เฟ้นหาคนรุ่นใหม่ที่พร้อมก้าวเป็นหนึ่งในผู้นำที่ผลักดันองค์กรในอนาคตพร้อมโอกาสในการทำงานใกล้ชิดกับผู้บริหารระดับสูงในทุกๆสายงานทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ผู้ได้รับคัดเลือกจะเข้าร่วมโครงการเป็นระยะเวลา 2 ปีโดยจะได้ทำงานที่ประเทศไทยเป็นระยะเวลา 18 เดือน และต่างประเทศอีก 6 เดือน โดยจะได้ทำงานแบบ Dynamic ในธุรกิจสตาร์ทอัพอีคอมเมิร์ซที่มาแรงที่สุด ณ ขณะนี้ ตั้งแต่การวางกลยุทธ์ พัฒนาแผนการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนฝึกทักษะการบริหารงานจากผู้บริหารผู้มากความสามารถอย่างใกล้ชิด

โอกาสดีๆอย่างนี้ อย่าปล่อยให้หลุดมือ!
สมัครเลย : https://grnh.se/a8336b2a2
#lifeatshopee
#ShopeeGLP
#ShopeeTH

กระทรวงพาณิชย์ จับมือ กลุ่มเซ็นทรัล จัดงาน “มหกรรมสินค้าชุมชนของเรา” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 ดันสินค้าชุมชนเจาะตลาดลูกค้ากลุ่มพรีเมียม ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรักสุขภาพและรักสินค้าไทย เบื้องต้นนำสินค้า 4 กลุ่ม : อาหารสด อาหารแปรรูป ของใช้ในบ้าน และเสื้อผ้า มาจำหน่ายในราคาสมเหตุสมผลโดยกลุ่มเกษตรกรจากแหล่งผลิตโดยตรง กำหนดจัดงานฯ 2 ครั้ง ในกรุงเทพมหานคร คาดจบงานฯ มียอดขายไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท สร้างรายได้กลับสู่ชุมชนไม่น้อยกว่า 150 ล้านบาท และต่อยอดธุรกิจขยายตลาดให้ชุมชนได้เพิ่มมากขึ้น ณ เซ็นทรัลเวิล์ด

นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า "กระทรวงพาณิชย์ ได้จับมือกับ กลุ่มเซ็นทรัล จัดงาน “มหกรรมสินค้าชุมชนของเรา ปี 2562” ซึ่งเป็นการจัดงานร่วมกันต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 (ตั้งแต่ปี 2555) ภายใต้คอนเซป “ฟาร์มอินทาวน์ (Farms in Town)” มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมให้แก่กลุ่มเกษตรกรแต่ละชุมชน โดยเน้นการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างชุมชน และสร้างคุณภาพชีวิต เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี ผลักดันให้ชุมชนเกิดการรวมตัวกัน พัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบ ร่วมสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่ยอมรับของตลาดและผู้บริโภค ตลอดจนสามารถขยายตลาดจากชุมชนเข้ามาสู่เมืองใหญ่ ซึ่งสามารถสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในระยะยาว"

“การจัดงานในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการนำเสนอสินค้าของแต่ละชุมชนให้เป็นที่รู้จักแล้ว ยังต้องการผลักดันสินค้าชุมชนให้สามารถเจาะตลาดลูกค้ากลุ่มพรีเมียม พร้อมตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรักสุขภาพและรักสินค้าไทยเพิ่มมากขึ้น โดยได้นำสินค้า 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) อาหารสด กลุ่มผัก/ผลไม้สดคุณภาพเยี่ยม ปราศจากสารพิษและสินค้าออแกนิค 2) อาหารแปรรูป 3) ของใช้ในบ้าน และ 4) เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม โดยสินค้าของทั้ง 4 กลุ่ม มาจาก 48 ชุมชนทั่วประเทศ ซึ่งผ่านการคัดสรรเป็นอย่างดีสำหรับผู้บริโภค และจำหน่ายในราคาที่สมเหตุสมผลโดยกลุ่มเกษตรกรจากแหล่งผลิตโดยตรง นอกจากนี้ ผู้เข้าเยี่ยมชมงานฯ จะได้พบกับ “ชุมชนต้นแบบ” ที่มีความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน โดยน้อมนำพระราชดำรัสปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตทั้งในระดับครอบครัวและชุมชน”

