DPU X สถาบันเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการและบุคลากรแห่งอนาคต โดย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) ร่วมกับ TIKTOK แพลตฟอร์มวิดีโอด้านบันเทิงยอดฮิต จัดกิจกรรม

ในช่วง 3-5 ปีนับจากนี้ เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) อาจจะยังไม่ได้รับการตอบรับอย่างแพร่หลายในแง่ของการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ ในไทย เทียบเท่ากับต่างประเทศที่วันนี้เดินหน้าไปแล้วหลายช่วงตัว

การเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด มีความสำคัญอย่างมากทั้งต่อการอยู่รอด และความสำเร็จ ในโลกที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างในวันนี้

Capstone Project for Entrepreneur Workshop กิจกรรมที่จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่สอง เป้าหมายอยู่ที่การ “สร้างและส่งต่อ” พร้อมกับ “ต่อยอด” ความรู้ให้นั้นไปยังสองกลุ่มเป้าหมายหลักได้แก่ อาจารย์ผู้สอน และนักศึกษา โดยในปีนี้จัดขึ้น ณ Makerspace มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU)

กิจกรรมพิเศษครั้งนี้จัดขึ้นสำหรับอาจารย์ DPU  เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การเป็น Startup University ที่พร้อมก้าวเข้าสู่การสอนในยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ยังได้ร่วมแบ่งปัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจด้านต่างๆ จากองค์กรชั้นนำ

ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู รองอธิการบดีสายงานภาคีสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยว่า ​โครงการ capstone จัดขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มพูนทักษะความรู้ให้อาจารย์มีความเชี่ยวชาญที่จะเป็น accelerator ในวิชา capstone project โดยที่อาจารย์ที่เข้าร่วมติวเข้มความรู้ในครั้งนี้จะนำไปใช้ Coach กับนักศึกษาปี 3

ในชั้นเรียนปี 1 และ 2 นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาทักษะความเป็นผู้ประกอบการ เทคโนโลยี และ Soft skills เมื่อขึ้นปี 3 เด็กๆ จะต้องมารวมกลุ่มจากเพื่อนต่างคณะ ต่างหลักสูตร เพื่อทำโปรเจ็คร่วมกัน ซึ่งในกระบวนการนี้จำเป็นที่จะต้องมีอาจารย์ที่มีทักษะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญที่จะสามารถดูแลเด็กได้  กิจกรรมในเวิร์คชอปนี้จะเลือกอาจารย์ที่เป็นดรีมทีมขึ้นมาก่อนในชุดแรก จากนั้นมองถึงการขยายไปสู่การพัฒนาอาจารย์ทุกคนในมหาวิทยาลัยต่อไป

นอกจากการเวิร์คชอปเพื่อให้อาจารย์ไปสร้างเด็ก ในอีกมุมหนึ่งอาจารย์ก็ได้รับการ Re-skills โดยคนที่ผ่านกระบวนการนี้จะเป็น New work force ที่สำคัญต่อไปของ DPU  

ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม ผู้อำนวยการสถาบัน DPU X แห่งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยว่า อาจารย์แต่ละท่านที่เข้าร่วมกิจกรรมเวิร์คชอปจะมาจากทุกคณะ เช่น ศิลปกรรม วิศวกรรม บริหาร ท่องเที่ยว นิเทศน์ โดยเป็นบุคคลที่เปิดรับและ อยากทดลองทำอะไรใหม่ ๆ

สิ่งที่สนใจเป็นเรื่อง  mind set กระบวนการความคิดมากกว่า เทคโนโลยีเป็นแค่เครื่องมือในการใช้งาน แต่หลักคิดในความเป็นมนุษย์ ในความเป็นผู้เชี่ยวชาญในงานกับเครื่องมือใหม่ ๆ ควรจะเป็นอย่างไร เราจะพัฒนามันอย่างไรเพื่อให้เราใช้ศักยภาพ จุดประสงค์หลักของ Capstone วัดได้ที่นักศึกษา แม้ไม่คาดหวังว่าเด็กทุกคนต้องได้ แค่ให้ส่วนใหญ่รับรู้และเข้าใจในแนวคิดนี้ในเชิงลึก ทำซ้ำไปเรื่อย ๆ แล้วจะเห็นผล ค่อยๆ สะสมไปเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นวัฒนธรรมระหว่างอาจารย์กับเด็ก

