บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านบริการเป็นเลิศ  จัดงาน “Best Garage & Surveyor Awards 2023” มอบรางวัลอู่ซ่อมรถยนต์และบริษัทสำรวจภัยที่สร้างผลงานคุณภาพในด้านการบริการลูกค้ายอดเยี่ยม โดยยึดหลักการบริการเป็นเลิศ รวดเร็ว มุ่งสะท้อนคุณภาพของการให้บริการภายใต้ธุรกิจประกันภัยรถยนต์ เชิดชูอู่ซ่อมรถยนต์และบริษัทสำรวจภัย เพื่อพัฒนาการให้บริการให้ดียิ่งขึ้นไป

นายลาร์ส ไฮบุทสกี้ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย กล่าวว่า “หัวใจของการดำเนินธุรกิจของเราคือ การให้บริการลูกค้าที่เหนือความคาดหมาย เรามุ่งพัฒนาการทำงานในทุกด้านเพื่อให้ลูกค้าได้รับบริการที่ง่ายและรวดเร็ว ไม่เพียงเท่านั้น เรายังส่งเสริมและผลักดันพันธมิตรของเราให้ส่งมอบบริการที่เป็นเลิศให้กับลูกค้าบนมาตรฐานเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจประกันภัยรถยนต์ ที่เรามีพันธมิตรหลักในการให้บริการลูกค้าเป็นอู่ซ่อมรถและบริษัทสำรวจภัย จำนวนมากกว่า 800 อู่/บริษัทซึ่งให้บริการลูกค้าทั่วถึงภาคประเทศไทย การจัดงานมอบรางวัล “Best Garage & Surveyor Awards” ถือเป็นการมอบการขอบคุณและเพื่อเป็นกำลังใจให้กับบริษัทและคนทำงานของบริษัทสำรวจภัยและอู่รถยนต์ที่ส่งมอบบริการที่ยอดเยี่ยม แต่ยังเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้น นำประโยชน์สูงสุดมาสู่ลูกค้าผู้ถือกรมธรรม์ประกันรถยนต์ของเรา”

พิธีมอบรางวัล “Best Garage & Surveyor Awards 2023” แบ่งรางวัลออกเป็น 2 ประเภท คือ รางวัลมอบให้กับอู่ซ่อมรถยนต์ ยอดเยี่ยม โดยมีเกณฑ์การตัดสิน ได้แก่ ค่าซ่อมที่เหมาะสม ยุติธรรม มีการจัดซ่อมอย่างรวดเร็ว ภายในกำหนดนัดหมายกับลูกค้า มีการให้บริการพิเศษ บริการเปิดเคลม ขัดสีรอบคัน รับประกันงานซ่อม 1 ปี การซ่อมตามมาตรฐานและมีคุณภาพที่ดีเยี่ยม ไม่มีเรื่องร้องเรียนการบริการ และรางวัลมอบให้กับบริษัท สำรวจภัย ยอดเยี่ยม โดยมีเกณฑ์การตัดสิน ได้แก่  การเดินทางถึงสถานที่เกิดเหตุภายใน 25 นาที (นับจากได้รับแจ้ง) ช่วยรักษาผลประโยชน์ของลูกค้า และอยู่เคียงข้างลูกค้าเสมอ ปฏิบัติตามข้อกำหนดการทำงานอย่างครบถ้วน แนะนำขั้นตอนและอู่ซ่อม ตรวจสอบเคลมตามเงื่อนไขกรมธรรม์อย่างถูกต้อง ให้บริการที่ดีเยี่ยม ไม่มีเรื่องร้องเรียนการบริการโดยทั้ง 2 รางวัล แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มตามภูมิภาค พื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก และภาคใต้

รายชื่ออู่ซ่อมรถและบริษัทสำรวจที่ได้รับรางวัลมีดังนี้

สำหรับอู่ซ่อมรถยนต์ ที่ได้รับรางวัล อู่ซ่อมรถยนต์ ยอดเยี่ยม ได้แก่

  • ภาคกลาง ได้แก่

อันดับ 1 บริษัท เจ.เค. รุ่งเรือง จำกัด

อันดับ 2 บริษัท ส.รุ่งเจริญกลการ จำกัด

อันดับ 3 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ชอบ การาจ

  • ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก ได้แก่

อันดับ 1 รุ่งอนันต์ เซอร์วิส

อันดับ 2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ตราดเจริญยนต์ เซอร์วิส

