สจล. หนุนแสดงศักยภาพงานวิจัย และนวัตกรรมของไทย สู่เวทีระดับโลก ผ่านมหกรรมการแสดง สุดยอดนวัตกรรม เปิดโลกเรียนรู้นวัตกรรมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน “KMITL INNOVATION EXPO 2024 SustainED Innovation” ตอกย้ำแนวคิดของการเป็นสถาบันการศึกษาที่การมุ่งพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสร้างสรรค์งานวิจัย และนวัตกรรมสู่สังคมโลก เชื่อมั่นศักยภาพผลงานวิจัย นวัตกรรมจากอาจารย์ นักศึกษา นักวิจัยไทย มีคุณค่าครบทุกมิติประยุกต์พัฒนาในเชิงอุตสาหกรรม สร้างประโยชน์แก่เศรษฐกิจ และสังคมยุคโลกาภิวัตน์ได้จริง

“งานวิจัย นวัตกรรม ของไทย ดี ๆ มีคุณภาพ มีเยอะมาก แต่ส่วนใหญ่ถูกเก็บ ไม่ได้นำมาใช้สร้างประโยชน์อย่างที่ควรจะเป็น” ซึ่งนี่ถือเป็นโจทย์ใหญ่ของ สจล. ที่ตอนนี้ทุกฝ่ายพยายามร่วมมือกัน ผลิต ผลักดัน เปลี่ยนจากงานวิจัย “ขึ้นหิ้ง” มาเป็น “ขึ้นห้าง” ผศ. ดร.รัชนี กุลยานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวถึงเป้าหมายสำคัญในการพัฒนางานวิจัยนวัตกรรมของเหล่าคณะอาจารย์ และนักศึกษา ที่วันนี้แม้จะอยู่ต่างคณะ ต่างบทบาท แต่ทาง สจล. ส่วนกลางก็พร้อมประสานให้เกิดความร่วมมือด้วยกัน เพื่อให้งานวิจัย นวัตกรรม ที่พัฒนาขึ้นมาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ๆ ช่วยแก้ปัญหาคนในสังคม หรือ ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจที่มองว่าสามารถนำมาต่อยอดได้ คุ้มกับการลงทุนจริง

ทั้งนี้ “ผศ. ดร.รัชนี” ฉายภาพให้เห็นถึงกระบวนการพัฒนางานวิจัยนวัตกรรมสมัยใหม่ที่ต้องร่วมกันหลายฝ่าย เพื่อให้ตอบโจทย์ธุรกิจจริง ๆ อาทิ ในโครงการ From Farm to Table ซึ่งทุกวันนี้คนอยากทานอาหารที่ปลอดสารพิษ งานวิจัยส่วนใหญ่ก็จะไปที่เกษตรอินทรีย์ แต่ในความเป็นจริงคนเราไม่ได้ต้องการแค่อาหารที่ดี แต่ต้องการน่ากินและอร่อยมีประโยชน์ด้วย เช่น คนสูงอายุอยากทานอาหารแต่มีปัญหาเรื่องของระบบฟัน การย่อย ดังนั้นนักวิจัยนวัตกรรมต้องมองว่าทำอย่างไร จะตอบโจทย์ความต้องการเหล่านี้ให้ได้ ไม่ใช่แค่กรอบของอาหารปลอดสารพิษ ไม่ใช่แค่การทำงานของภาคเกษตรอินทรีย์เท่านั้น แต่อาจต้องร่วมมือกับภาคคณะอื่น ๆ เพื่อพัฒนาขึ้นไปอีกขั้น หรือ อย่างทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ผลิตเครื่องมือนวัตกรรมขึ้นมา มีคุณภาพจริงแต่ภาพลักษณ์ภายนอกดูไม่น่าใช้แบบนี้ ก็อาจจะต้องมาร่วมมือกับทางคณะสถาปัตย์ร่วมกันพัฒนาออกแบบภายนอกตัวเครื่องให้ดูสวยงามทันสมัยน่าใช้ แบบนี้ถึงจะตอบโจทย์ธุรกิจ หรือแม้กระทั่ง Soft Power โดยเฉพาะเรื่องของอาหาร ที่ทางภาครัฐกำลังพูดถึงกันมาก ก็ต้องอาศัยความร่วมมือหลายฝ่ายทั้งองค์ความรู้จากภาคเกษตรอินทรีย์ ภาควิศวกรรมอาหาร มาร่วมกันพัฒนาสร้างนวัตกรรมที่จะทำให้เกิด Soft Power ที่ยั่งยืนได้จริงจนแข็งขันกับนานาชาติ และเป็นจุดขายของประเทศได้ เหล่านี้เป็นต้น

