“น้ำ” คือทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญยิ่ง ทั้งใช้ในการอุปโภค บริโภค ในครัวเรือน ภาคเกษตร และภาคอุตสาหกรรม การบริหารจัดการน้ำที่ดีย่อมทำให้มีทรัพยากรน้ำไว้ใช้ได้อย่างเพียงพอ นวัตกรรม 'ธนาคารน้ำใต้ดิน' นับเป็นหนึ่งในการบริหารจัดการน้ำแบบสมดุลที่เหมาะสมอย่างยิ่ง ในการรับมือภัยแล้งและน้ำท่วม จากความแปรปรวนของสภาวะอากาศที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น

วันนี้ พาขึ้นเหนือไปจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อชมความสำเร็จของ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงพชร ต.เทพนคร อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ที่นอกจากจะเป็นหมู่บ้านต้นแบบ “ชุมชนคนเลี้ยงหมู” แล้ว ที่นี่ยังเดินหน้าโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน จนปรากฏผลอย่างเป็นรูปธรรม

พิเชษฐ์ ใหญ่แก่นทราย ประธานหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร เล่าที่มาว่า โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ประสบปัญหาการระบายน้ำท่วมขังจากน้ำฝนในบริเวณพื้นที่โครงการฯ มาอย่างยาวนาน ชาวชุมชนจึงได้ร่วมกันศึกษาค้นคว้าวิธีการแก้ปัญหา จนมาพบกับรูปแบบการบริหารจัดการน้ำผิวดินสู่ใต้ดิน (Ground Water Recharge) หรือการทำธนาคารน้ำใต้ดิน ทั้งแบบบ่อปิดและแบบบ่อเปิด ที่ช่วยลดปัญหาปริมาณน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝน ทำให้สามารถนำพื้นที่กลับมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้อย่างยั่งยืน

 

การดำเนินโครงการฯ ตามกลยุทธ์ “ขีด คิด ร่วม ข่าย” จากการนำ “ขีด” ความสามารถของบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการระบบน้ำมาขับเคลื่อนโครงการฯ ภายใต้การสนับสนุนของผู้บริหารหมู่บ้านฯ ร่วมกับทีมงานของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ที่มาร่วม “คิด” นำแนวคิดนวัตกรรมสู่ความยั่งยืนด้วยการทำธนาคารน้ำ ที่ช่วยลดปัญหาปริมาณน้ำท่วมขัง เพื่อให้สามารถบริหารจัดการน้ำและนำพื้นที่กลับมาใช้ประโยชน์ ผ่านการมีส่วน “ร่วม” ของทีมงานและผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด ที่ร่วมกันสนับสนุนร่วมถึงวางแผนงานโครงการ และร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ นอกจากนี้ ยังมีการสร้างเครือ “ข่าย” ความร่วมมือกับเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยทุกฝ่ายร่วมกันพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้แก่ชุมชนและหน่วยงานต่างๆ

โครงการฯนี้ เริ่มต้นจากการศึกษาดูงานความสำเร็จของโครงการธนาคารน้ำใต้ดินของ หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ และถ่ายทอดต่อไปยังเกษตรกร ขณะเดียวกัน ได้เชิญวิทยากรจาก อบต.วังหามแห จ.กำแพงเพชร มาบรรยายให้ความรู้ และทำ Work shop ร่วมกันทั้งชาวชุมชน เกษตรกร และทีมงาน รวมทั้งเชิญผู้เชี่ยวชาญจากหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า มาให้คำแนะนำโครงการฯ กระทั่งสามารถสร้างระบบธนาคารน้ำใต้ดิน ทั้งรูปแบบบ่อปิดและแบบบ่อเปิด รวม 10 บ่อในพื้นที่โครงการ

