ในปีที่ผ่านมา ผู้บริหารทั่วโลกต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความผันผวนทางเศรษฐกิจ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน (supply chain disruption) และการขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถ ฯลฯ แม้จะเผชิญกับความท้าทายต่างๆ เหล่านี้ แต่ ผู้บริหารระดับ CxO ยังให้ความสำคัญกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นอันดับต้นๆ ในองค์กรของตน

ถึงแม้ว่า CxO ส่วนใหญ่ที่ตอบแบบสำรวจ มีวิสัยทัศน์เป็นไปในทางเดียวกันว่าเศรษฐกิจทั่วโลกสมารถเติบโตได้เป็นอย่างดี และในขณะเดียวกันก็สามารถบรรลุเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ แต่การดำเนินการและผลจากการดำเนินการไม่เชื่อมโยงกัน เนื่องจากองค์กรต่าง ๆ ยังคงล่าช้าในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่จะปลูกฝังแนวคิดความยั่งยืนในการวางกลยุทธ์ การดำเนินงาน และวัฒนธรรมขององค์กร

เมื่อให้จัดอันดับประเด็นที่เร่งด่วนที่สุดสำหรับองค์กรของพวกเขา CxO หลายคนจัดอันดับให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยู่ในกลุ่ม “สามอันดับแรก”

• การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังถูกจัดว่ามีความสำคัญในอันดับต้น ๆ เมื่อพิจารณาร่วมกับประเด็นอื่นอีกเจ็ดประเด็น ซึ่งได้แก่ นวัตกรรม การแข่งขันเพื่อหาบุคลากรที่มีความสามารถ และความท้าทายในห่วงโซ่อุปทาน ในความเป็นจริงมีเพียงประเด็นด้านแนวโน้มเศรษฐกิจเท่านั้นได้รับการจัดอันดับสูงกว่าประเด็นที่กล่าวมาเล็กน้อย

• ผู้บริหารระดับ CxO 61% กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบต่อกลยุทธ์และการดำเนินงานขององค์กรในอีก 3 ปีข้างหน้าในระดับสูงหรือสูงมาก

• 75% กล่าวว่าองค์กรของพวกเขาได้เพิ่มการลงทุนด้านความยั่งยืนในปีที่ผ่านมา โดยเกือบ 20% ของกลุ่มนี้ ให้ข้อมูลว่า พวกเขาได้เพิ่มการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ

CxO มีความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ยังมีความเห็นในทางที่ดีในเรื่องการดำเนินการจัดการด้านสภาพอากาศ

• 62% กล่าวว่าพวกเขามีความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตลอดเวลาหรือเกือบตลอดเวลา

• ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบทั้งหมดระบุว่าบริษัทของตนได้รับผลกระทบเชิงลบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว และ 82% ของ CxO ได้รับผลกระทบโดยตรงกับตนเอง

• อย่างไรก็ตาม 78% มองในแง่ดีอยู่บ้างหรือมองในแง่ดีอย่างมากว่าจะมีการดำเนินการที่เพียงพอที่จะทำให้โลกสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

บริษัทต่าง ๆ รู้สึกกดดันอย่างมากที่จะต้องดำเนินการกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตั้งแต่คณะกรรมการ/ฝ่ายบริหาร ลูกค้า ไปจนถึงกลุ่มพนักงาน

• มากกว่าครึ่งหนึ่งของ CxO กล่าวว่าการเคลื่อนไหวของพนักงานในการผลักดันประเด็นสภาพอากาศทำให้องค์กรของตนเพิ่มการดำเนินการด้านความยั่งยืนในปีที่ผ่านมา โดย 24% ของกลุ่มนี้ กล่าวว่ากิจกรรมดังกล่าวว่าสิ่งนี้นำไปสู่การเพิ่มการดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญ

