ลักษณะของ SME 4.0 คือ การรวม Transformation กับ Innovation เข้าไว้ด้วยกันและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Trend) ติดปีกให้กับธุรกิจ คุณสุมาวสี ศาลาสุข ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายธุรกิจดิจิทัล  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย กล่าวอธิบายถึงการก้าวไปสู่โลกใหม่ของธุรกิจในยุค Digital 4.0 นี้ว่า “สิ่งแรกคือการเริ่มต้นด้วยการทำ Digital Transformation โดยการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ประยุกต์หรือปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน (Digitization) ช่วยลดต้นทุน ทำให้สะดวกรวดเร็วและตรวจสอบได้ ต่อมาคือการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในเรื่องของขั้นตอนการผลิตและการออกแบบ Packaging ไม่ว่าจะเป็น 3D Printing, Visual Marketing หรือ VR และส่วนสุดท้ายคือ การนำเอาการซื้อขายขึ้นไปอยู่ใบแพลตฟอร์มออนไลน์ (Digital Trend) เพิ่มช่องทางการขายที่ควบคู่ไปกับการมีหน้าร้าน สถิติจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมพบว่ามี SME ในประเทศไทยใช้เทคโนโลยีในการบริหารกิจการ 27 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ไม่รวมช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ อย่างกรณีของ Line ที่มีคนไทยใช้งานมากถึง 42 ล้านคนจากจำนวน 46 ล้านคนทั่วประเทศที่มีโทรศัพท์มือถือ รวมไปถึงการใช้ Facebook เป็นช่องทางการตลาดสูงถึง 2 ล้านแอคเคาน์สูงที่สุดในอาเชียน เพราะฉะนั้น หากเราสามารถใช้ Line หรือ Facebook เป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างธุรกิจกับกลุ่มลูกค้าก็จะสามารถเข้าถึงผู้บริโภคจำนวนมหาศาลได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที”

อีกสิ่งสำคัญในการปรับตัวในภาคธุรกิจให้เข้ากับโลกดิจิทัลในตอนนี้ คือ Digital Innovation ซึ่งเป็นการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมา เริ่มจากกระบวนการวางแผน Business Model Innovation เพื่อสร้างคุณค่าธุรกิจใหม่ร่วมกับลูกค้า Service Innovation การสร้างนวัตกรรมบริการที่เปลี่ยนสินค้าให้เป็นบริการ และ Technology Innovation สร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยีให้กับธุรกิจ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างรูปแบบทางการทำธุรกิจแนวใหม่ขึ้นมาได้หมด ธุรกิจในลักษณะไหนก็สามารถคิดและเริ่มต้นทำได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็น Start up เสมอไป

ปัจจุบัน Digital Trend ที่มีผลต่อภาคธุรกิจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อทั้งจากธุรกิจสู่ลูกค้าหรือระหว่างคู่ค้า (Connectivity) เช่น แอพลิเคชั่น โซเชียลมีเดีย และ IoT ต่อมาคือกลุ่มที่ช่วยในการตัดสินใจ (Insight & Intelligent) อย่างพวก Big Data, AI และ Cloud Computing ทำให้ผู้บริหารสามารถวิเคราะห์แนวโน้มและทิศทางในการวางกลยุทธ์เพื่อนำพาธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสุดท้ายคือกลุ่มที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ระบบ (Trust Protocol) ตัวอย่างเช่น Distributed Ledger, High Performance Computer และ Blockchain สำหรับ Blockchain ในภาคธุรกิจจะถูกนำมาใช้บริหารจัดการข้อมูลการทำธุรกรรมต่างๆ ระหว่างเครือข่าย ทำให้การติดต่อกับคู่ค้าจำนวนมากทำได้อย่างรวดเร็ว เพราะข้อมูลทุกอย่างจะถูกอัพโหลดเข้าไปอยู่ในระบบ มีการจัดการตามเงื่อนไขเฉพาะที่สร้างขึ้นมาสำหรับ Supplier แต่ละเจ้า ย่นระยะเวลาในการดำเนินงานและเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาทุกคนในเครือข่ายจะมีโอกาสได้เห็นพร้อมกัน สามารถตรวจสอบได้และปลอดภัยจากการเจาะระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต

นอกจากนี้ คุณสุมาวลียังได้สรุปประโยชน์ของ Blockchain ต่อธุรกิจขนาดกลางและย่อยไว้อย่างน่าสนใจว่า

“อย่างแรกเลย Blockchain เปิดโอกาสให้ธุรกิจรายย่อยมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้นจากเดิม ด้วยระบบการระดมทุนออนไลน์ (Crowdfunding) และในอนาคตสถาบันการเงินก็อาจมีการพัฒนาระบบสินเชื่อให้เข้าถึงคนได้มากที่สุดผ่าน Nano Finance Application ยิ่งไปกว่านั้น Blockchain ยังช่วยประหยัดเวลาในการดำเนินงานตัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออกไป ลดต้นทุนแรงงาน ลดอัตราการแลกเปลี่ยนในธุรกิจที่มีการติดต่อกับ Supplier หลายเจ้า ที่สำคัญคือความปลอดภัยในการควบคุมข้อมูลต่างๆ ภายในองค์กรโดยมีการกำหนดบทบาทของผู้เข้าถึงเอาไว้ชัดเจน”

จริงๆ แล้ว Blockchain ก็คือ Protocol หนึ่งที่สามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลายและในตอนนี้ภาครัฐก็มีความพยายามในการออกกฏหมายทั้งในส่วน Digital Asset และเร็วๆ นี้อาจจะมีกฏหมายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลออกมาซึ่งจะไปสอดคล้องกับการใช้งาน Blockchain มากขึ้น เทคโนโลยีดิจิทัลไม่ใช่สิ่งที่เราต้องกลัวหรือเป็นกังวล แต่สิ่งที่เราควรทำคือเรียนรู้และใช้งานสิ่งเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเพื่อยกระดับธุรกิจของท่านไปสู่โลกยุค Digital 4.0 ด้วยกัน


สามารถรับชมคลิปวิดีโอ หัวข้อ Blockchain and SME 4.0
โดย สุมาวสี ศาลาสุข ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายธุรกิจดิจิทัล | ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
จากงาน Blockchain Talk ได้ที่นี่


เรื่องโดย : กองบรรณาธิการ

กล่าวขานกันมากเรื่อง Startup ของประเทศไทยในหลายปีที่ผ่านมา กับความคาดหวังกันในระยะแรกๆ ว่าเราน่าจะมียูนิคอร์นเกิดขึ้นได้ เป็นอีกความคาดหวังของทั้งภาครัฐและเอกชน นำมาซึ่งการลงทรัพยากรครั้งใหญ่ทั้งทุ่มเทและทุ่มทุนกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง งบประมาณหลั่งไหลตลอดระยะเวลา4-5ปี ที่ผ่านมา และวันนี้ที่เริ่มมีปมคำถามถึงความสำเร็จและแนวทางที่จะทำให้เราไปสู่เป้าหมาย และความท้าทาย ในเรื่องจุดอ่อน จุดแข็ง ความเป็นไปได้ เป็นไปไม่ได้ ที่Startup ไทยเราจะก้าวถึงฝั่งฝัน ประเด็นเหล่านี้ล้วนอยู่ในObservationของ ดร.สันติ กีระนันท์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้รับโจทย์และภารกิจในการศึกษาและสร้างกระบวนทัศน์เพื่อปิดจุดอ่อนและเปิดโอกาส Startupไทยให้สำเร็จ จึงเป็นที่มาของโครงการ Thailand Inno Space ซึ่งนิตยสาร MBA มีโอกาสได้รับฟังถึงแนวคิดและกระบวนทัศน์เมื่อเร็วๆ นี้

MBA :  แนวคิดริเริ่มของ Thailand Inno Space มีที่มาอย่างไร?

ดร.สันติ ถ้าไม่กล่าวถึง initiative ของท่านรองนายกสมคิด ที่กำหนดโจทย์และแนวทางเรื่องนี้มาให้ แล้วว่ากันแต่เรื่อง rational ของเรื่องนี้เลย คือเรามีข้อสังเกตว่า เวลาพูดเรื่องStartup ใน ประเทศ ไทย เกือบๆ 10 ปีหรือสัก 5ปีมาแล้ว ผมก็อยากรู้ว่าเรื่องนี้ขยับไปถึงไหน ใน observationของผมเอง ผมว่าเรื่องนี้เรายังไม่ได้ขยับไปไหนเลย เรายังอยู่กับที่

MBA : แต่ดูจะขยับในเชิงพีอาร์

ดร.สันติ :  พีอาร์ขยับ มีการกล่าวกันว่าเราถูกรับรู้ว่าเป็น Startup Hub ของอาเซียน ซึ่งผมว่าเรายัง ไม่ใช่ และผมก็ยังไม่ยอมรับ ผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าสำนักไหนจัด แต่ในข้อเท็จจริงเราต้องยอมรับ ว่า เรื่องนี้สิงคโปร์ไปไกลกว่าเรา และผมไม่ได้คิดว่าสิงคโปร์เก่งกว่าเรา แต่ผมคิดว่า สภาพแวดล้อมของเค้า เค้าทำอะไรก็ได้ ไม่ใช่เพราะว่าเค้ามีทรัพยากรเยอะ แต่เค้ามีความ เบ็ดเสร็จซึ่งต่างจากเราที่จะทำอะไรก็จะต้องฟังเสียง stakeholder ส่วนเรื่องที่สองคือ เรื่อง วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายว่าจริงๆ แล้วเราต้องการมี Startup หรือเราต้องการมี Innovation กันแน่? ซึ่งเรื่องนี้เป็นสาระสำคัญมาก ผมคิดว่า Startup เป็นแค่เครื่องมือหนึ่งเท่านั้น เป็นมนุษย์คนเดียวก็ยังได้เลย ประเด็นคืออยู่ที่ การcarry innovation เพื่อความก้าวหน้าในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้น ผมคิดว่าถ้าจะเกากันให้ถูกที่คันเลย เราควรสร้าง ระบบนิเวศน์ที่ใช่ และเอื้อต่อการได้มาซึ่งนวัตกรรม ส่วนที่สร้างกันขึ้นมาทั้งหลายทั้งปวง ผมว่าไม่ได้สร้างให้เกิดStartup แต่เราต้องการระบบนิเวศน์ที่เอื้ออำนวยแก่การสร้าง นวัตกรรมให้เกิดขึ้นในประเทศในท้ายที่สุด ดังนั้นโจทย์ของผมจึงไม่ใช่เรื่อง Startup โดยตรง แต่โจทย์ของผมคือ ทำอย่างไรให้ประเทศนี้ ในที่สุดแล้วเป็นประเทศที่สามารถ สร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นได้

MBA : แล้วอาจารย์กำหนดแนวทางโมเดลไว้อย่างไร?

