กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) ภายใต้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ KKP AUTO และบริการการลงทุน EDGE by KKP มอบประสบการณ์สุดพิเศษให้กับลูกค้าที่สนใจนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ผนึกกำลังกับ 2 พันธมิตรสำคัญ ได้แก่ บริษัท เทสลา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทผู้ผลิตรถไฟฟ้าชั้นนำของโลก และ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น (MQDC) หนึ่งในบริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทย จัดกิจกรรม “Nature meets Future” พาลูกค้า EDGE by KKP เยี่ยมชมโครงการ The Forestias by MQDC เมกะโปรเจคที่อยู่อาศัยยักษ์ใหญ่บนพื้นที่สีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมย่านบางนา-ตราด และทดลองขับรถไฟฟ้าเทสลา เมื่อวันที่ 7 – 8 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา

นายธงผา ศรีนาม รองผู้อำนวยการ หัวหน้าทีมพัฒนาการตลาดและความสัมพันธ์คู่ค้ารถยนต์ใหม่ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร กล่าวว่า KKP AUTO เล็งเห็นความสำคัญของเทรนด์ ESG และนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยอ้างอิงจากบทวิเคราะห์ของ KKP Research ที่มองการเติบโตตลาดรถ EV กลุ่ม passenger ในประเทศไทยว่าจะเร่งตัวขึ้นจากเกือบ 0 ถึง 15% ภายในช่วงกลางปี 2568 KKP AUTO ในฐานะผู้ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ จึงได้ร่วมมือกับ เทสลา (ประเทศไทย) และ MQDC ผู้ริเริ่มโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย นำลูกค้าของบริการ EDGE by KKP กว่า 30 ท่าน เยี่ยมชมห้องตัวอย่างภายในโครงการ เดอะ ฟอเรสเทียส์ หรือ ‘อาณาจักรป่ากลางเมือง’ ซึ่งมีพื้นที่โครงการ 398 ไร่ โครงการเมืองที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยได้มีชีวิตที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ตลอดจนได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนมาใช้ในการพัฒนาโครงการ ทั้งนี้ มีไฮไลท์คือการให้ลูกค้าเปิดประสบการณ์การขับขี่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการทดลองขับรถยนต์ไฟฟ้าจากแบรนด์ผู้นำระดับโลกอย่างเทสลา ภายในพื้นที่โครงการด้วย

“เราพบว่ากลุ่มลูกค้าและนักลงทุนของ EDGE by KKP ให้ความสนใจเกี่ยวกับพัฒนาการของนวัตกรรมรถ EV ตลอดจนเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนอื่นๆ ตามเทรนด์ ESG เป็นอย่างมาก กิจกรรม Nature meets Future ในครั้งนี้จึงเป็นการผสมผสานประสบการณ์พิเศษ ให้ลูกค้าได้สัมผัสกับนวัตกรรมยานยนต์ล้ำสมัย และแนวคิดการอยู่อาศัยที่ยั่งยืนในคราวเดียวกัน ตามความมุ่งมั่นของ KKP ที่จะนำเสนอบริการทางการเงินที่ครอบคลุมไร้รอยต่อ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ และใส่ใจสิ่งแวดล้อมให้กับลูกค้า

นายธนัท มนัญญภัทร์ ผู้จัดการฝ่ายขาย เทสลา ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดรถ EV ในไทยถือว่ามีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในปีที่ผ่านมาจากมาตรการภาครัฐที่สนับสนุนผ่านส่วนลดภาษีและเงินอุดหนุน และเติบโตได้เร็วกว่าหลายประเทศในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวการขยายตลาดรถยนต์ EV ของเทสลาเอง ก็มีแผนเปิดตัวโมเดลใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นย้ำเรื่องนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสมรรถนะที่ตอบโจทย์การขับขี่สำหรับคนไทย

นายอัษฎา แก้วเขียว ประธานเจ้าหน้าที่ประสบการณ์ลูกค้า MQDC กล่าวว่า โครงการ The Forestias by MQDC เป็น Theme Project ที่เราเนรมิตผืนป่าขึ้นมาให้ “คน สัตว์ และธรรมชาติ” ได้อยู่ร่วมกัน ผสานกับความงามของสถาปัตยกรรมและเทคโนโลยีล้ำสมัยมาสร้างสรรค์นวัตกรรมแห่งสังคมของคนทุกเจนเนเรชั่นให้มีความสุขและสุขภาพดี

