×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 10974

บนข้อเท็จจริงที่ว่าการแข่งขันทางธุรกิจในโลกยุคปัจจุบันได้กำหนดให้องค์กรยุคใหม่ต้องหาเครื่องมือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน เพื่อความเท่าทันและไม่ตกยุค และบล็อกเชนก็เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางธุรกิจ เพราะการประยุกต์ใช้บล็อกเชนไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะการใช้งานด้านการเงินหรือการทำธุรกรรม แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการบันทึก จัดเก็บข้อมูล และการตรวจสอบติดตามเพื่อความโปร่งใสและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารองค์กรยุคใหม่ รวมถึงการทำความรู้จักกับระบบนิเวศทางธุรกิจยุคใหม่ที่ใช้บล็อกเชนเป็นกลไกสำคัญ แม้แต่ Social Network ระดับโลกอย่าง Facebook ก็ยังนำมาใช้งาน

บทบาทของเทคโนโลยีบล็อกเชนได้กลายเป็นหนึ่งกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ยุคดิจิทัล หรือ Digital Transformation และภายใต้การเล็งเห็นประเด็นสำคัญในเรื่องนี้ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้ร่วมมือกับบริษัท SIAM ICO  บริษัทที่ปรึกษาและออกแบบการพัฒนาธุรกิจและการลงทุนด้านดิจิทัล โดยกำหนดเปิดหลักสูตรพิเศษ Blockchain for Enterprise Transformation เพื่อให้ความรู้และพัฒนาผู้บริหารขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีความตั้งใจ หรือสนใจที่จะพัฒนากลยุทธ์ด้านดิจิทัลให้กับองค์กร โดยอาศัยเทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นกลไกสำคัญ

ภายใต้ความร่วมมือในครั้งนี้ ผู้บริหารของสององค์กร ได้ร่วมกันจัดแถลงความร่วมมือและแนะนำถึงสาระสำคัญของหลักสูตร ตลอดจนผู้บรรยายอันประกอบไปด้วยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญที่ทรงคุณวุฒิและอยู่ในอุตสาหกรรมจริง

การแถลงข่าวครั้งนี้ประกอบด้วย 

- รศ.ดร.ธัชวรรณ กนิษฐ์พงศ์ คณบดี คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

- ปฐม อินทโรดม กรรมการผู้จัดการและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท สยาม ไอซีโอ จำกัด

- คณิต ศาตะมาน ซีอีโอ ไนท์ อะคาเดเมีย

- ปกรณ์ ลี้สกุล ซีอีโอฟินีมา

นอกจากนั้น การแถลงความร่วมมือในครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.จงสวัสดิ์ จงวัฒน์ผล รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)  เข้าร่วมเป็นสักขีพยานและให้ความเห็นในการสัมภาษณ์ในโอกาสนี้ด้วย


รศ.ดร.ธัชวรรณ กนิษฐ์พงศ์ คณบดี คณะบริหารธุรกิจ  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

เป็นหนึ่งในเป้าหมายและความตั้งใจของ รศ.ดร.ธัชวรรณ  ซึ่งเพิ่งก้าวเข้ามารับตำแหน่งคณบดี ของคณะบริหารธุรกิจเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา  โดยเป็นหนึ่งในวิสัยทัศน์ของผู้นำของคณะฯ ที่ให้ความสำคัญกับเรื่อง disruption  และเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้าน AI, Blockchain ตลอดจน Fintech ที่คนไทยยังต้องการการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างมาก

“โดยส่วนตัวคือต้องการพัฒนาหลักสูตรเหล่านี้อยู่แล้ว เมื่อได้คุยกับทาง SIAM ICO ซึ่งมีเป้าหมายที่ไปในแนวทางเดียวกัน จึงเป็นที่มาของความร่วมมือ เพราะเรื่อง Blockchain มันเป็นภาพใหญ่ หลายคนรู้จัก Bitcoin  รู้จักคริปโตเคอเรนซี่ แต่ข้อเท็จจริงๆ แล้วบล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีที่สามารถประยุกต์มาทำอะไรได้มากกับองค์กรหรือสถาบัน ไม่ใช่เพียงออก Coin หรือ Currency เท่านั้น แต่บล็อกเชนทำอะไรได้มากกว่านั้น  แม้กระทั่งตอนนี้ เราได้พูดกันถึง Digital certificate หรือใบประกาศดิจิตอล ในบล็อกเชนที่ไม่สามารถปลอมได้ พูดถึงเงินที่ไม่สามารถปลอมได้ ซึ่งมันดีนะ และเชื่อว่าบล็อกเชนจะนำพาเราไปสู่สิ่งอื่นๆ อีกหลายๆเรื่องได้ อาทิ Supply Chain หรือ ระบบการจัดเก็บประวัติการรักษาพยาบาล หรือ เก็บข้อมูล Tourism ซึ่งต่อไปใช้การใช้จะกว้างออกไปอย่างมาก”

