เคทีซีเผยผลประกอบการของบริษัทและบริษัทย่อยในปี 2566 กำไรสุทธิ 7,295 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.1% จากงวดเดียวกันของปี 2565 พอร์ตสินเชื่อรวมมีมูลค่า 112,346 ล้านบาท ขยายตัว 7.8% จากช่วงเดียวกันของปี 2565 อานิสงส์จากสภาวะเศรษฐกิจไทยที่ทยอยฟื้นตัว ประกอบกับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน โดยแผนกลยุทธ์ธุรกิจในปีนี้ จะยังคงมุ่งเน้นพอร์ตสินเชื่อให้เติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการควบคุมคุณภาพพอร์ตสินเชื่อ คัดกรองลูกหนี้ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมและยอมรับได้ รวมทั้งเดินหน้ามาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ระยะยาวตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อีกทั้งบริหารจัดการให้สินเชื่ออย่างเป็นธรรม โดยให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ทุกสถานะตามแนวทางของธปท. เป็นจำนวนเงิน 1,833 ล้านบาท เมื่อสิ้นปี 2566

นางพิทยา วรปัญญาสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ภาพรวมของอุตสาหกรรมสินเชื่อผู้บริโภคยังขยายตัว จากความต้องการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังคงอยู่ในระดับดี โดยเคทีซีมีสัดส่วนของลูกหนี้บัตรเครดิตเทียบกับอุตสาหกรรมสำหรับ 11 เดือน ปี 2566 เท่ากับ 15.1% ส่วนแบ่งตลาดของปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรของบริษัทเท่ากับ 12.2% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2565 และมีสัดส่วนของลูกหนี้สินเชื่อบุคคล (ไม่รวมสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน) เทียบกับอุตสาหกรรมเท่ากับ 6.3%”

“ในปี 2566 เคทีซีมีอัตราการขยายตัวของปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรที่ 11.4% โดยมูลค่าพอร์ตสินเชื่อรวมขยายตัวที่ 7.8% พอร์ตบัตรเครดิตเคทีซียังขยายตัวได้ที่ 7.2% ตามปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรที่เพิ่มขึ้นจากอุปสงค์การใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ขณะที่พอร์ตสินเชื่อบุคคลรวมขยายตัวที่ 7.5% โดยบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” (KTC PROUD) เติบโต 4.4% และยอดลูกหนี้ใหม่ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” มีมูลค่า 2,590 ล้านบาท”

“ผลการดำเนินงานของเคทีซี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 งบการเงินรวมปี 2566 กำไรสุทธิ 7,295 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.1% มีฐานสมาชิกรวม 3,358,926 บัญชี เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับรวมหรือพอร์ตสินเชื่อรวมมีมูลค่าเท่ากับ 112,346 ล้านบาท เติบโต 7.8% อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อรวมของกลุ่มบริษัท (%NPL) อยู่ที่ 2.2% โดยแบ่งเป็นพอร์ตสมาชิกบัตรเครดิต 2,637,183 บัตร เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรเครดิตและดอกเบี้ยค้างรับรวม 74,441 ล้านบาท ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรในปี 2566 เท่ากับ 265,383 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.4% NPL บัตรเครดิตอยู่ที่ 1.1% พอร์ตสมาชิกสินเชื่อบุคคลเคทีซี 721,743 บัญชี แบ่งเป็นเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” และดอกเบี้ยค้างรับ 30,597 ล้านบาท เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” เท่ากับ 2,287 ล้านบาท NPL สินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 3.0% สำหรับสินเชื่อลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อมูลค่า 3,189 ล้านบาท เคทีซีได้หยุดการปล่อยสินเชื่อประเภทนี้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 เพื่อบริหารจัดการคุณภาพพอร์ตสินเชื่อและการติดตามหนี้ เนื่องจากเห็นสัญญาณของหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น”