งานวิจัยนวัตกรรมที่ดี ที่สามารถนำมาใช้ได้จริง ไม่ได้เกิดขึ้นจากความรู้ของภาควิชาใดวิชาหนึ่ง แต่เกิดจากความร่วมมือกัน และที่สำคัญคือ การร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจ และ ภาคการศึกษาที่เชี่ยวชาญด้านงานวิจัย นวัตกรรม ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา และค้นหาวิธีการนำเทคโนโลยีมาช่วยสร้างสรรค์สิ่งใหม่ช่วยให้การดำเนินชีวิต การทำธุรกิจ สังคมโดยรวมดีขึ้น”

เปลี่ยนงานวิจัยนวัตกรรมไทย ให้เป็นที่ต้องการของตลาดโลก

“จุดแข็งของ สจล. ที่ทำให้ได้รับการยอมรับในวงการนวัตกรรม และธุรกิจอุตสาหกรรมต่าง ๆ “ผศ. ดร.รัชนี” เชื่อว่ามาจากการที่ นักศึกษาจากสถาบันแห่งนี้รู้งานเพราะลงมือปฏิบัติจริง ในขณะเดียวกันคณะอาจารย์ที่ร่วมทำงานกับทางภาคอุตสาหกรรมในแขนงต่าง ๆ ทำให้เข้าใจความต้องการของตลาด ภาคธุรกิจ คณาจารย์ของสถาบันแห่งนี้จึงไม่ใช่รู้แค่ในเชิงของทฤษฎี แต่รู้ว่าตลาดต้องการอะไร สามารถนำมาถ่ายทอดให้นักศึกษาได้อย่างถ่องแท้ ร่วมถึงพัฒนาทำงานวิจัยนวัตกรรมที่ช่วยภาคธุรกิจได้มากกว่าแค่ดีแต่นำมาใช้ไม่ได้ต้องอยู่บนหิ้งเหมือนที่ผ่านมาๆ แต่วันนี้งานวิจัยนวัตกรรมเหล่านี้สามารถนำมาสารตั้งต้น พัฒนาก่อประโยชน์ให้แก่ภาคธุรกิจได้

ผลลัพธ์จากการตั้งเป้าหมายในการพัฒนางานวิจัย นวัตกรรมให้ตอบโจทย์ของตลาดภาคธุรกิจ ทำให้ช่วงที่ผ่านมาทาง สจล. มีผลงานวิจัย นวัตกรรมที่ได้รับการยอมรับในวงกว้างมากมาย ล่าสุดเตรียมนำ ยกทัพนวัตกรรม และผลงานวิจัยนับ 1,000 ชิ้นงาน จากอาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และหน่วยงานชั้นนำ โชว์ศักยภาพสู่สายตานักพัฒนา นักธุรกิจชั้นนำในไทยและระดับโลก ในงาน "KMITL INNOVATION EXPO 2024 SustainED Innovation" ที่กำลังจะจัดขึ้นในวันที่ 1-3 มีนาคม นี้ ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ภาพกิจกรรม KMITL Innovation Expo 2023

“KMITL INNOVATION EXPO 2024” ที่กำลังจะเกิดขึ้นนับเป็นครั้งที่สอง ที่ทาง สจล. จัดขึ้น โดยคอนเซ็ปต์ของงานนี้ไม่เพียงโชว์งานวิจัย นวัตกรรม ต่างๆ แต่ทางสถาบันฯ หวังว่าผลงานเหล่านี้จะสร้างอิมแพคให้กับประเทศในหลายมิติ ตั้งแต่เป็นจุดเริ่มต้นของการให้เด็กไทยสนใจเห็นถึงความสำคัญของการนวัตกรรม ได้เข้ามาเปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ ทางด้านนวัตกรรม ไปจนถึงกระตุ้นให้ภาครัฐหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนางานวิจัยนวัตกรรม และนำสิ่งเหล่านี้ไปร่วมพัฒนาประเทศ รวมถึงภาคธุรกิจไทยมองเห็นโอกาสของการนำผลงานวิจัยนวัตกรรมเหล่านี้ไปใช้ต่อยอดสร้างโอกาสความได้เปรียบในเชิงธุรกิจ ไปจนถึงแสดงให้ต่างชาติได้เห็นศักยภาพของนักศึกษานักวิจัยไทย ที่มีองค์ความรู้ไม่เป็นรองประเทศใด และให้ความสนใจในการดึงบุคลากรเหล่านี้ไปร่วมทำงานในระดับโลกต่อไปในอนาคต”

