×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 806

      ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย เปิดตัวซิตี้โกลด์ เวลท์ เซ็นเตอร์ เต็มรูปแบบแห่งแรกในประเทศไทย ณ ศูนย์การค้าเดอะคริสตัล วีรันดา เป็นธนาคารสาขาไร้เงินสด ศูนย์รวมบริการธนาคารดิจิทัลทั้ งด้านการเงิน และการลงทุน

     ดอน จรรย์ศุภรินทร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบุคคลธนกิจ ธนาคารซิตี้แบงก์  เปิดเผยว่า “ซิตี้โกลด์ เวลท์ เซ็นเตอร์”  ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการด้านการบริหารการลงทุนและเสริมสร้าง ความมั่งคั่งเป็นหลัก รองรับการให้บริการกลุ่มลูกค้าซิตี้โกลด์โดยเฉพาะ และจากความสำเร็จในการพัฒนาการให้บริการผ่านทางรูปแบบดิจิทัล  “ซิตี้โกลด์ เวลท์ เซ็นเตอร์” จึงได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนรูปแ บบการบริหารจัดการไปจากซิตี้แบงก์สาขาทั่วไป ที่จากเดิมให้บริการฝาก ถอน และแนะนำการลงทุนผ่านเคาน์เตอร์ มาเป็นการเน้นให้บริการในรูปแบบ นวัตกรรมดิจิทัลมากขึ้น โดยจะเป็นธนาคารสาขาไร้เงินสดที่อำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมและให้คำปรึกษาการลงทุน การรับฝากหรือให้บริการถอนเงินสดลูกค้าสามารถทำได้โดยใช้บริการ ฝากและถอนเงินได้จากเครื่องอัตโนมัติทั้ง ATM และ CDM ที่ตั้งอยู่ภายในสาขา

     ที่นี่ยังเป็นศูนย์รวมบริการดิจิทัลเพื่อการลงทุน อาทิ ระบบโทเทิล เวลท์ แอดไวเซอร์   เครื่องมือวางแผนทางการเงินตามเป้าหมาย ที่ให้ลูกค้าสามารถตั้งเป้าหมาย ทางการลงทุนให้ตรงกับความต้องการสูงสุด และช่วยจัด และวิเคราะห์พอร์ตการลงทุนที่เหมาะสม  รวมถึงมี ระบบซิตี้ ฟันด์ เอ็กซ์พลอเรอร์ ระบบประเมินผลการดำเนินงาน และราคาย้อนหลังของกองทุนแต่ละตัว   ซึ่งจะให้มุมมองด้านการลงทุนข องลูกค้าแบบองค์รวม รวมไปถึงการให้บริการธุรกรรมผ่านทางวิดี โอคอล ภายใต้แอพพลิเคชั่นของซิตี้ แบงก์ ซึ่งแพลตฟอร์มใหม่นี้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมที่มีความปลอดภัยได้ แบบเรียลไทม์พร้อมกับตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้อีกด้วย

     ที่ซิตี้โกลด์ เวลท์ เซ็นเตอร์นี้ จะพลิกโฉมพนักงานประจำเคาน์เตอร์ในธนาคาร ให้เป็นที่ปรึกษาด้านการลงทุนที่มีความเชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำใน การจัดพอร์ตการลงทุนของลูกค้า ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นแบบการปรับตัวครั้งใหญ่ของธนาคารในประเทศไทยจากแนวโน้มพฤติกรรมการใช้บริการในสาขาลดลง   โดยปัจจุบันการคัดเลือกที่ปรึกษาด้านการลงทุนของธนาคารซิตี้แบงก์ จะต้องผ่านมาตรฐานการมีความรู้ ความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง โดยธนาคารซิตี้แบงก์ร่วมมือกับสถาบันที่มีชื่อเสียงระดับโลก จัดตั้ง Citi Wharton Global Wealth Institute เพื่อพัฒนาที่ปรึกษาด้านการลงทุนของธนาคารฯ ทั้งนี้ ซิตี้ยังมีบทวิเคราะห์ ทางเศรษฐกิจและข้อมูลเชิงลึกในการลงทุนทั่วโลกเพื่อให้ คำแนะนำด้านการลงทุนแก่ลูกค้าอย่างดีที่สุด

