ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประมาณรายได้ท่องเที่ยวไทยปี 2567 อยู่ที่ระดับ 2.75 ล้านล้านบาท จากการท่องเที่ยวในประเทศที่ฟื้นตัวสมบูรณ์ในฝั่งของรายได้ ในขณะที่กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติคาดว่านักท่องเที่ยวชาวจีนกลับมาเพียง 52% ของภาวะปกติจากแรงกดดันทางเศรษฐกิจภายในประเทศ และพฤติกรรมการเดินทางที่เริ่มเปลี่ยนตามโครงสร้างอายุและรายได้ แนะภาครัฐออกนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวให้เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวในแต่ละกลุ่มที่มีพฤติกรรมต่างกัน

 ในปี 2566 ที่ผ่านมานับเป็นความสำเร็จของการท่องเที่ยวไทยทั้งในมิติของนักท่องเที่ยวในประเทศที่สูงเป็นประวัติการณ์ที่ตัวเลข 254.4 ล้านคน-ครั้ง สร้างรายได้กว่า 8 แสนล้านบาท รวมถึงในฝั่งของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้ตามเป้าที่ทาง ttb analytics ประมาณการไว้ที่ 28 ล้านคน สร้างเม็ดเงินราว 1.4 ล้านล้านบาท ส่งผลให้ภาพรวมประเทศไทยสร้างเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวได้กว่า 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 73% เมื่อเทียบกับจุดสูงสุดเดิมที่ 3 ล้านล้านบาทในปี 2562 อย่างไรก็ตาม จำนวนเงินดังกล่าวหลุดเป้าไปราว 2 แสนล้านบาทจากที่ภาครัฐได้ตั้งเป้าไว้ที่ 2.4 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ตาม แม้การประมาณรายได้จากนักท่องเที่ยวที่พลาดเป้าในปีที่ผ่านมา ในปี 2567 นี้ ก็ยังเห็นมุมมองของภาครัฐที่ตั้งเป้านักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งในมิติของจำนวนที่คาดว่าจะสูงถึง 40 ล้านคนสร้างรายได้กว่า 2.5 ล้านล้านบาท เมื่อรวมกับรายได้จากการท่องเที่ยวในประเทศ จะสามารถสร้างเม็ดเงินได้สูงถึง 3.5 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นการตั้งเป้าหมายเพิ่มขึ้นกว่า 60% ทั้งที่รายได้จากปีก่อนก็ยังหลุดเป้าไปราว 10% โดยในมุมมองของ ttb analytics มีความเห็นว่าในปี 2567 นี้ ศักยภาพรายได้จากการท่องเที่ยวคาดว่าจะอยู่ที่ราว 2.75 ล้านล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้

1) กลุ่มนักท่องเที่ยวคนไทย ttb analytics ประเมินปี 2567 การท่องเที่ยวในประเทศยังสามารถสร้างประวัติศาสตร์เป็นปีที่ 2 ต่อเนื่องจากปี 2566 ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะสูงถึง 292.1 ล้านคน-ครั้ง บนพฤติกรรมการใช้จ่ายในการท่องเที่ยวต่อทริปลดลงจากภาวะค่าครองชีพและภาระทางการเงินที่สูงขึ้นลดทอนรายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง แต่จากการชดเชยของมิติเชิงจำนวนสามารถดันให้รายได้จากการท่องเที่ยวในประเทศคาดแตะระดับ 1 ล้านล้านบาท ได้อีกครั้งหนึ่ง บนรูปแบบของการท่องเที่ยวจากคนไทยดังนี้ 1) เทรนด์การเที่ยวแบบไปเช้าเย็นกลับ (One-Day Trip) โดยไม่พักแรมเพิ่มขึ้น สะท้อนผ่านจำนวนนักท่องเที่ยวในภาคกลาง และภาคตะวันตก ฟื้นตัวเทียบช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ที่ 136% และ 146% แต่รายได้กลับฟื้นตัวเพียง 103% และ 119% ตามลำดับ 2) นักท่องเที่ยวคนไทยมีแนวโน้มเที่ยวเมืองรองที่มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าเมืองหลักเพิ่มขึ้น เช่น จังหวัดเชียงราย น่าน แพร่ ในพื้นที่ภาคเหนือมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% และจังหวัดสตูล และนราธิวาส ในพื้นที่ภาคใต้มีตัวเลขนักท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 30-40% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 3) การปรับลดคืนค้างแรมลงโดยเฉพาะกลุ่มจังหวัดห่างไกล ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายที่ลดลงต่อทริป

