ตอกย้ำการยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล พร้อมนำองค์กรสู่ความยั่งยืน

ทิพยประกันชีวิต โดย คุณนพพร บุญลาโภ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ร่วมกับ สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ บลูพอร์ต หัวหิน จัดมหกรรมการประกวดพระเครื่องครั้งยิ่งใหญ่ “งานมหกรรมการประกวดการอนุรักษ์ พระบูชา พระเครื่อง และเหรียญพระคณาจารย์ทั่วประเทศ” มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมงานนับหมื่นคน โดยทิพยประกันชีวิตร่วมออกบูธ เพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ และให้ความรู้เรื่องประกันชีวิตกับผู้มาร่วมงาน เมื่อวันที่ 9-10 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การค้าบลูพอร์ต หัวหิน

ส่งสื่อโฆษณา TVC และ OOH แสนอบอุ่นใจ ตอกย้ำการสร้าง “MAGIC MOMENT” ด้วยฟิล์มอินสแตกซ์

ก้าวเข้าสู่ปี 2567 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ใช้ประโยชน์จากคลังข้อมูลธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ : DBD DataWarehouse+ วิเคราะห์แนวโน้มการเติบโตพร้อมเปิดโผ 9 ประเภทธุรกิจที่มาแรงโดดเด่นข้ามปีและคาดว่าจะทำผลกำไรต่อเนื่อง เพื่อให้นักธุรกิจชาวไทยและต่างชาติใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน นำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์เต็มประสิทธิภาพ กำหนดทิศทาง และเลือกประเภทธุรกิจที่จะลงทุนได้ตรงตามความต้องการ

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า “ทุกปีเมื่อกำลังก้าวเข้าสู่ศักราชใหม่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ใช้ประโยชน์จากคลังข้อมูลธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในประเทศของกรมฯ (DBD DataWarehouse+) มาทำการวิเคราะห์ธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตที่น่าสนใจเพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักธุรกิจทั้งชาวไทยและต่างชาติใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน รวมทั้ง ประชาชนทั่วไปสามารถนำข้อมูลไปใช้ต่อยอดให้เกิดประโยชน์ด้านต่างๆ เป็นการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐให้เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่ายอย่างเต็มประสิทธิภาพ

ธุรกิจที่มีความโดดเด่นและน่าจับตามองในปี 2567 กรมฯ ได้ทำการวิเคราะห์โดยประเมินข้อมูลธุรกิจจากหลายภาคส่วน ทั้งสถิติข้อมูลภายในของกรมฯ ในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่สถิติจำนวนการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ อัตราการเติบโต ผลประกอบการของธุรกิจ และการจดทะเบียนเลิกประกอบธุรกิจ ร่วมกับข้อมูลปัจจัยทางเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจต่างๆ โดยใช้หลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์ ดังนี้ (1) จำนวนและอัตราการเติบโตของการจัดตั้งธุรกิจ ร้อยละ 50 (2) ผลประกอบการ (กำไรและรายได้) ร้อยละ 20 (3) อัตราการเลิกของธุรกิจ ร้อยละ 20 และ (4) ปัจจัยภายนอก ร้อยละ 10 ได้แก่ แนวโน้ม กระแสความนิยม พฤติกรรมของธุรกิจ นโยบายรัฐบาล และดัชนีทางเศรษฐกิจ เป็นต้น

อธิบดีอรมน กล่าวต่อว่า จากผลการวิเคราะห์ สามารถแบ่งกลุ่มธุรกิจที่น่าจับตามองและน่าสนใจในปี 2567 ออกเป็น 4 กลุ่มธุรกิจ 9 ประเภทธุรกิจ ประกอบด้วย

กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ถือเป็นธุรกิจที่ได้รับผลดีจากปัจจัยบวกในการเปิดประเทศและมาตรการสนับสนุนภาครัฐที่ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องสามารถดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ สร้างโอกาส และรายได้ให้กับกลุ่มธุรกิจได้เป็นอย่างดี โดยธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ คือ

