×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 806

สาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ MTL  เปิดเผยโปรแกรมใหม่ของบริษัท Healthy is a Trend” ภายใต้แนวคิด Beyond Life Insurance โดย  Healthy is a Trend”  ถือเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ของการดูแลสุขภาพที่ลูกค้าสามารถสัมผัสได้จริง  และตอบโจทย์ความต้องการของผู้รักสุขภาพที่ครบถ้วนมากที่สุด ด้วยระบบ Health Ecosystem ที่ครบวงจร  ผ่านช่องทางการสื่อสารที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในยุคดิจิทัล อย่างเว็บไซต์ www.healthyisatrend.com และสังคมออนไลน์ผ่าน  Facebook Fanpage : Healthy is a Trend  เพื่อตอบสนองและยกระดับการดูแลสุขภาพด้วยรูปแบบและแนวทางที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร ท่องเที่ยว แฟชั่น ความรู้ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ  พร้อมตอบโจทย์ครบถ้วนใน 3 มิติ ประกอบด้วย

  1. การสร้างสุขภาพที่ดี ฟิตเฟิร์มในทุกด้าน (Prevention) ตอบโจทย์ด้วยกิจกรรมครอบคลุมในทุกไลฟ์สไตล์ ได้แก่ เมืองไทยมาราธอน, MTL Six Packs รวมไปถึงการสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดีผ่านการให้ความรู้ทางการเงินในโครงการ Saving is a Trend เป็นต้น
  2. การคุ้มครอง ป้องกัน พร้อมสร้างความมั่นคงให้ชีวิต (Protection) ด้วยแบบประกันภัยที่ตอบโจทย์ครบถ้วนในทุก Life Stage ทั้งความคุ้มครองด้านชีวิต สุขภาพ และโรคร้ายแรง โดยในการเปิดตัว Healthy is a Trend นี้ บริษัทฯ เปิดตัว 2 ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบโจทย์ด้านความคุ้มครองชีวิตและการดูแลสุขภาพ คือ    “โครงการเมืองไทย สบายใจ เกินคุ้ม”   ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแบบเหมาจ่าย สูงสุด 75,000 บาท ต่อการเข้ารักษาพยาบาลต่อครั้ง พร้อมให้ค่าห้องสูงถึง 3,000 บาท รวมสูงสุด 375,000 บาทต่อปีกรมธรรม์ เบี้ยประกันภัยเฉลี่ยเพียงวันละ 37 บาท และหากเจ็บป่วยในต่างประเทศก็สามารถใช้บริการ MTL Global Connect เข้านอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลได้ทั่วโลกตามสิทธิ์โดยไม่ต้องสำรองจ่าย “สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ แบบอีลิท เฮลท์”  ให้ผลประโยชน์กรณี บาดเจ็บ และเจ็บป่วย สูงสุดถึง 100 ล้านบาทต่อปีกรมธรรม์ คุ้มครองทั้งกรณีเป็นผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก รวมถึงยังสามารถเลือกแผนที่มีความคุ้มครองพิเศษต่างๆ เช่น ผลประโยชน์การคลอดบุตร, ตรวจสุขภาพประจำปี, ฉีดวัคซีน, ค่ารักษาทางทันตกรรม, ค่ารักษาทางสายตา, แพทย์ทางเลือก เป็นต้น
  1. การดูแล ใส่ใจ ด้วยบริการและสิทธิพิเศษ (Service & Privilege) ที่พร้อมมอบประสบการณ์พิเศษให้ลูกค้าทุกคนไม่ว่าจะเป็นลูกค้าปัจจุบันหรือลูกค้าใหม่เมื่อสมัครเป็นสมาชิก “เมืองไทย Smile Club” หรือสิทธิพิเศษต่างๆ ที่ตอบโจทย์ตรงใจทุกไลฟ์สไตล์ จาก Ecopartner ที่ครอบคลุมหลายด้านไม่ว่าจะเป็น การดูแลรักษาผู้ป่วยที่บ้าน (Health at Home) ร้านอาหาร ฟิตเนส และสปา เป็นต้น นอกจากนี้บริษัทฯ ได้เปิดตัวบริการใหม่ ในชื่อ  “Best Doctors”  ซึ่งเป็นบริการความคิดเห็นที่ 2 ทางการแพทย์ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในต่างประเทศ ทั้งโรคทั่วไป หรือโรคที่ร้ายแรง ก็สามารถโทรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้เช่นกัน

