บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ร่วมออกบูธงานวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 20 ภายใต้แนวคิด “INSURANCE OF LOVE” ประกันชีวิต ประกันอนาคต โดยมีคุณสมิตา จิระเสถียรพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานปฏิบัติการ พร้อมทั้งพนักงานและตัวแทน ให้การต้อนรับ คุณชูฉัตร ประมูลผล รองเลขาธิการด้านกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ในการเยี่ยมชมบูธ เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต

เอไอเอ ประเทศไทย นำโดย นางสาวรพีพร วงศ์ทองคำ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ รับมอบรางวัล “บูธสวยงามยอดเยี่ยม ประเภทพื้นที่ขนาดใหญ่ 300-500 ตร.ม.” (Best Design Excellence Award 2019) จาก ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ภายในงานมอบรางวัลเกียรติยศ “Money & Banking Awards 2019” ซึ่งจัดขึ้นโดย วารสารการเงินธนาคาร โดยมี นายสันติ วิริยะรังสฤษฏ์ ประธานบรรณาธิการวารสารการเงินธนาคาร ร่วมแสดงความยินดีและเป็นสักขีพยานการรับรางวัลในครั้งนี้ ณ ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก

ทั้งนี้ เอไอเอ ประเทศไทย ได้รับรางวัลดังกล่าว จากการใช้แนวคิด Rhythm of Life ในการออกแบบบูธ ภายในงานมหกรรมการเงิน ครั้งที่ 19 (Money Expo 2019) เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยแนวคิดดังกล่าวแสดงถึงความไม่แน่นอนทางด้านสุขภาพ เปรียบเสมือนกับจังหวะดนตรีที่มีขึ้นลงตลอดเวลา ผสมผสานกับแนวคิด Digital Orchestra ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของงานมหกรรมการเงิน ครั้งที่ 19 โดยนำเสนอผ่าน 3 จังหวะ ได้แก่ จังหวะวัฒนธรรม จังหวะเทคโนโลยี และจังหวะของความห่วงใย สอดคล้องตามคำมั่นสัญญาของเอเอไอ ‘Healthier, Longer, Better Lives – เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น’

บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต โชว์ผลงานช่องทางตัวแทนเติบโตแกร่ง เตรียมเข้าสู่ยุคดิจิตัลเต็มตัวภายในปี 2563 ด้วยเครื่องมือเสริมศักยภาพช่วยวางแผนการขาย การพิชิตเป้าหมาย การปิดการขายที่รวดเร็ว การพัฒนาความเป็นมืออาชีพ พร้อมจัดงานสัมมนาผู้บริหารตัวแทน ภายใต้แนวคิด “Explore the best in you” มีผู้บริหารตัวแทนร่วมงานกว่า 1,000 คน ร่วมติดอาวุธทางปัญญา ประกาศเดินหน้าสร้างผลงานพิชิตยอดเบี้ยประกันรับรวม 1.5 หมื่นล้านบาท

นายวิรงค์ พัฒนกำจร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารตัวแทน บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต เปิดเผยว่า ช่องทางขายผ่านตัวแทนของอลิอันซ์ อยุธยา ทำผลงานได้ดีเป็นที่น่าพอใจอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยในไตรมาส 1 ปี 2562 นี้ ถือเป็นช่วงที่ตลาดประกันยังมีภาวะชะลอตัวจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะในเรื่องของกำลังการซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง แต่ตัวแทนของเรายังคงเดินหน้าโชว์ศักยภาพที่แข็งแกร่ง สร้างการเติบโตของเบี้ยประกันภัยจากธุรกิจใหม่ได้ถึง 10% นับว่าเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยม

ความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ มีผลมาจาก การดำเนินกลยุทธ์ที่ถูกต้องเหมาะสมกับสภาวะตลาดและความต้องการของลูกค้าในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของสินค้าสุขภาพ ที่หลากหลาย ครอบคลุมทุกความต้องการ รวมถึงยังมีสินค้าสุขภาพ ที่เราร่วมมือกับ โรงพยาบาลในเครือ บีดีเอ็มเอส  ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์คุ้มครองชีวิตและสุขภาพที่ครอบคลุมทุกการรักษาพยาบาล  ที่ตอบโจทย์ความต้องการกลุ่มลูกค้าระดับไฮเอนด์ และการให้บริการที่สร้างประสบการณ์เหนือระดับให้กับลูกค้า”นอกจากนี้ ยังมีการนำเครื่องมือดิจิตัลเข้ามาช่วยในการทำงานของตัวแทน ไม่ว่าจะเป็น

