กรุงเทพฯ 24 พฤษภาคม 2566 – วันนี้อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) บริษัทในเครือ Amazon.com ประกาศเปิดตัวโครงการ AWS re/Start ในประเทศไทย โปรแกรม AWS re/Start เป็นโปรแกรมพัฒนาทักษะบุคลากรโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งจะเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ว่างงานหรือบุคคลที่ประกอบอาชีพไม่เต็มเวลา ให้มีความพร้อมสำหรับอาชีพใหม่ในด้านคลาวด์คอมพิวติ้ง และมอบโอกาสในการสัมภาษณ์งานกับผู้ว่าจ้างที่สนใจให้แก่ผู้เรียน โปรแกรมนี้เปิดสอนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และผู้เรียนไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีมาก่อนในการสมัคร

การวิจัยของ Gallup ซึ่งดำเนินการโดย AWS แสดงให้เห็นว่า 94% ของพนักงานที่ไม่ได้ทำงานด้านเทคโนโลยีในประเทศไทย มีความสนใจอย่างมากหรือมากที่สุดในการรับการฝึกอบรมในทักษะดิจิทัลอย่างน้อยหนึ่งทักษะ เช่น ความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ (cybersecurity) ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) และวิทยาการหุ่นยนต์ (robotics) อย่างไรก็ตาม 53% ของพนักงานที่ไม่ได้ทำงานด้านเทคโนโลยีกล่าวถึงอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการไม่มี เพื่อแก้ไขอุปสรรคนี้ AWS re/Start ให้การฝึกอบรมโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งแบบเข้าห้องเรียนหรือแบบออนไลน์เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ และสนับสนุนผู้เรียนในช่วงเริ่มต้นอาชีพใหม่ด้านคลาวด์

โปรแกรมนี้ครอบคลุมทักษะพื้นฐานด้านคลาวด์ของ AWS และทักษะอาชีพที่จำเป็นอื่น ๆ เช่น เทคนิคการเขียนประวัติส่วนบุคคลและการสัมภาษณ์งาน ผ่านการฝึกปฏิบัติในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สถานการณ์จำลอง การนำไปใช้งานจริง การเรียนรู้ในห้องปฏิบัติการและผ่านหลักสูตร ให้ผู้เรียนสร้างความรู้และทักษะเกี่ยวกับ Linux, Python, ระบบเครือข่าย, ความปลอดภัย และฐานข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน โปรแกรมนี้จะเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเข้าสู่บทบาทในงานด้านคลาวด์ในระดับเริ่มต้น เช่น การใช้งาน ความเสถียรของเว็บไซต์ การดูแลโครงสร้างพื้นฐาน และอื่น ๆ

โปรแกรม AWS re/Start ยังครอบคลุมค่าใช้จ่ายสำหรับผู้เข้าร่วมในการสอบใบรับรอง AWS Certified Cloud Practitioner เพื่อให้พวกเขาสามารถรับรองทักษะด้านคลาวด์ของตนเองด้วยประกาศนียบัตรที่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรม ตามข้อมูลจาก Gallup มีองค์กรผู้ว่าจ้างในประเทศไทย 92% กล่าวว่าการรับรองด้านดิจิทัลหรือหลักสูตรการฝึกอบรมเป็นทางเลือกที่ยอมรับและสามารถทดแทนปริญญาตรีได้

โปรแกรม AWS re/Start ในประเทศไทย จะเปิดรับไปทั่วประเทศโดยความร่วมมือขององค์กร xLab ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพฯ บริษัทนี้เป็นที่รู้จักในด้านการช่วยให้ธุรกิจไทยแบบดั้งเดิมค้นพบโอกาสทางดิจิทัล และเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัล AWS re/Start จะทำงานร่วมงานกับ xLab เพื่อเชื่อมโยงผู้เรียนที่สำเร็จการฝึกอบรมในโปรแกรมกับผู้จ้างงานที่มีความสนใจ

 

คุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ Country Manager ของ AWS ประเทศไทย กล่าวว่า “เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยขยายตัวมากขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่ความต้องการในการนำคลาวด์มาใช้งานยังคงเพิ่มขึ้นมากกว่าจำนวนบุคลากรใหม่ ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านคลาวด์ ส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ มีความยากลำบากในการหาบุคคลากรที่มีความรู้และทักษะในการใช้คลาวด์ ผลการศึกษาของ Gallup เปิดเผยว่า 94% ของธุรกิจในประเทศไทย กล่าวว่าการว่าจ้างพนักงานด้านดิจิทัลที่ต้องการนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทาย ซึ่งโปรแกรม AWS re/Start จะนำผู้ที่มีความสามารถใหม่ ๆ จากอุตสาหกรรมต่าง ๆ มาพัฒนาความรู้และทักษะให้กับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีหรือมีประสบการณ์เพียงเล็กน้อย และช่วยให้พวกเขาเริ่มต้นอาชีพด้านคลาวด์ เรามีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับ xLab ในการมอบโอกาสนี้ให้แก่คนไทยได้มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมที่น่าตื่นเต้นและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง”

 

คุณลอยด์ วัฒนโฆวรุณ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของ xLab กล่าวว่า “เป้าหมายสูงสุดของ xLab คือการกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศไทยด้วยการบ่มเพาะกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีที่มีทักษะมากพอที่จะรับมือกับปัญหาการขาดแคลนทักษะในปัจจุบันได้ เรามีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับโปรแกรม AWS re/Start ในการฝึกอบรมทักษะด้านคลาวด์ ให้การสนับสนุน และโอกาสในการจ้างงานแก่คนไทยที่มีความสามารถทั่วประเทศ”

G-Able และ NTT Thailand ซึ่งเป็น AWS Partners มีแผนที่จะสัมภาษณ์และว่าจ้างผู้สำเร็จการศึกษาจากโปรแกรม AWS re/Start เข้ามาทำงานในตำแหน่งงานต่าง ๆ บริษัททั้งสองจะร่วมมือกับ xLab เพื่อมองหาผู้มีความสามารถและหาโอกาสในการจ้างงานให้พวกเขา

 

คุณฐิติกานต์ กฤษณวิภาคพร รองประธานบริหารอาวุโสฝ่ายทรัพยากรบุคคลของ G-Able กล่าวว่า “เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในประเทศไทย เราจึงมุ่งมั่นที่จะมอบโอกาสในการพัฒนาทักษะให้กับผู้ที่มีความสามารถที่หลากหลาย และเชื่อว่าโปรแกรมอย่าง AWS re/Start จะช่วยเร่งการเติบโตและเป็นแนวทางสู่อนาคตของเทคโนโลยีและระบบคลาวด์ เราตั้งตารอที่จะร่วมมือกับ AWS เพื่อสร้างกลุ่มบุคลากรที่มีความสามารถในการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของประเทศไทยในปัจจุบันและอนาคต”

คุณสุทัศน์ คงดำรงเกียรติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร NTT ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ที่ NTT (Thailand) Limited เราทราบดีว่าเราต้องมุ่งเน้นการระบุและสนับสนุนผู้ที่ต้องการเปลี่ยนมาทำงานในด้านคลาวด์ เพื่อเร่งการเติบโตของอุตสาหกรรมคลาวด์ เรามีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับ AWS เพื่อช่วยลดช่องว่างด้านทักษะดิจิทัลในประเทศไทย โปรแกรม AWS re/Start เป็นส่วนสำคัญในการดึงดูดผู้ที่มีความสามารถจากกลุ่มที่ขาดโอกาสและนำพาพวกเขาไปสู่แถวหน้าของอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี”

ปัจจุบันโปรแกรม AWS re/Start ได้เปิดตัวไปแล้วในกว่า 180 เมืองใน 60 ประเทศทั่วโลก ในช่วงระยะเวลา 18 เดือนที่ผ่านมา AWS ได้มุ่งเน้นไปที่การเติบโตของโปรแกรมในภูมิภาคอาเซียน และมีการเปิดตัวที่ประสบความสำเร็จในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม ด้วยความร่วมมือกับเครือข่ายองค์กรต่าง ๆ ในแต่ละประเทศ

 