  1. ธุรกิจท่องเที่ยว เช่น ‘ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร’ ‘ธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท ห้องชุด เกสต์เฮ้าส์’ ‘ธุรกิจจัดนำเที่ยว’ ‘ธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตรา’ ‘ธุรกิจตัวแทนการเดินทาง’ ฯลฯ โดยปี 2566 (มกราคม - พฤศจิกายน) มีจำนวนการจัดตั้งธุรกิจรวม 7,459 ราย เติบโตสูงขึ้นร้อยละ 48 เมื่อเทียบกับปี 2565 ผลประกอบการรอบปีบัญชี 2565 รวมทั้งสิ้น 575,347 ล้านบาท เติบโตสูงขึ้นถึงร้อยละ 64 เมื่อเทียบกับ ปี 2564 ซึ่งกลุ่มธุรกิจนี้มีแนวโน้มการจัดตั้งธุรกิจสูงขึ้นเพื่อรองรับความต้องการจากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวปี 2566 ประมาณ 27 ล้านคน และ ปี 2567 ประมาณ 30 - 35 ล้านคน ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีสำหรับธุรกิจในการขยายหรือเริ่มต้นธุรกิจเพื่อรองรับตลาดและตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น
  2. ธุรกิจการจัดประชุม แสดงสินค้า คอนเสิร์ต เช่น ‘ธุรกิจการจัดแสดงทางธุรกิจและสินค้า’ ‘ธุรกิจการจัดประชุม’ ‘ธุรกิจจัดงานเลี้ยง’ ‘ธุรกิจกิจกรรมด้านความบันเทิง’ ฯลฯ โดยธุรกิจสามารถสร้างเม็ดเงินได้มหาศาล สอดรับกระแสความนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะการจัดคอนเสิร์ต หรือเทศกาลดนตรีต่างๆ ของศิลปินชาวต่างชาติ ที่ดึงดูดผู้คนทั้งชาวไทยและต่างชาติให้เข้ามาร่วมกิจกรรมดังกล่าว และธุรกิจประเภทนี้ยังเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสนับสนุนการท่องเที่ยว คือ เมื่อมีการจัดประชุม แสดงสินค้า หรือคอนเสิร์ต ผู้ร่วมงานส่วนใหญ่จะใช้โอกาสนี้ เดินทางท่องเที่ยวเพิ่มเติม โดยปี 2566 (มกราคม-พฤศจิกายน) มีการจัดตั้งธุรกิจรวมทั้งสิ้น 1,138 ราย เติบโตสูงขึ้นร้อยละ 45 เมื่อเทียบกับปี 2565 และมีผลประกอบการรอบปีบัญชี 2565 รวม 56,750 ล้านบาท เติบโตสูงขึ้นถึงร้อยละ 37 เมื่อเทียบกับปี 2564

กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพ

กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ การรักษารูปร่าง หน้าตา และการดูแลสุขภาพของบุคคล สำหรับกลุ่มที่มีความต้องการดูแลเป็นพิเศษ มีประเภทธุรกิจที่น่าสนใจ ประกอบด้วย

  1. ธุรกิจสุขภาพและความงาม เช่น ‘ธุรกิจปลูกพืช เครื่องเทศ เครื่องหอมยารักษาโรค’ ‘ธุรกิจโรงพยาบาล คลินิกโรคเฉพาะทาง’ ‘ธุรกิจขายปลีก/ส่งเภสัชภัณฑ์และเวชภัณฑ์’ ฯลฯ โดยประเภทธุรกิจสุขภาพและความงามรอบปีบัญชี 2565 สร้างรายได้ 1,184,181 ล้านบาท สูงขึ้นจากปี 2564 มูลค่า 97,052 ล้านบาท กำไรสุทธิ 91,959 ล้านบาท สูงขึ้นจากปี 2564 มูลค่า 3,687 ล้านบาท โดยความวิตกกังวลจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา สังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่ให้ความสนใจหันมาดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้น รวมทั้ง การให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ของบุคคล รูปร่าง หน้าตา เป็นอีกปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตของกลุ่มธุรกิจนี้เป็นอย่างมาก
  2. ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ เช่น ‘ธุรกิจสถานที่ดูแลรักษาสำหรับผู้สูงอายุ’ ‘ธุรกิจบริการจัดหาที่พักให้’ ‘ธุรกิจสังคมสงเคราะห์โดยไม่มีที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ’ ฯลฯ จากแนวโน้มการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุทั้งของไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลก ส่งผลให้จำนวนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับอัตราการเกิดของประชากรใหม่ในแต่ละปี ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุเข้ามามีบทบาทและสร้างโอกาสการทำตลาดเพื่อรองรับจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ทั้งนี้ มีการจัดตั้งธุรกิจในปี 2566 (มกราคม-พฤศจิกายน) จำนวนทั้งสิ้น 107 ราย เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับปี 2565 โดยปัจจุบันมีธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศจำนวน 721 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียนทั้งสิ้นกว่า 4,250 ล้านบาท

กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องรูปแบบการใช้ชีวิต

กลุ่มธุรกิจนี้ ถือเป็นธุรกิจที่น่าจับตามองเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตและไลฟ์สไตล์ของคนในปัจจุบัน มีการปรับรูปแบบให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา โดยประเภทธุรกิจที่น่าสนใจประกอบด้วย