“ธนาคารน้ำใต้ดิน เป็นการบริหารจัดการน้ำใต้ดินแบบครบวงจร ช่วยแก้ไขปัญหาทั้งปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วม และน้ำหลาก และยังช่วยป้องกันการสูญเสียสมดุลของน้ำใต้ดิน หลังจากดำเนินโครงการฯนี้แล้ว สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝนได้เป็นอย่างดี ช่วยเพิ่มพื้นที่ทางการเกษตรให้กับชุมชน ทั้งยังสร้างสุขอนามัยที่ดีให้กับเกษตรกร ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้การบริหารการจัดการกักเก็บน้ำใต้ดิน ถ่ายทอดองค์ความรู้และเป็นสถานที่ศึกษาดูงานของหน่วยงาน และน้องๆนักเรียนนักศึกษาในพื้นที่ และวางแผนต่อยอดสู่การเป็นศูนย์เรียนรู้หลักสูตรชลกร ร่วมกับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกำแพงเพชรต่อไป” พิเชษฐ์ กล่าว

การดำเนินโครงการตลอดปี 2566 ที่ผ่านมา ธนาคารน้ำใต้ดินทั้ง 10 บ่อ มีส่วนช่วยเพิ่มพื้นที่ทำการเกษตรในโครงการหมู่บ้านฯ ได้ถึง 50 ไร่ นอกจากนี้ ยังขยายผลสู่ “โครงการ 1 บ้าน 1 บ่อ” ส่งเสริมการสร้างบ่อระบบปิดในบ้านเกษตรกรในโครงการฯ นำร่องแล้ว 12 ครัวเรือน และวางเป้าหมายขยายโครงการฯ ให้กับเกษตรกรทั้งหมู่บ้านสุกรพันธุ์และสุกรขุนครบทั้ง 40 ครัวเรือน ภายในปี 2567 นี้

วันนี้หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร สามารถแก้ปัญหาของพวกเขาด้วยนวัตกรรมธนาคารน้ำใต้ดิน โดยการฝากน้ำไว้กับดิน ที่ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง และป้องกันปัญหาภัยแล้ง ทำให้มีน้ำใช้ในการเลี้ยงสุกรและการเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี ช่วยสร้างความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำอย่างเป็นรูปธรรม

หมู่บ้านแห่งนี้ยังคงเดินหน้าพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การสนับสนุนของเครือซีพีและซีพีเอฟ ทั้งด้านการสร้างอาชีพมั่นคงยั่งยืนจากการเลี้ยงหมู และมีรายได้จากการเพาะปลูกพืช ปลูกผักกระเฉดน้ำ เลี้ยงปลาดุก-ปลาสวาย และปุ๋ยมูลสุกรตากแห้ง ที่เป็นอาชีพเสริม ดังที่ดำเนินการมาตลอด 45 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้ที่นี่เป็น “หมู่บ้านสามัคคี เทคโนโลยีทันสมัย พัฒนาก้าวไปอย่างยั่งยืน”

คลิกชมคลิป

 

คุณสุภาพ ประดับการ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย คุณพิมาน พูลศรี รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR เพิ่มช่องทางการซื้อประกันภัยให้กับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการใน พีทีที สเตชั่น กว่า 500 แห่ง ทั่วประเทศที่ร่วมรายการ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ต้องการซื้อประกัน โดยลูกค้าสามารถสแกน QR Code ที่ติดตั้งไว้บนป้ายประชาสัมพันธ์ เพื่อเลือกซื้อประกันภัยตามต้องการ ได้แก่ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พรบ.) , ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ และประกันภัยการเดินทางในประเทศ พร้อมทั้งชำระเงิน รับกรมธรรม์ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้รับความคุ้มครองทันทีจากทิพยประกันภัย นอกจากนี้ ลูกค้ายังได้รับแต้มสะสม Blue Point จากการซื้อประกันภัยอีกด้วย (เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด) รายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 1736