เคทีซีมีรายได้รวมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2565 เท่ากับ 9.4% จากรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียม ขณะที่ค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้น 14.0% จากค่าใช้จ่ายในการบริหารหลักๆ เพิ่มขึ้น ค่าธรรมเนียมจ่ายจากปริมาณธุรกรรมที่ขยายตัว ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) เพิ่มขึ้นจากการตั้งสำรองสูงขึ้น และต้นทุนทางการเงินที่ปรับขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงิน

ทั้งนี้ ข้อมูลวันที่ 31 ธันวาคม 2566 กลุ่มบริษัทมีเงินกู้ยืมทั้งสิ้น 66,404 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.7%  เทียบจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า แบ่งสัดส่วนโครงสร้างแหล่งเงินทุนเป็นเงินกู้ยืมระยะสั้น (รวมส่วนของเงินกู้ยืมและหุ้นกู้ที่ครบกำหนด

ชำระภายในหนึ่งปี) 32.9% และเงินกู้ยืมระยะยาว 67.1% วงเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินรวม (Total Short-Term Credit Line) ทั้งสิ้นจำนวน 29,371 ล้านบาท (รวมวงเงินจากธนาคารกรุงไทย 19,061 ล้านบาท) ใช้วงเงินระยะสั้นไปจำนวน 4,981 ล้านบาท มีวงเงินคงเหลือทั้งสิ้น 24,390 ล้านบาท อัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 2.15 เท่า ลดลงเมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อนหน้าที่ 2.22 เท่า ต่ำกว่าภาระผูกพัน (Debt Covenants) ที่ 10 เท่า ในปี 2566 เคทีซีมีต้นทุนทางการเงินเท่ากับ 2.7% เพิ่มขึ้นจาก 2.4% ในปี 2565 ตามสภาวะอัตราดอกเบี้ยของตลาดที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันผลตอบแทนเงินให้สินเชื่อเท่ากับ 14.8% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ 14.6% จากการเติบโตของพอร์ตรวม ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิในปี 2566 อยู่ในระดับเดิมที่ 13.2%

“ในปี  2567 นี้ หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจจะปรับดีขึ้น ตามการขยายตัวของภาคการส่งออกและการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว จึงน่าจะเป็นแรงส่งให้การบริโภคภาคเอกชนขยับตัวและมีการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น โดยเคทีซีตั้งเป้าหมายจะมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการดูแลพอร์ตลูกหนี้รวมให้ขยายตัวมากขึ้น ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้อย่างเหมาะสม และตั้งเป้าเติบโตใน 3 ธุรกิจหลัก คือ ธุรกิจบัตรเครดิต สินเชื่อบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” (KTC PROUD) และสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” อีกทั้งจะส่งเสริมธุรกิจ “มาย บาย เคทีซี” (MAAI by KTC) ซึ่งให้บริการระบบบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า ให้ขยายตัวมากขึ้น ร่วมกับการพัฒนา 3 องค์ประกอบหลัก คือ คน กระบวนการและเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์และบริการ”

“นอกจากนี้ เพื่อขานรับกับประกาศของธปท. ที่  สกช. 7/2566 เรื่องหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending: RL) เคทีซียังมีมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ระยะยาว เช่น กรณีปรับเพิ่มอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิตจาก 5% เป็น 8% ซึ่งมีผลกับรอบบัญชีตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 - 31 ธันวาคม 2567 นั้น เคทีซีเชื่อว่าลูกหนี้ส่วนใหญ่จะสามารถจ่ายชำระขั้นต่ำที่สูงขึ้นได้ แต่หากมีลูกหนี้บางส่วนที่ชำระไม่ได้ บริษัทมีแนวทางต่างๆ ในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ อีกทั้งจะเสนอแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ที่ยังไม่ด้อยคุณภาพ (non-NPL) ซึ่งเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในลักษณะเชิงป้องกัน (Pre-emptive DR) ตั้งแต่เริ่มมีสัญญาณว่าลูกหนี้กำลังจะประสบปัญหาในการชำระหนี้อย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อให้ลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ ไม่กลายเป็นหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) และบริษัทจะเสนอแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยเฉพาะก่อนการดำเนินการตามกฎหมาย โอนขายหนี้ บอกเลิกสัญญาหรือยึดทรัพย์ ซึ่งการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ดังกล่าว บริษัทจะพิจารณาให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ และไม่ทำให้ลูกหนี้มีภาระหนี้เพิ่มขึ้นจากภาระหนี้เดิมเกินสมควร”