• กฎระเบียบยังมีส่วนผลักดัน: 65% ของ CxO กล่าวว่า กฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้องค์กรของตนเพิ่มการดำเนินการด้านสภาพอากาศในช่วงปีที่ผ่านมา ในขณะที่บริษัทต่างๆ มีการดำเนินการในด้านนี้ แต่ยังไม่ใช่การดำเนินการที่แสดงถึงการปลูกฝังการคำนึงถึงด้านสภาพอากาศไว้ในวัฒนธรรมองค์กร และการมีผู้นำอาวุโสที่มองเห็นความสำคัญและผลักดันสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมาย

• ตัวอย่างเช่น 21% ของ CxO ระบุว่าองค์กรของตนไม่มีแผนในการกำหนดค่าตอบแทนจากการดำเนินงานด้านความยั่งยืนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมให้ผู้นำระดับสูง และ 30% กล่าวว่าพวกเขาไม่มีแผนที่จะชักชวนให้รัฐบาลสนับสนุนโครงการด้านสภาพอากาศ

• นอกจากนี้ เมื่อถามเกี่ยวกับความจริงจังในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีเพียง 29% ของ CxO ที่กล่าวว่าพวกเขาเชื่อว่าภาคเอกชน "จริงจังมาก"

• และมีเพียง 46% เท่านั้นที่กล่าวว่าการสร้างความเชื่อมั่นใน “การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม”* นั้น “มีความสำคัญอย่างยิ่ง” ในองค์กรของตน และมุมมองด้านความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนี้แตกต่างกันอย่างมากในแต่ละภูมิภาคและประเทศ

รายงานของดีลอยท์สำรวจเพิ่มเติมในเรื่อง ความต้องการและเป้าหมาย การลงมือปฏิบัติ และผลกระทบ ที่ไม่สอดคล้องกัน ตลอดจนขั้นตอนที่ CxO สามารถดำเนินการให้แต่ละส่วนสอดคล้องกันและเร่งให้เกิดดำเนินการไปสู่การเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจสีเขียว

*การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม เป็นการสร้างความเชื่อมั่นว่าผลประโยชน์มากมายจากการเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจสีเขียวจะได้รับการแบ่งปันอย่างกว้างขวาง ในขณะเดียวกันก็ยังสนับสนุนผู้ที่ต้องสูญเสียผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นระดับประเทศ ภูมิภาค อุตสาหกรรม ชุมชน คนงาน หรือผู้บริโภค

โคจิ ยาไน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จำกัด (Fast Retailing)  แถลงวิสัยทัศน์ของ LifeWear = Sustainability ครั้งที่ 2 สำหรับสื่อมวลชนและนักวิเคราะห์ ณ. กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น  ภายใต้การดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ไลฟ์แวร์ (LifeWear) ที่ต้องการผลิตเสื้อผ้าด้วยความเรียบง่าย คุณภาพดี และใช้งานได้นาน ซึ่งเป็นปรัชญาต้นแบบในอุตสาหกรรมของบริษัทฯ เสมอมา พร้อมเผยถึงความคืบหน้าและความสำเร็จของเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเดือนธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา

โคจิ ยาไน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จำกัด นำเสนอการพัฒนาไลฟ์แวร์ (LifeWear) ใหม่ล่าสุด รวมถึงสินค้าและบริการจากทางบริษัทฯ ยูกิฮิโระ นิตตะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง กล่าวถึงรายละเอียดความคืบหน้าเกี่ยวกับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การขยายการตรวจสอบแหล่งที่มา และการพัฒนาความโปร่งใส เซเรนา เพ็ก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง และ ประธานฝ่ายดำเนินการและที่ปรึกษาทั่วไป บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง (สหรัฐฯ) พูดถึงเรื่องการพัฒนาบุคคลากร ความหลากหลาย และการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรในสหรัฐฯ เพื่อส่งเสริมความแข็งแกร่งในการทำงานของสำนักงานใหญ่ของฟาสต์ รีเทลลิ่ง