ยกระดับคุณภาพชีวิตสูงวัยป่วย สร้างรอยยิ้ม สร้างรายได้ชุมชน

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี มอบประสบการณ์สุดพิเศษให้ผู้ถือบัตรเครดิต ttb เมื่อช้อปที่แผนกบิวตี้ แกเลอรี ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ทั้งแบบชำระเต็มจำนวนและแบ่งชำระ 0% pay plan นาน 10 เดือน ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลทั้ง 5 สาขา ได้แก่ เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลชิดลม เซ็นทรัลลาดพร้าว เซ็นทรัลบางนา และเซ็นทรัลปิ่นเกล้า ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2567 – 30 มิถุนายน 2567 เมื่อมียอดช้อปครบทุก 6,000 บาทขึ้นไป / เซลล์สลิป รับบัตรของขวัญเซ็นทรัล 200 บาท และจากบัตรเครดิตอีก 100 บาท เมื่อมียอดใช้จ่ายเพิ่มตามขั้นที่กำหนดรับบัตรของขวัญเซ็นทรัลเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 13,400 บาท รับสิทธิ์ ณ จุด Customer Service ภายในวันที่ซื้อสินค้าเท่านั้น โดยทีทีบีมุ่งส่งเสริมให้ลูกค้าวางแผนใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น และผ่อนชำระคืนไหว เพื่อสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น

สนับสนุนการอนุรักษ์ระบบนิเวศ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตตามสโลแกน Life’s Good

KBank Private Banking (เคแบงก์ ไพรเวทแบงกิ้ง) ชี้ภาคธุรกิจทั่วโลกเร่งปรับตัว รับมือกฎเกณฑ์ที่ เข้มงวดขึ้นจากภาวะโลกเดือด และความแปรปรวนด้านสภาพอากาศที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะในประเทศไทยที่ปีนี้สัมผัสถึงความร้อนระอุได้มากกว่าทุกปี อย่างไรก็ดี ช่วงจังหวะการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนนี้นับเป็นโอกาสสำคัญให้นักลงทุนคัดสรรธุรกิจที่พร้อมจะเติบโตอย่างยั่งยืน มาเริ่มลงมือทำเพื่อโลกที่ดีขึ้น พร้อมรับผลตอบแทนที่ดีไปพร้อมๆ กัน ผ่าน 3 กองทุนโดย KAsset (บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย จำกัด) ได้แก่ K-PLANET และ K-TNZ-ThaiESG ด้วยความร่วมมือด้านการลงทุนเพื่อความยั่งยืนกับลอมบาร์ด โอเดียร์ (Lombard Odier) พาร์ทเนอร์ระดับโลกจากสวิตเซอร์แลนด์ รวมถึง K-CHANGE โดยทั้ง 3 กองทุนเน้นลงทุนในธุรกิจที่มุ่งมั่นเปลี่ยนผ่านธุรกิจไปสู่โลกที่ยั่งยืน และมีผลลัพธ์ในการลดผลกระทบต่อโลกได้อย่างแท้จริง  

นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า “ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ที่คนไทยทุกคนน่าจะสัมผัสได้ถึงความร้อนที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในช่วงฤดูร้อนของปีนี้ ผลมาจากที่อุณหภูมิเฉลี่ยโลกที่สูงขึ้นจนปีที่ผ่านมาเข้าสู่ ‘ภาวะโลกเดือด’ ทำให้ทุกภาคส่วนทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยต่างให้ความสำคัญ และพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อชะลอการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก สะท้อนได้จากความร่วมมือของผู้นำกว่า 130 ประเทศที่ลงนามในสัญญาปฏิญญา COP28 UAE ว่าด้วยการเกษตร อาหาร และสภาพภูมิอากาศ และการตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ (Target Net Zero) จึงทำให้ภาคธุรกิจต้องปรับตัวตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เข้มงวดขึ้น KBank Private Banking ในฐานะผู้ให้คำแนะนำด้านการลงทุน ที่มองว่านักลงทุนเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะช่วยให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้จริง ที่ผ่านมาได้ร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจชั้นนำระดับโลก ชี้โอกาสสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน พร้อมๆ กับช่วยโลกไปด้วยแนะนำกองทุนรวมที่ลงทุนในธุรกิจที่เน้นลงทุนในธุรกิจที่ยั่งยืน ซึ่งนักลงทุนที่สนใจสามารถเริ่มต้นลงทุนเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับโลกผ่าน 3 กองทุน ได้แก่

