ตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยมีการคาดการณ์ว่าจะขยายตัวเฉลี่ยปีละ 13% ในช่วงปี 2022 - 2025 จนมีมูลค่าราว 32,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ธุรกิจต่าง ๆ ก้าวเข้าสู่โลกอีคอมเมิร์ซเพื่อหาโอกาสใหม่ ๆ ทั้งยังมีผู้ประกอบการรายใหม่เกิดขึ้นมากมาย ทั้งนี้ ผู้ค้าออนไลน์รายใหม่อาจจะยังขาดความรู้และประสบการณ์ ทั้งด้านการบริหารร้านค้าออนไลน์ การคำนวณต้นทุน การตั้งราคาขาย การบริหารคลังสินค้า และความรู้ด้านภาษี แม้ขายดีก็อาจจะขาดทุนได้

ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ Sea (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำ ได้แก่ การีนา (Garena) ช้อปปี้ (Shopee) และซีมันนี่ (SeaMoney) จึงผสานความเชี่ยวชาญ จัดทำวิดีโอสั้น (video series) ชุด ‘Smart E-commerce Entrepreneur’ จำนวน 5 ตอน เพื่อเติมเต็มความรู้ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการออนไลน์ ผ่านเนื้อหาที่ถูกย่อยให้กระชับ เข้าใจง่าย และนำไปใช้ได้จริง ทั้งด้าน ‘การทำธุรกิจบนอีคอมเมิร์ซ’ และ ‘การเงินเพื่อธุรกิจออนไลน์’ (Financial literacy for online sellers)

นางพรรณวดี ลดาวัลย์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ มุ่งส่งเสริมการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในทุกมิติ โดยมุ่งมั่นพัฒนาตลาดทุนให้เป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน ภายใต้วิสัยทัศน์ “To Make the Capital Market ‘Work’ for Everyone” โดยภารกิจหนึ่งที่สำคัญในด้านการส่งเสริมความรู้ผู้ประกอบการ คือ การพัฒนาองค์ความรู้และทักษะความเป็นผู้ประกอบการ ตลอดจนการเผยแพร่ความรู้เหล่านี้ไปยังกลุ่มเป้าหมาย ภายใต้แบรนด์ “ห้องเรียนผู้ประกอบการ” ผ่านสื่อความรู้ดิจิทัล e-Learning คลิปความรู้ วีดีโอซีรีส์ บทความและ Infographic กว่า 600 ชิ้น ซึ่งการได้ร่วมมือกับ Sea (ประเทศไทย) ในครั้งนี้ จะเป็นการผนึกกำลังความแข็งแกร่งของแต่ละองค์กร มาต่อยอดและขยายผลไปยังกลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการออนไลน์ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง”

ดร.ศรุต วานิชพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส Sea (ประเทศไทย) กล่าวถึงการยกระดับความสามารถผู้ประกอบการบนแพลตฟอร์มช้อปปี้ (Shopee) ว่า “การเริ่มทำธุรกิจบนอีคอมเมิร์ซเป็นเรื่องง่าย ทั้งยังใช้ต้นทุนต่ำ ทำให้คนไทยหันมาเป็นผู้ประกอบการออนไลน์กันมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ดังนั้น Sea (ประเทศไทย) และช้อปปี้ (Shopee) ซึ่งเป็นธุรกิจ อีคอมเมิร์ซภายในเครือ จึงมุ่งให้ความรู้และส่งเสริมทักษะผู้ประกอบการให้กับผู้ค้าช้อปปี้มาโดยตลอด ปฏิเสธไม่ได้ว่า การทำธุรกิจในปัจจุบันมีการแข่งขันสูง และผู้ค้ารายใหม่อาจจะยังขาดความรู้ โดยเฉพาะในด้านการจัดการร้านค้า การคำนวณและบริหารต้นทุน การตั้งราคา การบริหารคลังสินค้า และภาษี ดังนั้น การร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ในครั้งนี้ จึงเป็นการผสานความเชี่ยวชาญ เพื่อตอบโจทย์ Pain Point ของผู้ประกอบการออนไลน์อย่างแท้จริง”