ดร. รชฏ ขำบุญ รองคณบดีสายงานวิชาการ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี เปิดเผยว่า ทักษะความรู้ที่ได้เข้าร่วมในโครงการนี้เกิดข้อดีในสองส่วนด้วยกัน ส่วนแรกนักศึกษาสามารถสร้างธุรกิจใหม่ได้ กับ สอง การปรับมุมมองคิดที่จะปรับธุรกิจเดิมๆ แล้ว สร้างสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น

ไม่ใช่เด็กทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ที่จบไปแล้วจะไปเป็นสตาร์ทอัพ ส่วนหนึ่งอาจต้องการทำงานในบริษัทใหญ่ซึ่งก็ต้องมีความรู้ด้านการสร้างนวัตกรรมหรือคิดปรับปรุงช่วยประโยชน์ให้องค์กร เพราะไม่ว่าจะเป็นสตาร์ทอัพ หรือทำงานในองค์กร หลักการเดียวกัน คือ การเข้าใจลูกค้า หาความต้องการของลูกค้าแล้วสนองตอบให้ได้มากที่สุด

ในกิจกรรมเวิร์คชอปสองวันเป็นการอบรมที่พยายามนำเสนอเครื่องมือที่หลากหลายที่จะเอาไปใช้ในการค้นหาความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า

“ผมสอนในระดับปริญญาโท ก็ได้เอาประสบการณ์จากการอบรมไปสอน โดยให้นักศึกษา ให้จับกลุ่มสามคน เช่น วิศวะ การตลาด บัญชี แล้วไปทำธุรกิจอาหารเสริม ผลปรากฏว่าได้กำไรเป็นสิบๆ ล้านเมื่อปีที่แล้ว”

ผศ.ณธกร อุไรรัตน์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์​ หนึ่งในผู้ร่วมกิจกรรมเวิร์คชอป Capstone Project เปิดเผยว่า  After school hub เป็นผลงานที่นำเสนอภายใต้การเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้   เริ่มจากมองปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเองและคนใกล้ตัว รวมถึงการได้ไปสอบถามกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นคนพ่อแม่วัยทำงานทำให้พบว่า การเดินทางไปรับลูกวัยประถมศึกษาหลังเลิกเรียนไม่ใช่ปัญหาเล็กๆ อีกต่อไป

“โรงเรียนเลิกเวลาบ่ายสามโมง การจะเดินทางไปรับที่ต้องฝ่าจราจรติดขัดทำให้หลายๆ ครั้งไปไม่ทันกับเวลาที่ได้นัดหมายเอาไว้ คลาดกัน และทำให้ต้องวนรถหลายต่อหลายครั้ง ทำให้เริ่มมาคิดถึงแนวทางแก้ปัญหา

ไอเดียที่ทางทีมเรานำเสนอว่าควรจะทำศูนย์​รับดูแลเด็กหลังเลิกเรียนเพื่อรอจนกว่าผู้ปกครองจะมารับในตอนเย็นหรือค่ำไปแล้ว นอกจากเป็นจุดศูนย์รวมของเด็กหลังเลิกเรียนแล้ว ยังมีกิจกรรมต่างๆ เสริมด้วย เช่น สอนการบ้าน อาหารเย็น พ่อแม่เลิกสองทุ่มก็มารับได้”

โดยข้อดีของกิจกรรมนี้ อาจารย์ผู้สอนเอาโปรเซสการสอนนี้ไปปรับใช้กับการสอนจริงในคลาสกับนักศึกษาแม้ในตอนที่เรียนก็ได้เรียนรู้จากของจริงซึ่งได้ผลมากกว่าการเลคเชอร์เพียงอย่างเดียว ที่สำคัญในบางไอเดียที่นำเสนออาจพัฒนาเป็นธุรกิจจริงได้ในอนาคตของจริง