  • กองทุน K-PLANET ที่ลงทุนในหุ้นธุรกิจทั่วโลกที่มีศักยภาพกว่า 40-50 หุ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ซึ่งมี 3 ธีมหลัก คือ ระบบพลังงาน เน้นลงทุนบริษัทด้านพลังงานสะอาดที่ดีต่อโลก ระบบพื้นดินและมหาสมุทร ลงทุนในบริษัทที่มุ่งลดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และระบบวัสดุ ลงทุนในบริษัทที่มุ่งพัฒนาให้เกิดการใช้วัสดุน้อยลงทั้งระบบ
  • K-TNZ-ThaiESG ลงทุนธุรกิจชั้นนำของไทยที่ให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบต่อโลกและความยั่งยืน ในอุตสาหกรรมเสาหลักของประเทศ โดยเน้นให้น้ำหนักในหุ้น ESG ในดัชนี SET 100 ที่มีส่วนช่วยในการบรรลุเป้าหมาย Net Zero โดยบริหารผ่านโมเดลที่ได้รับองค์ความรู้จากลอมบาร์ด โอเดียร์ (Lombard Odier)
  • K-CHANGE ลงทุนในหุ้นเติบโตสูงทั่วโลกที่ดำเนินธุรกิจซึ่งส่งผลบวกต่อสังคม และการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นใน 4 ด้าน ได้แก่ ความครอบคลุมทางสังคมและการศึกษา 2. ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม 3. การดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิต 4. การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม โดยจะลงทุนผ่านกองทุนหลัก Baillie Gifford Positive Change Fund - Class B accumulation (GBP)

เมื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกไม่ได้เปลี่ยนแค่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตบนโลก ดังนั้นการลงทุนในภาคธุรกิจชั้นนำในแต่ละอุตสาหกรรมที่เริ่มปรับตัวเพื่อรับมือกับผลกระทบ ถือเป็นอีกแนวทางในการแก้ปัญหาที่นักลงทุนสามารถลงมือทำได้ตั้งแต่วันนี้เพื่อสร้างการเติบโตที่มั่งคั่งและยั่งยืนไปพร้อมกัน


คำเตือน

  • ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
  • กองทุน K-PLANET ป้องกันความเสี่ยงจาก อัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
  • กองทุน K-CHANGE ป้องกันความเสี่ยงจาก อัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 75% ของมูลค่าเงินลงทุนต่างประเทศ
  • เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจาก อัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจาก อัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
  • สนใจลงทุนและขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ kasikornasset.com

 

ดร. ปัญญา โชติเทวัญ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สหฟาร์ม จำกัด และบริษัทในเครือ เห็นความสำคัญ ของบุคลากรทางการแพทย์ โดยมอบหมายเจ้าหน้าที่สหฟาร์ม เป็นตัวแทนจัดส่งไข่แฝดสหฟาร์ม จำนวน 2,500 แผง มอบให้แก่ 4 โรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์, โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี, โรงพยาบาลนวมินทร์ 9 ทั้งนี้เพื่อเป็นกำลังใจให้แก่แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ที่เสียสละทำงานอย่างหนักในการดูแล และรักษาผู้ป่วยช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่ผ่านมา เมื่อเร็วๆ นี้

พลิกโฉมอุตสาหกรรมไทยในการถ่ายทอดองค์ความรู้และยกระดับความสามารถทางการแข่งขันด้านเศรษฐกิจและสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ ในงานนี้เต็มไปด้วยเหล่า Speakers คุณภาพที่มีประสบการณ์และมุมมองทางด้านธุรกิจในการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้กันและกัน

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้บริหารจากองค์กรภาครัฐและเอกชนหรือผู้ที่สนใจในการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ

การพูดคุยหัวข้อสำคัญ

  1. ทิศทางเศรษฐกิจ 2025 กับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย
  2. ยกระดับอุตสาหกรรมไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน
  3. เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย
  4. การยกระดับความสามารถทางการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนด้วย STECO’s Enterprise Mix

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2567

ณ ห้อง Auditorium ชั้น 7 อาคาร KX Knowledge Xchange ถ.กรุงธนบุรี

เวลา 12.00 – 17.00 น.