“อย่างไรก็ตาม การดำเนินความช่วยเหลือตามเกณฑ์ดังกล่าว เคทีซีพิจารณาแล้วเชื่อมั่นว่าจะไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อภาพรวมการดำเนินงานของบริษัท นอกจากนี้ แนวทางความช่วยเหลือของ ธปท. ต่อลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt: PD) ที่จะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 เมษายน 2567 เป็นต้นไปนั้น จากการประเมินผลกระทบหากลูกหนี้ที่เข้าเกณฑ์ทุกรายเข้าร่วมโครงการ จะมีผลกระทบต่อรายได้ดอกเบี้ยลดลงประมาณ 18 ล้านบาทต่อเดือน สำหรับความคืบหน้าด้านแนวคิดให้ผู้กู้จ่ายดอกเบี้ยตามความเสี่ยง (Risk-based Pricing: RBP) ยังต้องรอเวลาให้เปิดเข้าร่วมทดสอบในกลางปี 2567 และกรณีการกำหนดสัดส่วนของภาระหนี้สินเทียบกับรายได้ (Debt Service Ratio: DSR) ยังไม่มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นเป็นการเฉพาะ ตามแผนเดิมของ ธปท. คาดจะเริ่มบังคับใช้ในปี 2568 ทั้งนี้ ธปท. จะประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจอีกครั้ง”

“ที่ผ่านมาเคทีซียังได้ดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ตามแนวทางของธปท. ในการบริหารจัดการด้านการให้สินเชื่ออย่างเป็นธรรม โดยข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 เคทีซีได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ในทุกสถานะเป็นจำนวน 1,833 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 1.7% ของพอร์ตลูกหนี้รวม”

นายณัฐสิทธิ์  สุนทราณู  ผู้บริหารสูงสุด ฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เผยว่า “ด้วยกลยุทธ์การตลาดของเคทีซีที่มุ่งตอบสนองความต้องการลูกค้าให้ตรงใจในแต่ละเซ็กเมนท์ ในส่วนของ ช้อปออนไลน์ถือเป็นช่องทางซื้อสินค้าที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ด้วยจุดแข็งของความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาและความคุ้มค่า ซึ่งปีที่ผ่านมาช้อปออนไลน์ถือเป็นอีกหนึ่งหมวดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่มีแนวโน้มเติบโตดี ต่อเนื่อง”

“สำหรับปีนี้ด้วยแผนกลยุทธ์ของเคทีซีที่มุ่งสร้างความสะดวก อุ่นใจและความปลอดภัยในการใช้จ่าย ทั้งออนไลน์และ ออฟไลน์ให้กับสมาชิก อย่างเช่นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างบัตรเครดิต “เคทีซี ดิจิทัล” บัตรโปร่งแสงที่ไม่มีเลขบัตรเครดิต และเลข CVV และแอปพลิเคชัน “KTC Mobile” ที่ถูกออกแบบและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีและ บัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” สามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้ง่ายด้วยตนเองอย่างปลอดภัย ประกอบกับมาตรการ Easy E-Receipt  ที่ให้สิทธิ์ผู้ซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 - 15 กุมภาพันธ์ 2567 สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 5 หมื่นบาท น่าจะเป็นปัจจัยเสริมให้หมวดการใช้จ่ายออนไลน์ขยายตัวได้ตามเป้าหมาย”

“ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เคทีซีได้ร่วมมือกับช้อปปี้ พันธมิตรผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ชในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้และไต้หวัน มอบสิทธิพิเศษในรูปแบบของส่วนลด พร้อมบริการผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน สำหรับสินค้า ที่ร่วมรายการ ให้กับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี มาสเตอร์การ์ด และบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว มาสเตอร์การ์ด” เริ่มต้นที่ ส่วนลด 200 บาท เมื่อมียอดซื้อสินค้า 1,600 บาทขึ้นไปต่อรายการ และมอบส่วนลดสูงสุดถึง 1,300 บาท เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรฯ 25,000 บาทขึ้นไปต่อรายการ พร้อมใส่โค้ดส่วนลดที่กำหนดก่อนการชำระ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 29 กุมภาพันธ์ 2567

“เคทีซียังได้จัดกิจกรรมให้สมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีทุกประเภท สามารถใช้คะแนน KTC FOREVER เริ่มต้นที่ 999 คะแนน (ปกติ 2,000 คะแนน) แลกรับโค้ดส่วนลด Shopee 200 บาท (เฉพาะวันที่ 15 มกราคม 2567 – 2 กุมภาพันธ์ 2567) นอกจากนี้ ยังมีแคมเปญการตลาดอื่นๆ ที่ทยอยมามอบสิทธิประโยชน์ให้กับสมาชิก อาทิ ส่วนลด 300 บาท ช่วงเงินเดือนออกหรือเพย์เดย์ (PAYDAY) ระหว่างเดือนมกราคม 2567 - พฤษภาคม 2567 ​​​(ทุกวันที่ 25 ของเดือน จนถึงสิ้นเดือนนั้นๆ) ติดตามรายละเอียดและโปรโมชันเพิ่มเติมคลิก  ktc.promo/shopee

สำหรับผู้สนใจสมัครบัตรเครดิตเคทีซีทุกประเภท คลิก https://ktc.today/apply-card  สมัครบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” คลิก https://ktc.today/KTC-PROUD หรือติดต่อ KTC PHONE โทร. 0-2123-5000 หรือศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ ทั้งนี้ ผู้ถือบัตรเครดิตควรใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16%      ต่อปี สำหรับผู้ถือบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” ควรกู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้ไหว

เคทีซีสนับสนุนสมาชิกเลือกเดินทางด้วยรถสาธารณะ เพื่อช่วยลดปัญหาฝุ่นละอองและความแออัดของการคมนาคมขนส่งระหว่างเมือง จับมือ “BEM” และ “MRTA” มอบโค้ด e - Coupon ส่วนลด 50 บาท เมื่อสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีเติมเงินบัตรโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วงทุกประเภท 400 บาทขึ้นไป และใช้คะแนน KTC FOREVER 499 คะแนนแลกรับ ตลอดทั้งปี 2567

 

“เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดยนางสาววริษฐา พัฒนรัชต์ ผู้บริหารสูงสุด ฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต กล่าวว่า “เคทีซีสนับสนุนให้สมาชิกเล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้รถโดยสารสาธารณะพลังงานไฟฟ้า รวมถึงลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในบางโอกาส เพื่อลดปัญหาฝุ่นละออง ความแออัดของการคมนาคมขนส่งระหว่างเมือง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงได้จับมือกับ “BEM” (Bangkok Expressway and Metro) หรือบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคลหรือรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และ “MRTA” (Mass Rapid Transit Authority of Thailand) หรือการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรมหรือรถไฟฟ้าสายสีม่วง มอบโค้ด e - Coupon ส่วนลด 50 บาท สำหรับบริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เส้นทางสถานีหัวลำโพงถึงบางซื่อ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายสถานีหัวลำโพงถึงหลักสอง และสถานีบางซื่อถึงสถานีท่าพระ รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีม่วง เส้นทางสถานีเตาปูนถึงคลองบางไผ่ เพียงสมาชิกเติมเงินบัตรโดยสารรถไฟฟ้าทุกประเภทด้วยบัตรเครดิตเคทีซี 400 บาทขึ้นไป และใช้คะแนน KTC FOREVER 499 คะแนนแลกรับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 31 ธันวาคม 2567 โดยสมาชิกรับสิทธิ์ได้ทันทีผ่านแอป KTC Mobile และทำรายการแลก e - Coupon ต่อหน้าพนักงานเท่านั้น

ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC PHONE โทรศัพท์ 02 123 5000 หรือติดตามโปรโมชันของเคทีซีได้ที่ https://www.ktc.co.th สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี สามารถคลิกดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ https://ktc.today/apply-card หรือติดต่อศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ”

นางสาวพิชามน จิตรเป็นธรรม  ผู้บริหารสูงสุด สายงานสินเชื่อบุคคล “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เผยว่า “เคทีซีได้เปิดตัวโครงการ “เคลียร์หนี้” เป็นครั้งที่ 15 เพื่อตอบแทนความมีวินัยให้กับสมาชิกสินเชื่อบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” ทุกประเภท ทั้งวีซ่า มาสเตอร์การ์ด และยูเนี่ยนเพย์ รวมทั้งบัตรกดเงินสด “เคทีซี พี่เบิ้ม มอเตอร์ไซค์” เพื่อเป็นกำลังใจและแบ่งเบาภาระให้กับสมาชิกเคทีซีกว่า 700,000 ราย อย่างต่อเนื่อง และเป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending)  เพียงลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ เพียงครั้งเดียว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 - 31 ธันวาคม 2567 สามารถรับสิทธิ์ร่วมลุ้นรางวัลได้ตลอดปี 2567 ถึง 600 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 7 ล้านบาท รางวัลที่ 1 บัตรกำนัลส่วนลดค่าใช้จ่ายเพื่อเคลียร์หนี้ จำนวน 12 รางวัล (จับรางวัล 12 รอบๆ ละ 1 รางวัล)  รางวัลที่ 2 บัตรกำนัลส่วนลดค่าใช้จ่ายเพื่อลดหนี้ จำนวน 588 รางวัล (จับรางวัล 12 รอบๆ ละ 49 รางวัล)”

“สมาชิกบัตรกดเงินสดเคทีซี สามารถเข้าร่วมรับสิทธิ์ในโครงการเคลียร์หนี้ได้ โดยแบ่งสิทธิ์เป็น 2 ประเภทคือ สิทธิ์ใช้ดี:  รับ 1 สิทธิ์ จากยอดการใช้วงเงินสินเชื่อฯ (รูด-โอน-กด-ผ่อน) ทุกๆ 2,000 บาท และคงค้างสินเชื่ออย่างน้อย 15 วันติดต่อกันทุกวันนับจากวันที่มียอดการใช้วงเงินสินเชื่อ (ไม่จำกัดจำนวนสิทธิ์) และสมาชิกฯ ชำระหนี้ไม่น้อยกว่ายอดเรียกเก็บขั้นต่ำและชำระภายในวันครบกำหนดชำระเงินในรอบนั้นๆ  สิทธิ์จ่ายดี:  รับ 1 สิทธิ์ สำหรับสมาชิกฯ ที่ชำระหนี้ไม่น้อยกว่ายอดเรียกเก็บขั้นต่ำและชำระภายในวันครบกำหนดชำระเงินในรอบนั้นๆ และไม่เป็นสมาชิกฯ ที่ได้รับสิทธิ์ใช้ดี โดยลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ผ่านเว็บไซต์ https://www.ktc.co.th/cleardebt2024 หรือช่องทาง SMS พิมพ์ OK67 เว้นวรรคตามด้วยหมายเลขบัตรกดเงินสดฯ 16 หลัก ส่งไปที่ 061-384-5000 หรือลงทะเบียนผ่านทาง KTC Touch หรือแอปพลิเคชัน “KTC Mobile”  

ผู้สนใจสมัครบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” คลิก https://ktc.today/KTC-PROUD สมัครบัตรกดเงินสด “เคทีซี พี่เบิ้ม มอเตอร์ไซค์” คลิก https://ktc.today/PBerm-Apply สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ KTC PHONE 02 123 5000 กด 0 กด 2

เคทีซีตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีบัตรเครดิต เปิดตัว “บัตรเครดิตเคทีซี ดิจิทัล” ครั้งแรกในไทยกับนวัตกรรมความปลอดภัยขั้นกว่าทั้งโลกออนไลน์และออฟไลน์ เอาใจสมาชิกสายออนไลน์ด้วยฟีเจอร์ Digital First และ Dynamic CVV เปิดให้สมาชิกเลือกรับบัตรพลาสติกใสไม่มีหมายเลขบนหน้าบัตรและแถบแม่เหล็ก ไร้กังวลจากการถูกโจรกรรมข้อมูลสำคัญ พร้อมพัฒนาช่องทางสมัครบัตรฯ ด้วยตัวเองผ่านแอป KTC Mobile และช่องทางออนไลน์ มั่นใจสิ้นปีมีจำนวนสมาชิกถือบัตรเครดิตเคทีซี ดิจิทัลไม่ต่ำกว่า 100,000 ใบ นางประณยา นิถานานนท์ ผู้บริหารสูงสุดสายงานการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากการศึกษาพฤติกรรมสมาชิกพบว่ามีการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์สูงขึ้นทุกปีและคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีสัดส่วนจำนวนรายการใช้จ่ายออนไลน์ทั้งสิ้นประมาณ 55% ของยอดรายการใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ทั้งพอร์ต และสิ่งที่เป็นกังวลที่สุดของสมาชิกคือเรื่องความปลอดภัยในการใช้บัตรฯ ที่สมาชิกต้องกรอกข้อมูลสำคัญบนหน้าบัตรฯ ให้กับร้านค้าออนไลน์ หรือเมื่อต้องยื่นบัตรฯ ให้กับร้านค้ากรณีชำระค่าสินค้าและบริการ เพื่อให้สมาชิกผู้ถือบัตรฯ รู้สึกปลอดภัยเมื่อมีการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ เคทีซีจึงได้เปิดตัว “บัตรเครดิตเคทีซี ดิจิทัล” (KTC DIGITAL CREDIT CARD) นวัตกรรมของความปลอดภัยขั้นกว่าครั้งแรกในประเทศไทยด้วย 3 จุดเด่น ดังนี้

1) Digital First สมาชิกสามารถใช้จ่ายได้ทันทีหลังได้รับการอนุมัติกับการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ รวมถึงการสแกนจ่ายด้วย QR Pay และผูกบัตรฯ กับระบบชำระเงินบนอุปกรณ์ต่างๆ เช่น กูเกิล เพย์ (Google Pay) หรือสวอทช์ เพย์ (Swatch Pay) เป็นต้น

2) Dynamic CVV ตัวเลขหลังบัตรฯ ที่เป็นรหัสความปลอดภัย จะเปลี่ยนแปลงทุกครั้งที่มีการร้องขอ และสามารถใช้งานได้ภายใน 24 ชั่วโมงต่อการขอ 1 ครั้ง (ไม่จำกัดจำนวนการขอ) เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับสมาชิกเมื่อใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์หรือผูกบัตรฯ ที่ร้านค้าออนไลน์ ด้วยเลขหลังบัตร (CVV) เพื่อยืนยันการชำระค่าสินค้าหรือบริการ

