×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

Sea (ประเทศไทย) และช้อปปี้ (Shopee) ซึ่งเป็นธุรกิจอีคอมเมิร์ซภายในเครือ ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) เปิดตัวแคมเปญ ‘Women Made ช้อป 10 แบรนด์พลังหญิง’ ชวนช้อปสินค้าคอลเลคชั่นพิเศษช่วงปีใหม่บนช้อปปี้ พร้อมมอบโปรโมชั่นส่วนลดสุดปัง 15% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2566 เติมความสุขช่วงปีใหม่ให้นักช้อป พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการหญิงชาวไทยให้เติบโตอย่างเต็มศักยภาพ

หลังจากที่ Sea (ประเทศไทย) และ CEA เปิดตัวโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการหญิง ‘Women Made’ ไปเมื่อเดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา ผู้เข้าร่วมโครงการที่ได้รับคัดเลือกทั้ง 10 แบรนด์ ก็ได้ผ่านโปรแกรมฝึกอบรม Women Made Masterclass สุดเข้มข้นไปเป็นที่เรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็นการฝึกฝนด้านการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ การสร้างแบรนด์ การขับเคลื่อนสังคมด้วยธุรกิจ และการพัฒนาธุรกิจในโลกอีคอมเมิร์ซ นอกจากนี้ ทั้ง 10 แบรนด์ยังได้จับคู่กับเหล่าดีไซน์เนอร์จากเครือข่าย CEA Connect ทั้ง 5 ท่าน ได้แก่ ปิติ อมรเลิศวัฒนา จาก Norman Design Studio, นัยญดา ผิวดำ จาก  Studio dē cloud, นภัทรชนนันท์ นันท์ทปรีชา (@abouttongpic), ธิรดา ชนาวิโชติ และอุ้มบุญ ลิ้มน้ำคำ และร่วมปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของโครงการฯ แบบ One-on-one เพื่อพัฒนาสินค้าคอลเลคชั่นพิเศษที่จะวางขายในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566 บนช้อปปี้

นางสาวมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย) เผยว่า “เราพบว่าผู้ประกอบการหญิงที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ มีประสบการณ์ในทำธุรกิจ แต่ยังขาดความมั่นใจในการต่อยอดองค์ความรู้ทางธุรกิจ การบอกเล่าเรื่องราวและการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการเพิ่มมูลค่าสินค้าและนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับแบรนด์ของตนเอง รวมถึงความท้าทายในการขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ๆในโลกอีคอมเมิร์ซ ดังนั้น โครงการ Women Made จึงเข้ามาช่วยแต่ละแบรนด์ระบุปัญหาและหาวิธีปรับตัวเพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน พร้อมมอบทักษะใหม่ ๆ และแนวคิดในการทำธุรกิจที่แต่ละคนสามารถนำไปปรับใช้ได้ในระยะยาว โดยคอลเลคชั่นพิเศษที่จะวางจำหน่ายบนช้อปปี้ นับเป็นผลลัพธ์ในระยะเริ่มต้น จากการที่แต่ละแบรนด์ใช้โครงการนี้เป็นสนามทดลองเพื่อทำสิ่งใหม่ ๆ ปลดล็อกข้อจำกัดเดิม ๆ โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยช่วยเหลือในแต่ละขั้นตอน พร้อมใช้เทคโนโลยีอีคอมเมิร์ซและการสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาดจากช้อปปี้ เข้ามาช่วยเปิดประตูสู่กลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ”

ค้นพบแบรนด์ใหม่และสินค้าคอลเลคชั่นพิเศษไม่ซ้ำใคร

นอกจากจุดมุ่งหมายการส่งเสริมผู้ประกอบการหญิงในประเทศไทยแล้ว แคมเปญ ‘Women Made ช้อป 10 แบรนด์พลังหญิง’ ยังช่วยสร้างสีสันช่วงปีใหม่ให้ขาช้อปชาวไทย โดยเฉพาะนักช้อปออนไลน์ที่ชื่นชอบการค้นพบแบรนด์ใหม่ ๆ ที่เหมาะกับตัวเอง แคมเปญนี้ยังมาพร้อมกับดีลสุดคุ้ม กับโค้ดส่วนลด 15% สำหรับคำสั่งซื้อขั้นต่ำ 100 บาท[1] ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2566 สามารถดูสินค้าคอลเลคชั่นพิเศษจากโครงการ Women Made ได้ที่ www.shopee.co.th/WomenMade

เกี่ยวกับแบรนด์ทั้ง 10 จากแคมเปญ ‘Women Made ช้อป 10 แบรนด์พลังหญิง’