เนื้อหา 5 ตอน ประกอบไปด้วย

· EP1 โอกาสการขายผ่าน e-commerce

· EP2 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจ Ecommerce ประสบความสำเร็จ

· EP3 ตั้งราคาสินค้าอย่างไรให้เหมาะสมและไม่ขาดทุน

· EP4 จัดการ Stock สินค้าให้ดีทุนไม่จม

· EP5 ขายออนไลน์ต้องรู้ เสียภาษีอย่างไร

ผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ สามารถรับชม วิดีโอสั้นชุด ‘Smart E-commerce Entrepreneur’ ทั้ง 5 ตอน ได้ทาง Shopee University, SeaAcademy.co และ LiVE Platform by SET

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตอาหารทะเลรายใหญ่ของโลก และหนึ่งในผู้ผลิตปลาทูน่ากระป๋องที่ใหญ่ที่สุดของโลก ประกาศจุดยืนในการจัดหาวัตถุดิบจากเรือประมงที่มีการปฏิบัติที่ดีเพื่อปกป้องสัตว์น้ำจากปัญหาการจับติดสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย(bycatch)

ทั้งนี้ ไทยยูเนี่ยนได้อ้างอิงผลงานวิจัยขององค์กรการประมงเพื่อความยั่งยืน หรือ Sustainable Fisheries Partnership (SFP) ในเรื่องของความเสี่ยงต่อฉลาม นกและเต่าทะเล รวมถึงสัตว์ทะเลชนิดๆ อื่น จากการประมงที่ส่งวัตถุดิบให้กับบริษัท และผลการวิเคราะห์ของบริษัท Key Traceability ที่ตรวจสอบโครงการพัฒนาประมงทูน่าของไทยยูเนี่ยนและแหล่งประมงอื่นๆที่มีความเสี่ยงสูง

อดัม เบรนนัน ผู้อำนวยการกลุ่มด้านความยั่งยืน ของกลุ่มไทยยูเนี่ยน กล่าวว่า “ไทยยูเนี่ยนต้องการเพิ่มระดับความเข้มข้นของการทำงานของเราให้มากขึ้น เพื่อที่จะให้แน่ใจว่าจะได้วัตถุดิบจากเรือประมงที่หลีกเลี่ยงหรือลดละการจับติดสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย สืบเนื่องจากองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมหลายที่ได้ชี้ให้เห็นว่าโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตการสูญเสียพันธุ์สัตว์น้ำและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยรายงาน Sustainable Fisheries Partnership (SFP) ระบุว่าสายพันธุ์สัตว์ที่ถูกคุกคาม ใกล้สูญพันธุ์ และถูกคุ้มครองในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนกลางมีปริมาณลดลงอย่างมาก”

เป็นที่ทราบกันดีว่า ไทยยูเนี่ยนเป็นผู้ผลิตและผู้จำหน่ายปลาทูน่าบรรจุกระป๋องภายใต้แบรนด์ต่าง ๆ ของบริษัท รวมถึงชิคเก้น ออฟ เดอะ ซี และจอห์น เวสต์ และในฐานะที่ไทยยูเนี่ยนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเวทีเสวนาในงาน ซีฟู้ด เอ็กซ์โป นอร์ธ อเมริกา ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคอเมริกาเหนือและที่สองของโลก บริษัทจึงประกาศเป้าหมายปี 2573 ของกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของบริษัท ซึ่งต่อยอดจากความทุ่มเทตลอดระยะเวลา 7 ปี ที่ผ่านมา ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการประมงว่า

· ภายในปี 2573 เรือประมงทุกลำต้องมีมาตรฐานการปฏิบัติที่ดีเพื่อปกป้องสายพันธุ์สัตว์ที่ถูกคุกคาม ใกล้สูญพันธุ์ และถูกคุ้มครอง

