ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประมาณรายได้ท่องเที่ยวไทยปี 2567 อยู่ที่ระดับ 2.75 ล้านล้านบาท จากการท่องเที่ยวในประเทศที่ฟื้นตัวสมบูรณ์ในฝั่งของรายได้ ในขณะที่กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติคาดว่านักท่องเที่ยวชาวจีนกลับมาเพียง 52% ของภาวะปกติจากแรงกดดันทางเศรษฐกิจภายในประเทศ และพฤติกรรมการเดินทางที่เริ่มเปลี่ยนตามโครงสร้างอายุและรายได้ แนะภาครัฐออกนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวให้เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวในแต่ละกลุ่มที่มีพฤติกรรมต่างกัน

 ในปี 2566 ที่ผ่านมานับเป็นความสำเร็จของการท่องเที่ยวไทยทั้งในมิติของนักท่องเที่ยวในประเทศที่สูงเป็นประวัติการณ์ที่ตัวเลข 254.4 ล้านคน-ครั้ง สร้างรายได้กว่า 8 แสนล้านบาท รวมถึงในฝั่งของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้ตามเป้าที่ทาง ttb analytics ประมาณการไว้ที่ 28 ล้านคน สร้างเม็ดเงินราว 1.4 ล้านล้านบาท ส่งผลให้ภาพรวมประเทศไทยสร้างเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวได้กว่า 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 73% เมื่อเทียบกับจุดสูงสุดเดิมที่ 3 ล้านล้านบาทในปี 2562 อย่างไรก็ตาม จำนวนเงินดังกล่าวหลุดเป้าไปราว 2 แสนล้านบาทจากที่ภาครัฐได้ตั้งเป้าไว้ที่ 2.4 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ตาม แม้การประมาณรายได้จากนักท่องเที่ยวที่พลาดเป้าในปีที่ผ่านมา ในปี 2567 นี้ ก็ยังเห็นมุมมองของภาครัฐที่ตั้งเป้านักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งในมิติของจำนวนที่คาดว่าจะสูงถึง 40 ล้านคนสร้างรายได้กว่า 2.5 ล้านล้านบาท เมื่อรวมกับรายได้จากการท่องเที่ยวในประเทศ จะสามารถสร้างเม็ดเงินได้สูงถึง 3.5 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นการตั้งเป้าหมายเพิ่มขึ้นกว่า 60% ทั้งที่รายได้จากปีก่อนก็ยังหลุดเป้าไปราว 10% โดยในมุมมองของ ttb analytics มีความเห็นว่าในปี 2567 นี้ ศักยภาพรายได้จากการท่องเที่ยวคาดว่าจะอยู่ที่ราว 2.75 ล้านล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้

1) กลุ่มนักท่องเที่ยวคนไทย ttb analytics ประเมินปี 2567 การท่องเที่ยวในประเทศยังสามารถสร้างประวัติศาสตร์เป็นปีที่ 2 ต่อเนื่องจากปี 2566 ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะสูงถึง 292.1 ล้านคน-ครั้ง บนพฤติกรรมการใช้จ่ายในการท่องเที่ยวต่อทริปลดลงจากภาวะค่าครองชีพและภาระทางการเงินที่สูงขึ้นลดทอนรายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง แต่จากการชดเชยของมิติเชิงจำนวนสามารถดันให้รายได้จากการท่องเที่ยวในประเทศคาดแตะระดับ 1 ล้านล้านบาท ได้อีกครั้งหนึ่ง บนรูปแบบของการท่องเที่ยวจากคนไทยดังนี้ 1) เทรนด์การเที่ยวแบบไปเช้าเย็นกลับ (One-Day Trip) โดยไม่พักแรมเพิ่มขึ้น สะท้อนผ่านจำนวนนักท่องเที่ยวในภาคกลาง และภาคตะวันตก ฟื้นตัวเทียบช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ที่ 136% และ 146% แต่รายได้กลับฟื้นตัวเพียง 103% และ 119% ตามลำดับ 2) นักท่องเที่ยวคนไทยมีแนวโน้มเที่ยวเมืองรองที่มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าเมืองหลักเพิ่มขึ้น เช่น จังหวัดเชียงราย น่าน แพร่ ในพื้นที่ภาคเหนือมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% และจังหวัดสตูล และนราธิวาส ในพื้นที่ภาคใต้มีตัวเลขนักท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 30-40% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 3) การปรับลดคืนค้างแรมลงโดยเฉพาะกลุ่มจังหวัดห่างไกล ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายที่ลดลงต่อทริป