สินค้าหมวดแฟชั่น

  • Kanz by Thaitor: แบรนด์เสื้อผ้าเล็ก ๆ จาก จ.แพร่ ที่คนในครอบครัวออกแบบลายและทำกันเองทุกขั้นตอน เป็นการต่อยอดผ้าบาติกเทคนิคเฉพาะที่คุณพ่อกับคุณแม่ทำกันมาตั้งแต่ 15 ปีที่แล้วให้ร่วมสมัยและใส่ง่ายในชีวิตประจำวัน โดยคอลเลคชั่นพิเศษในครั้งนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากแนวคิด WABI SABI ว่าด้วยเรื่องความงามที่ไม่สมบูรณ์แบบ (Art of Imperfect Beauty) มองหาความเรียบง่าย ความสงบ ความสมดุล ความเป็นธรรมชาติที่ซ่อนอยู่ ทั้งยังนําเสนอความร่วมสมัยที่แปลกตา ด้วยการผสมผสานความเป็นตะวันออกที่แสดงผ่านโครงเสื้อเข้ากับเทคนิคการตัดเย็บแบบ QUILT ที่มีความเป็นตะวันตก จนกลายเป็นคอลเลคชั่น WABI SAB! ที่แฝงความสนุกไว้ในความเรียบง่าย
  • Sliptosleep: แบรนด์ Braless Pajamas หรือชุดนอนสำหรับสาว ๆ ที่มาพร้อมกระเป๋าหนาสามชั้นด้านนอก ทำให้ไม่ต้องกลัวโป๊แม้จะไม่ได้ใส่บรา คอลเลคชั่นพิเศษนี้ Slip to sleep ได้ปรับแพคเกจจิ้งด้วยแนวคิดสร้างคุณค่าต่อจิตใจและยืดอายุการใช้งานของกล่องบรรจุภัณฑ์สินค้า นอกจากการส่งต่อความสุขด้วยแพคเกจจิ้งที่น่ารักแล้ว ลูกค้ายังสามารถนำส่วนของกล่องไปใช้เป็นที่ขั้นหนังสือได้อีกด้วย
  • VERAPARIS: แบรนด์กระเป๋าซึ่งเป็นตัวแทนของชีวิตผู้หญิงในมหานคร ที่ได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบมาจากสถาปัตยกรรมเมือง การออกแบบสินค้าของแบรนด์จึงได้รับแรงบันดาลใจมาจากสถาปัตยกรรมเมือง และออกแบบให้มีฟังก์ชั่นที่เข้าใจไลฟ์สไตล์ชีวิต Urban Life สร้างสุนทรีย์ให้ผู้หญิงในการถือและใช้กระเป๋า โดยคอลเลคชั่นพิเศษในครั้งนี้ ได้แก่ กระเป๋ารุ่น Lundi Pie สีพิเศษที่นำรูปทรงกล่องหมอน Geometric มาผสมเข้ากับ Curve ไว้อย่างลงตัว นอกจากดีไซน์ที่เด่นสะดุดตา แล้วยังมีฟังก์ชันที่ตอบโจทย์ชีวิตประจำวัน ทำให้เป็นอีก Timeless Bag ที่หยิบมาใช้ได้ทุกเวลา
  • Sureeya: แบรนด์ผลิตภัณฑ์กระเป๋าและ Accessories จากพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีผ้าพื้นถิ่น คือ ผ้าปาเต๊ะ เป็นอัตลักษณ์เฉพาะของพื้นที่ คอลเลคชั่นพิเศษในครั้งนี้ ต้องการเล่าเรื่องราวความสวยงามในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ผ่านลวดลาย “ดอกดาหลา” ที่นิยมปลูกในพื้นที่จังหวัดยะลาและจังหวัดนราธิวาส คอลเลคชั่นนี้พิเศษตั้งแต่การเริ่มต้นกระบวนการผลิตจากฝืมือของผู้ประกอบการหญิงจังหวัดนราธิวาส “มุสบาปาเต๊ะ” ในการผลิตผ้าปาเต๊ะ (Batik) ด้วยบล๊อคไม้ลายดอกดาหลา แล้วจึงส่งต่อผ้าให้ “Sureeya” ผู้ประกอบการหญิงจังหวัดยะลา ตัดเย็บกระเป๋า Sureeya คอลเลคชั่นพิเศษเพื่อส่งต่อความงามของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้สู่ลูกค้าในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย

สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม

  • Pick Me Please: หมูหยองกรอบที่ใช้กรรมวิถีคั่วบนเตาถ่านสูตรโบราณ โดยปราศจากการใช้เครื่องจักร ปรุงรสจนได้หมูหยองกรอบที่ กรอบอร่อย รสชาติไม่เหมือนใคร ปราศจากผงชูรสเเละสารกันเสีย มาพร้อมกับ Gift Set “Spiral of Happiness” เหมาะสำหรับการซื้อเป็นของขวัญหรือทานเล่นร่วมกับครอบครัวและเพื่อน ๆ ในเทศกาลสังสรรค์ช่วงปีใหม่
  • ทันจิตต์: ต่อยอดตำนานครอบครัวนักรังสรรค์ขนมที่มีประวัติยาวนานกว่า 40 ปี พร้อมส่งต่อความสุขที่ทานได้ แบบ Non Stop กับขนม "เผือกกรอบรูปตะแกรง" ในแบบฉบับ "ทันจิตต์" คอลเลคชั่นพิเศษที่พร้อมส่งความสุขด้วยขนมทานเล่นและของเล่นสำหรับปาร์ตี้หรือการพบปะกัน ในกล่องจึงมีเทมเพลตลูกเต๋าที่ให้ผู้รับได้นำมาประกอบเล่นเป็นเกมสุ่มทายรสชาติ อีกทั้งจะเป็นการ์ดไว้เขียนสำหรับอวยพรและกระดาษรองแก้วอีกด้วย
  • Mediherbtea: แบรนด์ชาจากดอกไม้ ปราศจากคาเฟอีน ไม่มีน้ำตาล ทั้งยังเปี่ยมไปด้วยแอนตี้ออกซิแดนท์ คอลเลคชั่นใหม่ “All Day Flower Tea” ได้แรงบันดาลใจมาจากความหลากหลายของดอกไม้ไทยนานาพรรณ ที่มีทั้งกลิ่นหอมและคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยการผสมผสานความรู้ทางวิทยาศาสตร์และความรู้ด้านแพทย์ทางเลือก จึงพัฒนาเป็นเซตชาดอกไม้ที่สามารถ ดื่มได้ตั้งแต่เช้าจรดเย็น ประกอบไปด้วยชาเบลนด์ 3 รสชาติ ได้แก่
    • Morning Bloom ชาดอกไม้สีแดงจากดอกชบา กระเจี๊ยบแดง และกุหลาบ มีรสชาติสดชื่นหอมหวาน อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย ช่วยบำรุงผิวพรรณ กระตุ้นการเพิ่มการไหลเวียนเลือด และช่วยให้สดชื่นในยามเช้า
    • Golden Noon ชาดอกไม้สีเหลืองทองจากดอกคำฝอย มะตูม และดอกกระดังงา หอมละมุนช่วยผ่อนคลาย ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด กลิ่นหอมละมุนช่วยให้ผ่อนคลายในยามบ่าย
    • Starry Night ชาดอกไม้สีน้ำเงินจากดอกอัญชัน มะลิ และเปเปอร์มิ้นท์ อุดมไปด้วยสารแอนโทไซยานิน ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงตามหลอดเลือดฝอยเล็กๆ และจอประสาทตา ช่วยฟื้นฟูสายตาจากแสงสีฟ้า เกิดความผ่อนคลายในยามค่ำคืน