ตลอด 3 วันที่จัดงาน “ผศ. ดร.รัชนี” เผยว่าผู้เข้าร่วมงานจะได้สัมผัสกับงานวิจัยที่ไม่ใช่แค่ข้อมูลในกระดาษ แต่เป็นงานนวัตกรรมที่มีการทำโมเดลออกมาเป็นรูปเป็นร่างเพื่อให้ทุกคนได้เห็น สัมผัส เรียนรู้กันอย่างกันอย่างใกล้ชิด โดยมีธีมนวัตกรรมใหญ่ๆ อย่าง นวัตกรรมเกษตรในอนาคต (Future Farming), นวัตกรรมพลังงานสมัยใหม่และสิ่งแวดล้อม (New energy and environment), นวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ (Smart City), นวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 (industry 4.0), นวัตกรรมการสร้างซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power หรือ Creative Economy), นวัตกรรมทางการสุขภาพ (Health and Wellness) และยังมีประเด็นงานวิจัยนวัตกรรมปลีกย่อยอีกมากมาย

ภาพกิจกรรม KMITL Innovation Expo 2023

“KMITL INNOVATION EXPO 2024” จะเป็นการพลิกโฉมการนำเสนองานวิจัย นวัตกรรม ครั้งสำคัญอีกเวทีหนึ่งของประเทศไทย เพราะทุกงานวิจัย นวัตกรรม สามารถดึงมาใช้ในการต่อยอด และตอบโจทย์ตรงกับความต้องการของผู้คนจริง ๆ ไม่ใช่แค่แนวทาง แต่ปฏิบัติจริงได้ “ผศ. ดร.รัชนี” ย้ำพร้อมยกตัวอย่าง

เรื่องของ Future Farming, Smart Farming ที่ส่วนใหญ่ก็จะโฟกัสไปที่การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงต้องลงทุนมาก ๆ แบบนี้โอกาสที่เกษตรกรไทยจะทำได้มีน้อยมาก สิ่งที่ทางนักศึกษา คณะอาจารย์ นักวิจัย สจล. ทำคือร่วมกับพันธมิตร หน่วยงานอื่น ๆ รวมถึงภาคธุรกิจ ชุมชนที่เกี่ยวข้อง มองแนวทางของการพัฒนาใหม่ โดยหันไปให้ความสำคัญที่วัตถุประสงค์ของการทำสมาร์ทฟาร์มของคนแต่ละกลุ่มแตกต่างกันออกไป การประยุกต์ใช้นวัตกรรมพัฒนาก็ต่างกันออกไป ถ้าเป็นนักธุรกิจที่ทำส่งออกผลผลิตไปนอก ก็ต้องลงทุนแบบหนึ่ง แต่ถ้าเป็นกลุ่มชุมชนเกษตรกรไทย ก็ต้องโฟกัสการพัฒนาไปอีกแบบ โดยนำปัญหาที่คนแต่ละกลุ่มเจอแล้วมาคิดพัฒนาสร้างสิ่งใหม่ ๆ เช่น ที่ผ่านมาชาวเกษตรกรบอกผลผลิตขายไม่ได้ราคา ยอมทิ้งให้เน่าเสียไปดีกว่า ขายไม่คุ้ม แบบนี้ ทาง สจล. ก็พยายามวิจัยนวัตกรรม โดยมีโจทย์ว่า สามารถนำสินค้าการเกษตรเหล่านี้มาแปรรูป เพิ่มมูลค่าได้อย่างไร ทำให้ขายคนไทยประเทศ และส่งออกไปได้ด้วย หรือ มองไปไกลกว่านั้นอีกว่า จะทำอย่างไรให้สินค้าการเกษตรเหล่านี้ กลายเป็น Soft Power ที่สร้างรายได้ สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย

คือ วันนี้การทำงานวิจัย นวัตกรรม ให้เปลี่ยนจาก ขึ้นหิ้ง มาเป็น ขึ้นห้าง ต้องคิด วางแผนตั้งแต่ต้นน้ำ ปลายน้ำ ไม่ใช่แค่แก้ปัญหา แต่ต้องเพิ่มมูลค่า ไปจนถึงช่วยให้การทำตลาดต่าง ๆ ในเชิงธุรกิจง่ายขึ้น ซึ่งผลงานวิจัย นวัตกรรมเหล่านี้ก็จะนำเสนอภายในงาน KMITL INNOVATION EXPO ครั้งนี้ด้วย ดังนั้นงานวิจัย นวัตกรรม ในแต่ละธีมก็จะมีความหลากหลายให้ผู้เข้าร่วมงานได้สัมผัสเรียนรู้มากมาย