“งานมหกรรมสินค้าชุมชนของเรา ปี 2562 กำหนดจัดขึ้น 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 13 - 18 มิถุนายน 2562 ณ ลานเซ็นทรัลคอร์ด และ ลานอีเดน ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิล์ด กรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 15 - 20 สิงหาคม 2562 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า พระราม 3 กรุงเทพมหานคร โดยคาดว่าหลังจบงานฯ ทั้ง 2 ครั้ง จะมียอดขายไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท สร้างรายได้กลับสู่ชุมชนไม่น้อยกว่า 150 ล้านบาท มีการเชื่อมโยงต่อยอดธุรกิจให้แก่กลุ่มชุมชนในการขยายตลาดได้เพิ่มมากขึ้น และมีการขยายกลุ่มชุมชนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์และยกระดับรายได้สู่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง”

การจัดงานมหกรรมสินค้าชุมชนของเรา เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคสังคม ซึ่งเป็นการบูรณาการการทำงานในลักษณะ “ประชารัฐ” เพื่อขยายและยกระดับช่องทางการตลาดแก่สินค้าชุมชนของไทยให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น และพร้อมที่จะส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ รวมทั้ง เป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้มีความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

ปลัดกระทรวงฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า “ขอเชิญชวนผู้บริโภคทุกท่านร่วมอุดหนุนสินค้าชุมชนของไทยภายในงานมหกรรมสินค้าชุมชนของเรา ทั้ง 2 ครั้ง ซึ่งไม่เพียงแต่ทุกท่านจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนสินค้าชุมชนของไทยแล้ว ยังเป็นการช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของกลุ่มเกษตรกรให้ดีขึ้น ซึ่งกลุ่มเกษตรกรถือเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดของประเทศ ดังนั้น เมื่อกลุ่มเกษตรกรมีสถานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจท้องถิ่นและเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้นตามลำดับไปด้วย”

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ ได้ร่วมกับ กลุ่มเซ็นทรัล ในการให้ความรู้ด้านต่างๆ แก่กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการขยายช่องทางการตลาดเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าชุมชนได้โดยง่าย และได้มีการใช้ช่องทางการตลาดของแต่ละองค์กรเป็นศูนย์กลางในการช่วยกระจายสินค้าชุมชนออกสู่ท้องตลาด ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ใช้ช่องทางการกระจายสินค้าผ่านโครงการต่างๆ เช่น ธงฟ้าประชารัฐ ร้านค้าส่งค้าปลีกต้นแบบที่ได้รับการส่งเสริมจากกระทรวงพาณิชย์ ฯลฯ ในส่วนของกลุ่มเซ็นทรัล ใช้ช่องทางการตลาด เช่น ท็อปมาร์เก็ต ท็อปซูเปอร์สโตร์ ท็อปเดลี่ เซ็นทรัลฟู๊ดคอร์ท ไทวัสดุ ฯลฯ ในการกระจายสินค้า ซึ่งจนถึงปัจจุบันมีชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการฯ แล้วกว่า 150 ชุมชน และมีสินค้ากว่า 2,200 รายการ โดยสามารถสร้างรายได้กลับสู่ชุมชนได้มากกว่า 1,300 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2563 จะมีชุมชนเข้าร่วมโครงการฯ เพิ่มเป็น 160 - 170 ชุมชน ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ” 

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเครือข่ายพันธมิตรพัฒนาเมือง “City Development Alliance: CDA” ซึ่งสมาคมการผังเมืองไทย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศิลปากร และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เพื่อสนับสนุนทางวิชาการให้กับการพัฒนาเมือง ร่วมกันสร้าง ค้นหา และ ออกแบบความรู้ร่วมกัน พัฒนานโยบายทางด้านการพัฒนาเมืองของประเทศไทย ได้กำหนดแผนการดำเนินงานขึ้นในพื้นที่นำร่อง 19 เมือง 