EDGE by KKP เป็นบริการการลงทุนที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้าถึงโลกการลงทุนจาก บล.เกียรตินาคินภัทร เริ่มต้นได้บนแอป KKP MOBILE โดยลูกค้าสามารถสร้างความเติบโตให้กับการลงทุนพร้อมมีผู้ดูแลการลงทุนส่วนตัว ให้คำแนะนำ และวางแผนการเงินได้ผ่านบริการการลงทุนของ EDGE by KKP

APCO ส่งผลงานนวัตกรรม ByeByeHIV 50 รายแรกของโลก กำจัดเซลล์ติดเชื้อ HIV ไร้ผลข้างเคียง สุขภาพดีขึ้นต่อเนื่อง เผยแพร่ในวารสาร Clinical Immunology & Research ตอกย้ำความเชื่อมั่นผู้บริโภค สร้างโอกาสความร่วมมือพันธมิตรใหม่ ตั้งเป้าช่วยเหลือผู้ติดเชื้อทั่วโลก

ศ. ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ APCO เจ้าของธุรกิจนวัตกรรมธรรมชาติเพื่อสุขภาพและความงาม ด้วยการวิจัย พัฒนา ผลิตและจัดจำหน่ายครบวงจร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เปิดเผยว่า นวัตกรรม ByeByeHIV จาก APCO ได้รับการยอมรับและเผยแพร่ในวารสาร Clinical Immunology & Research ซึ่งเป็นวารสารวิชาการแบบออนไลน์ ชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ที่บรรจุเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ทั่วโลกอย่างเป็นกลาง และได้รับการทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (Peer-Review) จึงสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคทั้งชาวไทยและต่างชาติ และถือเป็นโอกาสที่ดีในการทำธุรกิจของ APCO รวมถึงส่งเสริมให้พันธมิตรทางธุรกิจของบริษัทสามารถสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น

ทั้งนี้ เชื้อ HIV ซึ่งจะกลายเป็นโรค AIDS ระยะลุกลาม เกิดขึ้นตั้งแต่ 40 ปีที่แล้ว จนบัดนี้ ยังไม่มียาใดที่สามารถจัดการโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย อีกทั้งความพยายามในการพัฒนาวัคซีนยังไม่ประสบความสำเร็จ จนถึงปัจจุบัน ByeByeHIV จึงเป็นถือเป็นนวัตกรรมของชาติไทยที่สร้างประวัติศาสตร์ของการจัดการกับเชื้อ HIV/AIDS ของโลก

คณะนักวิจัย Operation BIM ประสบความสำเร็จในการใช้สูตร ByeByeHIV ซึ่งเกิดขึ้นจากสูตรเสริมฤทธิ์ของสารสกัด มังคุด งาดำ ถั่วเหลือง ฝรั่ง และบัวบก จัดการกับปัญหานี้ได้อย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว สามารถทำให้ผู้ที่ติดเชื้อตรวจไม่พบเชื้อ และมีคุณภาพชีวิตเป็นปกติ รวมทั้งสิ้น 24 ราย นานที่สุด 8 ปี แม้ว่าจะหยุดใช้สูตร ByeByeHIV แล้วก็ยังมีสุขภาพดีอย่างต่อเนื่อง โดยตรวจไม่พบเชื้อ นับเป็นความสำเร็จที่ไม่มีนักวิทยาศาสตร์จากประเทศใดทำได้สำเร็จเลย

ขณะเดียวกัน สูตร ByeByeHIV ได้ช่วยให้ผู้ติดเชื้อ HIV/AIDS 26 ราย ซึ่งอยู่ในระหว่างการรักษาด้วยยารักษาเอดส์ แต่ต้องทรมานจากผลข้างเคียงของยา สามารถหยุดการใช้ยาได้และมีคุณภาพชีวิตเหมือนคนปกติ แม้จะหยุดใช้สูตร ByeByeHIV ก็ยังมีสุขภาพที่แข็งแรงและตรวจไม่พบเชื้ออย่างต่อเนื่อง ในจำนวนนี้มีผู้ที่ติดเชื้อจากมารดา รวมทั้งผู้ที่เป็นมะเร็งร่วมที่สมอง ช่องท้อง และไขสันหลัง ซึ่งแพทย์ให้

ความเห็นว่าจะเสียชีวิต ภายใน 3 เดือน แต่ก็สามารถกลับมีคุณภาพชีวิตเป็นปกติต่อเนื่องแล้วเป็นเวลากว่า 8 ปี โดยไม่ต้องใช้เคมีบำบัด และรังสีบำบัดจัดการกับมะเร็งเลย