สินค้าหมวดของใช้ส่วนตัว

  • Ales Thailand: แบรนด์สกินแคร์ที่อยากช่วยให้การดูแลผิวเป็นเรื่องง่าย โดย Ales เกิดจากความตั้งใจของเพื่อน 3 คน (พลอย - เภสัชกรที่มีความรู้ด้านงานวิจัยสารสกัด หยก-ทายาทธุรกิจนำเข้าเคมีภัณฑ์เครื่องสำอาง แพร-Influencer ที่สนใจด้านธรรมชาติและสุขภาพ) ที่อยากทำสกินแคร์แบรนด์ไทยที่มีคุณภาพ และส่งต่อความรู้ในการดูแลสุขภาพที่กีให้กับผู้บริโภค และคอลเลคชั่นพิเศษของ Ales ในครั้งนี้ มาจากแนวคิดที่ต้องการสนับสนุนความหลากหลาย และอยากให้ทุกคนมีผิวที่สวยในแบบที่เป็นตัวเอง จึงได้จับมือกับ @abouttongpic ศิลปินในการออกแบบ Packaging รุ่นลิมิเต็ดอิดิชั่น ที่แสดงความเป็นตัวตนที่แตกต่าง ความหลากหลาย และความสวยในฉบับของตัวเองได้อย่างมีเอกลักษณ์
  • Happy FLows TH: แบรนด์ผ้าอนามัยออร์เเกนิกและผ้าอนามัยสมุนไพร ที่มุ่งมั่นช่วยให้ผู้หญิงรักษาอนามัยอย่างปลอดภัยได้ในทุก ๆ วัน และต้องการร่วมขับเคลื่อนสังคม ช่วยเหลือให้ผู้หญิงที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงผ้าอนามัยดีๆ ได้ ปล่อยเซตผ้าอนามัยสมุนไพร “Happy Together” ประกอบด้วย ผ้าอนามัยแบบกลางคืน 24 แผ่น กระเป๋าใส่ผ้าอนามัย และ Period Tracker นอกจากนั้นกล่องผ้าอนามัย Happy Flows สามารถ I.Y. เป็นกล่องใส่ผ้าอนามัยอีกด้วย เมื่อซื้อ 1 กล่อง แบรนด์จะมอบอีก 1 กล่องให้เพื่อนผู้หญิงที่ขาดโอกาสเข้าถึงผ้าอนามัยที่ถูกสุขลักษณะเพื่อเป็นอีกพลังหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนความสุข ความเท่าเทียมด้านสุขอนามัยของผู้หญิงทุกคน

สินค้าหมวดสัตว์เลี้ยง

  • Pethology+: แบรนด์ผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำหรับสัตว์เลี้ยง โดยต่อยอดแชมพูกำจัดเหาของเด็กมาเป็นแชมพูสมุนไพรสำหรับสุนัขและแมว พัฒนามาจากใบถอบแถบซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามแนวป่าชายเลน ผ่านการทดลองในห้องทดลองโดยผู้เชี่ยวชาญ จนได้เป็นแชมพูและสเปรย์สมุนไพรที่ปลอดภัยสำหรับสัตว์ คอลเลคชั่นพิเศษนี้จะมาในแพคเกจจิ้งที่สนุกสนานมากยิ่งขึ้น พร้อมผ้าพันคอสุนัขและแมวที่ทำจากผ้ามัดย้อม โดยสีที่ใช้ทำผ้ามัดย้อมนี้ก็มาจากใบของพืชที่เป็นส่วนผสม

[1] เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯกำหนด

โครงการ Digital Opportunities for Talents (DOTs) 2022 หรือโครงการประกวดแผนธุรกิจภายใต้โจทย์ “Sustainability in Action” ซึ่งจัดขึ้นโดย Sea (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำ อาทิ การีนา (Garena) ช้อปปี้ (Shopee) และซีมันนี่ (SeaMoney) ได้ดำเนินมาถึงรอบประกาศผลรางวัลรอบสุดท้าย

โดยผู้ร่วมโครงการทั้ง 30 ทีม ได้ผ่านการแข่งขันอย่างเข้มข้นจนเหลือ 6 ทีมสุดท้าย ที่ได้ร่วมนำเสนอผลลัพธ์ความสำเร็จภายในงานประกาศผลรางวัลรอบสุดท้าย (Final Presentation) เพื่อส่งต่อองค์ความรู้จากการลงมือทำจริงตลอดระยะเวลา 2 เดือนให้กับผู้ประกอบการ SME ตลอดจนร่วมคว้าเงินรางวัลรวมกว่า 200,000 บาท และในปี 2022 นี้ ทีม In it for the beers ได้แก่ นางสาวศิริธร แก้วสุพรรณ์ และนางสาวสุฎารัตน์ สุขภิลาภ เป็นผู้ที่คว้ารางวัลชนะเลิศไปได้ด้วยแผนธุรกิจสำหรับร้าน Artstory by AutisticThai ผลงานจากจินตนาการผ่านภาพและลายเส้นผลงานศิลปะของกลุ่มเด็กและบุคคลที่มีความแตกต่างทางการเรียนรู้

นางสาวมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย) กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลาการแข่งขันอย่างเข้มข้นกว่า 2 เดือน ผู้เข้าแข่งขันได้พัฒนาทักษะและแสดงออกถึงศักยภาพ พร้อมเติบโตเป็นผู้ประกอบการดิจิทัลรุ่นใหม่ในอนาคต ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่ผู้เข้าแข่งขันได้ทำงานร่วมกับเจ้าของร้านค้า SME ในการพัฒนากลยุทธ์และลงมือทำจริง เพื่อแก้ไขปัญหาและสร้างการเติบโตให้กับร้านค้าที่ได้รับมอบหมาย โดย มีผู้เชี่ยวชาญจาก Sea (ประเทศไทย) และช้อปปี้คอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด ด้านร้านค้าก็ได้แนวคิดและมุมมองใหม่ๆ ในการสร้างธุรกิจให้เติบโต Sea (ประเทศไทย) ในฐานะผู้จัดโครงการฯ รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนในการส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ได้มีทักษะสำคัญของผู้ประกอบการดิจิทัล ที่สามารถต่อยอดและปรับใช้ได้ในอนาคต พร้อม ๆ กับการสนับสนุนธุรกิจที่ใส่ใจด้านความยั่งยืนให้เกิดการเติบโตในระยะยาว สอดคล้องกับเป้าหมายของ Sea (ประเทศไทย) ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคและยกระดับการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการรายย่อยด้วยเทคโนโลยี พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Digital Nation ด้วยการพัฒนา Digital Talent โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นพลังสำคัญที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศต่อไป”

โครงการ DOTs 2022 ยังได้รับเกียรติจาก ดร. ศรุต วานิชพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส Sea (ประเทศไทย), ดร.ปรีสาร รักวาทิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มงานส่งเสริมการประยุกต์ใช้ดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa), นางสาววนิดา จรูญเพ็ญ หัวหน้าส่วนประสานเครือข่ายหน่วยงานภาคเอกชน สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.), นางรัตน์วลี อนันตานานนท์ ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และนางสาวฑิฟฟาณี เชน นักทดสอบนโยบาย โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมเป็นคณะกรรมการทรงคุณวุฒิตัดสินผลงานในรอบ 6 ทีมสุดท้ายนี้อีกด้วย