ทั้งนี้ มข.จะทำหน้าที่เป็นประธานเครือข่าย เพื่อขับเคลื่อนตามกรอบแนวทางการพัฒนาเมืองโดยมีกฎบัตรของเมืองต่างๆนั้นเป็นหัวใจหลักในการพัฒนา ซึ่งมข.และมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมดำเนินการตามโครงการดังกล่าวนี้จะนำหลักวิชาการและองค์ความรู้ด้านวิชาการ นำมาถ่ายทอดและต่อยอดจากสิ่งที่แต่ละเมืองนั้นได้ดำเนินการอยู่แล้ว ซึ่งทุกเมือง และทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เข้าร่วมตามแผนการดำเนินงานดังกล่าวนี้นั้นจะได้ร่วมแลกเปลี่ยนและนำเสนอในสิ่งที่มี สิ่งที่ขาดและสิ่งที่ต้องการบนพื้นฐานที่เกิดขึ้นจากความต้องการของคนในพื้นที่อย่างแท้จริง มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมสนับสนุนการพัฒนาเมืองตามแนวทางเมืองอัจริยะ และได้กำหนดเป็นประเด็นยุทธศาสตร์หนึ่งในการบริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น

“ขณะนี้มีเมืองต่างๆ จำนวน 19 แห่ง ที่ประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบริษัทพัฒนาเมือง ที่เข้าร่วมกับการดำเนินงานตามกรอบความร่วมมือดังกล่าว จากนี้ไปคณะทำงานร่วม 6 หน่วยงานหลักจะลงพื้นที่เพื่อเปิดเวทีสาธารณะ ในการรับฟังความคิดเห็นและความต้องการ และสิ่งที่คนในชุมชนนั้นอยากที่จะนำเสนอและอยากให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งบริบทของแต่ละพื้นที่ทั้ง 19 เมืองนั้นล้วนแตกต่างกันไปแต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือ คนในชุมชนนั้นมีความเข้มแข็ง มีการรวมกลุ่ม มีการร่วมกันวางแผน ยุทธศาสตร์ ด้วยข้อตกลงร่วมกันของสังคม ซึ่งเรียกกันว่า “กฎบัตร” ซึ่งเป็นรูปแบบการพื้นฟูพัฒนาเมือง และพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ดังนั้นวันนี้จึงเป็นมิติใหม่ในการพัฒนาเมืองที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือจากภาควิชาการที่เข้าไปสนับสนุนการทำงานในพื้นที่นำร่อง 19 เมืองที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ไป”

ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี โดย นายวิชาญ เจริญกิจสุพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทผลิตภัณฑ์กระดาษไทย จำกัด ผนึกกำลัง เทสโก้ โลตัส โดย นางสาวสลิลลา สีหพันธุ์ ประธานกรรมการฝ่ายกิจการบรรษัท เทสโก้ โลตัส ในงาน Rethink Packaging คิดใหม่ ทำใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม”

เพื่อประกาศยกเลิกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากโฟมทั้งหมดของเทสโก้ โลตัส ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2562 เป็นต้นไป พร้อมเพิ่มความเข้มข้นของการดำเนินนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยโครงการแบบครบวงจรและมุ่งสู่การสร้างระบบปิดของบรรจุภัณฑ์ (closed loop system) ภายใต้กลยุทธ์ 3R (Redesign, Reduce, Recover & Recycle) โดยมี นายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกียรติร่วมงาน

สำหรับความร่วมมือระหว่างเอสซีจี และเทสโก้ โลตัส ครั้งนี้ มีตั้งแต่การจำหน่ายบรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแบรนด์เฟสท์ (Fest) จากเอสซีจี ให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบรรจุภัณฑ์ที่เป็นทางเลือกได้อย่างสะดวกสบาย เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานจากกล่องโฟมหรือบรรจุภัณฑ์ที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้มากขึ้น