     ดอนคาดว่า   “ซิตี้โกลด์ เวลท์ เซ็นเตอร์” จะสามารถ อำนวยสะดวกสบายให้กับกลุ่ มลูกค้าซิตี้โกลด์มากยิ่งขึ้น   ตลอดจนสามารถตอบสนองความต้องการของนักลงทุนและผู้ใช้บริการย่านกรุงเทพฝั่งตะวันออกและละแวกใกล้เคียง

ดอน จรรย์ศุภรินทร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบุคคลธนกิจ และวีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบุคคลธนกิจ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย

     วีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบุคคลธนกิจ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า ในปี 2560 ซิตี้แบงก์มีการปรับปรุงธุรกิจการบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) รวมถึงเปิดตัวแคมเปญ Citigold Wealth on Your Terms ซึ่งจะเหมาะกับการลงทุนของแต่ละบุคคล โดยมี Total Wealth Advisor  ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บริการวางแผนการลงทุนตลอดจนติดตามผลการลงทุนให้กับผู้ลงทุน  

     นอกจากนี้ เพื่อตอกย้ำถึงประสบการณ์ของลูกค้าที่จะมีได้รับจากบริการของซิตี้โกลด์  จึงมีการเปิดตัวแคมเปญการสื่อสารใหม่ ภายใต้แนวคิด  “Wealth on Your Terms” ได้แก่   Travelling the World, Securing A Bright Future   และ   Pursuing Your Passion เป็นแคมเปญที่ทางซิติ้แบงก์ ทั่วเอเชียแปซิฟิกนำเสนอเพื่อตอบสนองความต้องการให้แก่กลุ่มลูกค้า High Net Worth investor (HNW)  โดยแคมเปญนี้จะสะท้อนถึงศักยภาพของผลิตภัณฑ์การลงทุน การบริการตลอดจนเครื่องมือดิจิทัลต่างๆ ที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถวางแผน เป้าหมายการลงทุนตามความต้องการ ที่หลากหลายของแต่ละบุคคล พร้อมทั้งการนำเสนอสิทธิประโยชน์ใหม่ๆ ทั้งด้านการเดินทางและไลฟ์สไตล์ ให้แก่ลูกค้าอีกด้วย เช่น การได้รับสิทธิเป็นสมาชิก Marriott Club Member หรือการรับบริการรถลิมูซีนในการเดินทางเส้นทางยุโรป เป็นต้น  

    ปัจจุบัน ซิตี้แบงก์  มีบริการภายใต้กลุ่มงานการบริหารความมั่งคั่งหรือ Wealth Management ให้แก่ลูกค้านักลงทุน 2 กลุ่ม ได้แก่  ซิตี้ไพรออริตี้ เป็นลูกค้าที่มีสินทรัพย์กับธนาคารตั้งแต่ 1 ล้านบาท ถึง 5 ล้านบาท และ ซิตี้โกลด์ เป็นลูกค้า High Net Worth ที่มีสินทรัพย์กับธนาคารตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ทั้งนี้จากแนวการขยายฐานลูกค้าดังกล่าว ซิตี้แบงก์ตั้งเป้าหมาย จะสามารถเพิ่มจำนวนฐานลูกค้าในกลุ่มซิตี้โกลด์มากขึ้นกว่า 40% ในปี พ.ศ. 2560  อีกทั้งยังตั้งเป้าเติบโต เป็น 2 เท่า  ในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งจากแผนการรุกตลาดในกลุ่มนัก ลงทุนระดับสูงคาดว่าจะทำเงินลงทุนสุทธิ และสินทรัพย์ภาพใต้การจัดการ (AUM) เพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัวในปี พ.ศ. 2563   

 

    ธนาคารไทยพาณิชน์ ประกาศเดินหน้าภารกิจ SCB Transfomation เพื่อก้าวสู่การเป็น The Most Admired Bank  โดยจะรุกสู่การเป็นธนาคารดิจิทัลที่เข้าถึงความต้องการของลูกค้า แผนงานของธนาคารในปีนี้นอกจากการเพิ่มฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ แล้วยังรวมถึงการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี เพื่อรองรับแพลตฟอร์มดิจิทัล และการนำเทคโนโลยี Business Intelligence ที่ช่วยให้ธนาคารตัดสินใจด้านการลงทุนได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยอาศัยข้อมูลทั้งจากภายในและภายนอกธนาคาร และเทคโนโลยี Big Data Analysis ที่ช่วยให้ธนาคารวิเคราะห์พฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าในเชิงลึกได้มากขึ้น