คุณสุทธิกานต์ สุรนันท์ นักออกแบบกราฟิกและผู้ดูแลสำนักงานจากกรุงเทพฯ ที่ปัจจุบันเป็นผู้ว่างงาน กล่าวว่า “ดิฉันสนใจที่จะเข้าร่วมโปรแกรม AWS re/Start เนื่องจากเป็นโอกาสสำหรับตัวเอง ที่ไม่ได้เรียนด้านไอทีหรือทำงานในสายงานด้านเทคนิคมา ที่จะได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ และมีโอกาสก้าวหน้าไปสู่การพัฒนาอาชีพในด้านคลาวด์ได้ ดิฉันมั่นใจว่างานในสายงานนี้เป็นที่ต้องการสูงและจะยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปในอนาคต สิ่งที่ดีที่สุดคือโปรแกรมนี้ให้การฝึกอบรมโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ดังนั้นดิฉันจึงตัดสินใจใช้โอกาสนี้เพื่อเรียนรู้ทักษะด้านคลาวด์และลงทุนในตัวเอง”

ผู้เรียนที่เข้าร่วมในโปรแกรม AWS re/Start Thailand กลุ่มแรกในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม หลังจากการประกาศเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ AWS Asia Pacific (Bangkok) Region เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ที่ประกาศแผนการลงทุนในประเทศไทยประมาณ 190,000 ล้านบาท (5 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ภายในระยะเวลา 15 ปี การฝึกอบรมทักษะดิจิทัลเป็นส่วนสำคัญของการลงทุนครั้งนี้ด้วย เพื่อให้ผู้ว่าจ้างและบุคลากรทั้งในภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีคลาวด์ได้อย่างเต็มที่ เพื่อส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจและอาชีพ เพิ่มผลผลิตและนวัตกรรม และสนับสนุนความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศในยุคดิจิทัล ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2560 เป็นต้นมา AWS ได้ฝึกอบรมทักษะด้านคลาวด์ให้แก่บุคลากรในประเทศไทยไปแล้วกว่า 50,000 คน และมุ่งมั่นที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถลดช่องว่างด้านทักษะด้วยโปรแกรมการฝึกอบรมและการรับรองของ AWS

สามารถเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ AWS re/Start หรือสมัครเข้าร่วมโปรแกรมนี้ในประเทศไทยได้ที่นี่

GWS CLOUD และ ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) สนับสนุน Cubinet ช่วยให้ผู้เล่นได้รับประสบการณ์การเล่นเกมที่เร็วยิ่งขึ้น ด้วยเวลาตอบสนองที่รวดเร็วเชื่อถือได้และ latency ต่ำ เพื่อประสบการณ์ที่ดีที่สุดของชุมชนเกมเมอร์ออนไลน์

อุตสาหกรรมวิดีโอเกมมีการเติบโตอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากข้อมูลสถิติในปัจจุบัน มีจำนวนผู้เล่นวิดีโอเกมทั่วโลกมากถึง 3.24 พันล้านคน หรือมากกว่า 40% ของจำนวนประชากรทั่วโลก และในทวีปเอเชียเพียงแห่งเดียวมีจำนวนผู้เล่นเกมอยู่เกือบถึง 1.5 พันล้านคน ส่งให้ทวีปเอเชียก้าวสู่การเป็นตลาดเกมที่ใหญ่ที่สุดในโลก

จากการเป็นงานอดิเรกของคนเฉพาะกลุ่ม วิดีโอเกมได้กลายมาเป็นหนึ่งในตลาดที่มีมูลค่าสูงสุดในอุตสาหกรรมบันเทิง ปัจจุบันอุตสาหกรรมวิดีโอเกมมีมูลค่ามากถึง 197.11 พันล้านดอลลาร์ และตัวเลขนี้คาดว่าจะเติบโตสูงยิ่งขึ้นไปอีกในไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ทำให้ความนิยมในการเล่นวิดีโอเกมเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยผู้คนหันมาเล่นวิดีโอเกมเพื่อความบันเทิงในขณะอยู่ที่บ้าน

แม้ว่าแนวโน้มการซื้อวิดีโอเกมจะกลับมาเป็นปกติในปี 2565 แต่อุตสาหกรรมนี้ยังคงเป็นตลาดหลักในอุตสาหกรรมบันเทิง โดยคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่ามากกว่า 268 พันล้านดอลลาร์ ภายในปี 2568

เกมออนไลน์แบบมีผู้เล่นจำนวนมาก (MMO) ต้องอาศัยการมองเห็นร่วมกันแบบเรียลไทม์ระหว่างผู้เล่นเกมบนหน้าจอเดียวกัน ซึ่งในโลกของเกมออนไลน์ คุณภาพของเกมจะเป็นตัววัดความสำเร็จต่อประสบการณ์การเล่นเกมของผู้เล่น และช่วยให้เอาชนะผู้เล่นคนอื่นได้

การเล่นเกมบนคลาวด์เกี่ยวข้องกับการเรียกใช้วิดีโอเกมบนเซิร์ฟเวอร์ระยะไกลและสตรีมไปยังอุปกรณ์ของผู้ใช้ ดังนั้นทางเลือกของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลมีผลอย่างมากต่อประสบการณ์การเล่นเกม รวมถึงประสิทธิภาพ ความเรียลไทม์ ความพร้อมใช้งานของเกม เวลาในการโหลด ความปลอดภัย ค่าใช้จ่าย และการสนับสนุนต่างๆ

Cubinet มอบความบันเทิงออนไลน์ไร้ขีดจำกัดด้วยเกมต่างๆมากมาย เช่น 9Yin, Perfect World และอื่นๆ มุ่งเน้นให้เกมเมอร์ทั่วโลกใช้งานได้ง่าย ในหลายอุปกรณ์ อาทิ พีซี โน้ตบุ๊ก แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน โดย Cubinet ก่อตั้งขึ้นในปี 2549 ในประเทศมาเลเซีย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา บริษัทได้เติบโตขึ้นและกลายเป็นผู้นำอุตสาหกรรมวีดีโอเกมในเอเชียด้วยการเพิ่มขึ้นของพันธมิตรนักพัฒนาและจำนวนผู้เล่นมากกว่า 15 ล้านคนทั่วโลก

ในปี 2565 บริษัทเกมซึ่งโฮสต์อยู่บนคลาวด์ต้องเผชิญกับปัญหาด้าน latency หรือ ความหน่วงที่ส่งผลต่อความเร็วในการตอบสนองของเซิร์ฟเวอร์ ทำให้ผู้เล่นไม่สามารถเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มได้ จึงส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจของเกมเมอร์ จนกลายเป็นผลตอบรับในเชิงลบกลับมาที่บริษัท รวมไปถึงในโซเชียลมีเดียและออนไลน์ฟอรัมต่างๆ และในโลกปัจจุบันที่ทุกอย่างเชื่อมโยงถึงกันหมด การที่ข่าวสารแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว อาจส่งผลต่อชื่อเสียงและสร้างผลกระทบถึงคุณค่า

ทั้งหมดได้ Cubinet ตระหนักดีถึงความเสี่ยงและผลกระทบดังกล่าว จึงเร่งตัดสินใจดำเนินการและมองหาบริการคลาวด์ที่มีประสิทธิภาพ โดยได้ร่วมมือกับ GWS CLOUD เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เล่น

GWS CLOUD มีการประมวลผลประสิทธิภาพสูง ให้ความครอบคลุม และมีคุณสมบัติทางด้านเทคนิคที่ดีกว่าของคู่แข่งหลายราย ยิ่งไปกว่านั้น ยังอยู่ในตำแหน่งที่ตั้งซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของเอเชีย ใกล้กับผู้ใช้งาน (end user) ทำให้ latency ต่ำ และตอบโจทย์ความต้องการของทีมนักพัฒนา รวมถึงพื้นที่เก็บข้อมูล ตลอดจนความเร็ว SSD และเครือข่ายแบนด์วิธความเร็วสูง

โซลูชั่น GWS CLOUD ได้รับการสนับสนุนโดย eASPNet ซึ่งเป็นผู้ให้บริการคลาวด์อันดับหนึ่งในไต้หวัน และโฮสต์อยู่ที่ ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นศูนย์ข้อมูลไฮเปอร์สเกลที่ทันสมัยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงการย้ายข้อมูลและการใช้งาน เราประทับใจในบริการของทีม ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) และการตอบสนองที่รวดเร็วในการแก้ปัญหา เรายังรู้สึกทึ่งกับทักษะทางด้านภาษาของทีมงาน ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการสื่อสารกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ระหว่างประเทศของเรา ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี การร้องเรียนของลูกค้าลดลงถึง 90% ในทันที ซึ่งทำให้เรามั่นใจที่จะขยายทั้งฐานลูกค้าและบริการบันเทิงออนไลน์ของเราในอนาคต” คุณพีรพล อัศวถาวรวานิช เจ้าหน้าที่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ, บริษัท คิวบิเน็ต อินเตอร์แอคทีฟ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