เราเริ่มรู้แล้วถึงวิธีคิด และการพัฒนาเป็นธุรกิจ ต่อไปจะเอาตรงนี้ไปพัฒนาเป็นสคริปในการสอน เปลี่ยนบทบาทจากอาจารย์ เป็นโค้ช ซึ่งจะเกิดประโยชน์ได้มากกว่าสำหรับนักศึกษา  

ผศ.ดร.เนื่องวงศ์ ทวยเจริญ รองคณบดีฝ่ายวิชาการวิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์​(CITE) เปิดเผยว่า ทางกลุ่มได้นำเสนอโปรเจ็คเว็บสอนภาษาไทยสำหรับนักศึกษากัมพูชา เนื่องจากมองว่ามีความต้องการของแรงงานกัมพูชาที่เข้ามาในไทยต้องการเรียนภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

“ก่อนจะทำโมเดล เห็นแล้วว่ามีเว็บไซต์สอนภาษาต่างประเทศเยอะมาก แต่ไม่มีภาษากัมพูชา ซึ่งจากการสอบถามชาวกัมพูชาที่มาทำงานในไทยก็พบว่ามีปัญหาเรื่องการสื่อสาร อยากมาทำงานในไทย ก็ลำบากเพราะไม่รู้ภาษาไทย   เมื่อมาทำงาน และเรียนในไทย ก็หาที่เรียนลำบาก ทำให้ทางกลุ่มเราคิดที่จะทำโมเดลการเรียนออนไลน์ขึ้นมา ทั้งการเรียนเป็นกลุ่ม ไลฟ์สอนสดโดยนัดเวลาเรียน”

จากปีแรกที่ได้เข้าร่วมเวิร์คชอป Capstone จนถึงปีนี้ ผศ.ดร.เนื่องวงศ์ บอกว่า ได้นับโมเดลวิธีคิดและการโค้ชไปใช้กับนักศึกษามาแล้วในปีที่ผ่านมา ทั้งการสอดแทรกมุมมองความเป็นผู้ประกอบการ การให้นักศึกษาได้ฝึกเขียนแผนธุรกิจ (Business Canvas) รวมถึงการเชิญผู้รู้จากในประเทศและต่างประเทศมาถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ ทำให้ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก

“ในช่วงแรกที่เด็กๆ คิดหัวข้อโปรเจ็คจะเลือกจากสิ่งที่อยากทำ หรือไม่ก็เว็บขายของ  แต่มาวันนี้วิธีคิดเปลี่ยนไป เริ่มคิดจากลูกค้าว่ามีปัญหาอะไร แล้วไปช่วยแก้ปัญหาได้อย่างไรบ้าง ตัวอย่างในปีที่แล้วนักศึกษาเสนอ โปรเจ็ค คนขายหอย มาจากที่บ้านทำธุรกิจฟาร์มหอย แต่ก็เจอปัญหาไม่สามารถจัดการการเงิน ปัญหาพ่อค้าคนกลาง จึงได้พัฒนาแอพพลิเคชันมาเป็นตัวกลางในการแก้ปัญหา” ผศ.ดร.เนื่องวงศ์ กล่าว

ด้าน ชิน วังแก้วหิรัญ ผู้บริหารจาก Vonder chatbot หนึ่งในเมนเทอร์ที่เข้าร่วมถ่ายทอดประสบการณ์การทำธุรกิจสตาร์ทอัพใน Capstone Project กล่าวว่า Vonder เป็นสตาร์ทอัพที่ทำทางด้านการศึกษา โดยพัฒนาการเรียนรู้ในนรูปแบบของเกม เมื่อกดเข้าไป เลือกวิชาที่อยากเรียน ซึ่งมีวิชาที่เรียน ได้แก่ อังกฤษ ประวัติศาสตร์ ​วิทยาศาสตร์ (เคมี ฟิสิกส์) ที่เน้นการประสบการเรียนรู้ในแบบ Interactive