รศ.ดร.ธัชวรรณ ยังย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาเรื่อง บล็อกเชนเป็นหลักสูตรว่า “นอกจากประโยชน์ของบล็อกเชนที่กล่าวมา  เทคโนโลยีบล็อกเชนยังสามารถประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์กรไปสู่ความเป็นดิจิทัลได้ อย่างที่เป็นกระแสอยู่ในขณะนี้คือเรื่อง Digital Transformation ซึ่งน่าสนใจมาก  โดยหลักสูตร Blockchain for Enterprise Transformation ที่กำลังจะเปิดร่วมกับ บริษัท SIAM ICO นี้ถือได้ว่าเป็นที่แรกที่เปิดคอร์ส วิชานี้ โดยเราจะเปิดเป็นสาธารณะโดยให้บุคคลภายนอกเข้ามารับการอบรม หลังจากนั้นก็จะหลอมรวมวิชานี้เข้าไปอยู่ในหลักสูตรMBA ของทางนิด้าในเวลาต่อไป ซึ่งเชื่อว่านักศึกษาจะให้ความสนใจและได้รับประโยชน์จากคอร์สนี้อย่างมาก”

คณบดีหญิงคนแรกของ NIDA Business School อยากเชิญชวนให้ศิษย์เก่า ตลอดผู้บริหารองค์กรของทั้งภาครัฐและเอกชนมาลงคอร์สนี้ ซึ่งได้รับการออกแบบให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับผู้เรียนที่ต้องการความกระชับในเรื่องเวลา เพียง 3 วันใน 3 สัปดาห์ของเดือนสิงหาคม  โดยที่วันสุดท้ายของหลักสูตรจะจัดให้มีเวิร์กชอป โดยที่ทางนิด้าเรานำหลักของ Design Thinking เข้ามาผสมผสานในการจัดอบรมเพื่อให้ผู้เรียนได้ประโยชน์ควบคู่ทั้งในเรื่องบล็อกเชนและ Design Thinking ไปพร้อมๆกัน อีกด้วย


ปฐม  อินทโรดม กรรมการผู้จัดการและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท SIAM ICO  จำกัด

ความเป็นมาของหลักสูตร Blockchain for Enterprise Transformation  เกิดจากคำถามที่ทั้งสยามไอซีโอและนิด้าได้รับอยู่เสมอในช่วงปีที่ผ่านมาคือ เรื่องบล็อกเชน และ Digital Transformation  และเมื่อได้มีโอกาสได้หารือถึงเป้าหมายและความเป็นไปได้ในเรื่องความร่วมมือเพื่อพัฒนาเป็นหลักสูตรนี้เกิดขึ้นมา โดยผูกเอา 2 เรื่องไว้ด้วยกัน 

“ถ้าคุณสนใจเรื่องบล็อกเชน คุณจะได้เรื่อง Digital Transformation เป็นของแถม และคุณอาจจะพบว่าจะปรับเปลี่ยนองค์กรเป็นดิจิทัลไม่ต้องใช้บล็อกเชนก็ได้ มีแนวทางมากมาย หรืออาจจะใช่คุณก็ลุยต่อได้เต็มที่ ก็จะมีหลักสูตรอื่นๆ เพิ่มเติมที่จะตามมาในอนาคตเจาะลึกเรื่องเหล่านี้ลงไป หรือถ้าคุณสนใจเรื่องDigital Transformation นอกจากจะได้รู้กระบวนการ  ยังมีเวิร์กช้อป ที่เราจะสอนเรื่องการปรับเปลี่ยนองค์กรว่าต้องรู้จักแกนหลักขององค์กร องค์ประกอบภายนอกมีอะไรบ้าง มีกรณีศึกษาจากกรณีทั้งไทยและต่างประเทศอะไรที่นำมาใช้ได้ และได้เรื่องบล็อกเชนเสริมเข้าไปด้วย ซึ่งบล็อกเชนคุณอาจจะรู้เพื่อไปปรับกระบวนการทำงานหรือไปใช้ในเรื่องการระดมทุนจะทำ STO ICO  ต่อไปในอนาคตได้”         