อันดับ 3 บริษัท เจ.ซี เซอร์วิส เซ็นเตอร์ จำกัด

  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ 

อันดับ 1 บริษัท มิตรอารีย์ขอนแก่น(2009) จำกัด

อันดับ 2 อู่ ยนต์ไพศาล

อันดับ 3 บริษัท ค.การยนต์ ขอนแก่น จำกัด

  • ภาคเหนือ ได้แก่

อันดับ 1 ห้างหุ้นส่วนจำกัด หมื่นการช่าง

อันดับ 2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด อู่ เจ.พี เซอร์วิส

อันดับ 3 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธนัทยนตรกิจ

  • ภาคใต้ ได้แก่

อันดับ 1 อู่ มนัสการาจ

อันดับ 2 บริษัท ภูเก็ตค้าสี จำกัด

อันดับ 3 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.เค.ยนตรกิจ

 

สำหรับบริษัท สำรวจประกันภัย ที่ได้รับรางวัล บริษัท สำรวจประกันภัย ยอดเยี่ยม ได้แก่

  • ภาคกลาง ได้แก่

อันดับ 1 บริษัท เซ็นเตอร์เคลม แอนด์ ลอว์ จำกัด

อันดับ 2 บริษัท สยามเอ็กซ์เพรส เซอร์เวร์ จำกัด

อันดับ 3 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.เค เคลม 2019 แอนด์ เซอร์เวเยอร์

  • ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก ได้แก่

อันดับ 1 บริษัท พัทยาเคลม แอนด์ เซอร์วิส จำกัด

อันดับ 2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีราชาเคลม เซอร์วิส

อันดับ 3 บริษัท เค.พี.เอ็น.เซอร์เวย์ จำกัด

  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ 

อันดับ 1 ห้างหุ้นส่วนจำกัด โสภณอินเตอร์เคลม (2015)

อันดับ 2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด สมบูรณ์ทรัยพ์กฎหมายและสำราจภัย

อันดับ 3 ห้างหุ้นส่วนจำกัด กสิณเซอร์วิส

  • ภาคเหนือ ได้แก่

อันดับ 1 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เซอร์เวย์ฮับ

อันดับ 2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด พิษณุโลก ออโต้เคลม

อันดับ 3 ห้างหุ้นส่วนจำกัด อยุธยาไทยอินเตอร์เคลม

  • ภาคใต้ ได้แก่

อันดับ 1 ห้างหุ้นส่วนจำกัด หาดใหญ่มาสเตอร์เคลม

อันดับ 2 บริษัท สำรวจภัยสุราษฎร์ธานี (2548) จำกัด

อันดับ 3 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เมืองสุราษฎร์ เซอร์เวย์

อู่ซ่อมรถยนต์ ที่ได้รับรางวัลจะได้รับโล่เกียรติยศ และป้ายโครงการ อู่ Best Garage Allianz Ayudhya และ บริษัทสำรวจภัยได้รับรางวัลจะได้รับ โล่เกียรติยศ และรางวัลอันทรงคุณค่า พร้อมประกาศนียบัตรโดยจะมอบให้พนักงานเซอร์เวย์ที่ให้ความร่วมมือในบริการดีมากด้านงานบริการ

บริษัทฯ หวังว่าการมอบรางวัล Best Garage and Surveyor Awards  2023 ให้กับอู่ซ่อมรถยนต์และบริษัทสำรวจภัยในครั้งนี้ จะเป็นการสร้างสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกัน สร้างกำลังใจและแรงผลักดันในการพัฒนาการบริการให้กับลูกค้าของบริษัทฯ ได้รับความสะดวก รวดเร็วเหนือความคาดหมายให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย ประกาศความสำเร็จ ผลการดำเนินธุรกิจปี 2566 ยอดเยี่ยม สร้างเบี้ยประกันภัยรับรวมทะลุ 1 หมื่นล้านบาท เติบโตสูง 6% เหนือค่าเฉลี่ยตลาดประกันภัยในประเทศไทย ลุยเดินหน้าเติบโตต่อ ด้วยกลยุทธ์เสริมแกร่งช่องทางขาย มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างประสบการณ์เหนือระดับให้กับลูกค้า พร้อมพัฒนาทีมงานสู่ความเป็นมืออาชีพทุกด้าน รักษาตำแหน่งองค์กรที่น่าทำงานด้วยมากที่สุด  