ภาพกิจกรรม KMITL Innovation Expo 2023

นอกจากแสดงผลงานวิจัยนวัตกรรมแล้ว ในแต่ละธีมก็จะหยิบยกประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาร่วมหาทางพัฒนาไทยในอนาคตด้วยเช่น พลังงานทดแทน (Renewable energy), สิ่งแวดล้อม (environment) ก็เป็นประเด็นใหญ่ที่ทั้งทางภาคธุรกิจ และรัฐบาลต้องสนใจ ยกตัวอย่างเช่น มีการพูดถึงการ ปลูกต้นไม้ขายคาร์บอนเครดิต คือ ทำอย่างไร ทำแล้วขายใคร นวัตกรรมจะเข้าไปช่วยได้อย่างไร ภาครัฐต้องส่งเสริมแบบไหนไปจนถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่างๆ เรื่องราวพวกนี้จะถูกหยิบยกมาคุยกันเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย หรือ อุตสาหกรรม 4.0 (industry 4.0) ที่ในไทยพูดกันมานานแต่ยังไม่เห็นการพัฒนาอย่างครบวงจร ในขณะที่หลายประเทศไป industry 5.0 รวมถึงการสร้างซอฟต์พาวเวอร์ ซึ่งวันนี้ก็จะลงทุนอะไรไป ควรต้องค้นหาตัวตนของประเทศก่อน ต้องพัฒนาสร้างแบรนด์ดิ้งอย่างไร หรือกรณีของ สุขภาพทางไกล (Telehealth/Telemedicine) ก็จะหยิบยกปัญหา ข้อจำกัดในการเข้าถึงการแพทย์ของคนไทย โดยเฉพาะคนต่างจังหวัด และชี้ให้เห็นว่า เทคโนโลยี นวัตกรรม ถ้ารู้จักนำมาใช้อย่างเหมาะสม จะช่วยให้คนไทย คนไทยมีสุขภาพที่ดีที่สุด หรือ การไปหาหมอ เข้ารับคำปรึกษาต่าง ๆ ทำได้สะดวกรวดเร็ว ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ใดของประเทศก็ตาม เหล่านี้เป็นต้น

ภาพกิจกรรม KMITL Innovation Expo 2023

ภายในงานนี้ยังรวมผลงานนวัตกรรมระดับนานาชาติไว้ด้วย โดย “ผศ. ดร.รัชนี” กล่าวว่า หนึ่งในความพิเศษของกิจกรรมครั้งนี้คือ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานต่างประเทศ ที่เป็นพันธมิตรกับ สจล. ได้เตรียมนำงานวิจัยในระดับโลกมาร่วมแสดงที่ สจล. ด้วย ทำให้คนไทยที่มางานนี้จะได้เห็นถึงเรียนรู้นวัตกรรมระดับโลกไปพร้อมกัน

“อย่าง ประเทศเนเธอร์แลนด์ ก็เตรียมนำเทคโนโลยีนวัตกรรม Future Farming มาร่วมด้วย หรือ ประเทศเยอรมนี ก็มาร่วมในประเด็น industry 4.0 และ Renewable energy อย่างการพลังงานไฮโดรเจน หรือทางประเทศออสเตรีย และสหรัฐอเมริกา ก็จะมาโชว์เรื่องของ พลังงานนิวเคลียร์ ส่วนทางประเทศฟินแลนด์ก็มาร่วมด้วยในเรื่องของนวัตกรรม Environment รวมถึงยังมีบริษัทสตาร์ตอัปจำนวนมากทั้งของไทยและต่างประเทศมาร่วมโชว์ผลงานในธีมต่าง ๆ ด้วย”

รวมถึงภายในงานยังมีกิจกรรมมากมาย อาทิ โซนเวิร์กชอปต่าง ๆ ซึ่งเด็ก ๆ นักเรียน นักศึกษาทั้งในและนอกสถาบัน สจล. ที่เข้ามาในงานก็จะได้ลงมือปฏิบัติทดลองด้วยตัวเอง มีการประกวดผลงานทางนวัตกรรมต่าง ๆ เรียกว่าเป็นแรงบันดาลใจให้เด็กไทยสนใจและอยากพัฒนานวัตกรรมให้ดียิ่งขึ้นไป พร้อมมีการจัดโซนเวทีเสวนามากมาย โดยได้รับเกียรติจากสปีกเกอร์ที่เชี่ยวชาญทางด้านวิจัยนวัตกรรมต่าง ๆ จากต่างประเทศ มาพูดคุยถึงอัปเดตแนวคิด การพัฒนาต่าง ๆ ในระดับโลก ซึ่งถือเป็นประโยชน์สำหรับนักวิจัย นวัตกรรมไทย อย่างมากที่จะได้รับทราบข้อมูลเทคโนโลยีระดับโลกก้าวไปไกลแค่ไหน เบื้องลึกของการพัฒนางานวิจัย นวัตกรรมอย่างละเอียด เพื่อนำมาพัฒนาเทคโนโลยีในบ้านเราต่อยอดไปได้อย่างยั่งยืนในอนาคต

