ไมโครซอฟท์และ LinkedIn ได้ร่วมกันเผยถึงก้าวต่อไปในโครงการ Skills for Jobs

โดยจะเปิดให้ผู้เรียนได้เข้าถึงหลักสูตรต่างๆ เพิ่มเติมอีกกว่า 350 คอร์สโดยไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมด้วยประกาศนียบัตรระดับ “Career Essentials” หรือพื้นฐานอาชีพ ที่รับรองทักษะสำคัญใน 6 ตำแหน่งงานอันเป็นที่ต้องการในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลนี้ นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์และ LinkedIn ยังพร้อมมอบสิทธิในการเป็นสมาชิก LinkedIn Premium รายปี รวมกว่า 50,000 ราย ให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้าถึงความรู้และทักษะเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา เพื่อปูทางสู่การเติบโตแบบก้าวกระโดดในอาชีพการงาน

ภายใต้โครงการนี้ ไมโครซอฟท์มีเป้าหมายที่จะยกระดับทักษะเชิงดิจิทัลให้กว่า 10 ล้านคนทั่วโลกภายในปี 2025 โดยนับเป็นการต่อยอดจากโครงการ Global Skills Initiative (GSI) ที่ได้ช่วยให้ผู้คนกว่า 80 ล้านคนทั่วโลกได้เข้าถึงทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ทักษะเชิงดิจิทัล และปูทางไปสู่อาชีพการงานที่ดีกว่า ปัจจุบัน ไมโครซอฟท์ได้ให้การสนับสนุนกับผู้เรียนรวมกว่า 14 ล้านคนในทวีปเอเชีย ผ่านทางแพลตฟอร์มการเรียนรู้อย่าง LinkedIn และ Microsoft Learn โดยจากจำนวนนี้ คิดเป็นผู้เรียนชาวไทยรวมกว่า 534,000 ราย

สำหรับหลักสูตรและประกาศนียบัตรใหม่ทั้งหมดนี้ เป็นผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลจาก LinkedIn และสถาบัน Burning Glass Institute โดยไมโครซอฟท์นำรายการตำแหน่งงานที่เปิดรับบุคลากรมาประมวลผลเพื่อค้นหา 6 ตำแหน่งงานที่มีความต้องการสูงสุด ซึ่งได้แก่ พนักงานธุรการ (Administrative Professional), ผู้จัดการโครงการ (Project Manager), นักวิเคราะห์เชิงธุรกิจ (Business Analyst), ผู้ดูแลระบบไอที (Systems Administrator), นักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer) และนักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) โดยสำหรับประเทศไทย จะมีการนำเสนอหลักสูตรเต็มรูปแบบภายใต้ชื่อ LinkedIn Learning Pathways สำหรับทักษะและสายงานต่างๆ ดังนี้: Critical Soft Skills, Project Manager, Digital Marketing Specialist, Financial Analyst, Data Analyst และ Sales Development Representative

ส่วนประกาศนียบัตรระดับ Career Essentials จะช่วยให้ผู้เรียนได้เดินหน้าต่อ จากการสร้างเสริมทักษะดิจิทัลในระดับพื้นฐาน สู่ทักษะเชิงเทคนิคที่ลงลึกยิ่งขึ้น และต่อยอดไปสู่ประกาศนียบัตรและการรับรองมาตรฐานความรู้อื่นๆ ที่ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสในการทำงานมากขึ้น เมื่อเรียนรู้จนสำเร็จหลักสูตรหนึ่งแล้ว ผู้เรียนจะได้รับตรารับรองจาก LinkedIn ซึ่งเป็นเครื่องหมายบ่งบอกให้องค์กรผู้ว่าจ้างเล็งเห็นถึงทักษะของผู้เรียน