มร.ลาร์ส ไฮบุทสกี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย กล่าวว่า ด้วยความแข็งแกร่งของแบรนด์อลิอันซ์ ที่ได้รับการจัดอันดับจากอินเตอร์แบรนด์ ให้เป็นแบรนด์ประกันภัยอันดับหนึ่งของโลก ทำให้เราได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยให้เราเป็นผู้ดูแลและบริหารความเสี่ยงเพื่อสร้างความมั่นคงแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ผลักดันให้เกิดการเติบโตของธุรกิจอลิอันซ์อย่างต่อเนื่อง สำหรับ อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย ในปีที่ผ่านมา บริษัททำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม สร้างสถิติใหม่ในการเติบโตถึง 6% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า มีมูลค่าเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่กว่า 1 หมื่นล้านบาท โดยผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพเติบโต 14% เบี้ยประกันมูลค่า 3.2 พันล้านบาท ประกันรถยนต์เติบโต 3% เบี้ยประกันมูลค่า 3.3 พันล้านบาท และประกันวินาศภัยและทรัพย์สินอื่นๆเติบโต 5% เบี้ยประกันมูลค่า 3.5 พันล้านบาท นอกจากนั้น ปี 2023 ที่ผ่านมา ยังเป็นปีที่บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงานสูงกว่า 500 ล้านบาท ความสำเร็จเหล่านี้เป็นผลมาจากการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพสูง การริเริ่มนวัตกรรมและโครงการใหม่ ที่ประสบความสำเร็จช่วยสนับสนุนการเติบโตเป็นอย่างมาก อาทิ ผลิตภัณฑ์คุ้มครองสุขภาพที่สามารถเข้าถึงลูกค้าทุกเพศทุกวัยได้ดียิ่งขึ้น การพัฒนาด้านเทคโนโลยีให้บริการลูกค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และการเข้าซื้อกิจการ เอ็ทน่า ประกันสุขภาพ

สำหรับทิศทางการดำเนินธุรกิจขับเคลื่อนการเติบโตในปี 2567 อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย ยังคงเดินหน้าด้วยกลยุทธ์ 3 เสาหลัก ดังต่อไปนี้

  • ช่องทางขายตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่ม ด้วยโซลูชั่นด้านการประกันภัยที่ครบวงจร ตอบโจทย์ลูกค้าได้ครบทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นลูกค้ารายย่อยหรือบุคคล (Retail) ด้วยผลิตภัณฑ์ประกันคุ้มครองสุขภาพ คุ้มครองทรัพย์สิน บ้าน รถยนต์ และวินาศภัยต่างๆ ลูกค้าผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SME) ด้วยผลิตภัณฑ์คุ้มครองการดำเนินธุรกิจ ทั้งทรัพย์สินในการประกอบอาชีพ หรือแม้แต่คุ้มครองการหยุดชะงักของรายได้หากเกิดภัยใดใด และล่าสุดที่ถือเป็นตลาดใหญ่ที่อลิอันซ์ เดินหน้ามุ่งเน้นในปีนี้ คือ ลูกค้ากลุ่มธุรกิจใหญ่ (Commercial) ที่เป็นตลาดที่อลิอันซ์มีความเชี่ยวชาญมาอย่างยาวนาน ควบคู่กับความแข็งแกร่งในสถานะการเงินที่สามารถให้ความมั่นคงดูแลความเสี่ยงในธุรกิจกลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี อาทิ กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง โครงการสาธารณูปโภคระดับชาติ ประกันภัยทางทะเล ประกันภัยความรับผิดบุคคลภายนอก เป็นต้น
  • สร้างแพลตฟอร์มธุรกิจที่ส่งมอบประสบการณ์ที่เหนือกว่าแก่ลูกค้า ด้วยการสร้างแพลทฟอร์มดิจิทัลที่ทันสมัยให้ลูกค้าได้เข้าถึงการบริการได้อย่างรวดเร็ว ฉับไว ใช้งานง่าย และเหนือความคาดหมายของลูกค้า ซึ่งจากการวัดผลตลอดปีที่ผ่านมา อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัยได้คะแนน NPS Score สูงกว่าค่าเฉลี่ยของบริษัทประกันภัยในประเทศไทย และได้คะแนนความพึงพอใจจากเสียงของลูกค้าที่ใช้บริการ อยู่ที่ 8 คะแนนจาก 5 ซึ่งถือว่าสูงมาก พิสูจน์ถึงความสำเร็จของกลยุทธ์นี้ ที่เราจะยังคงเดินหน้าต่อยอดสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
  • สร้างองค์กรแห่งความเป็นเลิศ ทั้งในด้านการพัฒนาความเป็นมืออาชีพของพนักงาน และการสร้างการมีส่วนร่วมและความผูกพันกับองค์กร ซึ่งเป็นสิ่งที่กลุ่มอลิอันซ์ให้ความสำคัญมาก โดยเรามีกิจกรรมที่สร้างความผูกพันให้กับพนักงานทุกรุ่นของเรา อาทิ Staff Party กิจกรรมตามโอกาสพิเศษต่างๆ พร้อมสวัสดิการที่ช่วยสร้างความสุขให้พนักงานทั้งกายและใจ สิ่งเหล่านี้ ทำให้อลิอันซ์เป็นองค์กรที่น่าทำงานด้วยมากที่สุดในเอเชีย 3 ปีซ้อน จัดอันดับโดย HR Asia