ดร.สันติ : ผมจำลองแกนสองแกน โดยแกนนอนเป็นประเภทของเทคโนโลยี ซึ่งผมใช้คำว่า “ระดับ ของเทคโนโลยี” ตั้งแต่กลุ่มที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีมากมาย และก็กลุ่มที่เป็น เทคโนโลยีกลางๆ จนถึงพวกที่เป็น deep technology ส่วนแกนตั้ง เป็นเรื่องการลงทุนเพื่อ สร้าง technology ซึ่งผมแบ่ง stage ของการลงทุนตั้งแต่เริ่มมีไอเดียเลยคือเราเรียกว่า pre- seed และต่อมาก็ระดับเอาไอเดียมาทำให้เกิดรูปธรรมมากขึ้น concrete ขึ้น ซึ่งก็อาจจะ เรียกว่า seed จาก seed ถ้าเกิดมันทำอะไรจนกระทั่งเริ่มเห็นความสำเร็จ ผมว่ามันก็ควรจะ ไปร่วม อยู่กับแถวซีรี่ส์เอ ซีรี่ส์บี จนกระทั้งจะไปซีรี่ส์อะไรก็ตาม ดังนั้นแกนตั้งของผมก็คือ stage ของ investment หรือว่า stage ของ development พอเขียนสองแกนนี้ cross กัน สิ่งที่ปรากฏให้เห็นก็คือว่า ปัจจุบันประเทศไทยเราวุ่นวายอยู่กับการกับการคาดหวังกับ Round A และ Go IPO ในระดับ non-tech และ tech สีเขียวอ่อนกับสีเขียวแก่ แต่ investor ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน ทุกวันนี้แทบไม่กล้าลง seed เลย ส่วนในระดับ pre-seed ถามว่ากล้าลงไหม? คำตอบคือ ไม่กล้า

แต่ด้วยเหตุผลที่ต่างกัน รัฐไม่กล้าลง seed หรือ pre-seed เพราะเหตุผลของแนวคิดดั้งเดิม เลยคือทรัพย์สินของรัฐ ต้องตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ หายไม่ได้ เพราะฉะนั้นลงอะไรที่ เสี่ยงมี down side มากๆ ก็ลงไม่ได้ เพราะถ้าลงก็จะเป็นความผิดของผู้กระทำได้

สำหรับภาคเอกชน พูดกันอย่างยุติธรรม หรือ to be fair การจะinvest ในอะไรก็ตาม ก็ย่อม มุ่งหวังผลสำเร็จมากกว่าจะเป็นผู้เติมเต็มให้กับระบบนิเวศน์ การจะลงในระดับseed และ pre-seed ไม่มีทางเลยที่เอกชนทั่วไปจะลง ประสบการณ์นี้ไม่ใช่แค่ตอนทำเรื่อง Startup เรื่อง Innovation เมื่อเกือบ 20ปีที่แล้วตอนทำตราสารหนี้ ก็เหมือนกันเลย

ที่ว่าตลาดตราสารหนี้ไม่ take off ตอนนั้น เพราะ mentality ของรัฐคือ สำนักงานบริหารหนี้ สาธารณะไม่มีหน้าที่ในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ สำนักบริหารหนี้ฯ ตอนเริ่มแรกขึ้นมา แยกจากบัญชีกลาง มีภาระอย่างเดียวคือ financing ให้กับภาครัฐ และ financing โดยที่ mission ของเค้าคือเมื่อไหร่ก็ตามที่งบประมาณขาดทุน เค้ามีหน้าที่หาเงินเติมให้เต็ม เพราะฉะนั้นถ้างบประมาณสมดุลหรืองบประมาณเกินดุลเค้าจะไม่ทำอะไรเลย ทีนี้ mentality แบบนั้นในการที่เค้าหาเงินจากตลาดตราสารหนี้ ตลาดตราสารหนี้ก็เป็นวงแคบๆ ตื้นๆ แล้ว ถ้าจะหาเงินด้วยการออกธนบัตรทีก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ภาคเอกชนยิ่งไม่ต้องคิดเลยออกตราสาร หนี้ไม่ได้เลย เพราะภาคเอกชนตอนนั้นไม่มี benchmark จากภาครัฐว่า risk free อยู่ ตรงไหน เมื่อมันไม่เห็น risk free ภาคเอกชน pricing ไม่ถูก มัน price ไม่ได้เลยว่า ดอกเบี้ยจะให้เท่าไหร่ พอไปบอกภาครัฐว่าภาครัฐช่วยออกตราสารหนี้แม้ยามที่ภาครัฐไม่มี ความต้องการเงินก็ตาม ช่วยออกธนบัตรเพื่อหล่อเลี้ยงตลาด ภาครัฐบอกว่านี่ไม่ใช่หน้าที่ จะทำไงได้ ก็เข้าใจได้อยู่เพราะว่าการดำเนินงานก็จะกลายเป็น Negative Carry จนมาถึง เวลาหนึ่งที่ run inefficive budget ตลอด แล้วภาครัฐก็เริ่มเข้าใจแล้วว่าปล่อยไปอย่างนี้ ไม่ได้ แต่ว่ามันเป็น inefficive budget ยังไงก็ต้องออกเพื่อหล่อเลี้ยงตลาด ออกเพื่อสร้าง benchmark มาตลอด mentality จึงเปลี่ยน อันนี้คือเมื่อประมาณ 10 กว่าปีให้หลังนี้เอง ตรา สารหนี้ไทย take off เลย ก็จะเห็นว่าภาครัฐทำในสิ่งที่ภาคเอกชนทำไม่ได้ เมื่อทำแล้วจน มันเกิดแล้วจนมัน take off ไม่เป็นไรแล้ว ภาคเอกชนสามารถ carry concept ลักษณะนี้ก็สามารถประยุกต์ให้เกิดไปได้ทุกเรื่อง

 

MBA : หมายความว่ารอบนี้ Thailand Inno Space จะเน้นไปที่ ระดับ pre-seed เลย?

ดร.สันติ : ถูกต้อง ไม่อย่างนั้นภาครัฐจะทำยังไงเมื่อภาคเอกชนไม่ลงทุนในระดับ pre-seed เลย ซึ่งหมายความว่าinnovation มันเกิดไม่ได้เลยถ้าไม่ผ่านขั้นนี้ไป ผมคิดว่าภาครัฐจะต้อง step-in แต่ต้อง step-in อย่างระมัดระวัง พอมันเทคออฟ มันก็ไปของมันละ โมเดลแบบนี้ ประเทศอิสราเอลประสบความสำเร็จเรื่องนี้มากๆ ภาครัฐเข้ามาเพื่อกระตุ้นเพื่อให้เกิด ความสำเร็จในArea แถวๆ นี้แต่เค้ามีความง่ายกว่าเราตรงที่เค้ามี 8 ล้านกว่าคนและเป็น mathematician กันหมดเลย มันถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก ปลูกความคิดแบบthink out of the box มาตั้งแต่เด็ก

MBA :  อย่าง America ไม่ได้เป็นเรื่องการให้เงิน แต่เป็นเรื่อง licensing technology ให้ซึ่งสำคัญ

ดร.สันติ ก็ใช่ อย่างกรณี อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นมาเพราะว่าเป็น technologyของ ทหาร หลังจากนั้น ค่อย publicize ออกมาใช้ในสาธารณะ ก็จะเห็นว่าทุกอย่างต้องเกิดมาจากภาครัฐ ที่ทำหน้าที่ ทำสิ่งที่ภาคเอกชนทำไม่ได้ เพราะเอกชนคิดว่าทำแล้วไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ซึ่งที่จริง แนวคิดนี้ รัฐทุกรัฐต้องมีความเข้าใจ ก็จะเห็นว่ารัฐไทยเองก็ไม่ใช่ว่าจะไม่เข้าใจ รัฐไทยใน เวลากระตุ้นเศรษฐกิจ ก็มี inject เข้าไปเพื่อที่จะสร้าง consumptionให้เกิดขึ้นในภาคเอกชน รัฐ inject ตัว G เข้าไปเป็น Government expenditure เพื่อไปกระตุ้นให้มี กระแสเงิน หมุนเวียน เพื่อให้ multiplier ทำงาน หลังจากนั้นตัว I ที่เป็นเอกชน และ X ก็จะ generate ตาม เพราะฉะนั้นภาครัฐเข้าใจบทบาทหน้าที่ตัวเอง เพียงแต่จะทำยังไงเท่านั้นเองเพื่อให้กลไกมันไปได้ นั่นคือเรื่องแรก

ส่วนที่คุยกันว่า degree ของ technology อยู่ตรงไหน ผมว่า 80-90% ของStartup เราเป็น การสร้าง App เป็นส่วนใหญ่ แทบทั้งนั้น และค่อนไปทางสายฟินเทคแทบทั้งนั้น ซึ่งฟินเทค เหล่านั้นซึ่งผมดูทั้งหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็น insurance หรืออะไรก็ตามที่อยู่ในด้าน financial sector ผมนับเป็นฟินเทคทั้งสิ้น คำถามในใจคือมันใหม่จริงหรือ? ผมเริ่มไม่มั่นใจว่ามันใหม่ หลายอย่างในต่างประเทศเค้ามีมาก่อนแล้วและ นานแล้วด้วย บางกรณีมีมานานกว่า 10ปี แล้ว ดังนั้น ประเด็นมันจึงน่าจะอยู่ที่เรื่องระดับของเทคโนโลยีที่มันกระจุกอยู่ในฝั่งซ้ายมาก และมันไม่ไปทางขวาเลย ถึงได้มาถึงจุดนี้ว่า ที่จริงแล้วการจะผลักดันให้เกิด Startup ก็ดี หรือส่งเสริมเศรษฐกิจนิเวศน์ใหม่ก็ดี ประเด็นมันจึงน่าจะเป็นเรื่อง Innovation ซึ่งเราไม่ได้ ลงในdeep tech กันจริงๆ เลย และไม่ให้น้ำหนักกับการลงในระดับ pre-seed และ seed อีก ด้วย

MBA : แล้ว ทิศทางหรือ focus จะลงไปในภาคส่วนไหนเป็นหลักหรือไม่?

ดร.สันติ : มองข้อเท็จจริงประเทศไทยเรา จะพบว่ามีอยู่สองเบสเป็นฐานใหญ่คือ ฐานเกษตร (Agricultural Base) กับ ฐานอุตสาหกรรม (Industrial base) เมื่อต้นปีเคยมีพรรคการเมือง หนึ่งในชวนผมไปเข้าพรรคอยากให้ไปช่วย refine นโยบายพรรค โดยประเด็นของเค้ามอง ว่า industrial base ของไทยเราไปไหนไม่รอดแล้ว พอวันนี้ที่ผมได้เข้ามาอยู่ในกระทรวง อุตสาหกรรม ทำให้ผมเห็นตรงข้ามเพราะว่ามันไม่จริง โดยผมเห็นว่า industrial base ของ ไทยยังสามารถไปได้อีกไกล แต่จะต้อง break paradigm คือไม่สามารถทำอะไรแบบเดิมต่อไป เพราะว่าวันนี้ productivity เราต่ำ efficiency เราก็ไม่สูง แล้วสาเหตุเพราะอะไร? คำตอบคือ plug innovation ของเราไม่ทันคนอื่น เราใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง เรา สร้างผลผลิตออกมาโดย take away future resource มาใช้ในปัจจุบันอย่างเยอะ ถ้าเราจะ พัฒนาภาคอุตสาหกรรมของเราให้ไปแบบแรงๆ เร็วๆ กว่านี้ ในกระบวนทัศน์เดิม เราก็จะ สร้างปัญหาให้กับคนรุ่นหลังต่อไปในอนาคตอย่างมาก เพราะเราไม่ได้ใช้นวัตกรรมใดๆ เลย เพื่อทำให้เกิดการประหยัดในทรัพยากร หรือเพื่อทำให้ประสิทธิภาพเราสูง ผมจึงมั่นใจ อย่างยิ่งว่า นวัตกรรมเท่านั้นคือคำตอบ ซึ่งเราขาดด้านขวาของ technology คือด้านที่เป็น deep technology ตอนนี้กระแสส่วนใหญ่จะพูดไปในเรื่อง AI (Artificial Intelligence) พูด เรื่อง Data Analytics กันแล้วซึ่งผมมองว่า เทคโนโลยีเหล่านั้นเป็นแค่ enablerที่เข้าไปเป็น supporter ในทุกๆ technology แต่เราต้องใส่เทคโนโลยีที่เข้ามาเป็น fundamental ที่ทำให้เราไปต่อให้ได้ ถ้าไม่มีสิ่งนี้ เราจะไม่สามารถสร้างประสิทธิภาพได้ แน่นอนว่า เรื่อง AI เรื่อง IOT ก็ต้องพัฒนา แต่Deep Tech สำหรับกลุ่ม Real sector ที่จะมายกระดับภาค เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม จำเป็นที่สุด ทุกวันนี้ ประชากรไทยมากกว่าครึ่งประเทศยัง เป็นเกษตรกร รายได้ยังไม่สม่ำเสมอ เรามีเป้าหมายที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเรา อาศัย deep tech เข้ามาเป็นเครื่องมือได้

MBA : ขออาจารย์ช่วยขยายแนวคิดกรณีตัวอย่างหรือแนวทางที่เป็นเทคโนโลยี deep tech

ดร.สันติ : อย่างแรกคือ Agri-tech แต่ไม่ใช่ว่าจะต้องไปในแนวเฉพาะ breeding ไม่ว่าจะสัตว์หรือพืช เท่านั้น แต่อันนี้ ต้อง Bio-engineering/ Bio-economy / Bio-base ทั้งสายจนกระทั่งถึง Logistic ที่มาสนับสนุนเรื่อง Bio เพราะฉะนั้นมันก็จะเกี่ยวกับ engineering ด้วยคือ deep tech บน value chain หรือ sky chain คือยาวมากกับคำถามที่ผมว่าคาใจคนหลายคน ทีเดียว