· ทำตามพันธกิจด้านปลาทูน่าของบริษัทที่ได้ประกาศไว้แล้วได้ให้ครบสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2568 ว่าเรือประมงทูน่าทุกลำจะต้องมีผู้สังเกตการณ์ (บุคคลหรือผ่านเครื่องมืออิเล็คทรอนิก) ซึ่งจะทำงานโดยตรงกับบริษัทคู่ค้าหรือผู้ให้บริการ

แคธริน โนวัค ผู้อำนวยการด้านการตลาดทั่วโลก องค์กร SFP กล่าวว่า “การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นภัยคุกคามต่อความยั่งยืนของการทำการประมง ไทยยูเนี่ยนได้สร้างมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมอาหารทะเลในการปกป้องสายพันธุ์สัตว์ที่ถูกคุกคาม ใกล้สูญพันธุ์ และถูกคุ้มครอง โดยการตรวจสอบห่วงโซ่อุปทาน และรับซื้อวัตถุดิบจากเรือประมงที่ตื่นตัวในการจัดการปัญหาการจับสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย” รายงานล่าสุดโดยองค์กร SFP เกี่ยวกับผลกระทบของการจับปลาทูน่าเชิงพาณิชย์โดยใช้วิธีเบ็ดราว โดยใช้วิธีเบ็ดราว ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนกลางที่มีต่อสายพันธุ์สัตว์ที่ถูกคุกคาม ใกล้สูญพันธุ์ และถูกคุ้มครอง พบว่า ธรรมชาติได้ถูกทำลายลงอย่างมากและประชากรสัตว์สายพันธุ์ต่างๆ ทั้งฉลาม นกและเต่าทะเลได้ลดลงกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ และพื้นที่นี้มีการทำประมงให้กับอุตสาหกรรมการผลิตทูน่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก ซึ่งส่วนใหญ่ส่งให้กับอเมริกาเหนือและญี่ปุ่น ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นหน้าที่ผู้ซื้อทูน่าที่จะผลักดันให้เกิดการฟื้นฟูธรรมชาติและประชากรสัตว์น้ำที่เปราะบางเหล่านี้ให้กลับมาใหม่ โดยเฉพาะฉลามและนกทะเล ไทยยูเนี่ยนมีการตรวจสอบการจับสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายเป็นส่วนหนึ่งของโครงการคุ้มครองสัตว์ทะเลที่องค์กร SFP จัดขึ้น นับเป็นโครงการระดับสากล ที่เป็นความพยายามของภาคอุตสาหกรรมในการแก้ไขปัญหาสัตว์ทะเลหายากที่ถูกจับในการทำประมง ทางองค์กร SFP ได้พิจารณาและประเมินแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ไทยยูเนี่ยนใช้วัดความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของวัตถุดิบนั้น ๆ พร้อมทั้งเสนอมาตรการที่จะช่วยลดการจับสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายให้ได้ผลมากที่สุด รายงานฉบับนี้ยังระบุว่า การประมงทูน่าโดยใช้วิธีเบ็ดราวนั้นก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อฉลาม นกทะเล และเต่าทะเล และแนะนำให้ปรับเปลี่ยนเครื่องมือประมงเพื่อลดปฏิสัมพันธ์ของสัตว์เหล่านี้ รวมทั้งความเสี่ยงที่จะทำให้สัตว์เหล่านี้ตาย รายงานยังพบว่าการประมงในพื้นที่มหาสมุทรแปซิฟิกมีผู้สังเกตการณ์ไม่เพียงพอ สอดคล้องกับความตั้งใจของไทยยูเนี่ยนที่อยากให้มีผู้สังเกตการณ์ในการทำประมงทูน่า 100 เปอร์เซ็นต์ บริษัท Key Traceability มีการตรวจเรือประมงที่อยู่ในโครงการปรับปรุงการทำประมงของไทยยูเนี่ยนปฏิบัติตามมาตรการข้อปฏิบัติที่ดี เพื่อลดการจับสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายหรือไม่ ผลการประเมินพบว่าการประมงเหล่านี้ได้ลงบันทึกการจับปลาและการจัดการเกี่ยวกับสายพันธุ์สัตว์ที่ถูกคุกคาม ใกล้สูญพันธุ์ และถูกคุ้มครอง และได้ทำตามหรือทำได้ดีกว่า ข้อแนะนำจากการประเมิน