การรักษาประสบการณ์การเล่นเกมที่ราบรื่นบนอุปกรณ์ต่างๆนั้น ต้องอาศัยทั้งพลังและความพร้อมใช้งานที่เชื่อถือได้อย่างต่อเนื่อง การหยุดทำงานใดๆ อาจส่งผลให้ผู้เล่นสูญเสียความก้าวหน้าและความสนใจต่อเกม ซึ่งส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อประสบการณ์ของผู้เล่น โซลูชั่น GWS CLOUD ช่วยให้ Cubinet มีโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ขั้นสูงที่สำคัญต่อภารกิจในเกม พร้อมยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้ด้วย latency ที่ลดลง มีการตอบสนองและอัตราการแสดงผลภาพที่สูงขึ้น ช่วยลดการหยุดชะงักในเกมบนมือถือ

“ทุกวันนี้ ใครๆ ก็พูดถึงคลาวด์ และสิ่งสำคัญคือต้องสร้างความแตกต่างระหว่างคุณภาพและความสามารถของคลาวด์ ตัวอย่างเช่น เครือข่ายผู้ให้บริการเนื้อหา (CDN) และอุตสาหกรรมเกม มีข้อกำหนดเฉพาะซึ่งจำเป็นต้องได้รับการจัดการด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับไฮเอนด์ เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดของตนได้ การเป็นพันธมิตรกับ ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) นั้น มุ่งเน้นที่ลูกค้าเป็นหลัก และเราสามารถใช้จุดแข็งของทั้งสองบริษัทในการปรับแต่งโซลูชั่นคลาวด์ทั้งแบบส่วนตัว สาธารณะ หรือแบบผสมผสานสำหรับลูกค้าของเรา” Mr. Hans Huang ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี ของ GWS CLOUD กล่าว

นอกจากนี้ ด้วยบริการคลาวด์คอมพิวติ้งที่ทรงพลังและเชื่อถือได้ ทำให้ Cubinet สามารถทุ่มเททรัพยากรไปที่การพัฒนาแอปพลิเคชั่นและการบริการลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบัน ทีมเทคนิคสามารถมุ่งเน้นไปที่การสร้างประสบการณ์การเล่นวิดีโอเกมที่โดดเด่น และใช้เวลาดูแลเรื่องโครงสร้างพื้นฐานน้อยลง ทำให้สามารถเร่งความเร็วในการเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ๆ แพตช์เพิ่มเติม หรือเกมใหม่ๆ และสามารถเข้าถึงทรัพยากรด้านการประมวลผลได้อย่างง่ายดายเพื่อจัดการกับปริมาณการใช้งานของผู้เล่นที่เพิ่มมากขึ้น

· ประกาศความเคลื่อนไหวในการปรับโฉมกลยุทธ์องค์กรเพื่อต่อยอดสู่การเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาว

· บุกเบิกความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี ที่สร้างศักยภาพแบบทวีคูณให้กับเครือข่ายได้จริง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในอนาคตของเมตาเวิร์ส

· ภาพลักษณ์ใหม่ที่เผยออกมานี้เป็นการส่งสัญญาณให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีสำหรับ B2B ที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัลทั่วทั้งแวดวงอุตสาหกรรม

27 กุมภาพันธ์ 2566

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย - โนเกีย ประกาศความคืบหน้าขององค์กรและกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยี รวมถึงเผยโฉมภาพลักษณ์แบรนด์ใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ระยะยาวของโนเกีย ณ งานโมบายล์เวิลด์คองเกรส บาร์เซโลน่า ประจำปี 2023 (MWC Barcelona 2023)

หลายบริษัททั่วทั้งอุตสาหกรรมกำลังมองหาลู่ทางในการปรับตัวสู่ความเป็นดิจิทัลเพื่อพัฒนาทั้งด้านประสิทธิภาพ ความสามารถในการยืดหยุ่น และผลิตภาพบนแนวทางของความยั่งยืน ซึ่งเครือข่ายถือเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการเปลี่ยนผ่านนี้ และโนเกียก็มีจุดยืนที่ชัดเจนที่มาพร้อมผลงานที่แสดงถึงความเชี่ยวชาญในระดับแถวหน้าในบรรดาเทคโนโลยีเครือข่ายทั้งแบบคงที่ แบบเคลื่อนที่ และระบบคลาวด์

เป็กก้า ลุนด์มาร์ก ประธานและซีอีโอของโนเกีย กล่าวว่า “เราเห็นศักยภาพของดิจิทัลในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ อุตสาหกรรม และสังคม ที่มาพร้อมโอกาสอย่างมีนัยสำคัญในการเพิ่มผลผลิต ความยั่งยืน และการเข้าถึง เทคโนโลยีเครือข่ายชั้นนำที่ต้องการความแม่นยำสูงในตลาดของเรากำลังเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะจากลูกค้าหรือคู่ค้าในทุกแวดวงอุตสาหกรรม เรามองเห็นอนาคตที่ซึ่งเครือข่ายไปได้ไกลกว่าการเชื่อมโยงผู้คนและสรรพสิ่ง เป็นเครือข่ายที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ เป็นอิสระ และสามารถใช้ได้จริง และยังเป็นเครือข่ายที่สามารถรู้สึก คิด และกระทำได้จริง พร้อมไปกับการเพิ่มโอกาสในการเปลี่ยนสู่ความเป็นดิจิทัลให้มากขึ้นอีกด้วย”

“วันนี้เราได้มาแบ่งปันความเคลื่อนไหวขององค์กรและกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีที่เน้นความสำคัญด้านการปลดปล่อยศักยภาพแบบทวีคูณของเครือข่าย ซึ่งเป็นการกรุยทางสู่อนาคตที่เครือข่ายจะมาบรรจบกับระบบคลาวด์เพื่อเป็นการส่งสัญญาณว่าเรากำลังปรับเปลี่ยนแบรนด์ใหม่ซึ่งจะสะท้อนตัวตนของเราในปัจจุบัน ว่าโนเกียคือนำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสำหรับ B2B ที่ไม่ใช่โนเกียที่โลกเคยรู้จักมาก่อน”

กลยุทธ์พลิกโฉมแบรนด์

โนเกีย ต่อยอดกลยุทธ์ทั้งสามเฟสที่จะนำพาองค์กรสู่การเติบโตทางธุรกิจที่ยั่งยืนและสร้างผลกำไรได้ โดยการจะให้ช่วงการเริ่มต้นปรับเปลี่ยนดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์ได้ โนเกียได้เร่งเดินหน้าในการวางรากฐานสำหรับระยะการปรับเปลี่ยนในฐานะของผู้นำด้านเทคโนโลยีที่ไร้ที่ติ และยังคงมุ่งมั่นในการขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้นกว่าเดิม ความเคลื่อนไหวครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนเป้าหมายทางการเงินในระยะยาวของโนเกียซึ่งมีการปรับใหม่ตามผลประกอบการในไตรมาสที่ 4 ประจำปี 2565

กลยุทธ์การปรับภาพลักษณ์แบรนด์ของโนเกีย ที่จะมาช่วยขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จและเป็นรากฐานสำคัญในการเปลี่ยนแปลงนี้ ประกอบด้วย 6 แกนหลัก ดังนี้

· เพิ่มส่วนแบ่งการตลาดกับผู้ให้บริการ ที่ขับเคลื่อนด้วยความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี

· ขยายสัดส่วนของลูกค้าองค์กรในอัตราส่วนของลูกค้าทั้งหมด

· ยังคงจัดการพอร์ตธุรกิจอย่างแข็งขันเพื่อสร้างความมั่นคงในการเป็นผู้นำในทุกเซ็กเมนต์ธุรกิจที่โนเกียตัดสินใจจะลงแข่งขัน

· คว้าโอกาสจากเซ็กเตอร์อื่นที่นอกเหนือจากอุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อสร้างรายได้จาก IP ของโนเกีย และเดินหน้าลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อเทคโนโลยีของโนเกียอย่างต่อเนื่อง