  1. ธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง เช่น ‘ธุรกิจดูแลสัตว์เลี้ยง’ ‘ธุรกิจขายปลีกอาหารและอุปกรณ์สัตว์เลี้ยง’ ‘ธุรกิจขายส่งอาหารสัตว์’ ฯลฯ โดยปี 2566 (มกราคม - พฤศจิกายน) มีจำนวนการจัดตั้งธุรกิจรวม 494 ราย เติบโตสูงขึ้นร้อยละ 32 เมื่อเทียบกับปี 2565 รายได้ทางธุรกิจรอบปีบัญชี 2565 จำนวน 197,842 ล้านบาท รวมทั้ง มีอัตราเติบโตของกำไรปี 2565 เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า จาก 3,152 ล้านบาท ในปี 2564 เป็น 13,304 ล้านบาท ในปี 2565 ทั้งนี้ ธุรกิจดังกล่าว เป็นธุรกิจที่เติบโตขึ้นจากความรักและความผูกพันธ์ระหว่างคนและสัตว์เลี้ยงที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสัตว์เลี้ยงให้เปรียบเสมือนคนในครอบครัว ทำให้ผู้เลี้ยงสัตว์ลงทุนสรรหา/เลือกอาหาร และอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีมูลค่าสูงให้กับสัตว์เลี้ยงของตน ส่งผลให้ธุรกิจสามารถสร้างรายได้และผลกำไรแก่ผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง
  2. ธุรกิจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ด้วยสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทำให้ผู้คนเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งรอบข้างที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะการณ์ของโลก ทำให้ผู้บริโภคมองหาผลิตภัณฑ์และรูปแบบกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบทางธรรมชาติทั้งปัจจุบันและอนาคต ส่งผลให้มีธุรกิจหลายประเภท เช่น ‘ธุรกิจรีไซเคิล’ ‘ธุรกิจให้คำปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม’ ‘ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า’ ฯลฯ ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น โดยปี 2566 (มกราคม-พฤศจิกายน) มีจำนวนการจัดตั้งธุรกิจรวมทั้งสิ้น 197 ราย เติบโตสูงขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับปี 2565 รายได้ทางธุรกิจรอบปีบัญชี 2565 จำนวน 486,759 ล้านบาท รวมทั้ง มีอัตราเติบโตของผลกำไรปี 2565 ถึงกว่าร้อยละ 45 จาก 24,517 ล้านบาท ในปี 2564 เป็น 35,512 ล้านบาท ในปี 2565

กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบริการดิจิทัลและซอฟต์แวร์

เป็นกลุ่มธุรกิจตอบโจทย์โลกปัจจุบันที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลและนวัตกรรม ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ ครอบคลุมทุกช่วงวัยของประชากรในสังคม มีมูลค่าทางการตลาดระดับสูง โดยมีประเภทธุรกิจที่น่าสนใจ ประกอบด้วย

  1. ธุรกิจบริการ e-Commerce ได้แก่ ‘ธุรกิจขายปลีกทางอินเทอร์เน็ต’ และ ‘ธุรกิจตลาดกลางในการซื้อขายออนไลน์’ เป็นธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองความสะดวกสบาย ความคุ้มค่าในการจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าอุปโภค/บริโภค และบริการต่างๆ ได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนยุคปัจจุบันที่เข้าถึงสินค้าและบริการเพียงปลายนิ้วสัมผัส โดยปี 2566 (มกราคม-พฤศจิกายน) มีการจัดตั้งธุรกิจรวม 1,800 ราย เติบโตสูงขึ้นร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับปี 2565 รายได้รอบปีบัญชี 2565 สูงถึง 194,837ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 จำนวน 38,192 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 24
  2. ธุรกิจบริการชำระเงินแบบดิจิทัล ได้แก่ ‘ธุรกิจการประมวลผลและการเรียกชำระเงินสำหรับธุรกรรมทางการเงิน’ เป็นธุรกิจให้บริการชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการผ่านทางออนไลน์ ทำให้การชำระค่าสินค้าและบริการเป็นเรื่องง่ายและสะดวกรวดเร็ว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการ การจัดตั้งธุรกิจปี 2566 (มกราคม-พฤศจิกายน) มีจำนวน 22 ราย สร้างรายได้รอบปีบัญชี 2565 มูลค่า 19,098 ล้านบาท เติบโตสูงขึ้นร้อยละ 37 เมื่อเทียบกับรอบปีบัญชี 2564 รวมทั้ง สร้างผลกำไรสูงมากกว่า 1.9 เท่า จาก 844 ล้านบาท ในปี 2564 เป็น 2,478 ล้านบาท ในปี 2565
  3. ธุรกิจซอฟต์แวร์ เช่น ‘ธุรกิจจัดทำโปรแกรมเว็บเพจ’ ‘ธุรกิจจัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์’ ‘ธุรกิจให้คำปรึกษาทางด้านซอฟต์แวร์’ ฯลฯ ในปี 2566 (มกราคม-พฤศจิกายน) มีจำนวนการจัดตั้งธุรกิจรวม 1,104 ราย โดยธุรกิจกลุ่มนี้ สร้างรายได้รอบปีบัญชี 2565 มูลค่า 160,201 ล้านบาท สูงขึ้นถึง 19,171 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับรอบปีบัญชี 2564 ซึ่งการเติบโตของธุรกิจดังกล่าวสอดคล้องกับยุคแห่งการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตั้งแต่การดำรงชีวิตไปจนถึงการประกอบธุรกิจของภาคบริการ ภาคอุตสาหกรรม และภาครัฐ รวมทั้ง ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ล้วนนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนประกอบประสานรวมกับ AI หรือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอย่างชัดเจน เป็นแรงผลักดันที่ส่งผลให้ธุรกิจซอฟต์แวร์เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค

ทั้งนี้ คาดว่าปี 2567 การประกอบธุรกิจของภาคเอกชนจะมีอัตราการเติบโตที่ดีขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยต้องพิจารณารวมกับปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศ เช่น เศรษฐกิจของโลกและเศรษฐกิจประเทศต่างๆ หรือปัจจัยเกื้อหนุนต่างๆ ของเศรษฐกิจประเทศ ขอแนะนำว่า 9 ประเภทธุรกิจดังกล่าวข้างต้นน่าสนใจเป็นอย่างมาก โดยสามารถนำไปเป็นข้อมูลส่วนหนี่งประกอบการตัดสินใจลงทุน อย่างไรก็ตาม นอกจากกระแสธุรกิจที่กำลังได้รับความนิยมแล้ว ความชื่นชอบและความถนัดก็เป็นอีกคุณสมบัติที่ต้องคำนึง เนื่องการลงทุนมีความเสี่ยง การลงทุนทำธุรกิจต้องรอบคอบมากที่สุด ทั้งนี้ ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป สามารถตรวจสอบข้อมูลนิติบุคคล และแนวโน้มธุรกิจต่างๆ ผ่านระบบ DBD DataWarehouse+ บนเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า www.dbd.go.th หรือ ผ่านแอปพลิเคชัน DBD e-Service ซึ่งสามารถดาวน์โหลดผ่านระบบ Android และ IOS โดยสามารถใช้บริการได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย” อธิบดีอรมน กล่าวทิ้งท้าย

ในวาระครบรอบ 43 ปี โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ยังคงเดินหน้าส่งเสริมกิจกรรมสาธารณกุศลและส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้กับสาธารณชน จึงได้จัดโครงการ Bumrungrad Run for Health 2023” Presented by Bumrungrad Hospital Foundation ในวันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม 2566 ณ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ (จตุจักร) มี 2 ระยะวิ่งได้แก่ 2.5 และ 5 กิโลเมตร  โดยมุ่งหวังการสร้างพลังแห่งความสามัคคีของ “ครอบครัวบำรุงราษฎร์” ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยและครอบครัว บุคลากร รวมถึงพันธมิตรและประชาชนทุกคน เพื่อสร้างชุมชนแห่งความสร้างสรรค์และสุขภาวะที่มีคุณภาพ ตลอดจนยังได้ร่วมทำบุญและสนับสนุนกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ต่างๆ ของมูลนิธิโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อีกด้วย

โดยบรรยากาศภายในงานวิ่งเต็มไปด้วยความอบอุ่น และได้การตอบรับเป็นอย่างดีจากเหล่ารันเนอร์ และอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) สายสุขภาพ  โดยเฉพาะบุคลากรจาก “บำรุงราษฎร์” ไม่ว่าจะเป็น แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล ทีมผู้บริหารและพนักงาน ที่ผนึกกำลังความสามัคคี ตบเท้าเข้าร่วมงานวิ่งกันอย่างคับคั่ง ซึ่งช่วงปล่อยตัวนักวิ่งระยะ 5 กิโลเมตร เป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ภายในงาน ที่ทีมแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์กว่า 100 ชีวิต  ร่วมกับนักแสดงมากฝีมืออย่าง “โอ อนุชิต สพันธุ์พงษ์” นำทัพนักวิ่ง ออกจากจุด Start อันเป็นเครื่องหมายบอกว่า การสานต่อกิจกรรมสาธารณกุศลของมูลนิธิฯ ด้วยพลังของแพทย์และบุคลากรบำรุงราษฎร์ ได้เริ่มต้นศักราชใหม่อีกครั้ง เพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคมให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น