จนถึงวันนี้ Vonder ทำธุรกิจมาแล้วปีเศษ ประสบการณ์จากการทำธุรกิจทำให้เรียนรู้ว่า บิสิเนสโมเดล และการหารายได้เป็นเรื่องสำคัญ​ ในปีแรกๆ ทำเฉพาะเกมการเรียนรู้ในกลุ่มนักเรียนแม้จะเป็นโปรดักท์ที่น่าสนใจและสร้างการเรียนรู้ได้ดี แต่ในด้านรายได้กลับไม่เป็นเช่นนั้น ทำให้เริ่มมองหาโอกาสใหม่ๆ ซึ่งก็พบว่า HR ในแต่ละองค์กรที่วันนี้นำโปรดักส์ของ Vonder เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้กับพนักงานซึ่งตลาดตรงนี้ก็เริ่มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

“สิ่งที่นำมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในครั้งนี้อยากชี้ให้เห็นว่า ความล้มเหลวไม่ใช่เรื่องน่ากลัวเสมอไป ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นได้ง่ายที่สุด และใหญ่ที่สุดคืออารมณ์ของตัวเอง ต้องรู้จักบริหารจัดการอารมณ์ในสถานการณ์ที่เจอให้ได้ รวมทั้งเรื่องของเงินทุน อย่าประมาท

การทำธุรกิจสมัยนี้ เริ่มต้นมีแค่คอมพิวเตอร์​ และทีมอีกสองคนก็เพียงพอ เมื่อเทียบกับการลงทุนเริ่มต้นธุรกิจที่ต้องมีสเกลที่ใหญ่กว่านี้มาก อย่างไรก็ดี ขอแค่มีความพร้อม และไม่ประมาทในการประเมินต้นทุน เชื่อว่าอย่างไรก็ได้อะไรที่ล้ำค่ากลับไป แม้ไม่เป็นตัวเงิน แต่ก็ได้ประสบการณ์ในการทำธุรกิจ”

จากภาพรวมของปีนี้ "Capstone Business Project" นับเป็นอีกโมเดลการเรียนรู้ที่สำคัญในโลกยุคปัจจุบันที่ให้มุ่งเน้นพัฒนาทักษะแห่งอนาคตให้กับบุคลากรและนักศึกษา DPU ในการมีมุมมองความคิดการเป็นผู้ประกอบการ รวมถึงการทำ Startup ให้ประสบความสำเร็จอย่างมืออาชีพ ชี้วัดจากปีที่ผ่านมา DPU  ส่งนักศึกษาเข้าแข่ง startup Thailand เป็นปีแรกจำนวน 10 ทีม สามารถทะลุ เข้ารอบ 4 ทีม ที่สุดคว้ารางวัลที่ 2 ของภูมิภาคได้เป็นผลสำเร็จ

ดร.พัทธนันท์  เพชรเชิดชู  รองอธิการบดีสายภาคีสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) เปิดเผยว่า DPU X (สถาบันเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการและบุคลากรแห่งอนาคต) โดยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จัดกิจกรรม “จัดให้แซ่ด   DPU X Startup SUMMER CAMP”  เพื่อสนับสนุนให้น้องๆในระดับมัธยมศึกษาที่มีความสนใจปูพื้นฐานด้านธุรกิจเข้าร่วมรับฟังแนวคิด พร้อมฝึกตีโจทย์ วางแผนกลยุทธการสร้างธุรกิจ และ การเป็นสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จในตลาดยุคดิจิทัล กิจกรรมครั้งนี้เน้นเวิร์คชอปลงมือปฏิบัติจากโจทย์ธุรกิจที่ได้รับในหัวข้อ อาหารแห่งโลกอนาคต หรือ Food For The Future พร้อมทั้งยังได้ฟังประสบการณ์ตรงจากนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จจากตลาดออนไลน์อย่าง รัสรินทร์ ธนะชัยวัฒนะโภคิน (แคทตี้) เจ้าของสินค้าหลากหลายแบรนด์ ก่อนที่น้องๆจะลงสนาม Mini Pitching เวทีการแข่งขันนำเสนอไอเดียธุรกิจ โดยทีมที่ชนะเลิศจะได้รับรางวัลเป็นทุนการศึกษาตลอดหลักสูตรปริญญาตรี รวมมูลค่ากว่า 1.5 ล้านบาท  