ภาพกิจกรรม KMITL Innovation Expo 2023

ไฮไลท์ใหญ่ที่จะเกิดขึ้นภายในงาน KMITL INNOVATION EXPO 2024 SustainED Innovation อีกเรื่องคือ Business Matching คือ การเปิดโอกาสให้เจ้าของธุรกิจ ได้ร่วมมือพูดคุยกับเจ้าของงานวิจัย นวัตกรรมต่างๆ และนำมาซึ่งความร่วมมือในเชิงธุรกิจในอนาคต ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าสำคัญมาก ถึงเวลาแล้วที่ต้องลบแนวคิดเดิมที่ มองว่างานวิจัยนวัตกรรมไทยต้องใช้ในไทยเท่านั้น เพราะต้องยอมรับว่าเทคโนโลยี นวัตกรรมบางอย่างถ้านำมาใช้ในตลาดไทยอาจยังไม่พร้อม แต่ตลาดต่างประเทศพร้อมมาก โดย ผศ. ดร.รัชนี ที่คลุกคลีในวงการนวัตกรรมมานาน เผยว่าที่ผ่านมางานวิจัย นวัตกรรมของไทยจำนวนมากที่เจ้าของธุรกิจในไทยยังไม่กล้าลงทุนซื้อไปพัฒนาทำต่อ แต่ในนักลงทุนจากต่างชาติมาเจอผลงานแล้วสนใจ ตกลงซื้อลิขสิทธิ์ไปต่อยอดกับธุรกิจเขาก็มีไม่น้อย ดังนั้นงานวิจัยนวัตกรรมบางอย่างจะโตได้อาจจะต้องผลักดันไปที่ต่างประเทศก่อน จนได้รับการยอมรับในระดับหนึ่งแล้วค่อยมาพัฒนาต่อในไทย

“ทาง สจล. อยากให้งานนี้เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่คนไทยได้เห็นว่าเทคโนโลยีต่างประเทศไปก้าวไปแค่ไหนกันแล้ว เพราะบางครั้งหากมองแต่ภายในประเทศตัวเอง สิ่งที่นักวิจัยนวัตกรรมไทยมองว่าดีแล้ว แต่ในมุมต่างประเทศอาจเป็นอีกเรื่องไปเลย การรู้เทรนด์ รู้แนวคิดงานวิจัยนวัตกรรมของต่างประเทศ ก็จะช่วยให้คนไทยพัฒนาเท่าทันกับนานาชาติด้วย”

ถึงเวลาดึงศักยภาพงานวิจัยนวัตกรรม พัฒนาธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคมไทย

ทั้งนี้ ผศ. ดร.รัชนี เชื่อว่างานวิจัย นวัตกรรม จะเป็น Key Success Factors ที่ทำให้ประเทศไทยพัฒนาได้อย่างรุดหน้า โดยต้องเริ่มให้ความสำคัญตั้งแต่วันนี้ เพราะทุกอย่างล้วนต้องใช้เวลานาน และอย่าลืมว่าในขณะที่ไทยกำลังพัฒนา ชาติอื่น ๆ ก็พัฒนาไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นถ้าอยากแข่งขัน โตอย่างยั่งยืน ต้องปรับวิธีคิด และลงมือทำอย่างทันที ที่สำคัญภาครัฐต้องส่งเสริมอย่างจริงจัง

“ประเทศเกาหลี ประสบความสำเร็จอย่างมาในเรื่อง Soft Power ซึ่งถ้าย้อนไปดูความสำเร็จของ K-POP, K-Dramas มาจากการวาง Roadmap ของทางภาครัฐบาล ที่ทำมานานนับสิบปี ไม่มีแค่ทำในเชิงนโยบายเท่านั้นแต่กล้าลงทุนไปกับสิ่งนี้ใช้เงินไม่น้อยกว่า 300 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อปี สนับสนุนบริษัทภาคเอกชนที่ทำทางด้านนี้โดยเฉพาะ จนถึงวันนี้ K-POP, K-Dramas กลายเป็น Soft Power ที่ทรงอิทธิพลไปทั่วโลก สร้างเม็ดเงินให้กับเกาหลีใต้อย่างมหาศาล”