การประกาศขยายโครงการในครั้งนี้จะช่วยสานต่อพันธกิจของไมโครซอฟท์ในการเปิดให้ทุกคนเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมมากขึ้น ผ่านทางทักษะ เทคโนโลยี และช่องทางในการมุ่งสู่ความสำเร็จ ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ยังคงเคลื่อนเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง โดยทุกหลักสูตรในโครงการนี้สามารถเรียนได้ผ่าน LinkedIn ที่เว็บไซต์ opportunity.linkedin.com นอกจากนี้ ผู้เรียนยังสามารถพบกับหลักสูตรเพิ่มเติมอื่นๆ จากไมโครซอฟท์ได้ทาง Microsoft Community Training (MCT) ขณะที่องค์กรไม่แสวงผลกำไรก็ยังสามารถดาวน์โหลดหลักสูตรไปปรับใช้กับระบบการเรียนการสอน (Learning Management Systems; LMS) ของตนเองได้อีกด้วย คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า “ข้อมูลจาก สำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ระบุว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเติบโตด้วยอัตราระดับสองหลักในปี 25661 แต่ไม่ว่าเศรษฐกิจจะไปในทิศทางใด ไมโครซอฟท์ก็มีความตั้งใจที่จะเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนของประเทศไทยมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นในด้านเทคโนโลยี จากศักยภาพของนวัตกรรมระดับโลกที่มั่นใจได้ในความปลอดภัย ด้านความร่วมมือ กับเครือข่ายพันธมิตรในหลากหลายภาคส่วนที่ขับเคลื่อน Digital Transformation ไปด้วยกัน และในด้านบุคลากร กับเป้าหมายในการเสริมทักษะให้คนไทย 10 ล้านคน การประกาศหลักสูตรเพิ่มเติมจาก LinkedIn ในโอกาสนี้ เป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของเราอีกครั้ง ภายใต้เป้าหมายที่จะผลักดันให้คนไทย ธุรกิจไทย และเศรษฐกิจไทย ก้าวต่อไปอย่างมั่นคงสู่ยุคแห่งการสร้างธุรกิจและนวตกรรมในประเทศที่ Born in Thailand อย่างเต็มตัว”

ผู้ที่สนใจเสริมสร้างทักษะเชิงดิจิทัลในประเทศไทย สามารถเรียนรู้จากหลักสูตรออนไลน์ของโครงการ รวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ของพันธมิตรทั้งหมด ซึ่งให้บริการแก่ผู้เรียนภายในโครงการทั้งหมด รวมถึงบุคคลทั่วไป โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาตลอดหลักสูตรจะได้รับใบรับรองประกาศนียบัตรอีกด้วย ทั้งนี้ แพลตฟอร์มออนไลน์ของพันธมิตร ประกอบด้วย · สถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล กระทรวงแรงงาน: ฝึกทักษะออนไลน์หมวดโปรแกรมคอมพิวเตอร์และทักษะดิจิทัล · สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน): https://e-training.tpqi.go.th/ · ยูเนสโก: https://lll-olc.net/th/ · สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa): www.digitalskill.org/

ปี 2022 ช่างผ่านไปอย่างรวดเร็ว ได้เวลาที่ LINE ประเทศไทย เปิดอินไซต์พฤติกรรม ความชอบ เทรนด์ฮิตจากผู้ใช้รวมกว่า 53 ล้านคนตลอดปีที่ผ่านมา ผ่านนานาบริการบนแอป LINE ที่ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ของชีวิตดิจิทัลตั้งแต่ตื่นจนเข้านอน พบ มูเตลู – เคป๊อป – ช้อปออนไลน์ – อัปสกิลดิจิทัล ครองความนิยมประชากรออนไลน์ไทย พร้อมอีกหลายอินไซต์ที่น่าจับตาอย่างต่อเนื่องไปถึงปีหน้า

 

1. มูไม่แผ่ว มูทั่วไทย มูได้ทั้งวัน

· เรื่องมูและความเชื่อ ไม่เคยแผ่วไปจากใจคนไทย เช่นเดียวกันกับบนแอป LINE ที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงคอนเทนต์และบริการที่เกี่ยวกับสายมูเตลูได้หลากหลาย จนแทบจะเรียกได้ว่าครบวงจรมู เริ่มจาก LINE ดูดวง ที่ออกมาเผยว่ามีคนตักบาตรออนไลน์มากขึ้นถึง 4 เท่าจากปีทีแล้ว โดยเฉพาะช่วงวันพระ ขณะที่สถานที่ที่คนขอพรกับ LINE ดูดวง มากที่สุด 3 ลำดับคือ หลวงพ่อทันใจ ไอ้ไข่ และท้าวเวสสุวรรณ โดยวันที่คนเข้ามาขอพรออนไลน์ มากที่สุดในปีนี้ คือ วันคเณศจตุรถี เป็นวันเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองบูชาพระพิฆเนศ

· ด้าน LINE TODAY ที่มีแท็บดูดวงโดยเฉพาะ ก็เผยว่าฟีเจอร์ “สีเสื้อมงคล” มีคนเปิดเช็กสีถึง 30,000 ครั้งต่อวัน และเข้ามาเปิดไพ่ทาโร่ถึง 42 ล้านครั้งในปีที่ผ่านมาเลยทีเดียว ไหนจะคนที่เข้ามาตรวจผลลอตเตอรี่ที่พุ่งถึง 10 ล้านครั้งหลังดูไลฟ์ประกาศผลที่แตะยอดวิวถึง 4 ล้านวิวต่องวด