    ผ่านไป9 เดือน เราได้เห็นการขยับของ SCB ด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง โดยมีดิจิทัล เวนเจอร์สเป็นแกนหลักในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในวงการธนาคาร ตัวอย่างที่เพิ่งผ่านมาไม่นานคือการพัฒนาแอพพลิเคชันจัตจักรไกด์ ที่ช่วยให้ร้านค้าและลูกค้าสามารถทำธุรกรรมกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว รวมถึงช่วยบริการด้านข้อมูลให้กับผู้ที่ใช้งาน

    ล่าสุด SCB ก็ออกมาประกาศจัดตั้ง เอสซีบี อบาคัส เป็นบริษัทในเครือที่ที่มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาธุรกิจและบริการเป็นบริษัทแรกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินและการธนาคารของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  

     อาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวในการเปิดตัวบริษัทลูกครั้งนี้ว่า เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เมื่อ 2 ปีก่อน SCB จึงจัดตั้ง ดิจิทัล เวนเจอร์ส ขึ้นเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงเนื่องจาก SCB เป็นองค์กรใหญ่ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำได้ยาก จึงต้องมีดิจิทัลเวนเจอร์สที่มีความเป็นอิสระ เพื่อทดลองเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งปัจจุบันกมีบางการทดลองได้เริ่มลงสู่ตลาดบ้างแล้ว

    เอสซีบี อบาคัส ก็มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับดิจิทัล เวนเจอร์ส ที่จะมาช่วย SCB ในการขับเคลื่อนธนาคารด้วยเทคโนโลยี ด้วยการนำเอาข้อมูลที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดความเข้าใจความต้องการของลูกค้าแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งหากจะรอระบบวิเคราะห์ข้อมูลของธนาคารอาจจะไม่ทันกาล การจัดตั้ง เอสซีบี อบาคัส ขึ้นก็เพื่อจะนำเอาเทคโนโลยี AI มาใช้กับฐานข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อรู้จักผู้บริโภคเพิ่มขึ้น เป็นไปตามแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ

     อาทิตย์ระบุว่าอยากให้ เอสซีบี อบาคัส สามารถผลิตผลงานได้เช่นเดียวกับ ดิจิทัล เวนเจอร์ส ที่ก่อตั้งมาก่อน รวมถึงให้ทั้งสองบริษัทประสานงานกันเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นมา

     ดร. สุทธาภา อมรวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี อบาคัส จำกัด ให้ข้อมูลต่อว่า เทคโนโลยี AI อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด เห็นได้จากระบบการคัดแยกอีเมลที่ใช้ Machine Learning ระบบแนะนำสินค้าที่ตรงใจให้แก่ผู้ซื้อแต่ละคนในเว็บไซต์อีคอมเมอร์ซ หรือระบบการจดจำใบหน้าบุคคลที่ใช้บนโซเชียลมีเดีย เป็นผลผลิตจากเทคโนโลยี AI  ทั้งสิ้น

     ในแวดวงธนาคาร เทคโนโลยี  AI ถูกนำมาใช้แยกธุรกรรมบัตรเครดิตที่น่าสงสัยว่าจะมีการทุจริต ใช้สำหรับการแนะนำผลิตภัณฑ์ทางการเงินการลงทุน ที่เรียกว่า Robo-advisor และการชำระเงินด้วยระบบการจดจำใบหน้า AI เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันของธุรกิจต่าง ๆ อย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งเอสซีบี อบาคัส ด้วยพันธกิจหลักในการพัฒนาเทคโนโลยีที่นำเอานวัตกรรมอย่าง AI มาเป็นกุญแจสำคัญในการวิเคราะห์และเรียนรู้ข้อมูล เพื่อต่อยอดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการที่ตอบโจทย์ทั้งสำหรับธนาคารไทยพาณิชย์ และองค์กรธุรกิจต่าง ๆ

อาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ดร. สุทธาภา อมรวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี อบาคัส จำกัด ณัฏฐกานต์ ครรภาฉาย ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารสายนิติบริการและกฎหมายดิจิทัล (ซ้ายสุด) และ อรพงศ์ เทียนเงิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท Digital Ventures (ขวาสุด) ร่วมเปิดตัวบริษัท เอสซีบี อบาคัส

 

     ดร.สุทธาภาระบุว่าจุดแข็งของ เอสซีบี อบาคัส ที่เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันได้เป็นอย่างดี ประกอบด้วย

  • ทรัพยากรบุคคล – มีทีมบุคลากรที่มีประสบการณ์การทำงานในบริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลก มาร่วมขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นและใช้งานได้จริง
  • การสนับสนุนจากธนาคารไทยพาณิชย์ – ให้ความไว้วางใจในการเลือกโครงการภายในธนาคาร ที่มีผลกระทบเชิงบวกสูงต่อการปรับปรุงพัฒนาบริการของธนาคาร ทำให้สามารถนำมาศึกษา พัฒนา และต่อยอดเป็นโซลูชั่นต่าง ๆ ได้
  • มีพันธมิตรระดับโลก – มีข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT ในสหรัฐฯ เพื่อนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ ทั้งยังมีการจัดตั้งคณะที่ปรึกษา ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายภาคธุรกิจ ได้แก่ ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร คุณวิลาสินี พุทธิการันต์ และ ศาสตราจารย์ ดร. เบ็นจามิน แวนรอย มาร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เพื่อร่วมขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ๆ

    ปัจจุบันเอสซีบี อบาคัส มีโครงการที่อยู่ในมือที่พอจะประกาศให้ทราบได้ เช่น ในแอปพลิเคชัน SCB Easy บริษัทจะเข้าไปช่วยพัฒนาระบบการแนะนำการใช้บริการธนาคารหรือที่เรียกว่า Recommendation Engine ซึ่งทำให้สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ลูกค้าต้องการได้รวดเร็ว ตรงใจต่อลูกค้ามากยิ่งขึ้น รวมไปถึง ระบบบริการด้านสุขภาพที่จะนำเทคโนโลยี Internet of Things หรือ IoT  เข้ามาช่วยส่งเสริมไลฟ์สไตล์ด้านสุขภาพ โดยใช้ AI ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ประกันที่เหมาะสมเฉพาะแต่ละบุคคล เพื่อช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าใส่ใจดูแลสุขภาพและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่ เอสซีบี อบาคัส จะเข้าไปเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบ Call Center ด้วยการนำ AI มาคาดการณ์ปัญหาของลูกค้าที่โทรเข้ามา เพื่อโอนสายไปยังผู้เชี่ยวชาญที่ตอบปัญหาได้ตรงจุด ช่วยยกระดับคุณภาพบริการและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า 

    การเปิด เอสซีบี อบาคัส ทำให้เห็นภาพความพยายามของ SCB ในการรุกตลาดฟินเทคเช่นเดียวกันกับเมื่อครั้งนำเอาเทคโนโลยี ATM เข้ามาเปิดให้บริการเป็นรายแรกของประเทศไทยเมื่อพ.ศ. 2526  

            อภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เปิดเผยว่า จากผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ประกอบไปด้วย ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) (บล.ภัทร) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด (บลจ.ภัทร) ในครึ่งปีแรกที่ผ่านมา สามารถดำเนินงานได้ตามแผนธุรกิจที่วางไว้

           ธุรกิจสินเชื่อ Credit House) ที่สินเชื่อรวมของธนาคารขยายตัวได้ดี (ครึ่งปีแรกโต 4.1% จากเป้าทั้งปีที่ตั้งไว้ 5%) เป็นผลจากการเติบโตของสินเชื่อบรรษัทที่เกิดจากการผสานความร่วมมือของสายสินเชื่อบรรษัทกับสายงานวานิชธนกิจของ บล.ภัทร ตลอดจนการทำงานอย่างเข้มข้นของเครือข่ายสาขาและสายงานช่องทางการตลาดและพัฒนาฐานลูกค้า เพื่อรุกตลาดสินเชื่อรายย่อย ผ่านผลิตภัณฑ์สินเชื่อบุคคล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อ KK SME รถคูณ 3