โดยเฉพาะในกลุ่มภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สะท้อนผ่านเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวเทียบก่อนสถานการณ์โควิด-19 กลับมาที่ 58% และ 72% ในขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวฟื้นตัวในอัตราที่สูงกว่าที่ 100% และ 92% ตามลำดับ

2) ตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในปี 2567 คาดการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติจะอยู่ที่ 33.1 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 1.75 ล้านล้านบาท จากค่าเฉลี่ยในการใช้จ่ายต่อทริปที่คาดสูงขึ้นจากราคาที่พักที่ปรับตัวรับอุปสงค์ และแนวโน้มวันท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น โดยในรายละเอียดพบว่า กลุ่มนักท่องเที่ยวไม่นับรวมชาวจีน (Non-Chinese Travelers) คาดกลับมาใกล้เคียงช่วงก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 แต่ปัจจัยที่น่าจับตา คือการกลับมาของนักท่องเที่ยวชาวจีน (Chinese Travelers) ที่คาดยังไม่ฟื้นตัวสมบูรณ์ด้วยอัตราการกลับมาที่ราว 5.7 ล้านคน คิดเป็น 52% เมื่อเทียบกับจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนในช่วงก่อนเกิดโควิด-19 เนื่องจากแรงกดดันดังต่อไปนี้

2.1) แรงกดดันจากเศรษฐกิจภายในประเทศของจีน เช่น ปัญหาการว่างงานในคนอายุ 16-24 ปี ที่สูงเกินกว่า 20% ส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวหน้าใหม่ที่จะเดินทางออกนอกประเทศที่ลดลง ซึ่งตามสถิติจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ชี้นักท่องเที่ยวจากเอเชียตะวันออกกว่า 63% มีอายุต่ำกว่า 35 ปี รวมถึงความมั่งคั่งสุทธิที่ลดลงจากปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคการเงินที่ยังน่ากังวล ที่ส่งผลให้สินทรัพย์หรือรายได้ของชาวจีนบางกลุ่มลดลงจนอาจกระทบต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศ

2.2) จำนวนนักท่องเที่ยวที่ส่งสัญญาณเติบโตชะลอตั้งแต่ช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงปี 2560-2562 นักท่องเที่ยวชาวจีนเข้าไทยเพิ่มขึ้นที่ 6.5% ต่อปี ในขณะที่ ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ ยังรักษาอัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวชาวจีนได้สูงถึง 14% และ 20% ต่อปีตามลำดับ กอปรกับในปี 2566 พบนักท่องเที่ยวชาวจีนขาออกนอกประเทศภาพรวมฟื้นตัวกว่า 60%-65% ในขณะที่การกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนในไทยกลับฟื้นตัวเพียง 32% ของภาวะปกติ

2.3) ความดึงดูดในเรื่องของอัตราการท่องเที่ยวซ้ำ เนื่องจากตลาดท่องเที่ยวไทยเป็นตลาดที่เข้าถึงง่ายจากค่าใช้จ่ายต่อทริปที่ไม่สูง ส่งผลให้ตลาดไทยอยู่ในฐานะจุดหมายแรกของการเริ่มเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ (Entry Level) ที่อาจได้ประโยชน์ในระยะแรกแต่อาจเริ่มถูกตั้งคำถามถึงอัตราการท่องเที่ยวซ้ำ (Revisit Intention) เมื่อนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นตามช่วงเวลาอาจมีทางเลือกในการเดินทางไปยังประเทศอื่นเพิ่มมากขึ้น สะท้อนผ่านสัดส่วนของจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวจีนในปี 2562 มีสัดส่วนที่เท่ากันที่ 28% ในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวจีนในฝรั่งเศสที่มีสัดส่วนเพียง 3% แต่สามารถสร้างรายได้ให้การท่องเที่ยวเป็นสัดส่วนที่สูงถึง 7%