สาระระบุว่า การเปิดตัวHealthy is a Trend”  ถือเป็นเฟสแรกเท่านั้น ในอนาคตMTLยังพร้อมที่จะพัฒนาให้สังคมแห่งการดูแลสุขภาพนี้ครอบคลุมไปยังสิ่งใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เตรียมตอบโจทย์คนที่ไม่สามารถทำประกันบางประเภทได้เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่รับประกันหรือคนที่ป่วยเป็นโรคบางอย่างอยู่แล้วก็สามารถทำได้ เป็นต้น

ทิพยประกันภัย จัดโครงการ “ทิพยพัฒนาเยาวชนสืบสานการเรียนรู้ศาสตร์พระราชา” นำเด็กนักเรียนกว่า 4,000 คน เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อปลูกฝังความรู้ ให้มีความเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ เรียนรู้ศาสตร์พระราชา ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ได้ทรงพระราชทานโครงการต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้กับพสกนิกรชาวไทย ณ หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย จ.สุพรรณบุรี

ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัยจำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงการจัดโครงการฯ ครั้งนี้ ว่า เพื่อเป็นการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ได้ทรงพระราชทานโครงการต่างๆ และแนวทางในการดำเนินชีวิตหลักเศรษฐกิจพอเพียง ให้กับพสกนิกรของพระองค์ โดยให้มีการจัดโครงการ “ทิพยพัฒนาเยาวชนสืบสานการเรียนรู้ศาสตร์พระราชา” นำเด็กนักเรียนตลอดโครงการกว่า 4,000 คน มาเรียนรู้ศาสตร์พระราชา ที่พระองค์ได้ทรงพระราชทานโครงการต่างๆไว้มากมาย

ทั้งนี้เพื่อให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เสริมประสบการณ์เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ในพื้นที่จริง เรียนรู้เกี่ยวกับวิถีการทำนาปลูกข้าว การไถนา การคราดนา การดำนา การหว่านข้าว การนวดข้าวโดยการฟาดและใช้แรงควาย การสีข้าว การฝัดข้าว การแปรรูปข้าว การจับปลาโดยการใช้สุ่ม การทำปุ๋ยสูตรพระราชทาน การทำน้ำส้มควันไม้ ทดลองปลูกผักปลอดสารพิษ ทำฮอร์โมนไข่ไก่ และชมการแสดงการใช้แรงงานจากควายไทยในการทำการเกษตร ฯลฯ เพื่อให้เด็กนักเรียนสามารถนำกลับไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคต

ดร.สมพร กล่าวว่านอกจากการที่เด็กนักเรียนที่มาร่วมโครงการได้เรียนรู้จากกิจกรรมต่างๆในโครงการแล้ว เด็กๆยังได้สำนึกในความเป็นคนไทย ในความโชคดีที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย ที่มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงห่วงใยในพสกนิกรของพระองค์ ทรงอุทิศกำลังพระวรกายเพื่อประโยชน์สุขของราษฎร และเพื่อความเจริญพัฒนาของประเทศ โดยมิได้คำนึงถึงประโยชน์สุขส่วนพระองค์ ทรงได้พระราชทานโครงการต่างๆนานัปการมากมาย เพื่อปวงชนชาวไทยตลอดมา โดยทิพยประกันภัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการนี้จะเป็นจุดเล็กๆที่จะช่วยสืบสานศาสตร์พระราชา และองค์ความรู้ต่างๆ ที่พระองค์ได้ทรงพระราชทานไว้ให้กับประชาชนคนไทยให้คงอยู่ตลอดไป

 

ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด(มหาชน)  รับมอบใบรับรองระบบมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2013 จาก United Kingdom Accreditation Service (UKAS) ซึ่งเป็นองค์กรตรวจรับรองมาตรฐานระดับโลกของประเทศอังกฤษ ภายใต้ขอบเขต “The provision of IT operation which support insurance service (E-policy and E-Claim) , core insurance processing system , financial and accounting system , data center , system and network management”  โดยทิพยประกันภัยเป็นบริษัทประกันวินาศภัยแห่งแรกของไทย ที่ได้รับการรับรอง ISO/IEC 27001:2013 ทุกระบบด้าน IT สารสนเทศในองค์กร ในการดำเนินธุรกิจประกันภัย เพื่อรองรับการเข้าสู่การเป็น Digital Insurance อย่างเต็มรูปแบบ