“สำหรับปี 2567 นี้ เรามั่นใจว่าจะเป็นปีที่ยอดเยี่ยมต่อเนื่องสำหรับธุรกิจของเรา ด้วยแบรนด์ที่แข็งแกร่งในฐานะผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจประกันภัยระดับโลก ประกอบกับกับโซลูชั่นที่ครบวงจรตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างครบครัน และทีมงานคุณภาพสูง จะขับเคลื่อนธุรกิจของเราให้เติบโตได้อย่างงดงาม โดยตั้งเป้าเบี้ยรับรวมแตะ 1.2 หมื่นล้าน ในสิ้นปีนี้” มร.ลาร์ส ไฮบุทสกี้ กล่าวทิ้งท้าย

อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต โดย นางสาวนภา  ตรีรัตนาวงศ์(ที่สามจากซ้าย) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานธุรกิจประกันสุขภาพ นางสาวพัชรา ทวีชัยวัฒนะ(ที่สองจากซ้าย) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานบริหารงานลูกค้า ร่วมส่งมอบความสุขให้กับเด็กๆ ได้อิ่มท้อง ในโครงการ “ปันสุข เพื่อน้องอิ่ม” ทุกการรับกรมธรรม์อิเล็กทรอนิกส์จากลูกค้าจะถูกเปลี่ยนเป็นเงินบริจาค (บริษัทบริจาค 200 บาทต่อ 1 กรมธรรม์) ให้กับธนาคารอาหารออนไลน์ Cloud Food Bank มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ เพื่อช่วยเปลี่ยนอาหารส่วนเกิน เป็นมื้ออาหารให้กับชุมชนที่ขาดแคลน และเป็นการช่วยสิ่งแวดล้อมจากการลดการใช้ทรัพยากรกระดาษอีกด้วย สามารถเปลี่ยนเป็นเงินบริจาคจำนวน 411,200 บาท โดยมี แสวง​ ขาวลา (กลาง)​ผู้จัดการอาวุโสฝั่งพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ เป็นตัวแทนรับมอบ ณ อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ เมื่อเร็วๆนี้

อลิอันซ์ เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ครองตำแหน่งแบรนด์ประกัน และบริษัทจัดการสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงสุด และมีสถานะแข็งแกร่งที่สุดอันดับ 1 ของโลก จากการจัดอันดับ Global 500 ของ Brand Finance ในขณะที่ยังคงเป็น แบรนด์อันดับที่ 28 ของแบรนด์ที่มีมูลค่าสูงสุดของโลก เติบโตขึ้นถึง 15% นอกจากนั้น บริษัทฯยังได้รับการยกย่อง ในเรื่องการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และศักยภาพที่รวมธุรกิจทั้งลูกค้าขนาดกลาง และองค์กรขนาดใหญ่ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มอลิอันซ์ ภายใต้ชื่อ Allianz Commercial ในปี 2023 ที่ผ่านมา เป็นสิ่งยืนยันถึงสถานะของแบรนด์ AA+ ที่แข็งแกร่งมาก อีกทั้ง อลิอันซ์ยังมุ่งเน้นเรื่องการสร้างการรับรู้ของแบรนด์ ผ่านการสนับสนุนด้านกีฬาและวัฒนธรรม โดยในปี 2024 นี้ กลุ่มอลิอันซ์เป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการการโอลิมปิกและพาราลิมปิก เกมส์กีฬาอันยิ่งใหญ่ที่ทุกคนรอคอย ที่จะจัดขึ้นที่กรุงปารีสเร็วๆนี้