จากประสบการณ์ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นทั้งเอดส์และมะเร็ง ให้กลับเป็นปกติ ทำให้คณะนักวิจัยฯ สามารถใช้ความรู้นี้ในการพัฒนาสูตรที่จัดการกับมะเร็งทุกๆ ระยะ ตลอดจนอยู่ในระหว่างการพัฒนาสูตรป้องกันมะเร็งที่ใช้ได้อย่างสะดวกในราคาที่เหมาะสม ซึ่งควรจะทำให้ APCO มีผลประกอบการที่เพิ่มมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา

ศ. ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กทม. ในฐานะประธานศูนย์ยุทธศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการสื่อสาร (DeSTIC) พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์จะยกระดับงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการเข้าถึงปัญหาของประชาชนและการสนับสนุนการทำงานของทีมงานในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยขณะนี้จะเพิ่มช่องทาง LINE Official เป็นอีกหนึ่งช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสารกับพี่น้องประชาชน โดยคาดว่าภายในเดือนมีนาคม 2567 นี้จะมีผู้สนใจขอเป็น FRIEND กับ LINE Official Account พรรคประชาธิปัตย์เพิ่มขึ้นมากกว่า 1 หมื่นคน

“LINE Official Account พรรคประชาธิปัตย์ จะเป็น One Stop Services ถือเป็นช่องทางหลักในการติดต่อออนไลน์ระหว่างสมาชิกหรือบุคคลทั่วไปกับพรรคประชาธิปัตย์ นอกจากได้รับข่าวสารและความเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์แล้ว ใครมีอะไรที่อยากแสดงความคิดเห็น อยากขอความช่วยเหลือ แจ้งปัญหา หรือเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ก็สามารถติดต่อผ่านช่องทาง LINE ได้เลย” ศ. ดร.สุชัชวีร์ กล่าว

ศ. ดร.สุชัชวีร์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ต้องการยกระดับการสื่อสารให้เข้าถึงประชาชน โดยใช้เทคโนโลยีที่ประชาชนคุ้นเคย พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมกับเครือข่ายต่าง ๆ ทั่วประเทศ จึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชน หรือเครือข่ายภาคประชาชน และแฟนคลับประชาธิปัตย์ ขอเป็น FRIEND อีกครั้งกับ LINE Official Account พรรคประชาธิปัตย์ เพื่อมาร่วมกิจกรรมและเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับประเทศไทย

นอกจากนี้ศูนย์ DeSTIC กำลังอยู่ระหว่างการเตรียมพัฒนาแอปพลิเคชั่นของพรรคเพื่อให้สมาชิกพรรคสามารถติดต่อสื่อสารกับพรรคได้มากขึ้นและรวดเร็วขึ้น รวมไปถึงการปรับปรุงเว็บไซต์ โดยจะมีการเพิ่มเนื้อหาข้อมูลประวัติศาสตร์ของพรรค รวมไปถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น ความรู้ด้านกฎหมาย และจะมีระบบการแจ้งเตือนที่จะส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน เช่น ระบบการแจ้งเตือนเรื่องอากาศ หรือฝุ่นพิษ เป็นต้น

ทั้งนี้พี่น้องประชาชนสามารถขอเป็น FRIEND อีกครั้ง กับ LINE Official Account พรรคประชาธิปัตย์ ที่จะเป็นช่องทางหลักในการติดต่อออนไลน์ โดยสามารถติดต่อสอบถามเรื่องต่าง ๆ เช่น การสมัครเป็นสมาชิกพรรค เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้รับข่าวสารและความเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์ ในการทำงานด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่องในอนาคต เพิ่มเป็นเพื่อนได้ที่ LINE OA ID: @democratpartyth

กรุงเทพฯ/ 15 ธันวาคม 2566 – นักเทคโนโลยีไทยโชว์ผลงานนวัตกรรมสุดสร้างสรรค์ “งานวิจัยนวัตกรรมการรักษามะเร็ง” คว้ารางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น 2566 และ “งานวิจัยเทคโนโลยีฐานในการสังเคราะห์ยา” และ “งานวิจัยวัสดุดูดซับโลหะหนักในผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม” คว้ารางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี 2566 ในงาน Outstanding Technologist Awards and TechInno Forum 2023 ที่จัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งนอกจากการแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลต่าง ๆ แล้ว ยังมีส่วนของงานสัมมนา TechInno Forum 2023 ภายใต้หัวข้อ “Healthy Living” ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญมากมายหลายด้านมาร่วมแบ่งปันเทรนด์และองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดงาน Outstanding Technologist Awards and TechInno Forum 2023 ในหัวข้อ “Healthy Living” เพื่อเป็นแพลตฟอร์มแบ่งปันความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญและนักเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จในระดับโลก รวมทั้งเชิดชูเกียรตินักเทคโนโลยีที่มีส่วนสำคัญในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศไทย ซึ่งผ่านเข้ารอบสุดท้ายของรางวัลพระราชทานนักเทคโนโลยีดีเด่นและรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ประจำปี 2566 โดยงานครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนการจัดงานจากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และเอสซีจี