โคจิ ยาไน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จำกัด กล่าวว่า “ในช่วงปีที่ผ่านมา เราก้าวไปข้างหน้าด้านความคิดริเริ่มต่างๆ ที่มีเป้าหมายในการให้ลูกค้าเข้าถึงไลฟ์แวร์ (LifeWear) ได้มากขึ้น รวมถึงนำกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยพัฒนาชีวิตของผู้คนและสังคมทั่วโลก จากเสียงตอบรับของลูกค้าทั่วโลก บริษัทฯ ได้เริ่มโปรเจกต์ใหม่ๆ เช่น การบริการซ่อมแซมเสื้อผ้าผ่าน RE.UNIQLO STUDIO ของเรา และเพื่อการก้าวไปข้างหน้าอีกขั้น ด้วยการร่วมมือกับลูกค้า พันธมิตรทางธุรกิจ และองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรต่างๆ (NGOs) บริษัทฯ ยังดำเนินงานต่อไปเพื่อเพิ่มความคิดริเริ่มใหม่ๆ เพื่อทำให้ไลฟ์แวร์ (LifeWear) เป็นหลักสำคัญเพื่อชีวิตและสังคมที่ดีขึ้นสำหรับทุกคน”

ความคืบหน้าของแผนการดำเนินงานต่อเป้าหมายของ ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ในปี 2573

สินค้า 

· อัตราส่วนของวัสดุรีไซเคิล วัสดุที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำ ที่ใช้ในกลุ่มบริษัทของฟาสต์ รีเทลลิ่งเพิ่มขึ้น 5% อย่างมั่นคง สำหรับสินค้าในปี 2565 เมื่อเทียบกับเป้าหมายในปี 2573 ที่ตั้งเป้าให้มีสัดส่วน 50% รวมถึงอัตราส่วนการใช้เส้นใยโพลีเอสเตอร์ที่ได้จากการรีไซเคิลเพิ่มขึ้นประมาณ 16% เทียบกับการใช้โพลีเอสเตอร์ทั้งหมด

· นับตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว ปี 2565 เสื้อฟลีซขนนุ่มของยูนิโคล่ปี 2565 ได้ทำจากเส้นใย โพลีเอสเตอร์รีไซเคิล 100% ซึ่งส่วนใหญ่ทำมาจากขวดพลาสติก (PET)

· เดือนกันยายน ปี 2565 ที่ผ่านมา ยูนิโคล่เปิดตัว RE.UNIQLO STUDIO เป็นบริการใหม่จากยูนิโคล่ เพื่อช่วยให้ลูกค้าได้สวมใส่ไอเทมไลฟ์แวร์ (LifeWear) ตัวโปรดได้ยาวนานขึ้น โดยริเริ่มที่สาขา รีเจนท์ สตรีท ในลอนดอนเป็นแห่งแรก นอกจากนี้ยังได้ขยายบริการนี้ไปในหลายประเทศอีกด้วย รวมถึงการเปิดทดลองบริการนี้ที่ญี่ปุ่น ณ.ร้านสาขาเซตะกายะ ชิโตเซได ในวันที่ 22 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ยูนิโคล่ตั้งใจที่จะขยายบริการนี้ต่อไปทั้งในประเทศญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก

การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

· ที่ร้านสาขาและสำนักงาน

เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัทฯ ในการเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ภายในปี 2573 ร้านยูนิโคล่และสำนักงานในยุโรป อเมริกาเหนือ เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย ได้ปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียนแล้ว 100%

· ระบบซัพพลายเชน

โรงงานคู่ค้าหลักผู้ผลิตสินค้าของยูนิโคล่ และ GU มากกว่า 90% ได้ยกระดับมาตรการการประหยัดพลังงาน ลดการใช้ถ่านหิน และเลือกใช้พลังงานหมุนเวียน แผนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กำลังดำเนินไปอย่างมั่นคง ผ่านการพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวกับโรงงานคู่ค้าของเรา

บรรลุเรื่องการติดตามจากแหล่งต้นทางและการเพิ่มความโปร่งใส

· ระบบเพื่อยืนยันการวางแผนซัพพลายเชนและติดตามผลของแต่ละสินค้าดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว การใช้งานการจัดการข้อมูลจากแหล่งต้นทาง ด้วยความร่วมมือกับโรงงงานคู่ค้าเริ่มต้นในคอลเลคชัน ฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว ปี 2565