           ทางด้านธุรกิจตลาดทุน โดยเฉพาะในส่วนของ Private Bank ภายใต้ธุรกิจไพรเวทเวลธ์สำหรับผู้ลงทุนไทยมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีสินทรัพย์ภายใต้การให้คำแนะนำ (Asset under Advice: AuA) อยู่ที่ 403,000 ล้านบาท (ไม่รวมเงินฝาก) โดยมียอดเงินลงทุนใหม่กว่า 22,000 ล้านบาท และล่าสุด บล.ภัทร ได้เปิดบริการใหม่ คือ Global Investment Service (GIS) ซึ่งเป็นการให้บริการลงทุนต่างประเทศสำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีความมั่งคั่งสูง เพื่อเพิ่มโอกาสการลงทุนด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ไร้ข้อจำกัดด้านพรมแดน

           โดยแผนครึ่งปีหลัง 2560 ของ KKP อภินันท์แบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ประกอบด้วย

           ด้านสินเชื่อ จะพยายามกระจายสินเชื่อเพิ่มขึ้น ทั้งสินเชื่อองค์กร สินเชื่อเช่าซื้อ โดยจะมีช่องทางที่หลากหลายในการให้บริการ เช่นเทเลเซลล์ ออนไลน์ ไดเร็กมาร์เก็ต โดยในช่องทางออนไลน์ยังรอเรื่องกฎหมายเพื่อทำให้ครอบคลุมครบวงจรต่อไป

           ด้าน Private Banking บริหารการเงินให้กับลูกค้า เป็นรายได้ที่สม่ำเสมอ ซึ่งยังมีช่องทางเติบโตได้อีก จากอัตราดอกเบี้ยที่ยังต่ำ ลูกค้าเงินฝากในประเทศมีความรู้ความเข้าใจในการลงทุนเพิ่มมากขึ้น โดย KKP จะพยายามทำบริการให้ได้มาตรฐานเทียบเท่ากับสากล พัฒนาผลิตภัฑณ์ใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น

           ด้าน Wholesale Investment Banking  ในส่วนของวานิชะนกิจจะสามารถเริ่มให้บริการอย่างครบวงจร สามารถรองรับการทำธุรกรรมสำคัญๆ ได้ครบทุกมิติมากขึ้น โดยจะต้องต่อยอดด้วยการเพิ่มการรับรู้ของลูกค้า ในส่วนธุรกิจนายหน้า มองไปที่กลุ่มลูกค้าสถาบันซึ่งเป็นอีกกลุ่มที่สามารถสร้างรายได้ได้ดี โดยจะต้องรักษามาตรฐานของงานวิจัย และผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดการลงทุนอย่างต่อเนื่อง

           อภินันท์สรุปว่า แผนงานครึ่งปีหลังของKKP เป็นการทำงานต่อเนื่องจากครึ่งปีแรก แต่มีการปรับเปลี่ยนตามความเปลี่ยนแปลงของโลก ด้วยการทำระบบและกระบวนการให้ทันสมัย โดย KKP อยู่ระหว่างการปรับปรุงระบบคอร์แบงก์กิ้งซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2561

    ความคับข้องใจของผู้ประกอบการโดยเฉพาะขนาดกลางและเล็กกับการทำธุรกรรมกับธนาคาร คือค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายธนาคาร การต้องไปสาขาเพื่อทำธุรกรรม ทำให้เสียเวลาและเสียโอกาสทางธุรกิจ

    ธนาคารทหารไทย จำกัด หรือ ทีเอ็มบี จึงเปิดตัวบัญชี“ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์” (TMB SME One Bank) รูปแบบใหม่ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการข้างต้น