โดยเฉพาะในกลุ่มภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สะท้อนผ่านเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวเทียบก่อนสถานการณ์โควิด-19 กลับมาที่ 58% และ 72% ในขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวฟื้นตัวในอัตราที่สูงกว่าที่ 100% และ 92% ตามลำดับ

2) ตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในปี 2567 คาดการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติจะอยู่ที่ 33.1 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 1.75 ล้านล้านบาท จากค่าเฉลี่ยในการใช้จ่ายต่อทริปที่คาดสูงขึ้นจากราคาที่พักที่ปรับตัวรับอุปสงค์ และแนวโน้มวันท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น โดยในรายละเอียดพบว่า กลุ่มนักท่องเที่ยวไม่นับรวมชาวจีน (Non-Chinese Travelers) คาดกลับมาใกล้เคียงช่วงก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 แต่ปัจจัยที่น่าจับตา คือการกลับมาของนักท่องเที่ยวชาวจีน (Chinese Travelers) ที่คาดยังไม่ฟื้นตัวสมบูรณ์ด้วยอัตราการกลับมาที่ราว 5.7 ล้านคน คิดเป็น 52% เมื่อเทียบกับจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนในช่วงก่อนเกิดโควิด-19 เนื่องจากแรงกดดันดังต่อไปนี้

2.1) แรงกดดันจากเศรษฐกิจภายในประเทศของจีน เช่น ปัญหาการว่างงานในคนอายุ 16-24 ปี ที่สูงเกินกว่า 20% ส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวหน้าใหม่ที่จะเดินทางออกนอกประเทศที่ลดลง ซึ่งตามสถิติจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ชี้นักท่องเที่ยวจากเอเชียตะวันออกกว่า 63% มีอายุต่ำกว่า 35 ปี รวมถึงความมั่งคั่งสุทธิที่ลดลงจากปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคการเงินที่ยังน่ากังวล ที่ส่งผลให้สินทรัพย์หรือรายได้ของชาวจีนบางกลุ่มลดลงจนอาจกระทบต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศ

2.2) จำนวนนักท่องเที่ยวที่ส่งสัญญาณเติบโตชะลอตั้งแต่ช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงปี 2560-2562 นักท่องเที่ยวชาวจีนเข้าไทยเพิ่มขึ้นที่ 6.5% ต่อปี ในขณะที่ ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ ยังรักษาอัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวชาวจีนได้สูงถึง 14% และ 20% ต่อปีตามลำดับ กอปรกับในปี 2566 พบนักท่องเที่ยวชาวจีนขาออกนอกประเทศภาพรวมฟื้นตัวกว่า 60%-65% ในขณะที่การกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนในไทยกลับฟื้นตัวเพียง 32% ของภาวะปกติ

2.3) ความดึงดูดในเรื่องของอัตราการท่องเที่ยวซ้ำ เนื่องจากตลาดท่องเที่ยวไทยเป็นตลาดที่เข้าถึงง่ายจากค่าใช้จ่ายต่อทริปที่ไม่สูง ส่งผลให้ตลาดไทยอยู่ในฐานะจุดหมายแรกของการเริ่มเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ (Entry Level) ที่อาจได้ประโยชน์ในระยะแรกแต่อาจเริ่มถูกตั้งคำถามถึงอัตราการท่องเที่ยวซ้ำ (Revisit Intention) เมื่อนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นตามช่วงเวลาอาจมีทางเลือกในการเดินทางไปยังประเทศอื่นเพิ่มมากขึ้น สะท้อนผ่านสัดส่วนของจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวจีนในปี 2562 มีสัดส่วนที่เท่ากันที่ 28% ในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวจีนในฝรั่งเศสที่มีสัดส่วนเพียง 3% แต่สามารถสร้างรายได้ให้การท่องเที่ยวเป็นสัดส่วนที่สูงถึง 7%