· โปรแกรมการยืนยันแหล่งที่มาจากบุคคลที่สามเสร็จสมบูรณ์ และใช้งานจริงในช่วงเวลาเดียวกัน

· ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ตั้งเป้าที่จะใช้ Code of Conduct สำหรับพันธมิตรด้านการผลิตเส้นใยฝ้าย และสิ่งแวดล้อมของแรงงาน และการตรวจสอบทางบัญชี ในฤดูใบไม้ผลิ ปี 2566

· ความคิดริเริ่มดังกล่าวนี้ เริ่มจากสินค้าบางอย่างของยูนิโคล่ และวางแผนเพื่อเพิ่มให้ครอบคลุมสินค้าทุกประเภทของยูนิโคล่ และสินค้าอื่นๆ ในเครือของฟาสต์ รีเทลลิ่งในอนาคต

· ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ยังคงยกระดับความโปร่งใส่โดยการเพิ่มรายชื่อของพันธมิตรด้านการผลิตในขอบเขตที่กว้างขึ้น รวมถึงพิจารณาการเพิ่มรายชื่อเพื่อรวมแหล่งผู้ผลิตเส้นใยฝ้ายในอนาคตด้วย

การปรับวิธีการติดตามสภาพแวดล้อมของแรงงาน

· ตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 ฟาสต์ รีเทลลิ่งได้นำโปรแกรม SLCP (Social and Labor Convergence Program) มาใช้ ซึ่งเป็นการระบบประเมินด้านอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำหรับโรงงานผลิต เพื่อประเมินความเสี่ยงและประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของแรงงาน รวมถึงการพัฒนาปัญหาดังกล่าว โปรแกรมนี้จะเริ่มใช้ในทุกๆ โรงงานผลิตเสื้อผ้าและโรงงานทอผ้าหลักๆ ภายในสิ้นปีงบประมาณ 2566

· ขณะเดียวกัน ฟาสต์ รีเทลลิ่งได้ใช้มาตรการ Zero- Tolerance ในการทำข้อตกลงใดๆ เพื่อพิจารณาถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพิ่มความแข็งแกร่งในการตรวจสอบความเสี่ยงของสภาพแวดล้อมของแรงงานและการละเมิดสิทธิมนุษยชนใดๆ ก่อนที่จะเกิดความเสี่ยงขึ้น

การขยายข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลุกค้า

· ตั้งแต่ปี 2566 ยูนิโคล่จะเปิดเผยข้อมูลของซัพพลายเชนสำหรับแต่ละสินค้าในรูปแบบข้อความสั้นๆ บนออนไลน์สโตร์ และในระหว่างปี 2566 สินค้าแต่ละชิ้นจะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับประเทศที่ผลิต ส่วนประเทศต้นทางที่ผลิตเส้นใยจะถูกนำมาเผยแพร่ในลำดับต่อไป

· ยูนิโคล่จะเปิดเผยข้อมูลอันจำเป็นสำหรับลูกค้า เพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกสินค้าของยูนิโคล่ ภายในปี 2568

· ยูนิโคล่ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในการสร้างระบบยืนยันขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าคำอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลสินค้ามีความถูกต้องเพื่อป้องกันความสับสน

การริเริ่มด้านกิจกรรมเพื่อสังคม

· ในปีงบประมาณ 2565 ฟาสต์ รีเทลลิ่ง สนับสนุนเงินจำนวน 8.8 พันล้านเยน ผ่านกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ รวมถึงบริจาคเสื้อผ้าในจำนวน 6.98 ล้านชิ้น* เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมช่วยเหลือสังคม โดยมีจำนวนผู้ที่ได้รับประโยชน์จากกิจกรรมนี้มีถึง 7.49 ล้านคนทั่วโลก