· หรือจะเป็น LINE STICKERS ที่คนหันมาใช้ธีมลายมูเตลู สำหรับความรัก การงาน ความมั่งคั่ง เกินกว่าครึ่งของยอดดาวน์โหลดรวมทั้งหมดเลยทีเดียว

2. เคป๊อป คอนเทนต์เกาหลี – นางงาม พลังแฟนด้อมแรงดีไม่มีตก

· กระแสเคป๊อปเป็นอีกแนวที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง เพราะมีเหล่าพลังแฟนด้อมคอยสนับสนุนอย่างเหนียวแน่น ทำให้บริการต่างๆ ของ LINE จัดเต็มคอนเทนต์เคป๊อปกันตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็น LINE VOOM ที่มีคอนเทนต์เกาหลีจาก OSEN และ Muply หรือจะกิจกรรม VOOM riBBon You with BAMBAM ชวนแฟนคลับของ “แบมแบม” ร่วมสนุก หรือจะเป็นแคมเปญพิเศษจาก LINE STICKERS x LINE MELODY พา #TEAMWANG ไปงานแฟนมีทที่งาน Jackson Wang Magic Man Fanmeet

· ด้าน LINE WEBTOON ก็มีเว็บตูนถึง 15 เรื่องที่ถูกนำไปผลิตเป็นซีรีส์ - ภาพยนตร์ในปีที่ผ่านมา อย่าง เช่น All of us are dead, Love and Leashes, The Golden Spoon, Reborn Rich, Lookism, Connect และ ด้านเว็บตูนไทยก็ไม่น้อยหน้า เพราะถูกนำไปแปลและโด่งดังในต่างประเทศ เช่น Good Morning Professor ในฝรั่งเศสและจีน, วันทองไร้ใจ ในอินโดนีเซีย, เมื่อฉันต้องไปอยู่โรงเรียนชายล้วน ในไต้หวัน, อุนจิเรื่องวุ่นๆ ของพระเอกหมาๆ ในอินโดนีเซีย, 25th Hour และ Pastel Love ที่ประเทศจีน ฯลฯ

· ฟาก ‘นางงาม’ ก็ไม่น้อยหน้า เพราะเป็นประเภทที่ได้เติบโตสูงบน LINE OPENCHAT เช่น อิงฟ้า วราหะ เป็นนางงามที่มีกรุ๊ปโอเพนแชทที่เต็ม 5,000 คนเร็วที่สุดภายใน 5 นาทีที่เปิดกรุ๊ปขึ้นมา

3. ช้อปปิ้งออนไลน์ ช้อปได้โหดขึ้นเรื่อยๆ

· ตั้งแต่ต้นปีจนถึงตอนนี้ LINE SHOPPING พบ “นักช้อปสายเปย์” Top Spender ที่ซื้อของไปแล้วกว่า 5,800 ออเดอร์ เฉลี่ยแล้วเทียบเท่าหนึ่งเดือนช้อปเกือบ 600 ออเดอร์เลย ขณะที่ออเดอร์ที่มูลค่าสูงสุดได้แก่ออเดอร์เครื่องประดับ กว่า 1.8 ล้านบาท ด้าน “นักช้อปสายคุ้ม” ตั้งแต่ต้นปีจนถึงตอนนี้ ได้ LINE POINTS รวมสะสมเกือบ 7 หมื่นพอยท์ เทียบเท่า 7 หมื่นบาท ซื้อของทุกเดือนเหมือนได้เงินคืนเกือบแสนในหนึ่งปีเลยก็ว่าได้

4. คนไทยตื่นตัว อัปสกิลโลกดิจิทัล ธุรกิจ - ชีวิตส่วนตัว กันอย่างครึกครื้น

· LINE for Business ให้ความรู้คนไทย สู่การทำธุรกิจบนโลกออนไลน์มาแล้วเกิน 1 ล้านคนในปี 2022 เรียกได้ว่าเป็น 1 ใน 3 ของ SME ไทยทั้งประเทศ ผ่านกิจกรรมอัปเดตเทรนด์ความรู้มากมายตลอดปี ไม่ว่าจะเป็น Thailand Now & Next, NFT for Business ไปจนถึง SME BOOTCAMP Roadshow ที่บุกกระจายความรู้สู่ต่างจังหวัด 4 ภาคทั่วไทย และรายการ SME Biz Talk ที่ออกอากาศผ่านทั้งช่องทางออนไลน์และโทรทัศน์ เป็นต้น ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้ความรู้คนไทยสู่การทำธุรกิจบนโลกดิจิทัลได้อย่างไร้ข้อจำกัด