 โดยสรุป ttb analytics คาดว่าปี 2567 มูลค่าการท่องเที่ยวไทยจะมีมูลค่า 2.75 ล้านล้านบาทต่ำกว่าเป้าที่ภาครัฐได้วางไว้ที่ 3.5 ล้านล้านบาทหรือห่างจากเป้าหมายเกือบ 8 แสนล้านบาท แต่มองว่ายังมีศักยภาพดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากขึ้นในเชิงคุณภาพ หากมีการกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ให้ตรงตามกลุ่มให้ชัดเจน เช่น นักท่องเที่ยวจากเอเชียที่ไทยได้ประโยชน์จากการเดินทางที่สะดวกและค่าใช้จ่ายต่อทริปที่ต่ำ ภาครัฐควรตั้งเป้าหมายในการดึงดูดให้เกิดการท่องเที่ยวซ้ำ เช่น สิทธิประโยชน์ที่อาจมอบให้เมื่อมีการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ ในกรอบระยะเวลาที่กำหนด รวมถึงเร่งพัฒนาโครงข่ายคมนาคมให้สะดวก ปลอดภัย ที่สามารถเชื่อมกับภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมีความต้องการท่องเที่ยวซ้ำในภูมิภาคอื่น ๆ และในกลุ่มนักท่องเที่ยวยุโรป สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ที่มีสัดส่วนนักท่องเที่ยวที่อยู่อาศัยระยะยาวสูงโดยเปรียบเทียบอาจให้เป็นในรูปแบบสิทธิประโยชน์เรื่องการจัดหาที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ จัดหาบริการระบบประกันสุขภาพที่

ครอบคลุม รวมถึงในภาพรวมควรจัดตั้งหน่วยงานสายด่วนรับเรื่องร้องเรียนที่สามารถแก้ปัญหานักท่องเที่ยวต่างชาติถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างจริงจัง เพื่อยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวไทยให้ก้าวไปอีกระดับเพื่อสามารถส่งต่อบรรยากาศการท่องเที่ยวที่เป็นมิตร เพิ่มโอกาสการกลับมาเที่ยวซ้ำสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวอายุน้อย และโน้มน้าวให้นักท่องเที่ยวมีความประสงค์ที่จะอยู่อาศัยระยะยาว เพื่อโอกาสในการยกระดับให้การท่องเที่ยวไทยเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะยาว

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จับมือพันธมิตรภาครัฐและเอกชน เนรมิตปรากฏการณ์แห่งแสงสี ริมแม่น้ำเจ้าพระยาสุดยิ่งใหญ่ตระการตากับงาน “VIJIT CHAO PHRAYA 2023” ตั้งแต่วันที่ 1-31 ธันวาคม 2566 จัดเต็มเทคนิคสมัยใหม่ สะท้อนถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่งดงามจากแนวของสายน้ำที่คดโค้งไหลผ่านวัดวาอารามและย่านสำคัญ 7 พื้นที่ที่แสดงถึงวิถีชีวิตริมน้ำสู่แลนด์มาร์กของประเทศไทย เพื่อกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวส่งท้ายปี 2566 คาดปั๊มรายได้ท่องเที่ยวสะพัดกว่า 600 ล้านบาท

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า จากความสำเร็จของการจัดงาน VIJIT CHAO PHRAYA 2022 มีผู้สนใจทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติเข้าร่วมงาน 252,282 คน สร้างรายได้หมุนเวียนทางเศรษฐกิจกว่า 470 ล้านบาท ปีนี้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดย ททท. จึงได้ต่อยอดจัดงาน VIJIT CHAO PHRAYA 2023” ตลอดเดือนธันวาคม 2566 เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ปี 2566 และต่อเนื่องถึงปี 2567 ภายใต้ความร่วมมือแบบ 360 องศา กับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมุ่งสู่การเป็นประเทศที่สร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติสูงสุดติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ผ่านการนำเสนอต้นทุนทางวัฒนธรรม Soft Power อย่างสร้างสรรค์ ด้วยการสร้างบรรยากาศและสีสันให้กับแม่น้ำเจ้าพระยาด้วยแสง สีและการแสดงทางวัฒนธรรมในยามค่ำคืน รวมทั้ง ยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น ธุรกิจเรืออาหาร เรือนำเที่ยว โรงแรม ที่พัก ตลอดจนร้านอาหารริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย คาดว่าจะสามารถสร้างรายได้หมุนเวียนทางเศรษฐกิจกว่า 600 ล้านบาท ตลอดระยะการจัดงาน