นอกจากนี้ เอสซีจียังให้บริการนำบรรจุภัณฑ์กระดาษใช้แล้วที่เก็บรวบรวมจากสาขาเข้าสู่ศูนย์กระจายสินค้าเทสโก้ โลตัส ไปรีไซเคิลและผลิตเป็นถุงกระดาษสำหรับใช้แทนถุงพลาสติกอีกด้วย จึงนับเป็นความร่วมมือที่เอสซีจี และเทสโก้ โลตัส ประสานพลังในการส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ตอบสนองทั้งฟังก์ชั่นการใช้งานของผู้บริโภค และตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนของเอสซีจี หรือ SCG Circular Way

 

NSI นำสินประกันภัย ห่วงคนไทยเป็นไข้เลือดออกหน้าฝน ออกกรมธรรม์คุ้มครองชดเชยรายได้แบบเหมาจ่าย เพื่อให้คนไทยมีหลักประกันความเสี่ยงในราคาประหยัด เบี้ยประกันภัยเริ่มต้นเพียง 99 บาท มีความคุ้มครองให้เลือกถึง 5 แผน เจ็บป่วยนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเวชกรรมแค่คืนเดียวก็ได้รับเงินชดเชยเต็มวงเงินเอาประกันภัยสูงสุดถึง 5 หมื่นบาท

นายสมบุญ  ฟูศรีบุญ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ NSI  ได้กล่าวแสดงความเป็นห่วงสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกในขณะนี้อันมีต้นเหตุมาจากยุงลายที่มักแพร่พันธุ์ในช่วงฤดูฝน เนื่องจากมีน้ำท่วมขังในแหล่งน้ำเน่าเสียหรือภาชนะต่างๆ ในบริเวณบ้านหรือเขตชุมชนต่างๆ ซึ่งข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขแจ้งล่าสุด (11 มิ.ย.) พบผู้ป่วยแล้ว 2 หมื่น 8 พันราย มีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกหรือเชื้อไวรัสเด็งกี่แล้ว 43 ราย ดังนั้นจึงอยากเชิญชวนให้ลูกค้าของนำสินประกันภัยและประชาชนทั่วไปช่วยกันหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไข้เลือดออกด้วยการช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายทั้งยุงลายบ้านและยุงลายสวน เพื่อลดปริมาณยุงให้น้อยที่สุด

ด้วยความเป็นห่วงเรื่องความเสี่ยงที่ประชาชนคนไทยและลูกค้าจะได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อไวรัสและป่วยเป็นไข้เลือดออกจนต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลซึ่งอาจมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูง บริษัทนำสินประกันภัย จึงได้ออกกรมธรรม์ “ประกันภัยไข้เลือดออก” ซึ่งเป็นกรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพแบบเหมาจ่ายเฉพาะโรคไข้เลือดออกขึ้นมาเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายและสร้างความอุ่นใจให้กับทุกคนในครอบครัว โดยให้ความคุ้มครองกรณีที่ต้องเข้าพักรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน (IPD) จากโรคไข้เลือดออกที่เกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่ ในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเวชกรรม ไม่น้อยกว่า 1 วัน ผู้เอาประกันภัยจะได้รับผลประโยชน์ชดเชยรายได้ระหว่างการรักษาตัวเป็นเงินก้อนตามทุนประกันภัย สูงสุดถึง 50,000 บาท ซึ่งมีแผนความคุ้มครองให้เลือกหลากหลาย เหมาะกับทุกเพศทุกวัย จำนวน 5 แผน เบี้ยประกันภัยเริ่มต้นที่ 99 บาทต่อปี จนถึง 495 บาทต่อปี  ทั้งนี้จะรับประกันภัยตั้งแต่อายุ 1 – 60 ปี และสามารถต่ออายุกรมธรรม์ได้ถึง 65 ปี  สนใจติดต่อตัวแทนและสาขานำสินประกันภัยได้ทั่วประเทศ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ NSI Call Center 0 2017 3333

X

Right Click

No right click