“ประเทศเอสโตเนีย มีประชากรเพียงล้านกว่าคน แต่รู้จักนำเทคโนโลยีนวัตกรรมมาใช้ยกระดับคุณภาพประชากรของตนได้อย่างน่าสนใจ ข้อมูลของหน่วยงานรัฐทุกอย่างเชื่อมโยงถึงกัน ประชาชนใช้บัตรประชาชนใบเดียว สามารถเข้าถึงทุกบริการของรัฐได้หมด และรวดเร็ว อย่างในบ้านเราเวลาเสียภาษีประจำปี ต้องมีกรอกข้อมูล ส่งเอกสาร ผ่านการตรวจสอบหลายขั้นตอนใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่ที่ เอสโตเนีย เพียงแค่เสียบบัตรประชาชน ระบบตรวจสอบจัดการให้ทุกอย่าง ใช้เวลาในการทำเรื่องภาษีเพียงแค่ 3 นาทีเท่านั้น ได้รับเงินภาษีคืนเรียบร้อย นี่คือตัวอย่างเล็กน้อยที่สะท้อนให้เห็นถึงประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมของทางภาครัฐ”

“ย้อนไป 10 กว่าปีที่แล้วประเทศจีน มีนโยบายดึงคนจีนเก่งๆ ที่อยู่ต่างประเทศให้กลับมาที่จีน ยอมซื้อตัวนักวิจัย นักพัฒนาเก่ง ๆ ที่ทำงานอยู่ในซิลิคอนวัลเลย์ กลับมาทำงานในประเทศตัวเอง วันนี้จีนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจที่เก่งด้านเทคโนโลยีระดับโลก”

“ไต้หวัน ประเทศเล็กมีพื้นที่น้อยมาก เป็นที่ตั้งของ ทีเอสเอ็มซี (TSMC) ที่ผลิตแต่เซมิคอนดักเตอร์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งวันนี้กลายเป็นฐานการผลิตสำคัญของโลก เพราะเขารู้ว่าเซมิคอนดักเตอร์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ คือ หัวใจของเทคโนโลยีในอนาคตทั้งหมด ซึ่งถ้าย้อนไปดูจะพบว่า ทีเอสเอ็มซี คือ บริษัทที่ทางรัฐบาลส่งเสริมช่วยเหลือมาตลอดตั้งแต่ต้น เพราะการทำการผลิตแบบนี้ใช้งบลงทุนที่สูงมาก ทางรัฐก็สนับสนุน จนวันนี้ไต้หวันกลายเป็นประเทศที่มีจุดแข็งทางด้านเซมิคอนดักเตอร์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ไปแล้ว”

“ทุกวันนี้ทั่วโลกให้ความสำคัญกับเรื่องของ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ มาก ถ้าประเทศไทยยังไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องของพลังงานทดแทน สิ่งแวดล้อม ในอนาคตถ้าการทำการค้าในระดับโลก มีการกำหนดเรื่องของ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ขึ้นมาแล้วไทยไม่ผ่านเกณฑ์ ก็จะสูญเสียโอกาสอย่างมหาศาล”

เหล่านี้คือ ตัวอย่างที่ ผศ. ดร.รัชนี หยิบยกขึ้นมาเพื่อชี้ให้เห็นว่านวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐทั้งเชิงนโยบาย เงินลงทุน การตลาดในระดับโลก จะช่วยพัฒนาประเทศได้ทุกมิติ และที่สำคัญคือ การร่วมมือระหว่าง สถาบันการศึกษา นักวิจัย ผู้พัฒนานวัตกรรมไปจนถึงภาคธุรกิจ จะช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างแท้จริง ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยต้องขับเคลื่อนทุกองคาพยพเพื่อก้าวสู่โลกนวัตกรรมเพื่ออนาคตที่ดีกว่า


เรื่อง / ภาพ : กองบรรณาธิการ

ต้นทุนต่ำ ยกระดับ รพ.ขนาดกลาง-เล็ก เพิ่มอัตรารอดชีวิตจากโรคระบบทางเดินหายใจ

ในประเทศไทยเริ่มมีเหตุร้ายเกิดต่อเนื่องบ่อยขึ้น ตั้งแต่เหตุการณ์ ผอ.โรงเรียน บุกปล้นร้านทองในห้างที่สิงห์บุรี ยิงประชาชนดับ 3 ราย (ม.ค. ปี 2563) , จ่าคลุ้มคลั่งกราดยิง แล้วหลบเข้าห้างที่โคราช (8 ก.พ. 2563) มีผู้เสียชีวิต 30 ราย, ล่าสุด เด็กวัย 14 ปี กราดยิงที่พารากอน เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 66 เสียชีวิต 2 บาดเจ็บ 5 ราย คมสัน มาลีสี อธิการบดี สจล. ชี้ควรใช้เทคโนโลยี เอ.ไอ.เชื่อมต่อเครือข่ายกล้อง CCTV ในกรุงเทพฯ  พัฒนาระบบ SMS เพื่อแจ้งข่าวสารและเหตุฉุกเฉิน พร้อม 6 ข้อเสนอแนะในการลดปัญหาการก่อเหตุร้ายในที่สาธารณะ