รายงานของ Allianz Risk Barometer ซึ่งวิเคราะห์จากข้อมูลเชิงลึกของนักบริหารความเสี่ยงกว่า 3,000 คน ได้เปิดเผยความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของบริษัทในประเทศไทยในปี 2567 โดยชี้ให้เห็นว่า การหยุดชะงักทางธุรกิจ (อันดับ 1, 47%) และภัยพิบัติทางธรรมชาติ (อันดับ 1, 47%) ถือเป็นความเสี่ยงทางธุรกิจอันดับแรกในประเทศไทย ตามมาด้วยภัยทางไซเบอร์ (อันดับ 3, 33%) เช่น มัลแวร์เรียกค่าไถ่ การละเมิดข้อมูลและการหยุดชะงักด้านไอที ไฟไหม้และการระเบิด และเทคโนโลยีใหม่ เช่น ความเสี่ยงจากผลกระทบของ AI และรถยนตร์ไฟฟ้า เป็นความเสี่ยงที่อยู่ในอันดับ 4 และ 5

อย่างไรก็ตาม สำหรับทั่วโลกและในเอเชีย ความเสี่ยงสามอันดับแรกได้แก่ ภัยทางไซเบอร์ การหยุดชะงักทางธุรกิจ และภัยธรรมชาติ รองลงมา ได้แก่ ไฟไหม้และการระเบิด (เพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 8 เป็นอันดับที่ 4 เมื่อเทียบปีต่อปี) และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ยังคงอยู่ที่อันดับที่ 5)

เปโตร ปาปานิโคเลา ซีอีโอ Allianz Commercial แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลดังกล่าวว่า “ความเสี่ยงที่สำคัญและปัญหาสำคัญที่อยู่ในอันดับสูงขึ้นใน Allianz Risk Barometer ประจำปีนี้ สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาใหญ่ที่บริษัทต่างๆ ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ซึ่งได้แก่ การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อมทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ไม่แน่นอน ความเสี่ยงเหล่านี้เข้ามาใกล้เราทุกทีแล้ว สภาพอากาศที่รุนแรง มัลแวร์เรียกค่าไถ่ และความขัดแย้งในภูมิภาค จะเป็นบททดสอบความสามารถในการฟื้นตัวของห่วงโซ่อุปทานและโมเดลธุรกิจในปี 2567 เอเย่นต์และลูกค้าของบริษัทประกันภัยควรคำนึงถึงปัญหาเหล่านี้และปรับความคุ้มครองให้สอดคล้อง”

บริษัทขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และธุรกิจขนาดเล็กต่างกังวลกับความเสี่ยงเหมือนกัน โดยส่วนใหญ่มักกังวลเกี่ยวกับภัยทางไซเบอร์ การหยุดชะงักของธุรกิจ และภัยธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม รายงานระบุว่า ความสามารถในการฟื้นตัวของบริษัทขนาดใหญ่และขนาดเล็กแตกต่างกันมากขึ้น เนื่องจากองค์กรขนาดใหญ่ตระหนักถึงความเสี่ยงมากขึ้นตั้งแต่โควิด 19 โดยมีแรงผลักดันสำคัญที่จะพัฒนาความสามารถในการฟื้นตัว ในทางกลับกัน ธุรกิจขนาดเล็กมักจะไม่มีเวลาและขาดทรัพยากรในการค้นหาความเสี่ยงและเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ความเสี่ยงที่หลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจขนาดเล็กจึงใช้เวลานานกว่ากว่าจะฟื้นตัวหลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด

คริสเตียน แซนดริก กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคของ Allianz Commercial Asia กล่าวว่า “ภัยทางไซเบอร์ การหยุดชะงักทางธุรกิจ และภัยธรรมชาติยังคงเป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของบริษัทในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือธุรกิจขนาดเล็ก บริษัทต่างๆ เผชิญกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจระดับโลกที่มีความผันผวนมากขึ้น ซึ่งตอกย้ำถึงความสำคัญของวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยงที่แข็งแกร่ง รวมถึงมาตรการที่แข็งแกร่งในการรองรับและการประกันภัย ตัวอย่างเช่น บริษัทต่างๆ กำลังศึกษานโยบายข้ามชาติที่อำนวยความสะดวกสำหรับการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และสามารถช่วยลดความสูญเสียและความเสียหายให้เหลือน้อยที่สุด รวมถึงการเลือกใช้โซลูชันทางเลือกสำหรับถ่ายโอนความเสี่ยง เพื่อจัดการกับความเสี่ยงที่ยากต่อการรับประกันในตลาดทั่วไป”