ปฐม เผยว่าหลักสูตรนี้เหมาะกับผู้บริหารองค์กรภาครัฐและเอกชนตั้งแต่ขนาดกลางขึ้นไปที่มีความตั้งใจจะพัฒนากลยุทธ์ด้านดิจิทัลให้กับองค์กรโดยอาศัยเทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นหัวใจสำคัญ และที่รับทราบเรื่องบล็อกเชนและ Digital Transformation มาระยะหนึ่งแล้ว อยากรู้ว่าจะนำไปปรับใช้กับองค์กรของตนเองได้อย่างไร โดยเป็นหลักสูตรที่เน้นในการถ่ายทอดความรู้ และการนำไปประยุกต์ใช้ในโลกความเป็นจริงอย่างเต็มที่

“สิ่งที่ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับกลับไปคือ “Digital Transformation คือเราพูดถึงภาพรวมของเทคโนโลยีทั้งหมด เจาะลึกเทรนด์ที่จะมีผลกระทบในอนาคต สยามไอซีโอเราเชี่ยวชาญเรื่องไฮบริด  เช่น ธุรกิจโลจิสติกส์ ตอนเวิร์กช้อป คุณรู้หรือไม่ว่าIOTมารวมกับบล็อกเชนได้ รถขนส่งสามารถเอาเซนเซอร์ใส่เข้าไปวัดอุณหภูมิ มีจีพีเอสวัดว่าอยู่ที่จุดไหนแล้ว บวกกับSmart Contact ของบล็อกเชนทำให้ลูกค้าของคุณจ่ายเงินได้ทันทีเมื่อรู้ว่าคุณขนอาหารไปส่งถึงเป้าหมายโดยที่อุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลงจากที่กำหนดไว้ เป็นการเชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน”

การนำเทคโนโลยีหลายอย่างมาประสานกันจนเกิดโซลูชันเป็นเป้าหมายเบื้องต้นที่คุณปฐมคาดหวังให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับกลับไป และหากสามารถมองไปไกลได้ถึงการคิดแพลตฟอร์มดิจิทัลออกมาใช้ได้จริง ก็จะเป็นเป้าหมายสูงสุดที่หลักสูตรนี้ต้องการ


สนใจรายละเอียดหลักสูตร Blockchain for Enterprise Transformation คลิ๊ก

 

 

บราเดอร์ ดัน ‘ธีรวุธ ศุภพันธุ์ภิญโญ’ รับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ เสริมแกร่งทีมบริหาร วางกลยุทธ์ นำองค์กรสร้างการเติบโตท้าทายกระแสเศรษฐกิจด้วยคอนเซปต์ ‘Towards the next level’  พร้อมรับมือ ‘การเปลี่ยนแปลง’ จากปัจจุบันสู่อนาคตด้วยกลยุทธ์ 3C’s โดยในปีงบประมาณ 2561 (เม.ย. 61 – มี.ค. 62) บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเพิ่มเป็น 7% ซึ่งสูงกว่า                  ที่คาดการณ์ไว้แต่เดิมที่ 5%

         