นางสาวฐาปนีย์  เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการ ททท. กล่าวว่า งาน “VIJIT CHAO PHRAYA 2023” เป็นอีกหนึ่งบิ๊กอีเวนต์ภายใต้โครงการ Thailand  Winter Festivals ที่ ททท. ตั้งใจให้เป็นหนึ่งปรากฏการณ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่และอลังการกว่าที่เคย โดยปีนี้ ททท. ขยายเวลาการแสดงเป็น 1 เดือนเต็มตลอดเดือนธันวาคม  2566 ซึ่งจะแต่งแต้มสีสันแนวแม่น้ำเจ้าพระยายามค่ำคืนด้วยนวัตกรรม แสง สี และสื่อผสมสมัยใหม่ ทั้ง Projection Mapping & Lighting ควบคู่กับการผสมผสานวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ให้มีความทันสมัย เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับนักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสและอยากเดินทางกลับมาอีกครั้ง เช่น การประดับไฟ การฉายภาพบนตัวอาคาร การแสดงพลุ การแสดงทางวัฒนธรรม ฯลฯ ณ บริเวณสถานที่สำคัญ         ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงระหว่างสะพานกรุงธน - สะพานพระราม 3 กรุงเทพมหานคร ร้อยเรื่องราวของความงามดั่งวิจิตรเจ้าพระยา ซึ่งได้คัดเลือกพื้นที่จัดการแสดงที่มีเอกลักษณ์และสะท้อนถึงความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมที่งดงามจากแนวของสายน้ำที่คดโค้งไหลผ่านวัดวาอาราม และย่านสำคัญ จำนวน 7 พื้นที่ริมน้ำของกรุงเทพมหานคร ได้แก่  สะพานพระราม 8 และสวนสันติชัยปราการ, วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร, ป้อมวิไชยประสิทธิ์, สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า), River City Bangkok, ICONSIAM และ เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟรอนท์ เดสติเนชั่น ให้นักท่องเที่ยวได้เดินทางมาสัมผัสประสบการณ์ท่องเที่ยวยามค่ำคืนอันอัศจรรย์ ซึ่งแต่ละพื้นที่มีรายละเอียดกิจกรรมที่แตกต่างกัน ดังนี้