นางสาวศิริธร แก้วสุพรรณ์ และนางสาวสุฎารัตน์ สุขภิลาภ จากทีม In it for the beers คว้ารางวัลชนะเลิศพร้อมเงินรางวัลมูลค่า 80,000 บาท โดยผลการดำเนินงานที่ทีม In it for the beers ได้นำเสนอแสดงให้เห็นว่า ทีมผู้เข้าแข่งขันได้นำความรู้และทักษะดิจิทัลที่ได้เก็บเกี่ยวตลอดโครงการฯ มาประยุกต์ใช้ในแผนการดำเนินงานเพื่อช่วยให้ Artstory by AutisticThai ร้านค้า SME ไทยที่นำเสนอผลงานจากจินตนาการผ่านภาพและลายเส้นผลงานศิลปะของกลุ่มเด็กและบุคคลที่มีความแตกต่างทางการเรียนรู้สามารถพัฒนาและต่อยอดธุรกิจบนช่องทางออนไลน์และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ชได้อย่างแท้จริง โดยเห็นการเติบโตของยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้นกว่า 2 เท่า เทียบกับก่อนช่วงเข้าร่วมโครงการ และยอดการเข้าชมร้านค้าในช้อปปี้ที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 1.3 เท่าภายในระยะเวลา 2 เดือนของการเข้าร่วมโครงการ อีกทั้ง ยังสามารถส่งต่อแนวคิดและแผนงานในการสร้างการเติบโตให้กับร้านค้าอย่างยั่งยืนในอนาคตได้อย่างชัดเจนอีกด้วย

สำหรับทีมอื่น ๆ ที่เข้ารอบ Final Presentation ก็สามารถทำผลงานได้โดดเด่นและช่วยสร้างการเติบโตของร้านค้าที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นทีม ไฉ่เสินเหยีย กับร้าน SANDT คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 มูลค่า 50,000 บาท ทีม Will-Wisdom-Mind กับร้าน Carechoice คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 มูลค่า 30,000 บาท รวมถึงทีม GangRocket กับร้าน Little Hen Noodle, ทีม CreamCreamery กับร้าน Ira Concept และทีม MED KID Consulting กับร้าน Green Wash คว้ารางวัลชมเชย มูลค่ารางวัลละ 5,000 บาท

ยิ่งไปกว่านั้น ร้านค้าทั้งหมดที่เข้าร่วมโครงการฯ ก็มียอดขายต่อเดือนโดยเฉลี่ยบนแพลตฟอร์มช้อปปี้เติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 2.1 เท่า ยอดคำสั่งซื้อต่อวันเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 1.3 เท่า และสร้างยอดขายบนแพลตฟอร์มช้อปปี้มูลค่าโดยรวม 3.6 ล้านบาท ตลอดในช่วงเวลา 2 เดือนภายใต้โครงการ

 

Sea (Group) ผู้ให้บริการอินเตอร์เนตชั้นนำใน 7 ตลาดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน อาทิ การีนา (Garena) ช้อปปี้ (Shopee) และแอร์เพย์ (AirPay) เผยเทรนด์จากผลสำรวจอีคอมเมิร์ซแบบเจาะลึกครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย

การบริหารและวางกลยุทธ์ทรัพยากรบุคคลของ SEA Group ( ชื่อเดิม Garena ยักษ์ใหญ่ของธุรกิจเกมออนไลน์) ซึ่งมีพนักงานร่วมงานกว่า 1 พันคนนั้น มีหัวใจสำคัญ คือ การสร้างให้คนในองค์กร ที่มีอยู่หลายเจนเนอเรชั่น มีความเชื่อมั่นในวัฒนธรรมองค์กรเดียวกัน มีความพร้อมจะวิ่งไปข้างหน้า เพื่อคว้าโอกาสและบริหารความเสี่ยง รับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลกในวันนี้ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

รัฐวุฒิ สุวรรณลิลา People Manager ของ Sea Group (ประเทศไทย) กล่าวถึง การปรับตัวเพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบันนี้ว่า  “เราไม่สามารถพูดว่าจะเดินไปข้างหน้าอย่างไร แต่ต้องพูดถึงการวิ่ง” เช่นเดียวกัน Sea Group นั้นอยู่ในธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างตลอดเวลา จึงเรียกว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็น

การสร้างความเชื่อมั่นเพื่อให้องค์กรสามารถก้าวไปในวันข้างหน้านั้น มีหลักการในการ Recruit คนภายใต้ Core Value ทั้ง 5 (We serve, We adapt, We run, We commit & We stay humble) เริ่มตั้งแต่การสัมภาษณ์ พูดคุยเพื่อคัดสรรบุคลากรใหม่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร หลักๆ คือ จะต้องหาคนที่มี DNA ตรงกัน เพราะการเลือกคนที่มีความเชื่อตรงกันเข้ามาได้นั้น จะสามารถเติบโตและวิ่งไปด้วยกันได้

 “เราเชื่อว่าทักษะเป็นสิ่งที่พัฒนาได้ แต่ความเชื่อเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายในการพัฒนา”

เมื่อได้คนที่เชื่อเหมือนกันเข้ามาแล้วนั้น เราจะสามารถหล่อหลอมให้เป็นวัฒนธรรมองค์กรได้ (Culture) จากนั้นจึงพัฒนาด้านๆต่างตามมา เช่น การเสริมสร้างทักษะ (SKILL ) การเตรียมกระบวนการทางความคิด (Mindset) ให้พร้อมเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ตรงนี้ต้องมีความกล้าในการทำอะไรใหม่ๆ แล้วจึงมาที่เรื่องของการให้โอกาสจากผู้บริหาร

คว้าโอกาสและบริหารความเสี่ยง

รัฐวุฒิ บอกว่า ในช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างมากนั้น มีการบริหารองค์กรที่สามารถนำมาใช้ได้ใน 2 รูปแบบ คือ ช้าแต่มั่นคง เน้นให้มีคู่มือและข้อแนะนำ (Instruction) ที่ชัดเจน และแน่นอน เพียงแต่ว่าการบริหารแบบนี้อาจไม่เหมาะกับธุรกิจที่เป็น Hi-Tech Industry แบบ SEA Group เราจึงต้องเน้นรูปแบบที่ 2 คือ เร็วและคว้าโอกาส

สิ่งสำคัญคือต้องพยายามบริหารความเสี่ยงให้ได้ (Risk Management) มีอะไรบ้างที่สามารถให้โอกาสน้องตัดสินใจเองได้  เราไม่จำเป็นต้องทำแบบ Top-Down และต้องยอมรับว่าถ้ามีความผิดพลาดอะไรเกิดขึ้น เราจะไม่ลงโทษ แต่จะให้เกิดการเรียนรู้จากตรงนั้น คำว่าเรียนรู้คือต้องให้เห็นว่าความผิดพลาดเกิดจากอะไร ต้องป้องกันหรือพัฒนาอย่างไร

ในบางสถานการณ์ ที่ลองผิดลองถูกได้ สามารถทำได้ แต่ในบางสถานการณ์ที่มีความสำคัญ คอขาดบาดตาย เหล่านั้นก็ต้องถูกดึงเอาไว้ เพื่อให้เกิดการบาลานซ์ ระหว่างการบริหารความเสี่ยงกับความเร็วที่เราต้องการมุ่งหน้าไป