บราเดอร์ กับ 5 ปีของการ ‘เปลี่ยน’ เพื่อสร้างการเติบโตแบบสวนกระแส

นายโทโมยูกิ ฟูจิโมโตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด ได้อธิบายถึงหลักคิดเกี่ยวกับ ‘การเปลี่ยน’ เพื่อสร้างการเติบโต เราต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับบริบทเศรษฐกิจ ก่อนที่คนอื่นจะมาเปลี่ยนเราและลดทอนบทบาททางธุรกิจลง โดยนายโทโมยูกิ ฟูจิโมโตะ อธิบายถึง ‘การเปลี่ยน’ ในครั้งนี้ว่า “บราเดอร์พยายามปรับเปลี่ยนและพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างต่อเนื่องในทุกกลุ่มธุรกิจ บริษัทฯ มุ่งหวังให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจในระดับสูงทั้งในส่วนของนวัตกรรมและคุณภาพผลิตภัณฑ์ และที่สำคัญอีกประการคือคุณภาพงานบริการหลังการขาย ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งหัวใจหลักของการดำเนินธุรกิจของบราเดอร์ที่ผ่านมา” ผลของการวางกลยุทธ์ที่มองไปข้างหน้าอย่างตีโจทย์แตกของ บราเดอร์ ทำให้ที่ผ่านมา บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) มีการเติบโตเฉลี่ยขึ้นทุกปี โดยนายโทโมยูกิ ฟูจิโมโตะ มองว่าปัจจัยความสำเร็จดังกล่าวเกิดขึ้นจากการนำปรัชญาการดำเนินธุรกิจที่ว่า ‘At Your Side’ มาประยุกต์ใช้กับการดำเนินธุรกิจ โดยให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางหลักของแต่ละแนวคิด และขยายแนวคิดดังกล่าวไปยังพันธมิตรทางธุรกิจและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ

 

บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) ไม่เคยหยุด ‘ทรานส์ฟอร์ม’

ตลอดกว่า 10 ปีที่ได้ร่วมงานกับบราเดอร์ นายธีรวุธ ศุภพันธุ์ภิญโญ ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด ได้ผลักดันให้บราเดอร์ก้าวสู่การเป็นแบรนด์ผู้นำในตลาด โดยได้นำประสบการณ์ที่ถูกสั่งสม มาพัฒนาทีมงานและวิธีการทำงานให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังได้นำกลยุทธ์การตลาดต่างๆ มาขับเคลื่อนบราเดอร์จากแบรนด์เล็กสู่หนึ่งในผู้นำแบรนด์เครื่องพิมพ์ที่คุ้นเคยและยอมรับของคนไทย ผมเชื่อว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นแล้วและกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ‘ศักยภาพของทีมเวิร์ค’ คือหัวใจหลัก การกำหนดบทบาทที่ชัดเจนให้แต่ละฝ่าย การเปิดโอกาสให้เกิดการคิดนอกกรอบ ล้วนทำให้เราได้แนวทางการทำงานใหม่ๆ กล้าลองเพื่อได้สิ่งที่ต่าง และความต่างนี้เองที่ทำให้แบรนด์บราเดอร์โดดเด่นออกมาในมุมมองของกลุ่มเป้าหมาย และปัจจัยสุดท้ายคือพลังความร่วมมือจากพาร์ทเนอร์ที่ยิ่งทำให้การเติบโตของเราขยายตัวอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ผมมองว่าที่ผ่านมาเราไม่เคยหยุด‘ทรานส์ฟอร์ม’  เกมการตลาด และไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนเร็ว ทำให้เราต้องเตรียมรับมือให้เร็วยิ่งกว่าในแต่ละก้าวเสมอ”

 

2019 จุดเริ่มสูตรและส่วนผสมการบริหารงานของ ‘ธีรวุธ ศุภพันธุ์ภิญโญ’

“Transform for the Future ยังคงเป็นแนวทางในการบริหาร”

เพิ่มการวางรากฐานธุรกิจที่แข็งแกร่งด้วยคอนเซปต์ ‘Towards the next level’

นายธีรวุธ กรรมการผู้จัดการคนล่าสุดของบราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) กล่าวถึงแนวทางในการดำเนินธุรกิจในปี 2019 - 2021 ว่า การเจริญเติบโตของบราเดอร์ในช่วงที่ผ่านมาคือบทพิสูจน์ให้เห็นถึงประสิทธิผลของพลังแห่งการ ‘ทรานส์ฟอร์ม ที่เราสร้างมาอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ตั้งเป้าหมายที่จะทรานส์ฟอร์มใน 3 ส่วนหลัก ได้แก่ Business Transform, Operational Transform และ Talent Transform สำหรับปีนี้ นโยบายหลักของเราก็ยังคงมุ่งเน้นที่จะ “ทรานส์ฟอร์ม” อย่างต่อเนื่อง แต่จะเพิ่มรายละเอียดในแต่ละส่วน เพื่อตอกย้ำให้เห็นภาพชัดเจนและเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น โดยใช้กลยุทธ์ 3C’s เข้ามาเสริม และตลอด 3 ปีนับจากนี้ บราเดอร์ จะวางรากฐานที่มั่นคงในทุกมิติภายใต้คอนเซปต์ Towards to next level”