  • Allianz Discover เครื่องมือดิจิทัลที่ช่วยให้การเสนอขายสะดวกรวดเร็ว ปิดการขายได้ง่ายขึ้น
  • Allianz Learning Management System (LMS) เครื่องมือที่ช่วยพัฒนาศักยะภาพ เพิ่มความรู้ ให้กับตัวแทน เป็นการเรียนออนไลน์ ได้ตลอดเวลาด้วยระบบ E - learning เพิ่มทางเลือกให้ตัวแทนในการพัฒนาตนเอง ลดความยุ่งยากในการเดินทาง ทำให้ตัวแทนสะดวกมากยิ่งขึ้น
  • Allianz Activity Management System (AMS) ที่ช่วยตัวแทนให้สามารถวางแผนการทำงานเพื่อพิชิตเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การกำหนดเบี้ยที่ต้องพิชิตในแต่ละเดือน กำหนดจำนวนการนัดหมายลูกค้าแต่ละวัน เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือนี้ ใช้สำหรับบริหารการทำงานได้ทั้งระดับตัวแทน ไปจนถึงผู้บริหารตัวแทน

 

ด้วยเครื่องมือและแพลทฟอร์มดิจิทัลที่เราเร่งพัฒนาอย่างต่อเนื่องในปีนี้ คาดว่า จะทำให้ช่องทางตัวแทน ก้าวสู่ระบบ Paperless หรือการทำงานโดยปราศจาการใช้กระดาษได้ภายในปี 2563

อย่างไรก็ตาม นอกจาก กลยุทธ์ด้านดิจิตัล และผลิตภัณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น อลิอันซ์ อยุธยา ยังคงเดินหน้าพัฒนาตัวแทนของเรา ให้มีความเป็นมืออาชีพ โดยบริษัทให้ความสำคัญกับการสรรหาตัวแทนใหม่ที่เน้นคุณภาพ อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง เพื่อสร้างทีมงานรุ่นใหม่ที่มีบุคลิกลักษณะเฉพาะแบบอลิอันซ์ อยุธยา โดยสิ่งเหล่านี้ได้ถูกขับเคลื่อนผ่านผู้บริหารตัวแทน เราจึงให้ความสำคัญมากกับการให้ความรู้และทำความเข้าใจกับผู้บริหารตัวแทน ให้มีการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน จึงเป็นที่มาของการจัดงานสัมมนาผู้บริหารตัวแทนในวันนี้ ที่มีผู้บริหารตัวแทนร่วมงานกว่า 1,000 คน จากทั่วประเทศ โดยการสัมมนาปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Explore the best in you” มีกิจกรรมน่าสนใจและเป็นประโยชน์มุ่งให้ความรู้ ติดอาวุธทางปัญญาแก่ผู้บริหารตัวแทน อาทิ การบรรยายในหัวข้อ “Explore Your Creativity - Accelerator” โดย คุณณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์  CEO OOKBEE  ผู้ซึ่งเติบโตจากเด็กประกอบคอมฯ สู่อัจฉริยะผู้นำด้าน Tech Startup ผู้ก่อตั้งและซีอีโอบริษัท อุ๊คบี พร้อมด้วยช่วงเวิร์คช็อปกลุ่มย่อยที่ผู้บริหารฝ่ายขายที่มีผลงานยอดเยี่ยมมาร่วมแบ่งปันเทคนิคในการบริหาร อีกด้วย

 

“การสัมมนาตลอดทั้ง 2 วันนี้ อัดแน่นไปด้วยเนื้อหาวิชาการที่เข้มข้น รวมทั้งการสร้างแรงบันดาลใจดีๆจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมากมาย มั่นใจว่าพลังผู้บริหารตัวแทน 1,000 กว่าคนที่เข้าร่วมงาน จะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ พร้อมพิชิตเป้าหมายการเติบโตในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นจำนวนตัวแทนใหม่กว่า 2,500 คน จำนวนตัวแทนที่มีผลงานสม่ำเสมอ 2,000 คน ซึ่งจะสนับสนุนให้บริษัทสามารถเป็นผู้นำด้านผลิตภัณฑ์คุ้มครองชีวิตและสุขภาพ และพิชิตเป้าเบี้ยประกันภัยรับรวมของช่องทางตัวแทนที่ 1.5 หมื่นล้านบาท ได้อย่างแน่นอน” นายวิรงค์ กล่าวทิ้งท้าย

บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดยนางกมลภรณ์ ชินธรรมมิตร ผู้จัดการฝ่ายการเงิน มอบเงินจำนวน 300,000 บาท ให้แก่นายขรรค์ ประจวบเหมาะ ประธานกรรมการมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ สนับสนุนกิจกรรม “Bike with The Blind” ปั่นจักรยานกับผู้พิการทางการเห็น ฉลองครบรอบ 80 ปี มูลนิธิช่วยคนตาบอดฯ ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการให้โอกาสและส่งเสริมผู้พิการทางการเห็นได้รู้คุณค่าและศักยภาพของตนเอง อีกทั้งยังแสดงออกถึงการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการแบ่งปัน จัดขึ้นที่ลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 