“DPU X Startup SUMMER CAMP จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-25 เม.ย.62  ซึ่งทั้ง 2 วัน ทางทีมงานได้จัด กูรู มาให้ความรู้อย่างเต็มที  โดยวันแรกประเดิมด้วยนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจากตลาดออนไลน์เป็นระดับต้นๆ  อย่าง “แคทตี้”  เจ้าของแบรนด์เสื้อผ้า Flat2112, Babykissthailand  แผ่นน้ำหอมสำหรับใช้ในรถยนต์ยี่ห้อ TED A CAR  และอีกหลายธุรกิจ มาถ่ายทอดเคล็ดลับวิชาการทำตลาดออนไลน์อย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ และ ในช่วงบ่ายวันแรกเด็กๆ จะได้ลงมือทำอาหารที่ Chef Lab และคิดค้นคอนเซ็ปต์รูปแบบการนำเสนอไอเดีย ให้สอดคล้องกับโจทย์ในหัวข้อ Food For the Future ที่ได้เรียนกับอาจารย์จากหลักสูตรการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ (CIM DPU) ในช่วงก่อนหน้า” ดร.พัทธนันท์กล่าว

รองอธิการบดี กล่าวอีกว่า  ทางมหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมครั้งนี้เพื่อให้น้องได้ใช้เวลาว่างในช่วงปิดเทอมให้เกิดประโยชน์และเพื่อกระตุ้นเด็กรุ่นใหม่หันมาให้ความสำคัญในสตาร์ทอัพ  ซึ่งทางมหาวิทยาลัย ฯ ให้ความสำคัญกับเรื่องของสตาร์ทอัพมาตลอด และหลายปีที่ผ่านมา ได้มีการปรับหลักสูตรโดยมีการสอดแทรกเรื่องของการเป็นเถ้าแก่ไว้ในทุกหลักสูตรเพราะมองเห็นถึงแนวทางในอนาคตว่านักศึกษาที่เรียนจบไปเขาจะไปทำธุรกิจส่วนตัวหรือออกไปเป็นพนังงานบริษัทก็สามารถนำเรื่องจิตวิญญาณการเป็นเถ้าแก่ไปใช้จนประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้  และเชื่อว่าเจ้าของกิจการเอง ก็คงอยากจะได้พนักงานที่มีแนวคิดความเป็นเถ้าแก่มาใช้ในการทำงานด้วย เพราะพนักงานจะทำงานด้วยความใส่ใจและตั้งใจเหมือนตนเองเป็นเจ้าของกิจการเอง 

ดร.พัทธนันท์ กล่าวด้วยว่า สำหรับปี 2562 นี้ เลือก หัวข้ออาหารแห่งโลกอนาคต  เพราะมองว่า เป็นเรื่องใกล้ตัวทุกคน  “ต้องกิน”  และการทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหารต้องรู้แนวโน้มเทรนด์ของอาหารในโลกอนาคต ถ้าสามารถปรับตัวและรู้เทรนด์ได้ก่อนคนอื่นก็จะได้เปรียบ  โดยความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมน้องๆสามารถนำไปปรับใช้ให้ เกิดประโยชน์ได้  นอกจากนี้ในวันที่ 2 ของกิจกรรม น้องๆจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจในเชิงลึกมากขึ้นจากอาจารย์จากวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA)  ในแง่ของการมองโอกาสทางธุรกิจผ่านปัญหาของกลุ่มลูกค้า การแก้ปัญหาให้ลูกค้า รวมถึงการหากลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งเป็นพื้นฐานหลักๆ ในการเริ่มต้นธุรกิจ รวมถึงเวิร์คชอปการสร้างแบรนด์และเพิ่มมูลค่าให้สินค้า หรือ บริการ ด้วยทักษะแห่งการออกแบบที่มาสอนโดยอาจารย์จากคณะศิลปกรรมโดยตรง น้องๆจะได้นำเสนอไอเดียสุดครีเอทโดยการลงมือขีดเขียนผ่านโปรแกรม Good Note ในไอแพด