 

เจาะลึกกลยุทธ์ 3C’s ทางลัดสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

Customer หรือลูกค้า คือ C ตัวแรกที่ถูกให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกๆ สำหรับบราเดอร์ลูกค้าต้องมาเป็นอันดับหนึ่งเสมอตามปรัชญาการดำเนินธุรกิจ ‘At Your Side’ ความซื่อสัตย์และจริงใจคือหลักปฏิบัติตลอดระยะเวลา 21 ปีที่ผ่านมาของการดำเนินธุรกิจในไทย ด้วยการเลือกสรรผลิตภัณฑ์ที่ดี มีคุณภาพและความหลากหลาย ศักยภาพในการตอบโจทย์ทุก Life Style ในราคาที่สมเหตุสมผล  การบริการหลังการขายด้วยศูนย์บริการคุณภาพ ที่พร้อมให้บริการกว่าร้อยสาขาที่กระจายอยู่ทั่วประเทศเพื่อสนองตอบความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า (Customer Satisfaction) ต่างคือรูปธรรมแห่งนิยามของ Customer หรือลูกค้านั่นเอง

 

Channel Partner หรือพันธมิตรด้านช่องทางการขาย ปัจจุบันบราเดอร์ทำธุรกิจโดยการขายสินค้าผ่าน Business Partner 100% ดังนั้นในปีนี้ บราเดอร์ จะเน้นการทำงานใกล้ชิดกับตัวแทนจำหน่ายมากขึ้น และจากภาพรวมตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้ Partner บางรายประสบปัญหาในการปรับตัว บราเดอร์จึงมุ่งเน้นในเรื่องของการเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการขายในกลุ่มธุรกิจองค์กร, การขายแบบ Contractual Business หรือการทำ Online Business ที่กำลังขยายตัวอยู่ในปัจจุบันและมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างมากนับจากนี้ ดังนั้น การผนึกพลังและเสริมศักยภาพช่องทางขาย จึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางเพื่อการเติบโตร่วมกันอย่างมั่นคง

 

Company หรือองค์กร คือจุดยุทธศาสตร์หลักที่ใช้ขับเคลื่อนกลยุทธ์สานต่อการเป็นผู้นำธุรกิจ บริษัทฯ ต้องปรับปรุงเและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยแยกออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ Process Improvement น้อยแต่มากขั้นตอนในการทำงานทั้งภายในและภายนอก โดยจะปรับปรุงและพัฒนาให้มีกระบวนการทำงานที่สั้นลง, มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่ยังคงไว้ซึ่งความแม่นยำและถูกต้อง โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพื่อความสะดวกสบายสำหรับลูกค้าและคู่ค้า People Development คนคือจุดยุทธศาสตร์แห่งการพัฒนา          บราเดอร์ให้ความสำคัญอย่างมากกับบุคลากรภายในองค์กร โดยมุ่งเน้นที่จะพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กร ทั้งทางด้านความสามารถและจิตใจ พร้อมที่จะสนับสนุนให้คลื่นลูกใหม่ได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ เพื่อต่อยอดความสำเร็จทางธุรกิจในฐานะผู้นำ

 

ทั้งนี้ นายธีรวุธ ศุภพันธุ์ภิญโญ ได้ร่วมงานกับ บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) มานานกว่า 10 ปี โดยปลายปี พ.ศ.2551 เข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายและการตลาด โดยได้สร้างผลงานเพื่อผลักดันการเติบโตให้แก่องค์กรด้วยการนำประสบการณ์การบริหารงานธุรกิจ IT ที่สั่งสมมา ประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิผล ด้วยการนำแบรนด์บราเดอร์ครองตำแหน่งผู้นำตลาดเครื่องพิมพ์เมืองไทยได้สำเร็จ และจากความสำเร็จดังกล่าวในปี พ.ศ. 2557 บราเดอร์จึงได้โปรโมทให้รับตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด เพื่อวางกลยุทธ์ในภาพรวมอันถือเป็นการสร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ให้แก่องค์กร ท่ามกลางกระแสที่หลายฝ่ายกังวลเรื่องเศรษฐกิจแต่บราเดอร์ กลับโชว์ผลงานครั้งสำคัญด้วยอัตราการเติบโตที่สูงกว่าตลาดรวมมาโดยตลอด ส่งผลให้บราเดอร์แต่งตั้งนายธีรวุธ ศุภพันธุ์ภิญโญเป็นกรรมการผู้จัดการคนล่าสุด โดยจะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 เมษายน 2562