 ดร.สมพรกล่าวว่า เนื่องจากบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการปกป้องข้อมูลของลูกค้าจากภัยคุกคามทาง  ไซเบอร์อย่างจริงจัง และยังสอดคล้องกับประกาศฉบับใหม่ของคปภ. เรื่อง “หลักเกณฑ์ วิธีการออกกรมธรรม์ประกันภัย การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย และการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2560” เพื่อให้เห็นถึงความพร้อมในทุกๆด้านโดยเฉพาะด้านการรักษาความปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

 นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพการบริการอย่างต่อเนื่อง จากเมื่อปี 2542 เราเป็นบริษัทประกันวินาศภัยแห่งแรกของไทยที่ได้รับการรับรองระบบบริหารคุณภาพ ISO 9002 ทุกระบบขององค์กร จวบจนปัจจุบันเรายังมุ่งพัฒนามาตรฐานอย่างต่อเนื่อง จนได้รับการรับรองระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดของ ISO9001  โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการด้านความเสี่ยงในธุรกิจประกันภัย และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียที่นอกเหนือจากลูกค้า อาทิเช่น ผู้ถือหุ้น คู่ค้า พันธมิตรต่างๆ

เป็นต้น เพื่อยกระดับความพึงพอใจต่อลูกค้า และสร้างโอกาสทางธุรกิจและความเชื่อมั่นต่อคู่ค้า, พันธมิตรทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้เห็นว่า ทิพยประกันภัยยังคงรักษาระบบการบริหารงานและกระบวนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ เป็นไปตามมาตรฐานสากลเพิ่มศักยภาพของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อที่จะสามารถให้บริการลูกค้าได้รับความพึงพอใจในทุกๆด้าน

 

ดร.สมพร กล่าวเพิ่มเติมว่า  การที่บริษัทฯได้รับการรับรองมาตรฐานทั้ง 2 ระบบมาตรฐานสากลนี้  ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจให้องค์กร ในยุค Digital ที่คนส่วนใหญ่หันมาทำธุรกรรมผ่านทางโซเชียลมีเดีย มากขึ้น ทำให้เราต้องยิ่งพัฒนาในด้านการให้บริการเพื่อสามารถรองรับการเชื่อมต่อกับหน่วยงานอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า คู่ค้า กลุ่มธุรกิจ Start up หรือนวัตกรรมด้านการบริการต่างๆ  โดยสามารถยกระดับมาตรฐานของคุณภาพการบริการอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับให้ความสำคัญ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยของข้อมูล ผ่านระบบสารสนเทศหลักของธุรกิจที่มีความมั่นคง ปลอดภัยต่อความเสี่ยงหรือวิกฤตต่างๆได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

 "การนำระบบทั้งสองมาประยุกต์ใช้ในทุกรูปแบบจะสร้างความได้เปรียบทางด้านธุรกิจ ทั้งด้านคุณภาพการบริการ, การจัดการความเสี่ยงและความปลอดภัยของข้อมูล, สร้างโอกาสทางธุรกิจ, สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้–ทิพยประกันภัย ก้าวไปสู่การเป็นผู้นำทางธุรกิจได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน" ดร.สมพร กล่าวสรุป

 

 

     นพพร บุญลาโภ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) แถลงผลประกอบการในครึ่งปีแรก ตั้งแต่เดือนมกราคม-เดือนมิถุนายน 2560 ว่า บริษัทฯ มีผลกำไรสุทธิ 420 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่ 118 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 256 ในขณะที่เบี้ยประกันภัยรับรวม 2,961 ล้านบาท มีการเติบโตขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่ 2,889 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.5  รายได้จากการลงทุน 391 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่ 316 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ  24   นับเป็นผลงานที่เกินกว่าที่บริษัทฯ ได้ตั้งเป้าไว้ในทุกด้าน  

     ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2560  บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวม 16,500 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 โดยมีระดับความเพียงพอของเงินกองทุน (Capital Adequacy Ratio – CAR) ณ สิ้นไตรมาส 2/2560 ที่ระดับร้อยละ 304 ซึ่งสูงกว่าระดับที่กฎหมายกำหนดอยู่มากกว่า 2 เท่า  และบริษัทฯ ยังได้มีการจ่ายเงินปันผลจากผลประกอบการปีงบประมาณ 2559 ในอัตราหุ้นละ 0.25 เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จึงแสดงถึงสภาพคล่องและความมั่นคงในฐานะทางการเงินของบริษัทฯ 