สมัยสอนหนังสือใหม่ๆ ที่จุฬาฯ เมื่อ 30ปีก่อน ต้องยอมรับว่า จุฬาฯ ได้รับการจัดอันดับว่าเป็น มหาวิทยาลัยอันดับ1ของประเทศไทย ผมสอนอยู่ผมก็ภูมิใจ แต่ก็เคยแอบสงสัยและถาม ตัวเองว่า ทำไมมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของไทยไม่ใช่มหาวิทยาลัยด้านเกษตร หรือ เกษตรศาสตร์ เหตุผลที่สงสัยเพราะไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่ตลอดเวลาที่ผ่านมา เราขายข้าวเป็นตัน ขายมันสำปะหลังเป็นตัน เราขายผลผลิตทางการเกษตร เราขายที่ Primary stage ของมันทั้งสิ้น เราไม่ได้เพิ่มมูลค่าใดๆ ลงไปในผลผลิตทางการเกษตรของเรา และนี่ก็เป็นคำถามที่คาใจในพวกเรามาหลายสิบปี ดังนั้นเวลาพูดที่ระบบการปรับเปลี่ยน เศรษฐกิจของประเทศ การ Transform การปฏิรูป ผมคิดว่าเราต้องตอบโจทย์ในเรื่อง นวัตกรรมทางด้านการเกษตร หรืออีกนัยคือนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมภาคเกษตร

ทุกวันนี้ เทคโนโลยีสมาร์ตฟาร์ม หรือ iOT มีการนำเข้ามาใช้แล้ว

แล้วถามว่า แล้ว iOT ตอบโจทย์มั้ย? Information science ตอบหรือไม่? แน่นอนตอบ เพราะให้สายพันธุ์ดี และเรายังต้องสามารถต่อท่อสายส่งถึงตลาดและความต้องการ เรา ต้องรู้ดีมาน ดังนั้น information science หรือ data analysis เรื่อง big data ซึ่งเป็น international big data ที่จะเปิดทางให้เราเล่นกับตลาดโลก ซึ่งในระดับนั้น เราถึงจะสามารถรู้ได้ถึงความต้องการในโลกและสามารถทำการประเมินหรือคาดการณ์ ซึ่งจะมีผล ต่อการเกษตรในเรื่องการผลิตอย่างไรให้ตอบโจทย์ สิ่งเหล่านี้ จะช่วยให้เรา control supply ไม่ให้ผลผลิตมากเกินไป ซึ่งหมายถึงราคาที่ตกต่ำ และการขาดทุนของเกษตรกร อันนำมาซึ่งจุดจบและความยากจนอยู่ดี

เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องของ Value chain เรื่อง Supply chain ที่อยู่บนเรื่อง Innovation ตลอด สาย Thailand Inno Space เราจะทำเรื่องนี้ในภาพใหญ่ และมุ่งเน้นไปที่นวัตกรรมที่ เกี่ยวข้องกับประเทศไทย

ส่วนArea ที่ 2 จะเป็นเรื่อง Wellness เป็นเรื่องHealth เพราะในอาเซียนถ้าพูดเรื่อง ความก้าวหน้าทางการแพทย์ ไทยเรากับสิงคโปร์ แข่งกันอยู่สองประเทศ ที่หนึ่งกับที่สอง ตลอดมาการลงทุนในภาคส่วนนี้ของเราเริ่มใหญ่ขึ้น beatกับสิงคโปร์มาตลอด หมอไทย เก่งๆ เต็มไปหมด แต่ไหนแต่ไหนนักเรียนแพทย์ของเราคือเด็กหัวกะทิจากทุกโรงเรียนทั้งแถวหน้าในกรุงเทพและที่ 1 จากทั่วประเทศ ไม่ว่าจะโรงเรียนสวนกุหลาบ เตรียมอุดมฯ คะเนว่าประมาณ 20% ของเด็กเก่งที่สุดเข้าคณะแพทย์หมดทุกมหาลัย 30-40% ของเตรียม อุดมเข้าคณะแพทย์หมด เพราะฉะนั้น Health Education เป็นเรื่องสอง

แต่ว่าไม่ว่าจะ Health หรือว่าจะเป็น Agriculture ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของ bio base ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นเรื่อง deep tech ผมคิดว่าต้องมุ่งไปด้านนี้โดยที่มี engineering science เป็น tool ที่จะช่วยให้เราไปให้ได้ อันนี้เป็นแนวคิดเริ่มต้นของ Thailand Inno Space ในมิติเพื่อ การเติมเต็มระบบนิเวศน์ที่เราไม่มี ที่เราขาดหายไป ดังนั้น Risky Project ต้องเกิดขึ้นแล้ว

MBA : จากที่กล่าวว่าแสดงว่า เราต้องปรับกระบวนทัศน์ หรือparadigm หลายมิติมาก

ดร.สันติ : แน่นอน และเราไม่ได้ทำงานกระทรวงเดี๋ยว เราจะทำงานร่วมกับกระทรวงวิทย์ฯ ร่วมกับ สวทช. เรามี Agree กันเพราะเมื่อไปนั่งคุยทำความเข้าใจกันแล้ว เรารู้ว่าเราทำเรื่อง เดียวกัน เราจึงจับมือกัน เพราะฉะนั้นในระดับกระทรวงวิทย์ฯ กับกระทรวงอุตสาหกรรมเป็น อย่างน้อยที่เริ่มต้นทำงานภาคเกษตร เราจะค่อยๆ กระจายไปเรื่อยๆ เพราะมันคือประเทศไทย ทั้งประเทศ เราต้องร่วมมือกัน

MBA : แล้วรูปธรรมจะออกมาในแนวไหน ต้องจัดตั้งหน่วยงานใหม่ หรือต้องแก้กฎหมายอะไร ใหม่หรือไม่?

ดร.สันติ : แก้กฎหมายผมคงไม่ เพื่อลดขั้นตอนและขจัดความซับซ้อน เนื่องจาก สวทช. ได้ขอมติ ครม. เพื่อให้ ครม. รับรองไปแล้วเพื่อจะตั้ง บริษัท โฮลดิ้ง (Holding company) ขึ้นมาเพื่อที่จะ จัดตั้งศูนย์วิจัย (Research Center) ในต่างประเทศ เพื่อจะไป ride-on knowledge เพื่อให้ ได้ความรู้มาเลย ส่วน Thailand Inno Space เองก็มีวัตถุประสงค์การจัดตั้งเพื่อที่จะเอาไป scout startup จากต่างประเทศเข้ามา อย่างเช่นอิสราเอล หรืออื่นๆ เลยเป็นว่าเรากำลัง ทำงาน complies กัน ผมกับอาจารย์ณรงค์ เลยคิดเห็นเหมือนกันว่า เราต้องทำงานด้วยกัน โดยขั้นต่อไป จึงเป็นเรื่องรูปแบบและโครงสร้างขององค์กรที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเราอยากให้เป็นรูปบริษัทจำกัด เพราะต้องการให้ทำงานแบบเอกชน และไม่ใช้ทรัพยากรของภาครัฐในการลงทุน เพราะไม่อยากจะไปติดระเบียบของ สตง. (สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน) และต้องกลับไปสู่แนวคิดเดิมคือ ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ ก็จะทำให้เราไม่สามารถลงไปสู่ ระดับ seed และ pre-seed ได้ ส่วนภาคเอกชนก็จะติดในเรื่อง Maximize profit ดังนั้นเมื่อ เป้าหมายสำคัญที่เราต้องการทำเพื่อ serve public interest หรือผลประโยชน์ของส่วนรวม โดยที่รัฐจะสามารถใส่นโยบายเข้าไปได้ด้วย โดยรัฐเป็นบอร์ด แต่บริหารภายในรูปแบบ เอกชน เลยจะยกเคส Tris rating ที่เคยประสบความสำเร็จในการจัดโครงสร้างบริษัทฯ ลักษณะนี้เมื่อ 25 ปีก่อน และสำเร็จจนทุกวันนี้ โดยครั้งนี้รัฐถือหุ้น 5% และไประดมเอกชน มาอีก 95% โดยตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ spirit ของTris ก็คือหากำไร แต่ทำเพื่อประโยชน์ ของส่วนรวม ประธานบอร์ดของ Tris โดยส่วนใหญ่ก็มาจากไม่คลัง ก็แบงก์ชาติ Tris มีเก้าอี้ ของข้าราชการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อconvey message จากภาครัฐ และพอดู structure ของผู้ ถือหุ้นจากภาคเอกชน ซึ่งตอนนี้ เอกชนที่ยินดีจะช่วยเหลือภาครัฐก็มี ภายใต้การออกแบบ โครงสร้างผู้ถือหุ้นที่เป็น การรวมตัวเพื่อสร้างประโยชน์ภายใต้การดำเนินงานแบบเอกชน แต่ไม่ maximize profit แล้วก็รับนโยบายรัฐเพื่อทำสิ่งที่ภาคเอกชนไม่ทำ คิดว่าแนวทางนี้ ไปได้

MBA : แล้วบริษัทนี้อาจารย์จะ Financing ยังไง?

ดร.สันติ : ตอนนี้มีภาคเอกชนที่แสดงความสนใจอยู่หลายองค์กรที่ได้เริ่มมีการพูดคุย คือ องค์กรนี้จะเป็นองค์กรที่ neutral และรวมคนเก่งจากหลายๆ ที่เข้ามารวมกันบน เป้าหมายไม่เพียงเป็น incubator,investor หรือ accelelator แต่จะเป็น fullfiller ที่จะเติมเต็มในสิ่งที่ไม่มีใครทำ เป็น facilitator เป็น enabler และเป้าหมายที่ strong มากคือต้องการ scout innovation carrier จากต่างประเทศ และตอนนี้เราเล็งไปที่ อิสราเอล, ฮ่องกง,ไต้หวัน, ญี่ปุ่น และสิงคโปร์

MBA : แล้วเรื่อง ขนาด size?

ดร.สันติ : ไม่ต่ำกว่า 400 - 500 ล้าน ผมไม่ขอเงินรัฐเลย ยิ่งตอนนี้ผม Subject through พิธีการทางรัฐแล้วซึ่งก็จะทำอะไรที่ออกนอกกรอบไม่ได้ แบบนี้Project หนึ่งจะ up through กี่ล้านก็ได้ เพราะมันขึ้นอยู่กับ Degree ของ technology ยิ่ง Deep tech เท่าไหร่ ยิ่งต้องการเงินมาก ที่ไม่ค่อย deep เท่าไหร่ เงินไม่กี่ล้านก็เป็น development แล้ว

MBA : กำหนด exit planไว้หรือสำหรับ Thailand Inno Space และต้อง มีกำไรหรือไม่?

ดร.สันติ : แน่นอน ในที่สุดแล้วเราก็ต้อง exit ไม่ว่าโจทย์ของเราคือเป็น public policy เป็นdebt maker เป็น executor หรือยังไงก็ตาม ก็เพื่อให้ได้มาซึ่ง innovation และเป็น open innovation เพื่อไปตอบโจทย์กับผู้ประกอบการอีกระดับหนึ่งคือ SME ใน ระดับ N พวกนี้ต้องโตและ need research and development แต่ไม่มีแรงทำเอง เพราะฉะนั้นการทำ innovation ไม่จำเป็นต้องทำ free domain แต่ว่าเป็น licensing ที่ราคา afforable ซึ่งmodel นี้ไม่ได้ใหม่ แต่เป็น model ที่มีอยู่แล้วนำมา implement เพราะประเด็นคือ ไม่มีใครทำจริงจัง ซึ่งThailand Inno Space จะทำจริงจัง

MBA : แล้ว Application จะยื่นได้เมื่อไหร่?

ดร.สันติ ตั้งใจว่าหลังจากยื่นเรื่องของบริษัทจะรับทันที ช่วงต้นปี หมายความว่าตอนนี้ใคร มีไอเดียก็มายื่นได้เลย เพราะเป็น pre-seed ผมคิดว่ายังไม่จำเป็นว่าจะต้องตั้งนิติบุคคลก่อน แต่ต้องมี contract ระหว่างกัน

MBA : จะเป็น Grant หรือ Equity?