 

แชมป์ความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้าในไทย บทพิสูจน์คุณภาพงานบริการของบราเดอร์

เตรียมต่อยอดบริการด้วยความล้ำหน้าด้าน IT รับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุค 4.0

การนำระบบและเทคโนโลยีอันทันสมัยเข้ามาใช้เพิ่มศักยภาพด้านงานบริการ เป็นอีกหนึ่งนโยบายหลักของบราเดอร์ ที่ใช้รองรับการเติบโตทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี เพื่อครองความเป็นผู้นำด้านงานบริการอย่างต่อเนื่อง “บราเดอร์ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรอย่างมาก เพราะเชื่อว่าการส่งมอบบริการที่ดีเยี่ยม ต้องมาจากพื้นฐานจิตใจและความคิดของผู้ให้บริการที่ได้รับการพัฒนาอย่างดียิ่ง  บราเดอร์จึงได้ลงทุนออกแบบและพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิด “The Power of Thinking” ซึ่งเป็นชุดของหลักสูตรอันประกอบด้วย Think Plus+ Program, Think BIG Program และ Think Smart Program” นายวรศักดิ์ ประดิษฐ์กุล ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายบริการลูกค้า บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงภาพรวมแนวทางการพัฒนางานบริการ “ในปี 2562 บราเดอร์จะนำระบบ ‘Chatbot’ เข้ามาใช้ จะทำให้บราเดอร์ขยายขีดความสามารถในการพัฒนางานบริการได้ดีขึ้น โดยงานบริการพื้นฐานจะเป็นส่วนที่ Chatbot เข้ามาช่วย ในขณะที่ทีมบริการจะเข้ามาในขั้นที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น บริษัทฯ สามารถนำกำลังคนไปพัฒนาด้าน Training Chatbot รวมทั้งคิดกลยุทธ์งานบริการอื่นๆ ได้อีกด้วย ซึ่งจะทำให้ทีมมีความเข้มแข็งในแบบ น้อยด้วยปริมาณแต่มากด้วยคุณภาพ ถือเป็นหัวใจหลักของการบริหารงานให้สอดรับกับโลกอนาคต”

  

สร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นด้วยการผสานงานบริการกับแนวคิดการคืนกลับสู่สังคม

การอุทิศองค์ความรู้ด้านงานบริการเพื่อคืนกลับสู่สังคมนั้น ในปีงบประมาณ 2562 บราเดอร์ ได้ร่วมลงนามความร่วมมือ (MoU) กับสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยจังหวัดสุโขทัยและสถาบันการอาชีวศึกษา 6 แห่งประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย วิทยาลัยการอาชีพศรีสำโรง วิทยาลัยการอาชีพศรีสัชนาลัย วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย และวิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัย จัดกิจกรรม The Academic Cooperation Program’ ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือทางวิชาการในการฝึกอบรมทางเทคนิคในการซ่อมเครื่องพิมพ์เพื่อถ่ายทอดความรู้ เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ในสายงานอาชีพ รวมทั้งการนำความรู้ไปใช้เพื่อบริการสังคมในพื้นที่ นอกจากนี้ บราเดอร์ยังได้ขยายโครงการไปในภาคใต้ที่ จ.สุราษฎร์ธานี อีก 2 แห่ง ประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานีและวิทยาลัยเทคนิคกาญจนดิษฐ์ พร้อมทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ จ.สุรินทร์ อีก 3 แห่ง ประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์, วิทยาลัยการอาชีพสังขะ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ จากความสำเร็จของโครงการทำให้ บราเดอร์ ประเทศไทย สามารถคว้ารางวัล Brother Global Charter Award ในสาขา Social Contribution จากโครงการดังกล่าวได้สำเร็จ