· ดำเนินกิจการตามโมเดลธุรกิจใหม่ เช่น การให้บริการ as-a-Service ตลอดจน

· พัฒนาแนวทาง ESG ให้เป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน และกลายเป็นตัวเลือกผู้ให้บริการที่ได้รับความไว้วางใจในแวดวงอุตสาหกรรม

สิ่งที่ช่วยให้โนเกียบรรลุเป้าหมายดังกล่าวประกอบด้วย 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ พัฒนาผู้มีศักยภาพต่ออุตสาหกรรมในอนาคต, ลงทุนในการวิจัยระยะยาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโดเมนหลัก เช่น 6G, ปรับการดำเนินกิจการสู่ความเป็นดิจิทัลเพื่อพัฒนาในด้านความคล่องตัวและผลิตภาพ, รวมถึงการปรับภาพลักษณ์แบรนด์ใหม่ในครั้งนี้

กลยุทธ์ด้านเทคโนโลยี

กลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีล่าสุดของโนเกียจะอธิบายถึงวิธีการที่เครือข่ายจำเป็นต้องมีวิวัฒนาการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของยุคเมตาเวิร์ส

ขณะที่โลกกำลังเปลี่ยนไปพึ่งพาการเชื่อมต่อมากขึ้น เครือข่ายจะกลายมาเป็นโครงสร้างที่สำคัญให้กับทุกเรื่องที่เป็นดิจิทัลที่ซึ่งศักยภาพของเครือข่ายและความสามารถในการใช้ได้จริงนั้นจะมีน้ำหนักและความสำคัญเท่ากัน คุณภาพของระบบเครือข่ายแบบดั้งเดิมจะต้องรวมกันได้กับความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับขนาดของระบบคลาวด์

เครือข่ายซึ่งรู้สึก คิด และกระทำเหล่านี้มีศักยภาพที่จะนำพาพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงของระบบเครือข่ายไปสู่ทุกภาคอุตสาหกรรมได้

โนเกียอยู่ในจุดที่ดีที่จะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ผ่านพอร์ตผลงานที่ยอดเยี่ยมที่สุด รวมถึงการวิจัยที่พลิกวงการอุตสาหกรรมระดับแถวหน้าจาก Nokia Bell Labs วันนี้ที่งาน MWC โนเกียได้เปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์และบริการใหม่เพื่อแสดงให้เห็นและส่งเสริมความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของบริษัท

การปรับภาพลักษณ์แบรนด์

เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กรที่เปลี่ยนไป โนเกีย จึงได้ปรับภาพลักษณ์แบรนด์ใหม่ในครั้งนี้เพื่อสะท้อนถึงตัวตนของโนเกียในปัจจุบัน นั่นคือ การเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีสำหรับ B2B ที่สร้างเสริมศักยภาพด้านดิจิทัลในทุกแวดวงอุตสาหกรรมได้จริง แบรนด์รูปแบบใหม่นี้จะช่วยยืนยันให้เห็นถึงคุณค่าที่นำมาสู่ความเชี่ยวชาญด้านเครือข่าย ความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี การบุกเบิกด้านนวัตกรรมและความร่วมมือ

โลโก้ใหม่ของโนเกียได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้แสดงถึงพลัง ความไม่หยุดยั้งในการพัฒนา และความทันสมัย ที่แสดงถึงคุณค่าและเป้าหมายของแบรนด์เป็นสำคัญ และยังเป็นสัญลักษณ์ของความร่วมมือซึ่งโนเกียเชื่อว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างศักยภาพแบบทวีคูณให้กับเครือข่ายให้เป็นจริงได้ คือ การปลดล็อกผลตอบแทนในด้านความยั่งยืน ผลิตภาพ และการเข้าถึง

AWS วางแผนที่จะลงทุนมากกว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (หรือ 1.9 แสนล้านบาท) ในประเทศไทยในระยะเวลา 15 ปี

อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) บริษัทในเครือ Amazon.com, Inc. (NASDAQ:AMZN) ในวันนี้ 18 ต.ค 2022 ได้ประกาศแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ ด้วยการเปิดตัว Region ในประเทศไทย  โดยจะใช้ชื่อว่า AWS Asia Pacific (Bangkok)

โดย Regionแห่งใหม่นี้จะประกอบด้วย Availability Zone สามแห่ง ซึ่งเพิ่มเติมจาก Availability Zone ของ AWS ที่มีอยู่แล้ว 87 แห่งใน 27 ภูมิภาคทั่วโลก และ AWS ได้ประกาศแผนที่จะสร้าง Availability Zone ทั่วโลกอีก 24 แห่งและ AWS Region อีก 8 แห่งในออสเตรเลีย แคนาดา อินเดีย อิสราเอล นิวซีแลนด์ สเปน สวิตเซอร์แลนด์ รวมถึงประเทศไทย

AWS Region ที่กําลังจะมีขึ้นในประเทศไทยจะช่วยให้นักพัฒนา สตาร์ทอัพ และองค์กรต่าง ๆ รวมถึงภาครัฐ การศึกษา และองค์กรไม่แสวงผลกําไร สามารถเรียกใช้แอปพลิเคชันของตนและให้บริการผู้ใช้ปลายทางจากศูนย์ข้อมูล AWS ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ก็เพื่อให้ลูกค้าที่ต้องการเก็บข้อมูลของตนไว้ในประเทศไทยสามารถทําได้ นอกจากนี้ ส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นที่ AWS มีต่อภูมิภาคนี้ AWS วางแผนที่จะลงทุนมากกว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (หรือ 1.9 แสนล้านบาท) ในประเทศไทยในระยะเวลา 15 ปี สําหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกของ AWS (สามารถดูได้ที่  aws.amazon.com/about-aws/global-infrastructure/)

เรามุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของประเทศไทย ผ่านการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในประเทศและการนำเสนอบริการใหม่ๆ ที่รวดเร็ว เพื่อช่วยให้ลูกค้าในประเทศไทยสามารถใช้ศักยภาพทั้งหมดของคลาวด์เพื่อเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานและนำเสนอบริการต่างๆ ” ปราสาท กัลยาณรามัน รองประธานฝ่ายบริการโครงสร้างพื้นฐานของ AWS “AWS Asia Pacific (Bangkok) region จะช่วยให้องค์กรสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยการใช้ประโยชน์จากบริการที่หลากหลายและเชี่ยวชาญของ AWS เช่น แมชชีนเลิร์นนิ่ง การวิเคราะห์ และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ด้วยเครื่องมือใหม่เหล่านี้ AWS ยังช่วยให้ลูกค้าภาครัฐสามารถมีส่วนร่วมกับพลเมืองได้ดียิ่งขึ้น องค์กรต่าง ๆ สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการเติบโตในระยะต่อไป รวมถึงสร้างธุรกิจและแข่งขันในระดับโลก

“แผนของ AWS ในการสร้างศูนย์ข้อมูลหรือดาต้า เซ็นเตอร์ในประเทศไทยถือเป็นก้าวสําคัญที่จะนำบริการการประมวลผลบนระบบคลาวด์ขั้นสูงมาสู่องค์กรจำนวนมากขึ้น และช่วยให้เราบรรลุเป้าหมาย Thailand 4.0 ในการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลที่มีมูลค่า”

ฯพณฯ สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าว “รัฐบาลไทยยินดีที่ได้ร่วมมือกับ AWS ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ชั้นนำของโลก เพื่อนำโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ระดับโลกที่ปลอดภัยและยืดหยุ่นมาสู่ประเทศไทย การลงทุนของ AWS จะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างมีนัยสำคัญ และช่วยสร้างแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลขั้นสูงอีกด้วยAWS Region ในประเทศไทยจะช่วยภาคธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐในการให้บริการดิจิทัลที่ดีขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนของประเทศเราในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า

ฯพณฯ ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) กล่าว “MDES และ AWS ได้ทํางานร่วมกันเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของภาครัฐโดยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานแบบเดิมให้ทันสมัยเพื่อปรับปรุงการดําเนินงาน การลงทุนของ AWS จะทําให้ประเทศของเราก้าวเข้าใกล้อนาคตดิจิทัลของประเทศไทยมากขึ้นอีกขั้น บริการคลาวด์เป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนที่สําคัญที่สุดของเศรษฐกิจดิจิทัล เรายินดีกับแผนของ AWS ในการสร้าง region ในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยพัฒนาจุดยืนของเราในการเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมในเอเชีย และเป็นจุดหมายปลายทางชั้นนําสําหรับการลงทุน" นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนไทย กล่าว “AWS เอเชียแปซิฟิค (กรุงเทพฯ) รีเจี้ยนจะช่วยส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันระดับโลกของประเทศ ไปพร้อม ๆ กับการขับเคลื่อนนวัตกรรมและประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจในทุกอุตสาหกรรมในประเทศไทย”