เมื่อบริษัทโฟกัสเรื่องการใช้ความเร็วเพื่อสร้างโอกาส เพราะฉะนั้นส่วนของ Risk Management เราจะใช้ในบางอย่างที่อันตรายจริงๆ เช่น ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ หรือที่เกี่ยวข้องกับคนจำนวนมากในบริษัทฯ ซึ่งการตัดสินใจเรื่องเหล่านี้มีความสำคัญมาก เป็นสิ่งที่พลาดไม่ได้

“เรื่องเกี่ยวกับคนพลาดไม่ได้ ชื่อเสียงของบริษัทฯ พลาดไม่ได้ หรือเรื่องความเสี่ยงที่จะเกิดการกระทำที่ถือเป็นการฉ้อโกง(Fraud) หรือสิ่งที่ไม่ดีงามขึ้นมาก็พลาดไม่ได้ ขณะเดียวกันเรื่องที่เปิดโอกาสให้มีการเรียนรู้และทดลองกันได้ เช่นการทำธุรกิจใหม่ การเปิดตลาดใหม่ขึ้นมาไม่ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลว ผลิตภัณฑ์ใหม่มีฟีเจอร์ใหม่ มีความเป็นไปได้ เพราะเราโฟกัสความเร็วที่ไปสู่เป้าหมายเพื่อสร้างโอกาสใหม่ให้เกิดขึ้น”

การบริหารคนต่างเจนเนอเรชั่น

เมื่อกล่าวถึงคนในแต่ละเจนเนอเรชั่นที่ SEA Group รัฐวุฒิ บอกว่า เจนฯ Y น่าจะเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในองค์กร และกลุ่มเจนฯใหม่ อย่าง Z กับ Millennial กำลังจะเข้ามา สำหรับกลุ่มเจนฯ X จะมีสัดส่วนอยู่บ้างในระดับซีเนียร์

คอนเซ็ปท์การทำงานของที่นี่จึงสอดคล้องกับสไตล์ของเจนฯ Y ที่เร็วและกล้าโดยธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ต้องติดอาวุธให้ นั่นคือ SKILL ที่จำเป็น มีการเปิดโอกาสและเวทีให้ลุย และให้รู้ขอบเขตเพื่อป้องกันความเสี่ยง  ซึ่งลักษณะที่ต้องดูแลเป็นพิเศษของเจนฯนี้ เนื่องจากเป็นคนเก่งมีศักยภาพ และเป็นคนเร็ว จึงจะเบื่อง่าย หากขาดการบริหารที่ดี ขาดความสนใจจากผู้ดูแล งานที่คนเจนฯนี้ทำก็จะหลุดจากโฟกัสไปได้ หรือหากไม่บริหารและให้โอกาสในการพัฒนาที่ดี ก็มีโอกาสสูญเสียคนเก่ง คนดีไป

สิ่งที่ต้องทำ คือ สร้างความเข้าใจให้เห็นถึงคุณค่าความสำคัญในแต่ละงาน เช่น ในงานทุกงานจะหลีกเลี่ยงงานแอดมินบางส่วนไปไม่ได้ ไม่ว่าอย่างไรก็หนีงานเอกสารไปไม่พ้น ซึ่งเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่าเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ

ดังนั้นเขาต้องรู้ว่าตรงนี้สำคัญ และเพราะอะไรจึงสำคัญ มีเอกสารมีระบบมา เพื่อต้องการให้เกิด Check balance ลดความเสี่ยงและการรั่วไหล เพื่อให้เราวิ่งไปข้างหน้าได้ หรืองานตรงไหนที่ต้องทำซ้ำๆ ก็ให้เข้าใจว่าเพื่อให้พัฒนา SKILL ที่สำคัญไปสู่บทบาทหน้าที่การทำงานในระดับที่สูงขึ้นต่อไป ทำให้เห็นว่ามีโอกาสทดลองอะไรใหม่ๆ มีโอกาสในการหมุนเวียนปรับเปลี่ยน (rotate) และมีความหวังโอกาสในการเติบโต สิ่งเหล่านี้จะช่วยบาลานซ์จุดที่คนในองค์กรต้องการ กับที่บริษัทต้องการให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน

มุ่งรักษาคนเก่งคนดีที่มีความเชื่อร่วมกัน

คนในยุคนี้เรื่องของ Life time employment ไม่มีอีกแล้ว การโยกย้ายบริษัทจึงเป็นเรื่องปกติ การเติมเต็มจุดนี้เราจึงต้องพัฒนา ให้โปรเจคใหม่ๆในบทบาทเดิม ไปจนถึงเปลี่ยนบทบาท เปลี่ยน Industry เพราะในกลุ่มของ SEA มีทั้ง Garena ที่เป็น Game Digital Entertainment มีทั้ง AirPay เป็น Electronic Financial Service และ Shopee ที่เป็น E-Commerce ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มนี้มีความใกล้เคียงและมีความต่างกัน ซึ่งถ้าพนักงานสนใจ และเมื่อเวลามาถึง เราก็เปิดโอกาสให้เกิดการหมุนได้ เพราะอย่างไรเราก็จะรักษาคนดี คนเก่งให้อยู่ในกรุ๊ปของเรา   

ในมุมมองของ รัฐวุฒิ เห็นว่าลักษณะของคนในเจนฯนี้ไม่ได้ drive ด้วยเงิน แต่ drive ด้วยความท้าทาย (challenge) และการเติบโต แน่นอนว่าเงินสำคัญในแง่มุมที่จะมองว่าบริษัทนั้นๆจะเห็นค่าของเขาแค่ไหน แต่ไม่ใช่ทุกสิ่ง เราต้องเติมเต็มทุกอย่างให้สมดุล เพราะการใช้เทคนิคผลตอบแทนอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ

“ SEA Group ให้ความสำคัญกับ “คน” เป็นอันดับหนึ่ง เราถือว่าบริษัทฯของเราเทียบเท่ากับคนของเรา ด้วยความเป็น Hi-Tech Industry บริษัทจึงขึ้นอยู่กับความสามารถของพนักงาน ขึ้นอยู่กับความผูกพัน (Engage) ของพนักงานกับบริษัทฯ เพราะถ้าขาดคน เราจะไปต่อไม่ได้ โอกาสและการเติบโตทางธุรกิจนั้นมาจากไอเดียของคน และเราใช้คนในการ drive ธุรกิจ”

ภาวะตลาดแรงงานของ Hi-Tech Industry

ในส่วนของ SEA เองนั้น ยังไม่เกิดภาวะขาดแคลนบุคลากร สังเกตได้จากการที่มีคนใหม่ๆเข้ามาสมัครไม่ขาด ทั้งในส่วนของ Data Analysis, กลุ่ม Business Intelligence หรือแม้แต่ในกลุ่ม Big Data ซึ่งการหาคนที่เป็น Technical จริงๆอาจจะมีจำนวนไม่มากนักวันนี้ แต่ก็ยังพอหาได้บ้าง