· ขณะที่ด้านการเป็นแอปแชทของ LINE ก็พบว่าผู้ใช้มีความพยายามที่จะจัดระเบียบชีวิตและการสื่อสารบนโลกออนไลน์ให้ลงตัวยิ่งขึ้น จากการใช้ฟีเจอร์ไม่ลับ (แต่คนไม่ค่อยรู้) เพิ่มขึ้น อย่าง Chat Folder ที่จะช่วยจัดกลุ่มประเภทแชท ให้ใช้งานง่ายยิ่งขึ้น โดยจะแบ่งทั้งเป็นแบบแชทส่วนตัว แชทกลุ่ม บัญชีทางการ โอเพนแชท ซึ่งบน LINE Desktop ยังสามารถเพิ่มโฟลเดอร์ใหม่ได้ด้วย กับฟีเจอร์ Silent Messaging ไม่ว่าจะส่งข้อความ หรือ ไฟล์ กดค้างที่ปุ่มส่งออกและเลือก "ส่งโดยไม่แจ้งเตือน' ก็สามารถส่งแบบเงียบๆ ได้แล้ว ซึ่งสามารถตั้งค่าเปิดใช้งานได้ที่ LINE Labs ในแท็บตั้งค่า

นอกจากนี้ เก็บตกอินไซต์ที่น่าสนใจอื่นๆ อีกมากมายบนแอป LINE ในรอบปีที่ผ่านมา ได้แก่:

· อาหารอีสานครองแชมป์เมนูยอดฮิตอันดับ 1 บน LINE MAN ไม่ว่าจะเป็น ส้มตำปูปลาร้า, ส้มตำป่า, ส้มตำไทย, ลาบหมู, คอหมูย่าง, น้ำตกหมู และข้าวเหนียว คนไทยนิยมสั่งเดลิเวอรีมากินตลอดวันตั้งแต่เช้าจรดเย็น

· เทรนด์ LINE STICKERS ที่คนใช้เยอะในปีนี้ เป็นแนว ‘มินิมอล’

· เพลงฮิต รางวัล BLACK MELODY ยอดดาวน์โหลดบน LINE MELODY สูงสุด ได้แก่ 1. แค่มีเธอไปเดินเตะคลื่นทะเลด้วยกัน - No One Else 2. ถ้าเธอยังไหว(เพลงจากละคร ใต้หล้า) - บูม สหรัฐ 3. ฮอร์ไมโอน้อง (Hermionong) - TheChanisara 4. ชอบตัวเองตอนอยู่กับเธอ - Billkin 5. วาดไว้ – BOWKYLION

· ผู้เล่นเกม LINE Rangers ต้องทำการช่วยเหลือ Sally เฉลี่ยสัปดาห์ละกว่า 42 ล้านครั้ง เท่ากับ Sally จะต้องตกอยู่ในอันตราย เฉลี่ยวันละ 6 ล้านครั้ง คิดแล้วเหนื่อยแทน Sally จริงๆ

· Rabbit LINE Pay ร่วมกับธนาคารกสิกรไทย ออกบัตรเครดิต LINE POINTS สูงสุด แจกพอยท์ไปแล้วกว่า 650 ล้านพอยท์ตั้งแต่เปิดตัวในเดือน ก.ค. 2564 โดย 98% พอยท์ที่ถูกนำไปใช้เป็นส่วนลดแทนเงินสดผ่าน Rabbit LINE Pay เช่น ชำระบิล หรือซื้อสินค้าที่ LINE SHOPPING

· Envelope ที่คนนิยมส่งมากที่สุดเมื่อมีการโอนเงินบน LINE BK คือ 1. บอกรัก 2. แสดงความยินดี 3. บอกรักพ่อแม่

ครอบคลุมทุกมิติ ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งภาคธุรกิจ พฤติกรรมผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม

พร้อมจับมือพาร์ทเนอร์ไทย ฟิวชั่น โซลูชั่น แชร์เรื่องราว Digital Transformation จาก 2 โจทย์ที่แตกต่าง ภายใต้เป้าหมายในการเร่งนำเทคโนโลยีเข้าช่วยเหลือ เพื่อก้าวข้ามความท้าทายจากสภาวการณ์ปัจจุบัน

Page 2 of 7
X

Right Click

No right click