รอยัล ภูเก็ต มารีน่า หรือ RPM กำลังก้าวสู่การเป็นท่าจอดเรือชั้นนำที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หลังจากได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร หรือ CFO ทำให้ RPM ได้ก้าวไปสู่อีกขั้นของการเป็นท่าจอดเรือปลอดคาร์บอนแห่งแรกของโลก

RPM มุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนทางทะเลในฐานะท่าจอดเรือแห่งเดียวในประเทศไทย และผู้นำรายแรกในภูเก็ตในกลุ่มอุตสาหกรรมท่าจอดเรือ โรงแรม และอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร CFO ประจำปี 2566 จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในนาม อบก. (TGO) อันแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการดำเนินการด้านคาร์บอนฟุตพริ้นท์ การชดเชยคาร์บอน เพื่อนำไปสู่การจัดการและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศและมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในอนาคต โดยการรับรองนี้เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงประสิทธิภาพของกระบวนการในการบริหารงานภายในองค์กร ที่ได้รับหลังจากการประเมินผลงานด้านการจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร โดยมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์การรับรองขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการรับรองระบบ ในนาม International Accreditation Forum และ คณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ หรือ National Standardization Council of Thailand

นายกูลู ลัลวานี หัวเรือใหญ่ของ RPM เน้นย้ำว่า "การผ่านการรับรอง CFO ครั้งนี้ ถือเป็นเครื่องยืนยันถึงความทุ่มเทอันแน่วแน่ของเรา ในด้านความยั่งยืน สะท้อนให้เห็นในทุกแง่มุมของการดำเนินงานอย่างตั้งใจ เรามีความยินดีที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานภาครัฐในฐานะท่าจอดเรือแห่งเดียวของประเทศไทย และผู้นำรายแรกในภูเก็ตในกลุ่มอุตสาหกรรมท่าจอดเรือ โรงแรมและอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป้าหมายของเราคือรักษามาตรฐานการเป็นท่าจอดเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดอีกแห่งของเอเชียรอยัล ภูเก็ต มารีน่า เรามุ่งเน้นการพัฒนาสู่การเป็นผู้นำด้านการดำเนินธุรกิจมุ่งสู่คาร์บอนต่ำ สู่การเป็นท่าจอดเรือที่ปลอดคาร์บอนแห่งแรกของโลก ตั้งเป้าเป็นจุดหมายปลายทางชั้นนำสำหรับการใช้ชีวิต การทำงาน การพักผ่อนหรือแม้แต่การเฉลิมฉลอง ตามแบบวิถีชีวิตของนักท่องเที่ยวทางทะเล ณ เมืองท่องเที่ยวชั้นนำของโลก อย่างภูเก็ตแห่งนี้

นอกเหนือจากสิ่งอํานวยความสะดวกในท่าจอดเรือของเราแล้ว เรายังคงพัฒนาและยกระดับที่พักอาศัยชั้นเลิศ ศูนย์กลางร้านค้า สำหรับผู้คนที่ต้องการวิถีชีวิตที่แตกต่าง ยิ่งไปกว่านั้น RPM ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง จากการได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลด้านองค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อม จัดโดยหอการค้า เนเธอร์แลนด์ – ไทย NTCC ที่ตอบโจทย์ต่อความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืน สิ่งแวดล้อม สังคม และการกํากับดูแลกิจการ (ESG)

อีกทั้งยังเป็นตัวแทนเดียวจากท่าจอดเรือในภูเก็ตที่ได้ร่วมแบ่งปันวิสัยทัศน์ในงานสัมมนาหัวข้อ “ยุทธศาสตร์สู่การเป็นเมืองท่องเที่ยวยั่งยืนของอันดามัน” หรือ Andaman Sustainable Tourism Forum ครั้งที่ 1 จัดโดย มูลนิธิพัฒนาการท่องเที่ยวยั่งยืน และสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต”

อีกหนึ่งความสำเร็จของ RPM คือ การเปลี่ยนมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โดยในปีนี้เอง RPM ได้รับใบประกาศเกียรติคุณ อย่าง Letter of Recognition หรือ LOR ภายใต้โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก หรือเรียกโดยย่อว่าโครงการ LESS ซึ่งจัดโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกแห่งประเทศไทย หรือ อบก. นั่นเอง ท่าจอดเรือของ RPM สามารถตอบสนองต่อความต้องการพลังงานได้มากถึง 40% ต่อวัน ผ่านการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่สะอาดและยั่งยืน ทั้งนี้องค์กรยังมีแผนพัฒนาเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง สู่การเป็นท่าจอดเรือปลอดคาร์บอนของโลก

นอกจากนี้ RPM เอง ร่วมมือกับพันธมิตรทางเรือต่าง ๆ ในการลดการใช้ขวดพลาสติกในกิจกรรมการเดินเรือทุกประเภท ตั้งเป้าหากสำเร็จจะสามารถช่วยลดขวดพลาสติกไปได้ราว ๆ กว่า 4 ล้านขวดต่อปี ความร่วมมือเหล่านี้ยังครอบคลุมไปถึงพันธมิตรอื่น ๆ มากมาย อาทิเช่น องค์กร Seakeepers, มูลนิธิ Oceans For All, License To Clean, บริษัท Wawa Creations และ Disabled Sailing Thailand หรือที่รู้จักกันในนาม สมาคมกีฬาเรือใบสำหรับคนพิการ อีกด้วย