สำหรับทีมที่ชนะเลิศจาก Mini Pitching รับเงินทุนการศึกษาจำนวน 10,000 บาท พร้อมทุนศึกษาต่อระดับปริญญาตรีฟรีตลอดหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ทีม “อะจ๊วง” จากโรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยา จ.ปทุมธานี ประกอบด้วย นายพีระ เพิ่มพูน (พี) นางสาว พรปวีณ์ ปิติทิพยพัฒน์ (แอมเวย์) และนายชยานันท์ พิลึก (นิว) ร่วมกันเสนอไอเดียกล่องพิซซ่าลดโลกร้อน

นายพีระ เพิ่มพูน ตัวแทนทีมอะจ๊วง กล่าวว่า ที่เลือกทำกล่องพิซซ่าลดโลกร้อน ภายใต้แบรนด์ NAP BOX ปัญหาของลูกค้า คือ กล่องเก็บความร้อนไม่ได้นาน จึงคิดทำสินค้าเพื่อตอบโจทย์แก้ไขปัญหานี้ให้กับลูกค้า อีกอย่างการเป็นสตาร์ทอัพทุนมีไม่มาก จึงตั้งเป้าหมายแค่กลุ่มลูกค้าร้านขายพิซซ่ากลุ่มเดียวก่อนค่อยขยายฐานลูกค้าในภายหลังได้ โดยตอนแรกก็คิดสารพัดสินค้าวนอยู่แต่กับอาหาร พออาจารย์จาก มธบ.ให้คำแนะนำว่า สินค้าไม่จำเป็นต้องเป็นอาหารก็ได้เป็นแพคเกจจิ้ง ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารก็ได้ เลยสรุปออกมาเป็นโปรดักส์ตัวนี้ ตัวกล่องจะประกอบด้วย กระดาษ และ ฟอยท์เก็บความร้อน ที่นำมาเรียงเป็น 3 ชั้น เพื่อเก็บความร้อน และเรายังช่วยลดโลกร้อน โดยกล่องสามารถนำมารีไซเคิลได้ให้ลูกค้าส่งคืนกลับมาเน้นการรักษาสภาพแวดล้อมถือเป็นโปรดักส์รักษ์โลก

“สิ่งที่เราคิดจะได้ประโยชน์ถึง 3 ฝ่ายด้วยกัน คือ สร้างจิตสำนึกร่วมรักษ์โลกให้กับผู้บริโภคของแบรนด์ที่เราเป็นซัพพลายเออร์ให้ ตัวลูกค้าของเราเองก็มีภาพของสินค้าที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และตัวของเราเองด้วย เมื่อตัวสินค้าขายดีขึ้นเราเองก็จะได้ยอดขายเพิ่มตามไปด้วย เป็นการช่วยขยายฐานผู้บริโภคที่ใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมให้กับลูกค้าของเราด้วย ซึ่งจะช่วยให้เราเติบโตไปพร้อมๆกันได้ และการนำกล่องมารีไซเคิลกลับมาใช้ซ้ำ นอกจากช่วยลดโลกร้อนแล้วยังเป็นการช่วยลดต้นทุนของเราด้วย สินค้าก็จะมีราคาไม่แพงและสามารถขายได้ปริมาณมากขึ้น” น้องพีระกล่าว