ดร.สันติ : อยากให้เป็น equity เพราะผมเป็นคนไฟแนนซ์ ผมเชื่อเรื่อง agency problem เงิน ที่ให้เปล่ามันเป็น free lunch ปัญหาเกิดแน่ เราตามดูไม่ได้ทั้งหมด ในตลาดตอนนี้ หลายโปรแกรมใจป้ำมาก มีเงินให้เปล่า ให้ไปเลย มองว่าถ้า grant ไปเลยจะ ควบคุมไม่ได้ เราจะรู้ได้ยังไงว่าเอาเงินไปทำอะไร ตรงวัตถุประสงค์หรือไม่? ผมคิดว่า มีสองทางคือ ถ้าไม่เป็น equity ก็เป็น debt และอีกอย่างคือเราไม่ได้คิดจะให้แค่เงิน เราไม่ได้ทำงานคนเดียว เราพร้อมจะเป็นพันธมิตร ตอนนี้ เรามี Science Park อยู่หลายแห่ง อย่างเชียงใหม่ก็มี STEP น่าอยู่มาก เป็นทั้ง co-working space หรือที่ระยองก็มี RAIST (Rayong Advanced Institute of Science and Technology) ที่พูดได้ว่าเป็นScience engineer ระดับtop ของประเทศไทย ซึ่งต่อไปก็จะมาร่วมกัน provide facilities ในเรื่อง ของการดูแล Startup ในโครงการ

MBA : ความมั่นใจว่า Thailand Inno Space จะสำเร็จและตอบโจทย์ของStartup มีแค่ไหน?

ดร.สันติ : ถ้าพูดจริงๆ แล้วเนื่องจาก mission ผมมีอย่างเดียวคือต้องการ innovation เราจะ ใส่ทรัพยากรที่เรามี และใส่เต็มที่ ผมจะอำนวยในด้านสภาพแวดล้อมให้ หน้าที่คุณ คือใช้แรงบันดาลใจ ใช้creativity และถ้าเรามีสภาพแวดล้อมโดยที่เอาอิสราเอลมา เอาไต้หวันมา ผมเชื่อว่าไปได้ไกล

MBA : ความพร้อมของ Thailand Inno Space ที่จะเปิดตัว

ดร.สันติ : ในด้าน Concept ชัดเจนแล้ว หน้าที่ผมคือขายให้กับรัฐบาลให้เห็นชัด ในด้าน พันธมิตรก็ได้มีการพูดคุยกันแล้ว และคาดว่าหากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงก็จะผลักดัน ให้เกิดภายในปีนี้ ภายใต้รัฐบาลนี้


เรื่อง : กองบรรณาธิการ
ภาพ : สาธิดา พิชณุษากร

ผมเป็นเด็กที่เติบโตขึ้นมา และได้รับการศึกษา ในยุคพุทธทศวรรษ 2510 เป็นต้นมา หรือถ้าเทียบเป็นทศวรรษแบบฝรั่งก็ต้องถือว่าเป็นเด็กที่เกิดในยุค 60s แต่เจริญเติบโต เริ่มมีความรู้สึกนึกคิด ตลอดจนเข้าสู่ Formative Years ในระหว่างยุค 70s-80s

สมัยโน้น เมื่อผู้ใหญ่ถามว่า "โตขึ้นอยากเป็นอะไร?" เด็กส่วนใหญ่มักจะตอบว่า อยากเป็นนักบินอวกาศ หรือนักวิทยาศาสตร์ เพราะถือว่าเป็นสุดยอดปรารถนาของเด็กสมัยนั้น สมัยที่ Apollo 11 นำมนุษย์ขึ้นไปเหยีบดวงจันทร์ได้เป็นครั้งแรก และชื่อเสียงของนักบินอวกาศเหล่านั้น โด่งดังไปทั่วโลก และเป็นที่จดจำได้ยิ่งกว่านายกรัฐมนตรีหรือผู้บัญชาการทหารบกของไทยเสียซ้ำ

หุ้นชั้นแนวหน้าของโลกที่คนนิยมลงทุนกันมากในสมัยโน้นคือ Coca-Cola, Sears, Philip Morris (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Altria) และ GE หรือ General Electric

หุ้นเทคโนโลยี (สมัยโน้นยังไม่เรียกว่า Hi-Tech) ซึ่งนิยมกันในหมู่ผู้ลงทุนหัวก้าวหน้าในสมัยนั้น ก็มีเช่น Polaroid, Xerox, Texas Instruments, และต่อมาก็ IBM เป็นต้น โดยกิจการยักษ์ใหญ่เหล่านี้ ยกเว้น Philip Morris แล้ว กิจการอื่นล้วนมีส่วนพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการอวกาศ" และ "Moonshot" ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

สื่อมวลชนสมัยนั้น มักชอบใช้คำเขื่องๆ มาอธิบาย ทำนอง "นับเป็นก้าวย่างสำคัญของมนุษยชาติ"....ว่างั้น

ฝรั่งเรียกหุ้นเหล่านี้ “Nifty Fifty” คือเป็นหุ้นสำคัญระดับ Blue Chip ของสหรัฐฯ นั่นเอง

จำเนียรกาลผ่านมาถึงปัจจุบัน ยกเว้น Altria (และอาจจะอนุโลมนับ Coca-Cola เข้าไว้ด้วย) หุ้นที่เหลือได้กลายเป็น "ไก่รองบ่อน" ไปเสียแล้ว ช่างสอดคล้องกับกฎอนิจจังของพุทธศาสนาเสียนี่กระไร

เดี๋ยวนี้ ถ้าไปถามผู้ลงทุนที่ถือตัวว่าหัวทันสมัยและทรงภูมิ ว่าหุ้นยอดนิยมชั้นแนวหน้าของโลกคืออะไร ร้อยทั้งร้อยจะตอบว่า "หุ้น FAANG”

FAANG คือ Facebook, Amazon, Apple, Netflix และ Alphabet (บริษัทแม่ของ Google)

“ห้าใหญ่" ของ Nifty Fifty ในปัจจุบันกลายเป็นกิจการไฮเทคไปเสียสิ้น

และเมื่อเร็วๆ นี้ มีนักวิจัยฝรั่ง ได้ไปถามเด็กๆ อเมริกันสมัยนี้ว่า "โตขึ้นอยากเป็นอะไร?"

หลายคนซึ่งดูฉลาดเฉลียวและฉะฉานที่สุดในกลุ่ม มักจะตอบว่า "อยากเป็นยูทูปเบอร์" (แทนคำตอบของเด็กรุ่นก่อนหน้านั้น ซึ่งมักตอบว่า "อยากเป็นนักฟุตบอล" “นักร้อง" "ดาราฮอลลีวูด" “นักวิทยาศาสตร์" หรือ "นักธุรกิจ" และ "ผู้ประกอบการ" เป็นต้น)

แน่นอน เดี๋ยวนี้ เรามีคำว่า “YouTube Celebrities” คือเหล่าดาราที่โด่งดังและมีอาชีพของตัวเองแบบเป็นล่ำเป็นสันในช่อง YouTube ของตน เด็กสมัยนี้แทบทุกคนบริโภค YouTube และ Social Media

เฉพาะเกมอย่างเดียว ก็เล่นกันแยะมากแล้ว (เว็บไซต์เกมอย่าง WePC ประมาณว่าทุกๆ วันมีคนเล่นวิดีโอเกมทั่วโลกถึงกว่า 2,500 ล้านคน และ Pew Research Center พบว่า 60% ของผู้ชายที่อายุระหว่าง 16-29 ปี เล่นวิดีโอเกม และ 53% ของผู้ชายที่อายุระหว่าง 30-49 ปี ก็ยังคงเล่นเกมต่อเนื่องมาอีก)

"เซียนเกม" สมัยนี้ สามารถทำเงินได้อย่างเป็นล่ำเป็นสันด้วยการเล่นวิดีโอเกม หลายคนมีช่องของสตรีมมิ่งของตัวเองบน YouTube และ Twitch ยิ่งมีคนเข้ามาดูพวกเขาเล่นเกมมากเท่าไหร่ พวกเขาก็จะได้เงินจากค่าโฆษณา และผู้ชมจำนวนมากก็บริจาคเงินให้พวกเขาอีกด้วย

อย่าง Tyler “Ninja” Blevins เซียนเกม Fortnite (ซึ่งคาดว่ามีผู้เล่นทั่วโลกกว่า 125 ล้านคน) นั้น ก็คาดกันว่ามีรายได้ประมาณ 500,000 เหรียญฯ ต่อเดือน หรืออย่าง Daniel Middleton เซียนเกม Minecraft ก็คาดว่ามีรายได้ในปี 2560 ทั้งปี จากการเล่นเกมดังกล่าวถึง 16.5 ล้านเหรียญฯ หรือประมาณ 50 ล้านบาท เลยทีเดียว (ข้อมูลจากนิตยสาร ESPN ฉบับ กันยายน 21)

เห็นหรือยังว่า ทำไมเด็กสมัยนี้ถึงอยากเป็น YouTuber

แต่นี่เป็นเพียงตัวอย่างแค่สายเกมสายเดียวเท่านั้น ยังมี YouTuber สายอื่นอีกนับไม่ถ้วนที่ประสบความสำเร็จระดับโลกทั้งในเชิงชื่อเสียงและรายได้

นั่นเป็นเพราะผู้คนในโลกบริโภค YouTube (และ Social Media) กันมาก ตัวเลขที่มักนำมาอ้างอิงกันคือ "11 ชั่วโมงต่อวัน" หมายความว่าคนสมัยนี้ ใช้เวลาโดยเฉลี่ยคนละ 11 ชั่วโมงต่อวัน ก้มหน้าก้มตาง่วนอยู่กับ Electronic Media กัน แน่นอน มันเป็นการเสพติดอย่างหนึ่ง!

ความหมายของคำว่า "เสพติด" คืออะไรก็ตาม หากเราได้ลองบริโภคมันเข้าไปแล้วระดับหนึ่ง มันจะเรียกร้องให้เราต้องหามาบริโภคซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง และจะต้องบริโภคมากขึ้นๆ เรื่อยๆ เพื่อสนองให้เกิดความพอใจที่ได้บริโภคมัน เห็นหรือยังครับว่าทำไม Altria และ Coca-Cola ถึงอยู่ยงอย่างยิ่งใหญ่มาได้เป็นร้อยๆ ปี เพราะยักษ์ใหญ่เหล่านี้เขาค้าขาย “นิโคติน” และ “คาเฟอิน” ซึ่งใครจะว่ายังไงก็ช่าง สำหรับผมแล้ว มันเป็น Stimulant ที่ทำให้ "เสพ" หรือ "บริโภค" แล้ว "ติด"

ไม่แปลกใช่ไหมครับที่ Starbuck เติบโตเร็วมาก และอภิมหาเศรษฐีระดับนำของไทย 2 ตระกูล สามารถสร้างตัวจากไม่มีอะไรเลย มาเป็นมหาเศรษฐีติดอันดับโลกได้ ด้วยการค้า “แอลกอฮอล์” และ “คาเฟอิน” คือตระกูล สิริวัฒนภักดี และ อยู่วิทยา

ผมคงไม่ต้องพูดว่าของพวกนี้มี Dark Side ยังไงบ้าง เพราะท่านผู้อ่านนิตยสาร MBA ฉบับนี้ ล้วนเป็นผู้ทรงภูมิด้วยกันทั้งสิ้น เช่นเดียวกันกับผู้ค้าสารเสพติดยุคก่อน พวก FAANG ซึ่งเป็นผู้ค้า Social Media หรือสารเสพติดยุคใหม่ ร่ำรวยกันมากเพียงใด

แน่นอน การเสพติด Social Media มากเกินไป ย่อมต้องมี Dark Side เช่นเดียวกัน เป็นที่รับรู้กันมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วว่า การหมกมุ่นอยู่กับ Social Media มากเกินไป อาจนำมาสู่โรคหลายโรค เช่นโรคนอนไม่หลับ วิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคเครียด และโรคเหงา

นี่ยังไม่นับว่าคนจำนวนมากกังวลว่าตัวเองจะดูไม่ดี และตัวเองจะพลาดรถไฟ (FoMo หรือ Fear of missing out) ตลอดจนถูกด่าว่าและดูถูกดูแคลน (Social Bullying) ผ่าน Social Media แต่สำหรับผม ผมว่าด้านมืดเหล่านี้ยังไม่น่ากลัวเท่าใด เพราะมันยังเป็นเรื่องเฉพาะตัว และยังรักษาได้ ยังไม่กระทบต่อส่วนรวมและภาพรวม สักเท่าใด

สำหรับผม ผมว่า Dark Side ที่สำคัญยิ่งของ Social Media คือ "มันมาแย่งเวลาและความสนใจของมนุษย์" ไป มันทำให้เรา "ทำงาน" ได้น้อยลง และที่สำคัญ "มีเวลาคิด" “เวลาตรึกตรอง" น้อยลงด้วย

อย่าลืมว่า "เวลา" เป็นทรัพย์ที่สำคัญที่สุดของมนุษย์

มนุษย์เรามี "เวลา" จำกัด ถ้าเรา "หมดเวลา" เราตาย...