 

ดร. ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรม บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และประธานกลุ่มบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) กล่าวว่า “การจัดงานในปีนี้มุ่งเน้นต่อยอดงานวิจัยและพัฒนาไปสู่การใช้งานจริง เราจึงจัด TechInno Mart ให้นักวิจัยจากไทยและต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ รวมถึงนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ได้มาจัดแสดงผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี และสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ เพื่อนำองค์ความรู้และผลงานวิจัยเหล่านี้ไปต่อยอดพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป”

มอบรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ได้ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิธีมอบรางวัลและร่วมแสดงความยินดีแก่ผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายและผู้ชนะรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น และนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2566 โดยมีผู้ที่ได้รับรางวัลต่าง ๆ ดังนี้

รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2566 จำนวน 1 รางวัล ได้แก่

1. ศาสตราจารย์ นพ. สุรเดช หงส์อิง, รองศาสตราจารย์ นพ. อุษณรัสมิ์ อนุรัฐพันธ์ และคณะ จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงาน: การค้นพบและวิจัยการพัฒนานวัตกรรมการรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดที่ผ่านการแปลงพันธุกรรมตัวรับแอนติเจนจำเพาะ chimeric antigen receptors T-cell (CAR-T) ด้วยเทคโนโลยีเซลล์และยีนบำบัด

 

รางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2566 จำนวน 2 รางวัล ได้แก่

1. ดร. ภก. นิติพล ศรีมงคลพิทักษ์ สังกัดศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ผลงาน: การวิจัยเทคโนโลยีฐานในการสังเคราะห์ยา

2. ผศ. ดร. กนกวรรณ กองพัฒน์พาณิชย์ สังกัดสำนักวิชาวิทยาการโมเลกุล สถาบันวิทยสิริเมธี ผลงาน: วิจัยโครงข่ายโลหะอินทรีย์เพื่อใช้เป็นวัสดุดูดซับโลหะหนักในผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

โดยนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่จะเข้ารับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 49 ในวันอังคารที่ 23 มกราคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา

 

ในโอกาสนี้ รศ.ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน ประธานมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มอบช่อดอกไม้ พร้อมกล่าวแสดงความยินดีแก่ทุกท่านที่ได้รับรางวัลว่า “ในนามของมูลนิธิฯ ผมขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลทุกท่าน และขอขอบคุณที่ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจทำงานอย่างต่อเนื่องจนประสบผลสำเร็จ ผลงานของทุกท่านจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับนักวิทยาศาสตร์และนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาในวงการนี้ต่อไป รางวัลนี้ไม่เพียงเชิดชูเทคโนโลยีไทยที่ประสบความสำเร็จ และยังช่วยผลักดันความสามารถทางวิชาการของเยาวชนรุ่นใหม่ของไทยให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึง TMA ที่ให้การสนับสนุน สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงนักวิจัยและธุรกิจ ให้สามารถนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเหล่านี้ไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป”

ภายในงานยังเปิดโอกาสให้นักวิจัยที่ประสบความสำเร็จจากทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มานำเสนอผลงานและนวัตกรรมต่างๆ เพื่อต่อยอดการค้นพบ จับคู่ธุรกิจและพัฒนาเพื่อประโยชน์ของคนในวงกว้างอีกด้วย อาทิ Breathology เครื่องเป่าวัดระดับน้ำตาลในเลือด, Biomede สตาร์ทอัพจากฝรั่งเศส ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการทำให้ดินที่ใช้ในการ

เพาะปลูกพืชที่ปนเปื้อนสารโลหะหนัก กลับมาสะอาดและมีคุณภาพดี, BlueTree เป็นบริษัทระดับโลกที่ทำการผลิตน้ำตาลทดแทนรสชาติเยี่ยม เพื่อลดการใช้น้ำตาลจากธรรมชาติในเครื่องดื่ม, Genfosis ให้บริการ Preventive Healthcare Solution โดยทดสอบวิเคราะห์จาก DNA เพื่อทราบถึงความเสี่ยง โอกาสในการเกิดโรค และแนวทางในการทำ Preventive Healthcare ไม่ให้เกิดโรค เป็นต้น