AWS Region ประกอบด้วย Availability Zone ที่วางโครงสร้างพื้นฐานในที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่แยกจากกันและแตกต่างกัน โดยมีระยะห่างเพียงพอที่จะลดความเสี่ยหากเกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้งานที่ต่อเนื่องของลูกค้า แต่ใกล้พอที่จะให้เวลาแฝงต่ำสําหรับแอปพลิเคชันที่มีความพร้อมใช้งานสูงซึ่งใช้หลาย Availability Zone ซึ่ง Availability Zone แต่ละแห่งมีแหล่งพลังงาน การระบายความร้อน และการรักษาความปลอดภัยทางกายภาพที่แยกจากกัน และเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายเวลาแฝงที่ซ้ำซ้อนและต่ำเป็นพิเศษ ลูกค้า AWS ที่เน้นความพร้อมใช้งานสูงสามารถออกแบบแอปพลิเคชันให้ทํางานในหลาย ๆ Availability Zone และในหลาย region เพื่อให้เกิดความทนทานต่อความเสียหาย (fault tolerance) ที่ดียิ่งขึ้น

AWS Asia Pacific (Bangkok) แห่งใหม่นี้ จะช่วยให้ลูกค้าที่ต้องการเก็บข้อมูลไว้ในประเทศหรือสร้างข้อกำหนดข้อมูลสามารถจัดเก็บข้อมูลในประเทศไทยได้อย่างปลอดภัยพร้อมให้เวลาแฝงที่ต่ำทั่วประเทศ ลูกค้าตั้งแต่สตาร์ทอัพไปจนถึงองค์กรต่าง ๆ องค์กรภาครัฐ และองค์กรไม่แสวงผลกำไรจะสามารถใช้เทคโนโลยีขั้นสูงจากคลาวด์ชั้นนำของโลกเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรม AWS นำเสนอบริการที่หลากหลายและเชี่ยวชาญที่สุด รวมถึงการวิเคราะห์ การประมวลผล ฐานข้อมูล อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง แมชชีนเลิร์นนิง บริการมือถือ พื้นที่จัดเก็บข้อมูล และเทคโนโลยีคลาวด์อื่น ๆ

ลูกค้าต้อนรับแผนการเปิดตัว AWS Region ในประเทศไทย

องค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยเป็นหนึ่งในลูกค้าหลายล้านรายที่ใช้งาน AWS ในกว่า 190 ประเทศทั่วโลก องค์กรไทยที่เลือกใช้ AWS เพื่อรันปริมาณงานในการเร่งสร้างนวัตกรรม เพิ่มความคล่องตัว และประหยัดต้นทุน ได้แก่ 2C2P, บริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน), สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, เอ็นเรส (ENRES), ปาปิรุส สตูดิโอ, ปตท. จำกัด, เอสซีจี หรือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และองค์กรอื่น ๆ อีกมากมาย

บริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน) เป็นผู้ประกอบการร้าน 7-Eleven มากกว่า 13,000 แห่งในประเทศไทยและกัมพูชา “การใช้ AWS ช่วยให้เรามีความคล่องตัวและสามารถรองรับความต้องการของลูกค้าในช่วงการระบาดใหญ่เนื่องจากลูกค้าไม่สามารถเข้าไปที่ร้านได้” วิวัฒน์ พงษ์ฤทธิ์ศักดิ์ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายสารสนเทศและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ บริษัท ซีพี ออลล์ กล่าว “เราสร้างแอปพลิเคชัน 7-Eleven และ 7-Delivery บน AWS ในเวลาน้อยกว่าหกเดือน ทำให้ลูกค้าสามารถซื้อผลิตภัณฑ์จากร้านสะดวกซื้อที่ใกล้ที่สุด ซื้อแพ็คเกจออนไลน์ รวบรวมและแลกคะแนน และใช้ e-wallet เพื่อชำระเงินออนไลน์ เราต้องการมอบประสบการณ์ดิจิทัลที่ราบรื่นให้กับลูกค้าต่อไป และเราได้ลงทุนในการวิเคราะห์ข้อมูลและเทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิง เช่น Amazon Personalize ที่ช่วยเราแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับลูกค้า AWS Asia Pacific (Bangkok) Region แห่งใหม่จะช่วยให้เราเดินหน้าสู่เส้นทางดิจิทัลและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงตามพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว และในขณะเดียวกันก็มอบประสบการณ์ที่เป็นนวัตกรรมและเป็นส่วนตัวสำหรับลูกค้า 7-Eleven ของเรา”

 เอ็นเรส (ENRES) สตารท์อัพผู้พัฒนาเทคโนโลยีทางด้านอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งและเทคโนโลยี AI ในการประหยัดพลังงานทางเลือกใหม่ของอาคารและโรงงานขนาดใหญ่ทั่วเอเชีย “ในฐานะที่เป็นสตาร์ทอัพในระยะเริ่มต้น เราต้องมีความระมัดระวังในการใช้ทรัพยากรและวิธีการปรับขนาดอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโครงการ AWS Activate ให้การสนับสนุนทางด้านเทคนิคและให้เครดิตที่เป็นเครื่องมือในการช่วยให้ ENRES สามารถพัฒนา proof-of-concept แพลตฟอร์มของเราบนคลาวด์” ไพสิฐ จารุณนำศิริ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี ที่ ENRES กล่าว “ด้วยภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดบนโลกของเรา เราเชื่อว่าอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง AI และเทคโนโลยีนวัตกรรมอื่น ๆ สามารถขับเคลื่อนการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานให้ดีขึ้นสำหรับบริษัทต่าง ๆ ลดการใช้พลังงาน และในขณะเดียวกันสร้างประโยชน์ให้กับโลกอีกด้วย การเปิดตัว AWS รีเจี้ยนใหม่ในประเทศไทย เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้สานต่อความร่วมมือกับ AWS และช่วยให้ลูกค้าจำนวนมากสามารถเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานของพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น”

บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTGC) เป็นธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย "การทำงานร่วมกันกับ AWS ช่วยให้เราขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในธุรกิจของเราได้ด้วยการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ที่ช่วยให้เราปรับขนาดได้" ณัฐพล จงจรูญเกียรติ หัวหน้าฝ่ายการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของ PTTGC กล่าว “PTTGC สร้าง Data Lake บน AWS ที่ช่วยให้เราป้อนข้อมูลได้เร็วยิ่งขึ้น และรันแมชชีนเลิร์นนิงและการวิเคราะห์ เช่น โซลูชัน BPA Catalyst Life Prediction เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่ออายุการใช้งานของตัวเร่งปฏิกิริยาที่เราใช้ในธุรกิจ การทำความเข้าใจสภาวะที่เหมาะสมที่สุดที่จะยืดอายุของตัวเร่งปฏิกิริยาจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานและประหยัดต้นทุนในการผลิตปิโตรเคมี เราตั้งใจที่จะร่วมมือกับ AWS ต่อไปเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมในภาคปิโตรเคมีมากขึ้นกับ AWS Region ในประเทศไทย”

บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ เป็นผู้ค้าปลีกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและธุรกิจค้าปลีกชั้นนำของประเทศไทย มีบริการน้ำมันภายใต้แบรนด์ พีทีที สเตชั่น กว่า 1,900 สาขาทั่วประเทศและคาเฟ่อเมซอนมากกว่า 3,700 แห่งทั้งในและต่างประเทศ “เราร่วมมือกับ AWS เพื่อย้าย Loyalty Management System ของเราไปยังคลาวด์ ซึ่งเป็นรากฐานสำหรับแอปแบบครบวงจรใหม่ที่มุ่งเน้นที่จะเป็นโซลูชันแบบครบวงจรสำหรับทุกไลฟ์สไตล์” วิศน สุนทราจารย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กร นวัตกรรมและความยั่งยืนของ OR กล่าว "อุตสาหกรรมพลังงานกำลังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ และเรารู้สึกตื่นเต้นกับ AWS Asia Pacific (Bangkok) Region จะช่วยให้เราก้าวทันการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในขณะที่เราสร้างความหลากหลายให้กับธุรกิจและขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืน"