ทั้งหมดนี้ถือเป็นก้าวแรกและก้าวสำคัญของ รอยัล ภูเก็ต มารีน่า ในการเดินทางสู่การเป็นท่าจอดเรือปลอดคาร์บอนแห่งแรกของโลก ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

หนุนทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง ปลื้มปี 62 มีผู้ที่มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ 406 ราย คาดสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ 3,419,849.29 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

นางประเสริฐสุข เพฑูรย์สิทธิชัย ผู้อํานวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. กล่าวภายในงาน ร้อยดวงใจ ร่วมใจลดโลกร้อน ว่า ผลการดำเนินงานส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยนวัตกรรมลดโลกร้อนของ อบก. ในปีงบประมาณ 2562  มีผู้ที่มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศและขึ้นรับเกียรติบัตร 406 ราย โดยคาดว่าจะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ 3,419,849.29 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งมาจากกลไกและเครื่องมือที่ อบก. พัฒนาขึ้น ตัวอย่างอาทิ

  • กิจกรรมชดเชยคาร์บอนมีปริมาณการซื้อคาร์บอนเครดิตจากการทำกิจกรรมชดเชยคาร์บอนทั้งสิ้น 144,455 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งกระตุ้นให้เกิดตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจภายในประเทศโดยมีมูลค่าการซื้อขายกว่า 3 ล้านบาท
  • ฉลากคาร์บอน ซึ่งประกอบด้วย ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product) ฉลากลดโลกร้อนหรือฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint Reduction) และคูลโหมด (CoolMode) ซึ่งไทยเป็นประเทศแรกและประเทศเดียวในอาเซียนที่มีระบบการรับรองสอดคล้องตามหลักสากล มีผลิตภัณฑ์ที่ได้ขึ้นทะเบียนทั้ง 3 ฉลากคาร์บอนรวมจำนวน 1,347 ผลิตภัณฑ์ สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 347,129 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า
  • คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO) เป็นเครื่องมือสำคัญที่สนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำข้อมูลและรายงานปริมาณก๊าซเรือนกระจกในระดับองค์กร โดยในปีนี้มีองค์กรภาคอุตสาหกรรมและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 184 แห่ง และมีปริมาณที่คาดว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน (อุตสาหกรรมและบริการ) โดยพิจารณาจากแนวทาง/แผนการลดก๊าซเรือนกระจกลงได้ 274,549.29 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า
  • โครงการ “สนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก” (Low Emission Support Scheme: LESS) มีกิจกรรมที่ได้รับการรับรองจำนวน 361 กิจกรรม สามารถลดหรือกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้ 974,275 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
  • โครงการ “ลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย”(Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) หรือ โครงการ T-VER มีโครงการที่ขึ้นทะเบียนทั้งสิ้น 50 โครงการ โดยมีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้รวมกัน 1,664,150 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และในจำนวนนี้มีโครงการที่ได้ผ่านการรับรองปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก (TVERs) หรือที่เรียกว่า “คาร์บอนเครดิต” จำนวน 34 โครงการ คิดเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ 1,262,757 ตัน

จากความสำเร็จดังกล่าว อบก. จึงจัดพิธีขอบคุณและมอบประกาศนียบัตรในงาน “ร้อยดวงใจ ร่วมใจลดโลกร้อน” ประจำปี 2562 ในช่วงบ่ายของวันนี้ ณ ห้องเมย์แฟร์แกรนด์บอลรูม ชั้น 11 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชิดชูเกียรติผู้ประกอบการและภาคส่วนต่างๆ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการบริหารจัดการและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศ ซึ่งภายในงานจะมีกิจกรรมประกอบด้วยการมอบโล่และประกาศนียบัตรแด่บุคคล ชุมชน องค์กร และผลิตภัณฑ์ลดโลกร้อนที่อบก. ให้การรับรองใช้เครื่องหมาย รวมถึงการแสดงนิทรรศการจากผู้ประกอบการที่มีส่วนร่วมในการลดโลกร้อน

ทั้งนี้ วันนี้มีผู้เข้าร่วมงานจากภาครัฐ เอกชน อุตสาหกรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสื่อมวลชน จำนวน 1,476 คน ซึ่งการจัดงานวันนี้ได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 แล้ว โดยในปีนี้มีแนวคิดการจัดงาน “ลดโลกร้อนวันนี้ เริ่มที่ตัวเรา” (It’s perfect time to start action) และได้รับความกรุณาจากท่านเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายธเนศพล  ธนบุณยวัฒน์) เป็นประธานในพิธีและมอบประกาศนียบัตร ซึ่งสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ที่มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งผลดีต่อประเทศไทยและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี

ก้าวต่อไป อบก. จะนำไปขยายผลและส่งเสริมทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกต่อไป เนื่องจากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถเชื่อมโยงสู่การปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตและการบริโภคให้เกิดความยั่งยืน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมของประเทศ และขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ระบบเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน

X

Right Click

No right click