ผู้ใหญ่คนหนึ่งซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการแพทย์แผนไทยชั้นแนวหน้า เคยเล่าให้ผมฟังว่า เพื่อนเศรษฐีของท่านคนหนึ่งที่รู้ว่าตัวเองกำลังจะตายในอีกไม่ช้า เปรยให้ฟังว่าอยากจะยกทรัพย์สมบัติทั้งหมดที่หามาได้ในชีวิตนี้ ให้กับภารโรงคนหนึ่งเพื่อแลกกับชีวิตของตัว...

“กูอยากจะต่อเวลา" เขาพูด

หากมนุษย์เรามีเวลาคิดและทำงานน้อยลง ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และเวลาในการผลิต ก็ย่อมจะน้องลงด้วย สำหรับผม มนุษย์ต้องทำงานและต้องผลิต จะอยู่เฉยๆ แล้วสร้างความมั่งคั่ง (Wealth) ขึ้นมา หาได้ไม่ความข้อนี้ ฝรั่งซึ่งคิดระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมซึ่งใช้กันอยู่ในโลกใบนี้ รู้กันดีอยู่แล้ว ในคัมภีร์ไบเบิล มีข้อความที่พระเจ้าตรัสกับมนุษย์คู่แรก หลังจากได้กินผลไม้แห่งความรู้ดีรู้ชั่วเข้าไปแล้ว อย่างชัดเจนว่า “เจ้าจะต้องหากินด้วยเหงื่ออาบหน้า จนเจ้ากลับไปเป็นดิน เพราะเจ้าถูกนำมาจากดิน และเพราะเจ้าเป็นผงคลีดิน และเจ้าจะกลับเป็นผงคลีดินดังเดิม" (ปฐมกาล 3:19)

นั่นหมายความว่า มนุษย์ต้องลงมือลงแรงผลิต และเรามีเวลาจำกัด จะนั่งๆ นอนๆ คอยกินจาก Passive Income อย่างเดียว หาได้ไม่ ลองคิดในเชิงเศรษฐกิจดูสิครับ ถ้าการผลิตน้อยลง รายได้ของคนส่วนใหญ่ก็น่าจะน้อยลง...ใช่ไม่ใช่?

แล้วถ้ารายได้ของคน ซึ่งในเชิงเศรษฐกิจภาพรวมถือเป็น "ผู้บริโภค" ด้วย ลดลง รายได้ของภาคธุรกิจและภาคราชการ (ภาษี) ย่อมลดลง เป็นเงาตามตัว และกำไรก็ย่อมลดลง

ทีนี้ลองหันกลับมาพิจารณาพวก FAANG ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่ของพวกเขามาจาก "รายได้ค่าโฆษณา" แต่รายได้จากการโฆษณา ย่อมมีที่มาจาก "งบโฆษณาของกิจการ" ซึ่งมีที่มาจาก "รายได้และกำไร" ของกิจการนั้นๆ ซึ่งจะมากจะน้อย ก็ต้องขึ้นอยู่กับ "รายได้ของผู้บริโภค" อีกทอดหนึ่ง

แล้วท่านผู้อ่านคิดว่า "รายได้ของผู้บริโภค" มีอะไรเป็นตัวกำหนด

ผมว่าตัวกำหนดสำคัญคือ "เวลา"

นั่นแหล่ะครับ IRONY OF LIFE ที่เรากำลังเผชิญอยู่

ตอนนี้กำลังใกล้ฤดูเลือกตั้ง ผมกำลังรอดูอยู่ว่า พรรคการเมืองพรรคไหน จะคิดตรงนี้แตก


บทความโดย | ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว

         Many believe that human is the toughest species on earth for a long time, we had fought through wars, plague and many deadly diseases but there is still one thing that we can’t defeat, i.e. cancer. Cancer is a fatal disease that has been known to kill humanity for centuries. We seem not to know how to successfully prevent and cure cancer due to the reason that every cancer patient has a distinct type of mutations within his/her tumor; thus it needs to be treated by a specific and precise medicine that doesn’t suit with everyone. However, with the 2018 Nobel Prize-awarded scientific findings and the discovery of modern medicine, it seems like there might be a cure for cancer after all.

          Recently, MBA magazine got a chance to sit down with Dr. Trairak Pisitkun at Chulalongkorn University and talk about his Systems Biology Center. Dr. Trairak and his team have been developing an antibody drug that would help improve the ability of our own immune system to fight against cancer. Long before Dr. Trairak starting this project, he graduated from Mahidol University, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital in 1994, followed by specialized training in Internal Medicine and Nephrology. However, after working as a physician for a while, he felt like this was not enough for him; he wished that he could be doing something more than just following the guidelines for treating patients.

           “I’ve realized that Thai doctors have been following guidelines from foreign doctors and I hope we could be doing something more innovative and more suitable for Thai people. Then again, by inventing innovations to help Thai people, I certainly need more knowledge in advanced science and technologies; so I decided to continue my career aboard as a researcher and scientist instead of a medical doctor”, Dr. Trairak said. He had been working at the National Institutes of Health or NIH in the United States of America for 9 years until he became a specialist in Systems Biology, Antibody R&D and Computational Biology. After moving back to Thailand 5 years ago, he has been working as Director of Center of Excellence in Systems Biology, Chulalongkorn University.

 

               Currently, he has been developing an antibody drug to help Thai patients fight with cancer, before that he had been developing antibodies for basic research and diagnostic purposes. “Unintentionally, I’ve been invited to a closed group on social network for doctors and cancer patients who are interested in cancer immunotherapy. Every day, I would read stories of patients telling other people about their conditions and how it has miraculously gotten better after using the immune checkpoint antibody drug. It's incredible to perceive and, eventually, I was sold and desired to develop this type of medicine for Thai people using our antibody technology mainly because the extravagant cost, yet amazing efficacy, of this treatment”.  

             In America, Vice President Joe Biden has proposed a program called “Cancer Moonshot” during his Vice Presidency to support the research for curing cancer.  By accelerating cancer research, the Cancer Moonshot program aims to make more effective therapies available to more patients, while also improving our ability to prevent cancer and detect it at an early stage. There have been cured cases in America by using immunotherapy which Dr. Trairak hoped that one day he and his team would be able to provide this kind of treatment for Thai people at an affordable price that would allow anyone to have access.

               Instead of treating cancer by chemotherapy or radiation which would cause damages to other normal tissues and organs within our body, immunotherapy helps improve the ability of white blood cells and prevent cancer from blocking white blood cells to fight against them without damaging our body. After Dr. Trairak explains to us about the immunotherapy, we got a chance to ask him some questions that would help provide more understanding on the therapy and the plans that he has for Thai patients.

               Is there a chance that we could use some kinds of gene sequencing analysis to help us know in advance or warn us that we have cancer?

               There are some cases such as hereditary cancers that would allow us to predict in advance about whether we would have cancer, but there are only 8% chance of hereditary cancers. A majority of cancers are caused by somatic mutations; the likelihood that this will happen increases when we get older. This condition also depends on various exposures that we got from the environment such as food that we consume or chemicals to which we had been exposed. The current concept in cancer biology emphasizes that the sickening of the immune system is the cause of cancer progression. All of us always have a chance to get cancer, but it doesn't happen to everyone due to the defensive power of our immune system. By harnessing the natural defense, immunotherapy is effective and durable; moreover, it has fewer side effects than other types of cancer treatment.

            What’s the percentage of success?

            With the current indications, the percentage of success is still moderate (20-30%) in advanced cancer patients that are using this antibody drug. But considering that this medicine has been out in public for only 4 years, I believe that the advance in immunotherapy research will further improve the outcome of this treatment substantially.

 

The Progress of Developing Medicine in Thailand

                     Dr. Trairak mentioned that his center is developing their own antibody drug. They generate the antibody drug by immunizing mice and later screening for antibody-producing white blood cell clones that would secrete the proper mouse antibodies (Phase 1). They have to modify the mouse antibodies to make them as close to human antibodies as possible to avoid other side effects that the medicine would have on the human (Phase 2). However, some processes would require technical assistance from the overseas laboratory as specific skills are lacking in Thailand. Currently, they have found a potential antibody drug prototype that would worth to pursue further and are waiting for the next step of the process (Phase 2) to start.

                     Right now, Dr. Trairak has started fundraising for the immunotherapy project by asking Thai people to donate 5 baht each to the project. He has hoped that the fund would rise to 200 million baht within 1 year to get to the large-scale production step (Phase 3). If everything has gone according to plan, the antibody prototype will be produced at large scale (Phase 3: 18-24 months) and then studied on animals first (Phase 4: 20-24 months) then he would move to experiment on human subjects (Phase 5: 48-60 months) before getting an approval by Thai FDA and distributing the medicine out to be sold in hospitals in Thailand with the aim of pricing at 20,000 baht per dosage, if possible. The entire process would require at least 8-10 years with the total budget of at least 1,500 million baht. Currently, the funding has reached over 100 million baht, and the funding is increasing every day with the hope that they would reach Phase 3 of the developing process by the end of next year.

                    Dr. Trairak also recommends that everyone could start preventing many types of sickness by starting regular exercise and controlling body weight from now on which would help make our immune system stronger and could possibly preventing cancer from growing. The "Thai version" antibody drug is still in the early developing stage, but from what we have learned from Dr. Trairak, we have realized that, with the advancement in immunotherapy, we have finally see the light at the end of the tunnel for cancer curing.

 

Everyone Deserves a Chance to Survive from Cancer: How to support and make this cancer-curing project comes true?      

To make this medicine comes true for Thai cancer patients and contribute to the future endeavour of cancer immunotherapy research in Thailand, "Chulalongkorn Cancer Immunotherapy Excellence Center" open for donation with the following information:

408-004443-4 (saving account)

045-304669-7 (current account)

Bank: Siam Commercial Bank 

Branch: The Thai Red Cross Society

Account name: Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

Contact: https://www.facebook.com/CUCancerIEC/

Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Tel: 097-014-4978/ 088-902-2370/ 02-256-4183           

 

Authors & Photos:

Pinploy  Poonkham

Satida   Pichanusakorn

ตอนนี้ คงไม่มีใครจำคดีของจอห์นและอลิซ มาร์ติน ได้แล้ว ทั้งๆ ที่กรณีของสามีภรรยาคู่นี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของปูมประวัติศาสตร์การพัฒนาของเทคโนโลยีไร้สาย หรือ Mobile Technology ของโลก

เมื่อกว่า 2 ทศวรรษก่อน นายมาร์ติน นักการภารโรงของโรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองฟอร์ตไวท์ รัฐฟลอริดา และนางมาร์ติน ผู้ช่วยครูต่างก็มีส่วนร่วมในกิจกรรมของพรรคเดโมแครตในท้องถิ่นของตนอย่างแข็งขัน ทั้งสองมีงานอดิเรกที่ไม่ธรรมดา ครอบครัวมาร์ตินเผยว่าพวกเขาชอบดักฟังการสนทนาทางโทรศัพท์มือถือ โดยใช้เครื่องสแกนของตำรวจที่ซื้อจากร้าน Radio Shack

พวกเราในเมืองไทยหลายคนสมัยนั้น ก็มีงานอดิเรกแบบนี้เช่นเดียวกัน หลายคนมีความสุขกับการได้แอบฟังผู้คนจู๋จี๋ดู๋ดี๋กันทางอากาศ

ทว่า สมัยนั้น เรายังไม่ให้ค่ากับคำว่า “Privacy” หรือ “ความเป็นส่วนตัว” และ พรบ.คอมพิวเตอร์ ก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องไกลตัวมากนัก