ภญ.อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ในฐานะ กรรมการและเลขานุการมูลนิธิฯ กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลา 43 ปีที่ผ่านมา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้มอบการบริบาลแก่ผู้ป่วยทั้งชาวไทยและต่างชาติด้วยความทุ่มเทและมุ่งมั่นที่จะเป็นจุดหมายแห่งการดูแลสุขภาพและสุขภาวะที่น่าเชื่อถือที่สุด และยึดถือธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด   มูลนิธิโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จึงได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2533 ด้วยปณิธานของ “คุณชัย โสภณพนิช” ซึ่งเคยกล่าวไว้ว่า “ธุรกิจไม่จำเป็นต้องมุ่งหวังแต่เพียงกำไรเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องเอื้อประโยชน์และช่วยเหลือสังคมด้วย”  ด้วยคำกล่าวนี้ พวกเราในนามของครอบครัวบำรุงราษฎร์ จึงเดินหน้าจัดกิจกรรมสาธารณกุศลมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น “หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ อาสาบำรุงราษฎร์ ที่ได้ช่วยเหลือ เยียวยา และฟื้นฟูสังคม มาแล้วถึง 42 ชุมชน เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านให้เข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพ และยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คนไปกว่า 400,000 คน

อีกหนึ่งโครงการที่ยังคงดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน เป็นโครงการผ่าตัดเด็กผู้ด้อยโอกาสที่มีภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด ภายใต้ชื่อโครงการ “รักษ์ใจไทย”  ริเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2546 โดยความร่วมมือระหว่างมูลนิธิเด็กโรคหัวใจ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งได้ช่วยเหลือผ่าตัด คืนหัวใจที่แข็งแรงให้แก่น้องๆ เหล่านี้ไปแล้วถึง 827 คน ผ่านงบประมาณกว่า 370 ล้านบาท

ตลอดจนโครงการส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์ ที่ริเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2565 เพื่อส่งเสริมและรักษาอาการอาการของพระสงฆ์ในประเทศไทย โดยได้ทำการรักษาไปแล้ว 24 รูป ผ่านงบประมาณกว่า 9.5 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังมีกองทุนการศึกษาแพทย์ เพื่อสนับสนุนแพทย์ให้ได้รับการศึกษา ต่อยอดองค์ความรู้ในด้านต่างๆอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนกิจกรรมฟื้นฟู และพัฒนาชุมชน รวมถึงกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ที่ทางมูลนิธิฯ ยังคงสานต่อมาจนถึงปัจจุบัน

ตลาดนาฬิกาคึกคัก LDI Enterprise Thailand (แอลดีไอ เอ็นเตอร์ไพรส์ ไทยแลนด์) ได้รับสิทธิ์ในการจัดจำหน่ายสินค้า CITIZEN (ซิติเซน) แบรนด์นาฬิกาดังระดับโลกสัญชาติญี่ปุ่น ปรับภาพลักษณ์ลุคทันสมัย เดินหน้าเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ทุ่มงบการตลาด 30 ล้านบาท พร้อมเปิดตัวนาฬิการุ่น NJ015 Automatic “Tsuyosa” ดีไซน์หรู 4 สีใหม่ ราคาเอื้อมถึง

นายลอว์เรนซ์ คุช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอลดีไอ เอ็นเตอร์ไพรส์ (ไทยแลนด์) จำกัด เผยว่า   แอลดีไอ เอ็นเตอร์ไพรส์ ดิสทริบิวเตอร์นำเข้านาฬิกาแบรนด์ต่างๆ ในภูมิภาคเอเซียมานานกว่า 28 ปี เล็งเห็นศักยภาพและโอกาสทางธุรกิจของตลาดนาฬิกาในกลุ่มแมสของไทยมีกำลังซื้อสูง และมีแนวโน้มเติบโตต่อได้ ประกอบกับ การได้สิทธิ์ดิสทริบิวเตอร์จัดจำหน่ายสินค้าแบรนด์ CITIZEN แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ซึ่งเป็นแบรนด์นาฬิกาดังระดับโลกจากประเทศญี่ปุ่น ที่เน้นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและความงามมากว่า 100 ปี ซึ่งจุดแข็งของแบรนด์ คือ คุณภาพมาตรฐานระดับโลก เรียกว่าเป็นหนึ่งในผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลก รวมถึงดีไซน์หรูหรา ซึ่งตอบโจทย์กลุ่มคนทุกวัยในราคาที่คุ้มค่า ตลอดจนเทคโนโลยีการสำรองพลังงานโดยใช้แสง (Eco-Drive) ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ โดยแอลดีไอ เอ็นเตอร์ไพรส์ ประเทศไทย ตั้งเป้าเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ขยายฐานลูกค้าครอบคลุมทุกไลฟ์สไลต์