Inspiring the Future of Healthy Living

ในส่วนของงานสัมมนา TechInno Forum 2023 ภายใต้หัวข้อ “Healthy Living” เริ่มต้นด้วยการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “เมกะเทรนด์” โดยคุณอนุชา มาจำปา Country Head ประจำประเทศไทย บริษัท ฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน (ไทยแลนด์) จำกัด ที่กล่าวถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเราที่เปลี่ยนแปลงไปหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 รวมไปถึงภาวะวิกฤตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Permacrisis) ทำให้เกิดผลกระทบ 4 ประการ คือ 1) คนคิดมากขึ้นเมื่อจะใช้จ่ายเงินแต่ละครั้ง 2) ให้ความสำคัญกับสินค้าที่ใส่ใจเรื่องความยั่งยืน 3) ให้การสนับสนุนธุรกิจท้องถิ่นมากขึ้น และ 4) ให้ความสำคัญกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีมากขึ้น ทำให้เกิดเมกะเทรนด์ ดังต่อไปนี้ เมกะเทรนด์ที่ 1 Traditional to Future Family พบว่าขนาดของครอบครัวลดลง เมกะเทรนด์ที่ 2 Pensioner Boom พบว่ามีแนวโน้มสัดส่วนผู้เกษียณอายุมากยิ่งขึ้น เมกะเทรนด์ที่ 3 Sustainable Living พบว่าคนพยายามสรรหาแนวทางในการลดผลกระทบเพื่อรักษาสภาพแวดล้อม เมกะเทรนด์ที่ 4 Preventative Health Models คือปรับก่อนป่วย การกินอาหารที่ดี ออกกำลังกาย อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เมกะเทรนด์ที่ 5 Personalized Nutrition มีการตรวจว่าขาดสารอาหารอะไร มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอะไร เพื่อจัดเตรียมยาสำหรับแต่ละคนโดยเฉพาะ และเมกะเทรนด์ที่ 6 Mental Health เรื่องของสุขภาพจิตมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ

 

ทางด้านคุณอริยะ พนมยงค์ Co-CEO บริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน) และ CEO & Founder บริษัท ทรานส์ฟอร์เมชั่นนอล จำกัด ได้บรรยายถึงการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดี และเน้นย้ำว่าไลฟ์สไตล์เป็นสิ่งสำคัญ และกล่าวอธิบายถึงเทคโนโลยีด้านสุขภาพว่า ความท้าทายในเรื่องนวัตกรรมและการทรานส์ฟอร์เมชั่น จำเป็นต้องให้ความสำคัญใน 3 เรื่อง คือ 1) Users First, Not you first ให้ความสำคัญกับผู้ใช้งานเป็นลำดับแรก 2) Being a Platform ต้องเป็นแพลตฟอร์ม Universal เหมือน Google, Line, Facebook ไม่ยึดติดกับชื่อของโรงพยาบาล 3) Fixing the Obvious ต้องแก้ไขสิ่งที่จำเป็นและเห็นได้ชัดว่าเป็นปัญหา

ในการบรรยายหัวข้อ Food for Life: Innovation for Health and Environment ดร. อัลลัน ลิม (Dr. Allan Lim) Head of Open Innovation บริษัท ศูนย์วิจัยและพัฒนา เนสท์เล่ จำกัด สิงคโปร์ ได้กล่าวถึงความท้าทายสำคัญที่เกิดขึ้นด้านอาหารคือ จะทำอย่างไรให้มีอาหารเพียงพอกับการบริโภคของประชากร 10 พันล้านคนทั่วโลก ในปี ค.ศ. 2050 โดยเนสท์เล่พยายามสร้าง Sustainable foods ให้เกิดขึ้นตาม Net Zero Roadmap ของเนสท์เล่ ที่ครอบคุลมตั้งแต่ต้นน้ำ (Sourcing) ไปจนถึงกลางน้ำ การผลิตและบรรจุ (Manufacturing และ Packaging) ถึงขั้นสุดท้ายคือผู้บริโภค