โครงการ Digital Opportunities for Talents (DOTs) 2022 หรือโครงการประกวดแผนธุรกิจภายใต้โจทย์ “Sustainability in Action” ซึ่งจัดขึ้นโดย Sea (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำ อาทิ การีนา (Garena) ช้อปปี้ (Shopee) และซีมันนี่ (SeaMoney) ได้ดำเนินมาถึงรอบประกาศผลรางวัลรอบสุดท้าย

โดยผู้ร่วมโครงการทั้ง 30 ทีม ได้ผ่านการแข่งขันอย่างเข้มข้นจนเหลือ 6 ทีมสุดท้าย ที่ได้ร่วมนำเสนอผลลัพธ์ความสำเร็จภายในงานประกาศผลรางวัลรอบสุดท้าย (Final Presentation) เพื่อส่งต่อองค์ความรู้จากการลงมือทำจริงตลอดระยะเวลา 2 เดือนให้กับผู้ประกอบการ SME ตลอดจนร่วมคว้าเงินรางวัลรวมกว่า 200,000 บาท และในปี 2022 นี้ ทีม In it for the beers ได้แก่ นางสาวศิริธร แก้วสุพรรณ์ และนางสาวสุฎารัตน์ สุขภิลาภ เป็นผู้ที่คว้ารางวัลชนะเลิศไปได้ด้วยแผนธุรกิจสำหรับร้าน Artstory by AutisticThai ผลงานจากจินตนาการผ่านภาพและลายเส้นผลงานศิลปะของกลุ่มเด็กและบุคคลที่มีความแตกต่างทางการเรียนรู้

นางสาวมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย) กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลาการแข่งขันอย่างเข้มข้นกว่า 2 เดือน ผู้เข้าแข่งขันได้พัฒนาทักษะและแสดงออกถึงศักยภาพ พร้อมเติบโตเป็นผู้ประกอบการดิจิทัลรุ่นใหม่ในอนาคต ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่ผู้เข้าแข่งขันได้ทำงานร่วมกับเจ้าของร้านค้า SME ในการพัฒนากลยุทธ์และลงมือทำจริง เพื่อแก้ไขปัญหาและสร้างการเติบโตให้กับร้านค้าที่ได้รับมอบหมาย โดย มีผู้เชี่ยวชาญจาก Sea (ประเทศไทย) และช้อปปี้คอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด ด้านร้านค้าก็ได้แนวคิดและมุมมองใหม่ๆ ในการสร้างธุรกิจให้เติบโต Sea (ประเทศไทย) ในฐานะผู้จัดโครงการฯ รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนในการส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ได้มีทักษะสำคัญของผู้ประกอบการดิจิทัล ที่สามารถต่อยอดและปรับใช้ได้ในอนาคต พร้อม ๆ กับการสนับสนุนธุรกิจที่ใส่ใจด้านความยั่งยืนให้เกิดการเติบโตในระยะยาว สอดคล้องกับเป้าหมายของ Sea (ประเทศไทย) ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคและยกระดับการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการรายย่อยด้วยเทคโนโลยี พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Digital Nation ด้วยการพัฒนา Digital Talent โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นพลังสำคัญที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศต่อไป”

โครงการ DOTs 2022 ยังได้รับเกียรติจาก ดร. ศรุต วานิชพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส Sea (ประเทศไทย), ดร.ปรีสาร รักวาทิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มงานส่งเสริมการประยุกต์ใช้ดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa), นางสาววนิดา จรูญเพ็ญ หัวหน้าส่วนประสานเครือข่ายหน่วยงานภาคเอกชน สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.), นางรัตน์วลี อนันตานานนท์ ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และนางสาวฑิฟฟาณี เชน นักทดสอบนโยบาย โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมเป็นคณะกรรมการทรงคุณวุฒิตัดสินผลงานในรอบ 6 ทีมสุดท้ายนี้อีกด้วย