 โดยสรุป ttb analytics คาดว่าปี 2567 มูลค่าการท่องเที่ยวไทยจะมีมูลค่า 2.75 ล้านล้านบาทต่ำกว่าเป้าที่ภาครัฐได้วางไว้ที่ 3.5 ล้านล้านบาทหรือห่างจากเป้าหมายเกือบ 8 แสนล้านบาท แต่มองว่ายังมีศักยภาพดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากขึ้นในเชิงคุณภาพ หากมีการกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ให้ตรงตามกลุ่มให้ชัดเจน เช่น นักท่องเที่ยวจากเอเชียที่ไทยได้ประโยชน์จากการเดินทางที่สะดวกและค่าใช้จ่ายต่อทริปที่ต่ำ ภาครัฐควรตั้งเป้าหมายในการดึงดูดให้เกิดการท่องเที่ยวซ้ำ เช่น สิทธิประโยชน์ที่อาจมอบให้เมื่อมีการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ ในกรอบระยะเวลาที่กำหนด รวมถึงเร่งพัฒนาโครงข่ายคมนาคมให้สะดวก ปลอดภัย ที่สามารถเชื่อมกับภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมีความต้องการท่องเที่ยวซ้ำในภูมิภาคอื่น ๆ และในกลุ่มนักท่องเที่ยวยุโรป สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ที่มีสัดส่วนนักท่องเที่ยวที่อยู่อาศัยระยะยาวสูงโดยเปรียบเทียบอาจให้เป็นในรูปแบบสิทธิประโยชน์เรื่องการจัดหาที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ จัดหาบริการระบบประกันสุขภาพที่

ครอบคลุม รวมถึงในภาพรวมควรจัดตั้งหน่วยงานสายด่วนรับเรื่องร้องเรียนที่สามารถแก้ปัญหานักท่องเที่ยวต่างชาติถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างจริงจัง เพื่อยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวไทยให้ก้าวไปอีกระดับเพื่อสามารถส่งต่อบรรยากาศการท่องเที่ยวที่เป็นมิตร เพิ่มโอกาสการกลับมาเที่ยวซ้ำสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวอายุน้อย และโน้มน้าวให้นักท่องเที่ยวมีความประสงค์ที่จะอยู่อาศัยระยะยาว เพื่อโอกาสในการยกระดับให้การท่องเที่ยวไทยเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะยาว

นางพิทยา วรปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส กลุ่มงานการตลาดและสื่อสารองค์กร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมด้วย นางสาวเจนจิต ลัดพลี ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์กร และ นางสาวพัทธ์ธีรา อนันต์โชติพัชร ผู้บริหาร KTC World Travel Service เข้าพบนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าการททท.คนใหม่ ณ สำนักงานใหญ่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ถนนเพชรบุรี เมื่อเร็วๆนี้

ทั้งนี้ เคทีซี และ ททท. ได้มีการหารือร่วมกันถึงความร่วมมือที่จะผลักดันและสนับสนุนการท่องเที่ยวให้เติบโตอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวได้ตามที่คาดหมายไว้

“เคทีซี” มองการท่องเที่ยวไทยเริ่มกลับมาฟื้นตัว ส่งผลดีต่อการเช่ารถเพื่อการท่องเที่ยว เป็นที่นิยมมากขึ้น โดย 6 เดือนแรก ยอดการใช้จ่ายในหมวดรถเช่าเติบโตถึง 90% คาดการณ์ปลายปียังขยายตัวต่อ พร้อมจับมือ 17 พันธมิตร จัดแคมเปญเช่ารถขับรับไฮซีซั่น มองรถอีวีมาแรงเพราะประหยัดน้ำมัน หาที่ชาร์จสะดวก