ทั้งนี้ การวิจัยพัฒนา (R&D) ของเนสท์เล่ ให้ความสำคัญใน 5 แพลตฟอร์มหลัก ได้แก่ 1) แนวโน้มอาหารใหม่ (New Food Trends) 2) อาหารว่างเพื่อสุขภาพ (Healthy Snacking) 3) การมีชีวิตยืนยาวอย่างมีสุขภาพดี (Healthy Aging) 4) สารอาหารที่สามารถจ่ายได้ (Affordable Nutrition) และ 5) บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน (Sustainable Packaging) โดยการสำรวจผู้บริโภคของเนสท์เล่ เน้นการค้นพบ เช่น การทำ Social Listening เพื่อการ Track Sentiment และ Perception ของผู้บริโภคต่อ Ingredients รวมถึงมีการทำ Open Innovation ทำ R&D Accelerator ที่สามารถเร่งกระบวนการวิจัยและการผลิตภายใน 6 เดือน โดยเชื่อว่า “Test and Learn” คือแนวทางที่ควรปฏิบัติ รวมถึงร่วมมือกับบริษัทในท้องถิ่น เพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับเส้นทางแห่งนวัตกรรมนี้ร่วมกันได้

นอกจากนี้ ในงานยังได้มีการนำเสนอเรื่อง TechInno for Healthy Living โดยคุณวชิระชัย คูนำวัฒนา Head of Smart System Solution Business บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ซึ่งได้กล่าวถึงเรื่องมาตรฐานอากาศ ที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการใช้ชีวิตของคนไทย ทำให้เอสซีจีได้พัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ด้านคุณภาพอากาศออกมาช่วยลดปัญหา เช่น เทคโนโลยี Air Filter ซึ่งเป็นอุปกรณ์กรองอากาศคุณภาพสูงที่ใช้ในอาคาร, ระบบไอออนกำจัด

เชื้อโรค (Ion Technology) ที่มีขึ้นมาในช่วงโควิด 19, เทคโนโลยีการหมุนเวียนอากาศ กรองฝุ่น PM 2.5 ลดกลิ่น และป้องกันเชื้อโรค เป็นต้น

ในส่วนของดร. สืบสกุล โทนแจ้ง ผู้จัดการฝ่ายนวัตกรรม บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ได้บรรยายถึงแนวโน้มเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลด้านเฮลธ์แคร์ว่า ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อแนวโน้มเทคโนโลยีด้านเฮลธ์แคร์ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น โลกาภิวัตน์ที่เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศาสตร์ ทั้งผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นและการอพยพข้ามถิ่นฐาน การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และมลพิษและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้อุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์ต้องมีการดำเนินงานที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วย เพิ่มประสิทธิภาพบุคลากร รวมถึงนำเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ มาใช้ทำ Preventive care ให้แก่ผู้คน ไม่ว่าจะเป็นการรักษาทางไกล การเชื่อมต่ออุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ของโรงพยาบาลเข้าด้วยกัน การนำ AI and Machine Learning มาใช้เพื่อประเมินอาการ AR/VR/MR การนำเทคโนโลยีภาพเสมือนมาใช้ในระหว่างการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ทำให้วางแนวทางการรักษาได้รวดเร็วมากขึ้น Blockchain เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลทางการแพทย์ส่วนบุคคล และการทำ Big Data & Predictive Analytics ให้สามารถคาดการณ์อาการของคนไข้ในอนาคตที่จะเกิดขึ้น เพื่อใช้ทำ Preventive cares ได้

ท่ามกลางกระแสรักษ์โลก ที่ทุกภาคส่วนในสังคมกำลังมุ่งมั่นเดินหน้าไปสู่การสร้าง “สังคมคาร์บอนต่ำ” มีหลายธุรกิจชั้นนำระดับโลกที่พัฒนานวัตกรรมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้นจริงแล้ว และนำมาแบ่งปันแนวคิด สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนมาร่วมก้าวไปพร้อมกัน ในงาน ESG Symposium 2023: ร่วม เร่ง เปลี่ยนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ 

ขนส่งและเดินทางด้วย “รถประหยัดพลังงาน (Green Logistic)”

ปัจจุบัน เราอยู่ในยุคของความเป็นกลางทางคาร์บอน และมีความต้องการที่ต้องเปลี่ยนยานยนต์ทุกคันเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ BEV และพลังงานสะอาด ซึ่งในประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องตามนโยบายของภาครัฐ

มร.ฮิโรกิ นาคาจิม่า กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท Commercial Japan Partnership Technologies Corporation (CJPT) และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า การบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนไม่ใช่สิ่งที่บริษัทเดียวจะทำได้โดยลำพัง จึงได้มีการริเริ่มความร่วมมือกับระหว่างบริษัทรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศญี่ปุ่นและได้ก่อตั้งบริษัทภายใต้ชื่อ “Commercial Japan Partnership Technologies Corporation หรือ CJPT” เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้รถที่มีเทคโนโลยีหลากหลาย รวมถึงรถจากพลังงานสะอาด และรถที่มีคาร์บอนต่ำ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและเพิ่มประสิทธิภาพในภาคการขนส่ง โดยได้ขยายความร่วมมือดังกล่าวมายังประเทศไทย ซึ่งเป็นฐานการผลิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และระดับโลก “Detroit of Asia” สำหรับรถยนต์เชิงพาณิชย์