เอสซีจี หรือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เป็นกลุ่มธุรกิจชั้นนำในภูมิภาคอาเซียนที่มุ่งเน้นในการกำกับดูแลกิจการที่แข็งแกร่งและมีหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนมานานกว่า 100 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้ง เอสซีจีได้เติบโตอย่างต่อเนื่องและแบ่งเป็น 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ วัสดุก่อสร้างซีเมนต์ เคมีภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ “เทคโนโลยีมีความสำคัญต่อธุรกิจของเราเพราะเราพยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าในขณะที่ดำเนินงานภายใต้สภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในฐานะการเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือกับ AWS เอสซีจีและบริษัทในเครือได้ย้ายซอฟต์แวร์การวางแผนทรัพยากรองค์กร SAP ทั้งหมดจากภายในองค์กรไปยังระบบคลาวด์ ซึ่งช่วยให้เราเพิ่มความคล่องตัว ลดต้นทุน และเร่งสร้างนวัตกรรม” ยุทธนา เจียมตระการ รองประธานฝ่ายองค์กร SCG กล่าว “เพื่อเร่งความมุ่งมั้นสู่ยุคดิจิทัล เราวางแผนที่จะปรับปรุงแอปพลิเคชันที่ไม่ใช่ SAP ของเราบน AWS ให้ทันสมัย เช่น CPAC Green Solution และระบบ Vendor Managed Inventory AWS Asia Pacific (Bangkok) Region จะช่วยให้เราสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนต่อไป”

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (STOU) พัฒนาระบบการเรียนการสอนทางไกล มหาวิทยาลัยมีเครือข่ายศูนย์การศึกษาทางไกลระดับภูมิภาคที่กว้างขวางเพื่อรองรับนักศึกษากว่า 200,000 คนทั่วประเทศ “เราเลือก AWS เป็นผู้ให้บริการระบบคลาวด์เชิงกลยุทธ์เพื่อตอบโจทย์วิสัยทัศน์ในการเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล” ดร.ศรันย์ นาคถนอม ผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชกล่าว “STOU เป็นมหาวิทยาลัยไทยแห่งแรกที่อยู่บน AWS และใช้งานระบบคลาวน์อย่างเต็มรูปแบบ หลังจากการย้ายโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีทั้งหมดของเรา รวมถึงอินสแตนซ์เซิร์ฟเวอร์ 137 เครื่อง โดยการดำเนินการบนคลาวด์อย่างเต็มรูปแบบทำให้เราสามารถเร่งการเปิดตัวข้อเสนอดิจิทัลเพื่อมอบประสบการณ์ที่มีส่วนร่วมมากขึ้นสำหรับนักเรียนของเรา ความสามารถในการปรับขนาดของ AWS ช่วยให้แผนกต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย 60 แผนก สามารถเปิดสอนหลักสูตรออนไลน์ 700 หลักสูตรในช่วงระยะเวลาสามเดือน เมื่อเทียบกับการสร้างแพลตฟอร์มบนระบบภายในองค์กรที่อาจต้องใช้เวลาถึงห้าปี เรารู้สึกตื่นเต้นกับ AWS เอเชียแปซิฟิค (กรุงเทพฯ) รีเจี้ยนแห่งใหม่นี้ที่จะช่วยนำเสนอเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงระบบดิจิทัลและปรับปรุงความสามารถในการสอนและการเรียนรู้ที่ STOU ต่อไป”

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เป็นสถานที่ซื้อขายหลักทรัพย์ทุกประเภทของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2518 โดยแพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์ชั้นนำคือ settrade.com ที่รองรับบัญชีกว่า 3.1 ล้านบัญชี และมีมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 850 ล้านดอลลาร์ต่อวัน (32.3 พันล้านบาท) “AWS มอบโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ที่แข็งแกร่ง ปรับขนาดได้สูง และเวลาแฝงต่ำสำหรับแพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์ ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการด้านความปลอดภัยและการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เข้มงวด”นายถิรพันธุ์ สรรพกิจ รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานเทคโนโลยีสารสนเทศกล่าว “ด้วยการเพิ่มขึ้นของนักลงทุนดิจิทัล ตลาดหลักทรัพย์จึงจำเป็นต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการใหม่ของตลาด และนำเสนอบริการที่ตอบสนองความต้องการของคนรุ่นใหม่ที่กำลังเติบโตนี้ การใช้ AWS สำหรับแพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์ของตลท. ช่วยให้เราปรับขนาดได้อย่างง่ายดายเพื่อรองรับผู้ใช้พร้อมกันมากกว่า 400,000 ราย ในขณะที่ยังคงให้บริการซื้อขายใหม่สำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลและหุ้นเศษส่วนอย่างต่อเนื่อง การเปิดตัว AWS Asia Pacific (Bangkok) Region จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งของตลท. ในการนำเสนอข้อมูลตลาดที่มีความหน่วงต่ำ เพื่อให้แน่ใจว่านักลงทุนพร้อมที่จะตัดสินใจซื้อขายได้ดีที่สุด”

พันธมิตร AWS ตั้งตารอโอกาสใหม่ในประเทศไทย

พันธมิตรในประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของ AWS Partner Network (APN) ที่รวมผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์อิสระ (ISV) และผู้รวมระบบ (SI) กว่า 100,000 รายทั่วโลก พันธมิตร AWS สร้างโซลูชันและบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่บน AWS และ APN ให้การสนับสนุนด้านธุรกิจ เทคนิค การตลาด และการเข้าสู่ตลาดแก่ลูกค้า AWS SI พันธมิตรที่ปรึกษา (consulting partners) และ ISV ช่วยให้ลูกค้าองค์กรและภาครัฐสามารถโยกย้ายไปยัง AWS ปรับใช้แอปพลิเคชันที่มีความสำคัญต่อภารกิจ ให้บริการการตรวจสอบ การทำงานอัตโนมัติ และการจัดการอย่างเต็มรูปแบบสำหรับสภาพแวดล้อมของลูกค้า ตัวอย่างพันธมิตรของ AWS ในประเทศไทยได้แก่ เดลิเทค (DailiTech), G-Able, บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NTT), และ ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ (ทรู ไอดีซี) AWS ISV ในประเทศไทยอย่าง 2C2P และเอมิตี้ (Amity) ใช้ AWS เพื่อส่งมอบซอฟต์แวร์ให้กับลูกค้าทั่วโลกและวางแผนที่จะให้บริการลูกค้าชาวไทยจาก AWS Asia Pacific (Bangkok) Region

บริษัทที่ปรึกษาเดลิเทค (DailiTech) เป็นพันธมิตร AWS Advanced Tier Services และพันธมิตรที่ปรึกษา (AWS Consulting Partners) ประจำปี 2564 ของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2557 DailiTech ช่วยลูกค้าองค์กรและลูกค้าสตาร์ทอัพมากกว่า 150 รายในประเทศไทย ที่รวมไปถึงธนาคารที่ใหญ่ที่สุด 3 แห่งของประเทศไทยและผู้ให้บริการด้านพลังงานที่ยั่งยืนอย่าง บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลบน AWS “DailiTech ทำงานร่วมกับธุรกิจที่ให้บริการทางการเงินและองค์กรภาครัฐหลายแห่ง ซึ่งหมายความว่าการรักษาความปลอดภัยและการกำกับดูแลข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ” ดร. วิชญ์ เนียรนาทตระกูล, กรรมการผู้จัดการ DailiTech กล่าว “เนื่องจากประเภทธุรกิจของลูกค้าซึ่งมีข้อมูลและการดำเนินงานเป็นความลับอย่างสูง เราจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าการย้ายไปยังคลาวด์เป็นไปตามมาตรฐานการกำกับดูแลและการปฏิบัติตามมาตรฐานสูงสุด AWS Asia Pacific (Bangkok) Region จะเพิ่มความมั่นใจให้แก่เราในการนำเสนอโซลูชันการเงินที่ช่วยให้ลูกค้าปรับปรุงธุรกิจของตนให้ทันสมัย ในขณะที่ปฏิบัติตามความต้องการเก็บข้อมูลหรือสร้างข้อกำหนดข้อมูลเพื่อจัดเก็บข้อมูล”