     รัชกร ชยาภิรัต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกรรมทางการเงินภายในประเทศ ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) มองว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีอำนาจต่อรองไม่มาก จึงไม่สามารถใช้บริการบางอย่างของสถาบันการเงินได้เต็มที่ และเมื่อดูระบบนิเวศทางด้านการเงินในประเทศไทย ที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน และมี National E-Payment มารองรับ ธนาคารจึงได้พัฒนา “ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์” บัญชีเพื่อธุรกิจ ที่จบปัญหาด้านค่าธรรมเนียม ซึ่งเป็นเหมือน ‘ต้นทุนที่ไม่จำเป็น’ ที่ผู้ประกอบการมองข้ามหรือเคยชิน แต่ก็มีความต้องการที่กำจัดค่าธรรมเนียมเหล่านี้  ด้วยการมอบประโยชน์ให้ลูกค้า สามารถ โอน-รับ-จ่าย ข้ามธนาคาร ข้ามเขต ได้ทันที ฟรีค่าธรรมเนียม ทุกรายการแบบไม่จำกัดจำนวนครั้ง โดยไม่ต้องคงเงินขั้นต่ำในบัญชี เมื่อทำธุรกรรมด้วยช่องทางดิจิทัล คือ TMB Business Touch โมบายแอปพลิเคชันสำหรับเอสเอ็มอี ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมได้ทุกที่ ทุกเวลา

    บัญชีเพื่อธุรกิจ ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์ ยังตอบโจทย์ความต้องการในธุรกิจของลูกค้าเอสเอ็มอี ในด้านการจ่าย เช่น การโอนหรือถอนเงินผ่านเครื่อง ATM ฟรีไม่จำกัดจำนวนครั้ง ได้ทุกธนาคาร การจ่ายเงินเดือนพนักงานได้ทุกธนาคารได้ฟรี รวมไปถึงการจ่ายบิลต่างๆ นอกจากนี้ ในด้านรายรับ ลูกค้ายังได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากการเรียกเก็บเช็คข้ามเขต ข้ามธนาคาร ไม่มีค่าธรรมเนียม และซื้อสมุดเช็ค 1 เล่ม แถม 1 เล่ม ไม่จำกัดจำนวน ทั้งหมดนี้ สามารถช่วยให้ลูกค้าสามารถประหยัดต้นทุนในการทำธุรกรรมได้อย่างมาก

     รัชกรให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า บัญชีเพื่อธุรกิจ ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์ มุ่งเจาะกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี ที่มีความคุ้นเคยกับการทำธุรกรรมในระบบดิจิทัล โดยธนาคารตั้งเป้าเพิ่ม 100,000 บัญชีภายในสิ้นปีนี้ และหากลูกค้าใช้บัญชี ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์ อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ธนาคารมีข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของลูกค้า  และสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ และบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้านอื่นๆ ได้อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ด้านสินเชื่อ

     ทั้งนี้ผู้ที่สมัครใช้บริการ บัญชีเพื่อธุรกิจ ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์ จะมีค่าธรรมเนียมเอทีเอ็มปีละ 500 บาท โดยธนาคารมีโปรโมชั่นหากสมัครพร้อมเพย์ธนาคารจะคืนค่าธรรมเนียมนี้ให้

     เป็นเกมการแย่งชิงการทำธุรกรรมกับธนาคารที่จัดการกับ pain point ของลูกค้าอย่างน่าสนใจ

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา (ที่ 3 จากขวา) กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ร่วมลงนามกับนางสาวแคทลีน มาลีนนท์ (ที่ 3 จากซ้าย) และนายสมภพ พรหมพนาพิทักษ์ (ที่ 2 จากขวา) กรรมการ บริษัท ออสการ์ เซฟ เดอะ เวิลด์ จำกัด และบริษัท บางสวรรค์ กรีน จำกัด และนายธวัชชัย เหลืองวรพันธ์ (ซ้ายสุด) กรรมการ บริษัท ออสการ์ เซฟ เดอะ เวิลด์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) ในสัญญาสนับสนุนทางการเงินของ EXIM BANK จำนวนรวม 2,257.50 ล้านบาท เพื่อให้บริษัทนำไปใช้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลจำนวน 3 โครงการในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช กำลังการผลิตรวม 22.2 เมกะวัตต์ (MW) โดยมีการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นผู้รับซื้อ ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็วๆ นี้

X

Right Click

No right click