นางสาวศิริธร แก้วสุพรรณ์ และนางสาวสุฎารัตน์ สุขภิลาภ จากทีม In it for the beers คว้ารางวัลชนะเลิศพร้อมเงินรางวัลมูลค่า 80,000 บาท โดยผลการดำเนินงานที่ทีม In it for the beers ได้นำเสนอแสดงให้เห็นว่า ทีมผู้เข้าแข่งขันได้นำความรู้และทักษะดิจิทัลที่ได้เก็บเกี่ยวตลอดโครงการฯ มาประยุกต์ใช้ในแผนการดำเนินงานเพื่อช่วยให้ Artstory by AutisticThai ร้านค้า SME ไทยที่นำเสนอผลงานจากจินตนาการผ่านภาพและลายเส้นผลงานศิลปะของกลุ่มเด็กและบุคคลที่มีความแตกต่างทางการเรียนรู้สามารถพัฒนาและต่อยอดธุรกิจบนช่องทางออนไลน์และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ชได้อย่างแท้จริง โดยเห็นการเติบโตของยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้นกว่า 2 เท่า เทียบกับก่อนช่วงเข้าร่วมโครงการ และยอดการเข้าชมร้านค้าในช้อปปี้ที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 1.3 เท่าภายในระยะเวลา 2 เดือนของการเข้าร่วมโครงการ อีกทั้ง ยังสามารถส่งต่อแนวคิดและแผนงานในการสร้างการเติบโตให้กับร้านค้าอย่างยั่งยืนในอนาคตได้อย่างชัดเจนอีกด้วย

สำหรับทีมอื่น ๆ ที่เข้ารอบ Final Presentation ก็สามารถทำผลงานได้โดดเด่นและช่วยสร้างการเติบโตของร้านค้าที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นทีม ไฉ่เสินเหยีย กับร้าน SANDT คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 มูลค่า 50,000 บาท ทีม Will-Wisdom-Mind กับร้าน Carechoice คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 มูลค่า 30,000 บาท รวมถึงทีม GangRocket กับร้าน Little Hen Noodle, ทีม CreamCreamery กับร้าน Ira Concept และทีม MED KID Consulting กับร้าน Green Wash คว้ารางวัลชมเชย มูลค่ารางวัลละ 5,000 บาท

ยิ่งไปกว่านั้น ร้านค้าทั้งหมดที่เข้าร่วมโครงการฯ ก็มียอดขายต่อเดือนโดยเฉลี่ยบนแพลตฟอร์มช้อปปี้เติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 2.1 เท่า ยอดคำสั่งซื้อต่อวันเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 1.3 เท่า และสร้างยอดขายบนแพลตฟอร์มช้อปปี้มูลค่าโดยรวม 3.6 ล้านบาท ตลอดในช่วงเวลา 2 เดือนภายใต้โครงการ

 

เจาะลึกสถานการณ์การเงินยุคดิจิทัล พบคนไทยใช้แอปการเงินมากที่สุดในอาเซียน พร้อมเผยทิศทางการใช้เทคโนโลยีเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการทางการเงิน

 

 

 

Sea (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำ ได้แก่ การีนา (Garena)ช้อปปี้ (Shopee) และซีมันนี่ (SeaMoney) ฉายภาพความสำเร็จควบคู่การเติบโตของเศรษฐกิจและสังคมยุคดิจิทัลตลอดระยะเวลา 10 ปี ของการดำเนินงานในประเทศไทย ในงาน Sea Story 2022: Digital Technology for All และเปิดแผนกลยุทธ์ใหม่เดินหน้าขับเคลื่อน 3 ธุรกิจหลัก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการรายย่อยด้วยเทคโนโลยี พร้อมเปิดตัวแพลตฟอร์ม Sea Academy เสริมทักษะดิจิทัลให้คนไทยเดินหน้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืน

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click