แต่หากจะมองถึงSKILL ที่ขาดจริงๆในตลาดแรงงาน ยอมรับว่าส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูล เรื่อง Big data นั้นเป็นส่วนที่ยังขาดอยู่ และที่สำคัญสำหรับองค์กร คือ กลุ่มคนที่มี DNA เข้ากันกับองค์กร ซึ่งเห็นว่าเป็นส่วนที่ท้าทายที่สุด เขากล่าวว่า “คนเก่งนั้นมีอยู่ไม่ขาด แต่คนเก่งที่แมชท์จะหาได้ยากกว่า”  เพราะเราต้องหาคนที่เข้ากันได้กับคุณค่าที่เราเชื่อ

“หน้าที่ของเราคือหาคน สร้างคน พัฒนาคน และรักษาคน ที่มีฝีมือ มีความสามารถ มี Passion และมี Culture ที่เหมือนๆกันกับองค์กร”  

หาก ‘ดิจิทัล’ คือ ‘สมอง’ และ ‘การโค้ช’ คือ ‘หัวใจ’ แวดวงบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงต้องปรับตัว สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้! 3 ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรชื่อดัง มาเปิดเผยกุญแจ ‘การพัฒนาคน’ สู่ ‘ความสำเร็จ’ ผ่านเวทีเสวนา THAILAND MBA FORUM 2018 ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ : Leading in the Time of Change ที่จะช่วยให้องค์กรรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิผลมากขึ้น

ดารากร พิพัฒนกุล ผู้อำนวยการ Future Leader Development - SCB Academy

ดารากร พิพัฒนกุล ผู้อำนวยการ Future Leader Development - SCB Academy กล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วว่ามีส่วนทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ขณะที่บทบาทของภาคธุรกิจหรือผู้นำ ย่อมต้องมีการปรับตัวเพื่อสอดรับกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วยเช่นกัน 

“องค์กรจึงต้องพัฒนาคนในทุกส่วนให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทาง SCB เน้นย้ำเสมอว่าการโค้ชชิ่งเป็นเรื่องของคนทุกระดับ (Coaching is for everyone) ไม่ใช่บทบาทของผู้นำแต่เพียงอย่างเดียว ไทยพาณิชย์มองเรื่องของ ‘ทักษะ’ และ ‘วิธีการคิด’ สำหรับคนทั้งองค์กร โดยให้ความรู้ ความเข้าใจ สร้างวิธีการคิดในระดับจูเนียร์ไปจนถึงซีเนียร์ ทักษะเรื่องการโค้ชชิ่งจึงต้องปลูกฝังกันตั้งแต่เข้ามาในองค์กร” 

ขณะที่ ประสิทธิ์ องอาจตระกูล ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ธนาคารกสิกรไทย สะท้อนภาพใหญ่ของการโค้ชชิ่งในองค์กรว่าเป็นการปูทักษะการโค้ชให้กับบุคลากรทุกระดับ ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร ไปจนถึงระดับพนักงาน รวมถึงการโค้ชชิ่งไปสู่สาขาต่างๆ ของธนาคารอีกด้วย

“ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเป็นผลมาจากเทคโนโลยี ซึ่งทาง KBank ได้ทำ 2 ส่วนหลัก คือ Kbank Digital Academy ในเชิงดิจิทัล ประกอบไปด้วยการสร้างผู้นำให้มีวิธีคิดแบบยุคดิจิทัล (Lead Digital) การใช้ดิจิทัลในการทำธุรกิจ (Execute Digital) และ การใช้ชีวิตแบบยุคดิจิทัล (Life Digital) 

ส่วนที่สอง K-Coaching Academy คือ การปูทักษะการโค้ชให้ผู้บริหารทุกระดับ (Build Executive Coach) การเรียนรู้วิธีการโค้ชในระดับพนักงาน (Bank-Wide Program) และ การโค้ชไปยังสาขา (Branch Program) ผมมองว่าหากเปรียบดิจิทัลคือ ‘สมอง’ การโค้ชนั่นหมายถึง ‘หัวใจ’ งานทุกอย่างจะเดินต่อไปได้ ต้องมาจากสมองและหัวใจ” 

สอดคล้องกับมุมมองจากองค์กรคนรุ่นใหม่ รัฐวุฒิ สุวรรณลิลา People Manager, SEA Thailand มีวิธีรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ผ่านทักษะการบริหารซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับการโค้ชชิ่งด้วยเช่นกัน โดยอาศัยทักษะสำคัญด้าน ‘การฟัง’ และ ‘การตั้งคำถาม’ เป็นหลัก

รัฐวุฒิ สุวรรณลิลา People Manager, SEA Thailand

“ด้วยความที่บริษัทของผมเป็นบริษัทรุ่นใหม่ เราประกอบไปด้วยน้องๆ รุ่นใหม่หลากหลายเจเนอเรชัน ข้อดีคือมีความพร้อมในการเปลี่ยนวิธีคิด (Change Mindset) โดยธรรมชาติ ขณะที่ทักษะที่ใช้ในการบริหาร Transformation มีความเกี่ยวข้องกับการโค้ชชิ่งทั้งสิ้น 

ทั้งเรื่องของ ‘การฟังเชิงรุก’ (Active Listening) ‘คำถามที่เปลี่ยนความคิด’ (Power Question) แม้สิ่งเหล่านี้หลายองค์กรมีแนวคิดเช่นนี้อยู่แล้ว แต่อาจต้องตระหนักรู้ว่าจะนำไปใช้ได้อย่างไรต่อไป ซึ่งการทำให้เกิดขึ้นได้นั้น จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับเรื่องการฟังและการถาม รวมถึงการใช้เครื่องมือในการเทรนนิ่ง และนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ได้ต่อไปในอนาคต” 

 

How to Success

แน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหลังการโค้ชชิ่งในแต่ละองค์กร ย่อมมีผลตอบรับที่แตกต่างกัน ทั้งในแง่บวกและแง่ที่ต้องระวัง เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขให้เกิดประสิทธิผลที่ดีในอนาคต

“ทาง SCB เริ่มปูพื้นเรื่องวิธีคิด นั่นหมายความว่าคนที่เข้ามาเรียนโค้ชชิ่ง เมื่อเข้าใจว่าโค้ชชิ่งคืออะไรและสามารถนำตรงนี้ไปใช้ได้ แต่คำว่า ‘ประสบความสำเร็จ’ ที่องค์กรอยากเห็น คือการโค้ชที่อยู่ในชีวิตประจำวันของทุกคน เพราะสิ่งเหล่านี้ต้องค่อยๆ เกิดขึ้น เราไม่สามารถทำได้อย่างทันท่วงที