ถอดบทเรียนจาก 5 ชุมชนในทุกภาค เตรียมยกทีมเดินสายแบบ Mobile Unit ถึงประตูบ้าน เพื่อช่วยเหลือด้านประกันภัยอย่างครบวงจร พร้อมเปิดตัว “คู่มือประกันภัย ฉบับประชาชน” เป็นครั้งแรก

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. ได้จัด “โครงการ คปภ. เพื่อชุมชน” ต่อเนื่องเป็นปี 3 โดยเป็นการนำภาคอุตสาหกรรมประกันภัยร่วมลงพื้นที่รณรงค์สร้างความรู้ ความเข้าใจด้านการประกันภัยเชิงรุกแก่ชุมชนต่างๆทั่วประเทศ ขณะเดียวกันได้ถ่ายทำเพื่อจัดทำเป็นรายการซีรีย์ “คปภ. เพื่อชุมชน” นำไปเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์และสื่อออนไลน์ ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้านประกันภัยในวงกว้าง ซึ่งปีนี้มีความแตกต่างไปจากปีที่ 1 และปีที่ 2 ด้วยการเรียนรู้ประโยชน์ของระบบประกันภัยจากการถอดบทเรียนประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้นในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงและความเสียหายในหลากหลายรูปแบบและสามารถใช้ระบบประกันภัยเข้าไปช่วยเยียวยาและบรรเทาความเดือดร้อนทำให้ชาวชุมชนมีสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

เป็นการต่อยอดความคิดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดจนถ่ายทอดส่งต่อองค์ความรู้ด้านการประกันภัยให้เกิดขึ้นภายในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะเป็นการสร้างความสมดุลระหว่างความต้องการในระดับพื้นที่ (Bottom-Up) และทิศทางในภาพรวมของระดับประเทศ (Top-Down) ที่ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศของทุกภาคส่วนต่อไป สำหรับชุมชนที่ได้รับคัดเลือกในปีนี้ มีจำนวน 5 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนลำไยมัดปุ๊ก บ้านร้องขุด อำเภอสันป่าตองจังหวัดเชียงใหม่ ชุมชนบ้านนาทับ-สะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ชุมชนตลาดน้ำบางคล้า อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ชุมชนบ้านโนนหอม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร และชุมชนบ้านผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน 

เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่า โครงการ คปภ. เพื่อชุมชน ปี 3 ได้แถลงข่าวเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการ เมื่อเร็วๆ นี้ที่ผ่านมา ณ ชุมชนบางกระดี่ แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากสมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน  สมาคมการค้าผู้สำรวจภัยไทย บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย รวมถึงกองทุนประกันชีวิต และกองทุนประกันวินาศภัย ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ และจะร่วมลงพื้นที่เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประกันภัยแล้ว รวมทั้งช่วยเหลือประชาชนด้านประกันภัยอย่างครบวงจร ถือเป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันด้านประกันภัยระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนอย่างแท้จริง

สำหรับในส่วนของสำนักงานคปภ. การลงพื้นที่ในโครงการนี้จะดำเนินการในรูปแบบ Mobile Insurance Unit หรือศูนย์บริการประชาชนด้านการประกันภัยเคลื่อนที่แบบครบวงจรควบคู่กันไป เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านประกันภัย รวมทั้งผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่จำเป็นสำหรับชุมชน ศึกษาสภาพปัญหาด้านประกันภัยในชุมชน ตลอดจนให้ความช่วยเหลือและรับเรื่องร้องเรียนเรื่องประกันภัยผ่าน “Mobile Complaint Unit” หรือศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยเคลื่อนที่ ซึ่งจะทำให้ประชาชนในชุมชนได้รับความรู้และบริการด้านประกันภัยแบบครบวงจรในคราวเดียวกัน

“ในการเปิดตัวโครงการ คปภ. เพื่อชุมชน ปี 3 ในวันนี้ ยังมีการเปิดตัว “คู่มือประกันภัย ฉบับประชาชน” ซึ่งถือเป็นคู่มือความรู้ด้านประกันภัยภาคประชาชน version ล่าสุดที่รวมข้อมูลที่จำเป็นในเรื่องประกันภัยที่คนไทยทุกคนควรทราบ อันเปรียบเสมือนยาสามัญประจำบ้านที่จะไขข้อข้องใจในเรื่องของประกันภัยในทุกมิติแบบเข้าใจง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก สามารถพกพาได้สะดวก โดยสำนักงาน คปภ.แจกฟรี เพื่อให้ประชาชนในชุมชนต่างๆ ของประเทศ ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยและสิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย และสามารถใช้ระบบประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงให้กับตนเองและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

X

Right Click

No right click