สถิติที่น่าตระหนกจากรายงานของเว็บไซต์ World Popular Review คนไทยมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองมากถึง 10.3 ล้านกระบอก คิดเป็นสัดส่วน 15.41% ของประชากรไทย นับเป็นประเทศที่มีการครอบครองปืนมากที่สุดในอาเซียน และอยู่ในอันดับที่ 20 ของโลก

รศ. ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กรุงเทพฯ เป็นมหานครเต็มไปด้วยชุมชน กิจกรรมความเคลื่อนไหว อาคาร-ศูนย์การค้า ทั้งยังเป็นจุดหมายยอดนิยมในการท่องเที่ยวของนานาชาติ ซึ่งปีนี้ไทยตั้งเป้าหมาย 25 ล้านคน ‘ความปลอดภัยในที่สาธารณะ (Public Safety) จึงเป็นสิ่งสำคัญต่อประชาชน สังคม และเศรษฐกิจ ปัจจุบันหลายเทคโนโลยีที่บ้านเรามีและสามารถนำมาใช้ได้เลย ซึ่งจะช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ โดยประมวลผลข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เช่น โซเชียลมีเดียและเซ็นเซอร์ ในเวลาเรียลไทม์เพื่อให้ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจและการประสานงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI)  เชื่อมต่อเพื่อเพิ่มพลังในการวิเคราะห์ข้อมูลจากเครือข่ายกล้องวงจรปิด (CCTV) ที่มีอยู่กว่า 5 หมื่นตัวในกรุงเทพฯ เพื่อช่วยในการควบคุมสถานการณ์และให้ข้อมูลสำหรับการประเมินสถานการณ์ เช่น ภาพพฤติกรรมของคนกำลังวิ่งหนีท่ามกลางคนเดิน AI สามารถช่วยประมวลผลและสังเกตความผิดปกติ  Smart City สามารถนำภาพในเมืองมาประเมินได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเห็นคนวิ่งกรูไปทิศหนึ่งทิศใด ก็สันนิษฐานได้ว่าอาจเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติในทิศทางตรงข้าม  คนวิ่งหนีอะไร ทั้งนี้ สจล.ได้พัฒนาใช้ระบบ AI เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลจากกล้อง CCTV ที่ฉะเชิงเทรา ทำให้ตำรวจตามจับตัวคนร้ายได้สำเร็จทันท่วงที

ขณะที่เทคโนโลยี 4G - 5G ในประเทศไทยก้าวหน้ามีประสิทธิภาพสูง เราควรพัฒนาระบบ SMS เพื่อแจ้งข่าวสารและเหตุฉุกเฉิน ซึ่งใช้ได้กับโทรศัพท์ทุกระดับ SMS เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่ไม่ซับซ้อนและเข้าถึงคนได้ทุกวัย อย่างในเกาหลีใต้ ระบบ SMS จะรู้ตำแหน่ง GPS, GEO Trackingช่วยตักเตือนเรื่องกฎเกณฑ์แก่นักท่องเที่ยว, SMS Alert ทักทายประชาชนทุกเช้า วันนี้มีเหตุการณ์สำคัญอะไรในบ้านเรา หากมีเหตุร้าย สามารถแจ้งเตือนไปยังคนที่อยู่ในพื้นที่เกิดเหตุอันตรายได้ ช่วยลดความตื่นตระหนก ชุลมุนของฝูงชน