 

นอกจากนี้ มร.นาคาจิม่ายังได้เปิดเผยถึงความร่วมมือที่บริษัท CJPT มีความร่วมมือกับกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) และเอสซีจี เพื่อผลักดันให้ไทยบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ด้วยการพัฒนานวัตกรรมรักษ์โลก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านพลังงาน ทั้งการผลิตพลังงานไฮโดรเจนจากชีวมวล และอาหารเหลือทิ้ง รวมถึงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำ ด้านการใช้ข้อมูล (Big Data) และโครงสร้างพื้นฐานด้านการโทรคมนาคม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ และด้านการเดินทาง โดยการนำเสนอยานยนต์ไฟฟ้าที่หลากหลาย ได้แก่ รถพลังงานไฟฟ้าแบบไฮบริด (HEVs) รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (BEVs) รถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEVs) รวมถึงยานยนต์ที่ประหยัดน้ำมัน ซึ่งสอดคล้องกับด้านพลังงาน ลูกค้า รวมทั้งรูปแบบที่เหมาะสมในการใช้งาน

โดยในความร่วมมือกับกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) บริษัท CJPT ได้ร่วมมือในการผลิตพลังงานไฮโดรเจนที่มาจากพลังงานไบโอก๊าซ หรือ “ก๊าซชีวภาพ” ซึ่งหมักโดยใช้มูลไก่จากฟาร์มของ CP และนำไปใช้ในภาคขนส่ง ซึ่งเป็นการนำของเสียจากการผลิตภาคการเกษตรมาเพิ่มมูลค่า และใช้ประโยชน์ให้เป็นพลังงานสะอาดสำหรับรถพลังงานเซลล์เชื้อเพลิง (FCEVs) ซึ่งถือเป็นการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดโลกร้อนได้ด้วย

ส่วนกรณีศึกษาในประเทศญี่ปุ่น มร.นาคาจิม่าเล่าว่า

กรณีแรกคือ CJPT ได้ริเริ่มให้มีการใช้ “ไฮโดรเจน” ในเมืองฟุกุชิมะ ในรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) ซึ่งใช้เป็นร้านสะดวกซื้อและการขนส่ง สำหรับประชากรกว่า 300,000 คน โดยสามารถขยายไปสู่เมืองอื่น ๆ ได้ในอนาคต

กรณีที่สองคือ ในกรุงโตเกียว ที่ CJPT ร่วมมือกับบริษัทต่าง ๆ รวมถึงการสนับสนุนจากทางภาครัฐ ในการส่งเสริมการสร้างสถานีชาร์จสำหรับรถ BEV และไฮโดรเจนสำหรับรถ FCEVs เพื่อขยายการใช้รถยนต์พลังงานสะอาด ขณะเดียวกันกระจายการใช้พลังงาน

เร่งเครื่อง “พลังงานสะอาด”

จากการที่ภาคอุตสาหกรรม จำเป็นต้องใช้พลังงานความร้อนในการผลิต แต่ในยุคที่ทั่วโลกเริ่มปรับตัวมาใช้พลังงานสะอาดแทน จอห์น โอดอนเนลล์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท Rondo Energy กล่าวว่า ถึงแม้การเปลี่ยนผ่านนี้ถือเป็น “โจทย์ยาก” แต่สามารถเป็นไปได้

โอดอนเนลล์ อธิบายว่า ไทยเป็นตลาดสำคัญของบริษัทในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานพลังงานใหญ่ระดับโลกเพื่อนำไปสู่พลังงานสะอาด ซึ่งบริษัทกำลังทำงานกับเอสซีจีเพื่อผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมในไทยใช้พลังงานสะอาดและต้นทุนต่ำ ที่สำคัญ “เมื่อรักษ์โลกแล้ว ต้องทำเงินได้ด้วย”

“การสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานนั้นแม้เป็นเรื่องยาก แต่ก็เป็นโอกาสเช่นกัน เพราะปัจจัยพื้นฐานในปัจจุบันเปลี่ยนไปแล้ว” โอดอนเนลล์กล่าว “แหล่งพลังงานสะอาดทั้งจากแสงแดดและลมขณะนี้ถือว่าต้นทุนต่ำมาก ๆ อยู่ที่ใครจะกล้าลงทุนหรือไม่”