นายกฤศณัฏฐ์ กิจวิทยศักดิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท แอลดีไอ เอ็นเตอร์ไพรส์ (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวเสริมว่า ในส่วนของบิสสิเนส ไดเรกชั่น บริษัทเดินเกมรุกตลาด Young generation โดยเริ่มคิกออฟด้วยแคมเปญ  “The return of CITIZEN” (เดอะ รีเทิน ออฟ ซิติเซน) พร้อมเปิดตัว CITIZEN รุ่น NJ015 Automatic “Tsuyosa” (ซิติเซน เอ็นเจ015 ออโตเมติก “สึโยสะ”) ครั้งแรกในไทย ซึ่งสอดคล้องกับการปรับภาพลักษณ์ใหม่ของ แบรนด์ โดยนาฬิการุ่น Tsuyosa รังสรรค์จากสแตนเลสสตีล (Stainless Steel) ดีไซน์คลาสสิกหรูหรา ไม่ว่าจะเป็นสายนาฬิกาแบบ Integrated (อินทิเกรเตด) ตัวเรือนและสายโลหะมีดีไซน์ที่สอดคล้องต่อเนื่องกันเป็นหนึ่งเดียว ขับเคลื่อนด้วยกลไกจักรกล ไขลานอัตโนมัติ Caliber 8210 ของ Miyota (มิโยตะ) ซึ่งเป็นโรงงานผลิตกลไกในเครือของ CITIZEN และเป็นหนึ่งในผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่ง Tsuyosa สามารถสำรองพลังงานนานถึง 40 ชั่วโมง กันน้ำได้ 50 เมตร กระจกหน้าปัดแซพไฟร์คริสตัลแบบซันเรย์ และการดีไซน์หน้าปัด 4 สีใหม่ล่าสุด 4 สไตล์ ได้แก่ หน้าปัด สีน้ำเงินเข้ม การ์เดียน, สีเขียว การ์เดียน, สีเทอร์ควอยซ์ หรือทิฟฟานี่ บลู และ หน้าปัดสีแดง การ์เดียน สายสีทอง​ ซึ่งเพิ่มเติมจากปี 2022 ที่มีออกมาแล้ว 4 สี คือ สีดำ, สีน้ำเงิน ซันเบิร์ส, สีเขียว ซันเบิร์ส และ สีเหลือง นับเป็นหนึ่งในนาฬิการุ่นจักรกลที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย มีราคาคุ้มค่าที่สุดของแบรนด์ สนนราคา 16,600 บาท

“นอกจากการส่ง CITIZEN NJ015 Automatic “Tsuyosa” คอลเลกชันที่เป็นภาพลักษณ์ใหม่ของแบรนด์ ผ่านทุกช่องทาง สามารถใส่ได้ทุกวันมาเจาะตลาดคนรุ่นใหม่แล้ว บริษัทยังทุ่มงบการตลาด 30 ล้าน พร้อมวางกลยุทธ์เน้นการสื่อสารในทุกมิติ สะท้อนไลฟ์สไตล์ด้าน Music - Sport และ Fashion มากขึ้น โดยเฉพาะการโปรโมทผ่านช่องทาง Social media และ OOH (Out Of Home) ที่สนามบินสุวรรณภูมิ และ สนามบินดอนเมือง รวมถึงเน้นช่องทางช้อปปิ้งออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์ม Shopee นอกเหนือจากช่องทางการจำหน่ายเดิมในแผนกนาฬิกาของห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วประเทศ”

พบกับ นาฬิกา CITIZEN ได้ที่ แผนกนาฬิกาห้างสรรพสินค้าชั้นนำ, ร้านค้าตัวแทนจำหน่าย หรือ ออนไลน์ Shopee : https://shopee.co.th/citizen_thailand และอัปเดตแฟชั่นนาฬิกาจาก CITIZEN ได้ที่ Facebook: CITIZEN Watch TH หรือ คลิก https://www.facebook.com/CitizenWatchesTH 

นายชนะพล มหาวงษ์ ผู้จัดการกองทุนประกันวินาศภัย พร้อมด้วยพนักงานกองทุนฯ เข้าร่วมโครงการ 1 ภาค 1 ผลิตภัณฑ์ (กรมธรรม์ประกันภัยกล้วยหอมทอง) ร่วมฟังเสวนาในหัวข้อ “ชาวสวนกล้วยหอมทองยุคใหม่ ใช้ระบบประกันภัยคุ้มครอง” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม 2566 ณ ห้องประชุมสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โดยมีนายชัยยุทธ มังศรี รองเลขาธิการ คปภ. เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ร่วมด้วยนางวันเพ็ญ มังศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี นางจันทิมา มีโส ผู้อำนวยการภาค สำนักงาน คปภ. ภาค 7 (นครปฐม) นางสาวทัตชญา ดำรงวัชระกุล ผู้อำนวยการสำนักงาน คปภ.จังหวัดเพชรบุรี หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารบริษัทประกันภัย และเกษตรกรร่วมกิจกรรม