สิ่งที่ทาง SCB ทำมาตลอดและได้รวบรวมเคสดีๆ ที่เกิดขึ้น ว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้างที่ทำให้เกิดความสำเร็จ สิ่งแรก คือ คนที่เป็นโค้ชและถูกโค้ชมีกระบวนการคิดที่ถูกต้อง ซึ่งคนโค้ชต้องมีความเชื่อในศักยภาพของตนและคนอื่น ต้องมีความเชื่อในการพัฒนาคนเสียก่อน

คำว่า การมีใจรัก (Passion) ไม่ใช่ทุกคนจะรู้ตัวทันทีเลยว่าเกิดมาเพื่อพัฒนาผู้อื่น แต่มักจะเกิดขึ้นหลังจากที่เขาได้มาเข้าหลักสูตร ได้เรียนรู้ และฝึกฝน การโค้ชที่ดีนั้นเราไม่ได้ทำเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหา แต่การโค้ชคือการทำให้คนคนนั้น ค้นพบการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง” 

ขณะที่ประสิทธิ์ถอดบทเรียนการโค้ชชิ่งที่ผ่านมา ว่าค่อนข้างเป็นสิ่งที่ท้าทาย อีกทั้งยังต้องอาศัยการเปลี่ยนวิธีการคิดอย่างถูกต้อง การสื่อสารที่ดี และการสร้างบรรยากาศเชิงบวกภายในองค์กร

ประสิทธิ์ องอาจตระกูล ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ธนาคารกสิกรไทย

“ผมว่าเรื่องโค้ชชิ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก การโค้ชชิ่งต้องใช้เวลา ไม่ใช่โค้ชแล้วจะได้เป้าตรงตามความต้องการในทันที สิ่งที่ได้เรียนรู้ (Lesson Learn) คือ อย่าทำโค้ชชิ่งเป็นโปรเจกต์ เพราะโปรเจกต์คือมีวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุด ที่สำคัญต้องไม่เกิดจากการบังคับ แต่ต้องทำให้สร้างสรรค์ 

ส่วนที่สองต้องมี ‘ความอดทน’ โดยเฉพาะในด้านการเปลี่ยนวิธีคิด (Mindset) ของคนเป็นโค้ชและผู้รับการโค้ช ยกตัวอย่างการโค้ชในสมัยก่อน จะโค้ชต่อเมื่อลูกน้องทำงานผิดพลาด ขณะที่ปัจจุบันเราต้องเปลี่ยนวิธีคิดว่าการโค้ชไม่ใช่เรื่องของการตำหนิ ไม่ใช่เรื่องของการตามงาน และไม่ใช่เรื่องของการทำไม่ได้เป้า แต่โค้ชคือการพัฒนาคน

ส่วนที่สาม กุญแจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี คือ ‘การสื่อสาร’ ต้องมีการสื่อสารตลอด ที่สำคัญต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการโค้ชชิ่งอยู่ตลอด ทางธนาคารกสิกรเองได้มีการสร้างโปรแกรมการโค้ชชิ่งผ่านรายการ ‘Coach Me Please’ ด้วยเช่นกัน” 

สอดรับกับด้าน รัฐวุฒิ ที่มองว่าการใช้ประสบการณ์ร่วมระหว่างผู้โค้ชและผู้ได้รับการโค้ชเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งสิ่งสำคัญคือการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและได้พิสูจน์การโค้ชชิ่งที่เหมาะสมกับตนด้วยตัวเอง

“ลองหาโค้ชที่ดี ซึ่งเมื่อเราได้รับประสบการณ์ดีๆ เราจะมีพลังในการทำต่อ สิ่งที่ผมทำ ผมพยายามทำให้น้องๆ ในบริษัทได้ประสบการณ์แบบเดียวกันก่อน เช่น เมื่อเรารู้ว่าเขามีปัญหา เราใช้เวลาที่จะพูดคุยกับเขา ใช้เวลาในการเริ่มแชร์ประสบการณ์ รวมถึงค่อยๆ ถามคำถามให้เขาค่อยๆ คิด 

ส่วนบางอย่างที่เราต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง บางปัญหาเรามีคำตอบอยู่ในใจ แต่เราต้องการให้เขาเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาหรือตอบคำถามได้ด้วยตัวเขาเอง หลังจากนั้นจะเกิดความเชื่อใจและเขาจะกล้าเปิดใจกับเราในครั้งต่อๆ ไป” 

 

Coaching Culture

การสร้างวัฒนธรรมการสอนและให้ความเข้าใจ (Coaching Culture) มีบริบทที่ต่างกันในแต่ละองค์กร ในฐานะผู้อำนวยการ Future Leader Development ธนาคารไทยพาณิชย์ได้สะท้อนวัฒนธรรมองค์กรของตนว่า

“ทาง SCB มองว่าการวัฒนธรรม (Culture) ไม่ใช่เรื่องของการรับผิดชอบ ไม่ใช่การที่หัวหน้าต้องโค้ชลูกน้อง แต่เราต้องเชื่อว่าสิ่งนี้ คือสิ่งที่ดีต่อองค์กรและดีต่อชีวิต เรากำลังสื่อสารกับคน ซึ่งคุณค่าของคนไม่ใช่แค่การทำงานร่วมกันเพียงอย่างเดียว ฉะนั้น Culture มันค่อนข้างใหญ่มาก 

เมื่อทำสำเร็จจะเห็นว่าทุกคนได้ใช้โค้ชชิ่งอยู่ในชีวิตประจำวัน รวมถึงนำกลับไปใช้ที่บ้านด้วย สำหรับสิ่งที่ Coaching Culture จำเป็นต้องมีคือการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง ยิ่งไปกว่านั้นผู้นำต้องมีพฤติกรรมที่ดีให้พนักงานเห็น แต่สิ่งที่เป็นพื้นฐานของผู้บริหาร คือ การสร้างคน เราจึงมีหลักสูตรของการพัฒนาคนแทรกอยู่ด้วย

อย่างไรก็ตาม ทาง SCB เอง ไม่ได้จบแค่การให้ ‘ความรู้’ แต่ต้องหา ‘โอกาส’ ให้ได้ใช้จริงอย่างต่อเนื่อง การทำให้คนในองค์กรนำไปใช้ ซึ่งส่งผลให้คนในองค์กรของเรามีชีวิตที่ดีขึ้น” 

สำหรับฟากฝั่งของประสิทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่าสิ่งที่ทำให้คนส่วนใหญ่ตัดสินใจเข้าทำงาน มีผลมาจากวัฒนธรรมภายในองค์กร รวมไปถึงการสร้าง Coaching Culture ที่ทำให้บุคลากรรู้สึกก้าวหน้าและมีคุณค่า