· ยูนิโคล่เปิดตัว PEACE FOR ALL โปรเจกต์เสื้อยืดการกุศลที่สื่อให้เห็นถึงความหวังของบริษัทในเรื่องของสันติภาพ ผลกำไรจากยอดขายของโปรเจกต์นี้ได้บริจาคและถูกจัดสรรไปยังองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ได้แก่ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR), องค์การช่วยเหลือเด็กหรือ Save the Children และองค์การแพลน อินเตอร์เนชันแนล (Plan International) โดยช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2565 ยูนิโคล่บริจาคเงินจำนวนประมาณ 100.45 ล้านเยน ซึ่งกิจกรรมนี้ยังคงดำเนินต่อไปในอนาคต

· ฟาสต์ รีเทลลิ่งจะเพิ่มกิจกรรมความช่วยเหลือสำหรับผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่น บริษัทกำลังเพิ่มการจ้างงานและการช่วยเหลือเพื่อตั้งรกรากสำหรับผู้ลี้ภัยจากยูเครน นอกจากนี้ ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ได้ริเริ่มโปรเจกต์เพื่อช่วยเหลือด้านอิสรภาพของผู้หญิงพลัดถิ่นชาวโรฮิงญาที่ต้องการลี้ภัยไปยังบังกลาเทศ

· ทางบริษัทมีแผนในการขยายโปรแกรมการพัฒนาสำหรับคนรุ่นต่อไป (next-generation development program) ด้วยความร่วมมือจากโกลบอลแบรนด์แอมบาสเดอร์ของยูนิโคล่ โดยในวันที่ 19 พฤศจิกายน นี้ โรเจอร์ เฟดเดอเรอร์ จะมาเยือนประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การประกาศยุติการเล่นเทนนิสอาชีพ เพื่อร่วมจัดคลาสเทนนิสสำหรับเยาวชนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมนี้

· มูลนิธิฟาสต์ รีเทลลิ่ง (Fast Retailing Foundation) จัดโปรเจกต์ฟื้นฟูผืนป่าในฟิลิปปินส์ ด้วยแผนการปลูกต้นไม้ประมาณ 200,000 ต้นใน 3 พื้นที่

*ยกเว้นเสื้อผ้าที่ได้จากการรับบริจาคที่ร้านสาขาและนำไปบริจาคให้กับผู้ลี้ภัยและผู้ที่ขาดแคลน

การยกระดับความหลากหลายและการรวมเป็นหนึ่ง

· ฟาสต์ รีเทลลิ่งตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนผู้บริหารหญิงให้ถึง 50% ภายในปีงบประมาณ 2573 โดยในปลายเดือนสิงหาคม ปี 2565 อัตราส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 43.7%

· ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ตั้งเป้าหมายสำหรับการจ้างงานผู้พิการทั่วโลก และส่งเสริมความคิดริเริ่มเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้

 

แอร์บัสและสนามบินคันไซ ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ว่าด้วยเรื่องการสารวจการใช้ไฮโดรเจนที่สนามบินทั้งสามแห่งในประเทศญี่ปุ่น (ได้แก่ สนามบินนานาชาติคันไซ สนามบินนานาชาติโอซาก้า และสนามบินโกเบ)

EXIM BANK จัดงาน EXIM Stakeholders Day เป็นปีที่ 2 ภายใต้แนวคิด “สานพลังพันธมิตร เดินเกมเปลี่ยนประเทศไทย” เพื่อฟังเสียงผู้แทนหน่วยงานกำกับดูแลได้แก่ กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ลูกค้า ผู้ประกอบการ ตั้งแต่รายใหญ่ รายกลาง และรายย่อย เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของ EXIM BANK พร้อมข้อเสนอแนะที่ตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนอย่างสมดุล อันจะเป็นส่วนหนึ่งของการสานพลังร่วมกับ EXIM BANK เพื่อเดินเกมเปลี่ยนประเทศไทย ขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนสู่โลกยุค Next Normal ผ่านระบบการประชุมออนไลน์จาก EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565

การปรับตัวผลิกฟื้นสถานการณ์องค์กร เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลง

ทุกองค์กร ต่างก็พุ่งเป้าไปสู่ความสำเร็จ  “เพื่อความยั่งยืน”

และจะไปถึงเป้าหมายความสำเร็จนั้น   “ด้วยความยั่งยืน” 

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click