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทโทรคมนาคมของรัฐของประเทศไทยและเป็นพันธมิตรภาครัฐของ AWS “เราได้ร่วมมือกับ AWS ตั้งแต่ปี 2563 เพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของภาครัฐของประเทศไทย” ดร.วงกต วิจักขณ์สังสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจดิจิทัล บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติกล่าว “ด้วยการใช้บริการและโครงสร้างพื้นฐานชั้นนำของอุตสาหกรรมของ AWS เราได้ช่วยหน่วยงานรัฐบาล 14 แห่งในการสร้างรากฐานทางดิจิทัลเพื่อให้บริการพลเมืองที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจในท้องถิ่น และแก้ปัญหาความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของสังคม AWS Asia Pacific (Bangkok) Region จะทำให้โทรคมนาคมแห่งชาติมีโอกาสมากขึ้นในการนำเสนอโซลูชันที่สามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะของลูกค้าภาครัฐของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการปฏิบัติตามข้อกำหนดและถิ่นที่อยู่ของข้อมูล ซึ่งสำคัญมากสำหรับรัฐบาลในการย้ายปริมาณงานไปยังระบบคลาวด์”

NTT Thailand เป็นพันธมิตรบริการระดับพรีเมียร์ของ AWS “ตั้งแต่ปี 2563 เราได้ปรับปรุงองค์กรให้ทันสมัยในประเทศไทยโดยใช้ AWS สำหรับแอปพลิเคชันที่มีความสำคัญของภาคธุรกิจ ซึ่งช่วยให้บริษัทได้ประโยชน์จากนวัตกรรมที่รวดเร็ว ความคล่องตัวที่เพิ่มขึ้น และการประหยัดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมของระบบคลาวด์” สุทัศน์ คงดำรงเกียรติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารประจำประเทศไทย และ Communications Lifecycle Management (CLM) ของ NTT กล่าว “เรารู้สึกตื่นเต้นเกี่ยวกับ AWS Asia Pacific (Bangkok) Region เนื่องจากลูกค้าของเราต้องการโซลูชันที่มีเวลาแฝงต่ำมากขึ้น เช่น อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งและแอปพลิเคชันการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตในขั้นต่อไป โครงสร้างพื้นฐานระดับโลกของ AWS จะช่วยให้ลูกค้าของเราใช้บริการการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์โดยมีเวลาแฝงที่ต่ำกว่า เพื่อทำการตัดสินใจทางธุรกิจที่รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เราตั้งตารอที่จะได้ช่วยเหลือองค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและการเติบโตของธุรกิจด้วย AWS”

การลงทุนของ AWS ในประเทศไทย

AWS Asia Pacific (Bangkok) Region ที่กําลังจะเกิดขึ้นเป็นการลงทุนล่าสุดอย่างต่อเนื่องของ AWS ในประเทศไทยเพื่อมอบเทคโนโลยีคลาวด์ขั้นสูงและปลอดภัยแก่ลูกค้า ตั้งแต่ปี 2563 AWS ได้เปิดตัว Amazon CloudFront edge ทั้งหมด 10 แห่งในกรุงเทพฯ นอกจากนี้ Amazon CloudFront เครือข่ายการจัดส่งเนื้อหา (CDN) ที่มีความปลอดภัยสูงและตั้งโปรแกรมได้ ซึ่งช่วยเร่งการส่งข้อมูล วิดีโอ แอปพลิเคชัน และ API ให้กับผู้ใช้ทั่วโลกด้วยเวลาแฝงต่ำและความเร็วในการถ่ายโอนสูง โดยในปี 2563 AWS Outposts ได้เปิดตัวในประเทศไทย AWS Outposts เป็นบริการที่มีการจัดการเต็มรูปแบบซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐานและบริการของ AWSไปยังตำแหน่งภายในองค์กรหรือตำแหน่ง Edge แทบทุกแห่งเพื่อประสบการณ์ไฮบริดที่สอดคล้องกันอย่างแท้จริง

AWS วางแผนที่จะขยายการลงทุนในประเทศไทยให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นด้วยการเปิดตัว AWS Local Zone ที่กำลังจะมีขึ้นในกรุงเทพฯ AWS Local Zones เป็นหนึ่งในบริการการปรับใช้โครงสร้างพื้นฐานของ AWS ที่จัดวางการประมวลผล พื้นที่จัดเก็บ ฐานข้อมูล และบริการอื่น ๆ ที่เลือกสรรไว้ใกล้กับประชากรจำนวนมาก อุตสาหกรรม และศูนย์ไอที ทำให้ลูกค้าสามารถส่งมอบแอปพลิเคชันที่ต้องการเวลาแฝงในหน่วยมิลลิวินาทีให้กับผู้ใช้ปลายทางเพื่อรองรับการเติบโตของการนำคลาวด์ไปใช้ในประเทศไทย AWS ยังคงลงทุนอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาทักษะให้กับนักพัฒนาไทย นักเรียน และผู้นําด้านไอทีรุ่นต่อไปในประเทศไทยผ่านโปรแกรมต่าง ๆ เช่น AWS re/Start, AWS Academy และ AWS Educate โครงการด้านการศึกษาของ AWS เหล่านี้ช่วยให้ผู้เรียนที่มีพื้นฐานและประสบการณ์ทุกรูปแบบในการเตรียมพร้อมสําหรับประกอบอาชีพที่ใช้ระบบคลาวด์ ตั้งแต่หลักสูตรระดับวิทยาลัยไปจนถึงโปรแกรมการฝึกอบรมเต็มเวลา และเนื้อหาสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง โปรแกรมเพื่อการศึกษาของ AWS มอบการเข้าถึงการฝึกอบรมทักษะที่ช่วยให้บุคคลทั่วไปสามารถเริ่มต้นหรือต่อยอดอาชีพที่ใช้ระบบคลาวด์ได้ ปัจจุบันสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย 8 แห่งในกรุงเทพฯ เชียงราย และปทุมธานี ได้รวมหลักสูตร AWS Academy ไว้ในหลักสูตรของสถาบัน AWS ยังทํางานร่วมกับองค์กรต่าง ๆ เช่น Siam Cement Group เพื่อช่วยสร้างทักษะระบบคลาวด์ตามความต้องการและฝึกอบรมพนักงานของบริษัทฯ อีกด้วย นอกจากนี้ AWS วางแผนร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทยในแผนพัฒนาทักษะ และให้การสนับสนุนในการฝึกอบรมบุคลากรมากกว่า 1,200 คนด้วยทักษะด้านระบบคลาวด์ หลักสูตรดิจิทัลแบบออนดีมานด์และอํานวยความสะดวกในกิจกรรมการฝึกอบรม เพื่อให้บุคลากรภาครัฐสามารถพัฒนาทักษะที่จําเป็นในการนําเทคโนโลยีระบบคลาวด์ไปใช้ในวงกว้าง ทําการตัดสินใจด้านการดำเนินงานที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลได้ดีขึ้น และสร้างสรรค์บริการใหม่ ๆ ที่ดียิ่งขึ้นสําหรับประชาชน

AWS ให้การสนับสนุนสตาร์ทอัพในระยะเริ่มต้นเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการในประเทศไทย ผ่านโปรแกรม AWS Activate โปรแกรมนี้ให้การเข้าถึงคําแนะนําและการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญของ AWS แบบตัวต่อตัว การสนับสนุนทางเทคนิค การให้คําปรึกษาทางธุรกิจ และโอกาสในการเข้าถึงเครดิตบริการของ AWS สูงสุด 100,000 เหรียญสหรัฐ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ AWS ยังทํางานร่วมกับชุมชนผู้ร่วมทุน (venture capital community) โครงการผลักดันและบ่มเพาะสตาร์ทอัพ (startup accelerators and incubators) เพื่อช่วยให้สตาร์ทอัพเติบโตในระบบคลาวด์อีกด้วย ในประเทศไทยซึ่งรวมถึงองค์กรผลักดันสตาร์ทอัพต่าง ๆ เช่น AIS The Startup และ Stormbreaker เพื่อรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็วของสตาร์ทอัพ

