เปลี่ยนพลาสติกใช้แล้วเป็นถุงพลาสติกรักษ์โลก ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

ชวนประชาชนรู้เท่าทันความเจ็บป่วย เริ่มดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่สุขภาพจะถูกแฮ็ก

นายโยฮัน ดีทอย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุน เอไอเอ ประเทศไทย และนายดันคัน ลี ผู้อำนวยการฝ่าย Investment Environmental, Social & Governance กลุ่มบริษัทเอไอเอ ร่วมบรรยายในงานประชุมสัมมนาวิชาการด้านการประกันภัย ประจำปี 2566 ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ในหัวข้อ “เส้นทางการดำเนินงานตามหลัก ESG อย่างยั่งยืน” เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการผนวกแนวความคิดด้านความยั่งยืนตามหลัก ESG (Environmental, Social and Governance) เข้ากับกระบวนการทางธุรกิจขององค์กรประกันภัย ภายในงานมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของคปภ. ผู้บริหารจากบริษัทประกัน อาจารย์มหาวิทยาลัย ตลอดจนสื่อมวลชน ร่วมงานในรูปแบบ Hybrid กว่า 350 คน ทั้งนี้ ยังได้รับเกียรติจาก ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ให้การต้อนรับ พร้อมร่วมรับฟังการบรรยาย

โดยเอไอเอ มุ่งมั่นอย่างยิ่งในการพัฒนาธุรกิจภายใต้กรอบนโยบาย ESG ด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs) ภายในปี 2593 ทั้งนี้ยังเป็นการตอกย้ำถึงคำมั่นสัญญาของเอไอเอ ที่จะมุ่งมั่นดูแลให้ทุกคนมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น - ‘Healthier, Longer, Better Lives’

มูลนิธิทุนการศึกษาเอไอเอสแอล ฮาร์โรว์ ขอเชิญนักเรียนที่มีพรสวรรค์ทางวิชาการจากทั่วโลก สมัครชิงทุนประจำปีการศึกษา 2567-2569 เพื่อเข้าศึกษาหลักสูตรเอ - เลเวล ณ โรงเรียนในเครือเอไอเอสแอล ฮาร์โรว์

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) โดยโครงการ Education Institute Support Activity (eisa) ได้รับเกียรติจาก ว่าที่พันตรี อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฯ รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วย นางสาวราตรี พิศุทธิ์ชโลทร กรรมการผู้จัดการบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีประจวบคีรีขันธ์ (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ร่วมงานและให้การต้อนรับคณะอาจารย์-นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลสังเกตการณ์รวมถึงเยี่ยมชมศูนย์หัตถกรรมทอผ้า ภายใต้กิจกรรมCreative Young Designer Season4 ปีการศึกษา 2566 โดยมีวัตถุประสงค์ในการต่อยอดการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นเมืองของนักศึกษาให้กับศูนย์หัตถกรรมทอผ้าบ้านเขาเต่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ผ่านมา

มูลนิธิพลังน้ำใจไทย โดยนายอดิศักดิ์ เทพอาสน์ ที่ปรึกษามูลนิธิพลังน้ำใจไทย, นายประวิช สุขุม กรรมการและเลขานุการ พร้อมด้วยภาคีภาคเอกชน 12 บริษัท, เครือข่ายโครงการ eisa (Education Institute Support Activity) ร่วมลงพื้นที่โรงเรียนพรหมบุรีรัชดาภิเษก เพื่อส่งมอบอาคารสาธารณูปโภคที่ได้สนับสนุนการซ่อมแซมจากอุทกภัยน้ำท่วมในปีที่ผ่านมา ให้กับนางสาวนุชนารถ ยิ้มจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนพรหมบุรีรัชดาภิเษก ในงานได้จัดกิจกรรม Football Clinic มอบโอกาสแก่นักเรียนได้เข้าร่วมฝึกทักษะฟุตบอล/ Workshop ศิลปะสร้างสรรค์คิดดีทำ (ได้) ดี และศิลปินมาร่วมขับร้องเพลงสร้างความสุขแก่น้องๆ อาทิ แช่ม แช่มรัมย์, แสน นากา, โอม ภวัต จิตต์สว่างดี, ฟอร์ด อรัญญ์ อัศวสืบสกุล ณ โรงเรียนพรหมบุรีรัชดาภิเษก จังหวัดสิงห์บุรี ที่ผ่านมา

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 44 โดยมีนายวสันต์ เคียงศิริ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร นายพีระพงศ์ จรูญเอก นายกสมาคมอาคารชุดไทย นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย และดร.ทัพพ์เทพ ภัคกระนก ประธานคณะกรรมการจัดงาน พร้อมเหล่าตัวแทนผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้การต้อนรับ โดยงานฯ จะจัดขึ้นระหว่าง 2-5 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10.00-20.00 น. ณ ฮอลล์ 5 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ในพิธีเปิด นายชัชชาติได้กล่าวถึงความสำคัญของงานมหกรรมบ้านและคอนโดว่าเป็นงานที่มีผลโดยตรงต่อการพัฒนาเมืองและรายได้ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งในปี 2566 นี้ สามารถจัดเก็บภาษีได้เกินกว่าเป้าที่กำหนด นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงการทำงานเพื่อพัฒนาธุรกิจอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ อาทิ การกำกับดูแลในเรื่องความโปร่งใสในการอนุมัติ EIA หรือรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมแสดงความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลเตรียมที่จะออกมาตรการสนับสนุนภาคอสังหาฯ ในเร็วๆ นี้