     นพพรระบุอย่างมั่นใจว่าปี 2560 จะสามารถดำเนินงานได้ทะลุเป้าเบี้ยประกันภัยรับรวม 7,200 ล้านบาท ด้วยแผนกลยุทธ์หลักของบริษัทฯ  โดยช่องทางการลงทุนมีการบริหารการลงทุนโดยคำนึงถึงความเสี่ยงจากการลงทุนเป็นสำคัญ ซึ่งสัดส่วนของการลงทุนส่วนใหญ่จะอยู่ในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้เอกชน สลากออมสิน เป็นสัดส่วนเกือบ 80% ที่เหลืออีก 15% เป็นการลงทุนในกอง Property Fund และ Infrastructure Fund ที่ได้ผลตอบแทนสูงกว่าตราสารหนี้ โดยมีการลงทุนในหุ้นอยู่ประมาณ 2%  ในขณะที่การบริหารทรัพยากรบุคคลอยู่ภายใต้กรอบนโยบาย Small but mighty การใช้ทรัพยากรในจำนวนที่น้อยแต่มากด้วยความสามารถ  ปัจจุบันพนักงานของบริษัทมีจำนวนไม่ถึง 150 คน ในการทำเบี้ยเกือบ 3,000 ล้านบาท   ตนจึงมั่นใจในศักยภาพคนของเราว่าสามารถรองรับการขยายตัวของเบี้ยตามเป้าที่ตั้งไว้ 7,200 ล้านบาทในสิ้นปีนี้แน่นอน  โดยจะพัฒนาระบบ  IT  ในการสร้างหลังบ้านให้แข็งแกร่ง รวมไปจนถึงตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม การเตรียมความพร้อมรองรับการขยายงานด้าน Digital Marketing  และการเปิดช่องทางการขาย Bancassurance ผ่านธนาคารออมสิน ที่คาดว่าจะสามารถสร้างเบี้ยในครึ่งปีหลังได้ 1,000 ล้านบาท

     ทั้งนี้บริษัทได้มีการปรับโครงสร้างช่องทางขายเพื่อให้ทันต่อตลาดในปัจจุบัน โดยมอบหมายให้ศุภชัย  จงศุภวิศาลกิจ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด ที่สร้างผลงานนำพาช่องทาง MRTA เข้าสู่อันดับ 1 ในอุตสาหกรรมในปีนี้ มาดูแลช่องทางขายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นช่องทางประกันสถานบัน, ประกันกลุ่ม, Bancassurance รวมไปถึงช่องทางสามัญ ภายใต้หลักการการทำตลาดเชิงรุกแบบบูรณาการ

     ศุภชัย กล่าวถึงแผนการตลาดที่เตรียมไว้รองรับช่วงครึ่งปีหลังว่า หากแบ่งผลิตภัณฑ์ของบริษัทเป็น 4 กลุ่มย่อย จะประกอบด้วยประกันสินเชื่อที่มีพันธมิตรสำคัญคือธนาคารออมสิน ประกันสามัญผ่านตัวแทน ประกันสามัญผ่านธนาคาร ประกันกลุ่ม แต่ละผลิตภัณฑ์มีการเตรียมแผนการตลาดรองรับ เช่น ประกันกลุ่มยังเน้นรักษาฐานลูกค้า โดยยังคงเน้นเรื่องการบริหารเป็นหลัก ประกันสินเชื่อและประกันสามัญผ่านธนาคาร ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทำรายได้ให้กับบริษัทจำนวนมาก จะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาให้เห็นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี รวมถึงอาจมีการขยายพันธมิตรไปร่วมมือกับธนาคารอื่นๆ เพิ่มขึ้น ในส่วนประกันสามัญผ่านตัวแทน จะมีการปรับปรุงโครงสร้างการทำงานใหม่ มีการปรับผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับตัวแทนแต่ละรายที่มีความชำนาญแตกต่างกัน และจะมีพัฒนาบุคลากรของทิพยประกันชีวิตให้เป็นตัวแทนที่มีคุณภาพมุ่งสู่การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน รวมถึงการเปิดรับตัวแทนใหม่ๆ เข้ามาเสริมทีม  