ในปี 2564 AWS ได้ขยายโปรแกรม Startup Ramp มายังอาเซียน โปรแกรมนี้ ทุ่มเทให้กับการสนับสนุนผู้ประกอบการสตาร์ทอัพระยะเริ่มต้น ในขณะที่พวกเขาสร้าง เปิดตัว และขยายโซลูชันด้านต่าง ๆ ได้แก่ สุขภาพ รัฐบาลดิจิทัล เมืองอัจฉริยะ การเกษตร และเทคโนโลยีอวกาศ AWS Startup Ramp ช่วยขจัดอุปสรรคสําหรับผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงในภาครัฐโดยการให้การตรวจสอบการออกแบบทางเทคนิคและสถาปัตยกรรม การให้คําปรึกษา เครดิต และการสนับสนุนด้วยแผนออกสู่ตลาด เพื่อช่วยในเรื่องข้อกําหนดด้านกฎระเบียบและความปลอดภัยที่ซับซ้อน สตาร์ทอัพในระยะแรกที่ทํางานเพื่อค้นหาความเหมาะสมของตลาดผลิตภัณฑ์และมองหาลูกค้ารายแรกสามารถสมัครเป็น Startup Ramp Innovators ได้ และสตาร์ทอัพที่มีรายได้จากลูกค้าแล้วและมุ่งเน้นการเติบโตและการขยายขนาดสามารถสมัครเป็นสมาชิก Startup Ramp เพื่อเข้าถึงสิทธิประโยชน์ของโปรแกรมได้

นับตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา AWS EdStart ซึ่งเป็นโปรแกรมสนับสนุนสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีการศึกษาของ AWS ได้ช่วยผู้ประกอบการสร้างโซลูชันการเรียนรู้ การวิเคราะห์ และการจัดการวิทยาเขต สมาชิก AWS EdStart ในประเทศไทยประกอบด้วย แกนติค (Gantik), โอเพ่นดูเรียน (OpenDurian) และ วอนเดอร์ (Vonder) ด้วยการใช้ AWS EdStart สมาชิกเหล่านี้ได้สร้างโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมเพื่อช่วยให้นักเรียนตัดสินใจอย่างชาญฉลาดเกี่ยวกับเส้นทางการศึกษา มอบประสบการณ์การเรียนรู้จากประสบการณ์ในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศ และเปิดใช้งานการให้คำปรึกษาเสมือนจริงระหว่างนักเรียนและผู้ประกอบการ

ความมุ่งมั่นสู่ความยั่งยืน

Amazon มุ่งมั่นที่จะเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนมากขึ้นและบรรลุคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในการดําเนินงานภายในปี 2583 ซึ่งเร็วกว่าข้อตกลงปารีสถึง 10 ปี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิญญาด้านสภาพภูมิอากาศ Amazon ได้ร่วมก่อตั้ง The Climate Pledge และกลายเป็นผู้ลงนามรายแรกในปี 2562 โดยเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นในปฏิญญาด้านสภาพภูมิอากาศ Amazon กําลังมุ่งสู่การขับเคลื่อนการดําเนินงานด้วยพลังงานหมุนเวียน 100% ภายในปี 2568 ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายเดิม (ปี 2573) ถึงห้าปี Amazon เป็นองค์กรซื้อพลังงานหมุนเวียนรายใหญ่ที่สุดของโลก และ ณ สิ้นปี 2564 บริษัทมีพลังงานหมุนเวียนถึง 85% ทั่วทั้งธุรกิจ องค์กรที่ย้ายปริมาณงานการประมวลผลไปยังAWS Cloud สามารถได้รับประโยชน์จากความพยายามด้านความยั่งยืนของ Amazon ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

เกี่ยวกับอะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส

ตลอดระยะเวลา 15 ปี อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) เป็นบริการคลาวด์ที่ครอบคลุมและกว้างขวางที่สุดในโลก AWS ขยายการให้บริการอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการทำงานบนคลาวด์ทุกรูปแบบ ซึ่งในปัจจุบันมีบริการอย่างเต็มรูปแบบกว่า 200 รายการ สำหรับการประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล ฐานข้อมูล ระบบเครือข่าย การวิเคราะห์ แมชชีนเลิร์นนิงและปัญญาประดิษฐ์ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง โทรศัพท์มือถือ ความปลอดภัย ไฮบริด เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง (Virtual reality: VR) และการรวมวัตถุเสมือนเข้ากับสภาพแวดล้อมจริง (Augmented reality: AR) สื่อ และการพัฒนา การปรับใช้ และการจัดการแอปพลิเคชันจาก Availability Zone 87 แห่งภายใน 27 ภูมิภาค พร้อมประกาศแผนสำหรับ Availability Zones เพิ่มเติมอีก 24 แห่ง และอีกแปด AWS Regions ในออสเตรเลีย แคนาดา อินเดีย อิสราเอล นิวซีแลนด์ สเปน สวิตเซอร์แลนด์ และไทย ลูกค้าหลายล้านรายรวมไปถึงสตาร์ทอัพที่เติบโตอย่างรวดเร็ว องค์กรขนาดใหญ่ และหน่วยงานภาครัฐ ต่างเชื่อมั่นใน AWS ในการขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานของพวกเขาให้มีความคล่องตัวมากขึ้นและมีต้นทุนที่น้อยลง 

บริษัท Bidmath ประเทศไทย เป็นผู้นำ ด้าน Data Solutions แบบ First-Party Data แนวหน้าของประเทศ ด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญเชิงกลยุทธ์ และเน้นการให้คำ ปรึกษา 5 ด้านสำ คัญ ได้แก่ การเป็นพันธมิตรด้านข้อมูลแบบ First-Party Data, การบูรณาการ Cloud , การจัดการข้อมูลบน Cloud, โปรเจคการเพิ่มพูนข้อมูลต่าง ๆ และการบูรณาการเทคโนโลยีที่มีความหลากหลาย

Bidmath ได้เดินหน้าเปิดตัวทีมวิเคราะห์ที่จะมาช่วยแบรนด์ดังระดับโลก ในการปลดล็อกมูลค่าข้อมูลแบบ First-Party Data ซึ่งจะครอบคลุมการจัดการข้อมูลบน Cloud และได้พัฒนาความร่วมมือ เสริมสร้างความสมบูรณ์แบบของข้อมูลจากพันธมิตร ทั้งผู้ค้าปลีกและอีคอมเมิร์ซภายในประเทศ

การออกกฎหมายใหม่ (PDPA) ทำให้เกิดผลกระทบต่อแบรนด์ต่าง ๆ ในการมุ่งให้ความสำคัญกับการเก็บ และจัดการ First-Party Data มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทคโนโลยี เป็นเพียงแค่สื่อกลางในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จึงจำ เป็นต้องทำ การตรวจสอบ จัดหมวดหมู่ จัดระบบ วัดผล และประเมินประสิทธิภาพของข้อมูล โดยไม่คำนึงถึงแพลตฟอร์มของข้อมูลที่ใช้

คุณฐิศิรักน์พิตยกูลศาล จากบริษัทกูเกิ้ล (ประเทศไทย) จำกัด ได้เข้าร่วมทีม Bidmath ประเทศไทยในการผลักดันทีมให้เติบโตมากยิ่งขึ้น โดยนำ ความรู้ด้านเทคโนโลยี มาเสริมสร้างในการใช้ First-Party Data ประกอบกับการผนึกกำลังกับพันธมิตรหลักๆของเครือข่ายท้องถิ่น ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

ส่วนการรวบรวมข้อมูลเชิงวิทยาศาตร์ และความสามารถในการให้คำปรึกษาของบริษัท Bidmath ประเทศไทย ในการทำ Data Projects ต่างๆนั้น ถูกนำ ทีมโดย คุณ Mahesh Babu นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลระดับสูงของบริษัท Bidmath ประเทศไทย ผู้ที่นำ เอาประสบการณ์ด้านวิศวะกรรมการเรียนรู้ข้อมูลเชิงลึก และการพัฒนาโมเดลข้อมูลจากแก่นแท้ไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเลือกใช้สื่อต่างๆ ดังนั้น คุณ Mahesh จึงเป็นหัวใจสำ คัญที่จะนำ พาทีมฟันฝ่าความซับซ้อนของการสร้างข้อมูลให้เกิดความสมบูรณ์ เพื่อนำ ไปสู่ความสำ เร็จสูงสุด

ซึ่งทั้งคุณ Mahesh Babu และคุณฐิศิรักน์ พิตยกูลศาล จะดำ เนินงานภายใต้การบริหารของ คุณ Nathaniel Acton ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์ของบริษัท Bidmath ประเทศไทย

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click