 

เพราะบราเดอร์เชื่อว่า...การมีสังคมที่มีสุขภาพดีย่อมเป็นที่มาพื้นฐานของการเติบโตทางธุรกิจที่ยั่งยืน

Brother Run & Share วิ่งฝันปันน้ำใจ เพื่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่ในปี 2562 ถูกจัดขึ้นเป็นปีที่ 5 เป็นกิจกรรมเพื่อ คืนกำไรของบริษัทฯ กลับสู่สังคมที่บราเดอร์ตั้งใจจัดขึ้นเพื่อนำรายได้จากการจัดงานทั้งหมดโดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ มอบให้แก่มูลนิธิรามาธิบดี กองทุนมะเร็งโลหิตวิทยาผู้ใหญ่ โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ยากไร้ที่ไม่สามารถเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ได้ โดยในปีนี้สามารถระดมยอดเงินบริจาคได้สูงถึง 1,564,190 บาท “บราเดอร์จะยังคงมุ่งมั่นและสานต่อการจัดกิจกรรมวิ่งเพื่อการกุศลดังกล่าว นอกจากนี้  ยังส่งเสริมเรื่องการพัฒนาศักยภาพของคนรุ่นใหม่ด้วยการส่งเสริมด้านการศึกษาและสร้างประสบการณ์จริงเพื่อเติมเต็มความพร้อมก่อนก้าวสู่โลกของการทำงาน” นายพรภัค อุไพศิลป์สถาพร ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการเงินและการบริหาร บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว การสนับสนุนพนักงานจากกิจกรรมสันทนาการในกลุ่มเล็กๆ สู่การผนึกพลังที่ยิ่งใหญ่ขึ้น เพื่อคืนกลับสู่สังคม คือการเปิดโอกาสให้พนักงานได้เป็นผู้ริเริ่มคิดและทำโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายขององค์กร คือหนึ่งกลยุทธ์ที่บราเดอร์นำมาใช้เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของความเป็น ‘ทีมเวิร์ค’  “ที่บราเดอร์ เราคิดเสมอว่าเราคือบ้านหลังใหญ่หลังหนึ่งที่มีสมาชิกในครอบครัวที่มีความหลากหลาย และเราไม่เคยปิดกั้นความหลากหลายนั้นๆ แต่นำความหลากหลายที่มีมาทำให้ชัดเจนยิ่งขึ้นและเปิดอิสรภาพเพื่อให้แต่ละคนทำในสิ่งที่ตนเองชื่นชอบและมีความถนัด และนำสิ่งที่ได้มาเป็นพลังบวกเพื่อนำไปสร้างประโยชน์แก่สังคมต่อไป เรามีการตั้ง Staff Welfare Committee ขึ้น เพื่อพัฒนาโปรเจคที่หลากหลายที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพ (Health Project) ที่ขยายจากภายในองค์กรสู่การเป็นกิจกรรมระหว่างองค์กร ซึ่งถือเป็นความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจ”

 

เกี่ยวกับ บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย)

เป็นเวลากว่าศตวรรษ ที่บราเดอร์เป็นที่รู้จักในฐานะของแบรนด์ที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ รวมถึงความพึงพอใจของลูกค้าตลอดมา จากจุดเริ่มต้นที่ประเทศญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1908 วันนี้เรามีโรงงานการผลิตถึง 19 แห่ง และบริษัทสาขาสำนักงานตัวแทนการขาย 43 แห่ง ใน 41 ประเทศทั่วทุกภูมิภาค บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด หนึ่งในผู้นำนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์ฉลาก สแกนเนอร์, เครื่องพิมพ์ผ้าระบบดิจิทัลและจักรเย็บผ้า สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้ปรัชญาการดำเนินธุรกิจ "At your side" บราเดอร์อยู่เคียงข้างคุณและจะเป็นองค์กรที่เป็นที่ยอมรับจากพันธมิตรต่างๆ อย่างยั่งยืน

 

ทั้งนี้ สามารถติดตามข่าวสารต่างๆ ของบราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) ได้ที่ www.brother.co.th และ www.facebook.com/BrotherCommercialThailand

Page 3 of 9
X

Right Click

No right click