ลงทะเบียนร่วมงานฟรี ได้ที่

https://forms.gle/rfuNdNVWjCis2uLMA 

รายละเอียดเพิ่มเติม

Facebook : ศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มจธ.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร. 064-749-9629 , 02-470-9643 คุณดลฤทัย

E mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

เคทีซีเผยไตรมาส 1/2567 กลุ่มบริษัทสามารถทำกำไร 1,803 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.4% จาก ไตรมาส 4/2566 สำหรับปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและพอร์ตสินเชื่อเพิ่มขึ้นในลักษณะชะลอตัว ตามภาพรวมเศรษฐกิจที่โตช้ากว่าคาด เชื่อมั่นผลการดำเนินงานจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เดินหน้ากลยุทธ์การตลาด และมีเป้าหมายการดำเนินงานที่ชัดเจน รวมทั้งเน้นบริหารพอร์ตสินเชื่อรวมให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ตามแนวทางการให้สินเชื่อด้วยความรับผิดชอบและเป็นธรรม

นางพิทยา วรปัญญาสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “อุตสาหกรรมสินเชื่อผู้บริโภคเติบโตแบบชะลอตัว ด้วยแรงกดดันจากความสามารถในการชำระหนี้ รวมถึงหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ในเดือนมีนาคม 2567 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังสะท้อนภาพรวมความเชื่อมั่นในเกณฑ์ดี โดยเคทีซีมีสัดส่วนของลูกหนี้บัตรเครดิตและลูกหนี้สินเชื่อบุคคล (ไม่รวมสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน) เทียบกับอุตสาหกรรม ระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 เท่ากับ 13.2% และ 6.1% ตามลำดับ ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดของปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรของเคทีซีเท่ากับ 12.4%”

“ภาพรวมการดำเนินงานของเคทีซีในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมายังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องด้วยสภาวะเศรษฐกิจมีความอ่อนตัวลงมากกว่าที่คาด อย่างไรก็ตาม เคทีซียังสามารถทำกำไรสุทธิตามงบการเงินรวมได้เท่ากับ 1,803 ล้านบาท และงบการเงินเฉพาะกิจการ 1,893 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4/2566 เท่ากับ 2.4% และ 7.4% ตามลำดับ โดยเชื่อว่ากลยุทธ์การสร้างฐานลูกค้าบัตรเครดิตในกลุ่มที่มีรายได้สูงขึ้น รวมทั้งการ คัดกรองคุณภาพพอร์ตทั้งบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล อีกทั้งมีการสื่อสารเชิงรุกถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในผลิตภัณฑ์สินเชื่อเคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน จะสามารถทำให้เคทีซีบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในที่สุด”

“เคทีซีได้ดำเนินการปรับเพิ่มอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิตจาก 5% เป็น 8% ซึ่งมีผลในรอบบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 นั้น ในช่วงไตรมาส 1/2567 พบว่าลูกหนี้ส่วนใหญ่ของเคทีซีสามารถจ่ายชำระขั้นต่ำที่ 8% ได้ มีเพียงลูกหนี้ส่วนน้อยที่ประสบปัญหา นอกจากนี้ เคทีซีจะนำเสนอแนวทางการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ที่ยังไม่ด้อยคุณภาพ (non-NPL) ซึ่งเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในลักษณะเชิงป้องกัน (Pre-emptive DR) ตั้งแต่เริ่มมีสัญญาณว่าลูกหนี้กำลังจะประสบปัญหาในการชำระหนี้อย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อให้ลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ ไม่กลายเป็นหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) อีกทั้งจะเสนอแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยเฉพาะก่อนการดำเนินการตามกฎหมาย โอนขายหนี้ บอกเลิกสัญญา หรือยึดทรัพย์ โดยจะพิจารณาให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ และไม่ทำให้ลูกหนี้มีภาระหนี้เพิ่มขึ้นจากภาระหนี้เดิมเกินสมควร ทั้งนี้ เป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ธปท. ที่ สกช. 7/2566 เรื่อง การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending: RL)”

“เคทีซีเชื่อมั่นว่าการให้ความช่วยเหลือตามเกณฑ์ดังกล่าว จะไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อภาพรวมการดำเนินงานของบริษัทฯ และสำหรับการช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt: PD) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567 คาดว่าหากลูกหนี้ที่เข้าเกณฑ์ทุกรายเข้าร่วมโครงการจะมีผลกระทบต่อรายได้ดอกเบี้ยลดลงประมาณ 18 ล้านบาทต่อเดือน”   