บริษัทชื่อใหม่อย่างบริษัทเอฟดับบลิวดีประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ที่เดิมคือ บริษัทไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จากการเข้าซื้อธุรกิจประกันชีวิตของกลุ่มแปซิฟิค เซ็นจูรี่ กรุ๊ปผู้ดำเนินธุรกิจด้านการเงิน โทรคมนาคมสื่อและเทคโนโลยีและอสังหาริมทรัพย์ คือหนึ่งในผู้ร่วมแข่งขันของวงการประกันชีวิตที่น่าจับตามอง แม้ชื่อจะเป็นน้องใหม่แต่ก็ได้ผู้บริหารรุ่นเก๋าอย่าง ไมค์ แพล็กซ์ตัน ผู้ทำงานในแวดวงประกันมายาวนานแทบทั้งชีวิต รวมถึงเคยบริหารบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยจนประสบความสำเร็จให้เห็นมาแล้วมาเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ตามเป้าหมายพา เอฟดับบลิวดีขึ้นสู่ 1 ใน 5 ของธุรกิจประกันชีวิตไทยใน 5 ปี ผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมาของบริษัทเริ่มส่งสัญญาณให้เห็นถึงความก้าวหน้าของบริษัท แพล็กซ์ตันให้ข้อมูลว่า ปี 2556 บริษัทมีผลประกอบการเติบโตขึ้น 15 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อนหน้า โดยมีเบี้ยประกันภัยรับรวมมากกว่า 13,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเบี้ยประกันภัยรับจากการขายผ่านช่องทางตัวแทน 41 เปอร์เซ็นต์ ช่องทางการขายผ่านธนาคาร 52 เปอร์เซ็นต์ และช่องทางการขายอื่นๆ 7 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่กำไรตามกฎหมายที่ปรับแล้ว เพิ่มขึ้นประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อนหน้า

บริษัทมีเบี้ยประกันภัยรับปีแรกรวม 2,700 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนหลักมาจากช่องทางขายผ่านธนาคาร 74 เปอร์เซ็นต์ช่องทางตัวแทนประกัน 21 เปอร์เซ็นต์ และช่องทางการขายทางเลือกอื่นๆ 5 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่สินทรัพย์เพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้น 14 เปอร์เซ็นต์เป็น 45,000 ล้านบาท และมีอัตราส่วนการดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยงอยู่ที่ 291 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าแข็งแกร่งมาก

ด้าน อามาน คาปัวร์ ประธานเจ้าหน้าที่ สายงานการตลาด มองว่าแนวโน้มธุรกิจประกันชีวิตปีนี้ยังเติบโตต่อเนื่อง และจะเป็นไปในอัตราที่รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยผู้บริโภคมีความต้องการที่แตกต่างกันเพิ่มขึ้น อาทิ คนรุ่นใหม่จะมองหากรมธรรม์ที่เน้นการลงทุนเพิ่มขึ้น บริษัทจึงเตรียมออกผลิตภัณฑ์เอฟดับบลิวดี ยูนิตลิงค์ ซึ่งครอบคลุมทั้งการคุ้มครองชีวิต และผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมที่ลูกค้าเลือก ออกแบบให้มีความยืดหยุ่น ตอบสนองความต้องการของลูกค้า

เดียวรองรับสังคมผู้สูงอายุที่ประเทศไทยกำลังจะเป็น รวมถึงแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของค่ารักษาพยาบาล นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะออกกรมธรรม์เพื่อการศึกษาตอบสนองลูกค้าที่มองหาความคุ้มครองเพื่ออนาคตทางการศึกษาของบุตรหลานต่อความไม่แน่นอนในชีวิต

แพร็กซ์ตันกล่าวถึงเป้าหมายการขึ้นเป็น 1 ใน 5 บริษัทประกันชีวิตของไทยเอฟดับบลิวดีวางกลยุทธ์ 3 ประการเพื่อจะเข้าไปสู่เป้าหมายดังกล่าวประกอบด้วย

หนึ่ง การมีช่องทางการขายที่หลากหลาย ด้วยการปรับโครงสร้างการบริหารงานตัวแทนและโครงสร้างผลตอบแทนใหม่ๆ มอบโอกาสที่ดีที่สุดให้กับผู้ที่มีความสามารถสร้างผลงานได้ดี เน้นการสร้างความเติบโตให้กับตัวแทน อาทิการตั้งตำแหน่งใหม่ AFL เพิ่มขึ้นเพื่อให้มีช่องทางในการเติบโตของฝ่ายขาย 