วันหนึ่งในเดือนธันวาคม ปี 1997 หลังวิกฤติต้มยำกุ้งไม่นานนัก ครอบครัวมาร์ตินอ้างว่าสามารถดักจับบทสนทนาทางโทรศัพท์ “โดยไม่ได้ตั้งใจ” และบังเอิญว่ามีเครื่องบันทึกเสียงแบบพกพา จึงสามารถบันทึกการสนทนาระหว่าง นิวต์ กิงกริช ประธานสภาผู้แทนราษฎร และจอห์น โบห์เนอร์ ส.ส. ของรัฐโอไฮโอ (ซึ่งอยู่ที่ฟลอริดากับภรรยาของเขา) และเพื่อนสมาชิกพรรครีพับลิกันคนอื่น ๆ

การสนทนาทางโทรศัพท์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมสำหรับการไต่สวนสาธารณะ (Hearings) ในประเด็นด้านจริยธรรมเรื่องหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับกิงกริชซึ่งกำลังจะมาถึง เป็นการไต่สวนอย่างที่เราเห็นทางช่องเคเบิล C-SPAN เป็นประจำนั่นแหละ

สิ่งที่ครอบครัวมาร์ตินทำนั้นผิดกฎหมายของสหรัฐฯ ในขณะนั้น และห้วงเวลาที่เกิดเรื่องก็ไม่ใช่ความบังเอิญแต่อย่างใด

วันที่ 8 มกราคม ปี 1998 ครอบครัวมาร์ตินได้ส่งมอบซองเอกสารซึ่งประกอบด้วยบันทึกการสนทนาทางโทรศัพท์นั้นให้แก่ ส.ส. จิม แมคเดอร์มอตต์ แห่งรัฐวอชิงตัน ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคเดโมเดรตตำแหน่งสูงสุดที่อยู่ในคณะกรรมการด้านจริยธรรมของรัฐสภา (House Ethics Committee) ด้วยตัวเอง สองวันต่อมา รายละเอียดการสนทนาทางโทรศัพท์ดังกล่าว ก็ไปปรากฏหราอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์ New York Times

เรื่องนี้ส่งผลให้แมคเดอร์มอตต์มีส่วนพัวพันกับการเผยแพร่ข้อความการสนทนาทางโทรศัพท์มือถืออย่างผิดกฎหมาย และสิ่งที่ทำให้สถานการณ์น่าตื่นเต้นยิ่งขึ้นก็คือ เรื่องราวดังกล่าวถูกเปิดเผยวันเดียวกันกับที่คณะกรรมด้านจริยธรรมเริ่มแพร่ภาพการไต่สวนสาธารณะทางโทรทัศน์

สิ่งที่น่าขันก็คือ ครอบครัวมาร์ตินสาบานว่าตนไม่ทราบเลยว่ากำลังก่ออาชญากรรม ทว่าในจดหมายปะหน้าถึงแมคเดอร์มอตต์ ทั้งสองร้องขอการคุ้มกันไม่ให้ถูกฟ้องร้อง แต่ที่เด็ดกว่านั้นคือ
ทั้งสองถูกตัดสินว่ามีความผิดทางอาญาภายใต้กฎหมายความเป็นส่วนตัวของการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic 
Communications Privacy Act)

นอกจากนี้ ศาลยังพบว่าแมคเดอร์มอตต์มีความผิดจากการละเมิดสิทธิของจอห์น โบห์เนอร์ ตามบทบัญญัติเพิ่มเติมของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ของสหรัฐอเมริกา (First Amendment) และสั่งให้แมคเดอร์มอตต์จ่ายเงินแก่โบห์เนอร์เป็นจำนวนกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ

แต่สิ่งที่น่าเศร้าก็คือ แม้จะเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับการเมืองในวอชิงตัน แต่กรณีการดักฟังครั้งนั้น ก็เป็นการตีแผ่ให้สังคมวงกว้าง ได้ตระหนักถึงปัญหาเรื่องความปลอดภัยของการสื่อสารและสิทธิส่วนบุคคลของเราที่สังคมกำลังเผชิญอยู่

และกรณีนั้น ยังเป็นตัวเร่งให้มีการปรับปรุงเทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายไร้สายอย่างขนาดใหญ่

โทรศัพท์ที่ครอบครัวมาร์ตินดักฟังได้แบบง่ายดายนั้น ยังอยู่ในระบบเครือข่ายไร้สายรุ่นที่หนึ่ง (1G หรือ First Generation Mobile Technology) และก็อย่างที่เรื่องราวข้างบนเผยให้เห็น ตัวเทคโนโลยีเองก็มีข้อบกพร่องสำคัญบางประการ

มันเน้นให้เห็นถึงความจำเป็นที่ว่าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความเป็นส่วนตัว จะต้องสร้างนวัตกรรมเพื่อทำให้เครือข่ายไร้สาย นอกจากจะทำงานได้เร็วขึ้นแล้ว ยังจะต้องมีความปลอดภัยยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งนับแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ มันก็ได้นำมาสู่ความก้าวหน้าทางด้านการสื่อสารแบบไร้สายที่น่าประทับใจยิ่ง

ในรอบ 20 ปีมานี้ การเปลี่ยนแปลงในเชิงก้าวหน้าและประสิทธิภาพของเทคโนโลยีสื่อสารแบบไร้สายนั้น เป็นไปแบบก้าวกระโดด

ก้าวกระโดดซะจนทำให้ยักษ์ใหญ่ผู้ครองพื้นที่อยู่เดิมอย่างบรรดา เจ้าของเครือข่ายและให้บริการ “โทรศัพท์บ้าน” หรือ “Land Line” พากันเก็บกระเป๋า ม้วนเสื่อกลับบ้านกันหมด

ถ้าใครยังจำได้ ในระยะนั้น ประเทศไทยเอง ก็ได้มีอภิมหาเศรษฐีพ่อค้าไก่และอาหารสัตว์คนสำคัญ ที่คิดว่าตัวเองมีวิสัยทัศน์กว้างไกล จับธุรกิจอะไรก็สำเร็จ ขอให้มีแต่เส้นสายทางการเมืองและเงิน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของเทคโนโลยี เพราะคิดว่าหาซื้อได้ทั่วไปในโลก ได้กระโดดลงมาสู่ธุรกิจเทเลคอมฯ

น่าเสียดายที่เขาเลือกเทคโนโลยีผิด เพราะเขาทุ่มเทเงินและทรัพยากรจำนวนมหาศาลไปกับ Land Line ถึงขั้นทะเลาะเบาะแว้งกับนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นจนเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โต คุกรุ่นกันทั้งประเทศ ที่นายกรัฐมนตรีคนนั้นตัดแบ่งสัมปทานบางส่วนของเขาไปให้กับคนอื่น

ทั้งๆ ที่นั่น (มารู้ทีหลังว่า) เป็นการช่วยทางอ้อม ไม่ให้เขาเจ๊งมากยิ่งขึ้น

เขาหารู้ไม่ว่า หลังจากนั้นอีกไม่ถึง 20 ปี จะไม่มีใครใช้บริการ “โทรศัพท์บ้าน” กันอีกต่อไปแล้ว เป็นเหตุให้กิจการของเขาไม่สามารถฟื้นตัวได้ แม้ว่าจะพยายามอย่างไรก็ตาม

นับเป็น บาดแผลทางใจของเขามาจนกระทั่งบัดนี้

เหตุที่เป็นดังนี้ เพราะดีกรีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของ Mobile Technology นั่นเอง

อันที่จริง การสตรีมมิ่งวิดีโอ (การเล่นไฟล์วิดีโอโดยไม่ต้องดาวน์โหลด) การดาวน์โหลดไฟล์แบบไร้สาย หรือแม้แต่การทำวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราเห็นเป็นเรื่องปกติในปัจจุบันนั้น เกิดขึ้นได้ ก็เพราะความก้าวหน้าของการเชื่อมต่อแบบไร้สายนั่นเอง

ปัจจุบันโลกได้ประสบกับปัญหาที่เป็นความหายนะอีกครั้ง เหมือนตอนที่เรื่องราวการดักฟังโทรศัพท์ของครอบครัวมาร์ตินย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นของการอัปเกรดเทคโนโลยีไร้สายสมัยนั้น แต่ครั้งนี้ไม่ใช่การจารกรรมทางการเมือง ทว่าก็คงจะบีบบังคับอุตสาหกรรมให้ต้องอัปเกรดสาธารณูปโภคที่การสื่อสารสมัยใหม่ของเราต้องใช้กันอีกครั้ง

และมันจะต้องเป็นการสร้างสาธารณูปโภคครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ และเปิดโอกาสให้เราได้ร่วมลงทุนหรือเตรียมตัวสร้างสรรค์หรือสร้างบริการบนสาธารณูปโภคเครือข่ายใหม่นี้ได้แต่เนิ่นๆ

1 G

ก่อนที่จะเล่าให้ฟังเกี่ยวกับการก้าวกระโดดครั้งถัดไป เราควรทำความเข้าใจกันก่อนว่า กว่าจะมาถึงตอนนี้ เทคโนโลยีแบบไร้สายเคยอยู่ตรงจุดไหน และปัจจุบันอยู่ตรงไหนกันแล้ว

เทคโนโลยี 1G หรือ First Generation Mobile Technology ซึ่งใครก็ดักฟังโทรศัพท์ได้ และอภิมหาเศรษฐีผู้ค้าไก่และอาหารสัตว์มองข้ามในสมัยนั้น ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท Bell Labs ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักในชื่อ Advanced Mobile Phone System (AMPS) เป็นระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบแอนะล็อก (Analog) ซึ่งนำออกใช้งานครั้งแรกในเมืองชิคาโก เมื่อเดือนตุลาคม ปี 1983

พวกเราบางคนอาจยังพอจำโทรศัพท์เคลื่อนที่หน้าตาเหมือนก้อนอิฐอย่างที่เห็นในรูปประกอบนี้ได้ 

นั่นเป็นครั้งแรกที่สาธารณชนสามารถเข้าถึงบริการโทรศัพท์แบบไร้สายบนอุปกรณ์พกพา ซึ่งมีราคาแพงเช่นเดียวกับการบริการ และเป็นที่นิยมจากภาพยนตร์ต่างๆ เช่นเรื่อง Wall Street ที่มีดาราดังอย่าง ไมเคิล ดักลาส รับบทเป็นเจ้าพ่อการเงินมีฉากกำลังโทรศัพท์มือถือระหว่างเดินไปตามชายหาด

กรณีสามีภรรยามาร์ตินย้ำให้เห็นจุดอ่อนของเทคโนโลยีรุ่นที่หนึ่งนี้ มันง่ายต่อการสกัดและดักฟัง และถ้าเป็นผู้ที่มีความชำนาญหน่อย ก็สามารถใช้เครื่องมือพิเศษเพื่อโคลนนิ่งหมายเลขโทรศัพท์มือถือและใช้มันเพื่อ “ขโมย” แอร์ไทม์ (Airtime) ได้อย่างง่ายดาย

ช่วงนั้น AMPS มีความเร็วเพียง 10 กิโลบิตต่อวินาทีเท่านั้น ไม่น่าเชื่อว่ามันยังไม่ถึงหนึ่งในห้าของความเร็วของบริการอีเมลและบริการส่งข้อความของ America Online (AOL) สมัยก่อน ซึ่งสามารถ “แพร่กระจาย” ด้วยความเร็ว 56 กิโลบิตต่อวินาที

ขอยกตัวอย่างการเปรียบเทียบเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน บริการภาพยนตร์ทางออนไลน์ของ Netflix ปกติเมื่อสตรีมด้วยความเร็วต่ำสุด ก็ปาเข้าไปถึง 3,000 กิโลบิตต่อวินาทีแล้ว

ด้วยสปีดที่ค่อนข้างช้าของระบบ AMPS ทำให้การเชื่อมต่อไม่ดี เกิดปัญหาโทรศัพท์สายหลุด และปัญหาเครือข่ายคับคั่งบริเวณพื้นที่สาธารณะหนาแน่น เช่น สถานีรถไฟ สนามบิน หรือห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

แต่นั่นคือสิ่งที่มีให้ใช้ในสมัยนั้น เพราะความต้องการพื้นฐานสมัยนั้นคือ การให้บริการเพียงด้านเสียงหรือการพูดคุยสนทนา และให้ครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ เท่านั้นก็ถือว่าเป็นระบบเครือข่ายการสื่อสารขนาดใหญ่สุดเท่าที่โลกเคยเห็นมา และเวลานั้นสหรัฐอเมริกาคือผู้นำด้านการใช้เทคโนโลยีไร้สาย

