออกไปเป็นทั้งผู้เชี่ยวชาญและนักปฏิบัติมืออาชีพ คิดได้และทำได้ ก็จะเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต” 

ขณะเดียวกันเพื่อรองรับอนาคตที่สดใสของวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ปัจจุบันจึงมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหาร ดังนี้ คณะวิทยาการจัดการและการบัญชี คณะโลจิสติกส์และเทคโนโลยีการบิน คณะศิลปศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังแยกปริญญาโทออกมาเป็น บัณฑิตวิทยาลัย เพื่อการบริหารงานที่คล่องตัวและชัดเจน

ในอนาคตวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกจะเพิ่มหลักสูตรปริญญาโท M.B.A. ในสาขาต่างๆ มากขึ้น เช่น การพัฒนาองค์กร, การบริหารอสังหาริมทรัพย์, การตลาดดิจิทัล รวมถึงการสร้างศูนย์วิชาชีพสำหรับทุกสาขาวิชา  เพื่อตอบสนองความต้องการ Professional Certificate ซึ่งเป็นหลักสูตรระยะสั้น เพื่อสร้างแรงงานให้เป็นผู้เชี่ยวชาญมีทักษะวิชาชีพที่ตรงตามมาตรฐานและความต้องการของตลาด เช่น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งร่วมมือกับซิสโก้และไมโครติกส์สร้างศูนย์อบรม 

การขับเคลื่อนทั้งองคาพยพอย่างจริงจังนี้ ก็เพื่อเตรียมการยกวิทยฐานะจากวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยในอนาคต ปัจจุบันมี 2 วิทยาเขต คือ บางนาและบางพลี ซึ่งที่บางพลีเปิดสอนปริญญาตรี 2 คณะ คือ คณะโลจิสติกส์และเทคโนโลยีการบิน มีการเปิดสอนสาขาการจัดการโลจิสติกส์, การจัดการขนส่งทางอากาศ และในอนาคตมีแผนที่จะเปิดสาขาการซ่อมบำรุงอากาศยาน ด้วยข้อได้เปรียบในด้านโลเกชันของวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ใกล้ท่าเรือแหลมฉบัง, สนามบินอู่ตะเภา และสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ อีกทั้งเทรนด์ของอุตสาหกรรมการบินมาแรงมาก ซึ่งแนวทางของสถาบันอื่นอาจจะผลิตบุคลากรในเชิงพาณิชย์การบินหรือธุรกิจการบิน แต่ที่วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกจะเน้นด้านการดูแลรักษา (Aircraft Maintainance) และการบริหารจัดการการขนส่งสินค้า (Air Cargo Management)

“เราขยายหลักสูตรต่างๆ เหล่านี้ อย่างมั่นใจ เพราะในแง่ของแฟซิลิตีที่บางพลี เรามีพื้นที่ 88 ไร่ มีแผนแม่บทที่จะสร้างโรงประลองซ่อมบำรุงอากาศยาน ให้นักศึกษาได้ทดลองซ่อมเครื่องยนต์กลไกต่างๆ จริงๆ ส่วนห้องปฏิบัติการโลจิสติกส์ก็จะมีห้องจำลองคลังสินค้าที่วิทยาเขตบางนา เพื่อให้นักศึกษาเรียนทฤษฎีให้ช่ำชองและเชี่ยวชาญในการปฏิบัติอย่างแท้จริง และก่อนนักศึกษาจะเรียนจบ เราจะเน้นให้นักศึกษาทำสหกิจศึกษาในระยะเวลา 4-5 เดือน โดยเรามีการทำสัญญากับบริษัทชั้นนำต่างๆ เมื่อนักศึกษาทำสหกิจศึกษามาเสร็จแล้ว เราก็วางแผนให้นักศึกษาก้าวสู่ตลาดแรงงานได้ทันที” อาจารย์ภัทรดากล่าวปิดท้ายอย่างมั่นใจ 

ในอนาคตอันใกล้นี้เราจะเห็นโฉมหน้าและอนาคตที่สดใสอันสมบูรณ์แบบของวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ที่เริ่มเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าตั้งแต่วันนี้ 

สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรต่างๆ ของวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกได้ที่ 

www.southeast.ac.th

โทร. 02 744 7356-65 ต่อ 220, 227 แฟกซ์ 02 398 1356

อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Page 6 of 6
X

Right Click

No right click