  1. สะพานพระราม 8  จัดแสดงภายใต้คอนเซปต์ “วิจิตร แสงแห่งสยามกับ การแสดง 2 ชุด
  • การแสดงเลเซอร์ 3D ประกอบ Light & Sound จัดแสดงวันที่ 1-31 ธันวาคม 2566 วันละ 6 รอบ รอบละ 5 นาที ได้แก่ เวลา 00 น., 19.30 น., 20.00 น., 20.30 น, 21.00 น. และ 21.30 น.
  • การแสดงทางวัฒนธรรม ชุด “มหัศจรรย์เมืองไทย” ณ สวนสันติชัยปราการ ในวันที่ 1-2, 7-9, 15-16, 22-23 และ 29-30 ธันวาคม 2566 วันละ 4 รอบ ได้แก่ เวลา 30 น., 20.00 น., 20.30 น. และ 21.00 น.
  1. วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร จัดแสดงภายใต้คอนเซปต์ “วิจิตร อรุณแห่งธารา” กับ การแสดง 2 ชุด
  • การแสดง Light & Sound พระปรางค์วัดอรุณราชวรรามฯ จัดแสดงวันที่ 1-31 ธันวาคม 2566 วันละ 6 รอบ รอบละ 5 นาที เวลา 00 น., 19.30 น., 20.00 น., 20.30 น, 21.00 น.และ 21.30 น.
  • การแสดงโดยผสมผสานระบบเทคนิคพิเศษ Light & Sound ประกอบการแสดงทางวัฒนธรรม ชุด “เล่าขานตำนานยักษ์วัดแจ้ง เทพสถิต วิจิตรคู่สองฝั่งเจ้าพระยา” จัดแสดงวันที่ 1-2, 7-9, 15-16, 22-23 และ 29-30 ธันวาคม 2566 จำนวน 3 รอบ เวลา20 น., 19.40 น. และ  20.20 น.
  1. ป้อมวิไชยประสิทธิ์ จัดแสดงภายใต้คอนเซปต์ “วิจิตร ชาญชัยแห่งปฐพี” พบกับ การแสดง Projection Mapping และม่านน้ำประกอบ Light & Sound ตั้งแต่วันที่ 1-31 ธันวาคม 2566 วันละ 6 รอบ รอบละ 5 นาที ได้แก่ เวลา 19.15 น., 19.45 น., 20.15 น., 20.45 น., 21.15 น. และ 21.45 น.
  2. สะพานพระพุทธยอดฟ้า จัดแสดงภายใต้คอนเซปต์ “วิจิตร เจิดจรัสแห่งนภา” กับ การแสดง 2 ชุด
  • การแสดง Illumination ประกอบ Light & Sound จัดแสดงวันที่ 1-31 ธันวาคม 2566 วันละ 6 รอบ รอบละ 5 นาที ได้แก่ เวลา 00 น., 19.30 น., 20.00 น., 20.30 น., 21.00 น. และ 21.30 น.
  • การแสดงพลุประกอบการแสดง ในวันที่ 1-2, 7-9, 15-16, 22-23 และ 29-30 ธันวาคม 2566 วันละ 1 รอบ รอบละ 3 นาที ในเวลา 45 น.

  1. River City Bangkok (ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก) จัดแสดงภายใต้คอนเซปต์ วิจิตร อะเมซิ่งไทยแลนด์ พบกับการแสดง Projection Mapping ประกอบ Light & Sound จัดแสดงวันที่ 1-31 ธันวาคม 2566 วันละ 6 รอบ รอบละ 5 นาที ได้แก่ เวลา 19.00 น., 19.45 น., 20.15 น., 20.45 น., 21.15 น. และ 21.45 น.
  2. ICONSIAM (ไอคอนสยาม) พบกับการแสดง Light & Sound จัดแสดงวันที่ 1-31 ธันวาคม 2566 วันละ 3 รอบ รอบละ 10 นาที ได้แก่ เวลา 18.30 น., 20.00 น. และ 21.00 น.

  1. เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟรอนท์ เดสติเนชั่น พบกับการแสดงโดรน วันที่ 9, 16 และ 23 ธันวาคม 2566 จำนวน 1 รอบ ในเวลา 19.50 น.

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมสีสันบรรยากาศบริเวณริมแม่น้ำในแต่ละพื้นที่ หรือริมแม่น้ำฝั่งตรงข้ามจุดที่ทำการแสดงได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สามารถเข้าชมได้ทุกวัน ตั้งแต่วันที่ 1-31 ธันวาคม 2566  เวลา 19.00 – 22.00 น. หรือ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Fanpage : Vijit Chao Phraya 2023

โปรโมท 60 สถานที่แห่งศรัทธาและความเชื่อทั่วประเทศไทย

นางพิทยา วรปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส กลุ่มงานการตลาดและสื่อสารองค์กร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมด้วย นางสาวเจนจิต ลัดพลี ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์กร และ นางสาวพัทธ์ธีรา อนันต์โชติพัชร ผู้บริหาร KTC World Travel Service เข้าพบนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าการททท.คนใหม่ ณ สำนักงานใหญ่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ถนนเพชรบุรี เมื่อเร็วๆนี้

ทั้งนี้ เคทีซี และ ททท. ได้มีการหารือร่วมกันถึงความร่วมมือที่จะผลักดันและสนับสนุนการท่องเที่ยวให้เติบโตอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวได้ตามที่คาดหมายไว้

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click