“ล่าสุด มีงานวิจัยยืนยันว่ากว่า 20% วัฒนธรรมองค์กร ถือเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ในการตัดสินใจเข้าทำงานในองค์กร ขณะที่ความมั่นคงอยู่ในอันดับสุดท้าย เพียง 5% เท่านั้น ซึ่ง Coaching Culture คือ การไม่เน้นเรื่องงานและดัชนีชี้วัด (KPI) เพียงอย่างเดียว แต่ให้ความสำคัญกับ ‘คน’ มากกว่า 

ดังนั้น การสร้าง Coaching Culture ต้องทำให้คนรู้สึกว่าอยู่ที่นี่แล้วมีความเติบโตและมีคุณค่า สิ่งแรกที่ควรมี คือ ‘ต้องเอาจริง’ อย่าทำเป็นแฟชั่นแต่ต้องทำเป็นมิสชัน ส่วนต่อมา ต้องทำให้เป็น ‘รูปธรรม’ การโค้ชเป็นทักษะ ถ้าไม่ฝึกก็ไม่คล่อง 

เราจึงสร้างโครงการ ‘พี่อยากโค้ช น้องอยากคุย’ ซึ่งสิ่งที่ได้รับคือ โค้ชที่เรียนได้ฝึกทักษะ ส่วนพนักงานเองได้ปลดปล่อยศักยภาพของตัวเอง แถมยังสร้างกระแสโค้ชให้เกิดขึ้นในองค์กร อย่างสุดท้าย ทำให้การโค้ชชิ่งเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งทักษะการโค้ช หรือการสื่อสารแบบโค้ชชิ่ง ประกอบไปด้วย ฟัง - สะท้อน - ถาม - ชม” 

เช่นเดียวกับ รัฐวุฒิสะท้อนภาพวัฒนธรรมในองค์กรว่า การพัฒนาบุคลากรให้มีความก้าวหน้าเติบโต ถือเป็นเป้าหมายสูงสุดองค์กร ทั้งยังมีการสร้างโครงการ ‘พัฒนาเด็กรุ่นใหม่’ เพื่อปูเส้นทางไปสู่การ Coaching Culture ด้วยเช่นเดียวกัน

“อย่างแรกเราจะต้องเชื่อในเรื่องของการพัฒนาคน และเชื่อในเรื่องของการฟัง เราไม่จำเป็นต้องเก่งในทุกเรื่อง ส่วนที่สองเรื่องของความเชื่อ เราอยากให้บุคลากรในองค์กรเราพัฒนาและเติบโต ซึ่งจุดมุ่งหมายของการพัฒนาบุคคล คือ การที่อยากให้คนที่เข้ามาทำงานกับเราเก่งขึ้นและเติบโตขึ้น

ซึ่งทางเรามีโครงการ ‘การพัฒนาเด็กรุ่นใหม่’ คือ การมีพี่เลี้ยง (Mentor) เข้ามาแชร์ประสบการณ์ บอกเล่าในสิ่งที่เขาต้องการหรือสิ่งที่อยากรับรู้ในการทำงาน อีกส่วนคือ Buddy เข้ามาช่วยในเรื่องของจิตใจ เหมือนมีเพื่อนคนหนึ่งที่คอยรับฟัง นี่คือโครงการง่ายๆ ที่ริเริ่มขึ้นมาเพื่อนำไปสู่การ Coaching Culture ในที่สุด” 

 

Coaching Tips

อย่างไรก็ตาม แม้การโค้ชชิ่งจะมีประโยชน์ในแง่ของการพัฒนาคนและขับเคลื่อนองค์กรไปในทิศทางที่ดี แต่ต้องยอมรับว่าช่วงวัยที่แตกต่างกันในแต่ละเจเนอเรชัน ย่อมมีผลต่อการโค้ชชิ่งด้วยเช่นกัน 

“เนื่องจากว่าเราไม่ได้ต้องหาวิธีการแก้ปัญหาให้ใคร แต่เราทำหน้าที่ในส่วนของการดึงศักยภาพออกมามากกว่า ฉะนั้น ความสำคัญอยู่ที่ว่าเราเข้าใจวิธีการสื่อสารของคนต่างเจเนอเรชันแค่ไหนมากกว่า สิ่งที่อยากแนะนำ เนื่องจากว่าการโค้ชชิ่งเป็นเรื่องของการสร้างความเชื่อใจ-ความเข้าใจ

สิ่งนี้จะทำให้ช่องว่างระหว่างเจเนอเรชัน หันหน้าเข้าหากันได้อย่างลงตัว อีกส่วนคือวิธีการสื่อสาร ต้องอย่ามองความแตกต่างของเจเนอเรชันเป็นสำคัญ แต่ให้มองที่การหาวิธีสื่อสารกับผู้ที่ได้รับการโค้ชอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ” ดารากร กล่าว

ขณะที่ประสิทธิ์มองว่า ด้วยเจเนอเรชันที่แตกต่าง สิ่งสำคัญของการโค้ชชิ่งคือการเรียนรู้ในการสื่อสารกับคนแต่ละกลุ่มให้ถูกต้องเหมาะสม

“ปัจจุบันในองค์กรทั่วไปจะมีอยู่หลักๆ 4 เจเนอเรชันด้วยกัน นั่นคือ กลุ่ม BB, Gen-X, Gen-Y และ Gen-Z ถ้าเราเข้าใจแรงกระตุ้นของคนแต่ละเจเนอเรชัน เราก็จะมีวิธีการโค้ชที่ดีและมีประสิทธิผล” 

สอดคล้องกับรัฐวุฒิที่มองว่าการหาพื้นที่ จังหวะเวลาที่เหมาะสม รวมไปถึงการเข้าในใจสิ่งที่ผู้ถูกโค้ชต้องการ ล้วนมีส่วนในการทำให้การโค้ชชิ่งประสบความสำเร็จได้

“ผมคิดว่าแต่ละคนมีความเป็นปัจเจกบุคคล ยิ่งการโค้ชชิ่งที่ต่างเจเนอเรชัน อย่างแรกต้องหา ‘พื้นที่’ ต่อมาคือการหา ‘เวลา’ ซึ่งแต่ละคนจะมีช่วงเวลาที่สามารถเปิดรับความเห็นที่แตกต่างกันได้ในเวลาที่ไม่เหมือนกัน

สิ่งสุดท้าย การรู้ว่าสิ่งใดที่สำคัญกับเขา เช่น นำการพัฒนาตัวตนหรือการพัฒนาในด้านต่างๆ เข้าไปเสริมในส่วนนี้ ผมคิดว่าทั้งหมดนี้จะช่วยในการส่งเสริมและพัฒนาคนในเจเนอเรชันต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ” 

X

Right Click

No right click