ความเสี่ยงอันดับต้นๆ ในประเทศไทย

ลาร์ส ไฮบุทสกี้ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงกำลังกลายเป็นเรื่องปกติใหม่ แผนการฟื้นตัวของห่วงโซ่อุปทานและความต่อเนื่องทางธุรกิจจึงต้องได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆ เพื่อให้ธุรกิจต่างๆ สามารถรับมือกับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวได้”

ประเทศไทยยังคงได้รับผลกระทบจากภัยทางธรรมชาติ น้ำท่วมในภาคใต้คร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนมากและส่งผลกระทบต่อครัวเรือนนับหมื่น นับตั้งแต่น้ำท่วมซึ่งเริ่มขึ้นธันวาคมปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนกว่า 70,000 หลังคาเรือนในจังหวัดสตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส บริการรถไฟบางแห่งในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งติดกับมาเลเซียกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งหลังจากปิดไปหลายวัน เนื่องจากรางรถไฟทรุดตัว ช่วงฤดูฝนในประเทศไทยมักเกิดน้ำท่วมทุกวันเป็นเวลาหลายเดือน แต่นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดโดยฝีมือมนุษย์อาจทำให้ฝนตกหนักมากขึ้น

การผลิตข้าวนอกฤดูกาลในเอเชียมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบ เนื่องจากปัญหาความแห้งแล้ง ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่ลดลง และผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนิโญอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะทำให้ผลผลิตลดลงในช่วงต้นปี 2567 ทำให้อุปทานไม่เพียงพอ ส่งผลให้ราคาอาหารสูงขึ้น จากการวิเคราะห์ของผู้ค้าข้าวและนักวิเคราะห์ ประเทศไทยซึ่งผลิตข้าวมากเป็นอันดับ 2 ของโลก อาจจะผลิตข้าวนอกฤดูลดลงในไตรมาสแรก และคาดว่าจะมีการส่งออกข้าวน้อยลง

ลาร์ส แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) ว่า “การเร่งพัฒนา AI ในปี 2566 ช่วยให้เกิดโอกาสอย่างมากสำหรับธุรกิจต่างๆ และสังคมโดยทั่วไป ในขณะเดียวกัน ยังมีความกังวลเกี่ยวกับผลที่จะตามมาของเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ ซึ่งปัญหาหลายอย่างที่เรากังวลว่าจะเกิด ได้เกิดขึ้นจริงแล้วในอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องทำงานร่วมกันเพื่อลดความเสี่ยงเหล่านี้ ศักยภาพของ AI ในการพลิกโฉมธุรกิจจะพัฒนาขึ้นไปอีก โดยจะสามารถเปลี่ยนแปลงทุกอุตสาหกรรมและทุกด้านของชีวิตตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ในฐานะเทคโนโลยีอเนกประสงค์”

เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ผลกระทบด้านความเสี่ยงจาก AI เป็นความเสี่ยงอันดับที่ 5 ของประเทศไทย สื่ออย่างบางกอกโพสต์รายงานว่า 72% ของผู้สำเร็จการศึกษาชาวไทยอาจตกงานเพราะ AI ภายในปี 2573 โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานธุรการและการจัดการสำนักงานทั่วไปที่ขาดทักษะเฉพาะด้าน นอกจากแผนที่จะมีการบังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบด้าน AI แล้ว แนวทางสำคัญของยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการด้าน AI แห่งชาติของประเทศไทยที่เปิดตัวในปี 2565 ได้แก่ การปรับปรุงความสามารถด้านการศึกษาและกำลังคนที่เกี่ยวข้องกับ AI รายงานความคืบหน้าในเดือนสิงหาคม 2566 ให้ข้อมูลไว้ว่า รัฐบาลได้อนุมัติแผนการพัฒนาแรงงานที่มีทักษะด้าน AI แล้วเพื่อรองรับความต้องการที่หลากหลายของภาคอุตสาหกรรม

X

Right Click

No right click