อีกทั้งยังเป็นโอกาสครั้งใหญ่สุดแห่งยุค “ขณะนี้พลังงานสะอาดกำลังขับเคลื่อนการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม และจะเป็นแบบนี้ต่อไปอีกใน 50 ปีข้างหน้า”

โอดอนเนลล์ เปิดเผยด้วยว่า บริษัทได้ร่วมกับเอสซีจีในการผลิตอิฐแบบพิเศษที่เก็บความร้อนได้กว่า 1,500 องศาเซลเซียส เพื่อใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ความร้อนซึ่งสามารถแปลงพลังงานสะอาดจาก “ลม” และ “แสงแดด” ให้เป็นพลังงานความร้อนที่สามารถใช้ได้ในภาคอุตสาหกรรม

ขณะเดียวกัน เนื่องจากไทยมีศักยภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากลมและแสงแดดสูง และต้นทุนพลังงานสะอาดกำลังมีต้นทุนที่ถูกลงเรื่อย ๆ จนขณะนี้มีต้นทุนถูกกว่าพลังงานฟอสซิล ดังนั้น พลังงานเหล่านี้จึงสามารถตอบโจทย์การใช้พลังงานความร้อนในภาคอุตสาหกรรมได้

“นวัตกรรมแบตเตอรี่เก็บความร้อนจากพลังงานสะอาดสำหรับภาคอุตสาหกรรม จึงเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่” โอดอนเนลล์ระบุ

“ไบโอพลาสติก” ลดคาร์บอน

ในขณะนี้ จำนวนประชากรโลกเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ความต้องการใช้ทรัพยากรโลกยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในฐานะผู้นำด้านพลาสติกชีวภาพระดับโลกจากบราซิล บริษัท Braskem จึงได้ริเริ่มนำประโยชน์ที่ได้จากการผลิตเอทานอลจากอ้อย มาผลิตเป็น “ไบโอพลาสติก” ที่ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงแบบดั้งเดิม เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ

โรเจอร์ มาร์คิโอนี ผู้อำนวยการเอเชีย ฝ่ายโอเลฟินส์และโพลีโอเลฟินส์ บริษัท Braskem กล่าวว่า ปัจจุบัน บริษัทสามารถผลิตไบโอพลาสติกจากอ้อยซึ่งสามารถช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมาก สอดรับกับความต้องการพลาสติกชีวภาพในตลาด

ล่าสุด จัดตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่กับ บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC ตั้งเป้าผลิตเอทิลีนชีวภาพ (Green-Ethylene) จากเอทานอลที่ใช้ผลิตผลจากภาคเกษตร แทนเอทิลีนจากฟอสซิล ซึ่งมีกำลังการผลิต 2 แสนตันต่อปี ภายใต้แบรนด์ I’m green™ (แอมกรีน) และยังสามารถนำไปผลิตสินค้าได้หลากหลายประเภท ตั้งแต่บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องใช้ส่วนบุคคลและอุปกรณ์ดูแลบ้าน ของเล่น เครื่องใช้ในบ้าน ถุงพลาสติก เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลแบบ Mechanical recycling และ Advanced recycling เช่นเดียวกับพอลิเอทิลีนทั่วไป จึงช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และลดภาวะโลกร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการผสมผสานความเชี่ยวชาญ ด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับพลาสติกชีวภาพของ Braskem เข้ากับความเชี่ยวชาญของ SCGC ในด้านการผลิตพอลิเอทิลีน รวมทั้งศักยภาพของ SCGC ที่เป็นผู้นำตลาดเคมีภัณฑ์ในระดับภูมิภาคโดยโรงงานของบริษัทร่วมทุนดังกล่าวจะตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ประเทศไทย และถือเป็นโรงงานผลิต I’m green™ แห่งแรกนอกประเทศบราซิล

จากกรณีตัวอย่างนวัตกรรมคาร์บอนต่ำจากหลากหลายธุรกิจทั่วโลกข้างต้น จะเห็นได้ว่า ขณะนี้ โลกกำลังมุ่งไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และสามารถเกิดขึ้นจริงได้หากทุกคนร่วมมือกัน ซึ่งนอกจากจะช่วยลดผลกระทบต่อโลกยังเป็นอีกหนึ่ง “ทางรอด” ท่ามกลางภาวะโลกเดือดในปัจจุบันด้วย

Page 1 of 5
X

Right Click

No right click