โดยกองทุนประกันวินาศภัยดำเนินการออกบูธประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ความเข้าใจ บทบาทหน้าที่ภารกิจของกองทุนประกันวินาศภัยเกี่ยวกับการชำระหนี้ในกรณีที่บริษัทประกันวินาศภัย ถูกเพิกถอนใบอนุญาต และสถานการณ์ ณ ปัจจุบัน ในการชำระหนี้ของกองทุนฯ ตลอดจน สร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของการประกันภัย สามารถใช้การประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินให้กับตนเองและครอบครัวอย่างเหมาะสม พร้อมทั้ง มีการตอบประเด็นข้อซักถามต่าง ๆ และยังมีกิจกรรมให้เข้าร่วมเพื่อรับของที่ระลึกอีกมากมายภายในงาน

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) โดย วิจัยกรุงศรี ประเมินเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเติบโตตามวัฎจักรเศรษฐกิจ แม้การเติบโตจะยังไม่กระจายตัวและมีความไม่แน่นอน โดยคาดว่าในปี 2567 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ 3.4% ซึ่งไม่รวมผลของนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต ด้วยแรงส่งส่วนใหญ่มาจากปัจจัยภายในประเทศ

ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ หัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (จำกัด) มหาชน กล่าวว่า “วิจัยกรุงศรีคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2567 จะขยายตัวที่ 3.4% ซึ่งตัวเลขนี้ไม่นับรวมผลของนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต โดยมีปัจจัยภายในประเทศเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ได้แก่ 1) การฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว จากมาตรการสนับสนุนของภาครัฐและความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวที่ปรับดีขึ้น โดยประมาณการว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มขึ้นจาก 27.7 ล้านคนในปี 2566 เป็น 35.6 ล้านคนในปี 2567 แม้จะยังไม่กลับสู่ระดับก่อนเกิดการระบาดของโควิดที่ 40 ล้านคนก็ตาม  2) การบริโภคภาคเอกชนยังคงเติบโตต่อเนื่องที่ 3.3% โดยมีแรงหนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น กอปรกับยังมีผลเชิงบวกจากนโยบายของภาครัฐที่ช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพและมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย  3) การใช้จ่ายภาครัฐจะมีบทบาทมากขึ้นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2567 ภายหลังจากการอนุมัติพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีวงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท (เพิ่มขึ้น 9.3% จากงบประมาณในปีงบฯ ก่อน) ส่งผลให้การบริโภคและการลงทุนภาครัฐในปี 2567 คาดว่าจะกลับมาขยายตัวที่ 1.5% และ 3.0% ตามลำดับ จากที่คาดว่าจะหดตัวในปี 2566 และ 4) การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะเติบโตดีขึ้นที่ 3.5% ตามการเติบโตของภาคบริการและกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งนโยบายภาครัฐในการส่งเสริมอุตสาหกรรมสำคัญๆ

อย่างไรก็ตาม ภาคส่งออกยังคงมีแนวโน้มเติบโตต่ำ เนื่องจากยังเผชิญแรงกดดันจากความอ่อนแอของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยคาดว่าการส่งออกของไทยจะขยายตัว 2.5% ในปี 2567 จากที่คาดว่าจะหดตัว -1.5% ในปี 2566 อันเป็นผลจากปัจจัยเฉพาะ เช่น วัฏจักรการฟื้นตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ อานิสงส์จากการรักษาความมั่นคงทางด้านอาหาร และความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายในภูมิภาค (Regionalization) เป็นต้น การทยอยฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นคาดว่าจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับเพิ่มจาก 1.3% ในปี 2566 เป็น 2.0%

สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2567 วิจัยกรุงศรีคาดการณ์ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงไว้ที่ 2.50% ตลอดทั้งปี 2567 เพื่อดูแลเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นให้อยู่ภายในกรอบเป้าหมายและเอื้อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยฟื้นตัวกลับเข้าสู่แนวโน้มระยะยาว ขณะเดียวกันยังเป็นการรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบาย (Policy space) เพื่อรองรับความเสี่ยงที่มีอยู่มากในอนาคต

“แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2567 จะมีแนวโน้มปรับดีขึ้นแต่อัตราการเติบโตยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน โดย IMF คาดว่า GDP ของกลุ่มประเทศอาเซียน-5 จะเติบโตที่ 4.5% ในปี 2567 เร่งขึ้นเล็กน้อยจาก 4.2% ในปี 2566 สำหรับปัจจัยภายในประเทศที่อาจกดดันการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ได้แก่ ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงท่ามกลางต้นทุนการกู้ยืมที่ปรับเพิ่ม ผลกระทบจากภัยแล้งที่อาจรุนแรงขึ้น รวมทั้งปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น ประชากรสูงวัย การขาดแคลนแรงงาน และความสามารถในการแข่งขันที่ลดลงในหลายอุตสาหกรรม ส่วนปัจจัยภายนอกประเทศที่อาจสร้างความเสี่ยงในปี 2567 ได้แก่ ผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยในหลายประเทศที่สูงสุดในรอบกว่าสองทศวรรษที่อาจกดดันเศรษฐกิจและภาคการเงินในประเทศแกนหลักของโลก การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนท่ามกลางความเปราะบางในภาคอสังหาริมทรัพย์ การแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมถึงความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจขยายวงกว้างในระยะต่อไป” ดร.พิมพ์นารา กล่าวเพิ่มเติม

บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) โดย คุณภัคริน ทัตติพงศ์ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจคอนโดมิเนียม และ คุณคมกริช หงษ์ดิลกกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจ คอนโด 4 พร้อมด้วยผู้บริการกลุ่มพันธมิตร ได้แก่ บริษัท ซินเท็ค คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับเหมาหลักของโครงการ, บริษัท สแตนด์ไพล์ จํากัด, บริษัท ทีม คอนสตรัคชั่น แมเนจเมนท์ จำกัด (TEAM-CM) บริษัทที่ปรึกษาและควบคุมงานก่อสร้าง, บริษัท คูริฮารา (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ออกแบบงานระบบ,  บริษัท สยามไดกิ้นเซลส์ จำกัด และ บริษัท มิตซูบิชิ เอลเลเวเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เดินหน้าเริ่มงานก่อสร้างโครงการ เพื่อพร้อมส่งมอบที่อยู่อาศัยอย่างมีคุณภาพในปี 2569 ต่อไป ทั้งนี้ ปัจจุบันโครงการฯ ได้ผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเรียบร้อยแล้ว

โครงการแชปเตอร์วัน สปาร์ค จรัญ  จุดประกายความฝันใหม่ๆ โดดเด่น ไม่ซ้ำใคร ใช้ชีวิตอย่างเฉิดฉาย เจิดจรัสกว่าที่เคย คอนโดมิเนียมสูง 26 ชั้น จำนวน 1 อาคาร จำนวน 1,533 ยูนิต 2 Shops ใกล้ MRT บางพลัดเพียง 150 เมตร* สามารถเดินทางเข้าสู่เมืองได้ง่ายด้วย MRT Blue Line ห่างจากสถานีเตาปูน-อินเตอร์เชนจ์เพียง 3 สถานี ห่างจากสถานี Bang Sue Grand Station เพียง 4 สถานี และอยู่ห่างจากสถานีเชื่อมต่อสวนจตุจักรเพียง 6 สถานี นอกจากนี้ ยังอยู่ใกล้จุดขึ้นลงทางด่วนศรีรัช แหล่งชุมชน ตลาด โรงพยาบาล โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า และสถานที่ราชการหลายแห่ง ทางโครงการให้ความสำคัญตั้งแต่การออกแบบฟังก์ชันของห้องพักอาศัยเพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้า อาทิ ห้องครัวติดระเบียง ฝ้าเพดานสูงถึง 2.7 เมตร พร้อมทั้งส่วนกลางที่หลากหลาย โดยเฉพาะจุด Highlight บนชั้น Rooftop ที่มาพร้อมสระว่ายน้ำยาวกว่า 50 เมตรชมวิวแม่น้ำแบบชิลล์ ๆ พื้นที่สีเขียวเกือบ 3 ไร่  ในราคาเริ่มต้นเพียง 1.69 ล้านบาท

อีกทั้งโครงการยังได้ร่วมกับโรงพยาบาลวิมุตในส่วนของ Shine Zone พื้นที่ playground ที่ช่วยในการพัฒนาการของเด็กๆ เพื่อเติมเต็มชีวิตตามแนวคิด “อยู่ดีมีสุข Live well Stay well” อย่างแท้จริง สอบถามรายละเอียดโทร.1739 ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิพิเศษก่อนใครได้ที่ https://bit.ly/3QUO4AP

พิเศษสำหรับลูกบ้านพฤกษากับโครงการ FRIEND Get FRIEND เพียงชวนเพื่อนซื้อบ้าน ทาวน์โฮม คอนโดพฤกษามีสิทธิ์รับค่าแนะนำมูลค่าสูงสุดกว่า 100,000 บาท* ข้อมูลเพิ่มเติมคลิก https://www.pruksa.com/pruksa-member 

X

Right Click

No right click