โดยพานาโซนิคและจุฬาฯ เตรียมทดลองกับบ้านจริงครั้งแรกที่โครงการเสนา แกรนด์ โฮม ตอกย้ำแนวคิดการพัฒนาบ้านพลังงานเป็นศูนย์ เพื่อการใช้ชีวิตดีๆ ที่รักษ์โลก

จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับองค์กรภาครัฐ และ บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) หรือ บีเคพี ภายใต้กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ผู้จัดหาวัตถุดิบหลักทางการเกษตรให้แก่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดตัว โครงการ “Partner to Green คู่ค้าข้าวโพดพันธมิตร พิชิตหมอกควัน” สนับสนุนคู่ค้าผู้รวบรวมและจัดหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เครือข่ายของบีพีเค ในเขตภาคเหนือ ใช้ข้อมูลจากระบบตรวจสอบย้อนกลับและภาพถ่ายดาวเทียมติดตามการเผาแปลง และร่วมดูแลห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ปลอดการเผาตอซัง

ในงานเปิดตัวโครงการฯ ได้รับเกียรติจาก นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีเปิดฯ โดยมี นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมทั้ง ผู้บริหารกรมวิชาการเกษตร กรมควบคุมมลพิษ และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA และคู่ค้าพันธมิตรในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ ร่วมงาน ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่

นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จ.เชียงใหม่ให้ความสำคัญสูงสุดหมอกควันแลทุกภาคส่วนอย่างเต็มกำลัง ในการจัดการสถานการณ์หมอกควันและฝุ่น PM 2.5 และโครงการ “Partner to Green คู่ค้าข้าวโพดพันธมิตร พิชิตหมอกควัน” เป็นความร่วมมือขององค์กรเอกชนที่นำเทคโลยีภาพถ่ายดาวเทียมในการตรวจจุดความร้อน เข้ามาช่วยสร้างการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในภาคการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อจัดการปัญหาฝุ่นละอองในระยะยาว สอดคล้องกับนโยบายจัดการปัญหาฝุ่นควันในภาคเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนของรัฐบาล และจังหวัดเชียงใหม่

“ปัญหาฝุ่นละออง เป็นปัญหาระดับชาติ ต้องอาศัยความร่วมมือกันทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชนและประชาสังคมผนึกกำลังลงมือทำอย่างจริงจัง อย่างที่บีเคพีริเริ่มโครงการเพื่อลดการเผาในภาคการเกษตร  เชื่อว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน” ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าว

ด้าน นายไพศาล เครือวงศ์วานิช ประธานคณะผู้บริหาร บีเคพี กล่าวว่า บีเคพีเป็นบริษัทแรกของไทยที่นำระบบตรวจสอบย้อนกลับมาใช้ในการจัดหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่ปี  2559 และเพื่อให้ระบบตรวจสอบย้อนกลับของซีพีเป็นต้นแบบอุตสาหกรรม รวมถึงการจัดการกับปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน รวมถึงพ่อค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้เข้ามาช่วยดูแลเกษตรกรและแปลงข้าวโพดในห่วงโซ่อุปทานของซีพี โดยใช้ประโยชน์จากข้อมูลจุดความร้อนจากดาวเทียม ช่วยลดปัญหาการเผาตอซัง

“บีเคพีจะขยายผลการดำเนินโครงการฯ ให้ครอบคลุมทั่วประเทศภายในปี 2566 นี้ โดยบริษัทฯ จะแบ่งปันข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมจุดความร้อนในพื้นที่รับซื้อข้าวโพด เพื่อให้คู่ค้าเป็นเครือข่ายติดตามแปลงเพาะปลูกที่ยังมีการเผา หากพบว่าเกษตรกรรายใดมีการเผาแปลง ทางบริษัทและคู่ค้าพร้อมร่วมมือกันเข้าไปดูแล ให้ความรู้และคำแนะนำ เพื่อให้เกษตรกรร่วมมืองดการเผาตอซัง และหาวิธีการจัดการที่เหมาะสมทดแทน” นายไพศาล กล่าว

ภายในงาน บริษัทฯ ยังร่วมมือกับ กรมวิชาการเกษตร กรมควบคุมมลพิษ และ GISTDA จัดอบรมสัมมนา ถึงสถานการณ์ ฝุ่น PM 2.5 ร่างพระราชบัญญัติอากาศสะอาดเพื่อประชาชน และแนวทางการปรับตัวขององค์กรธุรกิจและภาคประชาชน ตลอดจนการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับควบคู่กับระบบติดตามการเผาแปลง

โครงการ “Partner to Green คู่ค้าข้าวโพดพันธมิตร พิชิตหมอกควัน” เป็นอีกหนึ่งความมุ่งมั่นของเครือซีพีในสร้างความร่วมมือระหว่างคู่ค้าของบริษัทฯ เพื่อร่วมจัดการกับปัญหาหมอกควันและฝุ่นละออง ซึ่งเป็นวาระสำคัญของประเทศ  พร้อมกับการพัฒนาขีดความสามารถคู่ค้าพันธมิตรในกระบวนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อโลก และสนับสนุนเครือซีพีและบริษัทในเครือฯ ให้บรรลุเป้าหมาย Net-Zero ในปี 2050

ประกันสุขภาพตอบโจทย์แม่และเด็ก จากงาน Amarin Baby & Kids Awards 2023

X

Right Click

No right click