นางสาววริษฐา พัฒนรัชต์ ผู้บริหารสูงสุด ฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย การเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ ส่งผลต่อการท่องเที่ยวไทยกลับมาฟื้นตัว และเป็นปัจจัยสนับสนุนต่ออุตสาหกรรมรถเช่า (Car Rent) เติบโตไปในทิศทางเดียวกัน โดยยอดการใช้จ่ายในกลุ่มรถเช่าช่วงเดือนมกราคม 2566 - มิถุนายน 2566 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ถึง 90% และคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องจนถึงสิ้นปี โดยครึ่งปีหลังมองว่าปัจจัยที่จะผลักดันให้ยอดการใช้จ่ายในกลุ่มรถเช่าขยายตัว คือการท่องเที่ยวช่วงไฮซีซั่น

“ ตอนนี้อุตสาหกรรมรถเช่ากลับมาฟื้นตัวตามการท่องเที่ยว และมองว่าช่วงครึ่งปีหลังยังโตต่อ เพราะเป็นช่วงไฮซีซั่นของไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยก็ชื่นชอบการเช่ารถ ทั้งขับเองและมีคนขับให้ ซึ่งเป็นเรื่องดีที่จะช่วยให้อุตสาหกรรมรถเช่าเติบโต” นางสาววริษฐากล่าว

สำหรับเคทีซีมีโปรโมชั่นร่วมกับผู้ให้บริการรถเช่าชั้นนำทั้งในและต่างประเทศรวม 17 แห่ง พร้อมมีโปรโมชั่นพิเศษ เช่น รับส่วนลดสูงสุด 30% เมื่อเช่ารถและใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซี หรือ ใช้คะแนน KTC FOREVER เท่ายอดใช้จ่าย แลกรับเครดิตเงินคืน 12%

“ปัจจุบัน การเช่ารถอีวีได้รับความนิยมมากขึ้น โดยสัดส่วนการเช่ารถยนต์ปกติอยู่ที่ 80% และรถอีวี 20% เพราะราคาค่าเช่าไม่สูงมาก เช่น รถยนต์ไฟฟ้า Ora Good Cat จาก Hertz Thailand หนึ่งใน

พันธมิตรของเรา หากใช้บัตรเครดิตเคทีซีจะได้ส่วนลด 30% ค่าเช่าจะอยู่ที่ราคา 707 บาท จากราคาปกติ 1,010บาท แต่การใช้รถอีวี ยังมีข้อจำกัด และเหมาะกับนักท่องเที่ยวในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เพราะสามารถหาที่ชาร์จได้สะดวก”

สำหรับพันธมิตร 17 แห่ง ประกอบด้วย เอแซ็ป คาร์ เร็นทัล (ASAP) / เอวิส คาร์ เร็นทัล ( AVIS) / บัดเจ็ท คาร์ เรนทัล (Budget) / บิซคาร์ เรนทัล (Bizcar Rental) / ชิค คาร์เร้นท์ (Chic Car Rental) / ไดรฟ์ฮับ (Drivehub) / ไดรฟ์ คาร์ เร้นทัล (Drive Car Rental) / ยุโรปคาร์ (Europcar) / ฮ้อปคาร์ (Haupcar) / เฮิร์ซ (Hertz) / คลูก (Klook) / ไพร์ม คาร์ เรนทอล(Prime Cars) / เร้นท์ คอนเนคเต็ด (Rentconnected) / เรนทัลคาร์ดอทคอม (Rentalcars.com) / ซิกท์ เรนท์ อะคาร์ (Sixt) / ทราเวลไอโก (TraveliGo) และ ทรู ลีสซิ่ง (True Leasing)

ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC 02 123 5000 หรือติดตามโปรโมชัน ของเคทีซีได้ที่ https://www.ktc.co.th หรือติดต่อศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ 

Airbnb แพลตฟอร์มท่องเที่ยวระดับโลก สำหรับจองที่พักและประสบการณ์ชุมชนอันโดดเด่นให้นักเดินทางได้ร่วมสัมผัสโดยปัจจุบันมีที่พักให้บริการกว่า 7,000,000 แห่ง

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click