การพัฒนาศักยภาพตัวแทนขาย มีศูนย์ฝึกอบรมที่จะช่วยพัฒนาทักษะวิชาการ ทัศนคติ และพฤติกรรม ผ่านหลักสูตร บู๊ทแคมป์ ซึ่งเป็นหลักสูตรระดับโลกที่นำมาใช้ในประเทศไทย จัดฝึกอบรมโดยวิทยากรคนไทยที่มีประสบการณ์ โดยศูนย์ฝึกอบรมนี้จะสนับสนุนและพัฒนาทักษะให้กับพันธมิตรทางธุรกิจในส่วนช่องทางการขายแบบทางเลือกอื่นด้วย

การใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการให้บริการ อาทิ บริการผ่านอินเทอร์เน็ต ที่จะช่วยตัวแทนทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น สามารถวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าและนำเสนอเอกสารในการขายได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง 

ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ จะมีการเปิดตัว FWD Smart App ใช้กับกรมธรรม์ที่เลือกสรรแล้ว เป็นระบบไร้กระดาษ สำหรับการออกเอกสารประกันชีวิตให้ลูกค้า 

ทางด้านช่องทางการขายผ่านธนาคาร ซึ่งมีธนาคารทีเอ็มบีเป็นพันธมิตรหลักซึ่งจะมีการพัฒนาขั้นตอนและระบบงาน ที่สอดคล้องกับช่องทางการขายและรูปแบบการให้บริการลูกค้าของทีเอ็มบี รวมถึงสร้างกลยุทธ์แบบองค์รวมเพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า ขณะที่ช่องทางการขายทางเลือกอื่นๆ จะให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างพันธมิตรเดิมและใหม่เพื่อหาโอกาสทางธุรกิจร่วมกันให้ดียิ่งขึ้น

สอง การเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร จะมีการสร้างแบรนด์อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายเป็นผู้นำด้านสร้างสรรค์นวัตกรรม สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง ให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ของบริษัทได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ผ่านสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ตอบสนองการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงตามความต้องการมากที่สุด ตามแนวคิดการให้ความสำคัญกับลูกค้า (customer centric)

ภารกิจของธุรกิจประกันชีวิตคือการช่วยเหลือให้ลูกค้าสามารถเอาชนะความกังวลในสิ่งที่ไม่คาดฝันต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิต ขณะเดียวกันบริษัทก็มีภารกิจที่ต้องช่วยดูแลสังคม นอกเหนือจากการจ้างงานผู้พิการเข้ามาทำงานในองค์กรแล้ว ยังได้จัดทำโครงการ “FWD helps PWD” คือการจัดรถตู้อำนวยความสะดวกในการเดินทางของผู้พิการในกรุงเทพฯ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

 และยังมีโครงการเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคมอื่นๆ อาทิ บริจาครถเข็นให้กับโรงเรียนอาชีวะพระมหาไถ่ จ.ชลบุรี ซ่อมแซมอาคารเรียนในโรงเรียนทั่วประเทศ โดยกิจกรรมทั้งหมดพนักงานของบริษัทมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ในปีนี้กิจกรรมตอกย้ำแบรนด์เอฟดับบลิวดีจะเริ่มที่ แคมเปญ Real People, Real Passion ที่มีแนวคิดว่า “พวกเราทุกคนมีความใฝ่ฝัน” บริษัทจะเป็นแรงบันดาลใจให้คนตามความฝันให้เป็นจริง โดยผู้สนใจสามารถเข้าชมรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.fwd.co.th/passion

สาม การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล บุคลากรคือหัวใจสำคัญในการทำธุรกิจ ทางเอฟดับบลิวดีจึงมุ่งเน้นลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มพูนศักยภาพในการเข้าถึงลูกค้าและให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดี การอบรมที่มีคุณภาพจะช่วยพัฒนาศักยภาพทีมงานขายมืออาชีพ การมีระบบให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด สร้างวัฒนธรรมการทำงานที่มีความห่วงใยในกันและกันเป็นครอบครัว เพราะการลงทุนในบุคคลจะช่วยเพิ่มคุณภาพขององค์กรให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน 

Page 16 of 16
X

Right Click

No right click