ทั้งนี้ สินทรัพย์เคทีซี ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 พอร์ตสินเชื่อรวมขยายตัวสร้างรายได้เติบโตดี และมีปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อีกทั้งสามารถรักษาคุณภาพสินทรัพย์ได้ดี โดยมีฐานสมาชิกรวม 3,423,147 บัญชี เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับรวม 105,347 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 2.0%) อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อรวม (NPL) 2.0% แบ่งเป็นสมาชิกบัตรเครดิต 2,695,453 บัตร (เพิ่มขึ้น 4.0%) เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรเครดิตและดอกเบี้ยค้างรับรวม 69,213 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 2.3%) NPL บัตรเครดิตอยู่ที่ 1.2% ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรมูลค่า 69,419 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 8.5%) สมาชิกสินเชื่อบุคคลเคทีซี 727,694 บัญชี (ลดลง 2.6%) เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้สินเชื่อบุคคลและดอกเบี้ย ค้างรับรวม 33,149 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 2.4%) NPL สินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 2.1% และลูกหนี้ตามสัญญาเช่าในบริษัท กรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง จำกัด (KTBL) 2,985 ล้านบาท (ลดลง 9.6%) เนื่องจากได้หยุดปล่อยสินเชื่อใหม่ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 แล้ว ในส่วนยอดลูกหนี้ใหม่ (New Booking) ของสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” เท่ากับ 611 ล้านบาท ขยายตัว 82.6%

ในส่วนของรายได้รวมช่วงไตรมาส 1/2567 เพิ่มขึ้น 11.7% จากช่วงเดียวกันของปี 2566 เท่ากับ 6,763 ล้านบาท ทั้งจากรายได้ดอกเบี้ยรวม (รวมรายได้ค่าธรรมเนียมในการใช้วงเงิน) รายได้ค่าธรรมเนียม และหนี้สูญได้รับคืนที่เพิ่มขึ้น 5.4% 14.7% และ 26.7% ตามลำดับ ขณะที่ค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้น 20.4% จากช่วงเดียวกันของปี 2566 เท่ากับ 4,504 ล้านบาท ตามการขยายตัวของปริมาณธุรกรรม พอร์ตสินเชื่อรวม และการลงทุนพัฒนาระบบงาน รวมถึงมูลค่าการตัดหนี้สูญที่มากขึ้นจากการเปลี่ยนกรอบเวลาการตัดหนี้สูญให้เร็วขึ้น เพื่อให้พอร์ตสินเชื่อรวมหลังสิ้นสุดการใช้เกณฑ์ผ่อนปรนการจัดชั้นลูกหนี้ NPL สะท้อนภาพความเป็นจริงมากขึ้น โดยแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร 2,369 ล้านบาท ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) 1,683 ล้านบาท และต้นทุนทางการเงิน 451 ล้านบาท โดยมีอัตราค่าใช้จ่ายในการบริหารรวมต่อรายได้ (Cost to Income Ratio) ที่ 35.0% เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาส 1/2566 อยู่ที่ 32.8%

นอกจากนี้ ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567 กลุ่มบริษัทมีเงินกู้ยืมทั้งสิ้น 59,344 ล้านบาท โดยมีโครงสร้างแหล่งเงินทุนเป็นเงินกู้ยืมระยะสั้น (รวมส่วนของเงินกู้ยืมและหุ้นกู้ที่ครบกำหนดชำระภายในหนึ่งปี) และเงินกู้ยืมระยะยาว คิดเป็นสัดส่วน 23.3% ต่อ 76.7% อัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 1.83 เท่า ลดลงเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ 2.0 เท่า ซึ่งต่ำกว่าภาระผูกพัน (Debt Covenants) ที่ 10 เท่า และมีวงเงินสินเชื่อคงเหลือ (Available Credit Line) 24,990 ล้านบาท

 

ผสมผสานแรงบันดาลใจจากความงาม เทคโนโลยี และความยั่งยืน เพื่อรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น ร่วมสมัย สร้างความร่วมมือในองค์กร

Page 1 of 599
X

Right Click

No right click