แต่ก็อย่างที่พวกเราทราบกันดีอยู่แล้วว่า บัดนี้เราก้าวมาไกลจาก 1G มากแล้ว ไกลโขแล้ว

เครือข่ายไร้สายปัจจุบันคือรุ่นที่สี่ (4G หรือ Fourth Generation Mobile Technology) ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเปิดใช้งานวิดีโอคอนเฟอเรนซ์แบบเห็นหน้าเห็นตากันได้ แม้แต่สิวและไฝมีกี่เม็ดก็อาจสังเกตเห็นได้ นอกจากนั้นยังสามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้อย่างรวดเร็ว สตรีมมิ่งวิดีโอ และเล่นเกมแบบเรียลไทม์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในปัจจุบันรู้สึกว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่ย้อนไปเมื่อสมัยโน้น ต้องถือว่าเป็นอะไรที่ “อเมสซิ่ง” มากๆ

แต่มันก็ยังไม่หยุดอยู่ที่ตรงนี้ เพราะเรากำลังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลง จากที่ทำได้ในปัจจุบัน ก็กำลังจะก้าวกระโดดครั้งใหญ่ ไปอีกเป็นร้อยเท่า ซึ่งความน่าสนใจของมันอยู่ตรงนี้เอง

วิวัฒนาการสู่เทคโนโลยีไร้สายรุ่นที่ห้า

ปีนี้อุตสาหกรรมเริ่มสร้างสิ่งที่โลกไม่เคยเห็นมาก่อน นั่นคือ เครือข่ายไร้สายรุ่นที่ห้า (5G หรือ Fifth Generation Mobile Technology หรือ 5G Wireless Network) เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว มันน่าจะเป็นโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานด้านการสื่อสารขนาดใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ เป็นเครือข่ายซึ่งจะมีต้นทุนการสร้างทั่วโลกกว่า 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 60 ล้านล้านบาท ใหญ่กว่า GDP ของประเทศไทยกว่า 4 เท่าตัว

ก่อนอื่น เราอยากอธิบายบริบทเพื่อให้เห็นภาพว่าเหตุใด 5G จึงกำลังจะเป็นระบบสาธารณูปโภคด้านการสื่อสารที่เหลือเชื่อที่สุดในช่วงชีวิตของเรา ไม่เพียงเพราะมันจะเปลี่ยนแปลงชีวิตและช่วยให้เราทำสิ่งซึ่งไม่เคยทำได้มาก่อนเท่านั้น แต่แนวโน้มดังกล่าวยังเป็นโอกาสของการลงทุนที่ดีที่สุดครั้งหนึ่งที่เราจะได้เห็นในอีก 10 ปีข้างหน้า 

การเติบโตแบบทวีคูณของการจราจรของข้อมูลบนเครือข่ายไร้สาย

และนี้คือความสามารถของเทคโนโลยีแบบไร้สายแต่ละรุ่นนับแต่รุ่น 1G ในปี 1983 เป็นต้นมา

1G (ใช้ในทศวรรษ 80) เทคโนโลยีเซลลูลาร์แบบแอนะล็อก แบนด์วิดต์ต่ำ ออกแบบมาเพื่อการโทรศัพท์แบบเคลื่อนที่

2G (ใช้ในทศวรรษ 90) เทคโนโลยีเซลลูลาร์แบบดิจิทัล การโทรศัพท์เสียงดิจิทัล บริการ SMS (การส่งข้อความสั้นๆ ถือเป็นการให้บริการทั้งเสียงและข้อมูล)

3G (ใช้ในทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21) เทคโนโลยี CDMA (Code-Division Multiple Access) เริ่มแพร่หลาย คุณภาพเสียงในการโทรศัพท์สูงขึ้น ถือเป็นยุคแรกๆ ของการส่งวิดีโอคุณภาพต่ำบนอุปกรณ์พกพา และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

4G (ใช้ในทศวรรษที่สองของศตวรรษที่ 21 จนถึงปัจจุบัน) แบนด์วิดต์เพิ่มขึ้นอย่างมาก สามารถค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตและการสตรีมมิ่งวิดีโอคุณภาพสูง เทคโนโลยี Voice Over IP (โดยทั่วไปเป็นการโทรศัพท์ฟรีจากทุกมุมโลก โดยใช้บริการผ่านแอปพลิเคชัน เช่น Skype หรือ Line หรือแอปพลิเคชันการส่งข้อความต่างๆ)

จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นว่ามีการใช้เทคโนโลยีแบบไร้สายรุ่นใหม่ทุกๆ 10 ปี สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือ พอโลกมาถึงจุดที่สร้างระบบรองรับเทคโนโลยีรุ่นใดรุ่นหนึ่งเพิ่งจะเรียบร้อย ก็กลายเป็นว่ามันกำลังสร้างระบบเพื่อรองรับเทคโนโลยีรุ่นใหม่กว่า พร้อมๆ กันไปเลย

เหตุใดจึงมีความต้องการสร้างระบบสาธารณูปโภคเครือข่ายไร้สายอย่างต่อเนื่อง?

เพราะคำๆ เดียวคือ “ข้อมูล” (Data)

ทั้งผู้บริโภคและธุรกิจต่างมีความหิวกระหายต่อการบริโภคและส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายไร้สายมากขึ้นอยู่เสมอ ชาร์ตด้านบนแสดงจำนวนของข้อมูลและการจราจรของเสียงผ่านเครือข่ายไร้สายของโลกตั้งแต่ไตรมาสที่สามของปี 2012 เป็นต้นมา

สิ่งที่พึงสังเกตคือจำนวนของการจราจรทางเสียง (สีเทา) ค่อนข้างคงที่ตลอดช่วงห้าปีหลัง แต่ข้อมูล (สีแดง) เพิ่มขึ้นอย่างมาก เฉพาะในช่วงไตรมาสที่สามของปีที่แล้ว มีการส่งข้อมูลไปมาเกือบ 12 เอ็กซะไบต์ (Exabytes) ต่อเดือน

เอ็กซะไบต์คืออะไร? หนึ่งเอ็กซะไบต์คือจำนวนข้อมูลที่มีมากกว่า 100,000 เท่าของสิ่งพิมพ์ทั้งหมดที่อยู่ในห้องสมุดรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา (Library of Congress) รวมเลยทีเดียว

เป็นเรื่องยากสำหรับคนธรรมดาที่ไม่ได้เป็นนักคณิตศาสตร์ ที่จะคำนวณว่ามันเป็นจำนวนข้อมูลที่มากเพียงใด

แต่สิ่งที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจยิ่งกว่านั้นก็คือ อัตราการเติบโตแบบเปรียบเทียบกับปีก่อน แสดงให้เห็นว่าตัวเลขไตรมาสที่สามมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 63 เปอร์เซ็นต์ หมายความว่าในเวลาไม่ถึง 18 เดือน จำนวนข้อมูลจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตัว อีกครั้งและยังหมายถึงความคับคั่งเพิ่มขึ้นของเครือข่ายไร้สายด้วย

คุณเคยประสบปัญหาโทรศัพท์สายหลุดในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาไหม? หรือเวลาที่เรียกหมายเลขและพอมีคนรับสายแล้ว กลับไม่ได้ยินเสียงอีกฝั่งหนึ่ง? ปัญหาอินเทอร์เน็ตล่าช้า กว่าจะดาวน์โหลดหน้าเพจได้บ้างไหม? เรียกแอปหรือหน้าเพจแล้ว “หมุนอยู่นั่นแหละ” บางครั้งแทบจะดาวน์โหลดหรือส่งอีเมลของคุณไม่ได้เลย ใช่หรือไม่?

สาเหตุเกือบทั้งหมดมาจากความคับคั่งของเครือข่าย เหมือนกับการจราจรบนทางหลวงคับคั่งรถไม่ขยับเขยื้อนอย่างไรอย่างนั้น เป็นเพราะมีข้อมูลบนเครือข่ายไร้สายมากเกินไป จึงทำให้ชุดของข่าวสารข้อมูลดิจิทัล ไม่สามารถไปยังจุดหมายได้ในเวลาที่ต้องการ

ความเร็วของการดาวน์โหลดข้อมูลผ่านเครือข่ายไร้สายระบบ 4G โดยเปรียบเทียบ

สหรัฐอเมริกาไม่ใช่ผู้นำอีกแล้ว

สหรัฐอเมริกา ซึ่งเดิมพันด้วยตำแหน่งผู้นำด้านเทคโนโลยีเครือข่าย 1G และ 2G ของตน ร่วงหล่นกลายเป็นผู้ตามในรุ่น 3G และ 4G ดูได้จากชาร์ตด้านบน

จากชาร์ตจะเห็นว่าประเทศที่อยู่ในตำแหน่งรั้งท้ายได้แก่ สหรัฐอเมริกา ในอันดับที่ 55 ตามมาด้วยรัสเซีย, บัลแกเรีย, เวเนซูเอลา (ประเทศซึ่งกำลังอยู่ในภาวะล่มสลายทางเศรษฐกิจ) และ เปรู

เมื่อพิจารณาจากจำนวนข้อมูลอาจดูแล้วเข้าใจยาก จึงขอสรุปภาพคร่าวๆ ของความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลเป็นรายประเทศดังนี้

  • สิงคโปร์ 37 Mbps
  • โรมาเนีย 27 Mbps
  • ฟินแลนด์ 17 Mbps
  • กัวเตมาลา 13 Mbps
  • สหรัฐอเมริกา 10 Mbps

ใช่แล้ว ประเทศอย่างโรมาเนียและฟินแลนด์ยังแซงหน้าอเมริกา แม้แต่แดรกคูลาและกวางเรนเดียร์ (สัญลักษณ์ของทั้งสองประเทศ) ยังมีช่องทางโมบายอินเทอร์เน็ตที่เร็วกว่าสหรัฐฯ

แล้วมันสำคัญอย่างไร? เมื่อพิจารณาในระดับเศรษฐกิจ มันคือความได้เปรียบของการแข่งขันที่สำคัญ เพราะการทำงานและบริการในระบบดิจิทัล ส่วนใหญ่อยู่บนเครือมือถือหรือไร้สาย บริษัทหลายแห่งใช้กลยุทธ์ “Mobile First” (ปฏิบัติการในระบบมือถือหรือไร้สาย) ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญสูงสุดต่อการเข้าถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการผ่านอุปกรณ์พกพาเช่น สมาร์ตโฟน

ความลับที่น่ารังเกียจอย่างหนึ่งของซิลิคอนแวลลีย์คือ ความครอบคลุมของเครือข่ายไร้สายที่แย่ที่สุดในประเทศสหรัฐฯ กล่าวคือ มันมีจุดอับสัญญาณ (ครอบคลุมไม่ถึง) และจุดที่สัญญาณไม่ดีอยู่ทั่วไป เพราะ “คนพื้นที่” ซึ่งได้รับประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจจากการลงทุนในเทคโนโลยี จะสู้ไม่ถอยเพื่อหยุดยั้งการก่อสร้างหอหรือตั้งเสาสัญญาณเครือข่ายมือถือหรือไร้สาย เพราะไม่ต้องการเห็นหอสัญญาณไร้สายที่ “น่าเกลียด” ภายในและรอบๆ ย่านที่อยู่อาศัยของตน

เรื่องนี้สร้างความคับข้องใจแก่ชุมชนเทคโนโลยีซึ่งพยายามเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่พื้นที่ดังกล่าวอยู่ตลอดเวลา

ซิลิคอนแวลลีย์เป็นแค่ตัวอย่างหนึ่ง เพราะปัญหาเรื่องความคับคั่งของเครือข่ายได้แพร่ขยายไปทั่วประเทศ และในตลาดส่วนใหญ่ทั่วโลกแล้ว

ปัญหาเรื่องความเสียเปรียบในการแข่งขันยกระดับสู่แวดวงรัฐบาลระดับสูงสุดเลยทีเดียว

รัฐบาลทรัมป์และการเริ่มต้นของ 5G

เรื่องนี้มีความกระจ่างในเดือนมกราคม เมื่อประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศว่า มันคือเรื่องของความมั่นคงและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจระดับชาติ สหรัฐฯ น่าจะพิจารณาสร้างเครือข่าย 5G สาธารณะที่มีขนาดใหญ่หนึ่งเดียว แทนที่จะปล่อยให้อุตสาหกรรมทำให้มันล่าช้าด้วยการชะลอการเริ่มโครงการ (เนื่องจากค่าใช้จ่ายของการสร้างเครือข่ายดังกล่าวสูงมาก)

เช่นเคย สื่อมวลชนไม่ได้ให้ค่าต่อคำประกาศดังกล่าวมากนัก และวิพากษ์วิจารณ์การกำหนดทิศทางดังกล่าว โดยอ้างว่ามัน “ไม่ได้ผล” และไม่สอดคล้องกับทิศทางของ FCC (คณะกรรมาธิการการสื่อสารของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา)

อันที่จริงก็นับว่าเป็นการตัดสินใจที่ชาญฉลาด เพราะความตั้งใจนี้มีการไตร่ตรองไว้แล้ว ประธานาธิบดีและทีมของเขาต้องการกระตุ้นอุตสาหกรรม เพื่อเร่งรัดการลงทุนที่จำเป็น ที่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการสร้างเครือข่าย 5G ดังกล่าวนั่นเอง

การลงทุนที่ต้องการนั้นมีขนาดใหญ่มาก และเนื้อหาที่รัฐบาลสื่อถึงบรรดาผู้เล่นในอุตสาหกรรมนั้น ไม่มีอะไรซับซ้อน คือ “เริ่มสร้างเครือข่าย 5G ตั้งแต่บัดนี้ ไม่งั้นเราจะจัดการเอง”

แล้วมันก็ได้ผล...