น้องแอมเวย์และน้องนิว กล่าวเสริมว่า ตอนแรกที่ทำเวิร์คช็อบทำเบอเกอร์ ก็งงว่าเรามาค่ายธุรกิจทำไมต้องไปทำอาหารด้วยเหรอ พอลงมือทำเราจึงได้รู้รายละเอียดว่ายากแค่ไหน แล้วถ้ามีลูกจ้างเขาจะรู้สึกยังไงตอนทำเยอะๆ เขาเหนื่อยแค่ไหน จะได้เข้าใจตั้งแต่ระดับต่ำสุดจนถึงจุดสูงสุด แล้วเราจะเข้าใจสินค้ามากที่สุดด้วย ผมชอบค่ายนี้ อาจารย์ทุกคนให้ความรู้แบบไม่มีกั๊กเลยทำให้เรามองภาพต่างๆได้ชัดขึ้น จุดประกายให้เราเกิดความคิดสร้างสรรค์ มีไอเดียดีๆได้

ด้านนางสาวศศิภา อธิสินจงกล อาจารย์วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) หลักสูตรนานาชาติ หนึ่งในทีมพี่เลี้ยง กล่าวว่า ทีมนี้มีจุดเด่น คือ มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกค้า และยังมองเห็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย เช่น เรื่องของขยะ และไม่ใช่คิดแค่จะสร้างเงินให้กับธุรกิจตัวเองอย่างไร แต่ยังคิดช่วยไปถึงธุรกิจของลูกค้าให้มี Brand Value ที่สูงขึ้นด้วย ทีมนี้ไม่ใช่แค่ทำให้ตัวเองมีรายได้ แต่ยังทำให้ลูกค้ามีภาพลักษณ์ที่ดีและส่งผลสังคมดีขึ้นด้วย

แววสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ของทีม อะจ๊วง เห็นมาแต่ไกล น้องๆ คนไหนสนใจกิจกรรมดีๆที่จัดขึ้นทุกปีแบบนี้ ติดตามความเคลื่อนไหวได้ใน Facebook Fanpage : @dpuxyourfuture หรือ website : dpux.dpu.ac.th

“พณชิต กิตติปัญญางาม” ผอ. DPU X  เผย รัฐ-เอกชน ตื่นตัวเทคโนโลยีใหม่ เตรียมเปิดหลักสูตร  “Geeks on The Block Chain”  ปลุกวงการ Developer แต่งตัวให้พร้อมช่วยองค์กรพัฒนาธุรกิจ 

ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม ผู้อำนวยการสถาบัน DPU X โดย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และนายกสมาคม Thailand Tech Startup Association (สมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่) เปิดเผยว่า ปัจจุบันหลายองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเริ่มมีการตื่นตัวกันมากในการนำเทคโนโลยี BlockChain มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการจัดการข้อมูล โดยเฉพาะภายในระยะเวลา อีก 5 ปีนับจากนี้จะเห็นคุณค่าของ BlockChain เพิ่มมากขึ้นเหมือนกับในอดีตที่เริ่มมีอินเตอร์เน็ต ทุกคนมองคุณค่าของอินเตอร์เน็ตไม่ออก ต่อมาเมื่อมีคนเริ่มสร้างแอพพลิเคชั่นต่างๆ มีการส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ทุกคนเริ่มเห็นพลังของอินเตอร์เน็ต  เช่นเดียวกันวันนี้ผู้คนกำลังอยู่บนโลกของดิจิตอลกันมากขึ้น Block Chain ที่ทำหน้าที่ส่งผ่านมากกว่าเพียงข้อมูล แต่ส่ง "คุณค่า" ไปด้วย  จะทำให้เกิดฝาแฝดของสิ่งต่างๆในโลกดิจิตอล ช่วยให้ Interaction หรือการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันบนโลกดิจิตอลมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้น 

