ธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด (J Ventures) ได้ขึ้นกล่าวต่อถึงหัวข้อ Decentralized Message ซึ่งเป็นสิ่งที่ Jaymart และทุกธุรกิจบนโลกนี้กำลัง Transform ธุรกิจที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงน่าจะเดินต่อไปในอนาคตได้อย่างลำบาก “คำว่า Decentralized เป็นรากฐานสำคัญของเทคโนโลยี Blockchain เกิดจากสภาวะไร้คนกลาง โดยย้อนกลับไปดูถึงสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่เราเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ต เกิดการ Disrupt ใน Industry แต่ละ Sector ไปเรื่อยๆ อย่างช้าๆ โดยที่รู้ตัวหรือไม่ก็ตาม มีทั้งหมด 5 Sectors

1. E-commerce ผู้เล่นหน้าใหม่อย่าง Lasada, Shoppee, Jaydee.com มา Disrupt ตลาด Traditional ที่เป็น Retail

2. Online media สื่อเก่าที่ตายไปก็อย่างเช่น Magazine หนังสือ วิทยุ โทรทัศน์ และผู้เล่นหน้าใหม่ก็คือ Facebook, YouTube, Google, Joox โฆษณาก็โยกย้ายไปออนไลน์กันหมด

3. Social media ในอดีตที่เราใช้ในการสื่อสารอย่างเช่น อีเมล ข้อความและโทรศัพท์ ปัจจุบันเกิดผู้เล่นหน้าใหม่เป็นโปรแกรมแชทอย่าง Vivo, WhatsApp, WeChat หรือ Line บางคนมีครบหมดเพราะไปแต่ละประเทศก็ใช้โปรแกรมแชทต่างกัน

4. เป็นธุรกิจที่เขาทำ Survey มาว่าคนไทยขี้เกียจต่อคิว จึงทำ Marketing เผื่อมาช่วยอำนวยความสะดวกด้วยการสร้าง Application ต่างๆ ผู้เล่นหน้าใหม่อย่าง Grab, Uber แต่ก่อนอยากกินอะไรต้องโทรสั่งร้านนั้นๆ แต่เดี๋ยวนี้สั่งได้หมด ความน่าสนใจคือเวลาที่เกิด Disrupt ไม่ใช่แค่ส่งผลต่อ Industry นั้นๆ แต่เชื่อมโยงถึงกันได้หมดเลย อีกหน่อย Grab อาจจะทำโฆษณาหรือขายของออนไลน์ได้ด้วย

5. Digital Payment อย่างพวก Fintech ที่มา Disrupt แบงก์ แต่ก็ยังคง Disrupt การฝากเงินไม่ได้ อันแรกที่เกิดมาสักพักแล้วก็คือบัตร Visa Master แต่ก็ยังมีการทำงานร่วมกับแบงก์อยู่ ขยับมาก็คือ E-wallet ทั้งหลาย แต่ก็ยังไม่เกิดเป็น Cashless Society ที่แท้จริง จนกระทั่ง Mobile Banking ที่ไม่มีค่าธรรมเนียมโอนเงิน ซึ่งเกิดจากแต่ละแบงก์อยากจะ Disrupt กันเองเพื่อหวังให้ได้ลูกค้าเพิ่ม ทำให้เกิด Cashless Society อย่างแท้จริง”

อย่างไรก็ตามส่วนมากแล้วเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นล้วนเป็นของต่างประเทศ เหล่า Developer คนไทยก็หวังว่าสักวันจะมีโลโก้ของไทยเกิดขึ้นบ้าง ซึ่งเราสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ เพราะโลกในตอนนี้เป็นการทำงานแบบ Networking, Partner และ Platform จึงต้องเกิดการรวมกันแบบ Decentralize, Market Place หรือ Platform ให้ user ได้ Generate content เป็นโลโก้ใหม่ๆ ถ้า Developer เข้าใจตรงนี้ สร้างข้อมูลและเชื่อมต่อให้ถึงกัน โดยมีเบื้องหลังคือ Data ซึ่งเป็นคีย์สำคัญ ใครมี Data เยอะที่สุดคนนั้นได้เปรียบ บริษัทต่างๆ จึงมีการเก็บข้อมูลเอาไว้ หลังบ้านที่เป็น Platform ก็ทำการเก็บข้อมูลไปเรื่อยๆ จนวันหนึ่งหากวิเคราะห์ข้อมูลได้ชัดเจน วันนั้นคุณก็จะชนะและสามารถคาดเดาทิศทางต่างๆ ได้

เพราะฉะนั้นในประเทศไทยก็ควรมีบริษัทที่เก็บข้อมูลคนในประเทศ อย่างชิม ช้อป ใช้ ที่มีคนลงทะเบียนกว่า 10 ล้านคน สะสมพฤติกรรมผู้บริโภคไปเรื่อยๆ เมื่อสักวันเข้าใจ Data เอาเทคโนโลยีเข้าไปใส่ ประเทศไทยยังมีปัญหาของการทำสำมะโนครัวของประชากร เพราะเราไม่เคยปลูกทางมาก่อน นี่จึงอาจเป็นหนทางของการทำให้เกิดขึ้นได้ โดยมี 3 สิ่งสำคัญที่จะทำให้การพัฒนา Platform ประสบความสำเร็จได้ อย่างแรกคือ Trust me as a person เห็นคนเป็นคน อย่างเวลาเราดูโทรทัศน์เขาจะไม่สามารถรับรู้ได้ว่าเราเป็นคนดู ต่างจาก Facebook ที่สามารถโชว์ได้ว่าเรากำลังดูสิ่งนั้นอยู่ สองคือ Understand protect data และสามทุกอย่างต้องรวดเร็ว

โลกวันข้างหน้าเป็นการมองภาพใหม่แบบ Continuous ไปเรื่อยๆ เป็นโลกของ Platform และ Market Place มองคนแบบ M2M เริ่มจาก Customers Journey แล้วก็วนกลับมา การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ ทุกธุรกิจย่อมจะเกิดการถูก Disrupt แต่จะทำอย่างไรให้นำเอารากฐานที่มีมาปรับใช้เข้ากับเทคโนโลยีให้ได้


เรื่อง : กองบรรณาธิการ

บริษัทผู้พัฒนา Blockchain และเทคโนโลยีแนวหน้าของประเทศไทย เปิดตัว Thailand Blockchain Working Group (TBWG)

นายธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์ (ที่ 6 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด (J Ventures) บริษัทในกลุ่มเจมาร์ท จับมือพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและบล็อกเชน (Blockchain) ภายใต้ความร่วมมือของ J Ventures พร้อมด้วย I AM Consulting , Dome Cloud , Atomic Pay และ Satang เปิดตัว Thailand Blockchain Working Group (TBWG) เป็นการรวมตัวของนักพัฒนาและผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เพื่อเป็นอีกหน่วยงานสำคัญในการสร้างระบบนิเวศบล็อกเชนในประเทศไทย (Blockchain Ecosystem) พร้อมสนับสนุนด้านการลงทุน ขับเคลื่อนองค์กรด้านบล็อกเชนสตาร์ทอัพสายเลือดไทยให้เติบโตแข็งแกร่ง โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหาร Brand Protocol และนายวิชัย ทองแตง (กลาง) Investment Specialist ร่วมให้ข้อมูลการลงทุน ณ ห้อง Auditorium ชั้น 7 The Knowledge Exchange เมื่อเร็วๆ นี้

 

X

Right Click

No right click