Verizon เริ่มต้นลงทุนสร้างเครือข่าย 5G ในเมืองต่าง ๆ ทั่วสหรัฐฯ รวม 5 แห่ง แห่งแรก คือเมืองซาคราเมนโต รัฐแคลิฟอร์เนีย เมืองดังกล่าวจะเริ่มให้บริการได้ภายใน “ครึ่งหลังของปี 2018” ในขณะที่ AT&T ประกาศว่าบริษัทจะเริ่มให้บริการ 5G แก่ลูกค้าในเมืองต่างๆ สิบกว่าแห่งภายในสิ้นปีนี้ เช่น เมืองแดลลัส แอตแลนต้า และวาโก้ ในรัฐเท็กซัส

ส่วน T-Mobile ก็พยายามที่จะแซงหน้าคู่แข่งทั้งสองรายด้วยแผนการให้บริการแก่เมืองต่างๆ ร่วม 30 แห่งก่อนสิ้นปีนี้ ซึ่งรวมถึงนิวยอร์กและลอสแองเจลิสด้วย

ประเด็นของบทความนี้ก็คือ มันเป็นสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องรอจนถึง ปี 2020 จึงจะได้เห็นกัน หากแต่เกิดขึ้นในตอนนี้แล้ว และดำเนินไปตามลำดับเวลาที่ถูกเร่งรัดให้เร็วขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีไร้สายรุ่นก่อนหน้า

กิจกรรมทั้งหมดนี้ยังกระตุ้นให้เกิดการควบรวมกิจการของ T-Mobile และ Sprint เข้าด้วยกัน ทั้งสองคือผู้ให้บริการระบบเครือข่ายไร้สายอันดับสามและสี่ของตลาดสหรัฐฯ ตามลำดับ

หลายเดือนก่อน T-Mobile ประกาศว่าบริษัทจะซื้อ Sprint เป็นมูลค่า 26,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ความจริงก็คือไม่มีฝ่ายใดมีเงินพอที่จะสร้างเครือข่ายเพื่อแข่งขันกับ Verizon และ AT&T ได้โดยลำพัง

คือเมื่อพิจารณากันในรายละเอียดแล้ว กิจการทั้งสองไม่มีสมาชิกผู้ใช้บริการหรือเงินสดมากพอ แต่ถ้าร่วมมือกันก็มีความเป็นไปได้ และจะทำให้ตลาดมีการแข่งขันกันมากขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ข้อตกลงนี้จะต้องสำเร็จลงได้ และได้รับการอนุมัติแน่นอน

และเมื่อเครือข่าย 5G กลายเป็นความจริงแล้ว จะส่งผลต่อชีวิตของเราอย่างใหญ่หลวง

ระบบสาธารณูปโภคด้านการสื่อสารขนาดใหญ่สุดในประวัติศาสตร์

ผลกระทบทางเศรษฐกิจของการใช้เครือข่าย 5G ก็จะมีมากเช่นกัน เฉพาะตลาดสหรัฐฯ แห่งเดียว คาดว่าผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายของสหรัฐฯ (AT&T, Verizon, และT-Mobile/Sprint) จะใช้จ่ายเงินถึง 275,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น หมายความว่ามันจะส่งผลให้มีการสร้างงานสามล้านตำแหน่ง และการเติบโตของ GDP ถึง 500,000 ล้านเหรียญสหรัฐ... ใช่แล้ว เฉพาะในสหรัฐฯ แห่งเดียว

เมื่อพิจารณาในระดับโลก ยอดการลงทุนรวมน่าจะอยู่ที่ 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ยาวจนถึงปี 2025 พูดง่ายๆ ว่า มันคือระบบสาธารณูปโภคด้านการสื่อสารที่สำคัญที่สุด ใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา

ยอดการใช้จ่ายเพื่อการสร้างสาธารณูปโภคเครือข่ายไร้สาย 4G

และในทางปฏิบัติ มันจะมีความหมายต่อผู้บริโภคอย่างไร?

  • ความเร็วโดยทั่วไปของระบบ 5G จะสูงถึง 1 Gbps (กิกะบิตต่อวินาที) ซึ่งจะเร็วกว่าที่ผู้บริโภคสหรัฐฯ ใช้ระบบ 4G ในปัจจุบันถึง 100 เท่า ต่อให้มีความเร็วแค่ 100 Mbps (เมกะบิตต่อวินาที) ก็ยังถือว่าเร็วกว่าปัจจุบันถึง 10 เท่าอยู่ดี
  • รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตัวเองจะถูกเชื่อมต่อแบบเรียลไทม์ผ่านเครือข่ายไร้สายได้อย่างสบายๆ
  • บริษัทต่าง ๆ จะเริ่มนำร่องการใช้รถบรรทุกขับเองเพื่อการโลจิสติกส์ในที่พื้นที่ห่างไกล เช่นเดียวกับที่โดรน (อากาศยานไร้คนขับ) สามารถบินได้ไกลถึงครึ่งโลกผ่านการควบคุมด้วยเครือข่ายดาวเทียม
  • อุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดเซนเซอร์และส่งข้อมูลมาที่เราและระหว่างกันที่เราเรียกว่า IOT (Internet of Things) จะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งทุกอย่างจะเป็นไปได้
  • เราสามารถท่องอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์ระหว่างที่นั่งรถไฟความเร็วสูงถึง 310 ไมล์ต่อชั่วโมง (500 กม./ชั่วโมง)
  • ผู้บริโภคจะสามารถ “เข้าร่วม” การประชุมด้วยการฉายภาพโฮโลแกรมของตัวเองแบบเรียลไทม์ (ไม่ต้องเข้าประชุมด้วยตัวเอง) โดยไม่มีความหน่วงของภาพและเสียงแต่อย่างใด
  • เครือข่าย 5G ไม่มีปัญหาเรื่อง Latency (ความหน่วงหรือความล่าช้า) คาดว่าปัญหาดังกล่าวจะลดลงถึง 99 เปอร์เซ็นต์จากเดิม 100 มิลลิวินาที เหลือเพียงไม่กี่มิลลิวินาที ปัญหาเรื่องความหน่วงนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถผ่าตัดคนไข้ในพื้นที่ห่างไกลโดยใช้หุ่นยนต์ทำหน้าที่แทนได้ ด้วยการควบคุมผ่านเครือข่ายไร้สาย

เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายแบบ 5G จึงไม่ใช่วิวัฒนาการ แต่เป็นการปฏิวัติเลยทีเดียว

แล้วเราอยู่ตรงจุดไหนของกระบวนการ และเมื่อเปรียบเทียบกับการเปิดตัวของเครือข่ายไร้สาย 4G แล้วเป็นอย่างไร?

ปี 2011 คือปีสำคัญปีแรกอย่างแท้จริง เมื่อมีการลงทุนกับระบบสาธารณูปโภคไร้สายแบบ 4G อย่างแพร่หลาย ครั้นถึงตอนสิ้นปี 2011 มีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 285 รายทั่วโลก ลงทุนกับเทคโนโลยีเครือข่าย 4G

จากตัวเลขในกราฟข้างบน ท่านผู้อ่านคงเห็นแล้วว่า ทั้งโลกมีการใช้จ่ายเพื่อสร้างสาธารณูปโภค 4G ประมาณ 160,000 ล้านเหรียญสหรัฐ์ในปี 2011 และเพิ่มเป็น 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ์ต่อปี ในปี 2014 และ 2015 ตอนนี้คือเดือนกรกฎาคม ปี 2018 ในส่วนของระบบ 5G น่าจะเทียบได้กับช่วงต้นปี 2011

และนี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงจำเป็นต้องเริ่มลงมือวิเคราะห์เจาะลึกเรื่องนี้เสียแต่เนิ่นๆ ยิ่งถ้าคิดจะเอาประโยชน์จากเรื่อง 5G นี้ เรายิ่งต้องเริ่มเสียแต่ตอนนี้เลย ทั้งในแง่ของการออกแบบ Device ใหม่ๆ ที่จะมารองรับ หรือแอปพลิเคชันหรือบริการใหม่ๆ ที่จะ Utilize ฟังก์ชันของ Device รุ่นใหม่ได้อย่างเต็มศักยภาพ ฯลฯ หรือแม้แต่บรรดานักลงทุน ที่ต้องการจะสร้างพอร์ตการลงทุนกับกระแสใหม่ที่น่าตื่นเต้นนี้ เพราะถ้ารอไปอีกสองปีจนกระทั่งถึงวงรอบการลงทุนสูงสุดในปี 2020 และ ปี 2021 ก็จะช้าเกินไป สำหรับบริษัทเทคโนโลยีที่วางตำแหน่งตัวเองในพื้นที่นี้อย่างดีแล้ว คงจะได้เห็นมูลค่าหุ้นของตัวเองพุ่งสูงขึ้น สามารถทำเงินก้อนใหญ่กันไปบ้างแล้วในตอนนั้น

คาถาง่ายๆ ในการจับตาดูเฟสหรือระยะของโอกาสการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่เอี่ยมอย่าง 5G คือ “ขอ 3 คำ” ....Infrastructure, Devices, Services

ท่องไว้ให้ขึ้นใจ

กล่าวคือ เฟสที่ 1 ต้องเริ่มจากการก่อสร้างหรือวางระบบเครือข่ายทางกายภาพ (Physical Network Buildout) เป็นเฟสของการวางสาธารณูปโภคพื้นฐานทั้งหลาย เช่น เสาสัญญาณ หรือ เครือข่ายใยแก้วนำแสง และ อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เสาอากาศ, สถานีฐาน, เราท์เทอร์ และสวิตช์ชิ่ง

โดยเฟสที่ 2 เมื่อเครือข่ายเริ่มลงหลักปักฐานแล้ว ก็จะถึงคิวของการออกแบบ ผลิต และจำหน่าย บรรดา Devices หรืออุปกรณ์ไร้สายทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ตโฟน หรือ แท็บเล็ต ฯลฯ สำหรับใช้งานบนเครือข่าย 5G และชิ้นส่วนที่ใช้ประกอบภายใน Devices ใหม่นี้ย่อมต้องยกระดับไปจากของที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

และเมื่อนั้น โลกก็จะย่างเข้าสู่เฟสที่ 3 คือเฟสของการเติบโตทางด้านบริการ คือกิจการที่ให้บริการซึ่งใช้คุณสมบัติของเครือข่าย 5G นั่นเอง

ท่านผู้อ่านที่นำหลักการนี้ไปใช้ในการวิเคราะห์ของตัวเอง ก็จะไม่งง หรือหลงทาง อีกต่อไปว่า “5G” มันจะเดินยังไง และจะเอาประโยชน์จากมันได้อย่างไร นับแต่นี้

 

เรื่อง :   เรียบเรียงจากข้อเขียนของ เจฟ  บราวน์

Page 5 of 7
X

Right Click

No right click