ทั้งนี้ มูลค่าการลงทุนในเทคโนโลยี BlockChain มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสถาบันการเงินที่แสดงความสนใจทั้งด้านการวิจัยพัฒนาระบบและการร่วมลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพต่างๆ เนื่องจากธุรกรรมต่างๆที่ต้องใช้ตัวกลาง (บุคคลที่สาม) จะได้รับผลกระทบค่อนข้างชัดเจนหลังเทคโนโลยี Block Chain เข้ามาจัดการการแลกเปลี่ยนต่างๆ  ยิ่งไปกว่านั้น จากการสำรวจของ World Economic Forum (WEF) คาดว่า ภาครัฐของประเทศต่างๆ จะนำร่องประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนี้ก่อนภายในปี 2023 หรืออีก 4 ปีข้างหน้า และจะนำมาใช้อย่างแพร่หลายภายในปี 2027 หรือในอีก 8 ปีข้างหน้า

ดังนั้นช่วงเวลาของการเตรียมพร้อมรับมือกับการมาของ เทคโนโลยี BlockChain จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากขององค์กรต่างๆ หลายองค์กรเริ่มมองเห็นคุณค่า ของ BlockChain ที่มีระบบเข้ามาช่วยจัดการข้อมูล จึงนำมาซึ่งการตื่นตัวและเริ่มนำ  Block chain มาใช้กันเพิ่มมากขึ้น  นับเป็นสัญญาณที่ดีให้กับวงการ Developer เพราะผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจการทำงานบนระบบ Decentralized จะสามารถมองเห็นภาพและพัฒนา Application ในอนาคตได้ เนื่องจากโครงสร้างและสถาปัตยกรรมจะเปลี่ยนไป เป็นแบบ Decentralized ด้วย Blockchain  เช่น แนวคิด World Computer ของ Ethereum

ล่าสุด ทาง DPU X สถาบันเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการและบุคลากรแห่งอนาคต ได้ร่วมมือกับ Smart Contract Thailand พร้อมด้วยวิทยากรรับเชิญจาก KBTG ได้จัดหลักสูตร “Geeks on The Block(Chain)” หรือ Block Chain Camp for Developers  batch  1 ครั้งแรกของประเทศ เป็นหลักสูตรที่เน้นการพัฒนาเชิง Technical ด้าน Block Chain ที่เข้มข้นที่สุดในประเทศไทย โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ภูมิ ภูมิรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Block Chain ระดับแนวหน้าของประเทศและผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการรักษาความปลอดภัยในโลกโซเชียล รวมถึงทีม Smart Contract Thailand และทีม KBTG มาร่วมออกแบบ และดูแลหลักสูตรดังกล่าวนี้

ดร.พณชิต กล่าวด้วยว่า นอกจากการเรียนรู้ด้านพื้นฐานและแนวความคิดระบบ Block Chain ในหลักสูตรนี้แล้ว ผู้เข้าอบรมจะได้ลงมือเขียนโค้ด จากโจทย์จริงด้วย จึงเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้เข้ารับการอบรมที่จะได้มีโอกาสฝึกการคิดค้น แก้ปัญหาให้ตรงจุด และเพื่อเป็นการสร้างประสบการณ์อย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้หลักสูตรยังได้มีการจัด Public Code Review เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้แลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เข้าอบรมท่านอื่นๆ, วิทยากร, Commentator ผู้เชี่ยวชาญ, องค์กรภาครัฐและเอกชน รวมถึง Developer ท่านอื่นๆที่มีความสนใจ

ดร.พณชิต กล่าวอีกว่า หลักสูตรดังกล่าวนี้ทาง DPUX เตรียมเปิดอบรมระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2562 ผู้เข้ารับการอบรมจนสำเร็จจะสามารถเพิ่มศักยภาพในการทำงาน ตลอดจนใช้ในการพัฒนาธุรกิจของตนเองหรือองค์กรต้นสังกัดเพื่อเป็น Developer ที่มีความพร้อมด้าน Block Chainอย่างแท้จริงผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดได้ที่  http://dpux.dpu.ac.th/geeksontheblock/register/batch1  

Page 2 of 3
X

Right Click

No right click