3) Numberless Card บัตรพลาสติกใสโปร่งแสง ไม่มีหมายเลขบนหน้าบัตร และไร้แถบแม่เหล็ก เพื่อเสริมความปลอดภัยเมื่อสมาชิกใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ที่ร้านค้าทั่วไป โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการถูกขโมยข้อมูลส่วนตัวบนหน้าบัตรฯ ขณะที่นางสาวสุชชวี บรรจบดี ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายการตลาดดิจิทัล “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเปิดตัว “บัตรเครดิตเคทีซี ดิจิทัล” ในครั้งนี้ถือเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับสมาชิก ด้วยจุดเด่นความเป็น Digital First จึงสามารถตอบโจทย์สมาชิกที่นิยมใช้จ่ายออนไลน์ด้วยความปลอดภัยขั้นสุด แต่หากสมาชิกต้องการบัตรพลาสติกก็สามารถแสดงความประสงค์ขอรับบัตรฯ ผ่านแอป KTC Mobile ได้ด้วยตนเอง ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีที่โหลดแอป KTC Mobile ทั้งสิ้น ประมาณ 2.2 ล้านราย คิดเป็น 88% ของจำนวนสมาชิกทั้งพอร์ต โดยแอป KTC Mobile จัดเป็นช่องทางที่สมาชิกเข้ามาใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ สะท้อนพฤติกรรมของสมาชิกที่มีความคุ้นชินกับดิจิทัลมากยิ่งขึ้น ดังนั้นแอป KTC Mobile จึงถูกออกแบบให้เป็นช่องทางในการขอเพิ่ม “บัตรเครดิตเคทีซี ดิจิทัล” สำหรับสมาชิกปัจจุบัน เพียงกดปุ่มสมัครบัตรฯ และเมื่อได้รับการอนุมัติ ก็สามารถใช้จ่ายทางออนไลน์ได้ทันที

ด้านนางสาวสิริกัลยา สุธัญญพฤทธิ์ ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายบริหารช่องทางขายออนไลน์ “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เคทีซีมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการตอบสนองประสบการณ์ของสมาชิก (Customer Experience) เป็นหลัก สำหรับกลยุทธ์การรับสมัครสมาชิก “บัตรเครดิตเคทีซี ดิจิทัล” ซึ่งกลุ่มเป้าหมายคือ คนรุ่นใหม่ที่คุ้นชินกับการทำธุรกรรมดิจิทัลด้วยตนเอง เคทีซีจึงได้พัฒนาช่องทาง Electronic Application บุคคลที่สนใจสามารถยื่นเอกสารสมัครบัตรฯ ด้วยตัวเองทางออนไลน์ ผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยสามารถดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ทุกที่ทุกเวลา ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของมนุษย์เงินเดือน หรือคนทำงานรุ่นใหม่ที่มีเวลาน้อย สามารถเลือกที่จะดำเนินการทุกอย่างด้วยตนเอง อีกทั้งยังเสริมความมั่นใจเรื่องความปลอดภัย โดยเฉพาะเอกสารที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนตัว สามารถสมัครผ่านเว็บไซต์ของเคทีซีหรือที่ KTC LINE Official account (@ktc_card) ขั้นตอนการสมัครบัตรฯ ง่ายและกระชับ ลดระยะเวลาการส่งเอกสาร เพียงกรอกข้อมูลและโหลดเอกสารครบถ้วน ฝ่ายอนุมัติก็พร้อมที่จะพิจารณาใบสมัครทันทีและจะส่งผลการพิจารณาผ่าน SMS ตามเบอร์ที่ได้แจ้งไว้ หรือสามารถเข้ามาตรวจสอบผลด้วยตนเองผ่านช่องทางที่ได้สมัครไว้

สำหรับการเปิดตัวในครั้งนี้ สมาชิกสามารถเลือกสมัคร “บัตรเครดิต เคทีซี ดิจิทัล แพลทินัม วีซ่า” (KTC DIGITAL PLATINUM VISA) หรือ “บัตรเครดิตเคทีซี ดิจิทัล แพลทินัม มาสเตอร์การ์ด” (KTC DIGITAL PLATINUM MASTERCARD) ได้ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2567 เป็นต้นไป โดยเคทีซีมั่นใจว่า

เทคโนโลยีและความปลอดภัยขั้นกว่าของบัตรเครดิตดังกล่าวจะแก้ปัญหาด้านความกังวลต่างๆ ให้กับสมาชิก และส่งผลให้มีจำนวนผู้ถือ “บัตรเครดิตเคทีซี ดิจิทัล” รวม 100,000 ใบภายในสิ้นปีนี้

ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC PHONE 02 123 5000 หรือติดตาม โปรโมชันของเคทีซีได้ที่ https://www.ktc.co.th

X

Right Click

No right click