เทคโนโลยีระบบแจ้งเตือนฉุกเฉิน ยังมีหลายรูปแบบ เช่น  Wireless Emergency Alerts (WEA) หน่วยงานรัฐบาลสามารถส่งการแจ้งเตือนฉุกเฉินแบบเหมือนข้อความไปยังโทรศัพท์มือถือที่เข้ากันได้ในพื้นที่เฉพาะ โดยใช้เทคโนโลยี Geofencing ซึ่งสามารถเห็นได้ว่าอุปกรณ์โทรศัพท์ของเรากำลังอยู่ที่ตำแหน่งไหน, ระบบการแจ้งเตือนที่สามารถเห็นได้จากป้ายสาธารณะทั่วไป เช่น ในสหรัฐอเมริกา จะมีระบบ AMBER Alert นำข้อความแจ้งเตือนฉุกเฉินไปขึ้นยังป้ายตามทางหลวง/ทางด่วน หรือป้ายสาธารณะที่เป็น Digital Signage ทำให้ง่ายต่อการติดตามคนร้าย และแนะนำถึงเส้นทางหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีปัญหา นอกจากนี้ยังมีแอปพลิเคชันแจ้งเตือนฉุกเฉิน เช่น FEMA แอปพลิเคชันจัดการฉุกเฉินระดับท้องถิ่นสามารถให้ข้อมูลและข้อความแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์ในระหว่างมีภัยฉุกเฉินได้  แอปพลิเคชัน Zello เพื่อการสื่อสารฉุกเฉินทำให้สมาร์ทโฟนเปลี่ยนเป็นวอล์กี้-ทอล์คกี้ ที่ช่วยให้ผู้ใช้สื่อสารกันได้แม้ระบบโทรศัพท์มือถือจะเกิดการใช้งานมากเกินไปหรือล่มสลายก็ตาม

ในการป้องกัน-แก้ไขเหตุร้าย สจล.มี ข้อแนะนำ สำหรับผู้ประกอบการเจ้าของอาคารและห้างสรรพสินค้า ควรออกแบบพื้นที่บังเกอร์ที่แข็งแรง หรือจุดซ่อนตัว และให้มีเส้นทางลำเลียงคนออกจากห้าง ดังเช่นในต่างประเทศ, ใช้ซอฟท์แวร์ AI เชื่อมระบบเครือข่ายกล้องวงจรปิด (CCTV) เช่น บริเวณทางเข้าและออก พื้นที่จอดรถ เพื่อเฝ้าระมัดระวัง บันทึกข้อมูล และวิเคราะห์สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น, ฝึกอบรมป้องกันภัย ไฟไหม้และการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างถูกต้องตามหลักสากล และทบทวนแผนการและความพร้อมทุกด้าน

รศ. ดร.คมสัน มาลีสี กล่าวทิ้งท้ายว่า  6 ข้อเสนอแนะในการลดปัญหาการก่อเหตุร้ายในที่สาธารณะ ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมช่วยกันแก้ไขเพื่อเสริมสร้างสังคมไทยที่อบอุ่นน่าอยู่และปลอดภัย มีดังนี้ 1.ด้านสุขภาพจิต เริ่มจากที่บ้าน ครอบครัวต้องมีความรักความเข้าใจ เกื้อหนุนกำลังใจกัน ควรส่งเสริมมีบริการบำบัดทางด้านจิตวิทยาที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง, 2.ด้านการครอบครองอาวุธปืน ไทยติดอันดับ 1 ของอาเซียน และอันดับ 20 ของโลก รัฐบาลควรหาทางลดการครอบครองและสกัดกั้นการซื้อขายอาวุธทางออนไลน์ ผู้เป็นเจ้าของปืนต้องจัดเก็บในที่ปลอดภัยไม่ให้ลูกหลานเข้าถึงได้, 3.ป้องกันเยาวชนจากเกมที่กระตุ้นการใช้ความรุนแรง  ซึ่งอาจเกิดการเลียนแบบเอาอย่าง, 4.ให้ความสำคัญในการเพิ่มศักยภาพระบบความปลอดภัยด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี การใช้ระบบการแจ้งเตือนฉุกเฉินผ่านโทรศัพท์มือถือ และการใช้ซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันที่ช่วยในการตรวจสอบและรายงานปัญหาในเวลาเรียลไทม์ การติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) และระบบการตรวจจับควันและแก๊สพิษ, 5. สร้างพลังความร่วมมือกับชุมชนในการรักษาความปลอดภัยของชุมชนและเมือง ซึ่งความสัมพันธ์อันดีกับคนในพื้นที่จะช่วยรายงานปัญหาและการเห็นสิ่งผิดปกติต่อเจ้าหน้าที่ได้ครอบคลุมยิ่งขึ้น 6.ชุมชน อาคาร ศก.ค้า ควรมีการซักซ้อม 3 วิธีการเอาตัวรอด เมื่อต้องเผชิญเหตุร้ายกราดยิง หรือคลุ้มคลั่ง ได้แก่ หนี จากจุดอันตรายไปยังพื้นที่ปลอดภัย, ซ่อน หากหนีไม่ได้ ให้หาสถานที่ปลอดภัยหลบซ่อนตัว และ สู้ อย่างปลอดภัยซึ่งเป็นทางเลือกสุดท้าย

ในยุคที่เราต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงและการดิสรัปในหลากหลายด้านนี้เอง ที่ส่งผลโดยตรงให้ทุกองค์กรต้องกำหนด ค่านิยมหลัก (Core value)

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click